เล่นหุ้นตามรอบ/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 10, 2019 12:22 pm
สำหรับคนที่เกาะติดตลาดหุ้นและลงทุนหรือเล่นหุ้นตลอดเวลามานานหลาย ๆ ปีและ “จำได้” ก็จะพบว่าผลตอบแทนการลงทุนและความนิยมของหุ้นกลุ่มต่าง ๆ นั้น บ่อยครั้งก็จะมี “รอบ” ของมัน ความหมายก็คือ ในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งมักจะเป็นเวลาเกินปีหรือบางครั้งก็หลายปี จะมีหุ้นกลุ่มหนึ่งหรือบางทีมากกว่านั้นที่ผลตอบแทนหรือราคาหุ้นจะเติบโตโดดเด่นเป็นพิเศษ
ตอนเริ่มแรกก็อาจจะมีแค่หุ้นบางตัวในกลุ่มที่วิ่งขึ้นไปแรงมากด้วยเหตุผลต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงผลประกอบการที่เติบโตขึ้นมาก และเรื่องราวหรือสตอรี่ของบริษัทที่สดใส รายได้และ/หรือโครงการในอนาคตนั้นจะเพิ่มพูนขึ้นมากจากโครงการทั้งปัจจุบันและอนาคตที่มั่นคงอานิสงค์จากการเติบโตของอุตสาหกรรมที่เป็น “เมกาเทรนด์” ประกอบกับความสามารถของบริษัทที่ได้มีการพิสูจน์แล้ว
ต่อมาหุ้นที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมหรือธุรกิจเดียวกันก็เริ่มวิ่งตามมา เหตุผลก็แบบเดียวกันนั่นคือ บริษัทก็มีกำไรที่ดี มีโครงการใหม่ไม่น้อยไปกว่ากันเท่าไร และก็เช่นเดียวกัน มีความสามารถในการแข่งขันไม่ด้อยไปกว่ากันนัก หลังจากนั้นก็จะมีหุ้นตัวที่สาม ที่สี่ และต่อ ๆ ไปที่ยังไม่ขึ้นก็จะปรับตัวขึ้นตามกันไป เหตุผลคงเป็นเพราะว่านักลงทุนและนักเล่นหุ้นต่างก็เชื่อว่าหุ้นในกลุ่มนี้ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันจะต้องดีเหมือนตัวแรกและเหมือนกันหมด เพราะฉะนั้นจะต้องรีบซื้อก่อนที่มันจะขึ้น ดังนั้นหุ้นจึงขึ้น และเมื่อหุ้นเริ่มขึ้น นักเล่นหุ้นคนต่อมาก็จะรีบเข้าซื้อเพราะกลัว “ตกรถ” ดังนั้น หุ้นจึงต้องขึ้นต่อไป กลายเป็น “รอบ” ของหุ้น ซึ่งล่าสุดของปรากฏการณ์นี้ก็คือรอบของ “หุ้นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่” ที่เราเห็นหุ้นของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เกือบทุกตัววิ่งขึ้นไปอย่างแรงเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว
รอบของหุ้นนั้นมักจะมาเมื่อภาวะทางอุตสาหกรรมเอื้ออำนวย และภาวะทางอุตสาหกรรมนั้นก็มักจะอิงอยู่กับภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย แต่นี่ไม่ใช่เรื่องของการเติบโตทางเศรษฐกิจปีต่อปีแต่มักจะเป็นเรื่องของสถานะหรือระดับของความมั่งคั่งของคนไทยที่ก่อให้เกิด “เมกาเทรนด์” ที่เอื้ออำนวยให้กับอุตสาหกรรมนั้น ๆ ดังนั้น “รอบของหุ้น” ในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจจึงมักจะไม่ใช่ลักษณะของวัฏจักรที่จะวนกลับมาเป็นรอบ ๆ แต่มักจะเป็นลักษณะที่มาแล้วก็อาจจะหายไปเลยไม่หมุนเวียนกลับมาอีกหรือกว่าจะกลับมาก็นานจนลืมไปเลย ลองมาดูรอบของหุ้นในธุรกิจต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ก่อตั้งดู
ยุคแรก ๆ ของตลาดหลักทรัพย์นั้น หุ้นที่มารอบแรกนั้นดูเหมือนว่าจะเป็นหุ้น “Finance” หรือกลุ่มบริษัท “เงินทุนหลักทรัพย์” ที่เป็นทั้งโบรกเกอร์ซื้อขายหุ้นและเป็นบริษัทเงินทุนซึ่งมักจะปล่อยเงินกู้เช่าซื้อรถยนต์ ปล่อยเงินกู้มาร์จินซื้อขายหุ้น และต่อมาก็ปล่อยเงินกู้ให้กับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังร้อนแรงเนื่องจากผู้บริโภคคนไทยกำลังเติบโตเป็นหนุ่มสาวจำนวนมากที่ต้องการซื้อบ้านเป็นครั้งแรก ด้วยเหตุผลในตอนนั้นก็ชัดเจน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มีการเติบโตมหาศาล บางบริษัทใหญ่ขึ้นมากและเริ่มใช้เทคนิคทางด้านตลาดทุน “สมัยใหม่” เช่น การเทคโอเวอร์กิจการอื่นที่อาศัยเงินจากการระดมทุนในตลาดหุ้น ในช่วงท้ายของ “รอบ” นั้น แม้แต่ธนาคารพาณิชย์เองก็กลายเป็นเป้าหมายของการถูกเทคโอเวอร์
ในส่วนของธุรกิจหลักทรัพย์นั้น บางบริษัทก็อาศัยความได้เปรียบที่ตนเองอยู่ใน “ศูนย์กลางของตลาด” ทำการ “ปั่นหุ้น” ทั้งหุ้นของบริษัทอื่นและหุ้นของตนเองซึ่งทำให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นมหาศาลโดยที่พื้นฐานของกิจการไม่รองรับ พวกเขาทำได้เพราะว่ากฎหมายหลักทรัพย์ยังไม่มีประสิทธภาพ กลต. ก็ยังไม่เกิด นัก “ปั่นหุ้น” ส่วนใหญ่ก็มักจะอยู่ในแวดวงของผู้บริหารบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนที่มักจะใกล้ชิดกับพวกเขา
รอบของหุ้นกลุ่มต่อมาน่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว อานิสงค์จากการที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตและมีคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่จำนวนมากที่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ บริษัทพัฒนาสังหาริมทรัพย์จำนวนมากต่างก็มุ่งหน้าเข้ามาระดมทุนในตลาดหุ้น
ทุกรายต่างก็มี “โครงการ” ในอนาคตมากมาย โครงการที่เพิ่งจะเริ่มเปิดขายบางแห่งนั้น คนแย่งกันเข้าคิวจองตั้งแต่ “ตีสี่” เพื่อที่จะได้สิทธิจอง บางทีเพื่อจะนำใบจองนั้นมาขายต่อทำกำไรได้ทันทีในตอนสายของวันนั้น บริษัทอสังหาริมทรัพย์เหล่านั้น จำนวนมากกู้เงินก้อนใหญ่เป็นเงินดอลลาร์จากต่างประเทศผ่านบริษัทเงินทุนทำให้สามารถได้ต้นทุนที่ต่ำซึ่งจะถูกนำไปซื้อที่ดินเป็น “Land Bank” ราคาถูก ซึ่งจะสามารถนำมาพัฒนาและขายทำกำไรได้อย่างงดงามในอนาคต รอบของหุ้นพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นั้นจบลงเมื่อประเทศไทยเกิดวิกฤติในปี 2540 และเงินบาทอ่อนตัวลงไปประมาณ 50% เทียบกับดอลลาร์สหรัฐซึ่งทำให้คนที่กู้เงินดอลลาร์จำนวนมากล้มละลาย
หลังวิกฤติเศรษฐกิจ เป็นเวลาสั้น ๆ ที่หุ้นในกลุ่มส่งออกที่เหงามานานอานิสงค์จากค่าเงินบาทที่แข็งเกินความเป็นจริง เฟื่องฟูขึ้น ค่าเงินบาทที่อ่อนมากทำให้ผู้ส่งออกได้กำไรเป็น “Windfall Profit” อย่างไรก็ตาม บริษัทส่งออกที่อยู่ในตลาดหุ้นในขณะนั้นมักเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรและประมงขนาดเล็ก ดังนั้น จึงมีนักลงทุนที่ได้ประโยชน์น้อย เหนือสิ่งอื่นใด ในยามนั้นคนที่ยังมีเงินลงทุนในตลาดหุ้นมีน้อยมาก ปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันเหลือเพียง 3-4,000 ล้านบาท
เศรษฐกิจของไทยเริ่มฟื้นตัวหลังวิกฤติประมาณ 4-5 ปี ธุรกิจที่เริ่มมาแรงหลังจากที่หงอยเหงามาตั้งแต่เริ่มดำเนินงานก็คือโทรคมนาคม เฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจ “โทรศัพท์ไร้สาย” พวกเขาเริ่มฟื้นจากความเสียหายจากค่าเงินบาทในขณะเดียวกันเทคโนโลยีเริ่มก้าวหน้าขึ้นมาก ราคาขายโทรศัพท์และค่าบริการลดลงอย่างรวดเร็วจนคนไทยส่วนใหญ่สามารถที่จะซื้อใช้ได้ การเติบโตของยอดขายโทรศัพท์มือถือเป็นไปอย่างก้าวกระโดด ราคาหุ้นของกิจการโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้องวิ่งขึ้นอย่างคึกคัก ตลาดหุ้นเป็นรอบของหุ้นโทรคมนาคม
ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน กิจการกลุ่มหนึ่งที่เริ่มต้นเจริญเติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ แต่มั่นคงก็คือ ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่กำลัง Disrupt หรือทำลายร้านค้าปลีกดั้งเดิมที่มีสาขาน้อยและบริหารงานโดยครอบครัว ค้าปลีกสมัยใหม่เกือบทุกแขนงเริ่มเข้ามาและก็มักจะแข่งขันกันเองด้วยอย่างเข้มข้นทำให้ยังไม่เห็น “ผู้ชนะ” ที่จะ “ยึดกุมธุรกิจ” ราคาหุ้นของบริษัทที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จึงไม่ได้ร้อนแรงอะไรนักในช่วงเริ่มต้น อย่างไรก็ตาม ภายในระยะเวลาไม่นาน เราก็ได้เห็นผู้ชนะในกลุ่มผู้ค้าปลีกแต่ละแขนง พวกเขามียอดขายและกำไรเติบโตขึ้นอย่างโดดเด่นและมั่นคงปีแล้วปีเล่าซึ่งก็ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างช้า ๆ แต่มั่นคงยาวนานกลายเป็นกลุ่มที่มี “ซุปเปอร์สต็อก” มากที่สุดในตลาดหุ้น หลายบริษัทก็ยังเติบโตต่อมาจนถึงทุกวันนี้
ตามมาติด ๆ จากค้าปลีกสมัยใหม่ก็คือหุ้นกลุ่มที่อิงกับ “โรงเรือน” หรือต้องใช้อาคารในการทำการค้าขาย ซึ่งรวมถึงกิจการทำช็อบปิ้งมอล โรงพยาบาลและโรงแรม โดยเฉพาะที่เป็น “ผู้นำ” ต่างก็มีหุ้นที่วิ่งขึ้นไปบางทีเป็นสิบ ๆ เท่าในเวลาแค่ 10 ปี และนี่ก็คือหุ้นในกลุ่มที่ต้อนรับสังคมคนเมืองที่มีรายได้มากขึ้นอย่างรวดเร็วและมีลูกน้อยคนรวมถึงกระแสของนักท่องเที่ยวจากคนจีนที่รวยขึ้นอย่างรวดเร็ว มีลูกน้อยคนและใช้เงินในการท่องเที่ยวมากขึ้นเช่นเดียวกัน
หุ้นที่เคยผ่านรอบของความรุ่งเรืองคึกคักในอดีตนั้น จำนวนมากได้กลายเป็น “หุ้นปันผล” ในปัจจุบัน บางกลุ่มหรือบางบริษัทเองนั้นก็อาจจะสูญหายไปจากความทรงจำของผู้คน บางบริษัทก็อาจจะยังพออยู่ได้ และบางบริษัทก็อาจจะยังยิ่งใหญ่อยู่ หน้าที่ของนักลงทุนแบบ VI ก็คือการวิเคราะห์เหตุผลของการที่หุ้นมีการวิ่งขึ้นเป็นกลุ่มและเป็นรอบว่ามันมีเหตุผลหรือยังมีเหตุผลเพียงพอหรือไม่ มีหุ้น “ตัวปลอม” ที่อาจจะแฝงเข้ามาอยู่ในกลุ่มหรือไม่ มิฉะนั้นเราอาจจะถูกหลอกให้หลงเข้าไปลงทุนได้
เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ต้องดูถึงราคาของหุ้นที่วิ่งขึ้นไปว่าสูงเกินไปหรือไม่ จำไว้เสมอว่า ไม่มีหุ้นที่ “ซื้อได้ทุกราคา” โดยเฉพาะในตลาดหุ้นไทยที่เรายังไม่มี “หุ้นระดับโลก” สำหรับ VI แล้ว จุดสุดท้ายของการวิเคราะห์หุ้นก็คือ ราคาสมเหตุสมผลหรือไม่ มี Margin Of Safety หรือส่วนเผื่อความปลอดภัยหรือไม่
ตอนเริ่มแรกก็อาจจะมีแค่หุ้นบางตัวในกลุ่มที่วิ่งขึ้นไปแรงมากด้วยเหตุผลต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงผลประกอบการที่เติบโตขึ้นมาก และเรื่องราวหรือสตอรี่ของบริษัทที่สดใส รายได้และ/หรือโครงการในอนาคตนั้นจะเพิ่มพูนขึ้นมากจากโครงการทั้งปัจจุบันและอนาคตที่มั่นคงอานิสงค์จากการเติบโตของอุตสาหกรรมที่เป็น “เมกาเทรนด์” ประกอบกับความสามารถของบริษัทที่ได้มีการพิสูจน์แล้ว
ต่อมาหุ้นที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมหรือธุรกิจเดียวกันก็เริ่มวิ่งตามมา เหตุผลก็แบบเดียวกันนั่นคือ บริษัทก็มีกำไรที่ดี มีโครงการใหม่ไม่น้อยไปกว่ากันเท่าไร และก็เช่นเดียวกัน มีความสามารถในการแข่งขันไม่ด้อยไปกว่ากันนัก หลังจากนั้นก็จะมีหุ้นตัวที่สาม ที่สี่ และต่อ ๆ ไปที่ยังไม่ขึ้นก็จะปรับตัวขึ้นตามกันไป เหตุผลคงเป็นเพราะว่านักลงทุนและนักเล่นหุ้นต่างก็เชื่อว่าหุ้นในกลุ่มนี้ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันจะต้องดีเหมือนตัวแรกและเหมือนกันหมด เพราะฉะนั้นจะต้องรีบซื้อก่อนที่มันจะขึ้น ดังนั้นหุ้นจึงขึ้น และเมื่อหุ้นเริ่มขึ้น นักเล่นหุ้นคนต่อมาก็จะรีบเข้าซื้อเพราะกลัว “ตกรถ” ดังนั้น หุ้นจึงต้องขึ้นต่อไป กลายเป็น “รอบ” ของหุ้น ซึ่งล่าสุดของปรากฏการณ์นี้ก็คือรอบของ “หุ้นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่” ที่เราเห็นหุ้นของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เกือบทุกตัววิ่งขึ้นไปอย่างแรงเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว
รอบของหุ้นนั้นมักจะมาเมื่อภาวะทางอุตสาหกรรมเอื้ออำนวย และภาวะทางอุตสาหกรรมนั้นก็มักจะอิงอยู่กับภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย แต่นี่ไม่ใช่เรื่องของการเติบโตทางเศรษฐกิจปีต่อปีแต่มักจะเป็นเรื่องของสถานะหรือระดับของความมั่งคั่งของคนไทยที่ก่อให้เกิด “เมกาเทรนด์” ที่เอื้ออำนวยให้กับอุตสาหกรรมนั้น ๆ ดังนั้น “รอบของหุ้น” ในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจจึงมักจะไม่ใช่ลักษณะของวัฏจักรที่จะวนกลับมาเป็นรอบ ๆ แต่มักจะเป็นลักษณะที่มาแล้วก็อาจจะหายไปเลยไม่หมุนเวียนกลับมาอีกหรือกว่าจะกลับมาก็นานจนลืมไปเลย ลองมาดูรอบของหุ้นในธุรกิจต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ก่อตั้งดู
ยุคแรก ๆ ของตลาดหลักทรัพย์นั้น หุ้นที่มารอบแรกนั้นดูเหมือนว่าจะเป็นหุ้น “Finance” หรือกลุ่มบริษัท “เงินทุนหลักทรัพย์” ที่เป็นทั้งโบรกเกอร์ซื้อขายหุ้นและเป็นบริษัทเงินทุนซึ่งมักจะปล่อยเงินกู้เช่าซื้อรถยนต์ ปล่อยเงินกู้มาร์จินซื้อขายหุ้น และต่อมาก็ปล่อยเงินกู้ให้กับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังร้อนแรงเนื่องจากผู้บริโภคคนไทยกำลังเติบโตเป็นหนุ่มสาวจำนวนมากที่ต้องการซื้อบ้านเป็นครั้งแรก ด้วยเหตุผลในตอนนั้นก็ชัดเจน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มีการเติบโตมหาศาล บางบริษัทใหญ่ขึ้นมากและเริ่มใช้เทคนิคทางด้านตลาดทุน “สมัยใหม่” เช่น การเทคโอเวอร์กิจการอื่นที่อาศัยเงินจากการระดมทุนในตลาดหุ้น ในช่วงท้ายของ “รอบ” นั้น แม้แต่ธนาคารพาณิชย์เองก็กลายเป็นเป้าหมายของการถูกเทคโอเวอร์
ในส่วนของธุรกิจหลักทรัพย์นั้น บางบริษัทก็อาศัยความได้เปรียบที่ตนเองอยู่ใน “ศูนย์กลางของตลาด” ทำการ “ปั่นหุ้น” ทั้งหุ้นของบริษัทอื่นและหุ้นของตนเองซึ่งทำให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นมหาศาลโดยที่พื้นฐานของกิจการไม่รองรับ พวกเขาทำได้เพราะว่ากฎหมายหลักทรัพย์ยังไม่มีประสิทธภาพ กลต. ก็ยังไม่เกิด นัก “ปั่นหุ้น” ส่วนใหญ่ก็มักจะอยู่ในแวดวงของผู้บริหารบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนที่มักจะใกล้ชิดกับพวกเขา
รอบของหุ้นกลุ่มต่อมาน่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว อานิสงค์จากการที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตและมีคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่จำนวนมากที่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ บริษัทพัฒนาสังหาริมทรัพย์จำนวนมากต่างก็มุ่งหน้าเข้ามาระดมทุนในตลาดหุ้น
ทุกรายต่างก็มี “โครงการ” ในอนาคตมากมาย โครงการที่เพิ่งจะเริ่มเปิดขายบางแห่งนั้น คนแย่งกันเข้าคิวจองตั้งแต่ “ตีสี่” เพื่อที่จะได้สิทธิจอง บางทีเพื่อจะนำใบจองนั้นมาขายต่อทำกำไรได้ทันทีในตอนสายของวันนั้น บริษัทอสังหาริมทรัพย์เหล่านั้น จำนวนมากกู้เงินก้อนใหญ่เป็นเงินดอลลาร์จากต่างประเทศผ่านบริษัทเงินทุนทำให้สามารถได้ต้นทุนที่ต่ำซึ่งจะถูกนำไปซื้อที่ดินเป็น “Land Bank” ราคาถูก ซึ่งจะสามารถนำมาพัฒนาและขายทำกำไรได้อย่างงดงามในอนาคต รอบของหุ้นพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นั้นจบลงเมื่อประเทศไทยเกิดวิกฤติในปี 2540 และเงินบาทอ่อนตัวลงไปประมาณ 50% เทียบกับดอลลาร์สหรัฐซึ่งทำให้คนที่กู้เงินดอลลาร์จำนวนมากล้มละลาย
หลังวิกฤติเศรษฐกิจ เป็นเวลาสั้น ๆ ที่หุ้นในกลุ่มส่งออกที่เหงามานานอานิสงค์จากค่าเงินบาทที่แข็งเกินความเป็นจริง เฟื่องฟูขึ้น ค่าเงินบาทที่อ่อนมากทำให้ผู้ส่งออกได้กำไรเป็น “Windfall Profit” อย่างไรก็ตาม บริษัทส่งออกที่อยู่ในตลาดหุ้นในขณะนั้นมักเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรและประมงขนาดเล็ก ดังนั้น จึงมีนักลงทุนที่ได้ประโยชน์น้อย เหนือสิ่งอื่นใด ในยามนั้นคนที่ยังมีเงินลงทุนในตลาดหุ้นมีน้อยมาก ปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันเหลือเพียง 3-4,000 ล้านบาท
เศรษฐกิจของไทยเริ่มฟื้นตัวหลังวิกฤติประมาณ 4-5 ปี ธุรกิจที่เริ่มมาแรงหลังจากที่หงอยเหงามาตั้งแต่เริ่มดำเนินงานก็คือโทรคมนาคม เฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจ “โทรศัพท์ไร้สาย” พวกเขาเริ่มฟื้นจากความเสียหายจากค่าเงินบาทในขณะเดียวกันเทคโนโลยีเริ่มก้าวหน้าขึ้นมาก ราคาขายโทรศัพท์และค่าบริการลดลงอย่างรวดเร็วจนคนไทยส่วนใหญ่สามารถที่จะซื้อใช้ได้ การเติบโตของยอดขายโทรศัพท์มือถือเป็นไปอย่างก้าวกระโดด ราคาหุ้นของกิจการโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้องวิ่งขึ้นอย่างคึกคัก ตลาดหุ้นเป็นรอบของหุ้นโทรคมนาคม
ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน กิจการกลุ่มหนึ่งที่เริ่มต้นเจริญเติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ แต่มั่นคงก็คือ ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่กำลัง Disrupt หรือทำลายร้านค้าปลีกดั้งเดิมที่มีสาขาน้อยและบริหารงานโดยครอบครัว ค้าปลีกสมัยใหม่เกือบทุกแขนงเริ่มเข้ามาและก็มักจะแข่งขันกันเองด้วยอย่างเข้มข้นทำให้ยังไม่เห็น “ผู้ชนะ” ที่จะ “ยึดกุมธุรกิจ” ราคาหุ้นของบริษัทที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จึงไม่ได้ร้อนแรงอะไรนักในช่วงเริ่มต้น อย่างไรก็ตาม ภายในระยะเวลาไม่นาน เราก็ได้เห็นผู้ชนะในกลุ่มผู้ค้าปลีกแต่ละแขนง พวกเขามียอดขายและกำไรเติบโตขึ้นอย่างโดดเด่นและมั่นคงปีแล้วปีเล่าซึ่งก็ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างช้า ๆ แต่มั่นคงยาวนานกลายเป็นกลุ่มที่มี “ซุปเปอร์สต็อก” มากที่สุดในตลาดหุ้น หลายบริษัทก็ยังเติบโตต่อมาจนถึงทุกวันนี้
ตามมาติด ๆ จากค้าปลีกสมัยใหม่ก็คือหุ้นกลุ่มที่อิงกับ “โรงเรือน” หรือต้องใช้อาคารในการทำการค้าขาย ซึ่งรวมถึงกิจการทำช็อบปิ้งมอล โรงพยาบาลและโรงแรม โดยเฉพาะที่เป็น “ผู้นำ” ต่างก็มีหุ้นที่วิ่งขึ้นไปบางทีเป็นสิบ ๆ เท่าในเวลาแค่ 10 ปี และนี่ก็คือหุ้นในกลุ่มที่ต้อนรับสังคมคนเมืองที่มีรายได้มากขึ้นอย่างรวดเร็วและมีลูกน้อยคนรวมถึงกระแสของนักท่องเที่ยวจากคนจีนที่รวยขึ้นอย่างรวดเร็ว มีลูกน้อยคนและใช้เงินในการท่องเที่ยวมากขึ้นเช่นเดียวกัน
หุ้นที่เคยผ่านรอบของความรุ่งเรืองคึกคักในอดีตนั้น จำนวนมากได้กลายเป็น “หุ้นปันผล” ในปัจจุบัน บางกลุ่มหรือบางบริษัทเองนั้นก็อาจจะสูญหายไปจากความทรงจำของผู้คน บางบริษัทก็อาจจะยังพออยู่ได้ และบางบริษัทก็อาจจะยังยิ่งใหญ่อยู่ หน้าที่ของนักลงทุนแบบ VI ก็คือการวิเคราะห์เหตุผลของการที่หุ้นมีการวิ่งขึ้นเป็นกลุ่มและเป็นรอบว่ามันมีเหตุผลหรือยังมีเหตุผลเพียงพอหรือไม่ มีหุ้น “ตัวปลอม” ที่อาจจะแฝงเข้ามาอยู่ในกลุ่มหรือไม่ มิฉะนั้นเราอาจจะถูกหลอกให้หลงเข้าไปลงทุนได้
เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ต้องดูถึงราคาของหุ้นที่วิ่งขึ้นไปว่าสูงเกินไปหรือไม่ จำไว้เสมอว่า ไม่มีหุ้นที่ “ซื้อได้ทุกราคา” โดยเฉพาะในตลาดหุ้นไทยที่เรายังไม่มี “หุ้นระดับโลก” สำหรับ VI แล้ว จุดสุดท้ายของการวิเคราะห์หุ้นก็คือ ราคาสมเหตุสมผลหรือไม่ มี Margin Of Safety หรือส่วนเผื่อความปลอดภัยหรือไม่