พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสจากนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ อ นิเวศน์
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ส.ค. 04, 2019 6:14 pm
สัมมนา Bangkok Asian Tour 2019
พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส จากนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ
ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ช่วงสัมภาษณ์ ดร นิเวศน์ เกี่ยวกับประสบการณ์การลงทุน รับมือวิกฤตอย่างไร
Q: ดร นิเวศน์ เป็นนักลงทุนที่โด่งดัง ได้รับฉายา วอร์เรน บัฟเฟตต์ เมืองไทย และ ยังมีหลายฉายา
ถามดร ว่าชอบฉายาอะไรมากที่สุด
A: ปกติในเมืองไทยไม่มีใครเรียกแบบนี้ แต่เมืองนอกตั้งชื่อนี้ จากหนังสือฉบับนึงได้จัดอันดับนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จในการลงทุน 99 คนทั่วโลก อาจารย์เป็นหนึ่งใน99คนได้รับการบันทึกชื่อไว้
อาจารย์บอกว่า ผมเกิดในช่วงจังหวะที่เหมาะสมในสถานการณ์ตลาดหุ้นไทยช่วงนั้น (ช่วงต้มยำกุ้ง)
เราเป็นคนริเริ่มลงทุนในแนววีไอ และเผยแพร่การลงทุนแบบวีไอออกไป คนรู้จักก็มาหาผมเพื่อศึกษาแนวทางวีไอ
(ผู้เขียนขอเสริมว่า นักลงทุนที่เข้าไปหาอาจารย์ช่วงนั้น หนึ่งในนั้นก็คือ คุณธันวา อดีตนายกสมาคมไทยวีไอคนแรก
ขณะทำงานอยู่ที่ IBM สิงคโปร์ พอมีเวลามาไทย ก็ไปพูดคุยกับอาจารย์เรื่องแนวการลงทุนแบบวีไอ ซึ่งถือว่าใหม่มาก ไม่ค่อยมีคนรู้จัก)
หลังจากนั้น ก็เริ่มเขียนบทความลง นสพ ( กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์ โลกในมุมมองValue Investor ลงทุกวันอังคาร)
ออกรายการทีวี และ มีการสอนหลักการลงทุนแนววีไอ คนตามมาศึกษาการลงทุนแบบวีไอเยอะ
ซึ่งเป็นหลักการที่ปลอดภัย คนที่ทำตามหลักการนี้ก็ได้รับผลตอบแทนที่ดี เลยเกิดกระแสการลงทุนแบบวีไอขึ้นมา
ทำให้หุ้นที่อยู่ในข่ายการลงทุนแบบวีไอ เติบโตขึ้นเยอะอย่างไม่น่าเชื่อ
อาจารย์เล่าว่า ตอนนั้นลงทุนแบบวีไอ เพราะว่าตกงาน (จากวิกฤตต้มยำกุ้ง) มีเงินเก็บก้อนนึง ประมาณ 10 ล้านบาท
ก็เลยนำเงินก้อนนี้มาลงทุน เพื่อเอาตัวรอดในขณะที่อายุ40กว่าปี ตอนนั้นมีเงินอย่างเดียว ไม่มีทรัพย์สินอื่น
บ้านก็เป็นของแม่ยาย ส่วนรถก็เป็นรถบริษัท หลังจากไปลงทุนก็พออยู่ได้
ตอนนั้นอาจารย์บังเอิญลงทุนในช่วงสถานการณ์ที่เอื้ออำนวย (ช่วงต้มยำกุ้ง ราคาหุ้นลดต่ำจาก 1789 มาที่ 204 จุด
ทำให้มีหุ้นคุณภาพดีราคาถูก ปันผล 10% ที่สามารถเลือกลงทุนได้ ) ซึ่งทำให้อาจารย์รวยไปด้วยไม่ทันตั้งตัว
เคยให้สัมภาษณ์กับ นสพ กรุงเทพธุรกิจ ว่า ก่อนตายตอนอายุ 80 ปี ตั้งเป้าจะมีเงิน 1,000 ล้านบาท ซึ่งตอนนั้นยังมี
เวลาอีก 30กว่าปี ถ้าลงทุนได้ผลตอบแทน 10% ทบต้น ระยะเวลา 30กว่าปี สามารถทำเงินจาก 10 ไปที่ 1,000 ล้านบาทได้ ผมวางแผนไว้หมด และศึกษาหุ้นทั่วโลก มีความเป็นไปได้ในการลงทุนหุ้นและได้ 1,000 ล้านบาท
ช่วงนั้นผมพูดการลงทุนแบบวีไอเป็นคนแรก เลยกลายเป็นผู้นำ นอกจากเผยแพร่แนววีไอ ก็ได้ 1,000 ล้านบาท
เร็วกว่ากำหนด คือ แค่ 10 ปีเท่านั้น แต่ก็ยังลงทุนต่อไปเรื่อยๆ
ตอนนั้น คิดใหม่ว่าขอให้ได้ผลตอบแทนแค่ 10%ต่อปีไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นเป้าหมายต่อมา
ระยะหลัง เป้าเพื่อเงินไม่มีความหมาย สมัยที่ไม่มีเงิน ตั้งเป้าเป็นเรื่องเงิน แต่พอมีเงิน 1,000 ล้านบาท ชีวิตก็ไม่มี
อะไรเปลี่ยนแปลง เพราะ การไปเที่ยวทั่วโลก ไม่ต้องใช้เงินมากมาย
การหาเงินนะง่าย แต่การใช้เงินเช่น วันละ 2 ล้านบาท นั้นยาก เพราะต้องหาทางใช้เงิน 2ล้านบาททุกวัน จะไปซื้ออะไรทุกวัน การใช้เงิน 200 บาทต่อวัน ง่ายกว่าเยอะ ก็เลยจบเรื่องตั้งเป้าเกี่ยวกับเงิน
ส่วนเรื่องฉายา วอร์เรน บัฟเฟตต์เมืองไทย นั้น ความจริงเราไม่สามารถเกิดมาเพื่อเป็นใคร เราเกิดมาเป็นตัวของเราเอง
แต่ก็ศึกษาประวัติของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ซึ่งจริงๆเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ทำตามแบบไม่ต้องเลียนแบบ
อาจารย์บอกว่า วันนี้มางานนี้ รู้สึกsurprise นึกว่ามีคนมาฟัง 30 คน ( จริงๆมีคนมาฟังอาจารย์ 350 คน )
จะมาลงรายละเอียดวิชาการ กลุ่มคนที่มาฟังแตกต่างกับที่ผ่านมา ดูเป็นหนุ่มสาวทั้งนั้น
Q : Major Learning หลังจากกำไรก้อนโต หรือ ขาดทุนก้อนโต อยากให้แชร์ประสบการณ์
A : ทำเงินก้อนโต มีตลอด แต่ขาดทุนก้อนโต ไม่เจอ (ว้าว อาจารย์ทำได้อย่างไร ตามมาศึกษากัน)
อาจารย์ให้เหตุผลว่า เราออกแบบการลงทุนไว้แล้ว ถ้าเราขาดทุนก้อนโต แสดงว่าเราไม่ได้วางแผนตั้งแต่เริ่มลงทุน
การทำเงินก้อนโต เราออกแบบ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนก้อนโต คือ การถือหลักทรัพย์ไว้นานๆ ( สังเกตจากนักลงทุน
แนววีไอ บางคน ก็มีพฤติกรรมแบบนี้ สามารถถือหุ้นที่ดีได้ยาวนาน ไม่ได้ขายออก อาจมีซื้อเพิ่มขึ้นด้วย )
ต้องมีศรัทธา มีความมั่นใจ มีการตรวจสอบว่า ยังเป็นธุรกิจ Great company หรือไม่ ถ้าใช่ เราก็โตตามมันไป
การขาดทุนเยอะ ต้องหลีกเลี่ยง อะไรที่ทำให้ขาดทุนก้อนโต ก็หลีกเลี่ยง
ไม่ลงทุนหุ้น PE 100 เท่า ถ้าไม่เป็นตามที่เราคิด จะขาดทุนก้อนโตได้
ต้องดูว่า ธุรกิจเป็น Great Business หรือไม่ ถ้าเป็นธุรกิจธรรมดา คนอื่นก็สู้ได้ ไม่น่าสนใจ
เราต้องสัมผัสกับธุรกิจจริงๆ ทำไมคนกล้าไปซื้อ ธุรกิจโตได้อย่างไร โดยที่เราไม่ต้องทำอะไรเลย
20 กว่าปีที่ลงทุนมา ขาดทุนน้อยมาก ขาดทุนแค่ 3 ปี จาก 20 กว่าปี
( ซึ่งปีที่ขาดทุน จะเป็นปีที่ SET ติดลบหนัก
1.ปี 2547 -28.2% เทียบกับตลาด -13.5% ซึ่งปี 2546 port +146% เทียบกับตลาด +116%
2.ปี 2551 Port -14.6% เทียบกับตลาด -47.5% ช่วงแฮมเบอเกอร์ ไคซิส
3.ปี 2561 Port -9.9% เทียบกับ ตลาด -11%
แหล่งที่มา : จากหนังสือของดร นิเวศน์ ที่รวบรวมบทความจาก คอลัมน์ โลกในมุมมองของValue Investor)
ดังนั้นลงทุนอย่าขาดทุน เราต้องคิดแล้วคิดอีกสำหรับหุ้นทุกตัว
หุ้นที่ขาดทุน เช่น ลงทุน3ปีแล้วยังขาดทุนอีก เราต้องคิดว่าทำไมยังขาดทุน
เหมือนการทำธุรกิจแล้วเจ๊ง จะต้องคิดแล้วทำไมถึงขาดทุน ลงทุนหุ้นก็เหมือนกัน
ซึ่งเป็นหลักการวีไอพันธ์แท้
ผมเคยลงทุนหุ้นทั้งชีวิตแค่ 20 กว่าตัว ตอนนี้ถือหุ้นอยู่ 10 ตัว
ปีที่แล้ว รวมถึงปีนี้ 18 เดือน ไม่ได้ซื้อ ขาย หุ้นเลย อยู่เฉยๆมา 18 เดือน
Broker โทรมาให้ซื้อ ขาย ทุกวัน ซึ่งปีที่แล้วไม่มี volume ซื้อขายเลย
คุณลงทุนหุ้นเหมือนการทำธุรกิจ ทำแล้วต้องตั้งใจ ไม่ใช่ขายทิ้งและซื้อธุรกิจใหม่ๆไปเรื่อยๆ
ปกติซื้อหุ้นอาจมีขาดทุน 2 ปี แต่ถ้าปีที่3 ยังขาดทุน ต้องพิจารณาแล้ว
Q: อยากทราบว่า วิกฤตจะมาเมื่อไหร่ และ จะทำอย่างไรที่จะคว้าโอกาสทำเงินจากวิกฤตได้
A: อาจารย์บอกว่า ผ่านมา2วิกฤต ทำให้เรารวยขึ้น
คิดว่าเมื่อไหร่จะเกิดสักที
สิ่งที่เตรียมการคือ
หุ้นที่เราถืออยู่ ไม่เป็นไร
ตอนปี 2008 Port ลดลง 10 %กว่า หลังจากนั้น Port ก็กระโดดขึ้นเยอะมาก ตอนตก ตกน้อยกว่าตลาด เรามีเงินสดบางส่วน เอามาซื้อหุ้นที่ตกเยอะๆ
เลือกหุ้นให้ถูก ตอนนี้มีเงินสดรอซื้อหุ้นที่ตกมากๆ ส่วนหุ้นที่ถืออยู่ไม่ค่อยตก
สมัยปี1997 เศรษฐี ทรัพย์สินตกลงมาเยอะ ทำให้เรารวยขึ้นจากหุ้นที่ถือ ซึ่งตกน้อยกว่า
ตลาด พอเกิดวิกฤตหลายครั้ง ตอนนี้ผมรวยกว่าเศรษฐีแล้ว
อย่าไปกลัว พยายามอยู่บนเรือที่แข็งแกร่งให้ได้ ไม่มีใครทำนายได้ว่าเกิดเมื่อไหร่
แต่ถ้าเราแข็งแกร่ง หุ้นที่เราถือก็ปลอดภัย
3-4 ปีก่อน ขายหุ้นไป และ ถือเงินสด ฝากธนาคารได้ดอกเบี้ยน้อยกว่า 1% ตอนนี้ก็เข้าไปซื้อหุ้น
มีเงินสด 10กว่า % รอซื้อหุ้นตอนวิกฤต
แต่ก็กลัวๆอยู่ เพราะ นานแล้วที่ไม่เกิด ( 11 ปีหลังจาก วิกฤตแฮมเบอเกอร์ )
สุดท้ายขอขอบคุณ Fullerton Market และ ดร นิเวศน์ที่มาให้ความรู้สำหรับรับมือวิกฤตครั้งต่อไปนะครับ
พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส จากนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ
ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ช่วงสัมภาษณ์ ดร นิเวศน์ เกี่ยวกับประสบการณ์การลงทุน รับมือวิกฤตอย่างไร
Q: ดร นิเวศน์ เป็นนักลงทุนที่โด่งดัง ได้รับฉายา วอร์เรน บัฟเฟตต์ เมืองไทย และ ยังมีหลายฉายา
ถามดร ว่าชอบฉายาอะไรมากที่สุด
A: ปกติในเมืองไทยไม่มีใครเรียกแบบนี้ แต่เมืองนอกตั้งชื่อนี้ จากหนังสือฉบับนึงได้จัดอันดับนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จในการลงทุน 99 คนทั่วโลก อาจารย์เป็นหนึ่งใน99คนได้รับการบันทึกชื่อไว้
อาจารย์บอกว่า ผมเกิดในช่วงจังหวะที่เหมาะสมในสถานการณ์ตลาดหุ้นไทยช่วงนั้น (ช่วงต้มยำกุ้ง)
เราเป็นคนริเริ่มลงทุนในแนววีไอ และเผยแพร่การลงทุนแบบวีไอออกไป คนรู้จักก็มาหาผมเพื่อศึกษาแนวทางวีไอ
(ผู้เขียนขอเสริมว่า นักลงทุนที่เข้าไปหาอาจารย์ช่วงนั้น หนึ่งในนั้นก็คือ คุณธันวา อดีตนายกสมาคมไทยวีไอคนแรก
ขณะทำงานอยู่ที่ IBM สิงคโปร์ พอมีเวลามาไทย ก็ไปพูดคุยกับอาจารย์เรื่องแนวการลงทุนแบบวีไอ ซึ่งถือว่าใหม่มาก ไม่ค่อยมีคนรู้จัก)
หลังจากนั้น ก็เริ่มเขียนบทความลง นสพ ( กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์ โลกในมุมมองValue Investor ลงทุกวันอังคาร)
ออกรายการทีวี และ มีการสอนหลักการลงทุนแนววีไอ คนตามมาศึกษาการลงทุนแบบวีไอเยอะ
ซึ่งเป็นหลักการที่ปลอดภัย คนที่ทำตามหลักการนี้ก็ได้รับผลตอบแทนที่ดี เลยเกิดกระแสการลงทุนแบบวีไอขึ้นมา
ทำให้หุ้นที่อยู่ในข่ายการลงทุนแบบวีไอ เติบโตขึ้นเยอะอย่างไม่น่าเชื่อ
อาจารย์เล่าว่า ตอนนั้นลงทุนแบบวีไอ เพราะว่าตกงาน (จากวิกฤตต้มยำกุ้ง) มีเงินเก็บก้อนนึง ประมาณ 10 ล้านบาท
ก็เลยนำเงินก้อนนี้มาลงทุน เพื่อเอาตัวรอดในขณะที่อายุ40กว่าปี ตอนนั้นมีเงินอย่างเดียว ไม่มีทรัพย์สินอื่น
บ้านก็เป็นของแม่ยาย ส่วนรถก็เป็นรถบริษัท หลังจากไปลงทุนก็พออยู่ได้
ตอนนั้นอาจารย์บังเอิญลงทุนในช่วงสถานการณ์ที่เอื้ออำนวย (ช่วงต้มยำกุ้ง ราคาหุ้นลดต่ำจาก 1789 มาที่ 204 จุด
ทำให้มีหุ้นคุณภาพดีราคาถูก ปันผล 10% ที่สามารถเลือกลงทุนได้ ) ซึ่งทำให้อาจารย์รวยไปด้วยไม่ทันตั้งตัว
เคยให้สัมภาษณ์กับ นสพ กรุงเทพธุรกิจ ว่า ก่อนตายตอนอายุ 80 ปี ตั้งเป้าจะมีเงิน 1,000 ล้านบาท ซึ่งตอนนั้นยังมี
เวลาอีก 30กว่าปี ถ้าลงทุนได้ผลตอบแทน 10% ทบต้น ระยะเวลา 30กว่าปี สามารถทำเงินจาก 10 ไปที่ 1,000 ล้านบาทได้ ผมวางแผนไว้หมด และศึกษาหุ้นทั่วโลก มีความเป็นไปได้ในการลงทุนหุ้นและได้ 1,000 ล้านบาท
ช่วงนั้นผมพูดการลงทุนแบบวีไอเป็นคนแรก เลยกลายเป็นผู้นำ นอกจากเผยแพร่แนววีไอ ก็ได้ 1,000 ล้านบาท
เร็วกว่ากำหนด คือ แค่ 10 ปีเท่านั้น แต่ก็ยังลงทุนต่อไปเรื่อยๆ
ตอนนั้น คิดใหม่ว่าขอให้ได้ผลตอบแทนแค่ 10%ต่อปีไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นเป้าหมายต่อมา
ระยะหลัง เป้าเพื่อเงินไม่มีความหมาย สมัยที่ไม่มีเงิน ตั้งเป้าเป็นเรื่องเงิน แต่พอมีเงิน 1,000 ล้านบาท ชีวิตก็ไม่มี
อะไรเปลี่ยนแปลง เพราะ การไปเที่ยวทั่วโลก ไม่ต้องใช้เงินมากมาย
การหาเงินนะง่าย แต่การใช้เงินเช่น วันละ 2 ล้านบาท นั้นยาก เพราะต้องหาทางใช้เงิน 2ล้านบาททุกวัน จะไปซื้ออะไรทุกวัน การใช้เงิน 200 บาทต่อวัน ง่ายกว่าเยอะ ก็เลยจบเรื่องตั้งเป้าเกี่ยวกับเงิน
ส่วนเรื่องฉายา วอร์เรน บัฟเฟตต์เมืองไทย นั้น ความจริงเราไม่สามารถเกิดมาเพื่อเป็นใคร เราเกิดมาเป็นตัวของเราเอง
แต่ก็ศึกษาประวัติของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ซึ่งจริงๆเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ทำตามแบบไม่ต้องเลียนแบบ
อาจารย์บอกว่า วันนี้มางานนี้ รู้สึกsurprise นึกว่ามีคนมาฟัง 30 คน ( จริงๆมีคนมาฟังอาจารย์ 350 คน )
จะมาลงรายละเอียดวิชาการ กลุ่มคนที่มาฟังแตกต่างกับที่ผ่านมา ดูเป็นหนุ่มสาวทั้งนั้น
Q : Major Learning หลังจากกำไรก้อนโต หรือ ขาดทุนก้อนโต อยากให้แชร์ประสบการณ์
A : ทำเงินก้อนโต มีตลอด แต่ขาดทุนก้อนโต ไม่เจอ (ว้าว อาจารย์ทำได้อย่างไร ตามมาศึกษากัน)
อาจารย์ให้เหตุผลว่า เราออกแบบการลงทุนไว้แล้ว ถ้าเราขาดทุนก้อนโต แสดงว่าเราไม่ได้วางแผนตั้งแต่เริ่มลงทุน
การทำเงินก้อนโต เราออกแบบ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนก้อนโต คือ การถือหลักทรัพย์ไว้นานๆ ( สังเกตจากนักลงทุน
แนววีไอ บางคน ก็มีพฤติกรรมแบบนี้ สามารถถือหุ้นที่ดีได้ยาวนาน ไม่ได้ขายออก อาจมีซื้อเพิ่มขึ้นด้วย )
ต้องมีศรัทธา มีความมั่นใจ มีการตรวจสอบว่า ยังเป็นธุรกิจ Great company หรือไม่ ถ้าใช่ เราก็โตตามมันไป
การขาดทุนเยอะ ต้องหลีกเลี่ยง อะไรที่ทำให้ขาดทุนก้อนโต ก็หลีกเลี่ยง
ไม่ลงทุนหุ้น PE 100 เท่า ถ้าไม่เป็นตามที่เราคิด จะขาดทุนก้อนโตได้
ต้องดูว่า ธุรกิจเป็น Great Business หรือไม่ ถ้าเป็นธุรกิจธรรมดา คนอื่นก็สู้ได้ ไม่น่าสนใจ
เราต้องสัมผัสกับธุรกิจจริงๆ ทำไมคนกล้าไปซื้อ ธุรกิจโตได้อย่างไร โดยที่เราไม่ต้องทำอะไรเลย
20 กว่าปีที่ลงทุนมา ขาดทุนน้อยมาก ขาดทุนแค่ 3 ปี จาก 20 กว่าปี
( ซึ่งปีที่ขาดทุน จะเป็นปีที่ SET ติดลบหนัก
1.ปี 2547 -28.2% เทียบกับตลาด -13.5% ซึ่งปี 2546 port +146% เทียบกับตลาด +116%
2.ปี 2551 Port -14.6% เทียบกับตลาด -47.5% ช่วงแฮมเบอเกอร์ ไคซิส
3.ปี 2561 Port -9.9% เทียบกับ ตลาด -11%
แหล่งที่มา : จากหนังสือของดร นิเวศน์ ที่รวบรวมบทความจาก คอลัมน์ โลกในมุมมองของValue Investor)
ดังนั้นลงทุนอย่าขาดทุน เราต้องคิดแล้วคิดอีกสำหรับหุ้นทุกตัว
หุ้นที่ขาดทุน เช่น ลงทุน3ปีแล้วยังขาดทุนอีก เราต้องคิดว่าทำไมยังขาดทุน
เหมือนการทำธุรกิจแล้วเจ๊ง จะต้องคิดแล้วทำไมถึงขาดทุน ลงทุนหุ้นก็เหมือนกัน
ซึ่งเป็นหลักการวีไอพันธ์แท้
ผมเคยลงทุนหุ้นทั้งชีวิตแค่ 20 กว่าตัว ตอนนี้ถือหุ้นอยู่ 10 ตัว
ปีที่แล้ว รวมถึงปีนี้ 18 เดือน ไม่ได้ซื้อ ขาย หุ้นเลย อยู่เฉยๆมา 18 เดือน
Broker โทรมาให้ซื้อ ขาย ทุกวัน ซึ่งปีที่แล้วไม่มี volume ซื้อขายเลย
คุณลงทุนหุ้นเหมือนการทำธุรกิจ ทำแล้วต้องตั้งใจ ไม่ใช่ขายทิ้งและซื้อธุรกิจใหม่ๆไปเรื่อยๆ
ปกติซื้อหุ้นอาจมีขาดทุน 2 ปี แต่ถ้าปีที่3 ยังขาดทุน ต้องพิจารณาแล้ว
Q: อยากทราบว่า วิกฤตจะมาเมื่อไหร่ และ จะทำอย่างไรที่จะคว้าโอกาสทำเงินจากวิกฤตได้
A: อาจารย์บอกว่า ผ่านมา2วิกฤต ทำให้เรารวยขึ้น
คิดว่าเมื่อไหร่จะเกิดสักที
สิ่งที่เตรียมการคือ
หุ้นที่เราถืออยู่ ไม่เป็นไร
ตอนปี 2008 Port ลดลง 10 %กว่า หลังจากนั้น Port ก็กระโดดขึ้นเยอะมาก ตอนตก ตกน้อยกว่าตลาด เรามีเงินสดบางส่วน เอามาซื้อหุ้นที่ตกเยอะๆ
เลือกหุ้นให้ถูก ตอนนี้มีเงินสดรอซื้อหุ้นที่ตกมากๆ ส่วนหุ้นที่ถืออยู่ไม่ค่อยตก
สมัยปี1997 เศรษฐี ทรัพย์สินตกลงมาเยอะ ทำให้เรารวยขึ้นจากหุ้นที่ถือ ซึ่งตกน้อยกว่า
ตลาด พอเกิดวิกฤตหลายครั้ง ตอนนี้ผมรวยกว่าเศรษฐีแล้ว
อย่าไปกลัว พยายามอยู่บนเรือที่แข็งแกร่งให้ได้ ไม่มีใครทำนายได้ว่าเกิดเมื่อไหร่
แต่ถ้าเราแข็งแกร่ง หุ้นที่เราถือก็ปลอดภัย
3-4 ปีก่อน ขายหุ้นไป และ ถือเงินสด ฝากธนาคารได้ดอกเบี้ยน้อยกว่า 1% ตอนนี้ก็เข้าไปซื้อหุ้น
มีเงินสด 10กว่า % รอซื้อหุ้นตอนวิกฤต
แต่ก็กลัวๆอยู่ เพราะ นานแล้วที่ไม่เกิด ( 11 ปีหลังจาก วิกฤตแฮมเบอเกอร์ )
สุดท้ายขอขอบคุณ Fullerton Market และ ดร นิเวศน์ที่มาให้ความรู้สำหรับรับมือวิกฤตครั้งต่อไปนะครับ