ทศวรรษที่ (อาจ) หายไป/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 08, 2019 9:16 am
ในฐานะที่เป็น VI ที่เน้นการลงทุนระยะยาวและปกติก็จะถือหุ้นแต่ละตัวเกินกว่า 5 ปี หลายตัวถือเกิน 10 ปี ผมจึงสนใจพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และตลาดหุ้นในระยะยาวว่าเป็นอย่างไร ข้อสรุปของผมที่ผ่านมาก็คือ คนไทยและโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนในตลาดหุ้นค่อนข้างโชคดีที่ได้อาศัยและลงทุนในสังคม เศรษฐกิจ และตลาดหุ้น ที่เอื้ออำนวยให้เราเจริญเติบโตขึ้นค่อนข้างจะดีเป็นเวลาน่าจะไม่น้อยกว่า 50-60 ปีขึ้นไป ผลตอบแทนสำหรับนักลงทุนในตลาดหุ้นไทยระยะยาวก็ค่อนข้างจะโดดเด่นใน “ระดับโลก”ที่ประมาณเกือบ 10% ต่อปีแบบทบต้นเป็นเวลากว่า 40 ปี
อย่างไรก็ตาม พัฒนาการในช่วงประมาณ 6-7 ปีที่ผ่านมานั้นกลับค่อนข้าง “น่าผิดหวัง” ตัวเลขและข้อมูลทางด้านคุณภาพของเศรษฐกิจ สังคมการเมืองและตลาดหุ้นที่เคยโดดเด่นนั้นกำลังตกต่ำลงอย่างน่าใจหาย และที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ ไม่รู้ว่ามันจะ Turnaround หรือฟื้นกลับขึ้นมาได้อย่างไร พูดตามตรง ผมกำลังกลัวว่าเรากำลังเดินหน้าไปสู่ภาวะที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “Lost Decade” หรือ “ทศวรรษที่หายไป”
แรกเริ่มนั้น Lost Decade เป็นคำที่ใช้เรียก “วิกฤติเศรษฐกิจ” ของญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษที่ 1990 หลังจากที่ญี่ปุ่นเติบโตขึ้นสุดยอดตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงช่วงทศวรรษที่ 1980 ที่ GDP ต่อหัวของญี่ปุ่นสูงที่สุดในโลกและเรื่องราวต่าง ๆ ของระบบการบริหารของบริษัทญี่ปุ่นเช่น Just In Time หรือชื่อเสียงของบริษัทอย่างโซนี่และโตโยต้านั้นเป็นแบรนด์เนมที่คนยอมรับกันทั้งโลก แต่หลังจากนั้น ในช่วงตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 แรงเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และการบริหารงานที่ผิดพลาดของรัฐก็ทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำลง การเติบโตทางเศรษฐกิจที่เคยสูงมากลดลงจนเหลือเพียงประมาณ 1% เศษ ๆ ต่อปีซึ่งต่ำกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอื่น ๆ มาก เช่นเดียวกับตลาดหุ้นที่ถดถอยลงตกต่ำลงอย่างหนักต่อเนื่องยาวนานเกินกว่า 10 ปีและต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้หรือพูดง่าย ๆ ว่ายังไม่ฟื้นหลังจากผ่านมากว่า 20 ปีแล้ว
ในสหรัฐอเมริกาเองนั้น Lost Decade ก็เคยเกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่ช่วงปี 2000 ที่เกิดวิกฤติ Dotcom ที่บริษัทไฮเท็คที่จดทะเบียนในตลาดนาสดาคเกิดปรากฎการณ์ “ฟองสบู่แตก” และตามมาด้วยวิกฤติอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นในปี 2008 ทำให้ความมั่งคั่งของคนอเมริกันหดหายไปมากส่งผลให้ต้องลดค่าใช้จ่ายซึ่งทำให้เศรษฐกิจของประเทศในช่วงทศวรรษนี้เติบโตถดถอยลงไปมากที่สุดในช่วงหลาย ๆ ทศวรรษที่ผ่านมา ผลตอบแทนของตลาดหุ้นนั้นติดลบปีละประมาณเกือบ 10% โดยเฉลี่ยซึ่งเลวร้ายยิ่งกว่าวิกฤติตลาดหุ้นครั้งใหญ่ในช่วงทศวรรษ 1930
คนอเมริกันตกงานกันมากมาย อาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมหายไปกว่า 30% แต่หลังจากนั้นในปี 2013 เศรษฐกิจอเมริกันก็เริ่มฟื้นอานิสงค์จากการอัดฉีดเงินมโหฬารเข้าสู่ระบบผ่านการทำ QE ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นฟื้นตัวอย่างแรง ถึงสิ้นปี 2013 ดัชนี S&P ก็ทำสถิติสูงสุดใหม่และยังทำสถิติสูงสุดมาเรื่อย ๆ จนถึงทุกวันนี้ การจ้างงานเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์เฉพาะอย่างยิ่งจากภาคเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นดิจิตอล การเติบโตทางเศรษฐกิจกลับมาสู่ภาวะร้อนแรงและยังมีอนาคตอีกนานแตกต่างจากญี่ปุ่นที่ดูเหมือนว่ากำลังถดถอยลงไปเรื่อย ๆ ในระดับโลก ความแตกต่างอย่างหนึ่งซึ่งเด่นชัดมากน่าจะเป็นเพราะว่าคนญี่ปุ่นนั้นแก่ตัวลงแบบสมบูรณ์ในขณะที่อเมริกายังไม่เป็นแบบนั้นอานิสงค์จากผู้อพยพที่ยังหลั่งไหลเข้าไปอยู่แม้ว่าจะยากขึ้นเนื่องจากนโยบายของประธานาธิบดีทรั้มป์
กลับมาที่เมืองไทย ภาวะเศรษฐกิจที่ดีเยี่ยมและดีนั้นดูเหมือนว่าจะสิ้นสุดในปี 2555 ที่เศรษฐกิจเติบโตขึ้นถึง 7.2% หลังจากภาวะน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 ที่ทำให้เศรษฐกิจหดตัวลงอย่างแรงโตเพียง 0.8% หลังจากนั้นคือตั้งแต่ปี 2556 เศรษฐกิจไทยก็ถดถอยลงตามลำดับ โตโดยเฉลี่ยแค่ประมาณ 3% ต่อปี และแทบไม่เคยโตได้เกิน 4% ต่อปีในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา
บางคนอาจบอกว่าเศรษฐกิจไทยไม่เลวร้าย คนไทยยังมีเงินมหาศาล เงินล้นและถูกนำไปฝากในระบบธนาคารซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์มานานมาก ฐานะเงินสำรองของประเทศสูงเป็นประวัติการณ์และสูงมากซึ่งทำให้ค่าเงินบาทแข็งตัวอย่างมากในช่วงเร็ว ๆ นี้ ปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงินของไทยไม่มีแน่นอน แต่นี่ก็คือสถานการณ์ของญี่ปุ่นในช่วง Lost Decade หลายสิบปีมาแล้ว คนญี่ปุ่นในช่วงนั้นมีเงินเก็บสูงมากและไม่นำเงินออกมาใช้ทำให้การบริโภคไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้การผลิตและการลงทุนไม่เพิ่มขึ้นทั้ง ๆ ที่อัตราดอกเบี้ยต่ำมาก กลายเป็น “Liquidity Trap” บางทีอาจจะเป็นเพราะว่าคนญี่ปุ่นในช่วงนั้นต้องรีบออมเงินเพื่อการเกษียณก็เป็นได้
เศรษฐกิจที่ไม่ดีต่อเนื่องมาเกือบ 7 ปี อาจจะมีผลต่อตลาดหุ้นไทยที่ดูเหมือนว่าจะไม่ไปไหนมาเกือบ 7 ปีเหมือนกัน ประมาณ เดือนเมษายน ปี 2556 หรือกว่า 6 ปีมาแล้วหลังจากประกาศงบการเงินประจำปีของบริษัทจดทะเบียน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ประมาณ 1,600 จุด มาถึงวันที่ 6 ธันวาคม 2562 ดัชนีอยู่ที่ประมาณ 1,560 จุดหรือลดลง 40 จุดในเวลา 6 ปี และในระหว่างนั้น ส่วนใหญ่แล้วดัชนีก็แกว่งไม่เกิน 100 จุด คนที่ลงทุนระยะยาวอิงกับดัชนีได้แค่ปันผลจากการลงทุนในแต่ละปี คนที่เทรดหุ้นและเสียค่าคอมมิชชั่นส่วนใหญ่น่าจะขาดทุนจากการเล่นหุ้นในตลาด
คำถามก็คือ อีก 3-4 ปีก็จะครบ 10 ปีหรือหนึ่งทศวรรษ เป็นไปได้ไหมว่าดัชนีก็อาจจะไม่ไปไหนและนั่นสำหรับนักลงทุนที่ลงทุนระยะยาวตามดัชนีอาจจะแทบไม่ได้อะไรและจะกลายเป็น Lost Decade หรือทศวรรษที่หายไปในการลงทุนอย่างที่เคยเกิดมาแล้วในญี่ปุ่นหรือในสหรัฐในช่วงเวลาหนึ่ง
การตอบคำถามนี้ก็ต้องดูว่าภาวะทางเศรษฐกิจของไทยนับจากนี้ไปอีก 3-4 ปีและต่อ ๆ ไปจะเป็นอย่างไร คำตอบที่มาจากการศึกษากรณีของญี่ปุ่นและบางส่วนจากสหรัฐนั้นดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยดีนัก
ย้อนหลังกลับไปถึงตอนสิ้นปี 2545 หรือ 5 ปีหลังภาวะวิกฤติปี 2540 ตัวเลขต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจของไทยก็ดูเหมือนว่าจะฟื้นแล้ว เศรษฐกิจในปี 2545 เติบโตขึ้น 6.1% หลังจากที่ติดลบมา 2 ปีต่อเนื่องจากปีวิกฤติและเติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ ต่อมาอีก 3 ปี ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เมื่อสิ้นปี 2545 คือ 356 จุดซึ่งก็ยังต่ำกว่าตอนสิ้นปี 2540 ที่เกิดวิกฤติที่ 373 จุด และนี่คือ “โอกาสทอง” ของการลงทุน เพราะหลังจากนั้นอีกหนึ่งทศวรรษคือเดือนเมษายนปี 2555 ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้นเป็น 1,600 จุด หรือเป็น 4.5 เท่า คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นปีละ 16.2 % ไม่รวมปันผล และกลายเป็น “ทศวรรษทอง” ของการลงทุนโดยเฉพาะของนักลงทุนแบบ VI ซึ่งเริ่มเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอย่างจริงจังในช่วงเวลาเดียวกันนั้น
การสิ้นสุดของ “ทศวรรษทอง” และตามมาด้วย “ทศวรรษที่หายไป” นั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในกรณีของญี่ปุ่นและสหรัฐ เวลานี้อาจจะมีคำถามว่าจะเป็นในกรณีของไทยด้วยไหมหลังจากที่เศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยหงอยเหงามาเกือบ 7 ปีแล้วและเต็มไปด้วยปัญหาที่คล้าย ๆ กับกรณีของญี่ปุ่นซึ่งรวมถึงประชากรที่แก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว และถ้าเกิดขึ้นจริงคือในอีก 3 -4 ปีข้างหน้า หลังจากนั้นเราจะเป็นเหมือนสหรัฐที่ฟื้นตัวหรือเป็นแบบญี่ปุ่นที่ “Lost” ต่อไป นี่เป็นสิ่งที่คนไทยจะต้องคิดและตระหนักและหาทางแก้ไข ขั้นแรกก็คือพยายามอย่าให้มันเกิด ประการต่อมาก็คือ ถ้ามันเกิดขึ้นจะทำอย่างไรต่อไป
ผมเองก็ไม่มีคำตอบ ตอนนี้ก็ได้แต่สวดมนต์และคิดว่าโดยส่วนตัวจะต้องทำอะไรหรืออาจจะต้องทำอะไรในอนาคต แต่บางครั้งผมก็คิดว่าเราไม่ควรกังวลเกินไป ยังไงเราก็เอาตัวรอดได้ เรา “ผ่านร้อนผ่านหนาว” มามาก และ “ในวิกฤติก็มีโอกาสเสมอ”
อย่างไรก็ตาม พัฒนาการในช่วงประมาณ 6-7 ปีที่ผ่านมานั้นกลับค่อนข้าง “น่าผิดหวัง” ตัวเลขและข้อมูลทางด้านคุณภาพของเศรษฐกิจ สังคมการเมืองและตลาดหุ้นที่เคยโดดเด่นนั้นกำลังตกต่ำลงอย่างน่าใจหาย และที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ ไม่รู้ว่ามันจะ Turnaround หรือฟื้นกลับขึ้นมาได้อย่างไร พูดตามตรง ผมกำลังกลัวว่าเรากำลังเดินหน้าไปสู่ภาวะที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “Lost Decade” หรือ “ทศวรรษที่หายไป”
แรกเริ่มนั้น Lost Decade เป็นคำที่ใช้เรียก “วิกฤติเศรษฐกิจ” ของญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษที่ 1990 หลังจากที่ญี่ปุ่นเติบโตขึ้นสุดยอดตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงช่วงทศวรรษที่ 1980 ที่ GDP ต่อหัวของญี่ปุ่นสูงที่สุดในโลกและเรื่องราวต่าง ๆ ของระบบการบริหารของบริษัทญี่ปุ่นเช่น Just In Time หรือชื่อเสียงของบริษัทอย่างโซนี่และโตโยต้านั้นเป็นแบรนด์เนมที่คนยอมรับกันทั้งโลก แต่หลังจากนั้น ในช่วงตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 แรงเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และการบริหารงานที่ผิดพลาดของรัฐก็ทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำลง การเติบโตทางเศรษฐกิจที่เคยสูงมากลดลงจนเหลือเพียงประมาณ 1% เศษ ๆ ต่อปีซึ่งต่ำกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอื่น ๆ มาก เช่นเดียวกับตลาดหุ้นที่ถดถอยลงตกต่ำลงอย่างหนักต่อเนื่องยาวนานเกินกว่า 10 ปีและต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้หรือพูดง่าย ๆ ว่ายังไม่ฟื้นหลังจากผ่านมากว่า 20 ปีแล้ว
ในสหรัฐอเมริกาเองนั้น Lost Decade ก็เคยเกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่ช่วงปี 2000 ที่เกิดวิกฤติ Dotcom ที่บริษัทไฮเท็คที่จดทะเบียนในตลาดนาสดาคเกิดปรากฎการณ์ “ฟองสบู่แตก” และตามมาด้วยวิกฤติอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นในปี 2008 ทำให้ความมั่งคั่งของคนอเมริกันหดหายไปมากส่งผลให้ต้องลดค่าใช้จ่ายซึ่งทำให้เศรษฐกิจของประเทศในช่วงทศวรรษนี้เติบโตถดถอยลงไปมากที่สุดในช่วงหลาย ๆ ทศวรรษที่ผ่านมา ผลตอบแทนของตลาดหุ้นนั้นติดลบปีละประมาณเกือบ 10% โดยเฉลี่ยซึ่งเลวร้ายยิ่งกว่าวิกฤติตลาดหุ้นครั้งใหญ่ในช่วงทศวรรษ 1930
คนอเมริกันตกงานกันมากมาย อาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมหายไปกว่า 30% แต่หลังจากนั้นในปี 2013 เศรษฐกิจอเมริกันก็เริ่มฟื้นอานิสงค์จากการอัดฉีดเงินมโหฬารเข้าสู่ระบบผ่านการทำ QE ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นฟื้นตัวอย่างแรง ถึงสิ้นปี 2013 ดัชนี S&P ก็ทำสถิติสูงสุดใหม่และยังทำสถิติสูงสุดมาเรื่อย ๆ จนถึงทุกวันนี้ การจ้างงานเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์เฉพาะอย่างยิ่งจากภาคเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นดิจิตอล การเติบโตทางเศรษฐกิจกลับมาสู่ภาวะร้อนแรงและยังมีอนาคตอีกนานแตกต่างจากญี่ปุ่นที่ดูเหมือนว่ากำลังถดถอยลงไปเรื่อย ๆ ในระดับโลก ความแตกต่างอย่างหนึ่งซึ่งเด่นชัดมากน่าจะเป็นเพราะว่าคนญี่ปุ่นนั้นแก่ตัวลงแบบสมบูรณ์ในขณะที่อเมริกายังไม่เป็นแบบนั้นอานิสงค์จากผู้อพยพที่ยังหลั่งไหลเข้าไปอยู่แม้ว่าจะยากขึ้นเนื่องจากนโยบายของประธานาธิบดีทรั้มป์
กลับมาที่เมืองไทย ภาวะเศรษฐกิจที่ดีเยี่ยมและดีนั้นดูเหมือนว่าจะสิ้นสุดในปี 2555 ที่เศรษฐกิจเติบโตขึ้นถึง 7.2% หลังจากภาวะน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 ที่ทำให้เศรษฐกิจหดตัวลงอย่างแรงโตเพียง 0.8% หลังจากนั้นคือตั้งแต่ปี 2556 เศรษฐกิจไทยก็ถดถอยลงตามลำดับ โตโดยเฉลี่ยแค่ประมาณ 3% ต่อปี และแทบไม่เคยโตได้เกิน 4% ต่อปีในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา
บางคนอาจบอกว่าเศรษฐกิจไทยไม่เลวร้าย คนไทยยังมีเงินมหาศาล เงินล้นและถูกนำไปฝากในระบบธนาคารซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์มานานมาก ฐานะเงินสำรองของประเทศสูงเป็นประวัติการณ์และสูงมากซึ่งทำให้ค่าเงินบาทแข็งตัวอย่างมากในช่วงเร็ว ๆ นี้ ปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงินของไทยไม่มีแน่นอน แต่นี่ก็คือสถานการณ์ของญี่ปุ่นในช่วง Lost Decade หลายสิบปีมาแล้ว คนญี่ปุ่นในช่วงนั้นมีเงินเก็บสูงมากและไม่นำเงินออกมาใช้ทำให้การบริโภคไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้การผลิตและการลงทุนไม่เพิ่มขึ้นทั้ง ๆ ที่อัตราดอกเบี้ยต่ำมาก กลายเป็น “Liquidity Trap” บางทีอาจจะเป็นเพราะว่าคนญี่ปุ่นในช่วงนั้นต้องรีบออมเงินเพื่อการเกษียณก็เป็นได้
เศรษฐกิจที่ไม่ดีต่อเนื่องมาเกือบ 7 ปี อาจจะมีผลต่อตลาดหุ้นไทยที่ดูเหมือนว่าจะไม่ไปไหนมาเกือบ 7 ปีเหมือนกัน ประมาณ เดือนเมษายน ปี 2556 หรือกว่า 6 ปีมาแล้วหลังจากประกาศงบการเงินประจำปีของบริษัทจดทะเบียน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ประมาณ 1,600 จุด มาถึงวันที่ 6 ธันวาคม 2562 ดัชนีอยู่ที่ประมาณ 1,560 จุดหรือลดลง 40 จุดในเวลา 6 ปี และในระหว่างนั้น ส่วนใหญ่แล้วดัชนีก็แกว่งไม่เกิน 100 จุด คนที่ลงทุนระยะยาวอิงกับดัชนีได้แค่ปันผลจากการลงทุนในแต่ละปี คนที่เทรดหุ้นและเสียค่าคอมมิชชั่นส่วนใหญ่น่าจะขาดทุนจากการเล่นหุ้นในตลาด
คำถามก็คือ อีก 3-4 ปีก็จะครบ 10 ปีหรือหนึ่งทศวรรษ เป็นไปได้ไหมว่าดัชนีก็อาจจะไม่ไปไหนและนั่นสำหรับนักลงทุนที่ลงทุนระยะยาวตามดัชนีอาจจะแทบไม่ได้อะไรและจะกลายเป็น Lost Decade หรือทศวรรษที่หายไปในการลงทุนอย่างที่เคยเกิดมาแล้วในญี่ปุ่นหรือในสหรัฐในช่วงเวลาหนึ่ง
การตอบคำถามนี้ก็ต้องดูว่าภาวะทางเศรษฐกิจของไทยนับจากนี้ไปอีก 3-4 ปีและต่อ ๆ ไปจะเป็นอย่างไร คำตอบที่มาจากการศึกษากรณีของญี่ปุ่นและบางส่วนจากสหรัฐนั้นดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยดีนัก
ย้อนหลังกลับไปถึงตอนสิ้นปี 2545 หรือ 5 ปีหลังภาวะวิกฤติปี 2540 ตัวเลขต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจของไทยก็ดูเหมือนว่าจะฟื้นแล้ว เศรษฐกิจในปี 2545 เติบโตขึ้น 6.1% หลังจากที่ติดลบมา 2 ปีต่อเนื่องจากปีวิกฤติและเติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ ต่อมาอีก 3 ปี ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เมื่อสิ้นปี 2545 คือ 356 จุดซึ่งก็ยังต่ำกว่าตอนสิ้นปี 2540 ที่เกิดวิกฤติที่ 373 จุด และนี่คือ “โอกาสทอง” ของการลงทุน เพราะหลังจากนั้นอีกหนึ่งทศวรรษคือเดือนเมษายนปี 2555 ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้นเป็น 1,600 จุด หรือเป็น 4.5 เท่า คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นปีละ 16.2 % ไม่รวมปันผล และกลายเป็น “ทศวรรษทอง” ของการลงทุนโดยเฉพาะของนักลงทุนแบบ VI ซึ่งเริ่มเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอย่างจริงจังในช่วงเวลาเดียวกันนั้น
การสิ้นสุดของ “ทศวรรษทอง” และตามมาด้วย “ทศวรรษที่หายไป” นั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในกรณีของญี่ปุ่นและสหรัฐ เวลานี้อาจจะมีคำถามว่าจะเป็นในกรณีของไทยด้วยไหมหลังจากที่เศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยหงอยเหงามาเกือบ 7 ปีแล้วและเต็มไปด้วยปัญหาที่คล้าย ๆ กับกรณีของญี่ปุ่นซึ่งรวมถึงประชากรที่แก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว และถ้าเกิดขึ้นจริงคือในอีก 3 -4 ปีข้างหน้า หลังจากนั้นเราจะเป็นเหมือนสหรัฐที่ฟื้นตัวหรือเป็นแบบญี่ปุ่นที่ “Lost” ต่อไป นี่เป็นสิ่งที่คนไทยจะต้องคิดและตระหนักและหาทางแก้ไข ขั้นแรกก็คือพยายามอย่าให้มันเกิด ประการต่อมาก็คือ ถ้ามันเกิดขึ้นจะทำอย่างไรต่อไป
ผมเองก็ไม่มีคำตอบ ตอนนี้ก็ได้แต่สวดมนต์และคิดว่าโดยส่วนตัวจะต้องทำอะไรหรืออาจจะต้องทำอะไรในอนาคต แต่บางครั้งผมก็คิดว่าเราไม่ควรกังวลเกินไป ยังไงเราก็เอาตัวรอดได้ เรา “ผ่านร้อนผ่านหนาว” มามาก และ “ในวิกฤติก็มีโอกาสเสมอ”