หน้า 1 จากทั้งหมด 1

บันทึกการลงทุน 2: Discount Rate, CAPM, กับ Buffet

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ค. 22, 2019 8:43 pm
โดย ADIPOON
บันทึกการลงทุน 2: Discount Rate, CAPM, กับ Buffet

“การวัดความเสี่ยงด้วยค่า beta นั้นเป็นอะไรที่ไร้สาระที่สุดเท่าที่นักวิชาการเคยคิดมา” Warren Buffet เคยกล่าวไว้ แต่ทำไมเจ้าพ่อแห่งวีไอถึงได้วิจารณ์ค่าที่คนส่วนใหญ่ในอุตสหกรรมการเงินใช้กัน และเป็นสิ่งที่สอนกันในทุกมหาวิทยาลัยแรงขนาดนี้

จริงๆแล้ว Buffet เองก็ใช้วิธีการ DCF เหมือนคนอื่นๆในการหามูลค่าของหุ้น สิ่งที่เค้าทำไม่เหมือนคนส่วนใหญ่นั้นอยู่ที่ Discount rate ต่างหาก

สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดในการหามูลค่าของหุ้นแบบ DCF ก็คือ discount rate น่าที่ของ discount rate จริงๆแล้วตรงไปตรงมาเป็นอย่างมาก คือการที่เราจะวัดมูลค่าของเงินในอนาคตมา ณ มูลค่าปัจจุบัน สูตรการคำนวณ discount rate ที่ buffet มีปัญหาด้วยจริงๆคือตัว Cost of Equity ซึ่งคนทั่วไปยอบรับกับการคำนวณด้วย CAPM (Cost of Equity = Rf + B[Rm-Rf]) ซึ่งแปลได้ว่า ถ้าหุ้นตัวนั้นๆมีค่า Beta ที่สูง (ยิ่งราคาเหวี่ยงกว่าตลาดโดยรวม beta ยิ่งสูง) เราก็ควรคิดลดเงินสดในอนาคตให้มากขึ้นเพื่อจะชดเชยความเสี่ยงนี้ด้วย
แน่นอนอย่างที่บอกไป Buffet คิดว่าเรื่องนี้ช่างไร้สาระสิ้นดี

ปู่เคยบอกให้ลองคิดดีๆว่าถ้ามีหุ้นสองตัว หุ้นตัวแรกราคาไม่ค่อยขยับเลยแต่เป็นหุ้นที่พื้นฐานแย่มากๆ ค่า Beta ก็จะต่ำไปด้วย แต่มันแปลว่าหุ้นตัวนั้นความเสียงน้อยกว่าหุ้นอีกตัวที่ราคาเหวี่ยงสุดๆ พื้นฐานดี และเหวี่ยงในราคาที่ถูกอีกต่างหาก มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ฉะนั้นแล้วทั้ง Buffet และ Munger ทั้งคู่มองว่าการที่ทุกๆคนในสายการเงินยอมรับเรื่องนี้เป็นอะไรที่ประหลาดอย่างสิ้นเชิง

แล้วปู่ทั้งสองใช้ค่าอะไรกันแน่สำหรับ cost of equity?

Buffet นั้นบอกว่าเค้าใช้ค่าของผลตอบแทนที่สูงที่สุดที่เข้าจะทำได้ถ้าเกิดว่าเค้าไม่ได้เอาเงินนี้ไปลงในหุ้นตัวนั้นๆ ลบด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรัฐบาลอายุ 10 ปี เค้าให้เหตุผลว่า ถ้าจะลงทุนในอะไรซักอย่างนึง ก็ต้องลงทุนในอะไรที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าที่เค้าจะเอาเงินก้อนนี้ไปทำอย่างอื่นสิถึงจะถูกต้อง

ถ้าเราลองตีความจากตรรกะแบบนี้ เราจะเห็นได้เลยว่า Buffet ไม่เคยคิดถึงความเสี่ยงของตัวบริษัท เพราะการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับบริษัทที่เพียงพอ และการทำ Forecast ที่ไม่เว่อรเกินไปนั้น ก็จำกัดความเสี่ยงไว้เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้เค้ายังใช้ Margin of Safety หรือการที่จะซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าที่ประเมินไว้อีก ฉะนั้นแล้วมันก็ไม่มีอะไรจะสมเหตุสมผลไปกว่าการที่จะใช้ Discount rate เพื่อหาราคาที่เหมาะสมในการลงทุนของคนนั้นๆเอง เค้าควรจะซื้อในราคาที่ได้ผลตอบแทนมากกว่าการเอาเงินไปวางไว้ที่อื่น ไม่เกี่ยวข้องกับตลาด หรือค่า Beta เลยซักนิด

Re: บันทึกการลงทุน 2: Discount Rate, CAPM, กับ Buffet

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ค. 23, 2019 7:13 am
โดย ADIPOON
ADIPOON เขียน:บันทึกการลงทุน 2: Discount Rate, CAPM, กับ Buffet

“การวัดความเสี่ยงด้วยค่า beta นั้นเป็นอะไรที่ไร้สาระที่สุดเท่าที่นักวิชาการเคยคิดมา” Warren Buffet เคยกล่าวไว้ แต่ทำไมเจ้าพ่อแห่งวีไอถึงได้วิจารณ์ค่าที่คนส่วนใหญ่ในอุตสหกรรมการเงินใช้กัน และเป็นสิ่งที่สอนกันในทุกมหาวิทยาลัยแรงขนาดนี้

จริงๆแล้ว Buffet เองก็ใช้วิธีการ DCF เหมือนคนอื่นๆในการหามูลค่าของหุ้น สิ่งที่เค้าทำไม่เหมือนคนส่วนใหญ่นั้นอยู่ที่ Discount rate ต่างหาก

สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดในการหามูลค่าของหุ้นแบบ DCF ก็คือ discount rate น่าที่ของ discount rate จริงๆแล้วตรงไปตรงมาเป็นอย่างมาก คือการที่เราจะวัดมูลค่าของเงินในอนาคตมา ณ มูลค่าปัจจุบัน สูตรการคำนวณ discount rate ที่ buffet มีปัญหาด้วยจริงๆคือตัว Cost of Equity ซึ่งคนทั่วไปยอบรับกับการคำนวณด้วย CAPM (Cost of Equity = Rf + B[Rm-Rf]) ซึ่งแปลได้ว่า ถ้าหุ้นตัวนั้นๆมีค่า Beta ที่สูง (ยิ่งราคาเหวี่ยงกว่าตลาดโดยรวม beta ยิ่งสูง) เราก็ควรคิดลดเงินสดในอนาคตให้มากขึ้นเพื่อจะชดเชยความเสี่ยงนี้ด้วย
แน่นอนอย่างที่บอกไป Buffet คิดว่าเรื่องนี้ช่างไร้สาระสิ้นดี

ปู่เคยบอกให้ลองคิดดีๆว่าถ้ามีหุ้นสองตัว หุ้นตัวแรกราคาไม่ค่อยขยับเลยแต่เป็นหุ้นที่พื้นฐานแย่มากๆ ค่า Beta ก็จะต่ำไปด้วย แต่มันแปลว่าหุ้นตัวนั้นความเสียงน้อยกว่าหุ้นอีกตัวที่ราคาเหวี่ยงสุดๆ พื้นฐานดี และเหวี่ยงในราคาที่ถูกอีกต่างหาก มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ฉะนั้นแล้วทั้ง Buffet และ Munger ทั้งคู่มองว่าการที่ทุกๆคนในสายการเงินยอมรับเรื่องนี้เป็นอะไรที่ประหลาดอย่างสิ้นเชิง

แล้วปู่ทั้งสองใช้ค่าอะไรกันแน่สำหรับ cost of equity?

Buffet นั้นบอกว่าเค้าใช้ค่าของผลตอบแทนที่สูงที่สุดที่เข้าจะทำได้ถ้าเกิดว่าเค้าไม่ได้เอาเงินนี้ไปลงในหุ้นตัวนั้นๆ เค้าให้เหตุผลว่า ถ้าจะลงทุนในอะไรซักอย่างนึง ก็ต้องลงทุนในอะไรที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าที่เค้าจะเอาเงินก้อนนี้ไปทำอย่างอื่นสิถึงจะถูกต้อง

ถ้าเราลองตีความจากตรรกะแบบนี้ เราจะเห็นได้เลยว่า Buffet ไม่เคยคิดถึงความเสี่ยงของตัวบริษัท เพราะการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับบริษัทที่เพียงพอ และการทำ Forecast ที่ไม่เว่อรเกินไปนั้น ก็จำกัดความเสี่ยงไว้เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้เค้ายังใช้ Margin of Safety หรือการที่จะซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าที่ประเมินไว้อีก ฉะนั้นแล้วมันก็ไม่มีอะไรจะสมเหตุสมผลไปกว่าการที่จะใช้ Discount rate เพื่อหาราคาที่เหมาะสมในการลงทุนของคนนั้นๆเอง เค้าควรจะซื้อในราคาที่ได้ผลตอบแทนมากกว่าการเอาเงินไปวางไว้ที่อื่น ไม่เกี่ยวข้องกับตลาด หรือค่า Beta เลยซักนิด

แก้สูตรผิดครับ