อยู่อย่างไรยามสูงวัย/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ค. 29, 2019 9:47 am
ทุกคนทราบดีว่า ประชากรของโลกโดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา กำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย ซึ่งก่อให้เกิดประเด็นตามมาอีกหลายอย่าง เช่น ทำให้โลกโตช้าลง เพราะประชากรสูงวัยจะบริโภคน้อยกว่าประชากรวัยหนุ่มสาว และสัดส่วนคนในวัยทำงานลดลง ทำให้ค่าใช้จ่ายการแพทย์และการดูแลสุขภาพ รวมถึงการรักษาพยาบาลของครัวเรือนสูงขึ้น ทำให้ขาดแคลนบุคลากรที่จะมาดูแลผู้สูงวัย เนื่องจากหากแยกดูแลเอง ผู้สูงวัยหนึ่งคน เมื่อถึงวัยหนึ่ง จะใช้คนดูแล 2 คนเป็นอย่างน้อย
ดิฉันคำนวณตัวเลขจาก ข้อมูลขององค์การสหประชาชาติที่วิจัยไว้เมื่อปี พ.ศ. 2560 ในรายงาน World Population Ageing 2017 พบว่า ผู้สูงวัยคือประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในโลกนี้ มีจำนวน 962.3 ล้านคน (โดยมี 549.2 ล้านคนอยู่ในทวีปเอเชีย) มีสัดส่วน 12.83% ของประชากรของโลกทั้งหมด 7,500 ล้านคน โดยในจำนวนผู้สูงวัยทั้งหมดนี้ มี 15% หรือเท่ากับประมาณ 144.3 ล้านคน ที่เป็นผู้สูงวัยที่มีอายุเกิน 80 ปี (เป็นประชากรชาย 57.74 ล้านคน และเป็นประชากรหญิง 86.6 ล้านคน) ส่วนที่เหลืออีก 817.96 เป็นประชากรสูงวัยที่มีอายุ ระหว่าง 60-80 ปีค่ะ
อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2593 หรืออีก 31 ปีข้างหน้า ประชากรสูงวัย จะเพิ่มเป็น 2,080.5 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 9,800 ล้านคน คิดเป็น 21.22% ของประชากรทั้งหมด โดยในจำนวนผู้สูงวัยทั้งหมดนี้ จะเป็นผู้สูงวัยที่มีอายุเกิน 80 ปีเป็นสัดส่วนถึง 20% หรือประมาณ 416 ล้านคน (เป็นประชากรชายประมาณ 166.44 ล้านคน และเป็นประชากรหญิงประมาณ 249.66 ล้านคน) ที่เหลืออีก 1,664.4 ล้านคน อายุตั้งแต่ 60-80 ปีค่ะ
ในงานวิจัยนี้ พบว่าผู้สูงวัยมีแนวโน้มที่จะอยู่กับลูกหลานน้อยลง และอยู่กับคู่สมรส หรืออยู่คนเดียวมากขึ้น โดยพบว่า ณ ปี 2560 โดยเฉลี่ยมีผู้สูงวัยทั่วโลกเพียงครึ่งเดียว ที่อยู่กับลูกหลาน โดยมีสัดส่วนสูง ประมาณ 53-66% ในอัฟริกาและเอเชีย ส่วนในประเทศกลุ่มละตินอเมริกาและแคริเบียนนั้น ผู้สูงวัย อยู่กับลูกหลาน 51-53% ในยุโรปมีสัดส่วนอยู่กับลูกหลานเพียง 21% และที่น้อยที่สุดคือ ทวีปอเมริกาเหนือ ที่มีสัดส่วนผู้สูงวัยอยู่กับลูกหลานเพียง 18-21% เท่านั้น
ประเทศที่ผู้สูงวัยอยู่กับลูกหลานน้อยที่สุดคือ เนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 5% ของผู้สูงวัยทั้งหมด และที่อยู่กับลูกหลานมากที่สุด คือ ปาเลสไตน์ อยู่ถึง 80% ดิฉันคาดว่าความคับแคบของสถานที่ ทำให้คนเนเธอร์แลนด์ไม่อยู่กับลูกหลาน ส่วนปาเลสไตน์ น่าจะเป็นเพราะภาวะสงครามและความเป็นอยู่ที่ไม่มั่นคง ทำให้ต้องอยู่รวมกัน เพื่อช่วยเหลือกัน
สำหรับประเทศไทยเอง สัดส่วนของผู้สูงวัยที่อยู่กับลูกหลาน อยู่ใกล้ๆ 70% ค่ะ
การจะอยู่กับลูกหลานหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยค่ะ ในโลกปัจจุบัน ผู้สูงวัยมีแนวโน้มแข็งแรงขึ้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างจากผู้สูงวัยรุ่นก่อนๆ โดยจะยังมีสังคมของตนเอง มีกิจกรรมต่างๆ ต่างกับผู้สูงวัยเมื่อ 20-30 ปีก่อน ที่มักจะลดกิจกรรมต่างๆนอกบ้านลง และพักผ่อนอยู่เงียบๆ จึงมักอยู่บ้าน ช่วยลูกหลานดูแลบ้าน แต่แนวโน้มการอยู่กับลูกหลานจะลดลงอย่างรวดเร็วในอนาคต
นอกจากปัจจัยเรื่องความเป็นอิสระ ยังต้องการทำกิจกรรมต่างๆแล้ว ปัจจัยเรื่อง วัยของลูกหลานก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งค่ะ ดิฉันสะเทือนใจมากกับสารคดีของ เอ็นเอชเค เรื่องคุณหมอที่มีหน้าที่ดูแลผู้สูงวัยที่อยู่ติดบ้าน ไม่สามารถจะออกไปพบหมอได้แล้ว พบครอบครัวหนึ่ง หลังจากพยายามดูแลคุณแม่อายุ 103 ปี มาเป็นเวลาหลายสิบปี ในที่สุด ลูกชายและลูกสะใภ้วัย 80 ปี ก็ต้องยอมแพ้ ส่งคุณแม่ให้ไปอยู่เนอร์สซิ่งโฮม โดยตอนออกจากบ้าน คุณแม่ไม่ทราบเลยว่าจะต้องอยู่เนอร์สซิ่งโฮมตลอดไป
และเมื่อผู้สูงวัยในโลกนี้ เพิ่มจำนวนเป็น 2,080.5 ล้านคน โดยมีผู้สูงวัยที่อายุ 80 ปีขึ้นไปถึง 416 ล้านคน การอยู่อาศัยของผู้สูงวัยก็ต้องเปลี่ยนไป การจัดการให้มีที่อยู่อาศัยรวม มีสังคม และมีงานทำ ทั้งงานหารายได้และงานอดิเรกในวัยที่ยังช่วยตัวเองได้ รวมไปถึงการจัดการที่อยู่อาศัยของผู้สูงวัยที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ก็จะเป็นความท้าทายมากขึ้น หากมีโอกาส ดิฉันจะเขียนถึงแนวคิดการจัดการความเป็นอยู่ของผู้สูงวัยต่อไปค่ะ
เกร็ดตัวเลขในสัปดาห์นี้ :
ในปี 2523 (ค.ศ. 1980) ประเทศที่มีสัดส่วนประชากรสูงวัยสูงที่สุดคือ สวีเดน มีสัดส่วน 22% รองลงมาคือ นอร์เวย์ 20.2% หมู่เกาะแชนนัล 20.1% สหราชอาณาจักร 20% และเดนมาร์ก 19.5%
ในปี 2560 (ค.ศ.2017) ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรสูงวัยสูงที่สุด คือ 33.4% ตามมาด้วย อิตาลี 29.4% เยอรมนี 28% โปรตุเกส 27.9% และฟินแลนด์ 27.8%
คาดว่าในปี 2593 (ค.ศ.2050) ญี่ปุ่นก็ยังจะคงเป็นประเทศที่จะมีสัดส่วนของประชากรสูงวัยมากที่สุด แต่สัดส่วนจะเพิ่มเป็น 42.4% ตามมาด้วยสเปน 41.9% โปรตุเกส 41.7% กรีซ กับ เกาหลีใต้ เท่ากันที่ 41.6% ไต้หวัน 41.3% ฮ่องกง 40.6% อิตาลี 40.3% สิงคโปร์ 40.1% และโปแลนด์ 39.5%
นึกภาพประชากรเกือบครึ่งประเทศอายุเกิน 60 ปีแล้ว เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายค่ะ ธุรกิจต่างๆ ก็ต้องปรับตัว ผลิตสินค้าและให้บริการกับกลุ่มลูกค้าที่มีวัยสูงขึ้น พยายามใช้แรงงานน้อยลง รัฐต้องมีนโยบายเรื่องผู้อพยพและแรงงานต่างชาติให้ชัดเจนขึ้น (คือต้องยอมที่จะรับเข้ามามากขึ้น) ลักษณะงานหลายอย่างต้องเอื้อให้ผู้สูงวัยสามารถทำได้จากที่พัก (ซึ่งดิฉันเคยยกตัวอย่างเรื่องการท่องเที่ยว และบริการที่เกี่ยวเนื่องไปแล้ว)
ดิฉันคำนวณตัวเลขจาก ข้อมูลขององค์การสหประชาชาติที่วิจัยไว้เมื่อปี พ.ศ. 2560 ในรายงาน World Population Ageing 2017 พบว่า ผู้สูงวัยคือประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในโลกนี้ มีจำนวน 962.3 ล้านคน (โดยมี 549.2 ล้านคนอยู่ในทวีปเอเชีย) มีสัดส่วน 12.83% ของประชากรของโลกทั้งหมด 7,500 ล้านคน โดยในจำนวนผู้สูงวัยทั้งหมดนี้ มี 15% หรือเท่ากับประมาณ 144.3 ล้านคน ที่เป็นผู้สูงวัยที่มีอายุเกิน 80 ปี (เป็นประชากรชาย 57.74 ล้านคน และเป็นประชากรหญิง 86.6 ล้านคน) ส่วนที่เหลืออีก 817.96 เป็นประชากรสูงวัยที่มีอายุ ระหว่าง 60-80 ปีค่ะ
อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2593 หรืออีก 31 ปีข้างหน้า ประชากรสูงวัย จะเพิ่มเป็น 2,080.5 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 9,800 ล้านคน คิดเป็น 21.22% ของประชากรทั้งหมด โดยในจำนวนผู้สูงวัยทั้งหมดนี้ จะเป็นผู้สูงวัยที่มีอายุเกิน 80 ปีเป็นสัดส่วนถึง 20% หรือประมาณ 416 ล้านคน (เป็นประชากรชายประมาณ 166.44 ล้านคน และเป็นประชากรหญิงประมาณ 249.66 ล้านคน) ที่เหลืออีก 1,664.4 ล้านคน อายุตั้งแต่ 60-80 ปีค่ะ
ในงานวิจัยนี้ พบว่าผู้สูงวัยมีแนวโน้มที่จะอยู่กับลูกหลานน้อยลง และอยู่กับคู่สมรส หรืออยู่คนเดียวมากขึ้น โดยพบว่า ณ ปี 2560 โดยเฉลี่ยมีผู้สูงวัยทั่วโลกเพียงครึ่งเดียว ที่อยู่กับลูกหลาน โดยมีสัดส่วนสูง ประมาณ 53-66% ในอัฟริกาและเอเชีย ส่วนในประเทศกลุ่มละตินอเมริกาและแคริเบียนนั้น ผู้สูงวัย อยู่กับลูกหลาน 51-53% ในยุโรปมีสัดส่วนอยู่กับลูกหลานเพียง 21% และที่น้อยที่สุดคือ ทวีปอเมริกาเหนือ ที่มีสัดส่วนผู้สูงวัยอยู่กับลูกหลานเพียง 18-21% เท่านั้น
ประเทศที่ผู้สูงวัยอยู่กับลูกหลานน้อยที่สุดคือ เนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 5% ของผู้สูงวัยทั้งหมด และที่อยู่กับลูกหลานมากที่สุด คือ ปาเลสไตน์ อยู่ถึง 80% ดิฉันคาดว่าความคับแคบของสถานที่ ทำให้คนเนเธอร์แลนด์ไม่อยู่กับลูกหลาน ส่วนปาเลสไตน์ น่าจะเป็นเพราะภาวะสงครามและความเป็นอยู่ที่ไม่มั่นคง ทำให้ต้องอยู่รวมกัน เพื่อช่วยเหลือกัน
สำหรับประเทศไทยเอง สัดส่วนของผู้สูงวัยที่อยู่กับลูกหลาน อยู่ใกล้ๆ 70% ค่ะ
การจะอยู่กับลูกหลานหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยค่ะ ในโลกปัจจุบัน ผู้สูงวัยมีแนวโน้มแข็งแรงขึ้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างจากผู้สูงวัยรุ่นก่อนๆ โดยจะยังมีสังคมของตนเอง มีกิจกรรมต่างๆ ต่างกับผู้สูงวัยเมื่อ 20-30 ปีก่อน ที่มักจะลดกิจกรรมต่างๆนอกบ้านลง และพักผ่อนอยู่เงียบๆ จึงมักอยู่บ้าน ช่วยลูกหลานดูแลบ้าน แต่แนวโน้มการอยู่กับลูกหลานจะลดลงอย่างรวดเร็วในอนาคต
นอกจากปัจจัยเรื่องความเป็นอิสระ ยังต้องการทำกิจกรรมต่างๆแล้ว ปัจจัยเรื่อง วัยของลูกหลานก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งค่ะ ดิฉันสะเทือนใจมากกับสารคดีของ เอ็นเอชเค เรื่องคุณหมอที่มีหน้าที่ดูแลผู้สูงวัยที่อยู่ติดบ้าน ไม่สามารถจะออกไปพบหมอได้แล้ว พบครอบครัวหนึ่ง หลังจากพยายามดูแลคุณแม่อายุ 103 ปี มาเป็นเวลาหลายสิบปี ในที่สุด ลูกชายและลูกสะใภ้วัย 80 ปี ก็ต้องยอมแพ้ ส่งคุณแม่ให้ไปอยู่เนอร์สซิ่งโฮม โดยตอนออกจากบ้าน คุณแม่ไม่ทราบเลยว่าจะต้องอยู่เนอร์สซิ่งโฮมตลอดไป
และเมื่อผู้สูงวัยในโลกนี้ เพิ่มจำนวนเป็น 2,080.5 ล้านคน โดยมีผู้สูงวัยที่อายุ 80 ปีขึ้นไปถึง 416 ล้านคน การอยู่อาศัยของผู้สูงวัยก็ต้องเปลี่ยนไป การจัดการให้มีที่อยู่อาศัยรวม มีสังคม และมีงานทำ ทั้งงานหารายได้และงานอดิเรกในวัยที่ยังช่วยตัวเองได้ รวมไปถึงการจัดการที่อยู่อาศัยของผู้สูงวัยที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ก็จะเป็นความท้าทายมากขึ้น หากมีโอกาส ดิฉันจะเขียนถึงแนวคิดการจัดการความเป็นอยู่ของผู้สูงวัยต่อไปค่ะ
เกร็ดตัวเลขในสัปดาห์นี้ :
ในปี 2523 (ค.ศ. 1980) ประเทศที่มีสัดส่วนประชากรสูงวัยสูงที่สุดคือ สวีเดน มีสัดส่วน 22% รองลงมาคือ นอร์เวย์ 20.2% หมู่เกาะแชนนัล 20.1% สหราชอาณาจักร 20% และเดนมาร์ก 19.5%
ในปี 2560 (ค.ศ.2017) ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรสูงวัยสูงที่สุด คือ 33.4% ตามมาด้วย อิตาลี 29.4% เยอรมนี 28% โปรตุเกส 27.9% และฟินแลนด์ 27.8%
คาดว่าในปี 2593 (ค.ศ.2050) ญี่ปุ่นก็ยังจะคงเป็นประเทศที่จะมีสัดส่วนของประชากรสูงวัยมากที่สุด แต่สัดส่วนจะเพิ่มเป็น 42.4% ตามมาด้วยสเปน 41.9% โปรตุเกส 41.7% กรีซ กับ เกาหลีใต้ เท่ากันที่ 41.6% ไต้หวัน 41.3% ฮ่องกง 40.6% อิตาลี 40.3% สิงคโปร์ 40.1% และโปแลนด์ 39.5%
นึกภาพประชากรเกือบครึ่งประเทศอายุเกิน 60 ปีแล้ว เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายค่ะ ธุรกิจต่างๆ ก็ต้องปรับตัว ผลิตสินค้าและให้บริการกับกลุ่มลูกค้าที่มีวัยสูงขึ้น พยายามใช้แรงงานน้อยลง รัฐต้องมีนโยบายเรื่องผู้อพยพและแรงงานต่างชาติให้ชัดเจนขึ้น (คือต้องยอมที่จะรับเข้ามามากขึ้น) ลักษณะงานหลายอย่างต้องเอื้อให้ผู้สูงวัยสามารถทำได้จากที่พัก (ซึ่งดิฉันเคยยกตัวอย่างเรื่องการท่องเที่ยว และบริการที่เกี่ยวเนื่องไปแล้ว)