แนะวิธีเลือกหุ้นปันผลสไตล์ VI โดย ชาย มโนภาส
-
- Verified User
- โพสต์: 820
- ผู้ติดตาม: 0
แนะวิธีเลือกหุ้นปันผลสไตล์ VI โดย ชาย มโนภาส
โพสต์ที่ 1
แนะวิธีเลือกหุ้นปันผลสไตล์ VI
มาถึงวันนี้.... ประสบการณ์ลงทุนในตลาดหุ้นของชายรวมแล้วก็กว่า 20 ปี เขาเล่าว่าได้เรียนรู้มากมายจากประสบการณ์ลงทุน ทั้งช่วงที่ได้กำไรและช่วงที่ขาดทุน โดยประเด็นการลงทุนที่เขาเลือกมาแบ่งปันให้กับนักลงทุนในงาน Future Wealth คือการเลือกหุ้นปันผล เพราะเขามองว่ามีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่ลงทุนในตลาดหุ้นเพราะต้องการ “เงินปันผล”
ชายเริ่มจากการชี้ให้เห็นว่า นับจากปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา ดอกเบี้ยเงินฝากของไทยเป็นขาลงมาอย่างต่อเนื่อง จากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากปีละ 14-15% มาถึงวันนี้ อัตราดอกเบี้ยฝากประจำเหลือเพียงปีละ 1.5% เท่านั้น ขณะที่เงินเฟ้อของไทยในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4.25% นี่จึงเป็นคำตอบว่าเหตุใดเงินฝากจึงไม่ใช่ที่หวังของนักลงทุนได้อีกต่อไป
แต่เมื่อหันมามองตลาดหุ้นไทย หลายคนพูดว่า “หุ้นไทยแพง” โดยปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยมี Valuation สูง คืออัตราเงินปันผล ซึ่งปัจจุบัน อัตราเงินปันผลเฉลี่ยของไทยอยู่ที่ 3% สูงกว่าหลายๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ฮ่องกง ฯลฯ นี่หมายความว่า แค่อัตราเงินปันผลก็สามารถเอาชนะดอกเบี้ยเงินฝากและเงินเฟ้อได้แล้ว
ชายย้ำว่า อันที่จริงแล้ว ในตลาดหุ้นไทยมี “หุ้นดี” หลายตัวที่ปันผลมากกว่า 3% แต่โจทย์สำคัญของนักลงทุนคือ จะหาหุ้นปันผลดีๆ ได้อย่างไร?
“ในเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็มีบอก ว่าหุ้นแต่ละตัวไหนปันผล 1 ปีย้อนหลัง เท่าไหร่ ในช่วง 5 ปีย้อนหลัง แต่ละปีปันผลเท่าไหร่ บางทีก็มีตารางจัดอันดับให้ด้วยว่าหุ้นตัวไหนให้ปันผลสูงสุด หุ้นตัวไหนบ้างที่ปันผล 10 ปีต่อเนื่อง ฯลฯ แต่สิ่งที่ผมอยากย้ำเตือนคือ การเลือกหุ้นปันผลด้วยการดูข้อมูลย้อนหลัง มันอันตรายมาก”
เขายกตัวอย่าง หุ้นบางตัวจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นในอัตราค่อนข้างสูงในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แต่พอมาปีนี้ไม่จ่ายปันผล ก็มี หรือหุ้นบางตัวจ่ายปันผลลดลงทุกปี ก็มี หรือหุ้นบางตัวให้ปันผล 6-7% ต่อปี แต่ต้องมาขาดทุนเพราะราคาหุ้นที่ลดลงไปกว่า 30% ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ การเลือกหุ้นด้วยการดูแต่อัตราเงินปันผลจากผลงานในอดีต จึงป็นเรื่องที่อันตรายมาก
ทั้งนี้ ชายได้ทิ้งท้ายด้วย "หลักการในการเลือกหุ้นปันผล" เอาไว้ดังนี้
1. เข้าใจธุรกิจและจุดแข็งจุดอ่อนของบริษัท ตลอดจนเข้าใจอุตสาหกรรม รวมถึงรู้ว่าธุรกิจนั้นมีคู่แข่งหรือไม่ ฯลฯ
2. มองให้ออกว่ากำไรบริษัทอยู่ในช่วงขาขึ้น หรือขาลง เพราะเงินปันผลมักเป็นไปในทางเดียวกับแนวโน้มกำไร
3. บริษัทกำลังจะมีการลงทุนใหญ่หรือไม่ โดยส่วนใหญ่ บริษัทที่กำลังจะมีการลงทุนครั้งใหญ่จะกันกำไรเอาไว้เพื่อการลงทุน ระหว่างนั้นจึงมักไม่ค่อยจ่ายปันผลหรือปันผลในอัตราที่น้อยกว่าปกติ
4. บริษัทมีหนี้เยอะไหม และเป็นหนี้สินที่มีดอกเบี้ยเท่าไหร่ ถ้ามีหนี้เยอะ ปันผลก็อาจไม่มากเพราะต้องเอาเงินไปจ่ายเจ้าหนี้ก่อน จึงจะจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น
5. บริษัทมีกระแสเงินสดดีไหม โดยส่วนใหญ่ บริษัทที่มีหนี้น้อยและมีกระแสเงินสดดีมีแนวโน้มที่จะจ่ายปันผลค่อนข้างดีและจ่ายต่อเนื่องยาวนาน
6. บริษัทมีแนวโน้มจะอยู่ได้อีกหลายปีหรือไม่ เพราะบ่อยครั้ง พอมีบริษัทเกิดใหม่ที่มาพร้อมเทคโนโลยีใหม่ๆ บริษัที่เคยดำเนินการอยู่ดีๆ ก็อาจล้มหายตายจากไปในเวลาอันรวดเร็ว ก็มี
7. อย่าติดกับเงินปันผลมากเกินไป โดยชายยกตัวอย่าง หุ้น CPN ซึ่งตลอด 17 ปีที่ผ่านมา ปันผลเพียง 1% กว่า แต่ปันผลทุกปีมาตลอด 17 ปี ขณะที่ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 0.70 บาท มาอยู่ที่ 66 บาท (ณ เดือน ส.ค. 2560)
“ถ้านักลงทุนเข้าใจธุรกิจของ CPN ย่อมรู้ว่า ช่วงแรกๆ เวลาจะขยายสาขา ต้องใช้เงินลงทุนสูง ซึ่งส่วนใหญ่ก็ต้องกู้เงินจากธนาคาร เพราะยังเก็บค่าเช่าได้น้อย แต่พอเริ่มมีหลายห้าง ก็สามารถเก็บค่าเช่าได้เพิ่มมากขึ้น มาถึงวันนี้ เวลาที่จะขยายสาขา เขาไม่จำเป็นต้องกู้ธนาคารแล้ว สามารถใช้รายได้จากค่าเช่ามาขยายธุรกิจได้เลย นอกจากนี้ ค่าเช่าก็ยังสามารถขึ้นราคาได้เรื่อยๆ ซึ่งถ้านักลงทุนยึดติดกับเงินปันผลมากจนทิ้งหุ้นตัวนี้ตั้งแต่ปีแรกๆ ก็ย่อมเสียโอกาสในการทำกำไร ตรงกันข้าม บางบริษัทจ่ายเงินปันผลเยอะ แต่ราคาหุ้นไม่ไปไหนเลย เพราะมัวแต่เอาเงินมาจ่ายปันผล พอถึงเวลาลงทุนเพิ่ม ก็ต้องไปกู้เงิน เสียดอกเบี้ย สุดท้ายกิจการก็ไม่ขยายได้เท่าที่ควรจะเป็น”
สุดท้ายนี้ ชายย้ำว่า หลังจากทำความเข้าใจหุ้นที่คุณสนใจจนครบทั้ง 7 ข้อแล้ว อย่าลืมพิจารณาอีกประเด็นสำคัญ โดยเขามองว่าอาจจะเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด นั่นคือ “ผู้บริหารไว้ใจได้ไหม?”
มาถึงวันนี้.... ประสบการณ์ลงทุนในตลาดหุ้นของชายรวมแล้วก็กว่า 20 ปี เขาเล่าว่าได้เรียนรู้มากมายจากประสบการณ์ลงทุน ทั้งช่วงที่ได้กำไรและช่วงที่ขาดทุน โดยประเด็นการลงทุนที่เขาเลือกมาแบ่งปันให้กับนักลงทุนในงาน Future Wealth คือการเลือกหุ้นปันผล เพราะเขามองว่ามีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่ลงทุนในตลาดหุ้นเพราะต้องการ “เงินปันผล”
ชายเริ่มจากการชี้ให้เห็นว่า นับจากปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา ดอกเบี้ยเงินฝากของไทยเป็นขาลงมาอย่างต่อเนื่อง จากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากปีละ 14-15% มาถึงวันนี้ อัตราดอกเบี้ยฝากประจำเหลือเพียงปีละ 1.5% เท่านั้น ขณะที่เงินเฟ้อของไทยในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4.25% นี่จึงเป็นคำตอบว่าเหตุใดเงินฝากจึงไม่ใช่ที่หวังของนักลงทุนได้อีกต่อไป
แต่เมื่อหันมามองตลาดหุ้นไทย หลายคนพูดว่า “หุ้นไทยแพง” โดยปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยมี Valuation สูง คืออัตราเงินปันผล ซึ่งปัจจุบัน อัตราเงินปันผลเฉลี่ยของไทยอยู่ที่ 3% สูงกว่าหลายๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ฮ่องกง ฯลฯ นี่หมายความว่า แค่อัตราเงินปันผลก็สามารถเอาชนะดอกเบี้ยเงินฝากและเงินเฟ้อได้แล้ว
ชายย้ำว่า อันที่จริงแล้ว ในตลาดหุ้นไทยมี “หุ้นดี” หลายตัวที่ปันผลมากกว่า 3% แต่โจทย์สำคัญของนักลงทุนคือ จะหาหุ้นปันผลดีๆ ได้อย่างไร?
“ในเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็มีบอก ว่าหุ้นแต่ละตัวไหนปันผล 1 ปีย้อนหลัง เท่าไหร่ ในช่วง 5 ปีย้อนหลัง แต่ละปีปันผลเท่าไหร่ บางทีก็มีตารางจัดอันดับให้ด้วยว่าหุ้นตัวไหนให้ปันผลสูงสุด หุ้นตัวไหนบ้างที่ปันผล 10 ปีต่อเนื่อง ฯลฯ แต่สิ่งที่ผมอยากย้ำเตือนคือ การเลือกหุ้นปันผลด้วยการดูข้อมูลย้อนหลัง มันอันตรายมาก”
เขายกตัวอย่าง หุ้นบางตัวจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นในอัตราค่อนข้างสูงในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แต่พอมาปีนี้ไม่จ่ายปันผล ก็มี หรือหุ้นบางตัวจ่ายปันผลลดลงทุกปี ก็มี หรือหุ้นบางตัวให้ปันผล 6-7% ต่อปี แต่ต้องมาขาดทุนเพราะราคาหุ้นที่ลดลงไปกว่า 30% ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ การเลือกหุ้นด้วยการดูแต่อัตราเงินปันผลจากผลงานในอดีต จึงป็นเรื่องที่อันตรายมาก
ทั้งนี้ ชายได้ทิ้งท้ายด้วย "หลักการในการเลือกหุ้นปันผล" เอาไว้ดังนี้
1. เข้าใจธุรกิจและจุดแข็งจุดอ่อนของบริษัท ตลอดจนเข้าใจอุตสาหกรรม รวมถึงรู้ว่าธุรกิจนั้นมีคู่แข่งหรือไม่ ฯลฯ
2. มองให้ออกว่ากำไรบริษัทอยู่ในช่วงขาขึ้น หรือขาลง เพราะเงินปันผลมักเป็นไปในทางเดียวกับแนวโน้มกำไร
3. บริษัทกำลังจะมีการลงทุนใหญ่หรือไม่ โดยส่วนใหญ่ บริษัทที่กำลังจะมีการลงทุนครั้งใหญ่จะกันกำไรเอาไว้เพื่อการลงทุน ระหว่างนั้นจึงมักไม่ค่อยจ่ายปันผลหรือปันผลในอัตราที่น้อยกว่าปกติ
4. บริษัทมีหนี้เยอะไหม และเป็นหนี้สินที่มีดอกเบี้ยเท่าไหร่ ถ้ามีหนี้เยอะ ปันผลก็อาจไม่มากเพราะต้องเอาเงินไปจ่ายเจ้าหนี้ก่อน จึงจะจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น
5. บริษัทมีกระแสเงินสดดีไหม โดยส่วนใหญ่ บริษัทที่มีหนี้น้อยและมีกระแสเงินสดดีมีแนวโน้มที่จะจ่ายปันผลค่อนข้างดีและจ่ายต่อเนื่องยาวนาน
6. บริษัทมีแนวโน้มจะอยู่ได้อีกหลายปีหรือไม่ เพราะบ่อยครั้ง พอมีบริษัทเกิดใหม่ที่มาพร้อมเทคโนโลยีใหม่ๆ บริษัที่เคยดำเนินการอยู่ดีๆ ก็อาจล้มหายตายจากไปในเวลาอันรวดเร็ว ก็มี
7. อย่าติดกับเงินปันผลมากเกินไป โดยชายยกตัวอย่าง หุ้น CPN ซึ่งตลอด 17 ปีที่ผ่านมา ปันผลเพียง 1% กว่า แต่ปันผลทุกปีมาตลอด 17 ปี ขณะที่ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 0.70 บาท มาอยู่ที่ 66 บาท (ณ เดือน ส.ค. 2560)
“ถ้านักลงทุนเข้าใจธุรกิจของ CPN ย่อมรู้ว่า ช่วงแรกๆ เวลาจะขยายสาขา ต้องใช้เงินลงทุนสูง ซึ่งส่วนใหญ่ก็ต้องกู้เงินจากธนาคาร เพราะยังเก็บค่าเช่าได้น้อย แต่พอเริ่มมีหลายห้าง ก็สามารถเก็บค่าเช่าได้เพิ่มมากขึ้น มาถึงวันนี้ เวลาที่จะขยายสาขา เขาไม่จำเป็นต้องกู้ธนาคารแล้ว สามารถใช้รายได้จากค่าเช่ามาขยายธุรกิจได้เลย นอกจากนี้ ค่าเช่าก็ยังสามารถขึ้นราคาได้เรื่อยๆ ซึ่งถ้านักลงทุนยึดติดกับเงินปันผลมากจนทิ้งหุ้นตัวนี้ตั้งแต่ปีแรกๆ ก็ย่อมเสียโอกาสในการทำกำไร ตรงกันข้าม บางบริษัทจ่ายเงินปันผลเยอะ แต่ราคาหุ้นไม่ไปไหนเลย เพราะมัวแต่เอาเงินมาจ่ายปันผล พอถึงเวลาลงทุนเพิ่ม ก็ต้องไปกู้เงิน เสียดอกเบี้ย สุดท้ายกิจการก็ไม่ขยายได้เท่าที่ควรจะเป็น”
สุดท้ายนี้ ชายย้ำว่า หลังจากทำความเข้าใจหุ้นที่คุณสนใจจนครบทั้ง 7 ข้อแล้ว อย่าลืมพิจารณาอีกประเด็นสำคัญ โดยเขามองว่าอาจจะเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด นั่นคือ “ผู้บริหารไว้ใจได้ไหม?”
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 16
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แนะวิธีเลือกหุ้นปันผลสไตล์ VI โดย ชาย มโนภาส
โพสต์ที่ 7
ขอบคุณครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 8
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แนะวิธีเลือกหุ้นปันผลสไตล์ VI โดย ชาย มโนภาส
โพสต์ที่ 8
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 144
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แนะวิธีเลือกหุ้นปันผลสไตล์ VI โดย ชาย มโนภาส
โพสต์ที่ 9
ตอนนี้รู้สึกตัวเองมีbias(ชอบ)หุ้นบางตัว
โดยดูจาก7ข้อที่พี่ให้ข้อคิด แล้วพยายามมองข้าม
ไปเช่นเป็นหุ้นไม่มีหนี้ ปันผลดี ผลประกอบการดี
แต่มองอนาคตไม่ออกเลยคิดเอาเองว่าอนาคตจะดี
มีใครจะชี้แนะเพิ่มเติมหน่อยครับ ขอบคุณครับ
ผมรู้สึกนักลงทุนเก่งๆจะคาดการณ์อนาคตได้ค่อน
ข้างแม่น
โดยดูจาก7ข้อที่พี่ให้ข้อคิด แล้วพยายามมองข้าม
ไปเช่นเป็นหุ้นไม่มีหนี้ ปันผลดี ผลประกอบการดี
แต่มองอนาคตไม่ออกเลยคิดเอาเองว่าอนาคตจะดี
มีใครจะชี้แนะเพิ่มเติมหน่อยครับ ขอบคุณครับ
ผมรู้สึกนักลงทุนเก่งๆจะคาดการณ์อนาคตได้ค่อน
ข้างแม่น