คุณจะแก้ตัวอย่างไร หากเป็นฝ่าย 'แพ้' วอร์เรน บัฟเฟตต์
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 23, 2018 9:40 pm
คุณจะแก้ตัวอย่างไร หากเป็นฝ่าย 'แพ้' วอร์เรน บัฟเฟตต์ / ชัชวนันท์ สันธิเดช
บทสรุปมหากาพย์การเดิมพันแห่งทศวรรษ อันน่าจะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน
หลังจากวัดกันมาสิบปีเต็ม ก็จบลงแล้วอย่างเป็นทางการ สำหรับการท้าเดิมพันแห่งทศวรรษ ระหว่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ กับ ทอม เซเดส ผู้จัดการเฮดจ์ฟันด์ ว่า 'กองทุนอิงดัชนี' ที่มีค่าธรรมเนียมต่ำๆ กับ 'เฮดจ์ฟันด์' ที่คิดค่าธรรมเนียมแพงระยับนั้น อะไรจะทำผลตอบแทนได้ดีกว่ากัน
ซึ่งผลก็ออกมาตามคาด โดยกองทุนอิงดัชนี S&P 500 ที่ปู่เลือกมา ทำผลตอบแทนทบต้นได้ปีละ 7.1% ขณะที่เฮดจ์ฟันด์หลายกองของฝ่ายผู้ท้าชิง ทำได้เพียงปีละ 2.2% แพ้ชนะกันขาดลอย
หลังจากปราชัย ฝ่ายผู้แพ้คือเซเดส ได้เขียนบทความสรุปความพ่ายแพ้ของตัวเองเป็นข้อๆ ลงในเว็บไซต์บลูมเบิร์ก ซึ่งผมขอเอามาสรุปไว้ให้ได้อ่านกัน ณ ที่นี้
ข้อแรก เซเดสบอกว่า ในปี 2008 ที่เขาเริ่มต้นเดิมพันกับปู่นั้น ดัชนี S&P 500 อยู่ในระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับอดีต เขาจึงเชื่อว่าต่อมามันน่าจะปรับลดลง ซึ่งคงจะทำให้เฮดจ์ฟันด์ที่ทำกำไรได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง 'ชนะ'
แต่ปรากฏว่า ดัชนีกลับปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นเวลายาวนานถึงเก้าปี จนปัจจุบันซื้อขายกัน ณ ระดับราคา 29 เท่าของกำไรเฉลี่ยในรอบสิบปีหลัง อันเป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ข้อที่สอง ในช่วงตลาดหมี เฮดจ์ฟันด์มักทำผลงานได้ดีกว่าดัชนีตลาด เพราะมีเครื่องมือลดความเสี่ยง ดังนั้น พอวิกฤตการเงินผ่านพ้นไป ผลงานของเฮดจ์ฟันด์จึงปรับลดลงมา ข้อที่สาม เขาบอกว่า S&P 500 เป็น 'active bet' คือการลงทุนเชิงรุก ไม่ใช่ 'passive investing' อย่างที่คิดกัน เพราะกระจุกอยู่กับหุ้นตัวใหญ่ๆ ของสหรัฐฯ อีกทั้งยังมีคนแห่เข้าไปลงทุนมากมาย
พูดง่ายๆ ก็คือ เขาอ้างว่า การลงทุนใน S&P 500 ไม่ใช่ไม่เสี่ยง แต่ 'เสี่ยง' แล้ว 'ชนะ' ต่างหาก
ข้อที่สี่ เหตุที่เฮดจ์ฟันด์ 'แพ้' ไม่ได้เกิดจากค่าธรรมเนียม โดยยกตัวอย่าง index fund ที่ลงทุนตาม MSCI All Country World Index ซึ่งค่า fee ถูกมาก ทั้งยังกระจายการลงทุนออกไปสุดๆ โดยชี้ให้เห็นว่าทำผลงานได้ไม่ต่างจากกองที่เขาเลือก ข้อที่ห้า เซเดสบอกในทำนองว่า การที่ S&P 500 ขึ้นมาขนาดนี้ เป็นเพียง 'เรื่องบังเอิญ' ที่เกิดได้
และข้อสุดท้าย เซเดสอ้างว่า ด้วยความที่ S&P 500 'เฟ้อ' ขนาดนี้ หากจะลงทุนกันให้ยาวขึ้น เช่น วัดกันไปอีกสิบปี โดยเพิ่มเงินเดิมพันเป็นสองเท่า เฮดจ์ฟันด์ของเขามีโอกาสงดงามสุดๆ ที่จะ 'กลับมา' เป็นฝ่ายชนะ
ทั้งหมดคือคำอธิบายของ 'ผู้แพ้' อย่างทอม เซเดส ซึ่งพอสรุปได้ว่า สาเหตุหลักที่บัฟเฟตต์ชนะ เกิดจากการ 'เลือกม้าถูกตัว' คือ 'S&P 500' ไม่ใช่ข้อสรุปว่ากองทุนอิงดัชนีน่าลงทุนกว่าเฮดจ์ฟันด์
แต่ผมขอย้อนถามกลับไปง่ายๆ ว่า เหตุใดผู้บริหารกองทุนอย่างเซเดสจึงไม่รู้ล่วงหน้าถึงปัจจัยต่างๆ ตามที่ยกมากล่าวอ้าง และหากไม่มีทางที่จะรู้ได้ ผู้ลงทุนอย่างเราๆ จะเสี่ยงลงทุนกับเฮดจ์ฟันด์ไปทำไม สู้ถือหางกองทุนอิงดัชนี (ซึ่งเขาอ้างว่ามีปัจจัยแทรกซ้อนโน่นนี่มาช่วยให้ชนะ) ต่อไปไม่ดีกว่าหรือ?
และนี่คือบทสรุปของมหากาพย์การเดิมพันแห่งทศวรรษ อันน่าจะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนของเราได้บ้าง อย่างน้อยก็ในเชิงหลักการ แม้จะเป็นคนละประเทศกันก็ตาม
บทสรุปมหากาพย์การเดิมพันแห่งทศวรรษ อันน่าจะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน
หลังจากวัดกันมาสิบปีเต็ม ก็จบลงแล้วอย่างเป็นทางการ สำหรับการท้าเดิมพันแห่งทศวรรษ ระหว่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ กับ ทอม เซเดส ผู้จัดการเฮดจ์ฟันด์ ว่า 'กองทุนอิงดัชนี' ที่มีค่าธรรมเนียมต่ำๆ กับ 'เฮดจ์ฟันด์' ที่คิดค่าธรรมเนียมแพงระยับนั้น อะไรจะทำผลตอบแทนได้ดีกว่ากัน
ซึ่งผลก็ออกมาตามคาด โดยกองทุนอิงดัชนี S&P 500 ที่ปู่เลือกมา ทำผลตอบแทนทบต้นได้ปีละ 7.1% ขณะที่เฮดจ์ฟันด์หลายกองของฝ่ายผู้ท้าชิง ทำได้เพียงปีละ 2.2% แพ้ชนะกันขาดลอย
หลังจากปราชัย ฝ่ายผู้แพ้คือเซเดส ได้เขียนบทความสรุปความพ่ายแพ้ของตัวเองเป็นข้อๆ ลงในเว็บไซต์บลูมเบิร์ก ซึ่งผมขอเอามาสรุปไว้ให้ได้อ่านกัน ณ ที่นี้
ข้อแรก เซเดสบอกว่า ในปี 2008 ที่เขาเริ่มต้นเดิมพันกับปู่นั้น ดัชนี S&P 500 อยู่ในระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับอดีต เขาจึงเชื่อว่าต่อมามันน่าจะปรับลดลง ซึ่งคงจะทำให้เฮดจ์ฟันด์ที่ทำกำไรได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง 'ชนะ'
แต่ปรากฏว่า ดัชนีกลับปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นเวลายาวนานถึงเก้าปี จนปัจจุบันซื้อขายกัน ณ ระดับราคา 29 เท่าของกำไรเฉลี่ยในรอบสิบปีหลัง อันเป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ข้อที่สอง ในช่วงตลาดหมี เฮดจ์ฟันด์มักทำผลงานได้ดีกว่าดัชนีตลาด เพราะมีเครื่องมือลดความเสี่ยง ดังนั้น พอวิกฤตการเงินผ่านพ้นไป ผลงานของเฮดจ์ฟันด์จึงปรับลดลงมา ข้อที่สาม เขาบอกว่า S&P 500 เป็น 'active bet' คือการลงทุนเชิงรุก ไม่ใช่ 'passive investing' อย่างที่คิดกัน เพราะกระจุกอยู่กับหุ้นตัวใหญ่ๆ ของสหรัฐฯ อีกทั้งยังมีคนแห่เข้าไปลงทุนมากมาย
พูดง่ายๆ ก็คือ เขาอ้างว่า การลงทุนใน S&P 500 ไม่ใช่ไม่เสี่ยง แต่ 'เสี่ยง' แล้ว 'ชนะ' ต่างหาก
ข้อที่สี่ เหตุที่เฮดจ์ฟันด์ 'แพ้' ไม่ได้เกิดจากค่าธรรมเนียม โดยยกตัวอย่าง index fund ที่ลงทุนตาม MSCI All Country World Index ซึ่งค่า fee ถูกมาก ทั้งยังกระจายการลงทุนออกไปสุดๆ โดยชี้ให้เห็นว่าทำผลงานได้ไม่ต่างจากกองที่เขาเลือก ข้อที่ห้า เซเดสบอกในทำนองว่า การที่ S&P 500 ขึ้นมาขนาดนี้ เป็นเพียง 'เรื่องบังเอิญ' ที่เกิดได้
และข้อสุดท้าย เซเดสอ้างว่า ด้วยความที่ S&P 500 'เฟ้อ' ขนาดนี้ หากจะลงทุนกันให้ยาวขึ้น เช่น วัดกันไปอีกสิบปี โดยเพิ่มเงินเดิมพันเป็นสองเท่า เฮดจ์ฟันด์ของเขามีโอกาสงดงามสุดๆ ที่จะ 'กลับมา' เป็นฝ่ายชนะ
ทั้งหมดคือคำอธิบายของ 'ผู้แพ้' อย่างทอม เซเดส ซึ่งพอสรุปได้ว่า สาเหตุหลักที่บัฟเฟตต์ชนะ เกิดจากการ 'เลือกม้าถูกตัว' คือ 'S&P 500' ไม่ใช่ข้อสรุปว่ากองทุนอิงดัชนีน่าลงทุนกว่าเฮดจ์ฟันด์
แต่ผมขอย้อนถามกลับไปง่ายๆ ว่า เหตุใดผู้บริหารกองทุนอย่างเซเดสจึงไม่รู้ล่วงหน้าถึงปัจจัยต่างๆ ตามที่ยกมากล่าวอ้าง และหากไม่มีทางที่จะรู้ได้ ผู้ลงทุนอย่างเราๆ จะเสี่ยงลงทุนกับเฮดจ์ฟันด์ไปทำไม สู้ถือหางกองทุนอิงดัชนี (ซึ่งเขาอ้างว่ามีปัจจัยแทรกซ้อนโน่นนี่มาช่วยให้ชนะ) ต่อไปไม่ดีกว่าหรือ?
และนี่คือบทสรุปของมหากาพย์การเดิมพันแห่งทศวรรษ อันน่าจะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนของเราได้บ้าง อย่างน้อยก็ในเชิงหลักการ แม้จะเป็นคนละประเทศกันก็ตาม