ความเป็นเจ้าของรถยนต์ส่วนบุคคลจะถึงจุดอวสานภายในปี 2030!!
โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 31, 2018 5:14 pm
ความเป็นเจ้าของรถยนต์ส่วนบุคคลจะถึงจุดอวสานภายในปี 2030!!
ผู้จัดการออนไลน์
ประสาท มีแต้ม
2018/10/14
เรายอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า ในช่วงไม่กี่ปีมานี้เทคโนโลยีได้มีความก้าวหน้ามากโดยมีประสิทธิภาพในการใช้งานสูงขึ้นในขณะที่มีราคาลดลงมาก วัตถุพยานที่ชัดเจนอย่างหนึ่งก็คือโทรศัพท์มือถือ ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 2535 มีราคาหลักแสนบาทแต่ทำงานได้แค่โทร.อย่างเดียว ผ่านมา 25 ปีราคาลดลงมาเหลือแค่หลักหมื่นบาทแต่สามารถใช้งานได้มาก ทั้งถ่ายรูป เครื่องคิดเลข อินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ เป็นต้น
บทความนี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีในการขนส่งที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ส่วนบุคคล โดยจะนำผลงานวิจัยของอาจารย์ Tony Seba แห่งมหาวิทยาลัย Stanford มาอ้างอิงและย่อยให้เข้าใจกันได้ง่ายๆ อย่าตกใจครับ
อาจารย์ Tony Seba เป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ “CLEAN DISRUPTION OF ENERGY AND TRANSPORTATION” ซึ่งถูกจัดเป็น “Amazon Bestseller” และเคยได้รับเชิญจากสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยให้มาบรรยายในหัวข้อเดียวกันเมื่อปี 2014
ข้อมูลที่น่าสนใจของ Tony Seba ที่ทำให้เราต้องมานั่งขบคิดก็คือ การในใช้ประโยชน์จากรถยนต์ส่วนบุคคลพบว่า รถยนต์ส่วนบุคคลที่เราได้ลงทุนซื้อหามาในราคาแพงๆ นั้น ร้อยละ 96 ของเวลาทั้งหมดจะจอดไว้เฉยๆ เราได้ใช้งานจริงๆ เพียง 4% ของเวลาทั้งหมดเท่านั้น นอกจากนี้เวลาที่ได้ใช้งานส่วนหนึ่งต้องใช้ไปกับการหาที่จอดซึ่งหาได้ยากมากขึ้นทุกวัน
ผมเชื่อว่าข้อมูลในบ้านเราก็ไม่น่าจะแตกต่างไปจากนี้มากนัก เวลาที่ใช้งานอาจจะเพิ่มจาก 4% เป็น 10% ก็ได้เพราะเกิดจากปัญหารถติด
อาจารย์ Tony Seba ยังได้ให้ข้อมูลเสริมอีกว่า คนอเมริกันที่ขายรถยนต์ของตนไปแล้ว มีประมาณ 10% จะไม่หารถยนต์คันใหม่มาแทน แต่จะหันไปใช้ “บริการรถยนต์ร่วมโดยสาร (Ride-Hailing)”และ “การใช้รถยนต์ส่วนตัวร่วมกันในเส้นทางเดียวกัน (Car-Sharing)” และร้อยละ 39 ของคนอเมริกันเคยใช้บริการรถยนต์ร่วมโดยสาร ในจำนวนนี้ร้อยละ 27 เคยใช้สัปดาห์ละหลายครั้ง
จากผลงานวิจัยของ Tony Seba และคณะเรื่อง “การคิดใหม่เรื่องการขนส่ง 2020-2030 (Rethinking Transportation 2020-2030 : The Disruption of Transportation and the Collapseof the Internal-Combustion Vehicle and Oil Industries)” (สามารถดาวน์โหลดได้จาก https://www.rethinkx.com/)
ข้อความในภาษาอังกฤษข้างต้นได้พูดถึงการล่มสลายของยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยการเผาไหม้ภายใน (หรือพวกที่ใช้เชื้อเพลิงเผาไหม้) และการล่มสลายของอุตสาหกรรมน้ำมัน โดยมีคำที่แปลเป็นภาษาไทยได้ยากมากคือคำว่า “Disruption” ซึ่งเอกสารงานวิจัยชิ้นนี้ได้อธิบายว่า “เมื่อมีผลิตภัณฑ์และการบริการใหม่เกิดขึ้นก็จะเกิดตลาดแบบใหม่ขึ้น ส่งผลให้ตลาดเดิมที่ดำรงอยู่ให้อ่อนแอลงอย่างชัดเจนหรือถึงขั้นกับการทำลายตลาดหรืออุตสาหกรรมเดิมไปเลย” ขอย้ำว่าต้องมี 2 อย่างเกิดขึ้นคือ (1) ผลิตภัณฑ์และการบริการใหม่ที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม และ (2) มีธุรกิจหรือตลาดใหม่เกิดขึ้น
ถ้าจะแปลกันง่ายๆ คำว่า Disruption ก็น่าจะหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการมีสิ่งใหม่เข้ามาทำลายสิ่งเดิมอย่างรวดเร็ว
อาจารย์ Tony Seba ได้ยกตัวอย่างกรณี การมีรถยนต์ได้เข้ามาทำให้ธุรกิจรถม้าล่มสลายลง เช่น ที่ถนนสายหนึ่งในเมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา รถม้าได้หายไปโดยมีรถยนต์เข้ามาแทนที่ใดยใช้เวลาเพียง 13 ปี
แน่นอนว่ารถยนต์มีประสิทธิภาพกว่ารถม้า แต่ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วก็คือได้เกิดตลาดหรือธุรกิจเงินผ่อนจำนวนรถยนต์จึงได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและสร้างปัญหาต่อการจราจรอยู่ในทุกวันนี้
ข้อมูลที่คุณ Tony นำมาเสนอในภาพรวมก็คือ ในปี 1910 ถึง 1920 จำนวนผู้โดยสารคูณด้วยระยะทางที่รถยนต์แล่นได้ (passenger miles) ได้เพิ่มขึ้นจาก 11% (ที่เหลือเป็นการใช้เป็นการใช้รถม้า) 81% ภายใน 10 ปี
นั่นเป็นเรื่องของอดีตที่รถยนต์ได้เข้ามาทำให้รถม้าต้องล่มสลายภายในเวลา 10 ปี
ปัญหาต่อมาก็คือ จะทำอย่างไรกับการที่รถยนต์ส่วนบุคคลได้ใช้งานเพียง 4% ของเวลาเท่านั้น แต่ต้องลงทุนซื้อมาในราคาร่วมหนึ่งล้านบาท (ยังไม่คิดดอกเบี้ย)
แนวความคิดของผู้วิจัยก็คือการใช้สมาร์ทโฟนเพื่อเรียกหารถยนต์มาให้บริการเมื่อต้องการจะใช้ โดยไม่จำเป็นของเป็นเจ้าของรถยนต์เอง เขามีชื่อเรียกธุรกิจแบบนี้ว่า Transport-as-a Service (TaaS) ซึ่งเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นแล้วแพร่หลายในหลายประเทศ เช่น Uber Taxi ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละของเวลาที่รถยนต์ได้ใช้งานจะเพิ่มขึ้นจาก 4% เป็น 40% และจะทำให้จำนวนรถยนต์น้อยละถึง 80%
ผลการศึกษาเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า “ผลคูณระหว่างจำนวนผู้โดยการกับระยะทางที่รถยนต์แล่นได้ (passenger miles) จะเพิ่มขึ้นจาก 1% ในปี 2020 เป็น 95% ภายในปี 2030” นั่นหมายความว่าจำนวนรถยนต์ส่วนตัวแทบจะหมดไป ผู้คนเกือบทั้งหมดจะหันมาใช้ TaaS แทน
อะไรคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้วิจัยได้ผลลัพธ์อย่างนั้น
เหตุผลสำคัญพอสรุปได้ดังนี้คือ
หนึ่ง มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (ซึ่งขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า) ซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่ามาแทนรถยนต์ที่มีการเผาไหม้ภายใน (ซึ่งพลังงานส่วนมากจะสูญเสียไปเป็นความร้อน) ถึง 5 เท่า
รูป 1
สอง รถยนต์ไฟฟ้ามีค่าบำรุงรักษาน้อยกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันถึง 10 เท่า
รูป 2
สาม รถยนต์ไฟฟ้าจ่ายค่าพลังงานน้อยกว่า 10 เท่า
รูป 3
สี่ ราคารถยนต์ไฟฟ้าจะลดลงแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล เพราะประมาณกว่า 1 ใน 3 ของราคารถยนต์ไฟฟ้าคือค่าแบตเตอรี่ แต่ราคาแบตเตอรี่ลดลงประมาณ 14% ต่อปีข้อมูลของคุณ Tony พบว่าในปี 2018 ราคารถยนต์ไฟฟ้าประมาณคันละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ได้พยากรณ์ว่าในปี 2022 จะลดลงเหลือเพียง 20,000 ดอลลาร์เท่านั้น
นอกจากนี้เขายังได้พยากรณ์ว่า ภายในปี 2025 รถทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นรถบรรทุก รถแทรกเตอร์ รถยนต์ที่ออกใหม่ทุกคันจะเป็นรถที่ใช้แบตเตอรี่และเป็นเช่นนี้ทั่วโลก
ห้า รูปแบบธุรกิจที่เกิดใหม่คือ TaaS (การขนส่งเมื่อมีความต้องการ หรือ Car-as-Service, CaaS) จะทำให้ต้นทุนลดลงโดยอัตโนมัติ เพราะไม่ต้องสูญเปล่าไปกับการจอดไว้เฉยๆ
เมื่อรวมปัจจัยหลักทั้ง 5 ประการที่ได้กล่าวมาแล้ว พอสรุปได้ว่าค่าใช้จ่าย(ดอลลาร์สหรัฐต่อไมล์) ของรถยนต์ไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (ไม่มีคนขับ) จะเท่ากับ 0.4 เท่าของค่าใช้จ่ายจากรถยนต์ที่เผาไหม้ภายในโดยมีเงื่อนไขว่าเป็นการให้บริการตามความต้องการและเป็นแบบกลุ่มในปี 2021 (รายละเอียดตามรูปข้างล่าง)
รูป 4
ถ้าผลการศึกษานี้ถูกต้อง ความต้องการใช้น้ำมันก็จะลดลงมาเหลือประมาณ 70% ของปัจจุบัน อุตสาหกรรมน้ำมันก็ถึงขั้นล่มสลาย (ตามหัวข้องานวิจัย) เพราะเชื้อเพลิงหลักคือไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์และกังหันลมพร้อมกับแบตเตอรี่ซึ่งเริ่มมีราคาเพียง 3 เซนต์ต่อหน่วยไฟฟ้า
เทคโนโลยีใหม่ได้ทำลายธุรกิจเดิมให้ล้มลงเป็นทอดๆ ราวกับ...............................ไม่ได้ และจะถึงจุดอวสานในที่สุดและโดยพลันด้วย ผมวินิจฉัยแล้วก็เห็นด้วยกับ Tony Seba ครับ
https://amp.mgronline.com/Daily/9610000102873.html
ผู้จัดการออนไลน์
ประสาท มีแต้ม
2018/10/14
เรายอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า ในช่วงไม่กี่ปีมานี้เทคโนโลยีได้มีความก้าวหน้ามากโดยมีประสิทธิภาพในการใช้งานสูงขึ้นในขณะที่มีราคาลดลงมาก วัตถุพยานที่ชัดเจนอย่างหนึ่งก็คือโทรศัพท์มือถือ ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 2535 มีราคาหลักแสนบาทแต่ทำงานได้แค่โทร.อย่างเดียว ผ่านมา 25 ปีราคาลดลงมาเหลือแค่หลักหมื่นบาทแต่สามารถใช้งานได้มาก ทั้งถ่ายรูป เครื่องคิดเลข อินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ เป็นต้น
บทความนี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีในการขนส่งที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ส่วนบุคคล โดยจะนำผลงานวิจัยของอาจารย์ Tony Seba แห่งมหาวิทยาลัย Stanford มาอ้างอิงและย่อยให้เข้าใจกันได้ง่ายๆ อย่าตกใจครับ
อาจารย์ Tony Seba เป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ “CLEAN DISRUPTION OF ENERGY AND TRANSPORTATION” ซึ่งถูกจัดเป็น “Amazon Bestseller” และเคยได้รับเชิญจากสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยให้มาบรรยายในหัวข้อเดียวกันเมื่อปี 2014
ข้อมูลที่น่าสนใจของ Tony Seba ที่ทำให้เราต้องมานั่งขบคิดก็คือ การในใช้ประโยชน์จากรถยนต์ส่วนบุคคลพบว่า รถยนต์ส่วนบุคคลที่เราได้ลงทุนซื้อหามาในราคาแพงๆ นั้น ร้อยละ 96 ของเวลาทั้งหมดจะจอดไว้เฉยๆ เราได้ใช้งานจริงๆ เพียง 4% ของเวลาทั้งหมดเท่านั้น นอกจากนี้เวลาที่ได้ใช้งานส่วนหนึ่งต้องใช้ไปกับการหาที่จอดซึ่งหาได้ยากมากขึ้นทุกวัน
ผมเชื่อว่าข้อมูลในบ้านเราก็ไม่น่าจะแตกต่างไปจากนี้มากนัก เวลาที่ใช้งานอาจจะเพิ่มจาก 4% เป็น 10% ก็ได้เพราะเกิดจากปัญหารถติด
อาจารย์ Tony Seba ยังได้ให้ข้อมูลเสริมอีกว่า คนอเมริกันที่ขายรถยนต์ของตนไปแล้ว มีประมาณ 10% จะไม่หารถยนต์คันใหม่มาแทน แต่จะหันไปใช้ “บริการรถยนต์ร่วมโดยสาร (Ride-Hailing)”และ “การใช้รถยนต์ส่วนตัวร่วมกันในเส้นทางเดียวกัน (Car-Sharing)” และร้อยละ 39 ของคนอเมริกันเคยใช้บริการรถยนต์ร่วมโดยสาร ในจำนวนนี้ร้อยละ 27 เคยใช้สัปดาห์ละหลายครั้ง
จากผลงานวิจัยของ Tony Seba และคณะเรื่อง “การคิดใหม่เรื่องการขนส่ง 2020-2030 (Rethinking Transportation 2020-2030 : The Disruption of Transportation and the Collapseof the Internal-Combustion Vehicle and Oil Industries)” (สามารถดาวน์โหลดได้จาก https://www.rethinkx.com/)
ข้อความในภาษาอังกฤษข้างต้นได้พูดถึงการล่มสลายของยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยการเผาไหม้ภายใน (หรือพวกที่ใช้เชื้อเพลิงเผาไหม้) และการล่มสลายของอุตสาหกรรมน้ำมัน โดยมีคำที่แปลเป็นภาษาไทยได้ยากมากคือคำว่า “Disruption” ซึ่งเอกสารงานวิจัยชิ้นนี้ได้อธิบายว่า “เมื่อมีผลิตภัณฑ์และการบริการใหม่เกิดขึ้นก็จะเกิดตลาดแบบใหม่ขึ้น ส่งผลให้ตลาดเดิมที่ดำรงอยู่ให้อ่อนแอลงอย่างชัดเจนหรือถึงขั้นกับการทำลายตลาดหรืออุตสาหกรรมเดิมไปเลย” ขอย้ำว่าต้องมี 2 อย่างเกิดขึ้นคือ (1) ผลิตภัณฑ์และการบริการใหม่ที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม และ (2) มีธุรกิจหรือตลาดใหม่เกิดขึ้น
ถ้าจะแปลกันง่ายๆ คำว่า Disruption ก็น่าจะหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการมีสิ่งใหม่เข้ามาทำลายสิ่งเดิมอย่างรวดเร็ว
อาจารย์ Tony Seba ได้ยกตัวอย่างกรณี การมีรถยนต์ได้เข้ามาทำให้ธุรกิจรถม้าล่มสลายลง เช่น ที่ถนนสายหนึ่งในเมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา รถม้าได้หายไปโดยมีรถยนต์เข้ามาแทนที่ใดยใช้เวลาเพียง 13 ปี
แน่นอนว่ารถยนต์มีประสิทธิภาพกว่ารถม้า แต่ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วก็คือได้เกิดตลาดหรือธุรกิจเงินผ่อนจำนวนรถยนต์จึงได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและสร้างปัญหาต่อการจราจรอยู่ในทุกวันนี้
ข้อมูลที่คุณ Tony นำมาเสนอในภาพรวมก็คือ ในปี 1910 ถึง 1920 จำนวนผู้โดยสารคูณด้วยระยะทางที่รถยนต์แล่นได้ (passenger miles) ได้เพิ่มขึ้นจาก 11% (ที่เหลือเป็นการใช้เป็นการใช้รถม้า) 81% ภายใน 10 ปี
นั่นเป็นเรื่องของอดีตที่รถยนต์ได้เข้ามาทำให้รถม้าต้องล่มสลายภายในเวลา 10 ปี
ปัญหาต่อมาก็คือ จะทำอย่างไรกับการที่รถยนต์ส่วนบุคคลได้ใช้งานเพียง 4% ของเวลาเท่านั้น แต่ต้องลงทุนซื้อมาในราคาร่วมหนึ่งล้านบาท (ยังไม่คิดดอกเบี้ย)
แนวความคิดของผู้วิจัยก็คือการใช้สมาร์ทโฟนเพื่อเรียกหารถยนต์มาให้บริการเมื่อต้องการจะใช้ โดยไม่จำเป็นของเป็นเจ้าของรถยนต์เอง เขามีชื่อเรียกธุรกิจแบบนี้ว่า Transport-as-a Service (TaaS) ซึ่งเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นแล้วแพร่หลายในหลายประเทศ เช่น Uber Taxi ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละของเวลาที่รถยนต์ได้ใช้งานจะเพิ่มขึ้นจาก 4% เป็น 40% และจะทำให้จำนวนรถยนต์น้อยละถึง 80%
ผลการศึกษาเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า “ผลคูณระหว่างจำนวนผู้โดยการกับระยะทางที่รถยนต์แล่นได้ (passenger miles) จะเพิ่มขึ้นจาก 1% ในปี 2020 เป็น 95% ภายในปี 2030” นั่นหมายความว่าจำนวนรถยนต์ส่วนตัวแทบจะหมดไป ผู้คนเกือบทั้งหมดจะหันมาใช้ TaaS แทน
อะไรคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้วิจัยได้ผลลัพธ์อย่างนั้น
เหตุผลสำคัญพอสรุปได้ดังนี้คือ
หนึ่ง มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (ซึ่งขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า) ซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่ามาแทนรถยนต์ที่มีการเผาไหม้ภายใน (ซึ่งพลังงานส่วนมากจะสูญเสียไปเป็นความร้อน) ถึง 5 เท่า
รูป 1
สอง รถยนต์ไฟฟ้ามีค่าบำรุงรักษาน้อยกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันถึง 10 เท่า
รูป 2
สาม รถยนต์ไฟฟ้าจ่ายค่าพลังงานน้อยกว่า 10 เท่า
รูป 3
สี่ ราคารถยนต์ไฟฟ้าจะลดลงแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล เพราะประมาณกว่า 1 ใน 3 ของราคารถยนต์ไฟฟ้าคือค่าแบตเตอรี่ แต่ราคาแบตเตอรี่ลดลงประมาณ 14% ต่อปีข้อมูลของคุณ Tony พบว่าในปี 2018 ราคารถยนต์ไฟฟ้าประมาณคันละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ได้พยากรณ์ว่าในปี 2022 จะลดลงเหลือเพียง 20,000 ดอลลาร์เท่านั้น
นอกจากนี้เขายังได้พยากรณ์ว่า ภายในปี 2025 รถทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นรถบรรทุก รถแทรกเตอร์ รถยนต์ที่ออกใหม่ทุกคันจะเป็นรถที่ใช้แบตเตอรี่และเป็นเช่นนี้ทั่วโลก
ห้า รูปแบบธุรกิจที่เกิดใหม่คือ TaaS (การขนส่งเมื่อมีความต้องการ หรือ Car-as-Service, CaaS) จะทำให้ต้นทุนลดลงโดยอัตโนมัติ เพราะไม่ต้องสูญเปล่าไปกับการจอดไว้เฉยๆ
เมื่อรวมปัจจัยหลักทั้ง 5 ประการที่ได้กล่าวมาแล้ว พอสรุปได้ว่าค่าใช้จ่าย(ดอลลาร์สหรัฐต่อไมล์) ของรถยนต์ไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (ไม่มีคนขับ) จะเท่ากับ 0.4 เท่าของค่าใช้จ่ายจากรถยนต์ที่เผาไหม้ภายในโดยมีเงื่อนไขว่าเป็นการให้บริการตามความต้องการและเป็นแบบกลุ่มในปี 2021 (รายละเอียดตามรูปข้างล่าง)
รูป 4
ถ้าผลการศึกษานี้ถูกต้อง ความต้องการใช้น้ำมันก็จะลดลงมาเหลือประมาณ 70% ของปัจจุบัน อุตสาหกรรมน้ำมันก็ถึงขั้นล่มสลาย (ตามหัวข้องานวิจัย) เพราะเชื้อเพลิงหลักคือไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์และกังหันลมพร้อมกับแบตเตอรี่ซึ่งเริ่มมีราคาเพียง 3 เซนต์ต่อหน่วยไฟฟ้า
เทคโนโลยีใหม่ได้ทำลายธุรกิจเดิมให้ล้มลงเป็นทอดๆ ราวกับ...............................ไม่ได้ และจะถึงจุดอวสานในที่สุดและโดยพลันด้วย ผมวินิจฉัยแล้วก็เห็นด้วยกับ Tony Seba ครับ
https://amp.mgronline.com/Daily/9610000102873.html