หน้า 1 จากทั้งหมด 1

Money Talk @ SET 22 April 2018

โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 23, 2018 12:37 am
โดย amornkowa
Money Talk @ SET 22 April 2018 เวลา 13.30 น

ช่วงที่1 หัวข้อ “ MBA ยุคดิจิตอล—เส้นทางมืออาชีพ ”

วิทยากร

1.คุณ อภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
2.ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
3.ศ.ดร. กำพล ปัญญาโกเมศ รองอธิการบดี นิด้า
ดร. ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ

คราวหน้า วันอาทิตย์ที่ 27 เดือน พค 2561
จองวันที่ 19 พค ผ่าน Facebook Moneytalk

หัวขัอแรก เปิดใจกลต โดย อ รพี สุจริตกุล
สัมภาษณ์ โดย ดร ไพบูลย์ และ ดร นิเวศน์


หัวข้อต่อมาไม่มีเบรก หุ้นเด่นต้องจับตา

1. คุณ ปรียนาถ สุนทรวาทะ CEO บริษัท BGRIM
2. คุณ อัญรัตน์ พรประกิต เจ้าของ บริษัท JUBILE
3. คุณ ทรงวิทย์ ฐิติปุญญา CEO บริษัท ASAP
หมอเค ศุภศักดิ์ และ อ เสน่ห์ ศรีสุวรรณ เป็นผู้ดำเนินรายการ

หัวข้อที่สอง กลยุทธ์ฝ่าความร้อนรุ่มจากกิเลสหุ้น
1. คุณ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย
2. คุณ ชาย มโนภาส
3. ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ดำเนินรายการ โดย ดร ไพบูลย์ และ อ เสน่ห์

เข้าสู่เนื้อหา หลักสูตรMBA มีความน่าสนใจ

อาจารย์ กำพล พูดว่า ตอนเรียนจบปริญญาตรีช่วงนั้นยังเป็นAnalogอยู่เลย
อาจารย์เสน่ห์ถามว่า analog ต่างกับ digital อย่างไร
ดร ไพบูลย์ ตอบว่า analog คือเข็มนาฬิกา ส่วนdigital จะไม่มีเข็ม แต่
เป็นภาพ ตัวเลขแสดงออกมา
แต่ อ เสน่ห์ บอกว่า ดิจิตอลมีความต่อเนื่อง คือ มีแค่ 0,1
อ กำพล บอกว่า MBA ดูออกแบบมาเป็นภาพกว้าง
MBA ย่อมาจาก คำว่า Master of Business Administration

หลักสูตรนี้เรียนเกือบทุกฟังก์ชั่นขององค์กร ได้แก่
1.Financial management
2.Operation management
3. HR Management
4. Marketing Management
ถูกพัฒนาให้คนที่เรียนมีความรู้ครบถ้วน
ทำให้เหมือนกับว่า MBAเป็นจุดเชื่อมต่อ ของหลายอาชีพ
เช่น วิศวกรพอจะเป็นผู้บริหาร ก็เลยต้องเรียนMBA เพื่อมาเป็นผู้บริหาร
ในแง่สถาบันการศึกษามีคู่แข่งทั้งในไทย ซึ่งหลักสูตรMB Aมีในมหาวิทยาลัยทุกที่
ไม่ต้องมีการลงทุนเครื่องจักร ไม่เหมือนหลักสูตร วิศว หรือ แพทย์ ต้องลงทุนเครื่องมือ
ดังนั้นการเปิดหลักสูตรMBAง่ายมาก

เรามีหลักสูตรสองหลักสูตร ทั้งภาคภาษาไทย และ ภาคภาษาอังกฤษ
ตอนนี้เทรนปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนไป จากภาพกว้าง
ดร ไพบูลย์ บอกว่า MBA เป็นเรื่องของการจัดการ ทำอย่างไรให้บริษัทมีมูลค่า
เป็นสไตด์ของประเทศอเมริกา ทื่อื่น เช่น เยอรมัน และ ญี่ปุ่น ไม่ค่อยมีหลักสูตร MBA
MBAที่ดังๆ จะอยู่ที่อเมริกา ต่อมา ในยุโรปเริ่มมี มีเรียน1ปี หรือ บางหลักสูตรอาจปีครึ่ง
เช่น ลูกชายคุณธันวา ประมาณ ปีครึ่ง จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
อาจารย์ กำพล บอกว่า เป็นเรื่องความพร้อมของภาษา หนังสือText book ตัวอย่างเช่น Marketing มาจากหนังสือ Phillip Kotler

ดังนั้นต้องมีการปรับตัวในการอ่านText book แต่บางคนก็จะสรรหาหนังสือแปลมาอ่าน
อาจารย์เสน่ห์ ถามว่า ทำไมไปเรียนMBA
คุณอภิรักษ์ ตอบว่า จบด้านFood Science and Technology มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปี2522
เรียนนิด้า ปี 2526 ซึ่งเป็นช่วงที่มาทำงานที่พิซ่าฮัท แถว สุรวงศ์
ปกติคนจบด้านนี้ ทำโรงงาน แต่ผมมาทำTrainee เป็นจุดเปลี่ยน มาสมัครเรียนMBAและทำงานไปด้วยน่าจะดี
ตอนนี้อยากประสบความสำเร็จเร็ว พอเรียนจริง ทำงานไม่ไหว เพราะเรียนภาคปกติ เรียนช่วงกลางวัน
สมัยนั้นผมใช้ Mainframe computer ตอนนี้ ใช้Mobile Internet
แต่ช่วงนั้นการเรียนการสอน case study ทันสมัย ผมก็เรียน Kotler 101 เหมือน อ กำพล
ตอนนั้น ไม่มี googleให้ค้นหา ต้องทำงานเป็นกลุ่ม ไปศึกษาเพิ่มเติมจากข้างนอก
ผมทำcase study เรื่องสงครามน้ำดำCoke & Pepsi
และไปสมัครทำงานที่ Pepsi co แม้ว่าหลักสูตรเป็นMBA แต่มีรายละเอียดมาก
ใครสะดวกช่วงกลางวัน ก็เรียนRegular MBAซึ่งเป็นภาคปกติ
ถ้าสะดวกช่วงค่ำก็เลือกเรียน Executive MBA หรือ Flexible MBA หรือ หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ

ทำไมต้องมาเรียนหลักสูตรนี้ เพราะตอนนี้เราสามารถดูข่าวจากsourceที่แตกต่างกัน
มีเทคโนโลยี disruptive technology มาคอยช่วย
คนเกิดในยุคดิจิตอล ใช้มือถือ เปิดinternet ตอนเช้าเปิด line จะมีคนส่งดอกไม้ แสดงว่าคนส่งอายุเกิน50ปี

Digital ใช้ Lifestyle, value creation เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ
โลกเปลี่ยนไปแล้ว คนสมัยใหม่ เรียกว่า startup หรือ Tech startup ทำให้หลักสูตรของนิด้า
ก็ปรับเปลี่ยนไปด้วย มีพูดถึงการออกแบบธุรกิจ เหมือนกับที่ ซิลิคอนวัลเลย์
มีวิธีการทำงานโดยออกแบบหลักสูตร ที่เรียกว่า design thinking
ธุรกิจสมัยใหม่ที่แตกต่างจากสมัยผม รวมถึง ความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกันไป
ถ้าเราเรียนเฉพาะหนังสือที่เป็นtext book ก็ไม่update
ดังนั้นหลักสูตรต้องออกแบบรองรับความต้องการของคนยุคใหม่
คือต้องการเป็นผู้ประกอบการ Entrepreneur แต่ไม่ใช่การเป็นเถ้าแก่ แต่เป็นแบบสมัยใหม่
Entrepreneur ที่มีpassion มีแรงบันดาลใจให้ผลักดันองค์กรให้เจริญรุ่งเรือง
ปัจจุบันมีการออกแบบหลักสูตรมีsegmentation เพื่อตอบสนองต่อคนที่มาสมัครเรียน
เชื่อว่าเป็นจุดแข็งหรือความแตกต่างจากสถาบันอื่น

อ เสน่ห์เสริมว่า เหมาเจ๋อตุงบอกว่ามีคนสองประเภท

1. การเอาความคิดของเราไปใส่สมองคนอื่น อันแรกถ้าทำได้ จะเรียกว่า อาจารย์
2. การเอาเงินผู้อื่นมาใส่กระเป๋าเรา อันที่สองถ้าทำได้ เรียกว่า เถ้าแก่
แต่ถ้าคนที่สามารถทำสำเร็จได้ทั้งสองอย่าง เรียกว่า ภรรยา

ดร นิเวศน์ ตอบว่า ตอนนั้นทำงานโรงงาน ที่เรียนMBAเพราะนิด้าเปิดMBAเจ้าเดียวในยุคนั้น
ผมพยายาม หาหนทางไต่ไปเรื่อยๆ การเรียนMBA ทำให้เรากว้างกว่า ศักยภาพสูงกว่า
เป็นวิศวกร ถ้าเรียนต่อวิศวกรรม สำหรับ ดร เอง อันแรก สอบตก เพราะยากไป หรือ จบได้ก็ไปทำอย่างเก่า
คือ copyไปเรื่อยๆ ประโยชน์ไม่เยอะ ดังนั้นเรียนMBA สามารถคุมทั้งบริษัท
สมัยก่อนไม่มีตลาดหุ้น ทำธุรกิจก็เจ็ง

ดร ไพบูลย์ บอกว่าจุดตัดสินใจมาจากตัวอาจารย์นิเวศน์เอง ตอนนั้น ดร นิเวศน์มาหา ดร ไพบูลย์ คุยกันในห้องน้ำ และ ตัดสินใจตอนนั้นเลยว่าจะเรียนMBA
เรียนMBAแล้วกลับไปเป็นทำงานเป็นวิศวกรเหมือนเดิม แต่เราได้concept ของMBA
ตอนนั้นที่จะไปเรียนก็คิดจะลาออกจากโรงงาน เพราะเวลาเรียนคือช่วงกลางวัน
เจ้าของต้องการตัวเรามาก บอกว่าวันไหนเรียนก็ไปเรียน วันไหนว่างก็มาทำงาน ก็เลยรับเงินเดือนแค่ครึ่งนึง
ดร นิเวศน์บอกว่า อาจารย์ที่สอน MBA ก็ทำงานเป็นที่ปรึกษาของบริษัทต่างๆด้วย
ก็มาสอนไม่เต็มที่ มาบ้างไม่มาบ้าง เราก็เลยต้องกะมาเรียนให้ถูกตรงกับที่อาจารย์มา

ข้อดีในการทำงานในบริษัทที่เจ็ง คือ เราจะได้รู้ว่าทำอย่างไรให้บริษัทเจ็ง
คุณชาร์ลี มังเกอร์ บอกว่า ที่ไหนตาย ถ้าเขารู้ก็จะไม่ไป เหมือนกันว่า เรียนอย่างไรไม่ทำงานให้เจ็ง
ดร ไพบูลย์ บอกว่าเป็นประสบการณ์ส่วนตัวของดร นิเวศน์

สรุป เรียนแล้วมีประโยชน์ เป็นField ที่กว้าง บริหารได้ทุกเรื่อง เอาหลักการใหญ่ๆมาใช้ในการ
บริหารองค์กรหน่วยงานอย่างไร รวมถึงบริหารครอบครัวได้ด้วย
พอถึงการลงทุน MBAมีส่วนนำมาใช้ เพราะดูทุกส่วน ดูให้กว้าง จะรู้ว่าบริษัทไหนมีปัญหา มีจุดอ่อน หรือบริษัทจะเจ็ง ส่วนหุ้นที่จะรวยพอดูออกได้
ผมทายหุ้นมาหลายตัว เจ็งหมด บางทีสัมภาษณ์เสร็จก็รู้เลยว่าจะเจ็ง
อาจารย์ส่วนใหญ่สอนแต่เรื่องประสบความสำเร็จ

ถาม อ กำพล จบ Microbiology จาก KMIT บางมด
ทำงานที่บริษัท นมตรามะลิ และ ย้ายไปอายิโนโมโต๊ะ
หลังจากนั้นมาเรียนต่อMBA ที่นิด้า เพราะอยากก้าวหน้าต่อในเรื่องงาน
บริษัทนี้สามารถย้ายไปแต่ละแผนกได้

นักศึกษาของMBAยังมีเยอะ เพราะใครที่ต้องการบริหารหรือทำธุรกิจส่วนตัว ต้องเรียนMBA
1. ตอนนี้ Innovation Technology มาสนับสนุนการผลิตให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่ม
คุณประสาร บอกว่าการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี มันชันมาก แต่การศึกษาตามไม่ค่อยทัน
ที่สิงคโปร์ ยังบอกว่าระบบการศึกษาของเขาต้องปรับตัว เช่น
การศึกษาต้องเป็น Experental technology คนที่เรียนสามารถไปเรียนจากแหล่งกำเนิดได้
2. Promote digital technology
3. Diversify higher & way นักศึกษาควรมีโอกาสศึกษาในเรื่องที่สนใจได้ ที่standfordมีแล้ว
4. Encourage life longing
NUS ให้ศิษย์เก่าสามารถเรียนmoduleใหม่ได้ฟรีสองหลักสูตร
5.หลักสูตรต้องเชื่อมโยงกันได้ ภาคการศึกษาเชื่อมภาครัฐ ภาคเอกชน และสังคมเข้าด้วยกัน
เมืองไทยต้องปรับตัว รวมถึง MBA ก็ต้องปรับตัวด้วย
นิด้า เป็น MBA ที่ได้รับการรับรอง AACSB เป็นหลักสูตรภาษาไทยแห่งแรก
AACSB เป็นหน่วยงานที่รองรับมาตรฐานตามสากล
MBAทั่วโลกมีมาก แต่ได้รับรองจาก AACSBไม่เกิน 5% นิด้าได้รับการรับรองทุกหลักสูตร

ดร ไพบูลย์ถามคุณอภิรักษ์ และ วิทยากรทุกท่านดังนี้

1. ควรเรียนเมืองไทยหรือเมืองนอก
2. เรียนตอนอายุเท่าไหร่
3. เรียนที่ไหน

คุณอภิรักษ์ ตอบว่า
1. คิดว่าสมัยตอนตัดสินใจตอนนั้นและตอนนี้ ปัจจัยต่างกัน เมื่อก่อน ทำงานด้วยเรียนไปด้วยกัน แต่ถ้าเรียนเมืองนอกก็จะหายไปสองปี แต่ได้เรื่องภาษา แต่ตอนนี้ เมืองไทย นิด้าไม่เหมือนสามสิบปีที่แล้ว เรามีnetworkingกับต่างประเทศ
มหาวิทยาลัยดังๆ เข้ายาก รับน้อยสมัครกันเยอะเข้ายาก นิด้ามีnetworkกับหลายมหาวิทยาลัย เช่น วาร์ตัน
ผมจบในเมืองไทย ไปเรียน Course advanceในต่างประเทศจากบริษัท Pepsi เรียน ที่ Harvard business school

2.อายุที่เหมาะสม จริงๆแล้วคนยุคสมัยใหม่อยู่ที่การทำธุรกิจ คนยุคใหม่เป็นเจ้าของธุรกิจง่าย ไม่ต้องรออายุ 30-40 ปี
สมัยก่อนจะเป็นกรรมการผู้จัดการต้องเป็นอายุ40ปี ตอนนั้นคุณอภิรักษ์เป็นตอนอายุ 34 ปี หลังจากนั้นก็เลื่อนเป็น CEO
ผมเป็น chairman ของ Bee Food วันนี้มาทำธุรกิจเองตอนอายุ50กว่าปีก็ได้
ดังนั้นอายุเท่าไหร่ก็มาเรียนได้ มีเมนูให้เลือก แล้วแต่ผู้เรียน
บางคนมีประสบการณ์เป็นมืออาชีพ อยากเติบโต ก็สามารถมาเรียนและเลือกหลักสูตรที่เหมาะสมได้ ดังนั้น เรียนในไทย หรือ ต่างประเทศ อายุเท่าไหร่ก็ได้

3. Faculty member สอนแบบเลคเชอร์
3.1 มีความหลากหลายของอาจารย์ มีอาจารย์รุ่นใหม่ อายุ 28-30 ปีเอง
3.2 ในเรื่อง networking , collaborateกับหลายมหาวิทยาลัย
3.3 alumni networking ตั้งมาตั้งนานแล้วตั้งแต่ ปี 2509 จบไปแล้วหมื่นคน มีความหลากหลายของประสบการณ์ศิษย์เก่า ที่ช่วยให้หลักสูตรในยุคสมัยใหม่ ทั้งที่คนสนใจเป็นมืออาชีพ หรือ คนที่มีประสบการณ์
การเรียนการสอน ไม่ได้มีอยู่แค่ในตำราอย่างเดียว มหาลัย โคลัมเบีย หรือ MIT ออกหลักสูตรเฉพาะให้startup
ที่นิด้า มีการออกแบบหลักสูตรให้เหมาะสมแต่ละคน

ถาม ดร นิเวศน์ ว่าควรเรียนต่อในประเทศ หรือ เรียนรู่ในต่างประเทศ
ดร นิเวศน์ ตอบว่า ถ้ามีปัญญาก็ไปเรียนเมืองนอก ที่เป็น Top50ของโลก เพราะจบมาเท่กว่าเยอะ เช่น MIT กลับมาสร้างประโยชน์
ดร ไพบูลย์เสริม ถ้ามีภาระดูแลครอบครัว ก็เรียนในเมืองไทย เช่น นิด้า ดีกว่า
เพราะ จุฬา ธรรมศาสตร์ SASIN นิด้า หลักสูตรใช้ได้ แต่ถ้าให้เลือก นิด้าดีกว่า
ช่วงอายุไหนที่เหมาะสม ดร นิเวศน์ ตอบว่าถ้ามีไฟ ก็เรียนไปเลย
ลูกสาวของ ดร นิเวศน์เรียนจบก็เรียนต่อMBAทันที
แต่ถ้าไม่มีเงิน ก็ทำงานก่อน แล้วค่อยมาเรียน เหมือน ดร นิเวศน์

ถาม ดร นิเวศน์ ว่าตอนนั้นถ้ามีเงิน จะเรียนต่อเลยใช่ไหม
ดร นิเวศน์ บอกว่าก็เรียนต่อ แต่ถ้าทำงานก่อน ก็ได้เงิน และ ไม่ค่อยได้ใช้g’
บางทีเรียนMBAแล้ว ก็จะไม่ได้นำความรู้ทางวิศวมาใช้ เพราะสายงานที่ทำหลังจบไม่เกี่ยวข้องกัน

ถาม อ กำพล นิด้ามีอะไรเรียนบ้าง
อ กำพล บอกว่า TREND MOC สามารถเรียนprofessorที่ดังๆได้
อนาคตเรียนไปด้วยทำงานด้วย และ ได้ประสบการณ์จากต่างประเทศผ่าน MOC
เราต้องปรับตัวให้ก้าวหน้ามากขึ้น จีน ให้ทุนคนไปเรียนมหาวิทยาลัยดังๆ ไม่ต้องชดใช้ทุน
และซื้อตัวกลับมาทำงานที่จีนหลังประสบความสำเร็จจากบริษัทดังๆ
ผมเคยไปลงcourse design thinking at standford ไปดูที่ google ทุกอย่างฟรีหมด
อาหารจากcanteen เอาเชฟที่มีชื่อเสียงมาทำ แต่มีสองชาติคือ จีน อินเดีย คิดเป็น 2/3 ของทั้งหมาดและจะมีอาหารจีน และ อินเดีย
ผมก็หวังว่าไทยจะเป็นเหมือน จีน และ อินเดียที่google
Nidaพยายามร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพ เช่น Master of secient
ใครจบหลักสูตรนี้ทำงานได้เลย ยังมี operation management
อีกแนวทาง ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เช่น อินเดียน่า วาร์ตัน
หรือ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศ เช่น พระจอมเกล้าลาดกระบัง
จะมีหลักสูตรตรี ควบ โท เช่น จบวิศวที่ลาดกระบังมาต่อที่นิด้าได้เลย
หรือ MBAplus แล้วไปเรียนกฎหมาย หรือ สิ่งแวดล้อม ได้ประกาศนียบัตรเพิ่มเติม
ตอนนี้เทรน การเรียนต้องใช้หลายศาสตร์ในการแก้ปัญหา
นี่คือหลักสูตรที่นิด้าพยายามคิดเพื่อเสริม

ดร ไพบูลย์ แนะนำแต่ละหลักของMBA ที่นิด้า
1. หลักสูตร regular เรียนตอนกลางวัน วันธรรมดา
2. Flexible MBA เรียนเสาร์ อาทิตย์ ต้องมีประสบการ์ณนิดนึง
3. MBA Pro คนเรียนจะเป็นนักเรียนเกียรตินิยมทั้งหมด
4. Accelerated MBA ( A MBA ) เป็นโครงการพิเศษเรียนในวันและเวลาราชการ
เป็นหลักสูตรเร่งรัด course work 1ปี เนื้อหาเน้นธุรกิจระหว่างประเทศในแถบเอเซียแปซิฟิก
5.Inter MBA เรียนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ หลักสูตรอินเตอร์ มีชาติอื่นๆมาร่วมเรียนด้วย
มีทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาต่างชาติ
6. English MBA หลักสูตรภาษาอังกฤษ เป็นโครงการภาคปกติ มีสองสาขา คือการเงิน และ การตลาด
7. หลักสูตร Y MBA สำหรบผู้บริหารระดับต้น เรียนตอนเย็น
8. หลักสูตร Executive MBA ผู้บริหารระดับสูง เรียนตอนเย็น
9. FIRM หลักสูตรสำหรับเรียนเป็น CFA จบในปีครึ่ง ปีหน้าจะเรียนเป็นภาษาไทย สอบ CFP ได้
Case study มีทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ส่วนในไทยจะเรียกว่า local content
Caseที่ต่างประเทศ เราเรียนรู้และต้องปรับให้เข้ากับไทย หรือ local ด้วย

ถาม อาจารย์กำพล จะเปิดได้เมื่อไหร่
ตอบ สอบถามจากเจ้าหน้าที่ได้
ดร ไพบูลย์ บอกว่า หลักสูตรรับตลอดเวลา รับไปเรื่อยๆ แต่บางสาขา FIRM เปิดครั้งเดียวต่อปี
คุณสมบัติ บางหลักสูตรมีการสอบข้อเขียน หรือ ภาษาอังกฤษ บางหลักสูตรก็สัมภาษณ์อย่างเดียว
จบทุกสาขาของปริญญาตรีมาก็สมัครได้
คุณ อภิรักษ์ เสริม ว่า
1 ปัจจุบันเปลี่ยนเร็ว
2.วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลง เช่น sharing economy : Grap , Uber ,Line Man มาช่วยได้
ดังนั้นหลักสูตรMBAก็ต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับปัจจุบัน
สมัยใหม่มีroad map Thailand 4.0 เราต้องรู้ว่าบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ต้องเรียนlocal contentที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์บ้านเมืองด้วย
3.Harvard , gainlog ,warton ที่เราไปร่วมมือด้วย เอาความหลากหลายของนักศึกษา
จากยุโรป จีน ญี่ปุ่น อังกฤษ ยุโรป หรือ CLMV มาร่วมเรียนด้วย
ในอาเซียนบวกสาม จีน ญี่ปุ่น เกาหลี สำคัญมาก เวลาไปแต่ละประเทศ
คนที่นั่นเขาเรียนภาษาไทยด้วย เพื่อสื่อสารกับทางเราได้
ซึ่งจะช่วยนิด้ามีความหลายหลายสำหรับนักศึกษาในการเรียนรู้ต่างประเทศ
อาลีบาบา พึ่งมาลงใน EEC แสดงว่าlocation นี้ strategic location ด้วย
การเข้ามาของJack ma ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อความเปลี่ยนแปลง
คนที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจะอยู่ไม่ได้ อย่ามองเป็นลบ แต่พยายามปรับตัว
ตัวอย่างเช่น Amazon เข้ามาบริษัทretailส่วนใหญ่ปิดหมด
แต่ในไทย Central join JD.com , Alibaba ก็มาซื้อ lazada
เล็ก ใหญ่ ไม่สำคัญ แต่เอาจุดแข็งของเล็ก คือ ปรับตัวได้เร็วกว่า
Flexible อะไรที่ไม่workล้มได้เลย อย่าไปมองว่าเป็น threat
ดร ไพบูลย์ บอกว่า การเรียนMBA เป็นการเรียนปริญญาโทสาขานึง เยอะไปก็ไม่ดี
แต่ถ้าใครสนใจ ก็สามารถดูรายละเอียดของแต่ละหลักสูตร แล้วตัดสินใจ

Re: Money Talk @ SET 22 April 2018

โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 23, 2018 12:49 am
โดย amornkowa
Money Talk @ SET 22 April 2018
ช่วงที่2 หัวข้อ “ อยากเป็นนักลงทุนวีไอ ต้องทำยังไง ”


วิทยากร
1. ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร กูรูวีไอ
2. คุณ ธันวา เลาหศิริวงศ์ อดีตนายกสมาคมไทยวีไอ
3. คุณ วิบูลย์ พึงประเสริฐ นักลงทุนวีไออาวุโส
4. คุณ วราพรรณ วงศ์สารคาม แม่บ้านวีไอ
ดร. ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ

ดร ไพบูลย์บอกว่า หลายคนที่อยากเป็นวีไอ ฟังสัมมนาจะได้รู้ว่าเป็นอย่างไร
อาจารย์เสน่ห์เริ่มรายการด้วยกลอน

อยากจะเป็นวีไอ ไหมออเจ้า
ซื้อหุ้นเช้า บ่ายขาย ใช่ไหมหนอ
ฤาถือนาน นับพันปี ที่เฝ้ารอ
พื้นฐานก่อ เกิดวีไอ อย่างไรดี
ออกญาเต่า เจ้านิเวศน์ วิเศษยุทธ์
เปรียบประดุจ เจ้าตำรับ ทรัพย์เศรษฐี
รู้หลักการ ชำนาญกิจ คิดวิธี
แนวเช่นนี้ วีไอแท้ มิแปรไป
ขุนธันวา ศาสตราสรรพ รับมือเก่ง
คนกันเอง นายกฯเก่า เขาเคยใหญ่
มือบริหาร งานองค์กร ขจรไกล
รู้วีไอ รู้แนวทาง รู้กว้างจริง
หมื่นวิบูลย์ ประยูรวิทย์ คิดรอบคอบ
วีไอรอบ วีไอรู้ ผู้มาดนิ่ง
ยังทำงาน ขนานไป ไม่เคยทิ้ง
โด่งดังยิ่ง ตะแกรงหุ้น ลงทุนชัวร์
แม่ธีนุข วราพรรณ แม่บ้านหลัก
ผู้หลงรัก บ้านวีไอ อยู่ในหว
เปลี่ยนชีวิต คิดลงทุน หุ้นถูกตว
ปรบมือรัว วีไอสาว นะเจ้าคะ
ฟังแนวทาง อย่างวีไอ ให้ถึงแก่น
เป็นแบบแปลน จากกูรู ผู้ชนะ
ผ่านวิกฤติ พิชิตได้ ไม่ลดละ
ถึงเพลา ฟังจะจะ นะออเจ้า
ประพันธ์โดย อ เสน่ห์ ศรีสุวรรณ

คุณธันวา กล่าวเป็นท่านแรก
โดยการถามท่านผู้ชมว่าใครลงทุนเป็นปีแรก ใครเป็นวีไอยกมือขึ้น
วันนี้จะมาแลกประสบการณ์กัน
ตอนนั้นทำงานประจำ เคยลงทุนสมัยเรียนจบปริญญาตรีในปี1990
พอเรียนจบก็ไปทำงานที่ต่างประเทศ
ส่วนตัวต้องการมีรายได้เพิ่มเติมนอกจากรายได้ประจำที่เป็นเงินเดือนเลยไปลงทุนหุ้น
แต่ก็เกิดผิดพลาดการลงทุน เจอหลายวิกฤต เช่น ช่วงอิรักบุกคูเวต หรือ ต้มยำกุ้ง
เลยต้องศึกษาแนวทางลงทุนที่ถูกต้อง ที่สามารถชนะตลาดและเหมาะสมกับตัวเรา
อ่านหนังสือช่วงนั้น2เล่มคือ Rich Dad Poor Dad และหนังสือตีแตก
ก็มาพบ ดร นิเวศน์ พร้อมเพื่อนอีกคน ตอนดรเป็นที่ปรึกษา
คุณธันวาบอกว่า หนังสือตีแตกเป็นหนังสิอที่ดีมาก
ช่วงนั้นลงทุนในภาวะตลาดหุ้นที่ไม่ดี ดังนั้นจึงได้รับผลตอบแทนที่ดี
ตอนนี้ไม่ต้องห่วงภาระจากค่าใช้จ่ายประจำ
เกษียณจากงานตอนอายุ45ปี ตอนนี้ไม่ชอบการลงทุนมากเท่ากับในอดีต
ชอบการใช้ความรู้ที่มีไปใช้ในการทำงานมากกว่า
ตอนนี้ลงทุนห่างจากตลาด ซึ่งตรงกับแนวทางการดำเนินชีวิตของตัวเอง
เป็นกรรมการหลายที่ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
เคยลงทุนเจ็งตอนช่วงเริ่มลงทุนประมาณช่วง 4-5 ปีแรกของการลงทุน
โดยเอาเงินเก็บสะสมไว้แต่งงานเอามาลงทุนในหุ้น และ ขาดทุน
จนต้องกู้เงินมาแต่งงาน หลังจากนั้นสิบปีถึงเจอแนวทางการลงทุนแบบวีไอ

อาจารย์เสน่ห์ถาม จุดเปลี่ยนที่เป็นแนวทางลงทุนวีไอคืออะไร
คุณธันวาตอบ แนวทางมีหลายหลาย ผมเห็นชัดเจนคือเปลี่ยนแปลงจากการซื้อๆขายๆ
มาดูพื้นฐานของบริษัทก่อนซื้อ และ ค่อนข้างนิ่งในการตัดสินใจหลังพิจารณาพื้นฐานของบริษัทแล้ว
พอเราเข้าใจธุรกิจ แล้วเรารับความเสี่ยงได้ไหม
ถ้ารับได้ ถึงแม้มีผลกระทบต่อราคาหุ้น แต่ไม่กระทบถึงพื้นฐานของกิจการก็ถือต่อได้
เป็นคนที่ถือหุ้นได้อึดมากคนนึง

อาจารย์เสน่ห์ถามคุณนุช แม่บ้านวีไอด้วยคำถามเดียวกัน
คุณนุชตอบว่า จบม6มาต่อ พยาบาลเทคนิคเป็นเวลาสองปี
เงินเดือน เริ่มต้น 2,280 บาท ตอนอายุ 19 ปี
พอจบปกติคนส่วนใหญ่จะเรียนต่อพยาบาลสี่ปี เลยเลือกเรียนนักวิชาการสาธารณสุข
พอจบก็มาทำงานสถานพยาบาล ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน
อาจารย์เสน่ห์ก็เคยเป็นวิทยากรที่สถานพยาบาลด้วย
เริ่มทำงานและเก็บเงิน สะสมผ่านสหกรณ์
พอเงินเดือนขึ้นในปีต่อมา ส่วนที่เพิ่มก็จะไปฝากที่สหกรณ์ทั้งหมด
ยังทำงานพิเศษอีกหลายที่ ยังไม่รู้วิธีการลงทุนแบบอื่น
พ่อ และ แม่ ทำงานราชการเป็นครู
แม่จะขายผ้าไหม ทอง มาให้ลูกค้าผ่อน
ส่วนเตี่ยก็ไปถ่ายรูปตามงานต่างๆ
คุณนุชคิดว่ากว่าจะได้เงินมาก็ลำบากมาก
เคยทำงานพิเศษเป็นพยาบาลพิเศษที่โรงงาน ช่วง 18.00-6.00 ได้เงิน 800 บาทต่อครั้ง
วันธรรมดา ก็ทำได้แค่สองวัน โดยนั่งรถทัวร์กลับมาที่ทำงานที่สถานพยาบาล
แต่ถ้าเป็นวันเสาร์ อาทิตย์ ก็รับงานหมด เตรียมชุดไว้สำหรับstandby
ใครเรียกก็ไปแทนได้หมด

ถามคุณนุชต่อ หลังจากได้เงิน ทำอย่างไรต่อ
ตอบว่า เก็บเงินอย่างเดียว ไปเจอแฟนที่โรงงาน และแต่งงาน ก็ยังทำงานต่อ ไม่มีเวลาไปเที่ยว มีลูกคนเดียว มีลูกช้า
ส่วนอาจารย์เสน่ห์มีลูกแฝดก่อนไปเป็นวิทยากรตามที่ต่างๆ
เป็นนักลงทุนเริ่มจากอ่านที่ห้องพันธ์ทิพย์ ห้องสินธร สังเกตว่ามีสองแนวทางในการลงทุน
ส่วนตัวอดนอนเก่ง จะขยันอ่าน ลงทุนในคอนโดโดยใช้เงินสดและเงินกู้
ลงทุนหุ้นตัวแรกในปี 2010 เป็นหุ้นcommodity ซึ่งเป็นหนึ่งในหุ้นหกประเภทของปีเตอร์ ลินซ์ เราค้นหาข้อมูลก่อน ลูกจะเป็นแรงจูงใจในการลงทุน
ชีวิตไม่แน่นอน จะจินตนาการว่า ถ้าประสบอุบัติเหตุทั้งเราและสามี และมีประกันไว้ ก็จะมีคนช่วยเอาเงินมาดูแล
ลูก แต่เงินก็มีวันหมด มามองอีกทางคือ ปันผลจากหุ้น ที่ได้รับทุกปี และ เติบโตได้ ส่วนเงินต้นก็ยังอยู่
หลังลงทุนปี 2010 ได้6ปี ก็มีอิสรภาพทางการเงิน ออกจากงานมา แต่สามีคุณนุชยังทำงาน
เป็นคนหวังต่ำ หวังปันผลแค่6% ตอนนั้นทำงานจนเกษียณ ได้รับเงินเกษียณมารวมปันผลด้วยน่าจะอยู่ได้
ปรากฏว่าปันผลได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถส่งลูกไปโรงเรียนอินเตอร์ได้

ถามคุณวิบูลย์ ตะแกรงร่อนหุ้น เป็นกระทู้ในwebsite Thaivi ที่มีคนอ่านสัก2ล้านคน น่าจะเป็นกระทู้ที่คนอ่านมากสุด
ในThaivi จบวิศวะและเรียนต่อMBAที่อเมริกา ทำงานโรงงานสองปี และย้ายมาทำงานที่กรุงเทพ
ตอนปี2540 ไม่มีใครคิดว่าจะเจอวิกฤต ผมเข้าตลาดหุ้นช่วงนั้นพอดี ลงทุนกับบล ธนสยาม ที่เพื่อนทำงาน
ในหลวงแค่ถือหุ้นด้วย ไม่คิดว่า ธนาคาร เงินทุนจะล้มได้ เพื่อนชวนไปเปิดพอร์ต
เก็บเงินได้หนึ่งแสนบาท เลยไปเปิดพอร์ตโดยไม่มีความรู้ ดูว่าหุ้นที่มีมูลค่าสูงสุดห้าตัว คือ ธนาคาร
ซื้อหุ้นธนาคารตัวหนึ่งราคา 100 บาท ผ่านไปสองวัน 105 บาท
พอ 107 บาท ก็ซื้อเพิ่ม และซื้อล่าสุด 120 บาท
หลังจากนั้นไม่เคยเห็นราคานี้อีกเพราะเจอวิกฤตปี40
ทำให้พอร์ตจากแสนบาทเหลือแค่หนึ่งหมื่นบาท

อ เสน่ห์ เสริมว่าเคยไปรายการ มาตามนัด ได้รางวัลมาแสนบาท
มาลงทุนหุ้นธนาคารหนึ่งแสนบาท ตอนนี้หุ้นเปลี่ยนเป็นกระดาษไปแล้ว

คุณวิบูลย์ เริ่มรู้ว่าไม่ใช่เซียนแล้วเป็นแมงเม่า เริ่มเก็บเงินใหม่ ผ่านไปสองหรือสามปี มีเพื่อนเอาหนังสือBuffettlogy เขียนโดยแมรี่ :ซึ่งตอนนั้นไม่มีใครรู้จักการลงทุนแบบวีไอ
หลังจากศึกษา ก็เอาเงินหลายแสนบาท เริ่มเข้าซื้อหุ้น แนววีไอ โดยเลือกหุ้นเป็นรายตัว
ตอนนั้นหนังสือแนววีไอในไทย จะมีแค่เล่มเดียว คือ แกะรอยเซียนหุ้น
ต่อมาพบว่า website thaivi แต่ก็ไม่ได้เข้าไปอ่าน
เพื่อนมีการเขียนpostอ้างถึงคุณวิบูลย์ช่วยมาตอบกระทู้ website thaivi
เลยพบว่ามีนักลงทุนแนวเดียวกันอีกหลายคน
หลังจากนั้นไม่นานก็มีจัดงานที่ตลาดหลักทรัพย์ วิทยากรคือ คุณธันวา และ คุณมนตรี ซึ่งเขียนหนังสือร่วมกันภายหลัง
พอเลิกสัมมนา คุณธันวา ก็post ว่าคุณวิบูลย์มีหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหุ้นมีอะไรบ้าง
นั่นคือจุดเริ่มต้นในการpost ใน Thaivalueinvestor.com
ตะแกรงร่อนหุ้นอยู่ในหน้าแรกของwebsite เลย ตอนหลังจะจัดอยู่ใน value investor
เขียนไป20หน้ายังไม่เจอชื่อหุ้น ตอนหลัง Wingmedia ก็นำไปรวมเล่ม ชื่อ ตะแกรงร่อนหุ้น

ดร นิเวศน์ เล่าย้อนหลัง เกี่ยวกับวีไอ movement
ตั้งแต่ชุดแรก ซึ่งรวมถึงผมด้วย หนังสือตีแตกทำให้คนสนใจแนวทางการลงทุนแบบวีไอ
ตอนนั้นยังไม่ประสบความสำเร็จ มีคนมาสนใจ มีคนที่เชี่ยวชาญwebsiteมาทำwebsite
เพิ่มขึ้น ปีแรกที่ทำ ได้10%ต้นๆสำหรับผลตอบแทน ปีต่อมาก็ได้10% แต่ถ้าเทียบกับผลตอบแทนของตลาดที่ติดลบ50% ถือว่าน่าสนใจ ลงทุนก่อนหน้าคุณวิบูลย์ ช่วงแรก ตอนเป็นผู้บริหารบล ก็ซื้อๆขายๆ แต่ต่อมาลงทุนด้วยตนเอง ลงทุนถือยาวขึ้น เป็น 2-3 เดือน แต่หุ้นต้องมีสภาพคล่อง
ตอนช่วงปลาย เศรษฐกิจจะพัง เริ่มไม่มีงานทำ ธนาคาร สถาบันการเงินเริ่มปล่อยกู้ได้ยาก
เอาเงินคืนก็ไม่ได้ แต่ยังไม่ได้ลดค่าเงิน ภายในเริ่มรู้กันเพราะไม่มีงานทำ
ต้องศึกษาแนวทางการลงทุน ช่วงนั้นยังไม่ปิดธนาคาร
พอเกิดวิกฤต เรือก็จม ได้ซองขาวแต่ไม่ได้เงิน ให้พ้นจากสภาพการเป็นพนักงานบริษัท
เป็นคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทย
พอรับซอง เราคิดอยู่แล้วว่ายังไงก็อยู่ไม่ได้
ลอยคว้างไม่กี่วัน เพื่อนชวนไปเป็นที่ปรึกษา รับเงินนิดหน่อยก็ยังดี
ตอนนั้นลงทุนเป็นเรื่องราว การงานชั่วคราวไม่รู้ว่าจะเลิกเมื่อไหร่
ช่วงนั้นก็เขียนหนังสือตีแตก โดยเขียนจากวิธีการลงทุนจริงแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ
ตอนนั้นเริ่มเห็นว่าเป็นโอกาสเหมาะสำหรับการลงทุนแบบใหม่ ถือเป็นการเริ่มศักราชใหม่
เริ่มก่อตั้งชุมนุมลงทุนหุ้นคุณค่า มีการบรรยายบ้างนิดหน่อย
ปรากฏว่าคนชุดนั้นที่มาฟังหายไปมาก เลิกการเป็นวีไอ ตอนนั้นเหมือนคนจมน้ำ
หาอะไรเกาะไว้ก่อน เย็นวันนึง คุณธันวากับเพื่อนมาหาผมที่บริษัทตอนเป็นที่ปรึกษา
พอลงทุนตอนนั้นเป็นแบบเพื่อชีวิต เก็บเงินแบบคุณนุช ทำโรงงานไม่มีค่าใช้จ่ายอะไร
ยกเว้นซื้อยาสีฟันอย่างเดียว มีจักรยานให้ โรงงานน้ำตาลรายได้ดี ตอนปิดหีบได้เงิน
สองเท่าช่วงปิดหีบ แต่พอเรียนต่อนิด้า ก็ใช้เงินส่วนนี้ ต่อปริญญาเอกก็ใช้เงินที่เก็บหมด
หลังจบปริญญาเอก ไม่มีเงิน มีแค่แหวนวงเดียวจากร้าน Service&Merchantdise ซึ่งมีขายเพชร ไปถึง ตะปู กลับมาเมืองไทยเอาแหวนมาขอแต่งงาน
ภรรยาชอบแหวนนี้เพราะมีคุณค่าทางจิตใจ ดร นิเวศน์ตอนนี้อายุ30กว่าปี ไม่มีเงินเก็บ
หลังแต่งงานก็อาศัยกับบ้านของภรรยา และ สามารถทุ่มเงินไปลงทุนได้ เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายทางบ้าน จนตกงานอายุ40กว่าปี สะสมเงิน10ปี เอาเงินก้อนนี้มาลงทุนเพื่อชีวิต เพราะงานไม่แน่นอนหลังออกจากงาน
สถาบันการเงินไม่รับคนเพิ่ม ลงทุนมาเรื่อยๆ หลังปี43 ศกเริ่มฟื้น ตลาดหุ้นก็ฟื้นตาม
เริ่มลงทุนในแนววีไอตอนอายุ40กว่าปี ดัชนีลงจาก1789 จุดมาถึง 204 จุด ลงทุนในหุ้นที่ไม่มีสภาพคล่อง เช่น หุ้นขายบะหมี่ เป็นบริษัทไม่มีหนี้ กำไรดี ยอดขายไม่ตก ซื้อได้รับปันผล
ตอนอายุ52ปี ลาออกจากงาน หลังทำงานได้อีก 10ปี เกษียณออกมา แต่จริงไม่อยากเกษียณ
เพราะตราบใดที่ได้เงินเดือน โบนัส ดูมีstatus
แต่ถึงจุดนั้น pressureหนักมาก บางทีอาจติดคุกได้
หลังออกจากงานก็เลยมาทำงาน Money Talk ปรากฏว่ารายการนี้เจ็ง
ถ้าเราออกไม่แน่ว่าจะเจ็ง
ในระหว่างนั้น หลังปี40 เขียนหนังสือวีไอมาตลอดเกือบ20เล่ม
และลงทุนในแนวทางวีไอมาตลอด
เขียนจนไม่มีประเด็นจะเขียน มีซ้ำบ้าง หลังๆก็มีเอาจากรายการmoneytalk
หลังจากนั้นก็ได้รับเชิญไปพูดลงทุนต่างประเทศ
การลงทุนวีไอ หุ้นไม่หวือหวา ขาดทุนแค่2ปีจากลงทุน20กว่าปี เทียบกับวอร์เรน บัฟเฟตต์
50-60 ปีที่ลงทุนขาดทุนแค่ 5-6 ปี
ตอนนี้เริ่มรู้สึกตันๆ ทุกคนก็เป็นวีไอ เราเริ่มหมดมุขแล้ว
ปีทองที่ผ่านมา 20 ปี ของผมน่าจะใกล้หมด

ถามคุณธันวา เรื่องหลักการวีไอที่ควรต้องมี
ตอบ ก่อนอื่น การลงทุนมีหลายแนว แนววีไอ แนวเทคนิค
ทุกคนที่ประสบความสำเร็จ ต้องชำนาญในแนวนั้นและมีความเชื่อในการลงทุนแนวนั้น
แต่ต้องถือหุ้นนานพอสมควร
หลักการ หรือ ทฤษฏี มีผลต่อความสำเร็จแค่ 25%
อีก 75%คือวิธีปฎิบัติ หรือ จิตวิทยาการลงทุน
ถ้าเราอยู่ใกล้ตลาด อาจใช้อารมณ์มากกว่า
การลงทุนแนววีไอ อาศัยเหตุผลมากกว่าการใช้อารมณ์
ผลตอบแทนที่รับได้ 12-15% ต่อปี
ถ้าเหตุการณ์ที่มากระทบ ไม่กระทบต่อปัจจัยพื้นฐาน ก็ไม่ขายและมาเก็บภายหลัง
เพราะจุดมุ่งหมายการลงทุนเราต้องการมีความสุข
การอยู่ใกล้ตลาดหลักทรัพย์ ถ้าตัดสินใจผิดพลาดจะเสียใจมากกว่าตัดสินใจถุกมาก
มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
ลงทุนตามแนวทางการใช้ชีวิตของเรา
ผมไม่ชอบความเสี่ยง อนุรักษ์นิยม เก็บเงินเหมือนดร นิเวศน์
การลงทุนแนววีไอ ฟิตกับการใช้ชีวิตของผม
ถ้าเราชอบเสี่ยง จะลงทุนแนววีไอ จะฝืน จะอยู่ได้ไม่นาน
ประเด็นที่สอง การลงทุนไม่สูตรสำเร็จสำหรับใครทุกคน
เราต้องหาแนวทางของเราให้เจอ หาสูตรสำเร็จของเราให้เจอ
เราฟังมา ได้ข้อมูล และ ไปประมวลให้เป็นแนวทางของเรา
ถึงแม้ อ นิเวศน์ลงทุนหุ้นกลุ่มนี้ แต่ถ้าไม่เหมาะกับเรา ก็หาหุ้นที่เหมาะสมกับเรา
เรามาถึงจุดๆนั้น ว่าได้แนวทางการลงทุนของเรา เราวางแผนมาอย่างดี
ถึงเวลาเราได้ปฏิบัติตามที่วางแผนหรือเปล่า
เพื่อนหลายๆคนเป็นแนวเทคนิค ถึงเวลาต้องcut loss ก็ต้องปฏิบัติตาม

ถามว่า ได้ลงทุนหุ้นอภินิหารหรือไป
ตอบ บางทีก็ลงทุนแบบขำๆ แต่ก็ได้บทเรียนมา
ผมลงทุนในตลาดหุ้นหมด ผมลงทุนมา25 ปี
สองปีที่ผ่านมาเป็นจุดตัด ถ้าไม่ได้ผลตอบแทนจากเงินลงทุน
เงินที่เก็บสะสมจากการทำงานตั้งแต่แรกก็หมอพอดี
ปกติใช้จ่ายส่วนตัวไม่สูง แต่มีภาระส่งลูกทั้งสองคนไปเรียนต่างประเทศ
และซื้อบ้านที่ต่างจังหวัด และคอนโดในกรุงเทพอีกแห่ง
ภรรยาของคุณธันวาไม่ได้ทำงานตั้งแต่ปี1995
ภรรยาเป็นส่วนสำคัญ ถ้าเขาไม่เข้าใจ ก็จะมีคำถามมาเยอะ
แต่แนวทางและผลตอบแทนที่ผ่านมาทำให้ภรรยาเริ่มมั่นใจได้
เรามีสติก็พร้อมจะทำ
ผมไม่ได้ซื้อๆขายๆบ่อย มองหุ้นเป็นกิจการ
ตอนทำงานประจำ ทำงานหนัก
ผมเลยเลือกหุ้นอย่างดี ปล่อยให้ผู้บริหารเป็นคนดำเนินกิจการไป
ในระยะยาวถ้าผลตอบแทนได้พอใจ ก็ไม่ต้องทำอะไร ผมลงทุนหุ้นไม่กี่ตัว

อาจารย์เสน่ห์ถามคุณนุช ว่าหลักวีไอที่ควรมี ในความคิดของคุณนุช
คุณนุช บอกว่า ชอย้อนไปช่วงก่อนหน้านี้ที่บอกว่าอ่านข้อมูลจากWebsite Pantip
ก็ได้ดูรายการMoneyTalk ซึมซาบเนื้อหาจากวิทยากรหลายๆท่าน
คุณนุชบอกว่า การเลือกครูบาอาจารย์ที่ดี แล้วสิ่งที่ฟังจากครู ก็ทำตามที่ครูบอก
อาจารย์ไพบูลย์แนะนำบ่อยๆเรื่องการประหยัด เน้นเรื่องการออม
จากการติดตามรายการMoneyTalk ค่อยๆปลูกฝังในตัวเรา
ตอนลงทุน เอาความรู้เหล่านี้นำมาใช้
หนังสือเล่มแรกที่อ่าน คือหนังสือ ตีแตก เจอถูกแนวตั้งแต่ต้น
ข้างหลังหนังสือตีแตก จะมีการแนะนำ website Thaivi ซึ่งก็เข้าศึกษาหาความรู้ต่อในwebsite
ความรู้ถูกจัดเป็นหมวดหมู่ ค้นหาง่าย

สิ่งที่จำเป็นคือ
ไม่ว่าเราจะฟัง หรือ ชม ก็คือการลงมือทำ
อ่านแล้วรู้สึกดี พอกลับไปบ้าน เราต้องเอาไปลงมือทำ
หลักการการลงทุน ต้องอาศัยจิตใจที่แข็งแกร่ง เราสามารถทนทานต่อความผันผวนได้
คล้ายการวางแผนทางการเงินของบ้านเรา ต้องไม่ก่อหนี้
บริษัทต้องไม่ก่อหนี้สินมากเช่นกัน
จะมองหุ้นเป็นธุรกิจ มองอย่างรอบคอบ
เราหาเงินอย่างยากลำบาก รักในเงินที่เก็บพอสมควร
ลงทุนแบบconservative ไม่อยากลงทุนหวือหวา
เราไม่อยากกลับไปจุดเริ่มต้น เลยไม่สนใจหุ้นปั่น
เวลาลงทุน มองทั้ง upside และ downside
ถ้ามีdownsideเยอะ ก็จะไม่ลงทุน
ต้องรอบคอบเสมอเหมือนกับการวางแผนทางการเงิน

คุณวิบูลย์ กล่าวเป็นคนต่อมาในเรื่องหลักการของวีไอ
จากการสังเกต วีไอต่างประเทศ หรือ วีไอในประเทศที่ประสบความสำเร็จนั้น
มีคุณสมบัติเหมือนกัน 2 อย่าง ได้แก่

1. รักการอ่าน ชอบค้นคว้า เช่น ดร นิเวศน์ หรือ คุณ วอร์เรน บัฟเฟตต์
ตอนนี้ บิลเกตต์ก็ลงทุนแนววีไอ โดยซื้อหุ้น Berke shireที่วอร์เรน บัฟเฟตต์บริหารอยู่
บิลเกตต์ก็เป็นคนรักการอ่าน
นักลงทุนรุ่นใหม่โชคดีมาก มีหนังสือลงทุนแนววีไอแปลเป็นภาษาไทยแทบทุกเล่มแล้ว
ตอนนี้ก็ดูYoutube Moneytalkได้อีก
นักลงทุนวีไอทุกคนชอบศึกษา ค้นคว้าในบริษัทที่จะลงทุนด้วย ก่อนที่จะเข้าไปลงทุน
ศึกษาว่า บริษัททำอะไร ใครเป็นผู้ถือหุ้น แผนธุรกิจของกิจการคืออะไร

2. วีไอ ไม่ใช่เฉพาะการลงทุนอย่างเดียว เป็นการใช้ชีวิตแบบวีไอด้วย
เหมือนกับการซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่า
เวลาเลือกซื้อของ จะเลือกของที่มีมูลค่ามากกว่าราคาที่จ่ายด้วย
คุณวอร์เรน บัฟเฟตต์ก็ใช้รถเก่า หรือ บ้านเดิมที่อยู่อาศัยตั้งแต่แรกก็ยังไม่เปลี่ยน ไม่มีเครื่องบิน
หรือ เรือยอร์ชส่วนตัว
ส่วนดร นิเวศน์ มีรถ 2 คัน คันแรก 20 ปี คันที่สองก็รถญี่ปุ่น อายุรถก็ 10 ปีแล้ว เป็นแบบ Hybrid ใช้รถอย่างคุ้มค่า
การใช้ชีวิตแบบวีไอ คือ อยู่บ้านหลังเดิม ภรรยาของคุณวิบูลย์ถามว่าเมื่อไหร่ซื้อบ้านใหม่
ผมตอบว่าอีก 30 ปี ค่อยซื้อใหม่

ดร นิเวศน์ พูดถึงหลักการวีไอ
เลือกหุ้นที่ดี กระจายความเสี่ยงพอสมควร หุ้นตัวใหญ่สัก5-6ตัวที่มีสภาพคล่อง
ถือหุ้นระยะยาว มีการปรับหุ้นบ้าง เฉลี่ยปีละหนึ่งตัว
หุ้นที่เลือก ต้องเป็นหุ้นที่แข็งแกร่ง เก่งกว่าคู่ต่อสู้ หรือ ผูกขาดในธุรกิจ
บริษัทไม่ล้มหายตายจาก ยอดขายไม่ลดลง
ถ้าดีขึ้นไปอีก มีการเติบโตด้วย สัก10%ยิ่งดี แต่อย่าเติบโตเร็วเกินไป
เพราะปกติบริษัทไม่สามารถเติบโตเร็วมากๆในระยะยาว
ซื้อหุ้นในราคาค่อนข้างยุติธรรม ถ้าราคามีส่วนลดก็ดี ระดับPE 17-18 เท่า ก็ยังไม่แพง
ถ้าPE = 50 เท่า เราก็อย่าไปแตะมัน
ถ้าหุ้นถูกก็ยิ่งดี PE 10 เท่า โดยมีความแข็งแกร่งระดับนึง
ถือหุ้นสัก 5-10 ตัว เป็นพอร์ตระยะยาว แต่มีการวิเคราะห์หุ้นด้วย
ถ้ามีตัวไหนราคาขึ้นดีจนแพงไป ก็ขายเปลี่ยนตัวโดยเฉลี่ยปีละหนึ่งตัว
แต่ถ้าหุ้นที่แข็งแกร่ง ราคาร่วงแรงก็ช่างมัน เพราะเรามีหุ้นหลายตัวในพอร์ต
อย่าไปคาดว่าหุ้นจะตกอีก ไม่ต้องสนใจมัน
ส่วนหุ้นที่ขึ้นไปมากกว่าปกติ ก็ไม่ต้องขาย ปล่อยมันเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ
เลือกหุ้นอย่างถูกต้อง มีกลยุทธ์ที่ถูกต้อง ไม่ต้องรีบซื้อหรือขาย
นอกจากกว่า วิเคราะห์แล้วความแข็งแกร่งลดลงเรื่อยๆ ก็อาจมีการเปลี่ยนตัว
ยุทธศาสตร์ หรือ Strategy เป็นเรื่องสำคัญ อย่าไปคาดการณ์รายละเอียดปลีกย่อย (Tactical)
ผมไม่ต้องตัดสินใจ เพราะอาจผิด หรือ ถูกก็ได้
Timing ในการขายหุ้น ไม่มีใครรู้จริง
ถือไปเรื่อยๆ Moveไปเรื่อยๆ หลายตัวก็ถือไปเรื่อยๆยังไม่เปลี่ยนตัว
มีหุ้นบางตัวราคาตกมาเยอะก็ปล่อยไว้ในport
ตราบใดที่ยังไม่ขาดทุน เพราะซื้อมานานแล้ว ต้นทุนถูกมาก
ไม่ได้คอยจ้องซื้อ จ้องขาย ตามข่าว
อาจารย์ เสน่ห์ บอกว่า เราไม่รู้ทุกเรื่อง คนบ้าก็อาจไม่ได้โง่ก็ได้
อาจารย์ยกตัวอย่างเหตุการณ์ในโรงพยาบาล
หมอกับคนบ้าคุยกัน คนบ้าถามกบทำไมบินได้
หมอปกติมีตรรกะในการคิด แต่คิดไม่ออก คนบ้าบอกว่าก็ทานยาวิเศษเลยบินได้
ต่อมาก็เป็นเรื่องงูก็บินได้เพราะกินกบไป จนท้ายสุดถามหมออีกว่านกเหยี่ยวทำไมบินได้
หมอก็เลยตอบว่า นกเหยี่ยวก็กินงูไปนะสิก็เลยบินได้ คนบ้าตอบกลับว่าหมอท่าจะบ้า
นกเหยี่ยวมันบินได้อยู่แล้ว อย่าคิดว่าคนเราจะฉลาดทุกเรื่อง
นักเรียนเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ก็เล่นหุ้นขาดทุนได้

ดร ไพบูลย์บอกว่า อย่างคุณนุข ก็สามารถลงทุนจนมีอิสรภาพทางการเงินได้
ซึ่งจะใช้จ่ายได้อย่างสบาย ไม่จำเป็นต้องลงทุนแบบเสี่ยงๆ
ถึงแม้จะคุยเรื่องการลงทุนแบบวีไอ เป็นกรอบแบบง่ายสุด ผิดศีลน้อยสุด
ให้เป็นหลักยึดของนักลงทุน
แต่การลงทุนหุ้นซึ่งก็มีความเสี่ยง เป็นการสร้างกิเลสได้มากกว่าการฝากเงินแบบธรรมดา
เป็นการลงทุนในหุ้นที่มีทั้งตัวกระตุ้นเรา โลภะหรือโลภ เมื่อราคาหุ้นขึ้น
โทสะหรือโกรธเมื่อราคาหุ้นลง และยังมี โมหะ เกิดการเข้าใจผิดว่าการลงทุนในหุ้นนั้นเป็นสัจธรรมของเรา
ซึ่งจริงๆไม่ใช่ ขอให้นักลงทุนทุกท่านมีอิสรภาพทางการเงิน สุขภาพจิตดี อายุยืน ก็พอแล้ว
พบกันคราวหน้าวันที่ 27 พค 2561 เวลา 13.30 น.

สุดท้ายขอขอบคุณวิทยากรทุกท่าน ดร ไพบูลย์ อาจาย์เสน่ห์ ดร นิเวศน์ และทีมงานMoneytalkทุกท่าน

Re: Money Talk @ SET 22 April 2018

โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 23, 2018 8:03 am
โดย theenuch
ขอบคุณพี่อมรมากๆ เลยค่ะ ^^

Re: Money Talk @ SET 22 April 2018

โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 23, 2018 9:36 am
โดย amornkowa
theenuch เขียน:ขอบคุณพี่อมรมากๆ เลยค่ะ ^^
ยินดีครับคุณนุช
เสียดายเมื่อวานไม่ได้ถ่ายรูปกับคุณนุชเลย

Re: Money Talk @ SET 22 April 2018

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ค. 02, 2018 12:44 pm
โดย i-salmon
ขอบคุณคร้าบ พี่อมร ตามมาอ่านย้อน
วันนั้นเที่ยวกลับมาพอดี ทันได้ดู live พี่นุช อิอิ

Re: Money Talk @ SET 22 April 2018

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ค. 12, 2018 5:50 am
โดย amornkowa
i-salmon เขียน:ขอบคุณคร้าบ พี่อมร ตามมาอ่านย้อน
วันนั้นเที่ยวกลับมาพอดี ทันได้ดู live พี่นุช อิอิ
โชคดีที่มีfb liveเลยดูที่ไหนก็ได้