จุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของนโยบายการค้าของทรัมป์ (1)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 19, 2019 7:31 pm
“Practical men who believe themselves to be quite exempt from any intellectual influence, are usually the slaves of some defunct economist. Madmen in authority, who hear voices in the air, are distilling their frenzy from some academic scribbler of a few years back” John Maynard Keynes
นโยบายการค้าของประธานาธิบดีทรัมป์นั้นสรุปได้ดังนี้
1.ประเทศใดที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐ ประเทศนั้นเอาเปรียบสหรัฐและจะให้เป็นเช่นนั้นต่อไปไม่ได้
2.การเก็บภาษีศุลกากรเพื่อกีดกันการส่งออกของประเทศคู่ค้าเป็นกลไกสำคัญในการทำให้การค้าสมดุล (และเป็นธรรม) และจะไม่ส่งผลกระทบต่อสหรัฐ เพราะผู้จ่ายภาษีคือผู้ส่งออก นอกจากนั้นรัฐบาลสหรัฐยังมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
3.การกีดกันการค้าดังกล่าวจะเป็นแรงกดดันให้ประเทศคู่ค้าต้องทำตามความต้องการของสหรัฐและ/หรือจะผลักดันให้ธุรกิจสหรัฐ (ที่ไปลงทุนในต่างประเทศ) ต้องย้ายฐานการผลิตกลับมาลงทุนผลิตสินค้าในสหรัฐในที่สุด ซึ่งจะเป็นการสร้างงานและเพิ่มจีดีพีของสหรัฐ
แนวคิดดังกล่าวของประธานาธิบดีทรัมป์นั้นจะเห็นได้ว่าถูกนำออกมาใช้เป็นนโยบายแบบไม่เลือกปฏิบัติ เพราะทรัมป์ข่มขู่ทุกประเทศไม่เว้นแม้แต่ประเทศพันธมิตรที่ใกล้ชิดสหรัฐมากที่สุด เช่น ประเทศสมาชิกนาโต้ จนกระทั่งประธานาธิบดีมาครง ของฝรั่งเศสออกมายอมรับว่าปัจจุบันนั้นนาโต้อยู่ในสภาวะ “สมองตาย” แล้ว เพราะไม่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐทั้งในเชิงของเศรษฐกิจและความมั่นคง กล่าวคือภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์นั้น นโยบาย America First ดูเสมือนว่าจะเป็นนโยบายที่สหรัฐจะต้องการไม่ให้ถูกเอาเปรียบทางเศรษฐกิจ โดยไม่เลือกว่าประเทศใดเป็นประเทศพันธมิตรหรือเป็นคู่ปรปักษ์
แต่หากกลับไปดูตัวเลขการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนภายใต้นโยบายขึ้นภาษีศุลกากรของประธานาธิบดีทรัมป์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ก็จะพบว่าสหรัฐยังขาดดุลการค้ากับจีนมากเกือบเท่าเดิมและสหรัฐขาดดุลการค้าโดยรวมกับทุกประเทศมากกว่าเดิม ทั้งนี้เพราะการขาดดุลการค้าอย่างเรื้อรังที่เกิดขึ้นกับสหรัฐนั้น เป็นผลมาจากการที่ประเทศสหรัฐใช้จ่ายเกินตัว ผลิตสินค้าภายในประเทศได้ไม่พอกับความต้องการของคนอเมริกันและประเทศคู่ค้าก็ยอมปล่อยกู้ให้สหรัฐใช้จ่ายเกินตัว ไม่ใช่เพราะถูกเอาเปรียบ (เนื่องจากการค้า-ขายนั้นเป็นการทำธุรกรรมที่สมัครใจ ดังนั้นจึงเป็นการกระทำที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ประโยชน์) หากประเทศจีนคิดจะ “เอาเปรียบ” สหรัฐโดยการ “กด” ค่าเงินให้ต่ำ ก็ต้องเห็นการเพิ่มขึ้นของทุนสำรองระหว่างประเทศและจะเป็นการที่จีนยอมขายสินค้าและบริการให้กับสหรัฐโดยการแลกกับ “กระดาษ” คือเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอเมริกาจะพิมพ์ขึ้นออกมาได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
หากถามว่ากระดาษที่สหรัฐพิมพ์ออกมาเป็นเงินดอลลาร์นั้น มีค่าหรือไม่ ก็ต้องบอกว่ามีค่าในฐานะที่เป็นเงินที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้กลายเป็นเงินตราหลักของโลก โดยมิได้มีการบังคับโดยสนธิสัญญาระหว่างประเทศใดๆ เลย แต่เพราะระบบการเงินของสหรัฐมีประสิทธิภาพสูง (มีทั้ง “ความลึก” และ “ความกว้าง”) มากกว่าเงินสกุลอื่นๆ แต่ในระยะหลังนี้รัฐบาลทรัมป์นำเอาระบบเงินของสหรัฐมาใช้เป็นเครื่องมือในการลงโทษประเทศต่างๆ ซึ่งในระยะสั้นนั้นมีศักยภาพสูง แต่ในระยะยาวนั้นผมเชื่อว่าหลายประเทศ(โดยเฉพาะจีนกับรัสเซีย) กำลังพยายามหาทางที่จะลดการพึ่งพาระบบการเงินของสหรัฐ เราจึงเห็นการเร่งเก็บทองคำเข้ามาเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคารกลางหลายประเทศ
ผมเห็นว่านโยบายการค้าของประธานาธิบดีทรัมป์นั้นมีข้อดีอยู่ข้อเดียวคือ ทำให้ได้รับทราบกันอย่างแพร่หลายว่าทำไมการกีดกันการค้านั้นมีแต่ข้อเสีย-ไม่มีข้อดี ซึ่งก่อนหน้านี้บางคนหรือบางกลุ่มจะฝักใฝ่การกีดกันการค้าเพื่อให้เกิดความ “เป็นธรรม” โดยมักจะอ้างว่า แม้แต่การตีกอล์ฟก็ยังมีการกำหนด handicap เพื่อให้เป็นกีฬาที่เกิดการแข่งขันที่ยุติธรรมมากขึ้น นอกจากนั้นก็จะเห็นได้ว่าแนวคิดทางเศรษฐกิจนั้นมีอยู่อย่างหลากหลาย โดย “practical men” ที่มองว่านักวิชาการนั้นมัวแต่นั่งอยู่บนหอคอย แต่แนวคิดที่นึกว่าแปลกใหม่และเฉียบคมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการคิดอย่างผิวเผิน คิดอย่างไม่ครบและคิดอย่างหละหลวม
ปัญหาคือระบบการค้าเสรีที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา ผนวกกับการเชื่อมต่อของเงินทุนและเทคโนโลยีที่นำไปสู่โลกาภิวัฒน์ที่เร่งตัวอย่างมากในช่วง 30 ปีที่ผ่านมานั้น ทำให้ความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้นักการเมืองอย่างทรัมป์และบอริส จอห์นสันในประเทศอังกฤษสามารถนำเสนอนโยบายซึ่งได้รับความนิยม ทำให้สามารถเข้าสู่อำนาจและได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้นำซึ่งกำหนดนโยบายที่ผิดๆ ถูกๆ ได้ ในกรณีของอังกฤษนั้นเป็นไปได้ว่าการออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปนั้น อาจทำให้อังกฤษเปิดตลาดและปฏิรูปเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่หากนึกว่าเมื่อออกจากสหภาพยุโรปแล้ว อังกฤษจะสามารถรีบทำข้อตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐได้อย่างรวดเร็ว ก็คงจะต้องคาดหวังว่าประธานาธิบดีทรัมป์เป็นคนที่ให้ความสำคัญกับระบบตลาดเสรีและรู้ซึ้งถึงความสำคัญของอังกฤษและยุโรปในการเป็นพันธมิตรที่ดีของสหรัฐ (และไม่ปล่อยให้นาโต้ต้องอยู่ในสภาวะ “สมองตาย”)
ผมเชื่อว่าหลังจากที่สหรัฐกับจีนทำสงครามการค้าระหว่างกันมาร่วม 2 ปีและทำการเจรจาการค้ากันมาประมาณ 12-13 รอบแล้วนั้น นโยบายการค้าของทรัมป์กำลังจะมาถึงจุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ ซึ่งผมจะขยายความในตอนต่อไปครับ
นโยบายการค้าของประธานาธิบดีทรัมป์นั้นสรุปได้ดังนี้
1.ประเทศใดที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐ ประเทศนั้นเอาเปรียบสหรัฐและจะให้เป็นเช่นนั้นต่อไปไม่ได้
2.การเก็บภาษีศุลกากรเพื่อกีดกันการส่งออกของประเทศคู่ค้าเป็นกลไกสำคัญในการทำให้การค้าสมดุล (และเป็นธรรม) และจะไม่ส่งผลกระทบต่อสหรัฐ เพราะผู้จ่ายภาษีคือผู้ส่งออก นอกจากนั้นรัฐบาลสหรัฐยังมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
3.การกีดกันการค้าดังกล่าวจะเป็นแรงกดดันให้ประเทศคู่ค้าต้องทำตามความต้องการของสหรัฐและ/หรือจะผลักดันให้ธุรกิจสหรัฐ (ที่ไปลงทุนในต่างประเทศ) ต้องย้ายฐานการผลิตกลับมาลงทุนผลิตสินค้าในสหรัฐในที่สุด ซึ่งจะเป็นการสร้างงานและเพิ่มจีดีพีของสหรัฐ
แนวคิดดังกล่าวของประธานาธิบดีทรัมป์นั้นจะเห็นได้ว่าถูกนำออกมาใช้เป็นนโยบายแบบไม่เลือกปฏิบัติ เพราะทรัมป์ข่มขู่ทุกประเทศไม่เว้นแม้แต่ประเทศพันธมิตรที่ใกล้ชิดสหรัฐมากที่สุด เช่น ประเทศสมาชิกนาโต้ จนกระทั่งประธานาธิบดีมาครง ของฝรั่งเศสออกมายอมรับว่าปัจจุบันนั้นนาโต้อยู่ในสภาวะ “สมองตาย” แล้ว เพราะไม่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐทั้งในเชิงของเศรษฐกิจและความมั่นคง กล่าวคือภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์นั้น นโยบาย America First ดูเสมือนว่าจะเป็นนโยบายที่สหรัฐจะต้องการไม่ให้ถูกเอาเปรียบทางเศรษฐกิจ โดยไม่เลือกว่าประเทศใดเป็นประเทศพันธมิตรหรือเป็นคู่ปรปักษ์
แต่หากกลับไปดูตัวเลขการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนภายใต้นโยบายขึ้นภาษีศุลกากรของประธานาธิบดีทรัมป์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ก็จะพบว่าสหรัฐยังขาดดุลการค้ากับจีนมากเกือบเท่าเดิมและสหรัฐขาดดุลการค้าโดยรวมกับทุกประเทศมากกว่าเดิม ทั้งนี้เพราะการขาดดุลการค้าอย่างเรื้อรังที่เกิดขึ้นกับสหรัฐนั้น เป็นผลมาจากการที่ประเทศสหรัฐใช้จ่ายเกินตัว ผลิตสินค้าภายในประเทศได้ไม่พอกับความต้องการของคนอเมริกันและประเทศคู่ค้าก็ยอมปล่อยกู้ให้สหรัฐใช้จ่ายเกินตัว ไม่ใช่เพราะถูกเอาเปรียบ (เนื่องจากการค้า-ขายนั้นเป็นการทำธุรกรรมที่สมัครใจ ดังนั้นจึงเป็นการกระทำที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ประโยชน์) หากประเทศจีนคิดจะ “เอาเปรียบ” สหรัฐโดยการ “กด” ค่าเงินให้ต่ำ ก็ต้องเห็นการเพิ่มขึ้นของทุนสำรองระหว่างประเทศและจะเป็นการที่จีนยอมขายสินค้าและบริการให้กับสหรัฐโดยการแลกกับ “กระดาษ” คือเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอเมริกาจะพิมพ์ขึ้นออกมาได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
หากถามว่ากระดาษที่สหรัฐพิมพ์ออกมาเป็นเงินดอลลาร์นั้น มีค่าหรือไม่ ก็ต้องบอกว่ามีค่าในฐานะที่เป็นเงินที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้กลายเป็นเงินตราหลักของโลก โดยมิได้มีการบังคับโดยสนธิสัญญาระหว่างประเทศใดๆ เลย แต่เพราะระบบการเงินของสหรัฐมีประสิทธิภาพสูง (มีทั้ง “ความลึก” และ “ความกว้าง”) มากกว่าเงินสกุลอื่นๆ แต่ในระยะหลังนี้รัฐบาลทรัมป์นำเอาระบบเงินของสหรัฐมาใช้เป็นเครื่องมือในการลงโทษประเทศต่างๆ ซึ่งในระยะสั้นนั้นมีศักยภาพสูง แต่ในระยะยาวนั้นผมเชื่อว่าหลายประเทศ(โดยเฉพาะจีนกับรัสเซีย) กำลังพยายามหาทางที่จะลดการพึ่งพาระบบการเงินของสหรัฐ เราจึงเห็นการเร่งเก็บทองคำเข้ามาเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคารกลางหลายประเทศ
ผมเห็นว่านโยบายการค้าของประธานาธิบดีทรัมป์นั้นมีข้อดีอยู่ข้อเดียวคือ ทำให้ได้รับทราบกันอย่างแพร่หลายว่าทำไมการกีดกันการค้านั้นมีแต่ข้อเสีย-ไม่มีข้อดี ซึ่งก่อนหน้านี้บางคนหรือบางกลุ่มจะฝักใฝ่การกีดกันการค้าเพื่อให้เกิดความ “เป็นธรรม” โดยมักจะอ้างว่า แม้แต่การตีกอล์ฟก็ยังมีการกำหนด handicap เพื่อให้เป็นกีฬาที่เกิดการแข่งขันที่ยุติธรรมมากขึ้น นอกจากนั้นก็จะเห็นได้ว่าแนวคิดทางเศรษฐกิจนั้นมีอยู่อย่างหลากหลาย โดย “practical men” ที่มองว่านักวิชาการนั้นมัวแต่นั่งอยู่บนหอคอย แต่แนวคิดที่นึกว่าแปลกใหม่และเฉียบคมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการคิดอย่างผิวเผิน คิดอย่างไม่ครบและคิดอย่างหละหลวม
ปัญหาคือระบบการค้าเสรีที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา ผนวกกับการเชื่อมต่อของเงินทุนและเทคโนโลยีที่นำไปสู่โลกาภิวัฒน์ที่เร่งตัวอย่างมากในช่วง 30 ปีที่ผ่านมานั้น ทำให้ความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้นักการเมืองอย่างทรัมป์และบอริส จอห์นสันในประเทศอังกฤษสามารถนำเสนอนโยบายซึ่งได้รับความนิยม ทำให้สามารถเข้าสู่อำนาจและได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้นำซึ่งกำหนดนโยบายที่ผิดๆ ถูกๆ ได้ ในกรณีของอังกฤษนั้นเป็นไปได้ว่าการออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปนั้น อาจทำให้อังกฤษเปิดตลาดและปฏิรูปเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่หากนึกว่าเมื่อออกจากสหภาพยุโรปแล้ว อังกฤษจะสามารถรีบทำข้อตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐได้อย่างรวดเร็ว ก็คงจะต้องคาดหวังว่าประธานาธิบดีทรัมป์เป็นคนที่ให้ความสำคัญกับระบบตลาดเสรีและรู้ซึ้งถึงความสำคัญของอังกฤษและยุโรปในการเป็นพันธมิตรที่ดีของสหรัฐ (และไม่ปล่อยให้นาโต้ต้องอยู่ในสภาวะ “สมองตาย”)
ผมเชื่อว่าหลังจากที่สหรัฐกับจีนทำสงครามการค้าระหว่างกันมาร่วม 2 ปีและทำการเจรจาการค้ากันมาประมาณ 12-13 รอบแล้วนั้น นโยบายการค้าของทรัมป์กำลังจะมาถึงจุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ ซึ่งผมจะขยายความในตอนต่อไปครับ