มีหนี้อย่างเป็นสุข/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 07, 2019 8:38 pm
สวัสดีค่ะ พบกันในช่วงที่ประเทศไทยอยู่ในช่วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังความปิติให้กับพสกนิกรโดยถ้วนหน้า และแขกที่มาเยือนประเทศเราในช่วงนี้ ก็ได้เห็นพระราชพิธีที่งดงามยิ่งใหญ่ แสดงถึงโบราณราชประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน ขอทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา มีการพูดถึงหนี้ครัวเรือนที่พุ่งขึ้นอย่างมาก และมีการแสดงความเป็นห่วงจากหลายๆหน่วยงาน
หนี้ครัวเรือน หรือ Household Debt เป็นอันตรายอย่างไร
จริงๆแล้วการมีหนี้ก็จะตรงกันข้ามกับการออมค่ะ การออมคือการไม่ใช้จ่ายเงินที่มีอยู่ แต่เก็บเอาไว้และนำไปลงทุน เพื่อให้เกิดดอกออกผล ทำให้มีเงินใช้ในวันข้างหน้า ส่วนการมีหนี้ ก็คือ การนำเงินที่เราจะมีในวันข้างหน้า มาใช้ก่อน โดยเราต้องไปหาบุคคล หรือสถาบันการเงิน ที่มีเงินให้เรานำไปใช้ก่อน และเราให้สัญญาว่า เมื่อเรามีรายได้ในวันข้างหน้า เราก็จะนำไปใช้คืนหนี้ที่เราขอยืมมา
ดังนั้น ในมุมของเศรษฐกิจ เมื่อประชาชน นำเงิน (ที่กู้ยืมมา)ไปใช้จ่าย ก็ทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่นมีการผลิต มีการซื้อขาย เศรษฐกิจก็เติบโต
แต่ในระยะยาวน่าเป็นห่วงนิดหน่อย เพราะหากประชาชนเป็นหนี้มาก ก็มีภาระต้องใช้คืนในอนาคตมาก กำลังซื้อ หรือการบริโภคในอนาคตก็จะหดหายไป ยิ่งถ้าเป็นช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น ก็จะยิ่งทำให้ภาระการจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น กำลังซื้อในอนาคตก็ยิ่งหดหายลงไปมากขึ้น
ตัวเลขอัตราส่วนหนี้สินภาคครัวเรือนที่เป็นเครื่องชี้วัดระดับว่าสูงหรือต่ำเพียงไรมีใช้กันสามตัวคือ หนี้ภาคครัวเรือนเมื่อเปรียบเทียบกับ จีดีพี (Household Debt to GDP) เพื่อดูภาพรวมความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและแนวโน้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะเกิดจากการบริโภคของภาคครัวเรือน และตัวที่สองคือ สัดส่วนของหนี้ของแต่ละครัวเรือนเมื่อเทียบกับรายได้ทั้งปีของครัวเรือนนั้นๆ (Household Debt to Income) เพื่อดูว่าภาระหนี้สูงมากน้อยเพียงใด มีโอกาสเป็นหนี้ท่วมตัวหรือไม่ ส่วนตัวที่สามคือ สัดส่วนภาระการจ่ายคืนหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio) ซึ่งใช้ดูความสามารถในการก่อหนี้เพิ่ม และความสามารถในการชำระคืน
ตัวเลขอัตราส่วนสองอย่างหลัง เป็นตัวเลขที่ใช้ในการวางแผนการเงินค่ะ เพื่อที่จะดูว่าจะบริหารจัดการเงินทองของครัวเรือนอย่างไร ดิฉันเคยเขียนถึงแล้ว แต่จะขอเขียนทบทวนอีกครั้งหนึ่ง
ภาระการจ่ายคืนหนี้ต่อรายได้ นั้น โดยทั่วไปควรจะไม่เกิน 35% เพราะหากสูงกว่านี้ อาจจะมีเงินไม่เพียงพอต่อการครองชีพ เรียกว่าชักหน้าไม่ถึงหลัง หมายความว่า หารายได้มา 100 บาท ควรจะได้ใช้เงินสัก 65 บาท จึงจะอยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน
ครัวเรือนที่มีรายได้สูง สัดส่วนนี้อาจจะสูงขึ้นได้ค่ะ แต่ก็ต้องระวัง เพราะเคยก่อให้เกิดวิกฤการณ์ทางการเงินมาแล้ว เช่น ในสหรัฐอเมริกา สถาบันการเงินบางแห่ง ยอมให้สัดส่วนการผ่อนชำระสูงขึ้นไปถึง 41-42% สำหรับผู้ซื้อบ้านหลังที่สอง ซึ่งก็แปลว่ามีความมั่นคงทางการเงินแล้วในระดับหนึ่ง
ส่วน ผู้ที่มีภาระการผ่อนชำระสูงเกิน 50%ของรายได้ จะถูกจัดว่าเป็นหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง และเป็นประเภทหนึ่งของ “ซับไพร์ม” ซึ่งดิฉันเรียกไว้ในบทความเดิมๆว่า “หนี้เกรดสอง” เพราะคุณภาพเป็นรองหนี้ทั่วไป
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ทำการวิเคราะห์พบว่า สัดส่วนการผ่อนชำระต่อรายได้ในปี 2560 ของครัวเรือนไทย เฉลี่ยอยู่ที่ 29.1% ซึ่งก็ยังไม่สูงมาก แต่พอแยกกลุ่ม ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่า 8,000 บาทต่อเดือน เป็นกลุ่มที่มี สัดส่วนภาระจ่ายคืนหนี้ต่อรายได้สูงถึง 54.5% ในขณะที่กลุ่มอื่นๆ อยู่ที่ 33.3% จนถึง 21.1%
สัดส่วนของหนี้เมื่อเทียบกับรายได้ครัวเรือน คือตัวเลขยอดคงค้างของหนี้ เมื่อเทียบกับรายได้ครัวเรือน หมายความว่า หากครัวเรือนไม่ใช้เงินทำอย่างอื่นเลย ได้รายได้มากี่ปีจึงจะใช้หนี้หมด อัตราส่วนนี้ เป็นตัวเลขที่มีการเปรียบเทียบข้ามประเทศ โดยประเทศที่มีสัดส่วนของหนี้ต่อรายได้ครัวเรือนสูงที่สุดเท่าที่ Trading Economics รวบรวมมาคือ เดนมาร์ก ซึ่งสูงถึง 240.58% (ข้อมูล ณ สิ้นปี 2560) ในขณะที่จีนอยู่ที่ 106% สหรัฐอเมริกา อยู่ที่ 105% เยอรมนีอยู่ที่ 82.5% และประเทศไทย อยู่ที่ 55% (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ) มองในด้านนี้ หนี้ครัวเรือนของเราก็ยังไม่สูง
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ “แนวโน้ม” ค่ะ มีแนวโน้มว่าหนี้ครัวเรือนจะสูงขึ้นทั่วโลก เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และรัฐบาลส่วนใหญ่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงออกมาตรการจูงใจให้คนใช้เงิน หรือลงทุนเพิ่ม คราวนี้ หากอัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น ระยะเวลาคืนเงินต้นก็จะนานขึ้น เพราะเงินที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มจำนวนขึ้นค่ะ
จำนวนหนี้ที่เหมาะสมคือ จำนวนที่มีแล้วสามารถใช้คืนได้โดยไม่ทำให้ชีวิตลำบาก หากเรามีวินัยทางการเงิน เราจะกู้เงินเฉพาะเพื่อซื้อสินค้าหรือทรัพย์สินชิ้นใหญ่เท่านั้น เช่น บ้าน หรือ รถ เพราะหากรอเก็บเงินเพื่อให้พอซื้อ ราคาอาจจะขยับตัวขึ้นไปเรื่อยๆจนไม่สามารถซื้อได้ และวินัยทางการเงินอีกข้อหนึ่งคือ จะกู้เพิ่มก็ต่อเมื่อหนี้เก่ายุบลงไปบ้างแล้ว โดยทั่วไปควรยุบลงไปประมาณ 1 ใน 3 ก่อนจะคิดกู้เงินก้อนใหม่
ยังยืนยันว่า “การไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ” ค่ะ
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา มีการพูดถึงหนี้ครัวเรือนที่พุ่งขึ้นอย่างมาก และมีการแสดงความเป็นห่วงจากหลายๆหน่วยงาน
หนี้ครัวเรือน หรือ Household Debt เป็นอันตรายอย่างไร
จริงๆแล้วการมีหนี้ก็จะตรงกันข้ามกับการออมค่ะ การออมคือการไม่ใช้จ่ายเงินที่มีอยู่ แต่เก็บเอาไว้และนำไปลงทุน เพื่อให้เกิดดอกออกผล ทำให้มีเงินใช้ในวันข้างหน้า ส่วนการมีหนี้ ก็คือ การนำเงินที่เราจะมีในวันข้างหน้า มาใช้ก่อน โดยเราต้องไปหาบุคคล หรือสถาบันการเงิน ที่มีเงินให้เรานำไปใช้ก่อน และเราให้สัญญาว่า เมื่อเรามีรายได้ในวันข้างหน้า เราก็จะนำไปใช้คืนหนี้ที่เราขอยืมมา
ดังนั้น ในมุมของเศรษฐกิจ เมื่อประชาชน นำเงิน (ที่กู้ยืมมา)ไปใช้จ่าย ก็ทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่นมีการผลิต มีการซื้อขาย เศรษฐกิจก็เติบโต
แต่ในระยะยาวน่าเป็นห่วงนิดหน่อย เพราะหากประชาชนเป็นหนี้มาก ก็มีภาระต้องใช้คืนในอนาคตมาก กำลังซื้อ หรือการบริโภคในอนาคตก็จะหดหายไป ยิ่งถ้าเป็นช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น ก็จะยิ่งทำให้ภาระการจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น กำลังซื้อในอนาคตก็ยิ่งหดหายลงไปมากขึ้น
ตัวเลขอัตราส่วนหนี้สินภาคครัวเรือนที่เป็นเครื่องชี้วัดระดับว่าสูงหรือต่ำเพียงไรมีใช้กันสามตัวคือ หนี้ภาคครัวเรือนเมื่อเปรียบเทียบกับ จีดีพี (Household Debt to GDP) เพื่อดูภาพรวมความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและแนวโน้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะเกิดจากการบริโภคของภาคครัวเรือน และตัวที่สองคือ สัดส่วนของหนี้ของแต่ละครัวเรือนเมื่อเทียบกับรายได้ทั้งปีของครัวเรือนนั้นๆ (Household Debt to Income) เพื่อดูว่าภาระหนี้สูงมากน้อยเพียงใด มีโอกาสเป็นหนี้ท่วมตัวหรือไม่ ส่วนตัวที่สามคือ สัดส่วนภาระการจ่ายคืนหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio) ซึ่งใช้ดูความสามารถในการก่อหนี้เพิ่ม และความสามารถในการชำระคืน
ตัวเลขอัตราส่วนสองอย่างหลัง เป็นตัวเลขที่ใช้ในการวางแผนการเงินค่ะ เพื่อที่จะดูว่าจะบริหารจัดการเงินทองของครัวเรือนอย่างไร ดิฉันเคยเขียนถึงแล้ว แต่จะขอเขียนทบทวนอีกครั้งหนึ่ง
ภาระการจ่ายคืนหนี้ต่อรายได้ นั้น โดยทั่วไปควรจะไม่เกิน 35% เพราะหากสูงกว่านี้ อาจจะมีเงินไม่เพียงพอต่อการครองชีพ เรียกว่าชักหน้าไม่ถึงหลัง หมายความว่า หารายได้มา 100 บาท ควรจะได้ใช้เงินสัก 65 บาท จึงจะอยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน
ครัวเรือนที่มีรายได้สูง สัดส่วนนี้อาจจะสูงขึ้นได้ค่ะ แต่ก็ต้องระวัง เพราะเคยก่อให้เกิดวิกฤการณ์ทางการเงินมาแล้ว เช่น ในสหรัฐอเมริกา สถาบันการเงินบางแห่ง ยอมให้สัดส่วนการผ่อนชำระสูงขึ้นไปถึง 41-42% สำหรับผู้ซื้อบ้านหลังที่สอง ซึ่งก็แปลว่ามีความมั่นคงทางการเงินแล้วในระดับหนึ่ง
ส่วน ผู้ที่มีภาระการผ่อนชำระสูงเกิน 50%ของรายได้ จะถูกจัดว่าเป็นหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง และเป็นประเภทหนึ่งของ “ซับไพร์ม” ซึ่งดิฉันเรียกไว้ในบทความเดิมๆว่า “หนี้เกรดสอง” เพราะคุณภาพเป็นรองหนี้ทั่วไป
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ทำการวิเคราะห์พบว่า สัดส่วนการผ่อนชำระต่อรายได้ในปี 2560 ของครัวเรือนไทย เฉลี่ยอยู่ที่ 29.1% ซึ่งก็ยังไม่สูงมาก แต่พอแยกกลุ่ม ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่า 8,000 บาทต่อเดือน เป็นกลุ่มที่มี สัดส่วนภาระจ่ายคืนหนี้ต่อรายได้สูงถึง 54.5% ในขณะที่กลุ่มอื่นๆ อยู่ที่ 33.3% จนถึง 21.1%
สัดส่วนของหนี้เมื่อเทียบกับรายได้ครัวเรือน คือตัวเลขยอดคงค้างของหนี้ เมื่อเทียบกับรายได้ครัวเรือน หมายความว่า หากครัวเรือนไม่ใช้เงินทำอย่างอื่นเลย ได้รายได้มากี่ปีจึงจะใช้หนี้หมด อัตราส่วนนี้ เป็นตัวเลขที่มีการเปรียบเทียบข้ามประเทศ โดยประเทศที่มีสัดส่วนของหนี้ต่อรายได้ครัวเรือนสูงที่สุดเท่าที่ Trading Economics รวบรวมมาคือ เดนมาร์ก ซึ่งสูงถึง 240.58% (ข้อมูล ณ สิ้นปี 2560) ในขณะที่จีนอยู่ที่ 106% สหรัฐอเมริกา อยู่ที่ 105% เยอรมนีอยู่ที่ 82.5% และประเทศไทย อยู่ที่ 55% (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ) มองในด้านนี้ หนี้ครัวเรือนของเราก็ยังไม่สูง
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ “แนวโน้ม” ค่ะ มีแนวโน้มว่าหนี้ครัวเรือนจะสูงขึ้นทั่วโลก เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และรัฐบาลส่วนใหญ่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงออกมาตรการจูงใจให้คนใช้เงิน หรือลงทุนเพิ่ม คราวนี้ หากอัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น ระยะเวลาคืนเงินต้นก็จะนานขึ้น เพราะเงินที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มจำนวนขึ้นค่ะ
จำนวนหนี้ที่เหมาะสมคือ จำนวนที่มีแล้วสามารถใช้คืนได้โดยไม่ทำให้ชีวิตลำบาก หากเรามีวินัยทางการเงิน เราจะกู้เงินเฉพาะเพื่อซื้อสินค้าหรือทรัพย์สินชิ้นใหญ่เท่านั้น เช่น บ้าน หรือ รถ เพราะหากรอเก็บเงินเพื่อให้พอซื้อ ราคาอาจจะขยับตัวขึ้นไปเรื่อยๆจนไม่สามารถซื้อได้ และวินัยทางการเงินอีกข้อหนึ่งคือ จะกู้เพิ่มก็ต่อเมื่อหนี้เก่ายุบลงไปบ้างแล้ว โดยทั่วไปควรยุบลงไปประมาณ 1 ใน 3 ก่อนจะคิดกู้เงินก้อนใหม่
ยังยืนยันว่า “การไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ” ค่ะ