หน้า 1 จากทั้งหมด 1

MoneyTalk@SET12/1/62เศรษฐกิจโลก/ไทย&แนวโน้มหุ้นปี62

โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 12, 2019 10:58 pm
โดย i-salmon
MoneyTalk@SET12/1/62

หัวข้อ 1 “เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย และแนวโน้มหุ้น”
แขกรับเชิญ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ดำเนินรายการ

ปลายปี 61 เห็นหุ้นปรับลงมาก แสดงให้เห็นว่านักวิเคราะห์เริ่มยอมรับเศรษฐกิจชะลอลง
เช่น apple ผลประกอบการและราคาหุ้นก็ปรับตัวลดลง
ปัจจุบันยังถกเกียงกันอยู่ว่า ตลาดปัจจุบันได้ price in การชะลอตัวลงหรือยัง
ล่าสุด FED ก็ออกมาบอกว่าดอกเบี้ยจะถอยอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือไม่ขึ้นก็ได้
การลดงบดุลของ FED ก็อาจจะถอยได้ถ้าสถานการณ์จำเป็น
ทำให้ตลาดกลับมาคึกคักขึ้น
รวมการการเจรจาระดับสูงระหว่างจีนกับอเมริกา
โดยมีความหวังว่าจะสงบศึกการค้าได้
1) FED ขึ้นดอกเบี้ยมากไปเร็วไป
2) Trade war จีน กับอเมริกา เริ่มรู้สึกว่าอาจไม่รุนแรง

อย่างกรณี apple ทิม คุก อ้างถึงยอดขาย apple ไม่ดี มาจากกำลังซื้อในประเทศจีนอ่อนแอลง
ซึ่งจีน+อเมริกา คิดเป็น 40% GDP โลก ถ้าหาก 2 ประเทศนี้เจริญเติบโตช้าลงและทะเลาะกันอีก
ย่อมกระทบกับเศรษฐกิจโลก

จีนเข้มงวดขึ้นกับการปล่อยสินเชื่อ ปัญหาเพราะบริษัทต่างๆกู้เงินไว้เยอะ
เช่น บริษัทกลุ่มที่ไม่ใช่การเงิน
ในอเมริกากู้เงินมีหนี้สิน 60% ของ GDP แต่ที่จีน 150% ของ GDP
แสดงให้เห็นการเติบโตที่่ผ่านมาของจีนมาจากหนี้ ซึ่งน่ากลัวมาก
ถ้าหากเติบโตแบบเดิมไปนานๆจะไม่สามารถทำได้
เปรียบเสมือนการสร้างหนี้เติบโตเร็วกว่ารายได้หลายเท่า

จีนจึงเริ่มลดดอกเบี้ย ลดการปล่อยกู้ ทำให้ค่าเงินหยวนอ่อน
ประเทศ emerging market อื่นค่าเงินจึงอ่อนตามไปด้วย

ตลาดอเมริกาช่วงนี้น่าจะเรียกว่าหมดยุค
ในยุค 10 ปีที่ผ่านมา FED พยายามฟื้นเศรษฐกิจโดยอุ้มราคาหุ้นให้สูง
ตั้งแต่ปี 2008 ที่ผ่านมานโยบายลดดอกเบี้ย, QE เพิ่มปริมาณเงินในระบบ
เพื่อให้คนมีเงินไปซื้อสินทรัพย์เสี่ยง คือหุ้น
หลักการที่ เบน เบเนเก้ ทำเพื่อกว้านซื้อสินทรัพย์คุณภาพดีทั้งหมดมาอยู่กับแบงค์ชาติ
แลกกับเงินสด คนที่ถือเงินสดไม่มีทางเลือก ต้องไปซื้อหุ้น
แบงค์ชาติสหรัฐเริ่มซื้อสินทรัพย์จาก 8 แสนล้าน เป็น 4 ล้านล้านเหรียญ
ตั้งแต่ ต.ค. 61 เริ่มปล่อยให้พันธบัตรที่ซื้ออยู่หมดอายุไปเรื่อยๆ
เดือนละ 5 หมื่นล้านเหรียญ ( 6 แสนล้านเหรียญ ต่อปี)
หลังจากนั้นหุ้นก็ค่อยๆไหลลงมา

ผู้ว่า FED คนใหม่ ให้สัมภาษณ์แล้วหุ้นขึ้นเยอะมาก
เพราะบอกว่าสามารถถอยนโยบายที่จะปล่อยพันธบัตรหมดอายุได้

เดิมตำราเศรษฐศาสตร์ไม่เคยมีการทำ QE
การทำ QE คือ ธนาคารกลาง พิมพ์เงินให้รัฐบาลใช้ฟรี
อย่างที่ญี่ปุ่นทำ QE ธนาคารกลางไล่ซื้อพันธบัตร
จนดอกเบี้ย พันธบัตร 10 ปี เป็น 0%
เหมือนรัฐบาลกู้เงินฟรี จึงมีหนี้เป็น 230% ของ GDP
โดยหลักการจึงไม่ควรทำอย่างนี้ อเมริกา จึงต้องค่อยๆถอยออกไป
ที่เรียกว่า QT (Quantitative Tightening)

Market Cap หุ้นอเมริกาเป็น 40% ของหุ้นโลก
จึงมีผลกระทบกับตลาดหุ้นอื่นในโลกด้วย

Slide Global slowdown, strong baht
- แนวโน้มการผลิต เริ่มเห็นว่าไหลลงมา ตอกย้ำว่าเศรษฐกิจโตช้าลงทั้งโลก
ที่ระดับปัจจุบันยังเห็นว่าบวกอยู่โต 4-5% เหลือ 1-2%
ประเด็นคือจะลดลงต่อ หรือจะเริ่มคงที่
ซึ่งยังหาปัจจัยที่จะทำให้เพิ่มขึ้นไม่ได้
ธนาคารกลางอเมริกา,ยุโรป ยุติ QE แล้ว ต่อไปญี่ปุ่นก็จะลด QE ด้วย
BREXIT ก็ต้องมาลุ้นว่าจะออกหรือไม่
ดูแล้วมีแต่ประเด็นที่จะลุ้นความเสี่ยงขาลงมากกว่าขาขึ้น
- ทุกประเทศค่าเงินอ่อนกว่าดอลลาร์หมดเลย ยกเว้น ญี่ปุ่น กับ ไทย
ที่ค่าเงินแทบจะไม่อ่อนลง เป็นทั้งข้อดีและไม่ดี
ถ้าเศรษฐกิจชะลอและบาทแข็งจะยิ่งส่งออกยาก
แบงค์ชาติขึ้นดอกเบี้ย แต่ดอกเบี้ยระยะยาวลดลง
ตัวเลขเงินเฟ้อ ธ.ค. ต่ำลงไปออก ยิ่งทำให้ต่างชาตินำเงินซื้อพันธบัตรไทยมากขึ้น
บาทจึงยิ่งแข็งขึ้น ถ้าเราจะไปเที่ยวต่างประเทศในช่วงนี้ก็ดี

แบงค์ชาติไทยปรับดอกเบี้ยเพิ่ม
ให้เหตุผลว่ากลัวคนมีเงินจะไปหาที่ลงทุนหาผลตอบแทนสูง
แล้วจะมีพฤติกรรมเอาเงินไปฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยสูง
แต่เอาเงินไปเล่นหุ้นหรือไม่ได้ตรวจมาตรฐานเข้มข้น แล้วเกิดความเสี่ยง
หรือซื้อพันธบัตรที่ Unrated bond
ส่วนตัวเห็นว่าหากเป็นเช่นนั้นขึ้นแค่ 0.25 คงไม่พอ ต้องมากกว่านั้น

อีกเหตุผลแบงค์ชาติอยากมี Policy space เพื่อต่อไปสามารถลดดอกเบี้ยได้
โดยให้แนวทางว่าถ้ามีโอกาสเหมาะสมก็จะปรับขึ้น
แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะได้ปรับเพิ่มขึ้นไหม
หรืออย่างเข้าไปดูแลการซื้ออสังหาริมทรัพย์ Loan to Value
แบงค์ชาติอยู่ในโหมดที่อยากให้ใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง

US vs China
- เวลาพูดถึงเรื่องสงครามการค้าอเมริกากับจีน
นักวิเคราะห์มักพูดกันว่าทรัมป์เป็นคนชอบกีดกันการค้า
อยากให้จีนซื้อของมากขึ้น ซึ่งทรัมป์คิดว่าตัวเองได้เปรียบจีนอยู่
แต่หากเศรษฐกิจอเมริกาเริ่มแย่ ทรัมป์จะรู้ตัวว่าตัวเองเริ่มแย่
แล้วทรัมป์จะคุยกับจีนรู้เรื่อง และจบลงได้
ขอเล่าในอีกด้าน ในฐานะเคยเป็นข้าราชการกระทรวงต่างประเทศ
เข้าใจว่าแนวคิดอเมริกาไม่ใช่ปัญหาเรื่องการค้า
แต่เป็นปัญหาว่าใครจะเป็นมหาอำนาจในอีก 20 ปีข้างหน้า
ปี 2000 บิล คลินตัน สนับสนุนให้จีนเข้า WTO
โดยมองว่าจีนจะเป็นพรรคพวกที่ดีของอเมริกา
GDP อเมริกาวันนั้นใหญ่กว่า 9 เท่า
การส่งออกของอเมริกามากกว่าจีนเท่าตัว การนำเข้ามากกว่า 5 เท่าตัว
เวลาผ่านไป 17 ปี...
เศรษฐกิจอเมริกาโตเกือบ 1 เท่า แต่จีนโตขึ้น 10 เท่า
การส่งออกจีนมากกว่าอเมริกาไปแล้ว
มันแสดงศักยภาพประเทศในการขายของ

การนำเข้าของอเมริกามากกว่าจีน
ถือเป็นจุดอ่อนเป็นการพึ่งพาต่างประเทศ

ถ้ามองในเชิงรัฐศาสตร์ จีนได้เปรียบกว่าอเมริกา 2 ด้านคือ
1.ประชากรอเมริกา 320 ล้านคน ประชากรจีน 1.4 พันล้านคน
2.นักเศรษฐศาสตร์บางคนดู GDP แบบ PPP (กำลังซื้อจริงเท่าไร)
ซึ่งถ้าดูแบบ PPP กำลังซื้อเศรษฐกิจจีนเท่ากับอเมริกาเมื่อปี 2016 ไปแล้ว
ที่สำคัญ คือ การคาดการณ์ของ bloomberg
บอกว่าอีก 10 ปี Nominal GDP ของจีน จะเท่ากับอเมริกา
คำถามคือ ถ้าคุณเป็นอเมริกาจะยอมหรือไม่ ?

อีก 10 ปีสีจิ้นผิงจะยังเป็นประธานธิบดีเพราะได้แก้ไขรัฐธรรมนูญ
แต่ทรัมป์ไม่รู้จะอยู่ถึงปลายปี 2020 หรือไม่
ถ้าลองไปอ่านบทวิเคราะห์หรือแนวคิดต่างๆในอเมริกาจะเข้าใจ
ฝ่ายความมั่นคงใช้คำว่า จีนเป็น existential threat
คือ เป็นภัยคุกคามการอยู่รอดของอเมริกา
เวลาเราวิเคราะห์มอบแบบนักลงทุน มองการค้าเป็น win win
แต่ในเชิงช่วงชิงความเป็นประเทศมหาอำนาจ
ดูแล้วอเมริกาอาจจะยอมไม่ได้

ดังนั้น สาระในการเจรจาของจีนกับอเมริกา
จะมีเรื่องที่ตกลงได้ และเรื่องที่ไม่สามารถตกลงกันได้
สังเกตว่าระดับเจ้าหน้าที่ที่เจรจากัน
จีนยอมซื้อสินค้าที่อเมริกาอยากให้ซื้อ เช่น ถั่วเหลือง,ข้าวโพด,
พืช GMO, แก๊สธรรมชาติ, เปิดตลาดให้โบรกเกอร์ในอเมริกาเข้ามาทำธุรกิจในจีน

สาระที่ไม่สามารถตกลงกันได้ คือ
1) อเมริกายังเชื่อว่าจีนขโมยเทคโนโลยี เช่น โรงแรมแมริออต์ถูก hack
ในปีก่อน มาจากกระทรวงความมั่นคงของจีนสั่ง
2) รัฐบาลจีนบังคับให้บริษัทเทคโนโลยีไปอเมริกาถ่ายโอนเทคโนโลยี
ให้ถ้าทำธุรกิจในจีน
3) รัฐบาลจีนสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจจีนเป็นผู้นำในเทคโลยีชั้นนำ 10 ประเภท
ในปี 2025
ตอนนี้สิ่งที่จีนขาดอยู่คือ เทคโนโลยีสู้ไม่ได้
ดังนั้นอเมริกาจะต้องกั๊กเรื่องเทคโลยี
โดยเฉพาะตอนนี้คือ 5G
จีนกับอเมริกากำลังแข่งกันเป็นผู้กำหนดบรรทัดฐาน
ธนาคารคือระบบโทรคมนาคมส่งเงิน
รถยนต์ก็มี GPS หมดแล้ว
ทุกอย่างใช้ระบบโทรคมนาคมหมดเลย
5G จะดีกว่า 4G 50-100 เท่า
ตอนนี้อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทีจะช่วงชิงกัน
ที่ผ่านมา 3G 4G ถูกกำหนดโดยอเมริกา
มีบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ 5G คือ ควอคอม
ปีที่แล้วกำลังจะถูกบริษัทบรอดคอมซื้อทั้งบริษัท 1.2 แสนล้านเหรียญ
เกือบจะซื้อได้แล้ว โดนรัฐบาลอเมริกาเบรคไม่ให้ซื้อ
เพราะกลัวจะมีการมีความสัมพันธ์กับรัฐบาลจีนมากเกินไป
และจะได้เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับ 5G ไป

หัวเหว่ยเป็นบริษัทผลิต hardware ที่เกี่ยวกับ 4G,5G ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ประเด็นคือ CFO ของหัวเหว่ยถูกจับเพราะไปละเมิดกฏหมายอเมริกา
ให้ไปแซงคชันอิหร่าน ซึ่งหัวเหว่ยไปมีสัมพันธ์กับบริษัทที่ทำธุรกิจกับอิหร่าน
ประเด็นหลักอเมริกากลัวว่ารัฐบาลจะคุมบริษัทเหล่านี้ได้และสั่งให้เอาข้อมูลมาให้

มีการประชุม Five eyes เป็นข้อตกลงระหว่าง สหรัฐ,อังกฤษ,ออสเตรเลีย,นิวซีแลนด์,แคนาดา
เป็นประเทศใกล้ชิดที่จะให้ข้อมูลลับ
ซึ่งตกลงกับ 5 ประเทศนี้ บอยคอตต์หัวเหว่ย ในการประมูล 5G
โดยมีการประกาศใน 5 ประเทศนี้จริงๆ ที่ไม่ให้จีนประมูล เพื่อความมั่นคง
รวมถึงล่าสุดญี่ปุ่นก็ประกาศเช่นกัน

สรุปคือระยะสั้นหุ้นอาจจะขึ้นได้เพราะทรัมป์สงบศึกชั่วคราว
ผลกระทบลึกๆ คือ นโยบายที่จะทำให้ global supply chain
ไม่เป็น global ปัจจุบันจะหาชิ้นส่วน,ประกอบ,ทำวิจัย ที่ไหนก็ได้ในโลก
เช่น apple ใช้ชิ้นส่วนจากหลายแหล่ง ประกอบและขายทั่วโลก
ทรัมป์ต้องการแบ่งว่า supply chain ของตัวเอง ก็จะเป็นของตัวเอง
เช่น บอก ฮาร์เลยเดวิดสัน, GM, apple ให้มาผลิตอเมริกา
ซึ่งจีนก็ทำแบบนั้นเหมือนกัน คือ belt and road เอาถนนทุกอย่างเข้าสู่จีน
ประเด็นคือ ถ้าแยก supply chain จะมีสูญญากาศไม่รู้จะไปที่ไหน
จะเกิดการชะลอตัว และ disrupt
อย่างจีนตอนนี้กล้าลงทุนในอเมริกาไหม
ตอนนี้ทุกคนต้องกลับมาคิด จะไม่ลงทุน ไม่จ้างงาน
ความเสี่ยงตรงนี้เป็นสิ่งที่จะกระทบ 2-3 ปีข้างหน้า

สิ่งที่ทรัมป์ทำแย่ที่สุดสำหรับอเมริกาคือยกเลิก TPP
ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของโอบามา ที่จะปิดล้อมเศรษฐกิจของจีน
หลังจากนั้นจีนจึงเร่ง belt and road เพื่อดึงประเทศในภูมิภาคมาเป็นพวก
หลักการถ้าอเมริกาต้องการรักษา supply chain โลก และโดดเดี่ยวจีน
ต้องใช้ TPP เท่านั้น

ทางเลือกของไทย สมมติ TPP ฟื้นกลับขึ้นมาก็ต้องดูว่าจะอยู่กับอเมริกาหรือไม่
ไม่เช่นนั้นก็ต้องเลือกไปอยู่กับจีน
ตอนยุคนั้น TPP อเมริกามาเชิญไทยเป็นรายแรกๆ
นายกในไทยคือคุณยิ่งลักษณ์ก็ตอบรับอยากเข้า
แต่สุดท้ายทางเรา NGO ไม่ให้เข้า

เศรษฐกิจไทยปี 62 คาดการณ์ชะลอตัวลง
GDP ปี 61 โต 4%กว่า ปี 62 โต 3.7-3.8%
การส่งออก ปี 61 โต 8% ปี 62 โต 4-5%
หลายคนหวังว่าประกาศการเลือกตั้ง และหาเสียงเศรษฐกิจจะบูม
ส่วนตัวไม่เคยเชื่อว่าจะทำให้ดี
มองว่าจะมีช่วงสูญญากาศ เพราะการเลือกตั้งจะโอนอำนาจจากลุ่มหนึ่งไปกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งรัฐบาลนิติบัญญัติจะกลายเป็นสภาผู้แทนราษฎร จะทำอะไรได้ยากกว่าเดิม
คงเป็นการเร่งอะไรต่างๆไม่ได้

ถัดมาจะหาเสียงใช้เงินเยอะแยะเอาเงินจากไหน
กกต./นโบบายหาเสียงก็ถูกควบคุมเข้ม
นักการเมืองก็ต้องคิดว่าผลตอบแทนจะคุ้มไหม

ระบบเลือกตั้งที่เป็นสัดส่วนผสมจะทำให้ทะเลาะกัน
เลือก สส. 2 คน แต่กาใบเดียว
ที่บอกว่าเลือกตั้งแล้วจะประกาศผลได้เร็ว
ต้องระวังจะต้องใช้ 60 วัน เพราะจะมีการฟ้องร้องเพื่อช่วงชิงทุกคะแนน
จะมีการฟ้องกับเยอะ เพราะคะแนนของคนที่แพ้ก็มีความหมายกับการได้
สส. ปาร์ตี้ลิสต์ 1 คน 7 หมื่นกว่าคะแนน

ตลาดหุ้นไทย
มองว่าครึ่งแรกจะมีความไม่แน่นอน ทำให้ตลาดหุ้นไปได้ยาก
มีแต่ downside มากกว่า upside
แต่ไม่รู้เมื่อไรที่ตลาดจะ price in ทุกอย่างเข้าไป
ภัทรให้ target SET ประมาณ 1600
โดยหวังว่าครึ่งปีหลังจะมีรัฐบาลและหวังว่าปีถัดไปจะดีขึ้น
ปีนี้ที่อเมริกาจะเริ่มขาดดุลงบประมาณมากขึ้น
และทรัมป์ทะเลาะกับรัฐสภา ,ประเด็นการอนุมัติขยายเพดานหนี้
รวมถึงสงครามการค้ากับจีนที่ยังไม่แน่นอนว่าจะสงบ

ที่สำคัญอเมริกาอย่ามีเงินเฟ้อ ถ้าหากขึ้นไป 3% มีปัญหาแน่นอน
ผู้ว่า FED บอกว่าตอนนี้มีเวลาไม่ขึ้นดอกเบี้ยได้ เพราะเงินเฟ้อต่ำ
เป้าเงินเฟ้อคือ 2%

มีโอกาสที่เศรษฐกิจจะถดถอย ถ้าอเมริกากับจีนมีปัญหาขึ้นไปอีก
รวมถึงถ้าหากอังกฤษก็ brexit ออกมาอีก
จะทำให้กระบวนการผลิตในยุโรปเสียหาย ที่อังกฤษกระชากตัวเองออกมา
ซึ่งอังกฤษใหญ่เป็นเบอร์ 3 ของยุโรป ไม่รู้ว่าจะออกมาแบบไหน
ตัวเลขล่าสุดของเยอรมันแผ่วลงกว่าที่นักวิเคราะห์คาด

ข้อดีของประเทศไทย
เนื่องจากบาทแข็ง, เกินดุลบัญชีเดินสะพัด
ถ้าแบงค์ชาติจะลดดอกเบี้ยทำได้ทันที
เป้าเงินเฟ้อแบงค์ชาติ 2.5% ตัวเลขล่าสุดราว 1%
ตอนนี้ที่แบงค์ชาติกังวลคือ financial stability

แนวโน้มราย Sector
คิดว่าท่องเที่ยวยังดี และกลุ่มที่ defensive ก็น่าจะยังดี
ภาคท่องเที่ยว, ภาครักษาพยาบาลก็ดีเป็น medical tourism ไปด้วย
ต้องดูเป็นรายตัวมากขึ้น

การใช้จ่ายรัฐบาล
คิดว่าไม่น่าจะดี เนื่องจาก 3 ปีก่อนตั้งงบประมาณไม่พอ และจะมีงบกลางปี
ปีนี้งบอาจจะขาด เพราะเป็นช่วงเลือกตั้ง
Mega project ขอสิทธิลงทุน BOI
งบส่วนใหญ่ในต่างจังหวัด เป็น ถนนกับรถไฟรางคู่ เป็นเม็ดเงินไม่เยอะ
เม็ดเงินที่เยอะคือ รถไฟฟ้า ที่กำลังสร้างอยู่ในกรุงเทพ
ส่วนที่ตัวหวังคือ EEC ซึ่งยังไม่เริ่มเลย
และรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมสามสนามบินก็ยังไม่เริ่ม
ในหลักการต้องการใช้สนามบินอู่ตะเภา มีศักยภาพเหมือนดอนเมือง
ทุกวันนี้ 26-27 ล้านคน จาก capacity 20 ล้านคน
แต่ตอนนี้อู่ตะเภาใช้แค่ 1 ล้าน ยังเหลืออยู่เยอะ
ที่สุวรรณภูมิก็แออัดเช่นกัน หากโอนออกไปได้ จะถ่ายเทไปได้หมด
ซึ่งสร้างการท่องเที่ยวแถวนั้นได้ดี ก็จะสร้างรายได้เพิ่มได้มาก

project mro สถานที่ซ่อมบำรุงเครื่องบิน สร้างเขตเศรษฐกิจที่อู่ตะเภา
สร้างเขตผลิตชิ้นส่วนเครื่องบิน
รวมถึง project ขยายท่าเรือมาบตราพุต แหลมฉบัง
ต้องหวังว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้เดินไปตามรัฐบาลว่า ซึ่งใช้เวลา 5 ปี
ปัญหาคือ ที่ดินราคาขึ้นไปคอย แต่ธุรกิจยังไม่ได้เริ่ม

ช่วงที่ 2 >> สรุปเพิ่มเติมใน Post ถัดไปครับ

Re: MoneyTalk@SET12/1/62เศรษฐกิจโลก/ไทย&แนวโน้มหุ้นปี62

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 13, 2019 12:00 am
โดย theenuch
ขอบคุณค้าบ :bow: :bow: :bow:

Re: MoneyTalk@SET12/1/62เศรษฐกิจโลก/ไทย&แนวโน้มหุ้นปี62

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 13, 2019 1:08 am
โดย i-salmon
ช่วงที่ 2 “แนวโน้มหุ้นไทยในปี 62 กลยุทธ์ลงทุนและหุ้นเด่น”
แขกรับเชิญ
1. คุณ ไพบูลย์ นลินทรางกูร / บล.ทิสโก้
2. คุณ มนตรี ศรไพศาล / บล.เมย์แบงค์กิมเอ็ง
3. ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร / ไทยวีไอ

ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ. เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ

มองหุ้นไทยปี 62 อย่างไร?
คุณไพบูลย์
มองว่าตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น
ปีที่ผ่านมาหุ้นปรับตัวแย่ลงทั่วโลกเพราะนโยบายการเงินอเมริกา
ขึ้นดอกเบี้ยเยอะกว่าที่คาดการณ์ไว้ และเศรษฐกิจโลกร้อนแรง
ธนาคารกลางมีหน้าที่ทำให้เศรษฐกิจไม่ดีไม่แย่เกินไป
ปีที่แล้ว อเมริกาไตรมาส 2 โต 4% กว่าถือว่าร้อนแรง
ทำให้ FED ต้องขึ้นดอกเบี้ย เพราะไม่มีใครรู้ว่าจะร้อนแรงไปแค่ไหน
ตลาดหุ้นก็มักจะไม่ชอบถ้าดอกเบี้ยขึ้นเยอะมากเกินไป
ขณะเดียวกับก็เป็นปีแรกที่่มีการดึงสภาพคล่องออก
ก็ดำเนินการตามนั้นโดยไม่ได้สนใจความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
เหตุผลรองคือทรัมป์หาเรื่องกับประเทศต่างๆ

ปี 62 ที่มองว่าตลาดหุ้นจะดีกว่าปีก่อน เพราะเศรษฐกิจโลกไม่โตร้อนแรงเกินไป
คือโตตามศักยภาพประเทศนั้น หรือดีกว่านิดหน่อย
FED คาดอเมริกาโต 2.5-3% ซึ่งเป็นระดับศักยภาพของอเมริกา

เศรษฐกิจโลกก็มองว่าไม่ได้แย่ แต่จะลดความร้อนแรงลง

ไทยคาดว่าโต 3% กว่า ซึ่งเป็นระดับเติบโตใช้ได้ตามศักยภาพ
เชื่อว่าแบงค์ชาติก็จะไม่ต้องพยายามขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้น

ผลประกอบการบริษัทในอเมริกาปีที่แล้ว บางไตรมาสโตเกือบ 30%
ถือว่าร้อนแรงเกินไป แต่ปีนี้ทุกอย่างจะปรับกลับมาระดับเดิม
ซึ่งระดับที่คาดการณ์ปีนี้คือ 7-9%
ของไทยก็เช่นกัน จะกลับมาเป็นภาพเดียวกัน
จึงไม่น่ากังวลด้านนโยบายการเงิน
ตลาดคาดกว่า FED อาจจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยแล้ว หรือขึ้นแค่ 1-2 ครั้ง

ค่าเงินดอลลาร์ มีทิศทางอ่อนลง เพราะการปรับเปลี่ยนแนวคิดนโยบายการเงิน
แนวคิดปีก่อนที่ถอนเงินจากระบบ จะทำให้ ดอลลาร์จะแข็ง
พอปีนี้ FED ขึ้นดอกเบี้ยน้อยกว่าที่คาด และเป็นปีแรกที่ ยุโรปเลิกทำ QE
จะทำให้ค่าเงินยูโรมีโอกาสแข็ง และเยนก็จะเลิกทำ QE เช่นกัน
เงินดอลลาร์จะอ่อนลง และเห็นแนวโน้มเงินไหลเข้า emerging market

position ที่ถือโดยกองทุนต่างประเทศน้อยลงมา
ธ.ค.ปีที่แล้ว เงินไหลออกจากตลาดมากกว่าช่วงเกิดวิกฤติเมื่อ 10 ปีก่อน
ข้อดีคือ จะมีหุ้นน้อย ใน portfolio กองทุนทั่วโลก
จึงมีโอกาสที่จะกลับเข้ามาซื้อหุ้น
(ปีที่แล้ว ไทยเงินขายออกเกือบ 3 แสนล้านบาท )

Valuation ทั่วโลกลดลงอย่างมาก
ถ้ามองตลาดหุ้นไทย 1600 จุด น่าจะ pe ไม่ถึง 13 เท่า

การเมืองในไทย
โอกาสเลือกตั้งมีสูง ถ้าไม่เลือกก็ต้องใช้ ม.44
ต่างชาติไม่ได้สนใจจะเลือกวันไหน แต่สนใจว่าข้างหน้าจะไปอย่างไร
ที่ผ่านมาจะรัฐบาลไหนเข้ามาบริหาร น่าจะมีแนวทางคล้ายกัน
จะมีแค่นโยบายบางอย่างที่เอามาใช้ต่างกัน
เชื่อว่าไม่ว่ารัฐบาลไหนจะเข้ามา ก็ไม่น่าจะแตกต่างกันมากนัก

BREXIT
deadline จะเกิดขึ้นสิ้น มี.ค.62 อาทิตย์หน้านายกต้องนำเสนอแผน และให้โหวต
ซึ่งดูท่าทีรัฐสภาไม่ค่อยเห็นด้วย กรณีเลวร้ายคือออกมาแบบไม่มีแผนรองรับ
กับอีกวิธีการคือขอเลื่อน deadline ออกไป
ผลกระทบกับเศรษฐกิจโลกหรือไทย คิดว่าไม่น่ามาก

คุณมนตรี
ปีที่แล้วมองต้นปีว่าตลาดดูดี เงินก็ยังร้อน ก็เลยเตือนว่าไตรมาส 1 OK
หลังจากนั้นให้ระวัง ซึ่งเราก็เสนอให้ถือเงินสดค่อนข้างมาก
ไตรมาสสุดท้ายคิดว่าใช้ได้ แต่สุดท้ายก็อาการค่อนข้างหนัก

ปัจจัยโลกที่เปลี่ยนไปเรื่องใหญ่คือผู้นำโลก
สมัยโอบามา เราติดตามข่าวน้อยกว่าทรัมป์เยอะ
เพราะคาดการณ์ไม่ได้ นโยบายหลายเรื่องที่ทำมีผลกับ flow ของเงิน และตลาดหุ้น
เช่น trade war, สร้างกำแพงอเมริกา เม็กซิโก, ลดภาษีให้กิจการในอเมริกา
การเปลี่ยนฐานภาษี ส่งผลทันทีให้จ่ายภาษีลดลง และกำไรเพิ่มขึ้น
แต่ไม่ได้ทำให้ภาษีลดลงในปีถัดไป

ปีก่อนดอกเบี้ยก็มีการปรับขึ้น จากเดิมคาดไว้ 3 ครั้ง เป็น 4 ครั้ง
จึงทำให้เงินไหลออกไปตลาดอเมริกา
ปี 62 ตลาดพัฒนาแล้ว มีการเติบโต 2.4% ปี 62 เหลือ 2.1%
ตลาดกำลังพัฒนา ปี 61 โต 5% และปี 62 เท่าเดิม
ซึ่งจะกลับมามีความน่าสนใจ

นโยบายขึ้นดอกเบี้ยก็น่าจะชะลอลง อาจจะไม่เกิน 2 ครั้ง
ทิศทางดอลลาร์น่าจะอ่อนลง ค่าเงินบาทน่าจะแข็งขึ้น

Trade war ผลกระทบเริ่มเป็นไปตามหลักการ
ดัชนีการผลิตลดลงทั่วโลก
คนจีนมาเที่ยวเมืองไทยน้อยลง ซึ่งที่จริงเที่ยวประเทศอื่นก็ลดลง
ยอดแอปเปิลประกาศว่าไตรมาส 1 จะตกลงมา เพราะยอดจีนมีปัญหา

ทิศทางราคาน้ำมัน
หุ้นไทยผูกกับราคาน้ำมันมาก ต.ค.61 ราคาน้ำมัน 85 เหรียญ
หลังจากนั้นพวก shale gas อะไรต่างๆก็ผลิตขึ้นมา ราคาก็รปรับลดลง

5 ปีที่ผ่านมา ประเทศเพื่อนบ้าน
มาเลเซีย อัตราแลกเปลี่ยน 10 บาท ต่อริงกิต วันนี้ 8 บาท
ยอดที่ไทยเหมือนจะคงที่ แต่แปลงเป็นริงกิตเติบโตขึ้น
อินโดนิเซีย มีค่าเงินที่อ่อนลงจาก 12,000 เป็น 14,000 แต่ไทยเท่าเดิม
ฟิลิปปินส์จาก 45 เป็น 52
โดยรวมถือว่าไทยแข็งแกร่งอยู่มาก

ปีที่แล้วมมีศัตรูตลาดหุ้นสองตัว
1.ความไม่แน่นอน ภาพของตลาดหรือทิศทางไม่แน่นอนคนจะกลัว
2. ความกลัว ถ้าเรามองว่าหุ้นขยับเดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลง
ต้องกลับมาสู่ปัจจัยพื้นฐานและเลือกหุ้นให้ดี

ดร.นิเวศน์
มองย้อนหลังไม่มีคนศึกษาว่าที่พูดมาปีหน้าเป็นจริงหรือไม่
บางทีพูดไว้ แต่พอมาถึงไม่เหมือนเลย
การคาดการณ์โลกทำได้ยาก ไม่แน่นอน ปัจจัยก็มีมาก

เศรษฐกิจดี หุ้นก็ลงได้
ตัวที่คิดว่ามีผลกับหุ้นคือ ดอกเบี้ย
ถัดมาคือ ราคาหุ้น และความสามารถแข่งขันหุ้น
ถ้าไปซื้อหุ้นแพงเกิน ดีอย่างไรก็ตก

หุ้นโรงพยาบาลที่ราคาปรับลงทั้งกลุ่ม
ซึ่งก็มีอีกหลายๆกลุ่มที่ลงทั้งกลุ่ม น่าจะเพราะมันแพงเกินไป

เวลามาฟังผู้เชี่ยวชาญอย่าเอามากำหนดวิธีการลงทุน
1) เขาอาจจะผิด
2) สิ่งที่เขาคิดถูก แต่หุ้นมันสวนกระแส

แนะนำหุ้นกลุ่มไหน หุ้นไหนน่าสนใจ
คุณไพบูลย์
คิดว่ากลุ่มที่น่าลงทุนคือกำไรต้องชัดเจน
1) ธนาคาร ชัดกว่าปีที่ผ่านมา หนี้เสียยังมี
แต่ระดับกันสำรองเพิ่มขึ้นมามาก ทำให้คุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้น
ทิศทางดอกเบี้ยอาจจะนิ่งหรือขึ้นเล็กน้อย แต่มองเป็นขาขึ้น
ซึ่งจะเป็นผลบวกกับธนาคารที่มี อัตรากำไรดีขึ้น
ประกอบกับราคาหุ้นช่วงที่ผ่านมาตกลงมาก
ดู PBV หลายธนาคารอยู่ประมาณ 1 เท่า
ในช่วงเศรษฐกิจดี หลายธนาคารซื้อขายอยู่ที่ระดับ 2 เท่า
วันนี้ต่างชาติถือหุ้นไทยน้อยมาก เวลากลับเข้ามาจะชอบไม่กี่อย่าง
เช่น ท่องเที่ยว, น้ำมัน และธนาคาร
คิดว่าถ้าเงินไหลกลับเข้ามา ธนาคารเป็นทางเลือกของฝรั่ง
2) กาบริโภคในประเทศ มองไปข้างนอกความเสี่ยงสูง
ถ้าภาพการเมืองชัดเจนขึ้น ก่อนและหลังเลือกตั้งเงินจะสะพัด

คุณมนตรี
ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอดก็ต้องติดตามไปเรื่อยๆมีปัจจัยใหม่
1) กลุ่มท่องเที่ยว น่าสนใจ
จากการเกิดอาการตกใจ เช่น เรือล่ม, คนจีนใช้จ่ายลดลง
ประเทศไทย ท่องเที่ยวสามารถแข่งขันได้ดี
มีรายได้จากากรท่องเที่ยวสูงสุดในเอเชีย และ 1 ใน 4 ของโลก
กรุงเทพ,ภูเก็ต,พัทยา ติดอันดับเมืองน่าท่องเที่ยวโลก
ยอดปีที่แล้ว 35 ปีนี้คาด 38 ล้านคน
ศักยภาพที่น่าสนใจคือ อินเดีย มีประชากรอันดับ 2 ของโลก
และต่อไปจะเป็นอันดับ 1
ประชากรอินเดียถือ passport 5% เที่ยบกับอเมริกามี 40%

2) ธุรกิจไฟฟ้า ่น่าสนใจ เลือกหุ้น pe ไม่แพง ปันผลดี
เช่น egco
เรามองแค่ pe สูงต่ำไม่ได้ เพราะกำลังผลิตมีอายุไม่เท่ากัน
3) หุ้นธนาคาร มองธนาคารที่ให้ผลตอบแทนดี yield ดี
มี tisco, kkp ส่วนสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารก็น่าสนใจ sawad
4) ค้าปลีก ดูใช้ได้ ผลกระทบจากการค้าไม่มากนัก
ตัวที่น่าสนใจคือ cpall ,robinson, makro, global, hmpro
5) กลุ่มที่เกี่ยวข้องน้ำมัน pttep, ptt

ดร.นิเวศน์
เห็นด้วยกับทั้ง 2 ท่าน
ถ้าซื้อหุ้นดี ราคาถูก
ดีคือ ความสามารถแข่งขัน การเติบโต
ตอนนี้คิดว่าเติบโตยาก แต่หุ้นที่พูดมาถึงทั้งหมด จะเห็นผลประกอบการสม่ำเสมอ
หลายตัวคาดการณ์ได้ความผันแปรกำไรไม่แตกต่างมาก
มีหลายตัวที่น่าจะถือได้สบายใจ ถ้าถือไปหลายปี


ให้คะแนนตลาดหุ้น?
คุณมนตรี
ขอเสริม บทเรียนจากบาดแผลปีที่ผ่านมา
อยากให้กำลังใจพัฒนาการตลาดทุนไทยคือการเติบโตของนักลงทุนสถาบัน
5 ปีที่ผ่านมาข่าวดี/ร้าย โลกมีเงินเข้าออก
สถาบันต่างประเทศ-เข้าๆออก
สถาบันในประเทศ-บวกเพิ่มขึ้นเกือบทุกปี
แสดงว่าได้รับเงินสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

ปีที่แล้วมีการลงทุนที่ได้รับความนิยมสูงคือ block trade
เคยมียอดสูงถึง 5-6 หมื่นล้าน แต่วันนี้ไม่ถึง 2 หมื่นล้าน
สรุปแล้วปีนี้ให้ 7 คะแนน

คุณไพบูลย์
คิดไว้ 7 คะแนน
มองว่าโอกาสปรับขึ้นสูง ดอกเบี้ยนิ่ง แต่ยังมีความเสี่ยงหลายประเทศ
เช่น คุณทรัมป์,brexit ซึ่งเป็นสิ่งเดายาก

ดร.นิเวศน์
คราวก่อนให้ 4 คะแนน จะปรับเพิ่มเป็น 5 คะแนน
สังเกตต่างชาติเริ่มขายน้อยลง เมื่อก่อน net sell ตลอด
ถ้าปีนี้แย่อีกที ปีหน้าให้ดีเลย

Moneytalk@SET ครั้งต่อไป อาทิตย์ที่ 3 ก.พ. //จองเสาร์ที่ 26 ม.ค.

ขอบพระคุณ อ.ไพบูลย์ อ.นิเวศน์ อ.เสน่ห์ ทีมงาน Moneytalk และแขกรับเชิญ
ทุกๆท่านที่ร่วมในการจัดงานสัมมนาให้ความรู้และแนวทางการลงทุนที่ดี
หากมีความผิดพลาดอย่างไรขออภัยไว้ที่นี้ด้วยครับ

สามารถติดตามสัมมนาฉบับเต็มได้ทาง Facebook live/Youtube Moneytalk ครับ
สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป Moneytalk ออกอากาศ Digital TV ช่อง 19 Spring News

Re: MoneyTalk@SET12/1/62เศรษฐกิจโลก/ไทย&แนวโน้มหุ้นปี62

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 13, 2019 6:47 am
โดย amornkowa
ขอบคุณนะ