ภาคต่อ แบ่งปันประสบการณ์ ลงทุนหุ้นตลาดญี่ปุ่น
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 02, 2018 9:45 pm
-ที่ขึ้นใหม่เป็นภาคต่อเพราะ เพิ่งพบว่า สะกดคำว่า ”ประสบการณ์” ผิด จะเข้าไปแก้ก็ทำไม่ได้ เลยต้องทำการขึ้นภาคใหม่เป็นภาคต่อ พร้อมเปลี่ยนให้ถูกต้อง แต่จะยังเรียงลำดับตอนต่อจากของเดิมครับ
ตอนที่ เจ็ด ว่าด้วย ETF อิง Nikkei 225
-Nikkei 225 Exchange-Traded Fund เป็นกองทุนเปิดลักษณะ Tracking fund คือลงทุนในหุ้น 225 ตัวที่ประกอบขึ้นมาเป็นดัชนี Nikkei 225 และลงทุนมากน้อยตามน้ำหนักของหุ้นแต่ละตัว Nomura Asset Management เป็นผู้บริหารกองทุน Board lot อย่างน้อย 1 หน่วย ตอนที่นำหน่วยลงทุนนี้เข้ามาซื้อขายในตลาดหุ้นโตเกียวครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2001 เขาใช้วิธี ตั้งราคา par ของหน่วยลงทุนไว้ที่ 12,307 เยน ซึ่งใกล้เคียงกับตัวเลขของดัชนี Nikkei 225 ขณะปิดตลาดวันก่อนหน้านั้น ดังนั้นเมื่อเข้าซื้อขายในตลาดแล้วราคาซื้อขายของหน่วยลงทุนนี้ จึงล้อไปกับตัวเลขของดัชนี Nikkei 225 เพื่อทำให้ติดตามราคาซื้อขายและ NAV ได้ง่ายตลอดไป กำไรที่เกิดจากการซื้อขายหุ้นทำกำไรหรือปรับน้ำหนักการลงทุนตามน้ำหนักของส่วนประกอบของ Nikkei 225และปันผลที่ได้จากการถือครองหุ้นของกองทุน เขาไม่ได้แบ่งปันเพิ่มเข้าไปใน NAVของแต่ละหน่วยลงทุน แต่ใช้วิธี Create Fund Unit ขึ้นมาเพิ่มเข้าไปให้ซื้อขายกันทำให้จำนวนหน่วยเพิ่มขึ้นด้วยตัวเองทุกปี และทำให้ขนาดกองทุนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และสำรองอีกส่วนของกำไรเอาไว้จ่ายเป็นปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งดูประวัติย้อนหลังแล้วจะได้ประมาณ 1.5%ของราคาปิดตอนสิ้นปีบัญชี ขนาดของกองทุนนี้ล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 5.6 ล้านล้านเยน นอกจากนี้กองทุนแบบนี้ก็เป็นกองทุนที่ ธนาคารกลางญี่ปุ่นใช้เป็นที่ใส่เงิน QE เข้ามาให้เกิดเป็นเม็ดเงินเข้าไปในอุตสาหกรรมหลากหลายของประเทศ
-โดยที่เป็นกองทุนที่มีปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนข้ามปีบัญชีซึ่งนับวันที่ 8 กรกฎาคมเป็นวันเริ่มต้น ดังนั้นเมื่อดูภาพระยะ 5 ปีเทียบกับดัชนีตัวอ้างอิง จะพบว่าราคาซื้อขายหลังจากวันนั้น ก็ลดลงแบบหลังวัน XD ทั่วไป แต่ราคาจะค่อยๆมี Premium เมื่อเทียบกับตัวเลขดัชนี Nikkei225 คือเส้นราคาจะค่อยๆห่างออกไป แล้วกลับไปเท่าตัวเลขของ Nikkei 225 อีกครั้งหลังวัน XD
-ต่อไปนี้เป็นการแบ่งปันประสบการณ์จริง ซื้อขายจริง กำไร(ขาดทุน)จริง จะเล่ารายละเอียดในรูปตารางที่มีชื่อหุ้น รหัสในตลาดหุ้น วันที่ซื้อและขาย จำนวนวันทำการที่ถือครอง ราคาซื้อขายต่อหน่วยที่สุทธิจากค่านายหน้าและภาษีมูลค่าเพิ่มของค่านายหน้านั้น กำไรทั้งในรูป Capital Gain และปันผล(ถ้ามี) และอัตราร้อยละของกำไรที่เกิดขึ้นบนฐานของเงินลงทุน โดยการตัดสินใจทำบนพื้นฐานความรู้ตามเนื้อหาที่แบ่งปันของแต่ละตัวหุ้น
-ประสบการณ์ที่ 1 ตามตารางที่แสดงด้านบนนี้ ทำการซื้อ ถือไว้ 44วันทำการ แล้วขาย หน่วยลงทุนนี้ เพื่อทดสอบว่าสามารถทำกำไรจากความผันผวนของ ตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่แสดงออกในรูปดัชนี Nikkei 225 ได้จริงหรือไม่ กะจะกันทุนส่วนหนึ่งขึ้นมาไว้ลงทุนใน หน่วยลงทุนนี้ “เป็นรอบๆ” ซึ่งตามสมมุติฐานน่าจะทำได้ แต่ไม่ได้ทำ
-ภาพราคาหน่วยลงทุนระยะ 1 ปี ย้อนหลัง จะเห็นความผันผวนในระดับไตรมาส เป็นการลงทุนครอบคลุมในกิจการหลากหลายในเกือบทุกอุตสาหกรรมรอบตัวเรา เกลี่ยความเสี่ยง แบบลงทุนซื้อความเป็นประเทศญี่ปุ่นครับ
ตอนที่ เจ็ด ว่าด้วย ETF อิง Nikkei 225
-Nikkei 225 Exchange-Traded Fund เป็นกองทุนเปิดลักษณะ Tracking fund คือลงทุนในหุ้น 225 ตัวที่ประกอบขึ้นมาเป็นดัชนี Nikkei 225 และลงทุนมากน้อยตามน้ำหนักของหุ้นแต่ละตัว Nomura Asset Management เป็นผู้บริหารกองทุน Board lot อย่างน้อย 1 หน่วย ตอนที่นำหน่วยลงทุนนี้เข้ามาซื้อขายในตลาดหุ้นโตเกียวครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2001 เขาใช้วิธี ตั้งราคา par ของหน่วยลงทุนไว้ที่ 12,307 เยน ซึ่งใกล้เคียงกับตัวเลขของดัชนี Nikkei 225 ขณะปิดตลาดวันก่อนหน้านั้น ดังนั้นเมื่อเข้าซื้อขายในตลาดแล้วราคาซื้อขายของหน่วยลงทุนนี้ จึงล้อไปกับตัวเลขของดัชนี Nikkei 225 เพื่อทำให้ติดตามราคาซื้อขายและ NAV ได้ง่ายตลอดไป กำไรที่เกิดจากการซื้อขายหุ้นทำกำไรหรือปรับน้ำหนักการลงทุนตามน้ำหนักของส่วนประกอบของ Nikkei 225และปันผลที่ได้จากการถือครองหุ้นของกองทุน เขาไม่ได้แบ่งปันเพิ่มเข้าไปใน NAVของแต่ละหน่วยลงทุน แต่ใช้วิธี Create Fund Unit ขึ้นมาเพิ่มเข้าไปให้ซื้อขายกันทำให้จำนวนหน่วยเพิ่มขึ้นด้วยตัวเองทุกปี และทำให้ขนาดกองทุนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และสำรองอีกส่วนของกำไรเอาไว้จ่ายเป็นปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งดูประวัติย้อนหลังแล้วจะได้ประมาณ 1.5%ของราคาปิดตอนสิ้นปีบัญชี ขนาดของกองทุนนี้ล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 5.6 ล้านล้านเยน นอกจากนี้กองทุนแบบนี้ก็เป็นกองทุนที่ ธนาคารกลางญี่ปุ่นใช้เป็นที่ใส่เงิน QE เข้ามาให้เกิดเป็นเม็ดเงินเข้าไปในอุตสาหกรรมหลากหลายของประเทศ
-โดยที่เป็นกองทุนที่มีปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนข้ามปีบัญชีซึ่งนับวันที่ 8 กรกฎาคมเป็นวันเริ่มต้น ดังนั้นเมื่อดูภาพระยะ 5 ปีเทียบกับดัชนีตัวอ้างอิง จะพบว่าราคาซื้อขายหลังจากวันนั้น ก็ลดลงแบบหลังวัน XD ทั่วไป แต่ราคาจะค่อยๆมี Premium เมื่อเทียบกับตัวเลขดัชนี Nikkei225 คือเส้นราคาจะค่อยๆห่างออกไป แล้วกลับไปเท่าตัวเลขของ Nikkei 225 อีกครั้งหลังวัน XD
-ต่อไปนี้เป็นการแบ่งปันประสบการณ์จริง ซื้อขายจริง กำไร(ขาดทุน)จริง จะเล่ารายละเอียดในรูปตารางที่มีชื่อหุ้น รหัสในตลาดหุ้น วันที่ซื้อและขาย จำนวนวันทำการที่ถือครอง ราคาซื้อขายต่อหน่วยที่สุทธิจากค่านายหน้าและภาษีมูลค่าเพิ่มของค่านายหน้านั้น กำไรทั้งในรูป Capital Gain และปันผล(ถ้ามี) และอัตราร้อยละของกำไรที่เกิดขึ้นบนฐานของเงินลงทุน โดยการตัดสินใจทำบนพื้นฐานความรู้ตามเนื้อหาที่แบ่งปันของแต่ละตัวหุ้น
-ประสบการณ์ที่ 1 ตามตารางที่แสดงด้านบนนี้ ทำการซื้อ ถือไว้ 44วันทำการ แล้วขาย หน่วยลงทุนนี้ เพื่อทดสอบว่าสามารถทำกำไรจากความผันผวนของ ตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่แสดงออกในรูปดัชนี Nikkei 225 ได้จริงหรือไม่ กะจะกันทุนส่วนหนึ่งขึ้นมาไว้ลงทุนใน หน่วยลงทุนนี้ “เป็นรอบๆ” ซึ่งตามสมมุติฐานน่าจะทำได้ แต่ไม่ได้ทำ
-ภาพราคาหน่วยลงทุนระยะ 1 ปี ย้อนหลัง จะเห็นความผันผวนในระดับไตรมาส เป็นการลงทุนครอบคลุมในกิจการหลากหลายในเกือบทุกอุตสาหกรรมรอบตัวเรา เกลี่ยความเสี่ยง แบบลงทุนซื้อความเป็นประเทศญี่ปุ่นครับ