เศรษฐกิจแบ่งปัน สังคมแบ่งปัน/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ
โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 17, 2019 1:21 pm
ในช่วงไม่ถึงสิบปีที่ผ่านมา เกิดแนวคิดและโมเดลทางเศรษฐกิจธุรกิจเรื่องการแบ่งปัน หรือ Sharing Economy ขึ้น
เศรษฐกิจแบ่งปัน เป็นแนวทางในการจัดการทรัพยากร เพื่อให้เพียงพอต่อประชากรเมือง ซึ่งเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ข้อมูลจาก World Economic Forum แสดงว่า เมืองทั้งหมดในโลก ซึ่งใช้พื้นที่เพียง 2.6% ของพื้นที่ในโลก เป็นที่อยู่อาศัยของประชากรกว่า 50% ของประชากรโลก โดยประชากรเมืองเหล่านี้ สร้างผลผลิตมากกว่า 80% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือ จีดีพี ของโลก แต่ก็ใช้ทรัพยากรมากถึง 75% ของทรัพยากรโลก
องค์การสหประชาชาติคาดว่า สัดส่วนของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง จะเพิ่มเป็น 66% หรือประมาณ 6,400 ล้านคน จากประชากรของโลก 9,700 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2050 หรือในอีก 30 ปีข้างหน้า และเมื่อถึงตอนนั้น เราจะมีทรัพยากรพอให้ใช้มากมายเพียงนั้นหรือไม่
จุดนี้จึงเป็นที่มาของการพยายามส่งเสริมการจัดการทรัพยากรแบบแบ่งปัน ซึ่งเกิดขึ้นมาได้ด้วยความพร้อมของเทคโนโลยี และการสร้างแพลทฟอร์มต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงคนจำนวนมากๆได้ และการเข้าถึงเกิดขึ้นได้อย่างกว้างขวาง เพราะเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนราคาไม่สูงเกิดขึ้น จึงทำให้คนจำนวนมากสามารถเข้าถึงและเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจแบ่งปันได้
เศรษฐกิจแบ่งปันที่เราคุ้นเคยกัน คือเรื่องของการแบ่งปันที่พัก เช่น Airbnb หรือการแบ่งปันการเดินทาง เช่น Uber และ Grab cars จริงๆแล้วในสมัยที่ยังไม่มีธุรกิจเหล่านี้เกิดขึ้น ก็มีการแบ่งปันการเดินทางเกิดขึ้นตั้งแต่สมัย 40-50 ปีก่อน โดยเพื่อนบ้านที่จะไปทางเดียวกัน จะผลัดกันขับรถไปทำงาน เพียงแต่ว่าในปัจจุบันจะแบ่งปันกับคนที่เราไม่รู้จัก ในกลุ่มกว้างขึ้น เพราะใช้แพลทฟอร์มของเทคโนโลยีในการหาผู้ร่วมทาง
ในเศรษฐกิจแบ่งปันนั้น การแบ่งปันข้อมูล เกิดขึ้นเป็นสิ่งแรกๆ เช่น สารานุกรมออนไลน์ Wikipedia การศึกษาและการเรียนรู้ออนไลน์ เช่น Khan Academy ในขณะที่การเรียนออนไลน์ภาคธุรกิจ เช่น คอร์สเรียนของมหาวิทยาลัยต่างๆ เริ่มเกิดขึ้นหลังจากภาคสังคมได้ทำไปก่อนหน้านั้นหลายปี
เศรษฐกิจแบ่งปันในยุคสมัยปัจจุบันในประเทศไทย ก็ถูกนำมาใช้ในภาคสังคมก่อนภาคธุรกิจเช่นกัน ตั้งแต่เรื่องของการทำ Crowd Funding ซึ่งดิฉันเคยเขียนถึงไปแล้ว ว่าเป็นการระดมเงินจากผู้มีเงินเหลือ มาให้กับผู้ต้องการเงินทุน ซึ่งในต่างประเทศนำมาใช้ระดมทุนในโครงการ ของธุรกิจเกิดใหม่ หรือ สตาร์ทอัพ จำนวนมาก
ในประเทศไทย มีการระดมเงินบริจาคจากบุคคลรายย่อยต่างๆเพื่อนำไปใช้ในโครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการของเทใจดอทคอม ซึ่งเป็นเวบบริจาคออนไลน์ หรือโครงการของ Social Giver ที่เป็นเวบจำหน่ายห้องพักที่ว่าง หรือบัตรรับประทานอาหารที่มีผู้บริจาคมาเพื่อให้จำหน่ายนำเงินไปให้โครงการแก้ไขปัญหาสังคมด้านต่างๆ
สิ่งที่ภาคธุรกิจนำไปใช้ก่อน น่าจะเป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยนของใช้แล้ว โดยในสมัยแรกๆ อีเบย์ (eBay) เป็นเวบที่มีชื่อเสียงและนิยมมากที่สุด
ในส่วนของภาคสังคม นอกจากจะมีการรับบริจาคสิ่งของใช้แล้ว เพื่อมาจำหน่าย นำเงินไปช่วยแก้ไขปัญหาสังคมแล้ว ยังมีการรับบริจาคเวลาในการทำกิจกรรมจิตอาสา ในหลายๆโครงการอีกด้วย ทั้งที่เป็นโครงการที่ดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงวัย โครงการข่วยดูแลความไม่ชอบธรรมที่เกิดขึ้นในสังคม เป็นต้น
เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น ทำให้เราสามารถสร้างสรรค์รูปแบบของการนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในเรื่องต่างๆได้มากขึ้น จากเดิมที่มีข้อจำกัดมากมาย ทำให้ข้อมูลที่จะสื่อสารจากคนคนหนึ่งไปบังอีกหลายๆคน หรือสื่อสารจากหลายๆคนไปหลายๆคน เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดิฉันเชื่อว่านวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ มีได้อย่างไม่จำกัดจริงๆค่ะ ขอเพียงให้เขาได้เข้ามารับทราบจุดที่เป็นปัญหา เขาก็จะพยายามไปคิดออกแบบ สร้างสรรค์นวัตกรรมดีๆ มาช่วยให้เราสามารถใช้ทรัพยากร ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แบ่งปันทรัพยากรได้ทั้วถึงขึ้น และช่วยสงวนรักษาทรัพยากรที่มีจำกัดของโลกเรา ให้สามารถมีใช้ไปได้อย่างยาวนานขึ้น และจะดีที่สุด หากจะสามารถใช้ได้อย่างยิ่งยืน
อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจแบ่งปัน ก็มีข้อเสียอยู่ด้วย หากผู้ร่วมแบ่งปันไม่มีกฎเกณฑ์ และเห็นแก่ตัว และหลายๆครั้งโมเดลธุรกิจใหม่ซึ่งไม่มีพรมแดนทางธุรกิจ ก็ไปส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการเดิม ทำให้ผู้ประกอบการเดิม ซึ่งเสียภาษีถูกต้องดำเนินการตามกฎระเบียบอย่างถูกต้อง ต้องเสียเปรียบและหลายๆครั้งก็พ่ายแพ้ให้กับธุรกิจที่ใช้แนวเศรษฐกิจแบ่งปัน ที่ได้รับความนิยมสูง ที่ประชุม World Economic Forum เมื่อปี 2017 จึงหยิบยกเรื่องนี้มาเพื่อให้รัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแล คำนึงถึงผลกระทบและออกกฎระเบียบเพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างยุติธรรมด้วยในช่วงต่อๆไป
สังคมแห่งการแบ่งปัน โลกของการแบ่งปัน เป็นเรื่องที่สวยงามมีประโยชน์ ช่วยให้เราพอจะมีความหวังว่า โลกในอนาคตจะไม่เลวร้ายไปกว่านี้ แต่เราก็ต้องใช้หลักการนี้ด้วยความระมัดระวัง และหวังว่าเราทุกคนจะช่วยกันปรับปรุง พัฒนา และพยุงรักษาให้โลกของเราคงอยู่ยืนยงตลอดไปค่ะ
เศรษฐกิจแบ่งปัน เป็นแนวทางในการจัดการทรัพยากร เพื่อให้เพียงพอต่อประชากรเมือง ซึ่งเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ข้อมูลจาก World Economic Forum แสดงว่า เมืองทั้งหมดในโลก ซึ่งใช้พื้นที่เพียง 2.6% ของพื้นที่ในโลก เป็นที่อยู่อาศัยของประชากรกว่า 50% ของประชากรโลก โดยประชากรเมืองเหล่านี้ สร้างผลผลิตมากกว่า 80% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือ จีดีพี ของโลก แต่ก็ใช้ทรัพยากรมากถึง 75% ของทรัพยากรโลก
องค์การสหประชาชาติคาดว่า สัดส่วนของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง จะเพิ่มเป็น 66% หรือประมาณ 6,400 ล้านคน จากประชากรของโลก 9,700 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2050 หรือในอีก 30 ปีข้างหน้า และเมื่อถึงตอนนั้น เราจะมีทรัพยากรพอให้ใช้มากมายเพียงนั้นหรือไม่
จุดนี้จึงเป็นที่มาของการพยายามส่งเสริมการจัดการทรัพยากรแบบแบ่งปัน ซึ่งเกิดขึ้นมาได้ด้วยความพร้อมของเทคโนโลยี และการสร้างแพลทฟอร์มต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงคนจำนวนมากๆได้ และการเข้าถึงเกิดขึ้นได้อย่างกว้างขวาง เพราะเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนราคาไม่สูงเกิดขึ้น จึงทำให้คนจำนวนมากสามารถเข้าถึงและเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจแบ่งปันได้
เศรษฐกิจแบ่งปันที่เราคุ้นเคยกัน คือเรื่องของการแบ่งปันที่พัก เช่น Airbnb หรือการแบ่งปันการเดินทาง เช่น Uber และ Grab cars จริงๆแล้วในสมัยที่ยังไม่มีธุรกิจเหล่านี้เกิดขึ้น ก็มีการแบ่งปันการเดินทางเกิดขึ้นตั้งแต่สมัย 40-50 ปีก่อน โดยเพื่อนบ้านที่จะไปทางเดียวกัน จะผลัดกันขับรถไปทำงาน เพียงแต่ว่าในปัจจุบันจะแบ่งปันกับคนที่เราไม่รู้จัก ในกลุ่มกว้างขึ้น เพราะใช้แพลทฟอร์มของเทคโนโลยีในการหาผู้ร่วมทาง
ในเศรษฐกิจแบ่งปันนั้น การแบ่งปันข้อมูล เกิดขึ้นเป็นสิ่งแรกๆ เช่น สารานุกรมออนไลน์ Wikipedia การศึกษาและการเรียนรู้ออนไลน์ เช่น Khan Academy ในขณะที่การเรียนออนไลน์ภาคธุรกิจ เช่น คอร์สเรียนของมหาวิทยาลัยต่างๆ เริ่มเกิดขึ้นหลังจากภาคสังคมได้ทำไปก่อนหน้านั้นหลายปี
เศรษฐกิจแบ่งปันในยุคสมัยปัจจุบันในประเทศไทย ก็ถูกนำมาใช้ในภาคสังคมก่อนภาคธุรกิจเช่นกัน ตั้งแต่เรื่องของการทำ Crowd Funding ซึ่งดิฉันเคยเขียนถึงไปแล้ว ว่าเป็นการระดมเงินจากผู้มีเงินเหลือ มาให้กับผู้ต้องการเงินทุน ซึ่งในต่างประเทศนำมาใช้ระดมทุนในโครงการ ของธุรกิจเกิดใหม่ หรือ สตาร์ทอัพ จำนวนมาก
ในประเทศไทย มีการระดมเงินบริจาคจากบุคคลรายย่อยต่างๆเพื่อนำไปใช้ในโครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการของเทใจดอทคอม ซึ่งเป็นเวบบริจาคออนไลน์ หรือโครงการของ Social Giver ที่เป็นเวบจำหน่ายห้องพักที่ว่าง หรือบัตรรับประทานอาหารที่มีผู้บริจาคมาเพื่อให้จำหน่ายนำเงินไปให้โครงการแก้ไขปัญหาสังคมด้านต่างๆ
สิ่งที่ภาคธุรกิจนำไปใช้ก่อน น่าจะเป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยนของใช้แล้ว โดยในสมัยแรกๆ อีเบย์ (eBay) เป็นเวบที่มีชื่อเสียงและนิยมมากที่สุด
ในส่วนของภาคสังคม นอกจากจะมีการรับบริจาคสิ่งของใช้แล้ว เพื่อมาจำหน่าย นำเงินไปช่วยแก้ไขปัญหาสังคมแล้ว ยังมีการรับบริจาคเวลาในการทำกิจกรรมจิตอาสา ในหลายๆโครงการอีกด้วย ทั้งที่เป็นโครงการที่ดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงวัย โครงการข่วยดูแลความไม่ชอบธรรมที่เกิดขึ้นในสังคม เป็นต้น
เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น ทำให้เราสามารถสร้างสรรค์รูปแบบของการนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในเรื่องต่างๆได้มากขึ้น จากเดิมที่มีข้อจำกัดมากมาย ทำให้ข้อมูลที่จะสื่อสารจากคนคนหนึ่งไปบังอีกหลายๆคน หรือสื่อสารจากหลายๆคนไปหลายๆคน เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดิฉันเชื่อว่านวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ มีได้อย่างไม่จำกัดจริงๆค่ะ ขอเพียงให้เขาได้เข้ามารับทราบจุดที่เป็นปัญหา เขาก็จะพยายามไปคิดออกแบบ สร้างสรรค์นวัตกรรมดีๆ มาช่วยให้เราสามารถใช้ทรัพยากร ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แบ่งปันทรัพยากรได้ทั้วถึงขึ้น และช่วยสงวนรักษาทรัพยากรที่มีจำกัดของโลกเรา ให้สามารถมีใช้ไปได้อย่างยาวนานขึ้น และจะดีที่สุด หากจะสามารถใช้ได้อย่างยิ่งยืน
อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจแบ่งปัน ก็มีข้อเสียอยู่ด้วย หากผู้ร่วมแบ่งปันไม่มีกฎเกณฑ์ และเห็นแก่ตัว และหลายๆครั้งโมเดลธุรกิจใหม่ซึ่งไม่มีพรมแดนทางธุรกิจ ก็ไปส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการเดิม ทำให้ผู้ประกอบการเดิม ซึ่งเสียภาษีถูกต้องดำเนินการตามกฎระเบียบอย่างถูกต้อง ต้องเสียเปรียบและหลายๆครั้งก็พ่ายแพ้ให้กับธุรกิจที่ใช้แนวเศรษฐกิจแบ่งปัน ที่ได้รับความนิยมสูง ที่ประชุม World Economic Forum เมื่อปี 2017 จึงหยิบยกเรื่องนี้มาเพื่อให้รัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแล คำนึงถึงผลกระทบและออกกฎระเบียบเพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างยุติธรรมด้วยในช่วงต่อๆไป
สังคมแห่งการแบ่งปัน โลกของการแบ่งปัน เป็นเรื่องที่สวยงามมีประโยชน์ ช่วยให้เราพอจะมีความหวังว่า โลกในอนาคตจะไม่เลวร้ายไปกว่านี้ แต่เราก็ต้องใช้หลักการนี้ด้วยความระมัดระวัง และหวังว่าเราทุกคนจะช่วยกันปรับปรุง พัฒนา และพยุงรักษาให้โลกของเราคงอยู่ยืนยงตลอดไปค่ะ