MoneyTalk@SET18/6/60-เศรษฐกิจ&ผลกระทบ+แนวโน้มหุ้นครึ่งปีหลัง
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 18, 2017 10:42 pm
MoneyTalk@SET 18/6/60
หัวข้อ 1 “เศรษฐกิจและผลกระทบหุ้นครึ่งหลังปี60”
แขกรับเชิญ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บล.ภัทร
ผู้ดำเนินรายการ ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
อเมริกา
สัปดาห์ที่ผ่านมา FED ประกาศขึ้นดอกเบี้ยจาก 0.75-1% เป็น 1-1.25%
ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ แต่สิ่งที่ตลาดไม่ได้คาดไว้ คือ
มีการประกาศอย่างมีรายละเอียดสำคัญว่าจะลดทอนงบดุลอย่างไร
ช่วงปี 2008-2009 FED พิมพ์เงินไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรระยะยาว (Mortgage backed security)
ซื้อไปเรื่อยจนมูลค่างบดุลเป็น 4.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมที่มีงบดุล 9 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
ปกติ FED จะคุมดอกเบี้ยนโยบายอย่างเดียว คือ ดอกเบี้ย 1 วัน
แต่การซื้อพันธบัตร 1 ปี, 2 ปี, 5 ปี, 10 ปี เป็นการคุมให้ดอกเบี้ยต่ำทั้ง Curve
ผลกระทบการคุมดอกเบี้ยให้ต่ำ จึงช่วยคนกู้บ้านให้ดอกเบี้ยต่ำลง
ผลตอบแทนในตลาดหุ้นก็สูงขึ้น เพราะ Earning yield gap(ส่วนต่างจากพันธบัตรรัฐบาล) ยิ่งมาก ยิ่งราคาถูก
8-9 ปี ที่ผ่านมาตลาดหุ้นถึงขึ้น ธ.กลางสหรัฐ underright หุ้นทั้งตลาดโดยระบบ QE
การถอนกระบวนการที่คุมดอกเบี้ยระยะยาวออกไป โดยประกาศชัดว่าจะ ปล่อยให้พันธบัตรที่ FED ถือหมดอายุ
เริ่มต้น 1 หมื่นล้านเหรียญต่อเดือน และเพิ่มไปเรื่อยๆ โดยไม่เกิน 5 หมื่นล้านเหรียญ
งบดุลที่มีอยู่ 4.5 ล้านล้านจะลดลงใช้เวลา 6-7 ปีจะกลับไปสู่ระดับ 2 ล้านล้านกว่า ซึ่งน่าจะเป็นระดับที่เหมาะสม
สิ่งที่คนกังวล ธนาคารกลางดูดเงินกลับเข้ามา และดอกเบี้ยระยะยาวจะสูงขึ้น
เช่น พันธบัตร 10 ปี ดอกเบี้ย 2.18% แต่ในอดีตดอกเบี้ยเฉลี่ยก่อนหน้า QE อยู่ที่ 5%
ดอกเบี้ยระยะสั้นอยู่ที่ 1-1.25% คณะกรรมการกลางนโยบายการเงินสหรัฐประเมินว่าปล่อยให้อยู่ในระดับปกติที่ 3%
เรากำลังเข้าสู่ยุคใหม่ที่ดอกเบี้ยจะมีแนวโน้มขึ้นทั้ง curve
สิ่งที่น่าสนใจคือ วันที่ FED ประกาศ ตลาดไม่ยอมรับ ดอกเบี้ยน่าจะกระแทกขึ้น แต่กลับลงด้วยซ้ำ
นักวิเคราะห์ต่างๆ ไม่เชื่อ มองว่า FED ประเมินผิด เศรษฐกิจอเมริกาไม่ดีขนาดนั้น เงินเฟ้อเริ่มไหลลง GDP โตไม่มาก
แล้ว Fed จะต้องกลับตัว ตลาดหุ้นจึงไม่ได้ลดลงมาก
ครึ่งหลังปีนี้ ต้องตั้งคำถามว่า ตลาดคิดถูก หรือ FED คิดถูก
ถ้าหาก FED ถูก แล้วดันดอกเบี้ยขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะเศรษฐกิจดีจริง คนถือพันธบัตร จะขาดทุน
ถ้า FED ผิด แล้วไปขึ้นดอกเบี้ย เศรษฐกิจจะแผ่ว หุ้นจะไม่ดี แล้ว FED ต้องถอย
เป็นไปได้ไหม ที่ทรัมพ์จะปลดเยลเลนต่อ?
อ.ศุภวุฒิ เป็นไปได้ แต่ช่วงที่เป็นไปได้คือ ก.พ. ปีหน้า เยลเลน จะหมดสมัยผู้ว่าแบงค์ชาติ ราว ก.พ. 61
ยังเป็น กรรมการ FED ได้ แต่ต้องออกจากกการเป็นผู้ว่า ซึ่งปกติถ้าไม่ได้แต่งตั้งเป็นผู้ว่าฯต่อมักจะลาออก
ที่ผ่านมา ทรัมป์แสดงท่าทีไม่อยากให้เยลเลนอยู่ต่อ ซึ่งตลาดประเมินว่ายังมีโอกาสที่เยลเลนจะได้อยู่ต่อ 30%
อย่างไรก็ตาม Bloomberg ได้ไปถามความเห็น Fund manager ทั้งหลายมองกันว่า
เยลเลน ยังมีโอกาสได้อยู่ต่อมากกว่า เทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ
นโยบายทรัมป์
ตลาดเคยหวังว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยลดทอนภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา
แต่นับวันบารมีทรัมป์จะเสื่อมลงไปเรื่อย อาจจะผ่านอะไรไม่ได้เลย
แรงส่งจากทรัมป์น่าจะไม่มีเลยในปีนี้ และอาจจะมีบ้างในปีหน้า
การที่จะปฏิรูปภาษีนิติบุคคล ต้องอาศัยบารมีการเมืองมาก (Political capital)
ซึ่งเวลาผ่านมา ทรัมป์อาจไม่ค่อยมีบารมีกับพรรครีพับรีกันเท่าไร
ดูท่าทีต้องไปหาทางป้องกันตัวเองจากการสอบสวนของโรเบิร์ต มุลเลอร์
จากเดิมที่ FBI สอบสวนเฉพาะเรื่องรัสเซียเข้ามาแทรกแซงกระบวนการเลือกตั้งสหรัฐหรือไม่
และ ประเด็นว่ามี collusion ความรู้เห็นเป็นใจระหว่างทีมของทรัมป์และรัสเซียหรือไม่
แต่ทรัมป์ไปกวนน้ำให้ขุ่นโดยไปบอกผู้อำนวยการ FBI คนเก่า(เจมส์ โคมีย์) ที่เขาปลดไปให้เลิกสอบสวน
ไมเคิ่ล ฟลิน ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านความมั่นคง จึงมีการตั้ง โรเบิร์ต มุลเลอร์ ขึ้นมาสอบสวน (Special counsel)
จึงเริ่มมีการขยายคดี ว่ามีคนของทรัมป์ รวมถึงลูกเขยว่าได้ประโยชน์ทางการเงินหรือเปล่า
ล่าสุดข่าวออกว่าต้องสอบสวนอีกด้วยว่า ทรัมป์มีการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมโดยไล่เจมส์ โคมีย์ออกหรือเปล่า
จึงเกรงว่า ทรัมป์ทั้งปีนี้และปีหน้าจะต้องมาคอยจัดการตัวเองให้รอดในประเด็นเหล่านี้
แต่คิดว่าถ้าทรัมป์จะหลุดจากตำแหน่ง (impeachment) อย่างเร็วคือปี 2019
ระบบของอเมริกาไม่เหมือนกับเกาหลีใต้ ที่ถูกตัดสินให้ออกจากตำแหน่งอย่างเร็วโดยศาลรัฐธรรมนูญ
แต่ของอเมริกาคือ สภาล่าง(สภาผู้แทนราษฏร) กล่าวหาประธานาธิบดี จะต้องตัดสินด้วยเสียงข้างมาก
ว่าจะกล่าวหาประธานธิบดี ซึ่งรีพับลิกันคุมเสียงข้างมาก
แต่ถ้าปลายปีหน้าเลือกตั้งแล้วเสียงข้างมากไปอยู่ที่เดโมแครต มีโอกาสเกิด impeachment
เมื่อกล่าวหาประธานธิบดีแล้วจะมีสิทธิแก้ต่างในสภา โดย วุฒิสภาจะต้องลงคะแนนเสียงเหมือนลูกขุน
โดยถ้าลงคะแนนเกิน 2 ใน 3 ประธานธิบดีจึงจะหลุดจากตำแหน่ง
ในอดีต บิล คลินตัน เคยโดย impeach แต่ไม่หลุดจากตำแหน่ง เคยโดนสอบสวนโดย เคนเนต สตาร์
ซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อสอบสวน ว่ามีผู้บริหารทำเนียบขาวฆ่าตัวตาย ซึ่งมีปัญหาการเงินสืบเนื่องมาจาก white water ที่ล้มละลาย
โดยบิลและฮิลารีมีส่วนเกี่ยวข้อง สอบสวนไปมากลายเป็นเคส โมนิก้า เลวินสกี
เป็นการสะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการสอบสวนพิเศษของอเมริกามีความไม่แน่นอนสูง
กลายเป็นเรื่องที่เริ่มต้นอย่าง และจบอีกอย่างได้
ดังนั้น เคสของทรัมป์ก็อาจจะจบที่ตรงไหนก็ได้
ทำให้ทรัมป์อาจพะวง และไม่สามารถเอาพลังไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้
ครั้งสุดท้ายที่มีการปฏิรูประบบภาษีอเมริกา คือ สมัยโรนัลด์ เรแกน
ใช้เวลา 3 ปี 1984-1986 ซึ่งตอนนั้น โรนัลด์เรแกน มี approval rating อยู่ที่ 60 เกือบ 70% สูงมาก
แต่ทรัมป์มีแค่ 30 กว่า % จึงยากมาก ที่จะทำอะไรให้เกิดผลได้
สภาร่างเลือกตั้งใหม่ทั้งหมดทุก 2 ปี แต่วุฒิสภาชิกทุก 2 ปี จะเลือกตั้ง 1 ใน 3
ซึ่งตอนนี้คะแนนเสียงของรีพับรีกันค่อนข้างตก
ตอนนี้ สส. ต่างๆต้องระมัดระวังตัวระดับหนึ่ง เพราะทรัมป์สัญญาไว้เยอะ
และต้องรอดูราว ต.ค.-พ.ย. ถ้าร่างกฏหมายต่างๆยังไม่มีอะไรผ่านน่าจะมีปัญหาได้
ส่วนเรื่องกำแพง mexico ทรัมป์ถอยไปแล้วไม่ได้ของบประมาณไว้
กาตาร์
เริ่มจากตอนที่ทรัมป์เดินทางไปประชุมใหญ่ที่ซาอุดิอาระเบีย โดยทรัมป์ดูให้ความสำคัญกับซาอุฯเป็นพันธมิตรหลัก
รวมถึงสัญญาขายอาวุธให้เป็นแสนล้านเหรียญฯ หลังจากนั้นซาอุฯก็รู้สึกว่าตัวเองสำคัญและทรัมป์ให้ท้าย
ในช่วงนั้นมี 2 ข่าว ที่ทำให้ ซาอุฯและ GCC(Gulp Cooperation Council) เริ่มตัดสินใจว่าต้องไปจัดการกับกาตาร์
1. มีข่าวว่ากษัตริย์กาตาร์ออกมาตำหนิซาอุฯและทรัมป์ว่าต้องให้ที่ยืนอิหร่านบ้าง
ต้องเข้าใจว่า ซาอุฯ และ GCC เป็นมุสลิมนิกายซุนนี่ แต่อิหร่านเป็นนิกายชีอะห์ ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมากัน
ซึ่งกาตาร์ปฏิเสธว่าข่าวนั้นเป็นการถูก hack แต่ทางซาอุฯไม่เชื่อเพราะมีการโทรศัพท์คุยด้วย
2. กลุ่มล่าสัตว์ มีราชวงศ์กาตาร์ถูกลักพาตัวที่อิรัก แล้วกาตาร์ไปจ่ายเงินค่าไถ่เกือบ 1 พันล้านเหรียญ
ซึ่งเงินนั้นไปแจกจ่ายให้กลุ่มที่ปรปักษ์กับซาอุฯและGCC ทำให้โกรธว่าเอาเงินไปช่วยกลุ่มก่อการร้ายที่จะไปโคนล้ม
ทำให้ถูกตีความว่า กาตาร์ ว่ามีการปันใจไปให้ฝ่ายชิอะห์ และ อิหร่าน
ซึ่งในความเป็นจริง กาตาร์ก็มีการสนับสนุนกลุ่มที่ต่อต้าน เช่น กลุ่ม ฮามาส อัลเคดาห์ หรือกลุ่มต่อต้านรัฐบาลอียิปต์
กาตาร์เป็นประเทศที่เล็กมาก มีคนกาตาร์จริงๆแค่ 3 แสนคน แต่อีก 2 ล้านคน เข้ามาทำงาน
เป็นคนที่มาจากอินเดีย ปากีสถาน เป็นประเทศร่ำรวย ที่ส่งออกน้ำมัน แก๊สธรรมชาติเหลว
ซึ่งกาตาร์ขุดเจาะใช้บ่อเดียวกับอิหร่าน แต่ขึ้นคนละจุด จึงต้องทำดีกับทางอิหร่านด้วย
แต่กาตาร์ บางทีก็ทำเกินหน้าเกินตาไป เช่น ตั้งสำนักข่าว Al Jazeera ซึ่งให้ข่าวโจมตีหลายประเทศในอาหรับ
และเขาพยายามทำตัวเองให้ดูใหญ่ ดูมีศักยภาพ เช่น เป็นเจ้าภาพ world cup
สรุป มองว่ากาตาร์คงมีปัญหาได้ยาก
1. มีเงินสำรอง 3 แสนล้านเหรียญ
2. กลุ่ม GCC และซาอุฯต้องมาคุยกันให้รู้เรื่อง เป็นนิกายซุนนี่ด้วยกัน
3. อเมริกาต้องเก็บกาตาร์ไว้เป็นที่ตั้งของกองทัพอเมริกาและศูนย์บัญชาการในตะวันออกกลาง มีทหารสหรัฐเป็นหมื่นกว่าคน
ตลาดไม่ได้เชื่อว่าจะกระทบ ถ้ามีปัญหาและทะเลาะกันบานปลาย ราคาน้ำมันคงขึ้นแล้ว
แต่ก็มีความเสี่ยงว่าอาจจะสร้างปัญหาได้ โดยกาตาร์ไปชักรัสเซีย,ตุรกี,อิหร่าน เข้ามา ซึ่งโอกาสน้อย
ยุโรป
ล่าสุดการประชุมนโยบายการเงินอังกฤษ ลงคะแนน 5:3 ให้คงดอกเบี้ย ถือว่าเฉียดฉิว
ทั้งที่เศรษฐกิจแผ่วลง เงินเฟ้อสูงขึ้น แต่มีแนวโน้มที่จะต้องขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต
ยุโรป มีการคาดการณ์น่าจะมีการลดทอน QE ลง ไม่มีพันธบัตรที่พึงซื้อได้
ประเมินว่าใน มิ.ย.61 ต้องลดทอน QE โดยปริยาย
จึงมีแนวโน้มของโลกที่ QE ซึ่งเคยช่วยอุ้มตลาดหุ้น จะถูกลดทอน ทั้งที่ยุโรป รวมถึงญี่ปุ่น
อังกฤษ
น่าเป็นห่วง ที่เทเรซ่า เมย์ก่อนเลือกตั้ง มี สส. 331 คน
พอเลือกตั้ง ตอนที่ประกาศยุบสภาคิดว่าจะได้ที่นั่งเพิ่มเป็น 431
หลังเลือกตั้งกลายเป็นได้ที่นั่งเหลือ 318 คน
ขาดเสียงเกินกึ่งหนึ่งคือ 326 ต้องเอาพรรคของไอร์แลนด์ มาร่วมรัฐบาล
จึงเกินกึ่งหนึ่งมาแค่ 2 เสียง
คนเข้าใจว่า เทเรซ่า เมย์ น่าจะ soft Brexit เพราะไอร์แลนด์น่าจะอยาก soft Brexit
ประเทศไอร์แลนด์มี 2 ส่วน ไอร์แลนด์เหนือ อยู่กับอังกฤษ และสหภาพไอร์แลนด์
ส่วนไอร์แลนด์เหนือ จะเป็นชายแดนระหว่าง อังกฤษกับ EU
ถ้าเป็น hard Brexit ชานแดนจะต้องมาตั้ง ตม. ศุลกากร ในการไปมาหาสู่กัน
ไอร์แลนด์จึงไม่น่าต้องการที่จะ hard Brexit
คนอาจจะเข้าใจผิดเรื่อง soft Brexit
คำว่า soft Brexit คือ อังกฤษเป็นส่วนหนึ่งของ single market ผู้คนบริการ สินค้า เงินทุนไปมาได้โดยเสรี
ไม่ต้องเสียภาษีศุลกากร ข้อเสียคือ ต้องจ่ายค่าสมาชิก EU ต้องทำตามคำสั่งศาลยุโรป ทำตามเงื่อนไข EU
จะเกิดคำถามว่าจะเป็น Brexit ไปทำไม??
จึงต้องจับตาดูว่า เทเรซ่า เมย์ จะจัดการกับการ soft exit ได้อย่างไร
รัฐมนตรี ตปท. บอริส จอห์นสัน ต้องการจะ Brexit มาก จึงมีข่าวว่าจะมีการเลื่อยขากันเอง
ถ้า soft Brexit โดนเลื่อยขากันเอง ถ้าไม่ soft Brexit ทางไอร์แลนด์ก็ไม่ลงคะแนนเสียงให้
กรีซ
ล่าสุดกลุ่ม EU ยอมเพิ่มเงินอุดหนุน และไปอุ้มกรีซ ซึ่งมีเงื่อนไขติดอยู่ที่ IMF ว่าจะร่วมด้วยหรือไม่
ประเด็นคือ ภาระหนี้ 200% ของ GDP จะทำอย่างไร จะต้องลดหนี้ และลดดอกเบี้ย ไหม IMF ถึงจะยอม
โดย เยอรมัน เป็นโต้โผหลักของยูโรโซนที่ต้องจ่าย
ส่วนผลการเลือกตั้งฝรั่งเศส เห็นว่าฝรั่งเศสต้องการอยู่ต่อใน EU
สรุป กลุ่ม EU ดูดีกว่าเดิม ตรงที่กรีซ เยอรมัน ฝรั่งเศส
แต่ Brexit เป็นประเด็น แม้แต่ก่อนเริ่มต้นเจรจาก็อาจะมีปัญหา
ก่อนเริ่มเจรจาเป็นสาระสำคัญ อังกฤษต้องจ่ายเงินค่าออก EU ก่อน ราว 8 หมื่นล้านปอนด์
ใช้เวลา 2 ปีกว่าจะออก ซึ่งมีหลายสิ่งที่เคย commit ไว้แล้ว จึงต้องจ่ายเงินก่อน
เกรงจะไม่ใช่ soft Brexit แต่จะเป็น chaotic Brexit
เมื่อครบ 2 ปี ตามมาตรา 50 ของอังกฤษ ใน มี.ค. ปี 2019 ไม่ว่าจะเจรจาเสร็จหรือไม่
ต้องออกจาก EU ตามสนธิสัญญา เปรียบเทียบคืออังกฤษก็จะเหมือนกับประเทศอื่นๆนอก EU เช่น ไทย เวียดนาม
ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะอยู่ต่อได้หรือไม่ได้ หรือเมื่อได้สาระมาแล้ว อาจจะต้องมาประชามติอีกที
ซึ่งพวกนายแบงค์ก็จะหนีออกกันหมด ราคาที่ดิน ราคาบ้านอังกฤษคงไม่ขึ้น
จีน
ตั้งแต่ ส.ค.59 ดำเนินนโยบายที่ตึงมาก มีการขึ้นดอกเบี้ยมาตลอด
ต้องการบีบไม่ให้หนี้เพิ่ม และไม่ให้เงินไหลออก
สถานการณ์จึงไม่ค่อยเอื้ออำนวย หุ้นไม่ค่อยขึ้น
แต่ ณ เวลานี้ ดีขึ้น จีนอาจผ่อนคลายลงนิดหน่อย
บางธุรกิจมีปัญหา เช่น ล่าสุด บ.ประกันภัย อันปัง
CEO โดนรัฐบาลจับไป ซึ่งคนนี้มือเติบเคยไปซื้อโรงแรมที่นิวยอร์ค
และ บ.อันปัง ถูกสั่งห้ามขายประกันตั้งแต่เดือนก่อน
เพราะนโยบายการเงินตึง เริ่มสร้างปัญหาข้างในบางส่วน
โดยรวมๆ GDP จีน น่าจะโตได้ 6.7%
ปลายปี 60 จะมีการประชุมสำคัญ ซึ่งประชุม 5 ปีครั้ง
โดยเป็นระบบที่เติ้ง เสี่ยว ผิง เคยสร้างไว้ให้ผู้นำอยู่ 2 สมัย สมัยละ 5 ปี
ซึ่งโดยปกติจะต้องได้ต่อ โดยเสนอกลุ่มบุคคลที่จะมาขึ้นแทนใน 5 ปีข้างหน้า
แต่ตามข่าว สี จิ้นผิง จะไม่ทำอย่างนั้น แล้วจะเสนอว่าตัวเองจำเป็นจะต้องต่ออายุไปอีก
โดยไม่มี successor ดังนั้น ใครที่มีท่าทางจะขัดขวาง จะถูกจัดการ
เกาหลี
มีความไม่แน่นอน มีประธานธิบดีคนใหม่ ซึ่งเคยเป็นเลขาประธานธิบดีคนก่อน
ซึ่งเน้นนโยบาย Sunshine policy พยายามจะช่วยเหลือเกาหลีเหนือ ในด้านเศรษฐกิจในทุกๆด้าน
เพื่อโน้มน้าวให้เกาหลีเหนือเลิกพัฒนานิวเคลียร์ และไม่ต้องแบ่งแยกออกไป
ซึ่งจะกระทบกับนโยบายรัฐบาลเดิมซึ่งให้ขีปนาวุธ THAAD เข้ามาติดตั้งอยู่ ซึ่งอเมริกาไม่พอใจ
ประเด็นเกาหลีเหนือการทดลองจรวดเป็นเรื่องที่น่ากลัว มี 2 ประเด็น
1. หัวอาวุธนิวเคลียร์ทำได้หรือไม่? จะต้องเล็กพอและระเบิดเมื่อจรวดลง เข้าใจว่ามีวัสดุพอ
2. จรวดยิงถึงอเมริกาหรือไม่? เกาหลีเหนือมองว่าถ้าหากเขายิงถึงอเมริกาได้ เขาก็จะปลอดภัย
เท่าที่ทราบขีปนาวุธตอนนี้ยังไม่ถึง แต่ไปถึงฐานทัพอเมริกาที่ญี่ปุ่นได้
ซึ่งถ้าใช้เชื้อเพลิงเหลวใช้เวลานานกว่าจะยิงได้ แต่ถ้าเป็น solid fuel จะยิงได้เร็ว ยิงได้มาก
ผลกระทบกับตลาดหุ้นที่เกาหลีใต้ไม่ได้กระทบ หุ้นขึ้นด้วยซ้ำ
เพราะอยู่ใกล้มาก ไม่ต้องจรวด ยิงปืนใหญ่ก็ถึงอยู่แล้ว
และคาดว่า จีนจะพอใจขึ้นที่ไม่ได้เข้าข้างอเมริกา
แล้วค่อยลดทอนการ sanction ท่องเที่ยง เกาหลีใต้
การท่องเที่ยวจะฟื้นตัวขึ้น
อินเดีย
ยังไม่เห็นอะไรใหม่
ช่วงที่เปลี่ยนธนบัตรเศรษฐกิจฟุบลงไปช่วงหนึ่งแล้วฟื้นกลับมา
ระยะยาวคิดว่าเศรษฐกิจอินเดียจะดีได้มาก
เพราะโครงสร้างประชากรดีกว่าจีนเยอะ คนอายุน้อยกำลังเข้าสู่วัยทำงาน
Price Water House คาดการณ์ว่าอีก 30 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจอินเดียกับยุโรปจะใกล้เคียงกัน
IMF ทำการวิเคราะห์ผลกระทบการแก่ตัวของประชากร ซึ่งประเทศที่มีผลกระทบเยอะ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไทย
อัตราการเกิดไทยสูงสุด 1973 หลังจากนั้นเรามี campaign แล้วอัตราการเกิดก็ไหลลงมาก
ใน 20 ปีข้างหน้า ผู้สูงอายุที่เกิน 60 จะเพิ่มขึ้น ลบกับจำนวนเด็กที่ลดลง
เพิ่ม 5 ล้านคน เป็นคนแก่เพิ่ม 9 ล้านคน และเด็กลดลงหลายล้านคน
คนที่อยู่ในวัยทำงาน ก็จะลดลง 5 ล้านคนเหมือนกัน ซึ่งต้องมีภาระเลี้ยงดูคนที่พึ่งพาเขาขึ้นมาก
สัดส่วนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ราว 30%
AEC
ประเทศรอบข้างเรามีศักยภาพสูง
หากเราสร้างเศรษฐกิจให้ครอบคลุม GMS (Greater Mekong Subregion) ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมต่อกัน
ขนาดของตลาดประชากรรวมกันเกือบ 200 ล้านคน ถ้าเอาภาคใต้จีนมารวมด้วย
เราก็ไม่ต้องคิดว่าไทยมีประชากร 65 ล้าน เราจะมีศักยภาพมาก
ต้องสร้างความสัมพันธ์กับประเทศรอบข้างให้ดี
นโยบาย One belt one road ของจีน ยังไม่เห็นภาพชัด
ซึ่งจีนต้องการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก
สำหรับของไทยยุทธศาสตร์ต้องทำให้เกิดพื้นที่เศรษฐกิจที่ขยายออกจากไทย
เช่น พม่า,เวียดนาม รวมถึงตอนใต้ของจีน
ผลกระทบไทย และหุ้น
ถ้าธนาคารกลางสหรัฐเริ่มลดทอนงบดุล รวมถึงยุโรป อังกฤษจะถอย
และการขึ้นดอกเบี้ยก็มีผลกระทบตลาดหุ้น ทรัมป์อาจจะไม่สามารถทำได้ตามสัญญา
ประเทศไทย เราต้องพึ่ง EEC เป็นหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจ (ชลบุรี,ระยอง,ฉะเชิงเทรา)
Key success factor คือ อู่ตะเภา เป็นสนามบินที่อเมริกาสร้างเอาไว้ มี 2 runway ที่ดีมาก เท่าสุวรรณภูมิ
สนามบินสุวรรณภูมิ เดิมที คิดว่าจะใช้กับผู้โดยสารไม่กิน 45 ล้นคน กลายเป็นใช้ 54 ล้านคน ควรสร้าง terminal ใหม่
ในขณะที่อู่ตะเภา ใช้แค่ 7 แสนคน จะดันขึ้นไปเป็น 5 ล้าน หรือ 20 ล้าน แค่สร้าง terminal เพิ่ม เพราะ run way มีอยู่แล้ว
ซึ่ง airbus ก็สนใจที่จะมาใช้เป็นศูนย์บำรุงและบริการเครื่องบิน, ทางทหารเรือก็เปิดพื้นที่ข้างๆให้ทำนิคมฯผลิตชิ้นส่วนเครื่องบิน
ทาง Alibaba ก็อยากใช้ทำ logistics ตรงนั้นสามารถใช้ได้หลายมิติ
รวมถึงการขยายท่าเรือแหลมฉบังที่มีการใช้เกินกำลังอยุ่แล้ว และการขยายพื้นที่อุตสาหกรรมในระยอง
ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนการลงทุนและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
สนามบิน อู่ตะเภา อยู่ห่างจากสุวรรณภูมิ 150 km ห่างกรุงเทพฯ 200 km
ถ้ามีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยง ก็น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เป็นไปได้
เศรษฐกิจไทย
GDP คาดโต 3.3-3.4% แต่ยังไม่แน่ใจกำลังซื้อในประเทศ
การส่งออกดี และฟื้นตัวใช้ได้โต 5% แต่ไม่แน่นอนว่าจะต่อเนื่องแค่ไหน โดยเฉพาะเงินบาทแข็งค่าขึ้น
ราคาสินค้าเกษตรบางอย่างก็ดีขึ้น อิเลคทรอนิกส์ก็เป็นวัฏจักรขาขึ้น
การใช้จ่ายภาครัฐ เช่น ECC หรือการใช้มาตรการ 44 เพื่อทำให้เกิดผลโดยเร็ว
ตัวเลขการว่างงานเพิ่มขึ้น แต่ของประเทศเราไม่ค่อยแม่นเท่าไร บางทีอาจเป็นคนเรียนจบแล้วไม่ได้ทำงาน
แต่ที่น่าเป็นห่วงตัวเลขการจ้างงานก็ลดลงด้วย รวมถึงตัวเลขค่าจ้างก็มีแนวโน้มลดลง
สะท้อนว่ากำลังซื้อจะไม่มี
รวมถึงแบงค์ที่มี NPL เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือ หนี้เก่าของแบงค์มีปัญหา หนี้ใหม่ไม่ปล่อย
จะเป็นลมต้านการฟื้นของเศรษฐกิจ ตัวเลข ม.ค.-เม.ย. ธนาคารปล่อยกู้ใหม่ 0.1% แต่เก็บภาษี 7%
แสดงว่าธนาคารไม่ได้ใส่เงินเข้าไปในระบบ เศรษฐกิจจะฟื้นยาก
แบงค์ชาติยืนยันว่าไม่เป็นไร NPL เป็น lagging indicator เกิดเพราะเคยมีปัญหาเมื่อ 6 เดือน หรือ 1 ปีก่อน
พอเศรษฐกิจดี แล้ว NPL จะดีเอง แต่ส่วนตัวเชื่อว่า NPL สูง จะเป็นปัญหาของคนอยากกู้ใหม่
และทำให้เศรษฐกิจฟื้นได้ยาก ถ้าไปดูดอกเบี้ยที่พึงได้รับแต่ไม่ได้รับของธนาคาร เพิ่มขึ้น 10%
ไม่ใช่แค่ NPL แต่หนี้ที่ไม่จ่ายดอกเบี้ย 1 เดือนเป็นต้นไปแต่ยังไม่เป็น NPL เพิ่มขึ้น ทำให้แบงค์ก็จะยิ่งไม่ปล่อย
หรืออย่าง ผู้ประกอบการอสังหาฯ ถูก แบงค์ reject 40-50% เซลล์ต้องขายบ้านหลังเดียวกันหลายครั้ง
เป็นห่วงอยู่เหมือนกัน ข้อมูลเครดิตบูโรบอกคนวัยทำงานเป็น NPL สูง
GDP อธิบายเศรษฐกิจทั้งหมดได้ไหม?
คิดว่าอธิบาย GDP โต 3% กว่า คือเป็นการบันทึกกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งตีมูลค่าได้ เพิ่มขึ้นเท่าไร ในแต่ละปีแต่ละไตรมาส
ถ้าไปดูอีกตัวเลขหนึ่ง คือ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัด แปลว่า
ไทยมีรายจ่ายสินค้าบริการต่างประเทศ เทียบกับรายได้ซึ่งขายให้ต่างประเทศ เราเกินมา 10กว่า %
แสดงว่า ประเทศมีรายได้ มากกว่า รายจ่าย 10%
GDP 14 ล้านล้าน เกินมา 10% คือ 1.4 ล้านล้าน ซึ่งต่อเนื่องมา 2 ปี เป็นปีที่ 3 ในปีนี้
ปัญหาคือ มีแค่คนบางกลุ่ม คนส่วนใหญ่มักจะมีพอดีๆ หรือรายจ่ายมากกว่ารายได้ ด้วยซ้ำ
ดุลบัญชีเดินสะพัดเราสูง และโตขึ้นเยอะ ทั้งๆที่การส่งออกไม่ได้เพิ่มขึ้นเท่าไร
แสดงว่าการนำเข้ามันลดลง กำลังซื้อข้างในลดลง
คนที่ทำส่งออกดีอยู่ แต่คนที่ทำธุรกิจในประเทศลำบาก
โดยรวมแล้ว เศรษฐกิจไทยมีความหวังแค่ไหน?
เศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจเปิด ต้องพึ่งพาการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกเป็นหลัก
ซึ่งยังไปได้ดีระดับหนึ่ง ก็มีความหวังตรงนั้น
และ GMS ไทยต้องเดินนโยบาย ในลุ่มน้ำโขง
ให้เป็นประโยชน์กับการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคนี้จริงๆ
ถ้านึกถึงแค่ไทย 65 ล้านคน แต่ถ้านึกถึงกลุ่มประเทศเหล่านี้เรามีกันอยู่ 150 ล้าน มีศักยภาพ
ขอบพระคุณอ.ไพบูลย์ อ.เสน่ห์ อ.นิเวศน์ แขกรับเชิญทุกท่าน ทีมงาน moneytalk และผู้สนับสนุน
ได้ Update ความรู้ทางเศรษฐกิจมหภาคมากๆเลยครับ
เนื้อหาหากผิดพลาด ตกหล่นไปประการใด ขออภัยด้วยนะครับ
สามารถดูรายการย้อนหลังได้ทาง TV และ youtube ครับ
ในช่วง 2 ทางพี่อมรจะสรุปให้นะครับ ขอบคุณครับ
หัวข้อ 1 “เศรษฐกิจและผลกระทบหุ้นครึ่งหลังปี60”
แขกรับเชิญ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บล.ภัทร
ผู้ดำเนินรายการ ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
อเมริกา
สัปดาห์ที่ผ่านมา FED ประกาศขึ้นดอกเบี้ยจาก 0.75-1% เป็น 1-1.25%
ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ แต่สิ่งที่ตลาดไม่ได้คาดไว้ คือ
มีการประกาศอย่างมีรายละเอียดสำคัญว่าจะลดทอนงบดุลอย่างไร
ช่วงปี 2008-2009 FED พิมพ์เงินไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรระยะยาว (Mortgage backed security)
ซื้อไปเรื่อยจนมูลค่างบดุลเป็น 4.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมที่มีงบดุล 9 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
ปกติ FED จะคุมดอกเบี้ยนโยบายอย่างเดียว คือ ดอกเบี้ย 1 วัน
แต่การซื้อพันธบัตร 1 ปี, 2 ปี, 5 ปี, 10 ปี เป็นการคุมให้ดอกเบี้ยต่ำทั้ง Curve
ผลกระทบการคุมดอกเบี้ยให้ต่ำ จึงช่วยคนกู้บ้านให้ดอกเบี้ยต่ำลง
ผลตอบแทนในตลาดหุ้นก็สูงขึ้น เพราะ Earning yield gap(ส่วนต่างจากพันธบัตรรัฐบาล) ยิ่งมาก ยิ่งราคาถูก
8-9 ปี ที่ผ่านมาตลาดหุ้นถึงขึ้น ธ.กลางสหรัฐ underright หุ้นทั้งตลาดโดยระบบ QE
การถอนกระบวนการที่คุมดอกเบี้ยระยะยาวออกไป โดยประกาศชัดว่าจะ ปล่อยให้พันธบัตรที่ FED ถือหมดอายุ
เริ่มต้น 1 หมื่นล้านเหรียญต่อเดือน และเพิ่มไปเรื่อยๆ โดยไม่เกิน 5 หมื่นล้านเหรียญ
งบดุลที่มีอยู่ 4.5 ล้านล้านจะลดลงใช้เวลา 6-7 ปีจะกลับไปสู่ระดับ 2 ล้านล้านกว่า ซึ่งน่าจะเป็นระดับที่เหมาะสม
สิ่งที่คนกังวล ธนาคารกลางดูดเงินกลับเข้ามา และดอกเบี้ยระยะยาวจะสูงขึ้น
เช่น พันธบัตร 10 ปี ดอกเบี้ย 2.18% แต่ในอดีตดอกเบี้ยเฉลี่ยก่อนหน้า QE อยู่ที่ 5%
ดอกเบี้ยระยะสั้นอยู่ที่ 1-1.25% คณะกรรมการกลางนโยบายการเงินสหรัฐประเมินว่าปล่อยให้อยู่ในระดับปกติที่ 3%
เรากำลังเข้าสู่ยุคใหม่ที่ดอกเบี้ยจะมีแนวโน้มขึ้นทั้ง curve
สิ่งที่น่าสนใจคือ วันที่ FED ประกาศ ตลาดไม่ยอมรับ ดอกเบี้ยน่าจะกระแทกขึ้น แต่กลับลงด้วยซ้ำ
นักวิเคราะห์ต่างๆ ไม่เชื่อ มองว่า FED ประเมินผิด เศรษฐกิจอเมริกาไม่ดีขนาดนั้น เงินเฟ้อเริ่มไหลลง GDP โตไม่มาก
แล้ว Fed จะต้องกลับตัว ตลาดหุ้นจึงไม่ได้ลดลงมาก
ครึ่งหลังปีนี้ ต้องตั้งคำถามว่า ตลาดคิดถูก หรือ FED คิดถูก
ถ้าหาก FED ถูก แล้วดันดอกเบี้ยขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะเศรษฐกิจดีจริง คนถือพันธบัตร จะขาดทุน
ถ้า FED ผิด แล้วไปขึ้นดอกเบี้ย เศรษฐกิจจะแผ่ว หุ้นจะไม่ดี แล้ว FED ต้องถอย
เป็นไปได้ไหม ที่ทรัมพ์จะปลดเยลเลนต่อ?
อ.ศุภวุฒิ เป็นไปได้ แต่ช่วงที่เป็นไปได้คือ ก.พ. ปีหน้า เยลเลน จะหมดสมัยผู้ว่าแบงค์ชาติ ราว ก.พ. 61
ยังเป็น กรรมการ FED ได้ แต่ต้องออกจากกการเป็นผู้ว่า ซึ่งปกติถ้าไม่ได้แต่งตั้งเป็นผู้ว่าฯต่อมักจะลาออก
ที่ผ่านมา ทรัมป์แสดงท่าทีไม่อยากให้เยลเลนอยู่ต่อ ซึ่งตลาดประเมินว่ายังมีโอกาสที่เยลเลนจะได้อยู่ต่อ 30%
อย่างไรก็ตาม Bloomberg ได้ไปถามความเห็น Fund manager ทั้งหลายมองกันว่า
เยลเลน ยังมีโอกาสได้อยู่ต่อมากกว่า เทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ
นโยบายทรัมป์
ตลาดเคยหวังว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยลดทอนภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา
แต่นับวันบารมีทรัมป์จะเสื่อมลงไปเรื่อย อาจจะผ่านอะไรไม่ได้เลย
แรงส่งจากทรัมป์น่าจะไม่มีเลยในปีนี้ และอาจจะมีบ้างในปีหน้า
การที่จะปฏิรูปภาษีนิติบุคคล ต้องอาศัยบารมีการเมืองมาก (Political capital)
ซึ่งเวลาผ่านมา ทรัมป์อาจไม่ค่อยมีบารมีกับพรรครีพับรีกันเท่าไร
ดูท่าทีต้องไปหาทางป้องกันตัวเองจากการสอบสวนของโรเบิร์ต มุลเลอร์
จากเดิมที่ FBI สอบสวนเฉพาะเรื่องรัสเซียเข้ามาแทรกแซงกระบวนการเลือกตั้งสหรัฐหรือไม่
และ ประเด็นว่ามี collusion ความรู้เห็นเป็นใจระหว่างทีมของทรัมป์และรัสเซียหรือไม่
แต่ทรัมป์ไปกวนน้ำให้ขุ่นโดยไปบอกผู้อำนวยการ FBI คนเก่า(เจมส์ โคมีย์) ที่เขาปลดไปให้เลิกสอบสวน
ไมเคิ่ล ฟลิน ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านความมั่นคง จึงมีการตั้ง โรเบิร์ต มุลเลอร์ ขึ้นมาสอบสวน (Special counsel)
จึงเริ่มมีการขยายคดี ว่ามีคนของทรัมป์ รวมถึงลูกเขยว่าได้ประโยชน์ทางการเงินหรือเปล่า
ล่าสุดข่าวออกว่าต้องสอบสวนอีกด้วยว่า ทรัมป์มีการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมโดยไล่เจมส์ โคมีย์ออกหรือเปล่า
จึงเกรงว่า ทรัมป์ทั้งปีนี้และปีหน้าจะต้องมาคอยจัดการตัวเองให้รอดในประเด็นเหล่านี้
แต่คิดว่าถ้าทรัมป์จะหลุดจากตำแหน่ง (impeachment) อย่างเร็วคือปี 2019
ระบบของอเมริกาไม่เหมือนกับเกาหลีใต้ ที่ถูกตัดสินให้ออกจากตำแหน่งอย่างเร็วโดยศาลรัฐธรรมนูญ
แต่ของอเมริกาคือ สภาล่าง(สภาผู้แทนราษฏร) กล่าวหาประธานาธิบดี จะต้องตัดสินด้วยเสียงข้างมาก
ว่าจะกล่าวหาประธานธิบดี ซึ่งรีพับลิกันคุมเสียงข้างมาก
แต่ถ้าปลายปีหน้าเลือกตั้งแล้วเสียงข้างมากไปอยู่ที่เดโมแครต มีโอกาสเกิด impeachment
เมื่อกล่าวหาประธานธิบดีแล้วจะมีสิทธิแก้ต่างในสภา โดย วุฒิสภาจะต้องลงคะแนนเสียงเหมือนลูกขุน
โดยถ้าลงคะแนนเกิน 2 ใน 3 ประธานธิบดีจึงจะหลุดจากตำแหน่ง
ในอดีต บิล คลินตัน เคยโดย impeach แต่ไม่หลุดจากตำแหน่ง เคยโดนสอบสวนโดย เคนเนต สตาร์
ซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อสอบสวน ว่ามีผู้บริหารทำเนียบขาวฆ่าตัวตาย ซึ่งมีปัญหาการเงินสืบเนื่องมาจาก white water ที่ล้มละลาย
โดยบิลและฮิลารีมีส่วนเกี่ยวข้อง สอบสวนไปมากลายเป็นเคส โมนิก้า เลวินสกี
เป็นการสะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการสอบสวนพิเศษของอเมริกามีความไม่แน่นอนสูง
กลายเป็นเรื่องที่เริ่มต้นอย่าง และจบอีกอย่างได้
ดังนั้น เคสของทรัมป์ก็อาจจะจบที่ตรงไหนก็ได้
ทำให้ทรัมป์อาจพะวง และไม่สามารถเอาพลังไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้
ครั้งสุดท้ายที่มีการปฏิรูประบบภาษีอเมริกา คือ สมัยโรนัลด์ เรแกน
ใช้เวลา 3 ปี 1984-1986 ซึ่งตอนนั้น โรนัลด์เรแกน มี approval rating อยู่ที่ 60 เกือบ 70% สูงมาก
แต่ทรัมป์มีแค่ 30 กว่า % จึงยากมาก ที่จะทำอะไรให้เกิดผลได้
สภาร่างเลือกตั้งใหม่ทั้งหมดทุก 2 ปี แต่วุฒิสภาชิกทุก 2 ปี จะเลือกตั้ง 1 ใน 3
ซึ่งตอนนี้คะแนนเสียงของรีพับรีกันค่อนข้างตก
ตอนนี้ สส. ต่างๆต้องระมัดระวังตัวระดับหนึ่ง เพราะทรัมป์สัญญาไว้เยอะ
และต้องรอดูราว ต.ค.-พ.ย. ถ้าร่างกฏหมายต่างๆยังไม่มีอะไรผ่านน่าจะมีปัญหาได้
ส่วนเรื่องกำแพง mexico ทรัมป์ถอยไปแล้วไม่ได้ของบประมาณไว้
กาตาร์
เริ่มจากตอนที่ทรัมป์เดินทางไปประชุมใหญ่ที่ซาอุดิอาระเบีย โดยทรัมป์ดูให้ความสำคัญกับซาอุฯเป็นพันธมิตรหลัก
รวมถึงสัญญาขายอาวุธให้เป็นแสนล้านเหรียญฯ หลังจากนั้นซาอุฯก็รู้สึกว่าตัวเองสำคัญและทรัมป์ให้ท้าย
ในช่วงนั้นมี 2 ข่าว ที่ทำให้ ซาอุฯและ GCC(Gulp Cooperation Council) เริ่มตัดสินใจว่าต้องไปจัดการกับกาตาร์
1. มีข่าวว่ากษัตริย์กาตาร์ออกมาตำหนิซาอุฯและทรัมป์ว่าต้องให้ที่ยืนอิหร่านบ้าง
ต้องเข้าใจว่า ซาอุฯ และ GCC เป็นมุสลิมนิกายซุนนี่ แต่อิหร่านเป็นนิกายชีอะห์ ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมากัน
ซึ่งกาตาร์ปฏิเสธว่าข่าวนั้นเป็นการถูก hack แต่ทางซาอุฯไม่เชื่อเพราะมีการโทรศัพท์คุยด้วย
2. กลุ่มล่าสัตว์ มีราชวงศ์กาตาร์ถูกลักพาตัวที่อิรัก แล้วกาตาร์ไปจ่ายเงินค่าไถ่เกือบ 1 พันล้านเหรียญ
ซึ่งเงินนั้นไปแจกจ่ายให้กลุ่มที่ปรปักษ์กับซาอุฯและGCC ทำให้โกรธว่าเอาเงินไปช่วยกลุ่มก่อการร้ายที่จะไปโคนล้ม
ทำให้ถูกตีความว่า กาตาร์ ว่ามีการปันใจไปให้ฝ่ายชิอะห์ และ อิหร่าน
ซึ่งในความเป็นจริง กาตาร์ก็มีการสนับสนุนกลุ่มที่ต่อต้าน เช่น กลุ่ม ฮามาส อัลเคดาห์ หรือกลุ่มต่อต้านรัฐบาลอียิปต์
กาตาร์เป็นประเทศที่เล็กมาก มีคนกาตาร์จริงๆแค่ 3 แสนคน แต่อีก 2 ล้านคน เข้ามาทำงาน
เป็นคนที่มาจากอินเดีย ปากีสถาน เป็นประเทศร่ำรวย ที่ส่งออกน้ำมัน แก๊สธรรมชาติเหลว
ซึ่งกาตาร์ขุดเจาะใช้บ่อเดียวกับอิหร่าน แต่ขึ้นคนละจุด จึงต้องทำดีกับทางอิหร่านด้วย
แต่กาตาร์ บางทีก็ทำเกินหน้าเกินตาไป เช่น ตั้งสำนักข่าว Al Jazeera ซึ่งให้ข่าวโจมตีหลายประเทศในอาหรับ
และเขาพยายามทำตัวเองให้ดูใหญ่ ดูมีศักยภาพ เช่น เป็นเจ้าภาพ world cup
สรุป มองว่ากาตาร์คงมีปัญหาได้ยาก
1. มีเงินสำรอง 3 แสนล้านเหรียญ
2. กลุ่ม GCC และซาอุฯต้องมาคุยกันให้รู้เรื่อง เป็นนิกายซุนนี่ด้วยกัน
3. อเมริกาต้องเก็บกาตาร์ไว้เป็นที่ตั้งของกองทัพอเมริกาและศูนย์บัญชาการในตะวันออกกลาง มีทหารสหรัฐเป็นหมื่นกว่าคน
ตลาดไม่ได้เชื่อว่าจะกระทบ ถ้ามีปัญหาและทะเลาะกันบานปลาย ราคาน้ำมันคงขึ้นแล้ว
แต่ก็มีความเสี่ยงว่าอาจจะสร้างปัญหาได้ โดยกาตาร์ไปชักรัสเซีย,ตุรกี,อิหร่าน เข้ามา ซึ่งโอกาสน้อย
ยุโรป
ล่าสุดการประชุมนโยบายการเงินอังกฤษ ลงคะแนน 5:3 ให้คงดอกเบี้ย ถือว่าเฉียดฉิว
ทั้งที่เศรษฐกิจแผ่วลง เงินเฟ้อสูงขึ้น แต่มีแนวโน้มที่จะต้องขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต
ยุโรป มีการคาดการณ์น่าจะมีการลดทอน QE ลง ไม่มีพันธบัตรที่พึงซื้อได้
ประเมินว่าใน มิ.ย.61 ต้องลดทอน QE โดยปริยาย
จึงมีแนวโน้มของโลกที่ QE ซึ่งเคยช่วยอุ้มตลาดหุ้น จะถูกลดทอน ทั้งที่ยุโรป รวมถึงญี่ปุ่น
อังกฤษ
น่าเป็นห่วง ที่เทเรซ่า เมย์ก่อนเลือกตั้ง มี สส. 331 คน
พอเลือกตั้ง ตอนที่ประกาศยุบสภาคิดว่าจะได้ที่นั่งเพิ่มเป็น 431
หลังเลือกตั้งกลายเป็นได้ที่นั่งเหลือ 318 คน
ขาดเสียงเกินกึ่งหนึ่งคือ 326 ต้องเอาพรรคของไอร์แลนด์ มาร่วมรัฐบาล
จึงเกินกึ่งหนึ่งมาแค่ 2 เสียง
คนเข้าใจว่า เทเรซ่า เมย์ น่าจะ soft Brexit เพราะไอร์แลนด์น่าจะอยาก soft Brexit
ประเทศไอร์แลนด์มี 2 ส่วน ไอร์แลนด์เหนือ อยู่กับอังกฤษ และสหภาพไอร์แลนด์
ส่วนไอร์แลนด์เหนือ จะเป็นชายแดนระหว่าง อังกฤษกับ EU
ถ้าเป็น hard Brexit ชานแดนจะต้องมาตั้ง ตม. ศุลกากร ในการไปมาหาสู่กัน
ไอร์แลนด์จึงไม่น่าต้องการที่จะ hard Brexit
คนอาจจะเข้าใจผิดเรื่อง soft Brexit
คำว่า soft Brexit คือ อังกฤษเป็นส่วนหนึ่งของ single market ผู้คนบริการ สินค้า เงินทุนไปมาได้โดยเสรี
ไม่ต้องเสียภาษีศุลกากร ข้อเสียคือ ต้องจ่ายค่าสมาชิก EU ต้องทำตามคำสั่งศาลยุโรป ทำตามเงื่อนไข EU
จะเกิดคำถามว่าจะเป็น Brexit ไปทำไม??
จึงต้องจับตาดูว่า เทเรซ่า เมย์ จะจัดการกับการ soft exit ได้อย่างไร
รัฐมนตรี ตปท. บอริส จอห์นสัน ต้องการจะ Brexit มาก จึงมีข่าวว่าจะมีการเลื่อยขากันเอง
ถ้า soft Brexit โดนเลื่อยขากันเอง ถ้าไม่ soft Brexit ทางไอร์แลนด์ก็ไม่ลงคะแนนเสียงให้
กรีซ
ล่าสุดกลุ่ม EU ยอมเพิ่มเงินอุดหนุน และไปอุ้มกรีซ ซึ่งมีเงื่อนไขติดอยู่ที่ IMF ว่าจะร่วมด้วยหรือไม่
ประเด็นคือ ภาระหนี้ 200% ของ GDP จะทำอย่างไร จะต้องลดหนี้ และลดดอกเบี้ย ไหม IMF ถึงจะยอม
โดย เยอรมัน เป็นโต้โผหลักของยูโรโซนที่ต้องจ่าย
ส่วนผลการเลือกตั้งฝรั่งเศส เห็นว่าฝรั่งเศสต้องการอยู่ต่อใน EU
สรุป กลุ่ม EU ดูดีกว่าเดิม ตรงที่กรีซ เยอรมัน ฝรั่งเศส
แต่ Brexit เป็นประเด็น แม้แต่ก่อนเริ่มต้นเจรจาก็อาจะมีปัญหา
ก่อนเริ่มเจรจาเป็นสาระสำคัญ อังกฤษต้องจ่ายเงินค่าออก EU ก่อน ราว 8 หมื่นล้านปอนด์
ใช้เวลา 2 ปีกว่าจะออก ซึ่งมีหลายสิ่งที่เคย commit ไว้แล้ว จึงต้องจ่ายเงินก่อน
เกรงจะไม่ใช่ soft Brexit แต่จะเป็น chaotic Brexit
เมื่อครบ 2 ปี ตามมาตรา 50 ของอังกฤษ ใน มี.ค. ปี 2019 ไม่ว่าจะเจรจาเสร็จหรือไม่
ต้องออกจาก EU ตามสนธิสัญญา เปรียบเทียบคืออังกฤษก็จะเหมือนกับประเทศอื่นๆนอก EU เช่น ไทย เวียดนาม
ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะอยู่ต่อได้หรือไม่ได้ หรือเมื่อได้สาระมาแล้ว อาจจะต้องมาประชามติอีกที
ซึ่งพวกนายแบงค์ก็จะหนีออกกันหมด ราคาที่ดิน ราคาบ้านอังกฤษคงไม่ขึ้น
จีน
ตั้งแต่ ส.ค.59 ดำเนินนโยบายที่ตึงมาก มีการขึ้นดอกเบี้ยมาตลอด
ต้องการบีบไม่ให้หนี้เพิ่ม และไม่ให้เงินไหลออก
สถานการณ์จึงไม่ค่อยเอื้ออำนวย หุ้นไม่ค่อยขึ้น
แต่ ณ เวลานี้ ดีขึ้น จีนอาจผ่อนคลายลงนิดหน่อย
บางธุรกิจมีปัญหา เช่น ล่าสุด บ.ประกันภัย อันปัง
CEO โดนรัฐบาลจับไป ซึ่งคนนี้มือเติบเคยไปซื้อโรงแรมที่นิวยอร์ค
และ บ.อันปัง ถูกสั่งห้ามขายประกันตั้งแต่เดือนก่อน
เพราะนโยบายการเงินตึง เริ่มสร้างปัญหาข้างในบางส่วน
โดยรวมๆ GDP จีน น่าจะโตได้ 6.7%
ปลายปี 60 จะมีการประชุมสำคัญ ซึ่งประชุม 5 ปีครั้ง
โดยเป็นระบบที่เติ้ง เสี่ยว ผิง เคยสร้างไว้ให้ผู้นำอยู่ 2 สมัย สมัยละ 5 ปี
ซึ่งโดยปกติจะต้องได้ต่อ โดยเสนอกลุ่มบุคคลที่จะมาขึ้นแทนใน 5 ปีข้างหน้า
แต่ตามข่าว สี จิ้นผิง จะไม่ทำอย่างนั้น แล้วจะเสนอว่าตัวเองจำเป็นจะต้องต่ออายุไปอีก
โดยไม่มี successor ดังนั้น ใครที่มีท่าทางจะขัดขวาง จะถูกจัดการ
เกาหลี
มีความไม่แน่นอน มีประธานธิบดีคนใหม่ ซึ่งเคยเป็นเลขาประธานธิบดีคนก่อน
ซึ่งเน้นนโยบาย Sunshine policy พยายามจะช่วยเหลือเกาหลีเหนือ ในด้านเศรษฐกิจในทุกๆด้าน
เพื่อโน้มน้าวให้เกาหลีเหนือเลิกพัฒนานิวเคลียร์ และไม่ต้องแบ่งแยกออกไป
ซึ่งจะกระทบกับนโยบายรัฐบาลเดิมซึ่งให้ขีปนาวุธ THAAD เข้ามาติดตั้งอยู่ ซึ่งอเมริกาไม่พอใจ
ประเด็นเกาหลีเหนือการทดลองจรวดเป็นเรื่องที่น่ากลัว มี 2 ประเด็น
1. หัวอาวุธนิวเคลียร์ทำได้หรือไม่? จะต้องเล็กพอและระเบิดเมื่อจรวดลง เข้าใจว่ามีวัสดุพอ
2. จรวดยิงถึงอเมริกาหรือไม่? เกาหลีเหนือมองว่าถ้าหากเขายิงถึงอเมริกาได้ เขาก็จะปลอดภัย
เท่าที่ทราบขีปนาวุธตอนนี้ยังไม่ถึง แต่ไปถึงฐานทัพอเมริกาที่ญี่ปุ่นได้
ซึ่งถ้าใช้เชื้อเพลิงเหลวใช้เวลานานกว่าจะยิงได้ แต่ถ้าเป็น solid fuel จะยิงได้เร็ว ยิงได้มาก
ผลกระทบกับตลาดหุ้นที่เกาหลีใต้ไม่ได้กระทบ หุ้นขึ้นด้วยซ้ำ
เพราะอยู่ใกล้มาก ไม่ต้องจรวด ยิงปืนใหญ่ก็ถึงอยู่แล้ว
และคาดว่า จีนจะพอใจขึ้นที่ไม่ได้เข้าข้างอเมริกา
แล้วค่อยลดทอนการ sanction ท่องเที่ยง เกาหลีใต้
การท่องเที่ยวจะฟื้นตัวขึ้น
อินเดีย
ยังไม่เห็นอะไรใหม่
ช่วงที่เปลี่ยนธนบัตรเศรษฐกิจฟุบลงไปช่วงหนึ่งแล้วฟื้นกลับมา
ระยะยาวคิดว่าเศรษฐกิจอินเดียจะดีได้มาก
เพราะโครงสร้างประชากรดีกว่าจีนเยอะ คนอายุน้อยกำลังเข้าสู่วัยทำงาน
Price Water House คาดการณ์ว่าอีก 30 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจอินเดียกับยุโรปจะใกล้เคียงกัน
IMF ทำการวิเคราะห์ผลกระทบการแก่ตัวของประชากร ซึ่งประเทศที่มีผลกระทบเยอะ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไทย
อัตราการเกิดไทยสูงสุด 1973 หลังจากนั้นเรามี campaign แล้วอัตราการเกิดก็ไหลลงมาก
ใน 20 ปีข้างหน้า ผู้สูงอายุที่เกิน 60 จะเพิ่มขึ้น ลบกับจำนวนเด็กที่ลดลง
เพิ่ม 5 ล้านคน เป็นคนแก่เพิ่ม 9 ล้านคน และเด็กลดลงหลายล้านคน
คนที่อยู่ในวัยทำงาน ก็จะลดลง 5 ล้านคนเหมือนกัน ซึ่งต้องมีภาระเลี้ยงดูคนที่พึ่งพาเขาขึ้นมาก
สัดส่วนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ราว 30%
AEC
ประเทศรอบข้างเรามีศักยภาพสูง
หากเราสร้างเศรษฐกิจให้ครอบคลุม GMS (Greater Mekong Subregion) ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมต่อกัน
ขนาดของตลาดประชากรรวมกันเกือบ 200 ล้านคน ถ้าเอาภาคใต้จีนมารวมด้วย
เราก็ไม่ต้องคิดว่าไทยมีประชากร 65 ล้าน เราจะมีศักยภาพมาก
ต้องสร้างความสัมพันธ์กับประเทศรอบข้างให้ดี
นโยบาย One belt one road ของจีน ยังไม่เห็นภาพชัด
ซึ่งจีนต้องการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก
สำหรับของไทยยุทธศาสตร์ต้องทำให้เกิดพื้นที่เศรษฐกิจที่ขยายออกจากไทย
เช่น พม่า,เวียดนาม รวมถึงตอนใต้ของจีน
ผลกระทบไทย และหุ้น
ถ้าธนาคารกลางสหรัฐเริ่มลดทอนงบดุล รวมถึงยุโรป อังกฤษจะถอย
และการขึ้นดอกเบี้ยก็มีผลกระทบตลาดหุ้น ทรัมป์อาจจะไม่สามารถทำได้ตามสัญญา
ประเทศไทย เราต้องพึ่ง EEC เป็นหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจ (ชลบุรี,ระยอง,ฉะเชิงเทรา)
Key success factor คือ อู่ตะเภา เป็นสนามบินที่อเมริกาสร้างเอาไว้ มี 2 runway ที่ดีมาก เท่าสุวรรณภูมิ
สนามบินสุวรรณภูมิ เดิมที คิดว่าจะใช้กับผู้โดยสารไม่กิน 45 ล้นคน กลายเป็นใช้ 54 ล้านคน ควรสร้าง terminal ใหม่
ในขณะที่อู่ตะเภา ใช้แค่ 7 แสนคน จะดันขึ้นไปเป็น 5 ล้าน หรือ 20 ล้าน แค่สร้าง terminal เพิ่ม เพราะ run way มีอยู่แล้ว
ซึ่ง airbus ก็สนใจที่จะมาใช้เป็นศูนย์บำรุงและบริการเครื่องบิน, ทางทหารเรือก็เปิดพื้นที่ข้างๆให้ทำนิคมฯผลิตชิ้นส่วนเครื่องบิน
ทาง Alibaba ก็อยากใช้ทำ logistics ตรงนั้นสามารถใช้ได้หลายมิติ
รวมถึงการขยายท่าเรือแหลมฉบังที่มีการใช้เกินกำลังอยุ่แล้ว และการขยายพื้นที่อุตสาหกรรมในระยอง
ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนการลงทุนและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
สนามบิน อู่ตะเภา อยู่ห่างจากสุวรรณภูมิ 150 km ห่างกรุงเทพฯ 200 km
ถ้ามีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยง ก็น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เป็นไปได้
เศรษฐกิจไทย
GDP คาดโต 3.3-3.4% แต่ยังไม่แน่ใจกำลังซื้อในประเทศ
การส่งออกดี และฟื้นตัวใช้ได้โต 5% แต่ไม่แน่นอนว่าจะต่อเนื่องแค่ไหน โดยเฉพาะเงินบาทแข็งค่าขึ้น
ราคาสินค้าเกษตรบางอย่างก็ดีขึ้น อิเลคทรอนิกส์ก็เป็นวัฏจักรขาขึ้น
การใช้จ่ายภาครัฐ เช่น ECC หรือการใช้มาตรการ 44 เพื่อทำให้เกิดผลโดยเร็ว
ตัวเลขการว่างงานเพิ่มขึ้น แต่ของประเทศเราไม่ค่อยแม่นเท่าไร บางทีอาจเป็นคนเรียนจบแล้วไม่ได้ทำงาน
แต่ที่น่าเป็นห่วงตัวเลขการจ้างงานก็ลดลงด้วย รวมถึงตัวเลขค่าจ้างก็มีแนวโน้มลดลง
สะท้อนว่ากำลังซื้อจะไม่มี
รวมถึงแบงค์ที่มี NPL เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือ หนี้เก่าของแบงค์มีปัญหา หนี้ใหม่ไม่ปล่อย
จะเป็นลมต้านการฟื้นของเศรษฐกิจ ตัวเลข ม.ค.-เม.ย. ธนาคารปล่อยกู้ใหม่ 0.1% แต่เก็บภาษี 7%
แสดงว่าธนาคารไม่ได้ใส่เงินเข้าไปในระบบ เศรษฐกิจจะฟื้นยาก
แบงค์ชาติยืนยันว่าไม่เป็นไร NPL เป็น lagging indicator เกิดเพราะเคยมีปัญหาเมื่อ 6 เดือน หรือ 1 ปีก่อน
พอเศรษฐกิจดี แล้ว NPL จะดีเอง แต่ส่วนตัวเชื่อว่า NPL สูง จะเป็นปัญหาของคนอยากกู้ใหม่
และทำให้เศรษฐกิจฟื้นได้ยาก ถ้าไปดูดอกเบี้ยที่พึงได้รับแต่ไม่ได้รับของธนาคาร เพิ่มขึ้น 10%
ไม่ใช่แค่ NPL แต่หนี้ที่ไม่จ่ายดอกเบี้ย 1 เดือนเป็นต้นไปแต่ยังไม่เป็น NPL เพิ่มขึ้น ทำให้แบงค์ก็จะยิ่งไม่ปล่อย
หรืออย่าง ผู้ประกอบการอสังหาฯ ถูก แบงค์ reject 40-50% เซลล์ต้องขายบ้านหลังเดียวกันหลายครั้ง
เป็นห่วงอยู่เหมือนกัน ข้อมูลเครดิตบูโรบอกคนวัยทำงานเป็น NPL สูง
GDP อธิบายเศรษฐกิจทั้งหมดได้ไหม?
คิดว่าอธิบาย GDP โต 3% กว่า คือเป็นการบันทึกกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งตีมูลค่าได้ เพิ่มขึ้นเท่าไร ในแต่ละปีแต่ละไตรมาส
ถ้าไปดูอีกตัวเลขหนึ่ง คือ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัด แปลว่า
ไทยมีรายจ่ายสินค้าบริการต่างประเทศ เทียบกับรายได้ซึ่งขายให้ต่างประเทศ เราเกินมา 10กว่า %
แสดงว่า ประเทศมีรายได้ มากกว่า รายจ่าย 10%
GDP 14 ล้านล้าน เกินมา 10% คือ 1.4 ล้านล้าน ซึ่งต่อเนื่องมา 2 ปี เป็นปีที่ 3 ในปีนี้
ปัญหาคือ มีแค่คนบางกลุ่ม คนส่วนใหญ่มักจะมีพอดีๆ หรือรายจ่ายมากกว่ารายได้ ด้วยซ้ำ
ดุลบัญชีเดินสะพัดเราสูง และโตขึ้นเยอะ ทั้งๆที่การส่งออกไม่ได้เพิ่มขึ้นเท่าไร
แสดงว่าการนำเข้ามันลดลง กำลังซื้อข้างในลดลง
คนที่ทำส่งออกดีอยู่ แต่คนที่ทำธุรกิจในประเทศลำบาก
โดยรวมแล้ว เศรษฐกิจไทยมีความหวังแค่ไหน?
เศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจเปิด ต้องพึ่งพาการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกเป็นหลัก
ซึ่งยังไปได้ดีระดับหนึ่ง ก็มีความหวังตรงนั้น
และ GMS ไทยต้องเดินนโยบาย ในลุ่มน้ำโขง
ให้เป็นประโยชน์กับการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคนี้จริงๆ
ถ้านึกถึงแค่ไทย 65 ล้านคน แต่ถ้านึกถึงกลุ่มประเทศเหล่านี้เรามีกันอยู่ 150 ล้าน มีศักยภาพ
ขอบพระคุณอ.ไพบูลย์ อ.เสน่ห์ อ.นิเวศน์ แขกรับเชิญทุกท่าน ทีมงาน moneytalk และผู้สนับสนุน
ได้ Update ความรู้ทางเศรษฐกิจมหภาคมากๆเลยครับ
เนื้อหาหากผิดพลาด ตกหล่นไปประการใด ขออภัยด้วยนะครับ
สามารถดูรายการย้อนหลังได้ทาง TV และ youtube ครับ
ในช่วง 2 ทางพี่อมรจะสรุปให้นะครับ ขอบคุณครับ