ข้อควรรู้เกี่ยวกับการมีหนี้/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 14, 2019 1:46 pm
จากข้อมูลที่น่าตกใจเกี่ยวกับภาระหนี้สินและพฤติกรรมของคนในวัยหนุ่มสาวที่ทางผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยนำมาเปิดเผยในสัปดาห์ที่แล้ว ดิฉันขอแนะนำให้ผู้มือปัญหาในการจัดการหนี้สิน ไปใช้บริการคลินิกแก้หนี้ ของธนาคารแห่งประเทศไทยค่ะ
นอกจากนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินที่ต้นเหตุ และเพื่อไม่ให้ปัญหาบานปลาย ดิฉันขอนำเสนอแนวคิดและข้อเตือนใจ เกี่ยวกับการมีหนี้ เผื่อท่านจะแบ่งปันกับลูกหลานหรือคนรอบข้างค่ะ
ข้อเตือนใจข้อแรก ไม่เป็นหนี้ถ้าไม่จำเป็น ก่อนก่อหนี้ต้องคิดหนักๆ ว่าจะกู้มาทำอะไร จำเป็นหรือไม่ และจะมีแหล่งเงินจากที่ไหนมาชำระคืน หากคิดหาคำตอบไม่ได้ ต้องไม่ก่อหนี้ก้อนนั้นค่ะ
ข้อที่ 2 มีหนี้ต้องใช้คืน ดังนั้นถ้าจะมีหนี้ ต้องมีในระดับที่สามารถจ่ายคืนได้ คือ จ่ายคืนในแต่ละเดือนไม่เกิน 35% ของรายได้ ท่องคาถาเอาไว้ว่า หากภาระการจ่ายคืนสูงกว่านี้ จะกลายเป็นหนี้ถาวรคือ มีโอกาสสูงที่จะจ่ายคืนไม่ได้ นอกจากนี้
ข้อที่ 3 มีรายได้เพิ่มต้องจ่ายคืนหนี้เพิ่ม เพื่อลดภาระหนี้ลงไปเร็วๆ อย่าลืมว่า ดอกอะไรไม่งามเท่าดอกเบี้ย ใช้กฎของเลข 72 เตือนใจว่า หนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในเวลากี่ปี เอาเลข 72 ตั้ง หารด้วยอัตราดอกเบี้ย ดังนั้น เงินกู้ 1 ล้านบาทที่อัตราดอกเบี้ย 18% จะพอกพูนเป็น 2 ล้านบาทภายในเวลา 4 ปีเท่านั้น และหากยังไม่ได้จ่ายคืนใน 4 ปี จะงอกเป็น 4 ล้านบาท ภายในเวลาอีก 4 ปี หรือพูดง่ายๆคือเงินกู้ 1 ล้านบาทกลายเป็น 4 ล้านบาท ภายในเวลา 8 ปี
ข้อที่ 4 การแก้ไขที่ต้นเหตุ คือ รายจ่ายต้องไม่เกินรายรับ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะฉะนั้น “มีน้อยใช้น้อย” ให้เหมาะสมกับฐานะของตนเองนะคะ หากไม่สามารถจัดการงบประมาณได้ คือลดอย่างไรก็ไม่ลง ทุกอย่างจำเป็นหมด จะต้องหารายได้เพิ่มค่ะ จะคิดทำงานพิเศษ ทำงานล่วงเวลา จะขายของ หรือทำอะไรที่สามารถเพิ่มรายได้ ก็ต้องทำค่ะ
การกู้เงินมาใช้จ่ายเป็นเรื่องที่ไม่สมควร ยกเว้นกรณีฉุกเฉินจริงๆ เช่น เจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุ
ข้อที่ 5 เวลาเริ่มมีรายได้ ควรเริ่มวางแผนการเงินไว้ให้ดี และเก็บเงินออมส่วนหนึ่งไว้เผื่อมีสถานการณ์ฉุกเฉิน เราจะได้มีเงินออมมาช่วงรองรับเหตุไม่คาดฝันเหล่านี้
หลายคนมีหนี้เพราะการพนัน เมื่อเราทราบว่าเหตุของหนี้คือการพนัน เราก็ต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการพนัน เราก็จะไม่เป็นหนี้
ข้อที่ 6 อย่ากู้เงินก้อนใหม่ เพื่อมาโปะหนี้ก้อนเก่า หากเงื่อนไขไม่ได้ดีกว่าเดิม การรวบรวมหนี้ เป็นหนึ่งในวิธีจัดการหนี้สิน แต่ต้องเกิดประโยชน์เพิ่มด้วย เช่น คิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (คือคิดตามอัตราที่แท้จริง ซึ่งดีที่สุด) อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเดิม ฯลฯ การคิดจะยืดอายุหนี้ออกไป อาจจะดีในแง่ของภาระการผ่อนชำระต่องวดลดลง แต่มีข้อเสียคือต้องเป็นหนี้นานขึ้น และภาระดอกเบี้ยก็จะเพิ่มขึ้น
ข้อที่ 7 หากสามารถกู้ในระบบได้ ควรกู้ในระบบ คือกู้ผ่านสถาบันการเงินต่างๆ เพราะอัตราดอกเบี้ยจะต่ำกว่า คิดแบบเป็นธรรมมากกว่า และ การทวงหนี้ก็มีอารยะกว่า
ข้อที่ 8 อย่าลากเอาบุคคลอื่นมาร่วมชะตากรรมกับเราด้วย ดิฉันเคยแนะนำว่า การกู้ร่วม จะช่วยให้วงเงินเพิ่มขึ้น และมีความยืดหยุ่นเรื่องระยะเวลามากขึ้น แต่อันนั้นหมายถึงกรณีกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยเท่านั้น เช่น พ่ออายุ 55 ปี ธนาคารจะไม่ให้กู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยระยะเวลา 20 ปี แต่หากกู้ร่วมกับลูกซึ่งอายุ 30 ปี มีอาชีพการงานมั่นคง การขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยนี้ก็จะเป็นไปได้ และใช้ที่อยู่อาศัยนั้นเป็นหลักประกัน
แต่หากจะกู้เอามาใช้จ่าย อย่าลากเอาพ่อ แม่ พี่ น้อง แม้แต่ครูบาอาจารย์ เข้ามาค้ำประกันด้วยนะคะ เพราะเวลาเกิดปัญหา จะทำให้ไม่เหลือใครที่จะมาช่วยในไม้สุดท้ายได้เลย เรียกว่า “ล้มคนเดียว อย่าลากไปล้มทั้งบ้าน”
ข้อที่ 9 หากเห็นว่าจะมีปัญหาในการชำระหนี้ ให้ลองเจรจาก่อนภายในไม่เกิน 30 วันหลังจากครบกำหนดชำระ เพราะหากไม่เจรจา หนี้จะถูกจัดชั้น และสถาบันการเงินต้องกันเงินสำรอง ต้องคุยก่อน ประนอมหนี้ก่อน อย่าให้ถึงขั้นฟ้องร้องเร็ว เพราะจะมีค่าใช้จ่ายและความยุ่งยาก บางคนผัดผ่อนไปเรื่อยๆ ไม่ยอมเจรจา แม้เราไม่เจรจา ดอกเบี้ยและเบี้ยปรับก็ถูกคำนวณทุกวันค่ะ และจำนวนหนี้ก็จะพอกขึ้นมาอย่างรวดเร็ว รวมถึงประวัติของเราก็จะเสียด้วย
ข้อที่ 10 เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ควรหาที่ปรึกษา เพื่อวางแผนการบริหารหนี้ ทุกอย่างมีทางออกค่ะ ดิฉันเห็นว่า “โครงการคลินิกแก้หนี้ ระยะที่ 2“ ของธนาคารแห่งประเทศไทย น่าจะช่วยเป็นที่พึ่งให้กับลูกหนี้ได้เพิ่มขึ้น จากเดิมในระยะที่ 1 ที่ครอบคลุมเฉพาะหนี้ที่มีกับ ธนาคารพาณิชย์ ระยะที่สองจะครอบคลุมหนี้ที่มีกับสถาบันที่ไม่ใช้ธนาคารพาณิชย์ด้วย เช่น หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น
อีกหน่วยงานหนึ่งที่ดิฉันทราบว่ามีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา คือ สำนักงานเขต ของกรุงเทพมหานครค่ะ มีที่ปรึกษาในการจัดการหนี้สินให้กับประชาชน โดยเจ้าหน้าที่บางคน ช่วยเจรจาหนี้กับเจ้าหนี้นอกระบบให้ด้วย ถือเป็นโครงการที่ดีมาก น่าสนับสนุนค่ะ
ย้ำอีกครั้งค่ะ “การไม่เป็นหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ”
นอกจากนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินที่ต้นเหตุ และเพื่อไม่ให้ปัญหาบานปลาย ดิฉันขอนำเสนอแนวคิดและข้อเตือนใจ เกี่ยวกับการมีหนี้ เผื่อท่านจะแบ่งปันกับลูกหลานหรือคนรอบข้างค่ะ
ข้อเตือนใจข้อแรก ไม่เป็นหนี้ถ้าไม่จำเป็น ก่อนก่อหนี้ต้องคิดหนักๆ ว่าจะกู้มาทำอะไร จำเป็นหรือไม่ และจะมีแหล่งเงินจากที่ไหนมาชำระคืน หากคิดหาคำตอบไม่ได้ ต้องไม่ก่อหนี้ก้อนนั้นค่ะ
ข้อที่ 2 มีหนี้ต้องใช้คืน ดังนั้นถ้าจะมีหนี้ ต้องมีในระดับที่สามารถจ่ายคืนได้ คือ จ่ายคืนในแต่ละเดือนไม่เกิน 35% ของรายได้ ท่องคาถาเอาไว้ว่า หากภาระการจ่ายคืนสูงกว่านี้ จะกลายเป็นหนี้ถาวรคือ มีโอกาสสูงที่จะจ่ายคืนไม่ได้ นอกจากนี้
ข้อที่ 3 มีรายได้เพิ่มต้องจ่ายคืนหนี้เพิ่ม เพื่อลดภาระหนี้ลงไปเร็วๆ อย่าลืมว่า ดอกอะไรไม่งามเท่าดอกเบี้ย ใช้กฎของเลข 72 เตือนใจว่า หนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในเวลากี่ปี เอาเลข 72 ตั้ง หารด้วยอัตราดอกเบี้ย ดังนั้น เงินกู้ 1 ล้านบาทที่อัตราดอกเบี้ย 18% จะพอกพูนเป็น 2 ล้านบาทภายในเวลา 4 ปีเท่านั้น และหากยังไม่ได้จ่ายคืนใน 4 ปี จะงอกเป็น 4 ล้านบาท ภายในเวลาอีก 4 ปี หรือพูดง่ายๆคือเงินกู้ 1 ล้านบาทกลายเป็น 4 ล้านบาท ภายในเวลา 8 ปี
ข้อที่ 4 การแก้ไขที่ต้นเหตุ คือ รายจ่ายต้องไม่เกินรายรับ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะฉะนั้น “มีน้อยใช้น้อย” ให้เหมาะสมกับฐานะของตนเองนะคะ หากไม่สามารถจัดการงบประมาณได้ คือลดอย่างไรก็ไม่ลง ทุกอย่างจำเป็นหมด จะต้องหารายได้เพิ่มค่ะ จะคิดทำงานพิเศษ ทำงานล่วงเวลา จะขายของ หรือทำอะไรที่สามารถเพิ่มรายได้ ก็ต้องทำค่ะ
การกู้เงินมาใช้จ่ายเป็นเรื่องที่ไม่สมควร ยกเว้นกรณีฉุกเฉินจริงๆ เช่น เจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุ
ข้อที่ 5 เวลาเริ่มมีรายได้ ควรเริ่มวางแผนการเงินไว้ให้ดี และเก็บเงินออมส่วนหนึ่งไว้เผื่อมีสถานการณ์ฉุกเฉิน เราจะได้มีเงินออมมาช่วงรองรับเหตุไม่คาดฝันเหล่านี้
หลายคนมีหนี้เพราะการพนัน เมื่อเราทราบว่าเหตุของหนี้คือการพนัน เราก็ต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการพนัน เราก็จะไม่เป็นหนี้
ข้อที่ 6 อย่ากู้เงินก้อนใหม่ เพื่อมาโปะหนี้ก้อนเก่า หากเงื่อนไขไม่ได้ดีกว่าเดิม การรวบรวมหนี้ เป็นหนึ่งในวิธีจัดการหนี้สิน แต่ต้องเกิดประโยชน์เพิ่มด้วย เช่น คิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (คือคิดตามอัตราที่แท้จริง ซึ่งดีที่สุด) อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเดิม ฯลฯ การคิดจะยืดอายุหนี้ออกไป อาจจะดีในแง่ของภาระการผ่อนชำระต่องวดลดลง แต่มีข้อเสียคือต้องเป็นหนี้นานขึ้น และภาระดอกเบี้ยก็จะเพิ่มขึ้น
ข้อที่ 7 หากสามารถกู้ในระบบได้ ควรกู้ในระบบ คือกู้ผ่านสถาบันการเงินต่างๆ เพราะอัตราดอกเบี้ยจะต่ำกว่า คิดแบบเป็นธรรมมากกว่า และ การทวงหนี้ก็มีอารยะกว่า
ข้อที่ 8 อย่าลากเอาบุคคลอื่นมาร่วมชะตากรรมกับเราด้วย ดิฉันเคยแนะนำว่า การกู้ร่วม จะช่วยให้วงเงินเพิ่มขึ้น และมีความยืดหยุ่นเรื่องระยะเวลามากขึ้น แต่อันนั้นหมายถึงกรณีกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยเท่านั้น เช่น พ่ออายุ 55 ปี ธนาคารจะไม่ให้กู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยระยะเวลา 20 ปี แต่หากกู้ร่วมกับลูกซึ่งอายุ 30 ปี มีอาชีพการงานมั่นคง การขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยนี้ก็จะเป็นไปได้ และใช้ที่อยู่อาศัยนั้นเป็นหลักประกัน
แต่หากจะกู้เอามาใช้จ่าย อย่าลากเอาพ่อ แม่ พี่ น้อง แม้แต่ครูบาอาจารย์ เข้ามาค้ำประกันด้วยนะคะ เพราะเวลาเกิดปัญหา จะทำให้ไม่เหลือใครที่จะมาช่วยในไม้สุดท้ายได้เลย เรียกว่า “ล้มคนเดียว อย่าลากไปล้มทั้งบ้าน”
ข้อที่ 9 หากเห็นว่าจะมีปัญหาในการชำระหนี้ ให้ลองเจรจาก่อนภายในไม่เกิน 30 วันหลังจากครบกำหนดชำระ เพราะหากไม่เจรจา หนี้จะถูกจัดชั้น และสถาบันการเงินต้องกันเงินสำรอง ต้องคุยก่อน ประนอมหนี้ก่อน อย่าให้ถึงขั้นฟ้องร้องเร็ว เพราะจะมีค่าใช้จ่ายและความยุ่งยาก บางคนผัดผ่อนไปเรื่อยๆ ไม่ยอมเจรจา แม้เราไม่เจรจา ดอกเบี้ยและเบี้ยปรับก็ถูกคำนวณทุกวันค่ะ และจำนวนหนี้ก็จะพอกขึ้นมาอย่างรวดเร็ว รวมถึงประวัติของเราก็จะเสียด้วย
ข้อที่ 10 เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ควรหาที่ปรึกษา เพื่อวางแผนการบริหารหนี้ ทุกอย่างมีทางออกค่ะ ดิฉันเห็นว่า “โครงการคลินิกแก้หนี้ ระยะที่ 2“ ของธนาคารแห่งประเทศไทย น่าจะช่วยเป็นที่พึ่งให้กับลูกหนี้ได้เพิ่มขึ้น จากเดิมในระยะที่ 1 ที่ครอบคลุมเฉพาะหนี้ที่มีกับ ธนาคารพาณิชย์ ระยะที่สองจะครอบคลุมหนี้ที่มีกับสถาบันที่ไม่ใช้ธนาคารพาณิชย์ด้วย เช่น หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น
อีกหน่วยงานหนึ่งที่ดิฉันทราบว่ามีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา คือ สำนักงานเขต ของกรุงเทพมหานครค่ะ มีที่ปรึกษาในการจัดการหนี้สินให้กับประชาชน โดยเจ้าหน้าที่บางคน ช่วยเจรจาหนี้กับเจ้าหนี้นอกระบบให้ด้วย ถือเป็นโครงการที่ดีมาก น่าสนับสนุนค่ะ
ย้ำอีกครั้งค่ะ “การไม่เป็นหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ”