ดุลบัญชีเดินสะพัดกับค่าเงินบาทและนโยบายเศรษฐกิจมหภาค/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 03, 2019 1:22 pm
“Eliminate all other factors, and the one which remains must be the truth” Sherlock Holmes
ครั้งที่แล้วผมเสนอแนวคิดว่านโยบายการเงินตึงเกินไปมาโดยตลอด จึงทำให้เงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจริงคือ 1% ต่อปี ต่ำกว่าเป้าเงินเฟ้อ (2.5%) อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นเมื่อเงินเฟ้อของประเทศหลักอื่นๆ สูงกว่าเงินเฟ้อของไทยมาก สิ่งที่ตามมาคือการแข็งค่าของเงินบาท เพราะเงินเฟ้อคือการเสื่อมค่าของเงินและเมื่อเงินบาทเสื่อมค่าน้อยกว่าเงินสกุลอื่นๆ เงินบาทก็ต้องแข็งค่าขึ้นในระยะยาว ซึ่งเป็นคำอธิบายว่าทำเงินบาทจึงแข็งค่าขึ้นประมาณ 16% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
แต่คำอธิบายของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นบอกว่า เงินบาทแข็งค่าเพราะการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นหลัก กล่าวคือประเทศไทยส่งออกสินค้าและบริการมากกว่านำเข้าสินค้าและบริการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยให้เหตุผลว่าเป็นเพราะการลงทุนของประเทศไทยต่ำเกินไป ดังนั้นจึงควรต้องไปเร่งเพิ่มการลงทุน ซึ่งผมก็เห็นด้วยในหลักการ แต่ก็ควรพิจารณามุมมองที่แตกต่างเช่นกัน
เวลาบอกว่าลงทุนไม่พอนั้น อีกด้านหนึ่งของเหรียญคือเงินออมในประเทศมีมากเกินกว่าความต้องการลงทุน ซึ่งในกรณีดังกล่าวก็อาจแปลความได้ว่ามีการบริโภค (ใช้เงิน) น้อยเกินไป จึงทำให้มีการออมเงินเกินความต้องการของการลงทุน จึงต้องกลับมาพิจารณาอย่างถ่องแท้ว่าการลงทุนน้อยเกินไปจริงหรือไม่และเพราะอะไร
การลงทุนจะน้อยเกินไปได้ด้วย 3 เหตุผลคือ
1.ดอกเบี้ยสูงเกินไปหาเงินกู้/ระดมทุนไม่ได้ ประเด็นนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยตัดออกไปโดยยืนยันว่า ต้นทุนทางการเงินไม่ใช่ข้อจำกัดของการลงทุน ดอกเบี้ยธนาคารก็ต่ำมากและต้นทุนการออกพันธบัตรก็ไม่สูงสำหรับบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานมั่นคง
2.นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น หากต้นทุนทางการเงินต่ำแต่นักลงทุนไม่ยอมลงทุน ก็แปลว่าลู่ทางในการลงทุนมีจำกัดและรัฐบาลไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้ว่าเศรษฐกิจดีและลงทุนจะมีกำไรคุ้มค่าในอนาคต ซึ่งรัฐบาลก็คงไม่ต้องการจะให้มีข้อสรุปเช่นนี้และก็พยายามปลุกความมั่นใจมาตลอดเวลาหลายปีที่บริหารเศรษฐกิจมา
3.รัฐบาลใช้จ่ายน้อยเกินไป ทั้งในเชิงของการกระตุ้นระยะสั้นและการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน ตรงนี้ก็ไม่น่าจะใช่เพราะรัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาอย่างหลากหลายทุกๆ ปี และรัฐบาลก็ทำนโยบายขาดดุลงบประมาณมาโดยตลอดรวมกัน ทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านล้านบาทแล้ว กล่าวคือปัญหาไม่น่าจะใช่นโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจไม่เพียงพอนั่นเอง
กลับมาดูการลงทุนอีกครั้งว่าประเทศไทยลงทุนน้อยเกินไปจริงหรือไม่ ผมขอนำเอาตัวเลขที่คำนวณจากข้อมูลของสภาพัฒน์ฯ มาเสนอดังนี้ (เป็นตัวเลข % ทั้งหมด)
จะเห็นจากคอลัมน์สุดท้ายว่าสัดส่วนการลงทุนในช่วง 2010-2018 ที่ 24.6% ของจีดีพีนั้นก็ไม่ได้ต่ำกว่าในอดีตมากนัก แม้จะต่ำกว่าช่วง 1990-1999 (ที่ 35.9%) แต่ช่วงนั้นประเทศไทยลงทุนเกินตัวจนเกิดวิกฤติ (สมัยนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยปรับดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้นเป็น 12-13% นักลงทุนก็ยังขนเงินมาลงทุนอย่างไม่เกรงกลัว) แต่ที่น่าสนใจคือการขยายตัวของจีดีพีของไทยลดต่ำลงมาโดยตลอด จากกว่า 2 เท่าของจีดีพีโลกลงมาเท่ากับจีดีพีโลกในช่วง 2010-2018 ที่ 3.8% ต่อปี
แต่ในปี 2019 การที่จีดีพีจะโตได้ 3% ก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องลุ้นอย่างใจจดใจจ่อ แต่ตัวเลขการลงทุนต่อจีดีพีของไทยนั้นก็ไม่ได้ลดลงอย่างฮวบฮาบในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กล่าวคือสัดส่วนการลงทุนต่อจีดีพีเท่ากับ 24.7% ในปี 2014 27.1% ในปี 2015 27.9% ในปี 2016 26.4% ในปี 2017 และ25.4% ในปี 2018
เมื่อการลงทุนไม่ได้ลดลงมาก แต่ประเทศไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมาก ก็ต้องสรุปส่วนที่เพิ่มขึ้นน่าจะเป็นการออม ซึ่งการออมเพิ่มขึ้นก็ต้องแปลว่าการบริโภคภายในประเทศของภาคเอกชนลดลง (หรือเพิ่มขึ้นช้า) แปลว่าความต้องการใช้เงินของประชาชนถดถอยลง
ทำไมคนจึงไม่ค่อยอยากใช้เงิน? หากรัฐบาลไล่เก็บภาษีเพิ่มขึ้นก็อาจกระทบกำลังซื้อ แต่ตรงกันข้ามรัฐบาลมีมาตรการลดภาษีมากกว่าการขึ้นภาษี
การที่เงินเฟ้อต่ำใกล้ศูนย์นั้นแปลว่า เงินไม่ค่อยเสื่อมค่าและเมื่อเงินไม่เสื่อมค่า แม้ดอกเบี้ยจะต่ำต้อย แต่ก็ไม่มีแรงกดดันให้ต้องรีบใช้เงินเหมือนกับกรณีที่เคยเห็นเงินเฟ้อที่ 5% ทุกปี ในศตวรรษที่แล้ว ในความเห็นของผมนั้นการกดเงินเฟ้อให้ลงใกล้ศูนย์น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่มีความเร่งรีบในการใช้จ่าย ตรงนี้มีข้อสังเกตอีกข้อหนึ่งคือความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น แปลว่ามีคนส่วนน้อยที่มีเงินสะสมอยู่มากและคนกลุ่มนี้คือกลุ่มที่ไม่ใช้เงิน คนส่วนใหญ่อาจอยากใช้เงิน แต่ไม่มีเงินจะใช้
การเตือนเรื่องเงินเฟ้อต่ำนั้น ผมคิดว่าจะไม่ขอนำมาเสนออีกแล้ว เพราะเงินเฟ้อพอประมาณนั้นแม้จะเป็นประโยชน์ในการหล่อลื่นเศรษฐกิจและเป็นประโยชน์กับเอสเอ็มอีที่ต้องหมุนเงิน แต่ขัดกับผลประโยชน์ของผู้สูงอายุเช่นผมที่จะได้ประโยชน์มากกว่าจากสภาวะที่เงินเฟ้อเท่ากับศูนย์หรือเงินเฟ้อติดลบ เพราะเงินที่เก็บเอาไว้บวกกับเบี้ยคนชราและเบี้ยประกันสังคมที่ได้รับเป็นจำนวนตายตัวจะไม่เสื่อมค่าครับ
ครั้งที่แล้วผมเสนอแนวคิดว่านโยบายการเงินตึงเกินไปมาโดยตลอด จึงทำให้เงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจริงคือ 1% ต่อปี ต่ำกว่าเป้าเงินเฟ้อ (2.5%) อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นเมื่อเงินเฟ้อของประเทศหลักอื่นๆ สูงกว่าเงินเฟ้อของไทยมาก สิ่งที่ตามมาคือการแข็งค่าของเงินบาท เพราะเงินเฟ้อคือการเสื่อมค่าของเงินและเมื่อเงินบาทเสื่อมค่าน้อยกว่าเงินสกุลอื่นๆ เงินบาทก็ต้องแข็งค่าขึ้นในระยะยาว ซึ่งเป็นคำอธิบายว่าทำเงินบาทจึงแข็งค่าขึ้นประมาณ 16% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
แต่คำอธิบายของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นบอกว่า เงินบาทแข็งค่าเพราะการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นหลัก กล่าวคือประเทศไทยส่งออกสินค้าและบริการมากกว่านำเข้าสินค้าและบริการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยให้เหตุผลว่าเป็นเพราะการลงทุนของประเทศไทยต่ำเกินไป ดังนั้นจึงควรต้องไปเร่งเพิ่มการลงทุน ซึ่งผมก็เห็นด้วยในหลักการ แต่ก็ควรพิจารณามุมมองที่แตกต่างเช่นกัน
เวลาบอกว่าลงทุนไม่พอนั้น อีกด้านหนึ่งของเหรียญคือเงินออมในประเทศมีมากเกินกว่าความต้องการลงทุน ซึ่งในกรณีดังกล่าวก็อาจแปลความได้ว่ามีการบริโภค (ใช้เงิน) น้อยเกินไป จึงทำให้มีการออมเงินเกินความต้องการของการลงทุน จึงต้องกลับมาพิจารณาอย่างถ่องแท้ว่าการลงทุนน้อยเกินไปจริงหรือไม่และเพราะอะไร
การลงทุนจะน้อยเกินไปได้ด้วย 3 เหตุผลคือ
1.ดอกเบี้ยสูงเกินไปหาเงินกู้/ระดมทุนไม่ได้ ประเด็นนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยตัดออกไปโดยยืนยันว่า ต้นทุนทางการเงินไม่ใช่ข้อจำกัดของการลงทุน ดอกเบี้ยธนาคารก็ต่ำมากและต้นทุนการออกพันธบัตรก็ไม่สูงสำหรับบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานมั่นคง
2.นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น หากต้นทุนทางการเงินต่ำแต่นักลงทุนไม่ยอมลงทุน ก็แปลว่าลู่ทางในการลงทุนมีจำกัดและรัฐบาลไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้ว่าเศรษฐกิจดีและลงทุนจะมีกำไรคุ้มค่าในอนาคต ซึ่งรัฐบาลก็คงไม่ต้องการจะให้มีข้อสรุปเช่นนี้และก็พยายามปลุกความมั่นใจมาตลอดเวลาหลายปีที่บริหารเศรษฐกิจมา
3.รัฐบาลใช้จ่ายน้อยเกินไป ทั้งในเชิงของการกระตุ้นระยะสั้นและการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน ตรงนี้ก็ไม่น่าจะใช่เพราะรัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาอย่างหลากหลายทุกๆ ปี และรัฐบาลก็ทำนโยบายขาดดุลงบประมาณมาโดยตลอดรวมกัน ทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านล้านบาทแล้ว กล่าวคือปัญหาไม่น่าจะใช่นโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจไม่เพียงพอนั่นเอง
กลับมาดูการลงทุนอีกครั้งว่าประเทศไทยลงทุนน้อยเกินไปจริงหรือไม่ ผมขอนำเอาตัวเลขที่คำนวณจากข้อมูลของสภาพัฒน์ฯ มาเสนอดังนี้ (เป็นตัวเลข % ทั้งหมด)
จะเห็นจากคอลัมน์สุดท้ายว่าสัดส่วนการลงทุนในช่วง 2010-2018 ที่ 24.6% ของจีดีพีนั้นก็ไม่ได้ต่ำกว่าในอดีตมากนัก แม้จะต่ำกว่าช่วง 1990-1999 (ที่ 35.9%) แต่ช่วงนั้นประเทศไทยลงทุนเกินตัวจนเกิดวิกฤติ (สมัยนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยปรับดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้นเป็น 12-13% นักลงทุนก็ยังขนเงินมาลงทุนอย่างไม่เกรงกลัว) แต่ที่น่าสนใจคือการขยายตัวของจีดีพีของไทยลดต่ำลงมาโดยตลอด จากกว่า 2 เท่าของจีดีพีโลกลงมาเท่ากับจีดีพีโลกในช่วง 2010-2018 ที่ 3.8% ต่อปี
แต่ในปี 2019 การที่จีดีพีจะโตได้ 3% ก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องลุ้นอย่างใจจดใจจ่อ แต่ตัวเลขการลงทุนต่อจีดีพีของไทยนั้นก็ไม่ได้ลดลงอย่างฮวบฮาบในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กล่าวคือสัดส่วนการลงทุนต่อจีดีพีเท่ากับ 24.7% ในปี 2014 27.1% ในปี 2015 27.9% ในปี 2016 26.4% ในปี 2017 และ25.4% ในปี 2018
เมื่อการลงทุนไม่ได้ลดลงมาก แต่ประเทศไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมาก ก็ต้องสรุปส่วนที่เพิ่มขึ้นน่าจะเป็นการออม ซึ่งการออมเพิ่มขึ้นก็ต้องแปลว่าการบริโภคภายในประเทศของภาคเอกชนลดลง (หรือเพิ่มขึ้นช้า) แปลว่าความต้องการใช้เงินของประชาชนถดถอยลง
ทำไมคนจึงไม่ค่อยอยากใช้เงิน? หากรัฐบาลไล่เก็บภาษีเพิ่มขึ้นก็อาจกระทบกำลังซื้อ แต่ตรงกันข้ามรัฐบาลมีมาตรการลดภาษีมากกว่าการขึ้นภาษี
การที่เงินเฟ้อต่ำใกล้ศูนย์นั้นแปลว่า เงินไม่ค่อยเสื่อมค่าและเมื่อเงินไม่เสื่อมค่า แม้ดอกเบี้ยจะต่ำต้อย แต่ก็ไม่มีแรงกดดันให้ต้องรีบใช้เงินเหมือนกับกรณีที่เคยเห็นเงินเฟ้อที่ 5% ทุกปี ในศตวรรษที่แล้ว ในความเห็นของผมนั้นการกดเงินเฟ้อให้ลงใกล้ศูนย์น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่มีความเร่งรีบในการใช้จ่าย ตรงนี้มีข้อสังเกตอีกข้อหนึ่งคือความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น แปลว่ามีคนส่วนน้อยที่มีเงินสะสมอยู่มากและคนกลุ่มนี้คือกลุ่มที่ไม่ใช้เงิน คนส่วนใหญ่อาจอยากใช้เงิน แต่ไม่มีเงินจะใช้
การเตือนเรื่องเงินเฟ้อต่ำนั้น ผมคิดว่าจะไม่ขอนำมาเสนออีกแล้ว เพราะเงินเฟ้อพอประมาณนั้นแม้จะเป็นประโยชน์ในการหล่อลื่นเศรษฐกิจและเป็นประโยชน์กับเอสเอ็มอีที่ต้องหมุนเงิน แต่ขัดกับผลประโยชน์ของผู้สูงอายุเช่นผมที่จะได้ประโยชน์มากกว่าจากสภาวะที่เงินเฟ้อเท่ากับศูนย์หรือเงินเฟ้อติดลบ เพราะเงินที่เก็บเอาไว้บวกกับเบี้ยคนชราและเบี้ยประกันสังคมที่ได้รับเป็นจำนวนตายตัวจะไม่เสื่อมค่าครับ