ความเสี่ยงของตัวกลาง/ตัวแทน/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 08, 2019 1:41 pm
ในบรรดาข่าวในวงการท่องเที่ยวช่วงนี้คงไม่มีข่าวไหนที่สะเทือนวงการมากเท่า ข่าวการล้มละลายของโธมัส คุก กรุ๊ป บริษัทท่องเที่ยวสัญชาติอังกฤษ ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
โธมัส คุก (Thomas Cook) ก่อตั้งขึ้นในปี 1841 โดยนักธุรกิจชื่อโธมัส คุก ทำทัวร์ครั้งแรกด้วยการพาคนประมาณ 500 คนไปเที่ยวทางรถไฟ และ 178 ปีต่อมาก็กลายเป็นบริษัทท่องเที่ยวระดับโลกที่มียอดขายกว่าปีละ 9,000 ล้านปอนด์ มีลูกค้ากว่า 19 ล้านคน และมีพนักงาน 21,000 คน ทำงานอยู่ใน 16 ประเทศทั่วโลก
นักวิเคราะห์ธุรกิจ Dominic O’Connell วิเคราะห์สรุปว่า การล้มละลายของโธมัส คุก เกิดจาก การที่บริษัทมีภาระหนี้มากเกินไป เงินปอนด์อ่อนค่า คนท่องเที่ยวน้อยลงเพราะเกิดคลื่นความร้อนในปีนี้ และ การแข่งขันที่สูงจาก ตัวแทนออนไลน์ และสายการบินต้นทุนต่ำ การที่ลูกค้าเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จัดการเดินทางเองแทนที่จะผ่านตัวแทน ทับซ้อนด้วยปัญหาความไม่สงบการการเมือง และสภาพดินฟ้าอากาศที่ส่งผลต่อตารางการบิน จึงเป็นสาเหตุของการขาดสภาพคล่อง และต้องเดินไปสู่การล้มละลาย ขายสินทรัพย์ของบริษัทในที่สุด
ผู้ก่อตั้งบริษัทคือ คุณโธมัส คุก ได้เริ่มจากการตั้งร้าน ขายหนังสือคู่มือท่องเที่ยว และอุปกรณ์ท่องเที่ยวต่างๆ เช่น กระเป๋าเดินทาง กล้องส่องทางไกล และรองเท้า หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1872 จึงเข้าหุ้นกับลูก เปิดบริษัทตัวแทนท่องเที่ยว ชื่อ โธมัส คุก แอนด์ซัน (Thomas Cook & Son) และเติบใหญ่เรื่อยมา เนื่องจากการคมนาคมดีขึ้น ผู้คนนิยมท่องเที่ยวมากขึ้น และการซื้อแพคเกจท่องเที่ยวคือ บัตรโดยสาร เครื่องบิน หรือรถไฟ พร้อมที่พัก ก็เป็นที่นิยมมาก เพราะสะดวก
ผู้ที่เคยใช้เช็คเดินทาง เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว ในสมัยที่บัตรเครดิตยังไม่เป็นที่แพร่หลาย คงจำกันได้ว่า เช็คเดินทางสมัยก่อน ยี่ห้อ โธมัส คุก เป็นที่นิยมที่สุด อเมริกันเอ็กซเพรส อะไรพวกนี้ มาเกิดในช่วงหลังมากๆค่ะ
โธมัส คุก ขยายกิจการไปมากมาย มีทั้งตัวแทนท่องเที่ยว บริษัททำทัวร์ ให้เช่ารถ สายการบิน เรือสำราญ และโรงแรมประเภทรีสอร์ต เรียกได้ว่าพยายามทำจนครบวงจรการท่องเที่ยวทั้งหมด
แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุด อยู่ในปี ค.ศ. 2007 หรือ พ.ศ. 2550 ที่มีการควบรวม Thomas Group AG กับบริษัท MyTravel Group โดยวิธีการแลกหุ้น และเปลี่ยนชื่อเป็น Thomas Cook Group นำเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นลอนดอน และตลาดหุ้นแฟรงก์เฟิร์ต ใช้อักษรย่อว่า TCG
เมื่อเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ก็มีเงินทุนที่จะขยายธุรกิจ จึงเข้าไปซื้อกิจการของหลายแห่ง เช่น ในปี 2008 เข้าซื้อเว็ปไซต์ชื่อ Hotels4U มูลค่า 21.8 ล้านปอนด์ หรือประมาณ เกือบ 1 พันล้านบาท และซื้อใบอนุญาตทำธุรกิจทัวร์ในตะวันออกกลางกลับมา ในราคา 249 ล้านยูโร หรือประมาณเกือบ 10,000 ล้านบาท ซื้อ Elegant Resorts และซื้อ Entertainment program จาก suppliers เพื่อนำมาใช้ในสายการบินและรีสอร์ทของตัวเอง เป็นต้น ท้ายสุดในปี 2010 ได้ซื้อ บริษัททัวร์ชื่อ Öger Tours จากเยอรมัน
เมื่อธุรกิจท่องเที่ยวถูกกวนจากปัจจัยรอบด้าน ผู้ถือหุ้นของ โธมัส คุก กรุ๊ป คือ Arcandor ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมของ MyTravel Group ต้องล้มละลายไป เจ้าหนี้ของ Arcandor จึงนำหุ้นที่ยึดมาออกขาย ได้ผู้ถือหุ้นใหม่เป็น บริษัทจีน คือ Fosun International ถือหุ้นประมาณ 7.03% และมีผู้ถือหุ้นสถาบันอื่นๆ ทั้งกองทุนและบริษัทประกัน ถือหุ้นในส่วนที่เจ้าหนี้ของ Arcandor นำออกมาขาย
ในปี 2017 บริษัทก็พยายามเพิ่มสภาพคล่องด้วยการขายทรัพย์สิน โดยได้ขายสายการบินในเบลเยี่ยมให้กับลุฟท์ฮันซ่าไป
ในปีที่แล้ว คือปี ค.ศ. 2018 โธมัส คุก กรุ๊ป มีรายได้ 9,584 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 383,000 ล้านบาท และมีขาดทุนสุทธิ 163 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 6,500 ล้านบาท และใน 6 เดือนแรกของปีนี้ ขาดทุนไปอีก 1,500 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 58,000 ล้านบาท โดย การขาดทุน 1,100 ล้านปอนด์มาจากการด้อยค่าของ MyTravel ที่ซื้อมาในปี 2007 จากการรวมธุรกิจกัน
บริษัทโธมัส คุก ประกาศหยุดดำเนินกิจการเพื่อเข้าสู่กระบวนการขายทรัพย์สินเพื่อเลิกกิจการที่ประกาศเมื่อวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา ราคาหุ้นของบริษัทในการซื้อขายครั้งสุดท้ายในวันที่ 23 กันยายน 2562 อยู่ที่ 0.0119 ยูโร คิดเป็นมูลค่าตลาด 18.28 ล้านยูโร หรือประมาณ 612 ล้านบาท แต่คิดว่าผู้ถือหุ้นคงไม่ได้อะไรคืนค่ะ เท่ากับว่าเป็นศูนย์ ปิดตำนานบริษัทท่องเที่ยวอันเกรียงไกร เนื่องจากขยายธุรกิจเกินตัว ซื้อธุรกิจอื่นมาในราคาสูง และอาจจะไม่ได้มองถึงการแข่งขันจากธุรกิจที่จะมาทดแทน และเข้าไปลงทุนแต่เนิ่นๆ รวมถึงการมองที่จะการกระจายความเสี่ยงไปยังธุรกิจอื่นๆ
อย่างไรก็ดี ลูกค้าของบริษัทจำนวน 600,000 คน ที่ถูกลอยแพในต่างประเทศ จากการ ได้รับการดูแลให้ได้กลับบ้านแล้ว โดยเรียกการขนนักท่องเที่ยวกลับครั้งนี้ว่า Operation Matterhorn ใช้เงินไปประมาณ 100 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 3,800 ล้านบาท มาจากเงินกองทุน ATOL (Air Travel Organizer’s License) ซึ่งเป็นกองทุนที่กฎหมายอังกฤษบังคับให้มี โดยเก็บเงินจากคนซื้อแพคเกจทัวร์คนละ 2.5 ปอนด์ (ประมาณ 95 บาท) และบริหารอยู่ในรูปของ Air Travel Trust เอาไว้ช่วยนักท่องเที่ยวที่ตกทุกข์ได้ยากจากการที่บริษัทตัวกลางล้มละลายไปนี่แหละค่ะ ไทยเราอาจจะสนใจนำมาใช้บ้างนะคะ
เขียนมายืดยาว เพื่อจะเล่าถึงตัวอย่างของความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ตัวกลางหรือผู้ที่เราทำธุรกรรมด้วย ไม่สามารถดำเนินการได้ หรือล้มหายตายจากไป เราเรียกความเสี่ยงนี้ว่า Counter-party Risk ซึ่งจัดการได้โดยการคัดเลือกผู้ที่จะทำธุรกรรมด้วยที่น่าเชื่อถือ และอาจเสริมด้วยการทำประกันภัยค่ะ
โธมัส คุก (Thomas Cook) ก่อตั้งขึ้นในปี 1841 โดยนักธุรกิจชื่อโธมัส คุก ทำทัวร์ครั้งแรกด้วยการพาคนประมาณ 500 คนไปเที่ยวทางรถไฟ และ 178 ปีต่อมาก็กลายเป็นบริษัทท่องเที่ยวระดับโลกที่มียอดขายกว่าปีละ 9,000 ล้านปอนด์ มีลูกค้ากว่า 19 ล้านคน และมีพนักงาน 21,000 คน ทำงานอยู่ใน 16 ประเทศทั่วโลก
นักวิเคราะห์ธุรกิจ Dominic O’Connell วิเคราะห์สรุปว่า การล้มละลายของโธมัส คุก เกิดจาก การที่บริษัทมีภาระหนี้มากเกินไป เงินปอนด์อ่อนค่า คนท่องเที่ยวน้อยลงเพราะเกิดคลื่นความร้อนในปีนี้ และ การแข่งขันที่สูงจาก ตัวแทนออนไลน์ และสายการบินต้นทุนต่ำ การที่ลูกค้าเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จัดการเดินทางเองแทนที่จะผ่านตัวแทน ทับซ้อนด้วยปัญหาความไม่สงบการการเมือง และสภาพดินฟ้าอากาศที่ส่งผลต่อตารางการบิน จึงเป็นสาเหตุของการขาดสภาพคล่อง และต้องเดินไปสู่การล้มละลาย ขายสินทรัพย์ของบริษัทในที่สุด
ผู้ก่อตั้งบริษัทคือ คุณโธมัส คุก ได้เริ่มจากการตั้งร้าน ขายหนังสือคู่มือท่องเที่ยว และอุปกรณ์ท่องเที่ยวต่างๆ เช่น กระเป๋าเดินทาง กล้องส่องทางไกล และรองเท้า หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1872 จึงเข้าหุ้นกับลูก เปิดบริษัทตัวแทนท่องเที่ยว ชื่อ โธมัส คุก แอนด์ซัน (Thomas Cook & Son) และเติบใหญ่เรื่อยมา เนื่องจากการคมนาคมดีขึ้น ผู้คนนิยมท่องเที่ยวมากขึ้น และการซื้อแพคเกจท่องเที่ยวคือ บัตรโดยสาร เครื่องบิน หรือรถไฟ พร้อมที่พัก ก็เป็นที่นิยมมาก เพราะสะดวก
ผู้ที่เคยใช้เช็คเดินทาง เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว ในสมัยที่บัตรเครดิตยังไม่เป็นที่แพร่หลาย คงจำกันได้ว่า เช็คเดินทางสมัยก่อน ยี่ห้อ โธมัส คุก เป็นที่นิยมที่สุด อเมริกันเอ็กซเพรส อะไรพวกนี้ มาเกิดในช่วงหลังมากๆค่ะ
โธมัส คุก ขยายกิจการไปมากมาย มีทั้งตัวแทนท่องเที่ยว บริษัททำทัวร์ ให้เช่ารถ สายการบิน เรือสำราญ และโรงแรมประเภทรีสอร์ต เรียกได้ว่าพยายามทำจนครบวงจรการท่องเที่ยวทั้งหมด
แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุด อยู่ในปี ค.ศ. 2007 หรือ พ.ศ. 2550 ที่มีการควบรวม Thomas Group AG กับบริษัท MyTravel Group โดยวิธีการแลกหุ้น และเปลี่ยนชื่อเป็น Thomas Cook Group นำเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นลอนดอน และตลาดหุ้นแฟรงก์เฟิร์ต ใช้อักษรย่อว่า TCG
เมื่อเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ก็มีเงินทุนที่จะขยายธุรกิจ จึงเข้าไปซื้อกิจการของหลายแห่ง เช่น ในปี 2008 เข้าซื้อเว็ปไซต์ชื่อ Hotels4U มูลค่า 21.8 ล้านปอนด์ หรือประมาณ เกือบ 1 พันล้านบาท และซื้อใบอนุญาตทำธุรกิจทัวร์ในตะวันออกกลางกลับมา ในราคา 249 ล้านยูโร หรือประมาณเกือบ 10,000 ล้านบาท ซื้อ Elegant Resorts และซื้อ Entertainment program จาก suppliers เพื่อนำมาใช้ในสายการบินและรีสอร์ทของตัวเอง เป็นต้น ท้ายสุดในปี 2010 ได้ซื้อ บริษัททัวร์ชื่อ Öger Tours จากเยอรมัน
เมื่อธุรกิจท่องเที่ยวถูกกวนจากปัจจัยรอบด้าน ผู้ถือหุ้นของ โธมัส คุก กรุ๊ป คือ Arcandor ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมของ MyTravel Group ต้องล้มละลายไป เจ้าหนี้ของ Arcandor จึงนำหุ้นที่ยึดมาออกขาย ได้ผู้ถือหุ้นใหม่เป็น บริษัทจีน คือ Fosun International ถือหุ้นประมาณ 7.03% และมีผู้ถือหุ้นสถาบันอื่นๆ ทั้งกองทุนและบริษัทประกัน ถือหุ้นในส่วนที่เจ้าหนี้ของ Arcandor นำออกมาขาย
ในปี 2017 บริษัทก็พยายามเพิ่มสภาพคล่องด้วยการขายทรัพย์สิน โดยได้ขายสายการบินในเบลเยี่ยมให้กับลุฟท์ฮันซ่าไป
ในปีที่แล้ว คือปี ค.ศ. 2018 โธมัส คุก กรุ๊ป มีรายได้ 9,584 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 383,000 ล้านบาท และมีขาดทุนสุทธิ 163 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 6,500 ล้านบาท และใน 6 เดือนแรกของปีนี้ ขาดทุนไปอีก 1,500 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 58,000 ล้านบาท โดย การขาดทุน 1,100 ล้านปอนด์มาจากการด้อยค่าของ MyTravel ที่ซื้อมาในปี 2007 จากการรวมธุรกิจกัน
บริษัทโธมัส คุก ประกาศหยุดดำเนินกิจการเพื่อเข้าสู่กระบวนการขายทรัพย์สินเพื่อเลิกกิจการที่ประกาศเมื่อวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา ราคาหุ้นของบริษัทในการซื้อขายครั้งสุดท้ายในวันที่ 23 กันยายน 2562 อยู่ที่ 0.0119 ยูโร คิดเป็นมูลค่าตลาด 18.28 ล้านยูโร หรือประมาณ 612 ล้านบาท แต่คิดว่าผู้ถือหุ้นคงไม่ได้อะไรคืนค่ะ เท่ากับว่าเป็นศูนย์ ปิดตำนานบริษัทท่องเที่ยวอันเกรียงไกร เนื่องจากขยายธุรกิจเกินตัว ซื้อธุรกิจอื่นมาในราคาสูง และอาจจะไม่ได้มองถึงการแข่งขันจากธุรกิจที่จะมาทดแทน และเข้าไปลงทุนแต่เนิ่นๆ รวมถึงการมองที่จะการกระจายความเสี่ยงไปยังธุรกิจอื่นๆ
อย่างไรก็ดี ลูกค้าของบริษัทจำนวน 600,000 คน ที่ถูกลอยแพในต่างประเทศ จากการ ได้รับการดูแลให้ได้กลับบ้านแล้ว โดยเรียกการขนนักท่องเที่ยวกลับครั้งนี้ว่า Operation Matterhorn ใช้เงินไปประมาณ 100 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 3,800 ล้านบาท มาจากเงินกองทุน ATOL (Air Travel Organizer’s License) ซึ่งเป็นกองทุนที่กฎหมายอังกฤษบังคับให้มี โดยเก็บเงินจากคนซื้อแพคเกจทัวร์คนละ 2.5 ปอนด์ (ประมาณ 95 บาท) และบริหารอยู่ในรูปของ Air Travel Trust เอาไว้ช่วยนักท่องเที่ยวที่ตกทุกข์ได้ยากจากการที่บริษัทตัวกลางล้มละลายไปนี่แหละค่ะ ไทยเราอาจจะสนใจนำมาใช้บ้างนะคะ
เขียนมายืดยาว เพื่อจะเล่าถึงตัวอย่างของความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ตัวกลางหรือผู้ที่เราทำธุรกรรมด้วย ไม่สามารถดำเนินการได้ หรือล้มหายตายจากไป เราเรียกความเสี่ยงนี้ว่า Counter-party Risk ซึ่งจัดการได้โดยการคัดเลือกผู้ที่จะทำธุรกรรมด้วยที่น่าเชื่อถือ และอาจเสริมด้วยการทำประกันภัยค่ะ