ควรมีเงินสดเท่าไหร่ในพอร์ต (ตอนที่ 1)
โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 18, 2017 12:01 pm
#ควรมีเงินสดเท่าไหร่ในพอร์ต (ตอนที่ 1)
.
นี่นับได้ว่าเป็นคำถามสุดฮิตคำถามหนี่ง ที่ถามกันแล้วถามกันอีกอย่างไม่รู้จักเบื่อ ส่วนหนึ่งผมคิดว่าเป็นเพราะนักลงทุนยังไม่ได้คำตอบที่พอใจ วันนี้ผมเลยจะลองถามเองตอบเองอีกสักรอบครับ
.
สาเหตุที่คนถามก็ถามแล้วถามเล่า คนตอบก็ตอบแล้วตอบอีก ผมคิดว่าเป็นเพราะโจทย์มันไม่เคลียร์ ก็เลยทำให้ตอบยังไงก็ไม่กระจ่างครับ
.
ที่ไม่เคลียร์ก็ตรงเงินสดในคำถามนั่นเองครับ ซึ่งผมว่ามันข้ามไปหลายขั้นตอนอยู่ ส่วนจะข้ามไปตรงไหนอย่างไร ผมคิดว่าถ้าเราถอยกลับมามองภาพใหญ่ และนิยามให้เข้าใจตรงกันก่อนว่าเงินสดที่ว่านั้น มันอยู่ตรงไหนในภาพรวม ก็น่าจะทำให้เราสามารถหาคำตอบที่ลงตัวให้กับคำถามนี้ได้ครับ
.
ขั้นที่ 1
ขอเริ่มที่การทบทวนงบดุล (งบแสดงฐานะการเงิน) ก่อนครับ
งบดุล มีที่มาจากสมการบัญชี ที่กล่าวว่า
สินทรัพย์รวม = หนี้สินรวม + ส่วนของผู้ถือหุ้น
ซึ่งส่วนของผู้ถือหุ้นนี้ ก็จะมีทั้งส่วนที่เป็น Cash และ Non-Cash
.
ขั้นที่ 2
ส่วนที่เป็น Cash (เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด)
ผมขอแยกออกเป็น 3 ส่วน ตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เงินหมุนเวียนสำหรับการจับจ่ายใช้สอย
ซึ่งมีทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายที่ไม่ประจำ
เช่น เบี้ยประกัน หรือค่าใช้จ่ายในวาระพิเศษต่างๆ
รวมถึงภาระหนี้ที่ต้องจ่ายในแต่ละปีด้วย
2. เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน
สำหรับเหตุไม่คาดฝันต่างๆ
เช่น อุบัติเหตุ-เจ็บป่วย-ตกงาน
อาจจะมีไว้ประมาณ 3-6-12 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน แล้วแต่บริบทของแต่ละคน
3. เงินส่วนเกินสภาพคล่อง
เงินส่วนนี้เท่านั้น ที่จะนำไปลงทุนให้ออกดอกออกผลได้
.
ขั้นที่ 3
เงินส่วนเกินสภาพคล่องที่จะนำไปลงทุนนี้ ขอแบ่งคร่าวๆ เป็น
1. เงินลงทุนในหุ้น
2. เงินลงทุนในสินทรัพย์อื่น
.
ขั้นที่ 4
ส่วนเงินลงทุนในหุ้น ขอแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. เงินสดสำหรับรอซื้อหุ้น
2. เงินสดก้นพอร์ต
ที่ต้องแบ่งส่วนเนื่องจากวัตถุประสงค์ของเงินสองก้อนนี้ต่างกัน โดยเงินก้อนแรกนั้นมีไว้เพื่อหาโอกาสในการทำกำไร ส่วนเงินก้อนหลังมีไว้สำหรับการบริหารความเสี่ยง ตามหลักของการบริหารพอรต์โฟลิโอ ที่มีเป้าหมายคือ “การสร้างสมดุลระหว่างการทำกำไรและการควบคุมความเสี่ยง เพื่อให้ได้ผลตอบแทนในระยะยาวดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”
โดยคร่าวๆ ผมคิดว่าเงินสดก้นพอร์ตนี้ เป็นเงินที่กันไว้เฉยๆ เอาไว้เผื่อวิกฤติตลาดหุ้น-วิกฤติเศรษฐกิจ-สงคราม-etc. จะได้มีเงินเหลือพอที่จะช้อนซื้อหุ้นถูกๆ (รายละเอียดจะกล่าวอีกทีในตอนต่อไปครับ)
เมื่อเราได้กันเงินก้นพอร์ตไว้แล้ว เงินที่เหลือในข้อ 4.1 ก็สามารถใช้เลือกซื้อหุ้นลงทุนรายตัวได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องกังวลกับภาพใหญ่ อย่างไรก็ดี ในบางช่วงเวลาที่ไม่พบการลงทุนที่น่าสนใจเลย เราก็ควรยินดีที่จะถือเงินสดต่อไป และรอคอยอย่างอดทน
ตัวอย่าง สมมุติกำหนดเงินสดก้นพอร์ตไว้ 20% ของพอร์ตหุ้น
เมื่อไม่พบการลงทุนที่น่าสนใจเลย ระดับเงินสดก็จะเป็น 80% + 20% = 100%
แต่ในช่วงที่มีโอกาสเต็มไปหมด ระดับเงินสดก็จะเป็น 0% + 20% = 20% เป็นต้น
.
ขั้นที่ 5
เงินสดก้นพอร์ตในข้อ 4.2 นี่ล่ะครับ ที่ควรจะเป็นเงินสดสำหรับทั้งคำถามและคำตอบของปัญหานี้ ซึ่งถ้าหากไม่ตกลงให้เข้าใจตรงกันก่อน คนตอบก็อาจจะหมายถึงเงินสดในข้อ 4.1 + 4.2 รวมกัน ส่วนคนฟังอาจจะเข้าใจว่าเป็นเงินสดในข้อ 2 + 3 + 4 เลยด้วยซ้ำ ทำให้เกิดความสับสนและข้อผิดพลาดในการจัดสรรเงินลงทุนได้มาก
เมื่อเข้าใจคำถามตรงกันดีแล้ว ในบทความตอนต่อไป ผมจะมาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมครับว่าเงินสดส่วนนี้มีไว้เพื่ออะไร จะเก็บไว้ที่ไหน เมื่อไหร่ถึงจะเอาออกมาใช้ และผมมีแนวคิดในการกำหนดสัดส่วนของเงินก้อนนี้อย่างไร
.
by #Dr.Vi. #หมอวิ (18 พย. 60)
https://www.facebook.com/Dr.Vichian/
[email protected]
.
นี่นับได้ว่าเป็นคำถามสุดฮิตคำถามหนี่ง ที่ถามกันแล้วถามกันอีกอย่างไม่รู้จักเบื่อ ส่วนหนึ่งผมคิดว่าเป็นเพราะนักลงทุนยังไม่ได้คำตอบที่พอใจ วันนี้ผมเลยจะลองถามเองตอบเองอีกสักรอบครับ
.
สาเหตุที่คนถามก็ถามแล้วถามเล่า คนตอบก็ตอบแล้วตอบอีก ผมคิดว่าเป็นเพราะโจทย์มันไม่เคลียร์ ก็เลยทำให้ตอบยังไงก็ไม่กระจ่างครับ
.
ที่ไม่เคลียร์ก็ตรงเงินสดในคำถามนั่นเองครับ ซึ่งผมว่ามันข้ามไปหลายขั้นตอนอยู่ ส่วนจะข้ามไปตรงไหนอย่างไร ผมคิดว่าถ้าเราถอยกลับมามองภาพใหญ่ และนิยามให้เข้าใจตรงกันก่อนว่าเงินสดที่ว่านั้น มันอยู่ตรงไหนในภาพรวม ก็น่าจะทำให้เราสามารถหาคำตอบที่ลงตัวให้กับคำถามนี้ได้ครับ
.
ขั้นที่ 1
ขอเริ่มที่การทบทวนงบดุล (งบแสดงฐานะการเงิน) ก่อนครับ
งบดุล มีที่มาจากสมการบัญชี ที่กล่าวว่า
สินทรัพย์รวม = หนี้สินรวม + ส่วนของผู้ถือหุ้น
ซึ่งส่วนของผู้ถือหุ้นนี้ ก็จะมีทั้งส่วนที่เป็น Cash และ Non-Cash
.
ขั้นที่ 2
ส่วนที่เป็น Cash (เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด)
ผมขอแยกออกเป็น 3 ส่วน ตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เงินหมุนเวียนสำหรับการจับจ่ายใช้สอย
ซึ่งมีทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายที่ไม่ประจำ
เช่น เบี้ยประกัน หรือค่าใช้จ่ายในวาระพิเศษต่างๆ
รวมถึงภาระหนี้ที่ต้องจ่ายในแต่ละปีด้วย
2. เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน
สำหรับเหตุไม่คาดฝันต่างๆ
เช่น อุบัติเหตุ-เจ็บป่วย-ตกงาน
อาจจะมีไว้ประมาณ 3-6-12 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน แล้วแต่บริบทของแต่ละคน
3. เงินส่วนเกินสภาพคล่อง
เงินส่วนนี้เท่านั้น ที่จะนำไปลงทุนให้ออกดอกออกผลได้
.
ขั้นที่ 3
เงินส่วนเกินสภาพคล่องที่จะนำไปลงทุนนี้ ขอแบ่งคร่าวๆ เป็น
1. เงินลงทุนในหุ้น
2. เงินลงทุนในสินทรัพย์อื่น
.
ขั้นที่ 4
ส่วนเงินลงทุนในหุ้น ขอแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. เงินสดสำหรับรอซื้อหุ้น
2. เงินสดก้นพอร์ต
ที่ต้องแบ่งส่วนเนื่องจากวัตถุประสงค์ของเงินสองก้อนนี้ต่างกัน โดยเงินก้อนแรกนั้นมีไว้เพื่อหาโอกาสในการทำกำไร ส่วนเงินก้อนหลังมีไว้สำหรับการบริหารความเสี่ยง ตามหลักของการบริหารพอรต์โฟลิโอ ที่มีเป้าหมายคือ “การสร้างสมดุลระหว่างการทำกำไรและการควบคุมความเสี่ยง เพื่อให้ได้ผลตอบแทนในระยะยาวดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”
โดยคร่าวๆ ผมคิดว่าเงินสดก้นพอร์ตนี้ เป็นเงินที่กันไว้เฉยๆ เอาไว้เผื่อวิกฤติตลาดหุ้น-วิกฤติเศรษฐกิจ-สงคราม-etc. จะได้มีเงินเหลือพอที่จะช้อนซื้อหุ้นถูกๆ (รายละเอียดจะกล่าวอีกทีในตอนต่อไปครับ)
เมื่อเราได้กันเงินก้นพอร์ตไว้แล้ว เงินที่เหลือในข้อ 4.1 ก็สามารถใช้เลือกซื้อหุ้นลงทุนรายตัวได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องกังวลกับภาพใหญ่ อย่างไรก็ดี ในบางช่วงเวลาที่ไม่พบการลงทุนที่น่าสนใจเลย เราก็ควรยินดีที่จะถือเงินสดต่อไป และรอคอยอย่างอดทน
ตัวอย่าง สมมุติกำหนดเงินสดก้นพอร์ตไว้ 20% ของพอร์ตหุ้น
เมื่อไม่พบการลงทุนที่น่าสนใจเลย ระดับเงินสดก็จะเป็น 80% + 20% = 100%
แต่ในช่วงที่มีโอกาสเต็มไปหมด ระดับเงินสดก็จะเป็น 0% + 20% = 20% เป็นต้น
.
ขั้นที่ 5
เงินสดก้นพอร์ตในข้อ 4.2 นี่ล่ะครับ ที่ควรจะเป็นเงินสดสำหรับทั้งคำถามและคำตอบของปัญหานี้ ซึ่งถ้าหากไม่ตกลงให้เข้าใจตรงกันก่อน คนตอบก็อาจจะหมายถึงเงินสดในข้อ 4.1 + 4.2 รวมกัน ส่วนคนฟังอาจจะเข้าใจว่าเป็นเงินสดในข้อ 2 + 3 + 4 เลยด้วยซ้ำ ทำให้เกิดความสับสนและข้อผิดพลาดในการจัดสรรเงินลงทุนได้มาก
เมื่อเข้าใจคำถามตรงกันดีแล้ว ในบทความตอนต่อไป ผมจะมาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมครับว่าเงินสดส่วนนี้มีไว้เพื่ออะไร จะเก็บไว้ที่ไหน เมื่อไหร่ถึงจะเอาออกมาใช้ และผมมีแนวคิดในการกำหนดสัดส่วนของเงินก้อนนี้อย่างไร
.
by #Dr.Vi. #หมอวิ (18 พย. 60)
https://www.facebook.com/Dr.Vichian/
[email protected]