รวมดราม่าประจำปี
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
รวมดราม่าประจำปี
โพสต์ที่ 1
ย้อนหลังไป 2 ปีที่แล้ว ปี 2558 ดราม่า รถ JAZZ ไปประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz
ย้อนไปปีที่แล้ว ปี 2559 โรงงานพลังงานแสงแดด เผาซักไหม้เกรียม
แล้วปีนี้ จะเป็นบริษัทไหน
อ่านดราม่า เสร็จก็ย้อนกลับมาดูด้วยว่าเป็นเช่นไร
Super Stock เมื่อตกสวรรค์เป็นเช่นไร
ย้อนไปปีที่แล้ว ปี 2559 โรงงานพลังงานแสงแดด เผาซักไหม้เกรียม
แล้วปีนี้ จะเป็นบริษัทไหน
อ่านดราม่า เสร็จก็ย้อนกลับมาดูด้วยว่าเป็นเช่นไร
Super Stock เมื่อตกสวรรค์เป็นเช่นไร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมดราม่าประจำปี
โพสต์ที่ 7
เคส IFEC ก็น่าสนใจนะครับ แต่คงมิอาจเทียบชั้นหุ้นตัวอื่นที่กล่าวมา
Risk Management = Risk Measurement + Risk Controlling+ Risk Taking
--------------------
--------------------
-
- Verified User
- โพสต์: 487
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมดราม่าประจำปี
โพสต์ที่ 8
หุ้นดราม่ารุ่นใกล้ๆกับ PICNI ที่พอนึกออกก็ THL ที่บอกว่าเจอทองในช่วงที่ทองกำลังไต่ระดับทะยานขึ้นฟ้า จนเกิดกระแสตื่นทองทำราคาถีบตัวขึ้นไปเป็นสิบเด้ง
TPI ปัจจุบันเป็น IRPC ที่เคยมีโรงไฟฟ้า โรงกลั่นน้ำมัน และปิโตรเคมี ขนาดใหญ่อนาคตไกลของคุณประชัย
(เมื่อก่อนใครจบวิศวะเคมีถือเป็นหนึ่งในบริษัทในฝันเลย)
แต่โดนต้มยำกุ้งเล่นงานกลับมาไม่ได้ จนสุดท้ายโดน PTT ยึดไป เหลือไว้แต่ TPIPL ที่ยังพออยู่รอดให้เจ้าของเดิมไว้ทำธุรกิจ
อีกตัวก็ THRE บริษัทพื้นฐานดี แต่มาโดนเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่จนบริษัทแทบล้มละลาย
ถัดมาก็ SSI ที่วงการเหล็กกล่าวขานกันว่าเป็นยักษ์ล้ม บริษัทอุตส่าห์ฟื้นตัวมาได้จากวิกฤติต้มยำกุ้ง จนเป็นยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่ดันคิดการณ์ใหญ่เกินตัว ไปซื้อโรงถลุง ในช่วงที่ธุรกิจเป็นช่วงตะวันตกดิน จนราคาร่วลงๆเป็นสิบๆเด้ง
และปีนี้ยังมี IFEC กับ EFORL ด้วยครับ แต่อาจจะไม่ดังเท่า เพราะโดนกระแสธรรมกายกับ GL กลบหมด
เมื่อก่อนเห็นเชียร์กันใหญ่ หุ้นพื้นฐานดี Turn Around ตอนนี้กำลังจะมาอยู่จุดเดิมแล้ว
และยังมีอีกหลายตัวตัวที่เกาะกระแส vi หรือ กระแสพลังงานทดแทนขึ้นมาว่าจะกำไรโตสนั่นลั่นทุ่ง จนราคาถีบตัวขึ้นไปเป็น สิบๆ เด้ง สุดท้าย กำไรโอละพ่อ ...มโนกันไปเอง...เช่น HYDRO, DIMET, UWC เป็นต้น
TPI ปัจจุบันเป็น IRPC ที่เคยมีโรงไฟฟ้า โรงกลั่นน้ำมัน และปิโตรเคมี ขนาดใหญ่อนาคตไกลของคุณประชัย
(เมื่อก่อนใครจบวิศวะเคมีถือเป็นหนึ่งในบริษัทในฝันเลย)
แต่โดนต้มยำกุ้งเล่นงานกลับมาไม่ได้ จนสุดท้ายโดน PTT ยึดไป เหลือไว้แต่ TPIPL ที่ยังพออยู่รอดให้เจ้าของเดิมไว้ทำธุรกิจ
อีกตัวก็ THRE บริษัทพื้นฐานดี แต่มาโดนเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่จนบริษัทแทบล้มละลาย
ถัดมาก็ SSI ที่วงการเหล็กกล่าวขานกันว่าเป็นยักษ์ล้ม บริษัทอุตส่าห์ฟื้นตัวมาได้จากวิกฤติต้มยำกุ้ง จนเป็นยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่ดันคิดการณ์ใหญ่เกินตัว ไปซื้อโรงถลุง ในช่วงที่ธุรกิจเป็นช่วงตะวันตกดิน จนราคาร่วลงๆเป็นสิบๆเด้ง
และปีนี้ยังมี IFEC กับ EFORL ด้วยครับ แต่อาจจะไม่ดังเท่า เพราะโดนกระแสธรรมกายกับ GL กลบหมด
เมื่อก่อนเห็นเชียร์กันใหญ่ หุ้นพื้นฐานดี Turn Around ตอนนี้กำลังจะมาอยู่จุดเดิมแล้ว
และยังมีอีกหลายตัวตัวที่เกาะกระแส vi หรือ กระแสพลังงานทดแทนขึ้นมาว่าจะกำไรโตสนั่นลั่นทุ่ง จนราคาถีบตัวขึ้นไปเป็น สิบๆ เด้ง สุดท้าย กำไรโอละพ่อ ...มโนกันไปเอง...เช่น HYDRO, DIMET, UWC เป็นต้น
-
- Verified User
- โพสต์: 487
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมดราม่าประจำปี
โพสต์ที่ 9
และ TT&T อีกตัวในยุคถัดมาจาก PICNI ที่มีกรณีดราม่ากับบริษัทแม่ เพราะฟ้องร้องกันไปมาว่าโดนบริษัทแม่ดูดธุรกิจดาวรุ่งไปเป็นของตัวเอง และสุดท้ายตัวเองต้องล้มละลาย เพราะไม่มีอะไรเหลือพอให้ฟื้นกลับมา
TT&T ในอดีตถือเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการสื่อสาร แต่ไปไม่รอดเพราะโดนวิกฤติต้มยำกุ้ง และที่สำคัญ core business ตัวเองอยู่ในช่วงตะวันตกดินอีก
TT&T ในอดีตถือเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการสื่อสาร แต่ไปไม่รอดเพราะโดนวิกฤติต้มยำกุ้ง และที่สำคัญ core business ตัวเองอยู่ในช่วงตะวันตกดินอีก
-
- Verified User
- โพสต์: 1081
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมดราม่าประจำปี
โพสต์ที่ 11
ซีรีส บทเรียนแสนแพงคนไทย ลอกคราบแคลิฟอร์เนีย ว้าว CAWOW
ใครเลยจะคาดคิดว่า ธุรกิจ หรือ แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส เซ็นเตอร์ ธุรกิจออกกำลัง แบรนด์ระดับโลกจากสหรัฐอเมริกาซึ่งก่อตั้งโดย "แอริค มาร์ค เลอวีน" นักธุรกิจหนุ่มก้ามปูภาพลักษณ์ดีกับพวก ที่เติบโตอย่างหวือหวาในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมาจนกลายเป็นธุรกิจดาวเด่น จะปิดฉากเหมือนกิจการต้มตุ๋น
เมื่อ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง. หรือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ออกมาระบุอย่างไม่ลังเลว่า ผู้บริหารแห่งนี้วางแผนโกงมาตั้งแต่ต้น โดยโอนเงินออกนอกประเทศในช่วง 10 ปีของการดำเนินธุรกิจเป็นเงินรวมกว่า 1.699 พันล้านบาท และเป็นการโอนตั้งแต่ปีแรก ทั้ง ๆ ที่บริษัทแจ้งผลขาดทุนมาตลอด
ย้อนกลับปี 2543 หลังวิกฤติต้มยำกุ้งไม่นาน แอริค มาร์ค เลวิน ชาวอเมริกัน หอบประสบการณ์ธุรกิจฟิตเนสจากฮ่องกงมาปักหลักในไทย ในชื่อ "แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส เซ็นเตอร์" ที่อาคารลิเบอร์ตี้สแควร์ บนถนนสีลม โดยชูแนวคิด Exertainment ศูนย์ออกกำลังกายครบวงจรในบรรยากาศ แสง สี เสียง และความสนุกสนาน แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส เซ็นเตอร์ ได้รับการตอบรับจากตลาดคนชั้นกลางเจนเอ็กซ์ ที่เน้นดูดี ทันทีด้วยภาพลักษณ์สถานที่ทันสมัย สอดรับกระแสดูแลสุขภาพที่เริ่มก่อตัวขึ้นในสังคมไทยเวลานั้น
แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส เซ็นเตอร์ มาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อ แอริค บรรลุข้อตกลงร่วมทุนกับ วิชา พูลวรลักษณ์ ซีอีโอกลุ่มเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ในสัดส่วน 51 : 49 ในปี 2546 ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น แคลิฟอร์เนีย ว้าว เอ็กซ์พีเรียนซ์ ในปี 2547 และนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ช่วงปลายปี 2548 โดยมีชื่อย่อว่า CAWOW
หลังเข้าระดมทุนจากตลาดหุ้น แคลิฟอร์เนียว้าว เพิ่มทุนเป็น 150 ล้านบาท พร้อมกับขยายสาขา2 ที่เมเจอร์ปิ่นเกล้า สาขา3 ที่สุขุมวิท 23 สาขา สาขา4 เมเจอร์รัชโยธิน สาขา5 ที่พารากอนก่อนขยายไปรุกต่างจังหวัดโดยเปิดสาขา 9 ที่เชียงใหม่ และ 10 ที่พัทยา นับว่าในช่วงเวลานั้น แคลิฟอร์เนีย ว้าว เติบโตอย่างก้าวกระโดด และสามารถยึดครองฟิตเนสอันดับหนึ่งของตลาดได้อย่างเบ็ดเสร็จ ด้วยกลยุทธ์ของแอริคที่สร้างสถานที่ทันสมัย สร้างความนิยมผ่านดาราดังที่เขาจ้างมาเป็นพรีเซนเตอร์ อาทิ ลูกเกด-เมทินี กิ่งโพยม อดีตมิสไทยแลนด์เวิลด์ สินจัย หงส์ไทย ซุปตาร์ยอดนิยมฝ่ายหญิง หรือ จอย-วราลักษณ์ วาณิชย์กุล (ภายหลังเปลี่ยนสถานะมาเป็นภรรยาของเขา) และสาขาอยู่ในทำเลย่านคนทำงาน ประมาณว่าในช่วงพีกสุดของ "แคลิฟอร์เนีย ว้าว" สามารถครองมาร์เก็ตแชร์ในอุตสาหกรรมนี้กว่า 55% ได้โดยไม่ยาก จากสมาชิกในปีแรกที่มีเพียง 8.5 พันราย ณ สิ้นปี 2544 ในปีแรกภายในเวลา 3 ปีโตขึ้นกว่า 3 เท่าตัว เป็น 3 หมื่นรายในปี 2547 ก่อนเพิ่มเป็น 1 แสนรายในปี 2550 และสูงสุดเมื่อกลางปี 2553 ด้วยยอดสมาชิกถึง 1.6 แสนราย หรือมีผู้ใช้บริการต่อวันถึง 2 หมื่นราย
*สัญญาณผิดปกติ
ในช่วงเวลานั้น แคลิฟอร์เนีย ว้าว ถือเป็นลูกค้าชั้นดี แบงก์ทุกแห่งยินดีต้อนรับ แอริค ราวกับราชา และด้วยภาพลักษณ์ของ แอริค ที่นำเสนอตัวเองในภาพของหนุ่มใหญ่กล้ามโต เจ้าของฟิตเนสทันสมัย และดูร่ำรวย เป็นใบเบิกทางเข้าสู่สังคมไฮโซ เขาเป็นข่าวในคอลัมน์ซุบซิบถี่พอกับ แคลิฟอร์เนีย ว้าวเป็นข่าวในหน้าเศรษฐกิจ แต่เรื่องราวความสำเร็จของ แคลิฟอร์เนีย ว้าว และ แอริค มาพร้อมกับเสียงวิจารณ์ ทั้งวิธีการขายดุดัน ตั้งแต่ล่อให้เข้าใช้บริการก่อนนำเสนอขายภายหลัง บุกประชิดตัวถึงกลุ่มเป้าหมาย สัญญาการขายสมาชิกที่ผูกมัดลูกค้าไว้ตลอดกาล
หนึ่งในผู้มีประสบการณ์เล่าว่า พนักงานขายสมาชิกจะหว่านล้อมให้ซื้อบริการแบบผูกปีหลายคนหลวมตัวทำสัญญาตลอดชีพก็มี (ระบบสมาชิกของ แคลิฟอร์เนียว้าวมี 2ประเภทหลัก รายเดือน และรายปี-ผู้เขียน) และที่เล่าตรงกันคือการชำระค่าบริการ ต้องใช้บัตรเครดิตเท่านั้น หรือผู้เสียหายรายหนึ่งที่เสียเงินสมัครสมาชิกและบริการอื่นๆ เป็นเงินหลายแสนบาท เล่าว่า บริษัทผิดสัญญาเพราะลูกค้าได้ทำสัญญาสมัครสมาชิกฟิตเนสตลอดชีพ คือ เล่นได้ทุกสาขา ไม่จำกัด แต่บริษัทกลับทยอยปิดตัวไปทีละสาขาจนหมด โดยไม่มีใครสามารถแจ้งสถานะของบริษัท (ขณะนั้น)ได้ว่าจะปิดหรือดำเนินต่อ เชื่อว่าสมาชิกทั่วประเทศกว่า 1.5 แสนคน ยังมีผู้เสียหายจำนวนมากที่ไม่ได้ออกมาร้องเรียน
ในด้านหนึ่งผู้หลวมตัวเป็นสมาชิกของ แคลิฟอร์เนีย ว้าว จำนวนมากได้เข้าร้องเรียนกับ สคบ. หรือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าไม่ได้รับการปฏิบัติตามสัญญา "เวลานั้นกรณีร้องเรียน แคลิฟอร์เนียพุ่งขึ้นเป็นอันดับหนึ่งทีเดียว" หนึ่งในผู้รู้เรื่องดีให้ข้อมูล
*เริ่มเซ !!!
เสียงร้องเรียนและก่นด่าจากสมาชิกที่หลวมตัวเป็นสมาชิกแต่ได้รับบริการไม่เป็นอย่างที่คาดหวังค่อยๆ บ่อนแซะความน่าเชื่อถือของ แคลิฟอร์เนีย ว้าว ทีละน้อย สิ่งบอกเหตุสำคัญที่สุดคือการประกาศถอนตัวจาก "แคลิฟอร์เนีย ว้าว" ของกลุ่มเมเจอร์ในปี 2552 หลังร่วมทุนมาไม่ถึง 6 ปีดี โดย วิชาซีอีโอกลุ่มเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ทยอยขายหุ้น แคลิฟอร์เนีย ว้าว จำนวน 53.37 ล้านหุ้น หรือสัดส่วน 17.79% เฉลี่ยที่หุ้นละ 0.74 บาท จากที่ถือรวม 37.7% ตัดหน้าก่อนที่บอร์ดจะอนุมัติแผนเพิ่มทุนล็อตใหม่จำนวน 402 ล้านบาทที่หุ้นละ 0.45 บาท ในปลายเดือนเดียวกัน ซึ่งเทียบกับราคาหุ้นไอพีโอปี 2548 ที่ราคาหุ้นละ 6 บาท เท่ากับวิชา ยอมขายขาดทุน ก่อนที่จะตัดขายหุ้นทั้งหมดอีก 19% ภายในปี 2554 แหล่งข่าวในเมเจอร์บอกว่า คุณวิชาไม่แฮปปี้กับข่าวการร้องเรียน แคลิฟอร์เนีย ว้าว ที่ออกมาอย่างต่อเนื่องเพราะเกรงว่าจะกระทบภาพลักษณ์บริษัทและราคาหุ้นเมเจอร์
การถอนตัวของเมเจอร์ ทำเอาแคลิฟอร์เนีย ว้าวถึงกับเซ พร้อมกับข่าวร้ายที่ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง ที่เป็นข่าวดังคือ แคลิฟอร์เนีย ว้าว ฟ้อง เมเจอร์ เรียกค่าเสียหายมูลค่า 370 ล้านบาท จากกรณี เมเจอร์ ตัดน้ำไฟ สาขาที่ เมเจอร์รัชโยธิน ปิ่นเกล้า และสุขุมวิท 23 จากการค้างค่าเช่า และค่าสาธารณูปโภค กว่า 50 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นแบงก์ที่เคยแย่งกันปล่อยสินเชื่อให้ แคลิฟอร์เนียว้าว ต้องหันมาเล่นบทใหม่ บทคนทวงหนี้ เมื่อ แคลิฟอร์เนียว้าว ผิดนัดชำระหนี้แบงก์หลายแห่ง อาทิแบงก์ทีเอ็มบี แบงก์กรุงศรีอยุธยา และแบงก์กรุงเทพเจ้าหนี้รายใหญ่ และต้นปี 2554 ชะตากรรมของ แคลิฟอร์เนียว้าว ก็เปลี่ยนไปตลอดกาลเมื่อ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศให้ฟื้นฟูกิจการ และเหตุการณ์สำคัญที่เกิดต่อจากนั้นคือ แอริค แจ้งลาออกจากตำแหน่ง ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
*ขาดทุนต่อเนื่อง
กับความเสื่อมถอยของผลประกอบการในช่วงหลังปี 2553 แคลิฟอร์เนียว ว้าว ให้เหตุผลว่าเป็นผลจากวิกฤติการเมืองในปี 2553 และมหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 จากการไล่พลิกผลประกอบการ แคลิฟอร์เนีย ว้าว พบว่า บริษัทมีกำไร 29.48 ล้านบาทในปี 2549 เพียงปีเดียว ที่เหลือจากนั้นขาดทุนมาโดยตลอด นับจากปี 2550 - 2554 เป็นต้นมากลับขาดทุนต่อเนื่อง จากขาดทุนสุทธิ 93.68 ล้านบาท ในปี 2550 เป็น -120.60 ล้านบาท/ ปี 2551, - 274.09 ล้านบาท/ปี 2552, -467.36 ล้านบาท/ ปี 2553 และ -246.64 ล้านบาท /ปี 2554
แต่ทว่าท่ามกลางสถานการณ์ที่เจ้าหนี้รุมเร้าเข้ามาและผลประกอบการทรุดต่ำต่อเนื่อง แอริคที่ลาออกจากตำแหน่งบริหารแต่ยังคงถือหุ้นใหญ่ ได้เซอร์ไพรส์เจ้าหนี้ด้วยการประกาศหมั้นกับนางแบบชื่อดัง "วราลักษณ์ วาณิชย์กุล" ด้วยสินสอด เพชร 24 กะรัต มูลค่า 100 ล้านบาท เรือนหอบนเกาะภูเก็ตพื้นที่ 15 ไร่ที่ประเมินมูลค่าว่าแตะหลักพันล้านบาท และจัดพิธีแต่งงานอย่างเอิกเกริกทั้งในและต่างประเทศ 1 เดือนหลัง แอริค วิวาห์พันล้านบาท แบงก์กรุงเทพฟ้องล้มละลาย แคลิฟอร์เนีย ว้าว มูลหนี้ 75.87 ล้านบาท !!! ก่อนที่บริษัทตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งศาลฯมีคำสั่งรับคำร้องฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2555
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,856 วันที่ 27 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ใครเลยจะคาดคิดว่า ธุรกิจ หรือ แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส เซ็นเตอร์ ธุรกิจออกกำลัง แบรนด์ระดับโลกจากสหรัฐอเมริกาซึ่งก่อตั้งโดย "แอริค มาร์ค เลอวีน" นักธุรกิจหนุ่มก้ามปูภาพลักษณ์ดีกับพวก ที่เติบโตอย่างหวือหวาในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมาจนกลายเป็นธุรกิจดาวเด่น จะปิดฉากเหมือนกิจการต้มตุ๋น
เมื่อ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง. หรือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ออกมาระบุอย่างไม่ลังเลว่า ผู้บริหารแห่งนี้วางแผนโกงมาตั้งแต่ต้น โดยโอนเงินออกนอกประเทศในช่วง 10 ปีของการดำเนินธุรกิจเป็นเงินรวมกว่า 1.699 พันล้านบาท และเป็นการโอนตั้งแต่ปีแรก ทั้ง ๆ ที่บริษัทแจ้งผลขาดทุนมาตลอด
ย้อนกลับปี 2543 หลังวิกฤติต้มยำกุ้งไม่นาน แอริค มาร์ค เลวิน ชาวอเมริกัน หอบประสบการณ์ธุรกิจฟิตเนสจากฮ่องกงมาปักหลักในไทย ในชื่อ "แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส เซ็นเตอร์" ที่อาคารลิเบอร์ตี้สแควร์ บนถนนสีลม โดยชูแนวคิด Exertainment ศูนย์ออกกำลังกายครบวงจรในบรรยากาศ แสง สี เสียง และความสนุกสนาน แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส เซ็นเตอร์ ได้รับการตอบรับจากตลาดคนชั้นกลางเจนเอ็กซ์ ที่เน้นดูดี ทันทีด้วยภาพลักษณ์สถานที่ทันสมัย สอดรับกระแสดูแลสุขภาพที่เริ่มก่อตัวขึ้นในสังคมไทยเวลานั้น
แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส เซ็นเตอร์ มาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อ แอริค บรรลุข้อตกลงร่วมทุนกับ วิชา พูลวรลักษณ์ ซีอีโอกลุ่มเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ในสัดส่วน 51 : 49 ในปี 2546 ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น แคลิฟอร์เนีย ว้าว เอ็กซ์พีเรียนซ์ ในปี 2547 และนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ช่วงปลายปี 2548 โดยมีชื่อย่อว่า CAWOW
หลังเข้าระดมทุนจากตลาดหุ้น แคลิฟอร์เนียว้าว เพิ่มทุนเป็น 150 ล้านบาท พร้อมกับขยายสาขา2 ที่เมเจอร์ปิ่นเกล้า สาขา3 ที่สุขุมวิท 23 สาขา สาขา4 เมเจอร์รัชโยธิน สาขา5 ที่พารากอนก่อนขยายไปรุกต่างจังหวัดโดยเปิดสาขา 9 ที่เชียงใหม่ และ 10 ที่พัทยา นับว่าในช่วงเวลานั้น แคลิฟอร์เนีย ว้าว เติบโตอย่างก้าวกระโดด และสามารถยึดครองฟิตเนสอันดับหนึ่งของตลาดได้อย่างเบ็ดเสร็จ ด้วยกลยุทธ์ของแอริคที่สร้างสถานที่ทันสมัย สร้างความนิยมผ่านดาราดังที่เขาจ้างมาเป็นพรีเซนเตอร์ อาทิ ลูกเกด-เมทินี กิ่งโพยม อดีตมิสไทยแลนด์เวิลด์ สินจัย หงส์ไทย ซุปตาร์ยอดนิยมฝ่ายหญิง หรือ จอย-วราลักษณ์ วาณิชย์กุล (ภายหลังเปลี่ยนสถานะมาเป็นภรรยาของเขา) และสาขาอยู่ในทำเลย่านคนทำงาน ประมาณว่าในช่วงพีกสุดของ "แคลิฟอร์เนีย ว้าว" สามารถครองมาร์เก็ตแชร์ในอุตสาหกรรมนี้กว่า 55% ได้โดยไม่ยาก จากสมาชิกในปีแรกที่มีเพียง 8.5 พันราย ณ สิ้นปี 2544 ในปีแรกภายในเวลา 3 ปีโตขึ้นกว่า 3 เท่าตัว เป็น 3 หมื่นรายในปี 2547 ก่อนเพิ่มเป็น 1 แสนรายในปี 2550 และสูงสุดเมื่อกลางปี 2553 ด้วยยอดสมาชิกถึง 1.6 แสนราย หรือมีผู้ใช้บริการต่อวันถึง 2 หมื่นราย
*สัญญาณผิดปกติ
ในช่วงเวลานั้น แคลิฟอร์เนีย ว้าว ถือเป็นลูกค้าชั้นดี แบงก์ทุกแห่งยินดีต้อนรับ แอริค ราวกับราชา และด้วยภาพลักษณ์ของ แอริค ที่นำเสนอตัวเองในภาพของหนุ่มใหญ่กล้ามโต เจ้าของฟิตเนสทันสมัย และดูร่ำรวย เป็นใบเบิกทางเข้าสู่สังคมไฮโซ เขาเป็นข่าวในคอลัมน์ซุบซิบถี่พอกับ แคลิฟอร์เนีย ว้าวเป็นข่าวในหน้าเศรษฐกิจ แต่เรื่องราวความสำเร็จของ แคลิฟอร์เนีย ว้าว และ แอริค มาพร้อมกับเสียงวิจารณ์ ทั้งวิธีการขายดุดัน ตั้งแต่ล่อให้เข้าใช้บริการก่อนนำเสนอขายภายหลัง บุกประชิดตัวถึงกลุ่มเป้าหมาย สัญญาการขายสมาชิกที่ผูกมัดลูกค้าไว้ตลอดกาล
หนึ่งในผู้มีประสบการณ์เล่าว่า พนักงานขายสมาชิกจะหว่านล้อมให้ซื้อบริการแบบผูกปีหลายคนหลวมตัวทำสัญญาตลอดชีพก็มี (ระบบสมาชิกของ แคลิฟอร์เนียว้าวมี 2ประเภทหลัก รายเดือน และรายปี-ผู้เขียน) และที่เล่าตรงกันคือการชำระค่าบริการ ต้องใช้บัตรเครดิตเท่านั้น หรือผู้เสียหายรายหนึ่งที่เสียเงินสมัครสมาชิกและบริการอื่นๆ เป็นเงินหลายแสนบาท เล่าว่า บริษัทผิดสัญญาเพราะลูกค้าได้ทำสัญญาสมัครสมาชิกฟิตเนสตลอดชีพ คือ เล่นได้ทุกสาขา ไม่จำกัด แต่บริษัทกลับทยอยปิดตัวไปทีละสาขาจนหมด โดยไม่มีใครสามารถแจ้งสถานะของบริษัท (ขณะนั้น)ได้ว่าจะปิดหรือดำเนินต่อ เชื่อว่าสมาชิกทั่วประเทศกว่า 1.5 แสนคน ยังมีผู้เสียหายจำนวนมากที่ไม่ได้ออกมาร้องเรียน
ในด้านหนึ่งผู้หลวมตัวเป็นสมาชิกของ แคลิฟอร์เนีย ว้าว จำนวนมากได้เข้าร้องเรียนกับ สคบ. หรือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าไม่ได้รับการปฏิบัติตามสัญญา "เวลานั้นกรณีร้องเรียน แคลิฟอร์เนียพุ่งขึ้นเป็นอันดับหนึ่งทีเดียว" หนึ่งในผู้รู้เรื่องดีให้ข้อมูล
*เริ่มเซ !!!
เสียงร้องเรียนและก่นด่าจากสมาชิกที่หลวมตัวเป็นสมาชิกแต่ได้รับบริการไม่เป็นอย่างที่คาดหวังค่อยๆ บ่อนแซะความน่าเชื่อถือของ แคลิฟอร์เนีย ว้าว ทีละน้อย สิ่งบอกเหตุสำคัญที่สุดคือการประกาศถอนตัวจาก "แคลิฟอร์เนีย ว้าว" ของกลุ่มเมเจอร์ในปี 2552 หลังร่วมทุนมาไม่ถึง 6 ปีดี โดย วิชาซีอีโอกลุ่มเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ทยอยขายหุ้น แคลิฟอร์เนีย ว้าว จำนวน 53.37 ล้านหุ้น หรือสัดส่วน 17.79% เฉลี่ยที่หุ้นละ 0.74 บาท จากที่ถือรวม 37.7% ตัดหน้าก่อนที่บอร์ดจะอนุมัติแผนเพิ่มทุนล็อตใหม่จำนวน 402 ล้านบาทที่หุ้นละ 0.45 บาท ในปลายเดือนเดียวกัน ซึ่งเทียบกับราคาหุ้นไอพีโอปี 2548 ที่ราคาหุ้นละ 6 บาท เท่ากับวิชา ยอมขายขาดทุน ก่อนที่จะตัดขายหุ้นทั้งหมดอีก 19% ภายในปี 2554 แหล่งข่าวในเมเจอร์บอกว่า คุณวิชาไม่แฮปปี้กับข่าวการร้องเรียน แคลิฟอร์เนีย ว้าว ที่ออกมาอย่างต่อเนื่องเพราะเกรงว่าจะกระทบภาพลักษณ์บริษัทและราคาหุ้นเมเจอร์
การถอนตัวของเมเจอร์ ทำเอาแคลิฟอร์เนีย ว้าวถึงกับเซ พร้อมกับข่าวร้ายที่ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง ที่เป็นข่าวดังคือ แคลิฟอร์เนีย ว้าว ฟ้อง เมเจอร์ เรียกค่าเสียหายมูลค่า 370 ล้านบาท จากกรณี เมเจอร์ ตัดน้ำไฟ สาขาที่ เมเจอร์รัชโยธิน ปิ่นเกล้า และสุขุมวิท 23 จากการค้างค่าเช่า และค่าสาธารณูปโภค กว่า 50 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นแบงก์ที่เคยแย่งกันปล่อยสินเชื่อให้ แคลิฟอร์เนียว้าว ต้องหันมาเล่นบทใหม่ บทคนทวงหนี้ เมื่อ แคลิฟอร์เนียว้าว ผิดนัดชำระหนี้แบงก์หลายแห่ง อาทิแบงก์ทีเอ็มบี แบงก์กรุงศรีอยุธยา และแบงก์กรุงเทพเจ้าหนี้รายใหญ่ และต้นปี 2554 ชะตากรรมของ แคลิฟอร์เนียว้าว ก็เปลี่ยนไปตลอดกาลเมื่อ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศให้ฟื้นฟูกิจการ และเหตุการณ์สำคัญที่เกิดต่อจากนั้นคือ แอริค แจ้งลาออกจากตำแหน่ง ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
*ขาดทุนต่อเนื่อง
กับความเสื่อมถอยของผลประกอบการในช่วงหลังปี 2553 แคลิฟอร์เนียว ว้าว ให้เหตุผลว่าเป็นผลจากวิกฤติการเมืองในปี 2553 และมหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 จากการไล่พลิกผลประกอบการ แคลิฟอร์เนีย ว้าว พบว่า บริษัทมีกำไร 29.48 ล้านบาทในปี 2549 เพียงปีเดียว ที่เหลือจากนั้นขาดทุนมาโดยตลอด นับจากปี 2550 - 2554 เป็นต้นมากลับขาดทุนต่อเนื่อง จากขาดทุนสุทธิ 93.68 ล้านบาท ในปี 2550 เป็น -120.60 ล้านบาท/ ปี 2551, - 274.09 ล้านบาท/ปี 2552, -467.36 ล้านบาท/ ปี 2553 และ -246.64 ล้านบาท /ปี 2554
แต่ทว่าท่ามกลางสถานการณ์ที่เจ้าหนี้รุมเร้าเข้ามาและผลประกอบการทรุดต่ำต่อเนื่อง แอริคที่ลาออกจากตำแหน่งบริหารแต่ยังคงถือหุ้นใหญ่ ได้เซอร์ไพรส์เจ้าหนี้ด้วยการประกาศหมั้นกับนางแบบชื่อดัง "วราลักษณ์ วาณิชย์กุล" ด้วยสินสอด เพชร 24 กะรัต มูลค่า 100 ล้านบาท เรือนหอบนเกาะภูเก็ตพื้นที่ 15 ไร่ที่ประเมินมูลค่าว่าแตะหลักพันล้านบาท และจัดพิธีแต่งงานอย่างเอิกเกริกทั้งในและต่างประเทศ 1 เดือนหลัง แอริค วิวาห์พันล้านบาท แบงก์กรุงเทพฟ้องล้มละลาย แคลิฟอร์เนีย ว้าว มูลหนี้ 75.87 ล้านบาท !!! ก่อนที่บริษัทตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งศาลฯมีคำสั่งรับคำร้องฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2555
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,856 วันที่ 27 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556
-
- Verified User
- โพสต์: 1414
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมดราม่าประจำปี
โพสต์ที่ 14
EARTH...บทเรียนราคาแพงของเจ้าของหุ้น
อาทิตย์ที่ผ่านมาคงไม่มีนักลงทุนคนไหนไม่รู้จักหุ้น EARTH จากการที่ราคาปรับลดลงถึง 2 ฟลอร์ ราคาหุ้น 4 บาทกว่า ลดลงสู่ 2 บาทกว่า ทำให้มูลค่า Market Cap หายไปกว่า 8,000 ล้านบาท
จุดกำเนิดของ หุ้น EARTH บริษัท เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ จำกัด (มหาชน) มาจากการแปลงร่าง แลกหุ้น หรือ Backdoor เข้าจดทะเบียนชื่อ APC หรือ บริษัท แอ๊ดว้านซ์เพ้นท์ แอนด์ เคมิเคิล (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ซึ่งทำธุรกิจสีทาบ้านและเจ๊งไป
ณ วันนั้น ผู้ถือหุ้น EARTH จ่ายเงินค่าหัวบริษัทแสนถูกราคาเพียง 60-65 ล้านบาท ให้กับเจ้าของเดิมของ APC...
ในปี 2554 EARTH กลับมาซื้อขายในชื่อใหม่ ธุรกิจใหม่...ราคาหุ้นขึ้นจาก 2 บาท ไปเกือบ 8 บาทอย่างร้อนแรง ควบคู่ไปกับธุรกิจถ่านหินที่มั่นคงและผลประกอบการที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
EARTH ถือว่าเป็นบริษัทที่ดี ในสายตานักลงทุนมากว่า 6 ปี แถมปี 2558 ยังมีผู้ร่วมทุนต่างชาติมาเพิ่มทุนที่ราคา 7 บาท กว่า 527 ล้านหุ้น โกยเงินเข้าบริษัทไป 3,500 ล้านบาทและยังมีการลงทุนใหม่มากมายอย่างต่อเนื่อง
คำถามคือ
ใครขายหุ้น EARTH ในราคาแสนถูกเช่นนี้?? อะไรคือเหตุผลและแรงจูงใจ??
ทำไมถึงต้องรีบขายด้วยวิธีการขายเยี่ยง “หนีตาย”??
ทำไมบริษัทที่ดี และค่อนข้างมั่นคงขนาดนี้ ถึงพบชะตากรรมเยี่ยงนี้ ??
คำตอบสรุปเรื่องราวง่ายๆ คือ
1. ผู้ถือหุ้นใหญ่ขาย เพราะถูก Force Sell จาก Margin Loan
2. ที่ขายเพราะไปกู้เงินมาโดยเอาหุ้นไปคํ้า และหลักประกันมูลค่าไม่พอ
3. การขายแบบนี้คือการขายจากเจ้าหนี้ Margin Loan ซึ่งจะขายทุกราคาจนกว่าจะได้หนี้คืนครบ
4. ความโลภ และความประมาทของผู้ถือหุ้นใหญ่ คือต้นเหตุของความเสียหายครั้งนี้
แนวคิดที่ผิด
ผมเห็นใจผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ต้องถูก Force Sell หุ้นในราคาแสนถูก ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ตั้งใจซื้อหุ้นในราคา 4 บาท ถึง 5 บาทมาโดยตลอด...
แต่ความประมาทคิดว่าบริษัทตนเองดี ราคาถูก และทุ่มเงินซื้อรักษาราคาหุ้นตนเอง โดยลืมถึงกลไกตลาดที่แท้จริงว่า
“ราคาตลาด” มาจาก demand และ supply ของมหาชน เป็นสิ่งที่เสี่ยงอย่างมาก...
มิหนำซํ้า เงินที่ใช้ซื้อหุ้นไม่ใช่เงินเย็น หรือ เงินออม แต่เป็นเงินกู้ยืม Margin Loan (เงินกู้มหันตภัย)
Margin Loan คือ สิ่งที่อันตรายมากสำหรับนักลงทุน เพราะมันคือเงินกู้ที่ไม่มีกำหนดเวลาการคืน เราจึงวางแผนล่วงหน้าไม่ได้ วันดีคืนดี ตลาดหุ้นเกิดอาการ Panic ส่งผลให้หุ้นซึ่งเป็นหลักประกันตก และเราไม่มีเงินจ่ายหนี้ทันเวลา เราอาจจะต้องถูกบังคับขายหุ้นพื้นฐานดีเช่นเดียวกัน
ดังนั้นสิ่งที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ EARTH ทำนั้นเสมือนการว่ายสวนกระแสนํ้า...
ความโลภ
อีกเหตุผลที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ไปกู้เงินโดยการเอาหุ้นไปคํ้านั้น มาจากการต้องการนำเงินไปลงทุนในธุรกิจอื่น ซึ่งในกรณีนี้คือธุรกิจ Media ที่เยอรมนี ซึ่งผมเข้าใจว่าลงไปกว่าพันล้านบาท โดยคาดว่าจะได้เงินกำไรกลับมาคืนหนี้ Margin Loan ก้อนนี้ การคิดพิสดาร นำเงินกู้ Short Term และอันตรายเช่น Margin Loan ไปลงทุนระยะยาวในธุรกิจที่ไม่คุ้นเคยเป็นสิ่งที่ไม่น่ากระทำสำหรับวิญญูชน
บทเรียนนี้ควรเป็นอุทาหรณ์สอนใจนักลงทุน และผู้ถือหุ้นใหญ่ ก่อนคิดลงทุนใดๆ อีก จากเงินที่ไม่ใช่เงินเย็น
แม่ผมบอกว่ามี 2 สิ่งที่ทำลายทรัพย์สินและเงินทองได้เร็วที่สุด นั้นคือ ไฟและการพนัน...
ส่วนผมอยากเติมสิ่งที่ 3... นั้นคือ Margin Loan สำหรับซื้อหุ้น!!!
คอลัมน์ : พอเพียงอย่างพอใจ /หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3262 ระหว่างวันที่18-20 พ.ค.2560
อาทิตย์ที่ผ่านมาคงไม่มีนักลงทุนคนไหนไม่รู้จักหุ้น EARTH จากการที่ราคาปรับลดลงถึง 2 ฟลอร์ ราคาหุ้น 4 บาทกว่า ลดลงสู่ 2 บาทกว่า ทำให้มูลค่า Market Cap หายไปกว่า 8,000 ล้านบาท
จุดกำเนิดของ หุ้น EARTH บริษัท เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ จำกัด (มหาชน) มาจากการแปลงร่าง แลกหุ้น หรือ Backdoor เข้าจดทะเบียนชื่อ APC หรือ บริษัท แอ๊ดว้านซ์เพ้นท์ แอนด์ เคมิเคิล (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ซึ่งทำธุรกิจสีทาบ้านและเจ๊งไป
ณ วันนั้น ผู้ถือหุ้น EARTH จ่ายเงินค่าหัวบริษัทแสนถูกราคาเพียง 60-65 ล้านบาท ให้กับเจ้าของเดิมของ APC...
ในปี 2554 EARTH กลับมาซื้อขายในชื่อใหม่ ธุรกิจใหม่...ราคาหุ้นขึ้นจาก 2 บาท ไปเกือบ 8 บาทอย่างร้อนแรง ควบคู่ไปกับธุรกิจถ่านหินที่มั่นคงและผลประกอบการที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
EARTH ถือว่าเป็นบริษัทที่ดี ในสายตานักลงทุนมากว่า 6 ปี แถมปี 2558 ยังมีผู้ร่วมทุนต่างชาติมาเพิ่มทุนที่ราคา 7 บาท กว่า 527 ล้านหุ้น โกยเงินเข้าบริษัทไป 3,500 ล้านบาทและยังมีการลงทุนใหม่มากมายอย่างต่อเนื่อง
คำถามคือ
ใครขายหุ้น EARTH ในราคาแสนถูกเช่นนี้?? อะไรคือเหตุผลและแรงจูงใจ??
ทำไมถึงต้องรีบขายด้วยวิธีการขายเยี่ยง “หนีตาย”??
ทำไมบริษัทที่ดี และค่อนข้างมั่นคงขนาดนี้ ถึงพบชะตากรรมเยี่ยงนี้ ??
คำตอบสรุปเรื่องราวง่ายๆ คือ
1. ผู้ถือหุ้นใหญ่ขาย เพราะถูก Force Sell จาก Margin Loan
2. ที่ขายเพราะไปกู้เงินมาโดยเอาหุ้นไปคํ้า และหลักประกันมูลค่าไม่พอ
3. การขายแบบนี้คือการขายจากเจ้าหนี้ Margin Loan ซึ่งจะขายทุกราคาจนกว่าจะได้หนี้คืนครบ
4. ความโลภ และความประมาทของผู้ถือหุ้นใหญ่ คือต้นเหตุของความเสียหายครั้งนี้
แนวคิดที่ผิด
ผมเห็นใจผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ต้องถูก Force Sell หุ้นในราคาแสนถูก ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ตั้งใจซื้อหุ้นในราคา 4 บาท ถึง 5 บาทมาโดยตลอด...
แต่ความประมาทคิดว่าบริษัทตนเองดี ราคาถูก และทุ่มเงินซื้อรักษาราคาหุ้นตนเอง โดยลืมถึงกลไกตลาดที่แท้จริงว่า
“ราคาตลาด” มาจาก demand และ supply ของมหาชน เป็นสิ่งที่เสี่ยงอย่างมาก...
มิหนำซํ้า เงินที่ใช้ซื้อหุ้นไม่ใช่เงินเย็น หรือ เงินออม แต่เป็นเงินกู้ยืม Margin Loan (เงินกู้มหันตภัย)
Margin Loan คือ สิ่งที่อันตรายมากสำหรับนักลงทุน เพราะมันคือเงินกู้ที่ไม่มีกำหนดเวลาการคืน เราจึงวางแผนล่วงหน้าไม่ได้ วันดีคืนดี ตลาดหุ้นเกิดอาการ Panic ส่งผลให้หุ้นซึ่งเป็นหลักประกันตก และเราไม่มีเงินจ่ายหนี้ทันเวลา เราอาจจะต้องถูกบังคับขายหุ้นพื้นฐานดีเช่นเดียวกัน
ดังนั้นสิ่งที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ EARTH ทำนั้นเสมือนการว่ายสวนกระแสนํ้า...
ความโลภ
อีกเหตุผลที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ไปกู้เงินโดยการเอาหุ้นไปคํ้านั้น มาจากการต้องการนำเงินไปลงทุนในธุรกิจอื่น ซึ่งในกรณีนี้คือธุรกิจ Media ที่เยอรมนี ซึ่งผมเข้าใจว่าลงไปกว่าพันล้านบาท โดยคาดว่าจะได้เงินกำไรกลับมาคืนหนี้ Margin Loan ก้อนนี้ การคิดพิสดาร นำเงินกู้ Short Term และอันตรายเช่น Margin Loan ไปลงทุนระยะยาวในธุรกิจที่ไม่คุ้นเคยเป็นสิ่งที่ไม่น่ากระทำสำหรับวิญญูชน
บทเรียนนี้ควรเป็นอุทาหรณ์สอนใจนักลงทุน และผู้ถือหุ้นใหญ่ ก่อนคิดลงทุนใดๆ อีก จากเงินที่ไม่ใช่เงินเย็น
แม่ผมบอกว่ามี 2 สิ่งที่ทำลายทรัพย์สินและเงินทองได้เร็วที่สุด นั้นคือ ไฟและการพนัน...
ส่วนผมอยากเติมสิ่งที่ 3... นั้นคือ Margin Loan สำหรับซื้อหุ้น!!!
คอลัมน์ : พอเพียงอย่างพอใจ /หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3262 ระหว่างวันที่18-20 พ.ค.2560
-
- Verified User
- โพสต์: 432
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมดราม่าประจำปี
โพสต์ที่ 17
ดราม่า IPO ที่เหมือนเจ้าของเก่งมาก เอาหุ้นมาเข้าตลาดด้วยสตอรี่สวยหรู
ที่แท้ก็เอาหุ้นมาปล่อยในตลาด PE แพงๆ พอขายหุ้นได้ราคาที่พอใจแล้วก็ลอยแพ
แถมบางตัวงบแย่เป็นนางฟ้าตกสวรรค์อีก บางธุรกิจดูดีแต่อิ่มตัวแล้วเอาของมาปล่อย
บางธุรกิจอยากไปเมืองนอกเลยเรียกเพื่อนมาหารความเสี่ยงกับเก็บต้นทุนตัวเองคืน
บางธุรกิจเข้ามาเพื่อทำธุรกิจใหม่ ไม่รุทำไรดีพลังงานทดแทนแล้วกัน เพราะธุรกิจเดิมกำลังจะแย่ งบเลยแย้แย่
ออกรายการบอกจะรวยเป็นหมื่นล้านจากตลาดหุ้น
บางตัวผบห.มัวแต่ไปร้องเพลง เลยแชร์ประสบการณ์เจ๋งหุ้น(ของตัวเอง)ให้ นลท. กันถ้วนหน้า ช่างน่ารักจริมๆ
ที่แท้ก็เอาหุ้นมาปล่อยในตลาด PE แพงๆ พอขายหุ้นได้ราคาที่พอใจแล้วก็ลอยแพ
แถมบางตัวงบแย่เป็นนางฟ้าตกสวรรค์อีก บางธุรกิจดูดีแต่อิ่มตัวแล้วเอาของมาปล่อย
บางธุรกิจอยากไปเมืองนอกเลยเรียกเพื่อนมาหารความเสี่ยงกับเก็บต้นทุนตัวเองคืน
บางธุรกิจเข้ามาเพื่อทำธุรกิจใหม่ ไม่รุทำไรดีพลังงานทดแทนแล้วกัน เพราะธุรกิจเดิมกำลังจะแย่ งบเลยแย้แย่
ออกรายการบอกจะรวยเป็นหมื่นล้านจากตลาดหุ้น
บางตัวผบห.มัวแต่ไปร้องเพลง เลยแชร์ประสบการณ์เจ๋งหุ้น(ของตัวเอง)ให้ นลท. กันถ้วนหน้า ช่างน่ารักจริมๆ
low risk High return!
-
- Verified User
- โพสต์: 1414
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมดราม่าประจำปี
โพสต์ที่ 18
EARTH - ความอัปยศของวงการ Block Trade
17 พ.ค. 2560 / 12.43 น.
ผมคงสามารถที่จะเขียนบทความนี้ได้ เพราะผมเป็นคนที่เคยกำไรจาก block trade มาหลายสิบล้าน และก็ขาดทุนจาก block trade นี่ล่ะ ไปหลายสิบล้านเช่นเดียวกัน ด้วยความกระหยิ่มว่า SSF Block Trade นี่มันเล่นง่ายเหลือเกิน ถึงแม้ SSF จะไม่มีสภาพคล่อง ก็สามารถให้โบรกเป็นคนซื้อหุ้นแทนได้ แต่ที่ไหนได้ จุดจบมันก็แสนขมขื่น
หุ้นที่ผมยกย่องว่า "คนทำหุ้น" สามารถใช้ SSF Block Trade ในการกอบโกยกำไรเข้าตัวเองได้อย่างมหาศาล มีเพียง 2 ตัวเท่านั้นที่เห็นกันบ่อยๆ ก็คือ JAS กับ TPIPL โดยคนที่เป็นคนเก็บ block trade จะ "ไม่ขาดทุน" จากการทำธุรกรรมนี้เป็นอันขาด เพราะเขาจะต้องอยู่ในสถานะที่สามารถ "ควบคุมหุ้นได้"
แต่ EARTH นับว่าเป็นการทำเสียสถาบัน Block Trade และสร้างความอัปยศให้กับวงการ Block Trade อย่างมาก เมื่อ "ผู้ที่ไม่ควรขาดทุน" กลับเป็นผู้ถูก force sell หรือบังคับขายเสียเอง รายงานการขายหุ้นของผู้บริหารชี้แจงอย่างเป็นทางการออกมาตั้งแต่เย็นวานนี้แล้ว ไปหาดูรายชื่อกันเอาเอง
เรื่องนี้น่าจะเป็นบทเรียนให้กับผู้ที่คิดว่า Block Trade นั้นเล่นง่าย เป็นเครื่องมือทำกำไรได้อย่างดี เพราะเป็นการซื้อขาย SSF ที่มี leverage สูงราว 10 เท่า
ในฐานะที่ผมเรียนด้านการเงินมา ผมไม่เคยกล่าวร้ายกับสินค้าชนิดใดในตลาดว่ามันไม่ดี เพราะสินค้าแต่ละชนิดก็มีข้อดีและข้อเสียของมันเอง สิ่งที่เกิดขึ้นกับ EARTH เป็นเครื่องการันตีได้อย่างดีว่า การเล่น SSF ไม่ว่าจะผ่านการทำ block trade หรือเป็นการซื้อในกระดาน ก็มี "ความเสี่ยง" อย่างมาก หากเรา "ไม่ศึกษาอย่างจริงจัง"
คำว่า "ศึกษา" ไม่ใช่ศึกษาแค่ว่า มันดีกว่าสินค้าประเภทอื่นตรงไหน มันทำกำไรได้มากกว่าหุ้นปกติมากแค่ไหน แต่สิ่งที่ต้องศึกษาให้ละเอียดลึกซึ้งก็คือ ข้อจำกัดและความเสี่ยงของการเล่นตราสารชนิดนี้ ซึ่งเป็นตราสารที่ให้ leverage สูงมาก ซึ่งนักลงทุนจะต้องให้ความระมัดระวังอย่างมากในการเล่น และต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของ money management มาเป็นอันดับแรก
คำกล่าวที่ว่า การเล่น SSF นั้นใช้เงินเพียงแค่นิดเดียวก็ทำกำไรได้มหาศาลนั้นถูกต้อง แต่มองมุมกลับ เวลาขาดทุน ก็ขาดทุนได้อย่างมหาศาล และนอกจากนั้น แม้การเล่น SSF จะใช้เงินเพียงน้อยนิด แต่ไม่ได้หมายความว่า "คนที่มีเงินเพียงน้อยนิดจะหาญกล้ามาเล่น SSF ได้"
เงินที่คุณใช้เปิดสัญญา SSF นั้น ไม่ใช่เงินที่ "จ่ายไปครั้งเดียว" เพื่อให้ได้สัญญามา แต่มันเป็นเพียง "เงินวางหลักประกัน" ที่ต้องวางไว้กับโบรกเกอร์เพื่อเปิดสัญญา หากคุณกำไร คุณก็ถอนส่วนที่เกินกว่าหลักประกันออกไปได้ แต่หากคุณขาดทุน ไม่ใชว่า คุณลงเงิน 10000 แล้วจะขาดทุนแค่ 10000 บาท เพราะเงินส่วนนี้เป็นเพียง "เงินวางหลักประกัน"
นักลงทุนยังมีหน้าที่ที่จะต้อง "เติมเงินวางหลักประกัน" ให้กลับมาสู่เกณฑ์ที่ตลาดกำหนดเอาไว้ และยิ่งราคาหุ้นไปผิดทางเรื่อยๆ นักลงทุนก็ต้อง "เติมเรื่อยๆ" เรียกได้ว่า "เติมกันจนไม่รู้จักจบสิ้น" จนกว่าคุณจะตัดสินใจ ปิดสัญญาทิ้ง จะเป็นการหยุดขาดทุนอย่างแท้จริง
นอกจากเติมเงินแล้ว หากราคาหุ้นปรับตัวลงมาถึงระดับที่ลึกมากจนทำให้หลักประกันลงมาต่ำถึงจุดสุดท้ายที่โบรกยอมรับได้ โบรกจะ "บังคับปิดสัญญา" ทันที เพื่อจำกัดการขาดทุนให้หยุดอยู่แค่ตรงนั้น แต่มันก็มีกรณีที่เลวร้ายก็คือ เมื่อบังคับปิดสัญญาแล้ว เงินที่วางหลักประกันไว้ก็ยังไม่เพียงพอกับการขาดทุนที่เกิดขึ้น นักลงทุนคนนั้นจะต้อง "เป็นหนี้" โบรกเกอร์อีกด้วย
ดังที่เกิดขึ้นกับ EARTH
การคิดจะเป็นคนคุมเกมการเล่น SSF Block Trade นั้น ต้องมีการวางแผนมาอย่างดี อย่างที่เกิดขึ้นกับ JAS หรือ TPIPL ผู้ที่ประสบความสำเร็จจะต้องสามารถคุมจำนวนหุ้นที่หมุนเวียนได้ และรู้ว่าจะใช้ Block Trade ในปริมาณมากขนาดไหนเพื่อทำกำไร หากเราสามารถควบคุมจำนวนหุ้นได้ ทุกอย่างจะเป็นงานสบาย
การเล่น SSF Block Trade ของ JAS จึงจำกัดอยู่เพียงราว 3 แสนสัญญาเท่านั้น ไม่มากกว่านั้น เพราะคนที่ทำรู้ความเสี่ยงเป็นอย่างดี และแม้จะกำไรไปมหาศาลขนาดไหน การทำกำไรในรอบถัดๆไป ก็จะไม่เปิดสัญญา block trade เพิ่มกว่าเดิม เพราะอะไร?
เพราะจุดมุ่งหมายไม่ได้อยู่ที่ "กำไร" แต่จุดที่ต้องให้ความสำคัญมากกว่าคือ "ปริมาณหุ้นที่ควบคุมอยู่"
เช่นเดียวกันกับ TPIPL ที่ปริมาณการเปิดสัญญา ก็จะอยู่ประมาณเดียวกันทุกรอบ ไม่ได้เล่นมากกว่านั้น
แต่สำหรับ EARTH ผู้ที่เข้ามาเปิดสัญญานั้น คิดตั้งต้นเพียงแค่ว่า จะใช้ Block Trade เป็นเครื่องมือในการใช้ leverage คือเพิ่มอำนาจซื้อของตัวเอง ทดแทนการใช้บัญชีมาร์จิ้น เพราะบางโบรกไม่ให้ซื้อ EARTH ในบัญชีมาร์จิ้น หรือไม่ก็ต้องการได้อำนาจซื้อมากกว่าการใช้บัญชีมาร์จิ้น
ที่สำคัญก็คือ คนที่เปิดสัญญา Block Trade นั้น ไม่ได้มีหุ้นมากพอที่จะ "ควบคุม" การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นได้ เหมือนกับที่เกิดขึ้นกับ JAS และ TPIPL เพราะก่อนหน้านั้น เมื่อมีการซื้อเหมืองถ่านหินกี่ครั้งก็ตามแต่ EARTH ใช้วิธีออกหุ้นเพิ่มทุนเพื่อแลกหุ้นตลอด นั่นหมายความว่า หุ้น EARTH นั้น มีการกระจายออกไปยังคนอื่นมาก และทำให้การเก็บ EARTH ผ่านการทำ block trade เพียงแค่ราว 100000 สัญญา หรือ 100 ล้านหุ้น มันไม่ได้มากพอที่จะรับประกันได้ว่า คนเล่นจะ "ไม่ขาดทุน" เพราะไม่สามารถคุมหุ้นได้ (จำนวนหุ้น EARTH มีหลายพันล้านหุ้น)
ก่อนหน้านี้ EARTH เคยเปิด block trade กับโบรกเกอร์มากกว่า 1 แห่ง แต่แล้วโบรกเกอร์แห่งหนึ่งเห็นถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น จึงได้ยกเลิกการทำธุรกรรม block trade กับผู้เปิดสัญญา และให้เวลา 2 สัปดาห์ ในการย้ายธุรกรรมดังกล่าวไปยังโบรกเกอร์แห่งอื่น หรือไม่ก็ต้องจ่ายเงินค่าหุ้นทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่า คนเปิด block trade ไม่สามารถหาเงินทั้งหมดมาจ่ายค่าหุ้นได้ จึงใช้วิธีโยกหุ้นไปทำ block trade กับโบรกแห่งอื่นแทน
นี่ก็เป็นความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้น ในกรณีที่เราทำ block trade ปริมาณมากๆ
ผมจึงบอกได้ว่า Block Trade EARTH นั้นเป็นรายการ block ที่อัปยศที่สุด เพราะมันตลกตรงที่ว่า ผู้ที่ขาดทุนจากการทำ block trade กลับเป็นผู้ที่ "ไม่ควรจะขาดทุน"
นักลงทุนหลายคนอยากลองเข้ามาเล่น SSF block trade เพราะเห็นว่ากำไรมาก แต่ต้องพึงระวังเอาไว้ว่า นักลงทุนควรศึกษาให้รอบด้าน
ผมไม่ได้บอกว่า block trade นั้นไม่ดี มันดีตรงที่ leverage มันสูงถึง 10 เท่า และดอกเบี้ยมันก็ดูเป็นธรรม แต่นักลงทุนต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง money management มากที่สุด
ใครที่ไม่รู้เรื่อง money management เลย ไม่ควรเข้ามาเล่น SSF หรือ ทำ block trade เป็นอันขาด เพราะความเสี่ยงสูงมาก
หากคุณใส่เงินทั้งหมดที่คุณมีมาเปิดสัญญา ราคาหุ้นปรับตัวลงเพียง 3% คุณจะถูกเรียกวางหลักประกัน และถ้าราคาหุ้นลงมาถึง 5% คุณจะถูกบังคับปิดสัญญาทันที เพราะนั่นหมายความว่า คุณจะขาดทุน 30% หรือไม่ก็ 50% แล้ว
นอกจากนั้น block trade เป็นธุรกรรมที่เรียกว่า OTC หรือ over the counter ซึ่งเป็นการตกลงกันเองระหว่างลูกค้ากับโบรกเกอร์ มีทริกมากมายที่ใช้ในการเปิดสัญญา ปิดสัญญา
เราคงเคยเห็นว่า ทำไมการทำราคา block trade มันถึงสูงหรือว่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งที่เมื่อหักหรือรวมดอกเบี้ยเข้าไปแล้ว มันก็ไม่ควรจะได้ราคานั้น แต่มันก็ทำกันได้ นั่นเพราะมันเป็นการตกลงกันเอง ขอเพียงโบรกเกอร์โอเค ผู้เล่นยอมรับ อะไรก็ทำกันได้
ด้วยเหตุนี้ การทำ block trade นั้น นักลงทุนจึงควรพิจารณาปัจจัยรอบๆด้าน เมื่อมองด้านบวก "ห้ามลืมมองด้านลบ" เป็นอันขาด และหากเราไม่สามารถควบคุมหุ้นได้ เราต้องไม่ลืมว่า ปัจจุบัน block trade ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการหาเงิน "ก้อนใหญ่" หากเขาทุบหุ้นลงมาด้วยการปิดสัญญา block trade ถ้าเงินเขาหนาพอ เขาไม่เจ๊ง แต่คนที่เจ๊งน่ะ คือ "ตัวเราเอง"
ที่มา: FB Wattana Stock Page
17 พ.ค. 2560 / 12.43 น.
ผมคงสามารถที่จะเขียนบทความนี้ได้ เพราะผมเป็นคนที่เคยกำไรจาก block trade มาหลายสิบล้าน และก็ขาดทุนจาก block trade นี่ล่ะ ไปหลายสิบล้านเช่นเดียวกัน ด้วยความกระหยิ่มว่า SSF Block Trade นี่มันเล่นง่ายเหลือเกิน ถึงแม้ SSF จะไม่มีสภาพคล่อง ก็สามารถให้โบรกเป็นคนซื้อหุ้นแทนได้ แต่ที่ไหนได้ จุดจบมันก็แสนขมขื่น
หุ้นที่ผมยกย่องว่า "คนทำหุ้น" สามารถใช้ SSF Block Trade ในการกอบโกยกำไรเข้าตัวเองได้อย่างมหาศาล มีเพียง 2 ตัวเท่านั้นที่เห็นกันบ่อยๆ ก็คือ JAS กับ TPIPL โดยคนที่เป็นคนเก็บ block trade จะ "ไม่ขาดทุน" จากการทำธุรกรรมนี้เป็นอันขาด เพราะเขาจะต้องอยู่ในสถานะที่สามารถ "ควบคุมหุ้นได้"
แต่ EARTH นับว่าเป็นการทำเสียสถาบัน Block Trade และสร้างความอัปยศให้กับวงการ Block Trade อย่างมาก เมื่อ "ผู้ที่ไม่ควรขาดทุน" กลับเป็นผู้ถูก force sell หรือบังคับขายเสียเอง รายงานการขายหุ้นของผู้บริหารชี้แจงอย่างเป็นทางการออกมาตั้งแต่เย็นวานนี้แล้ว ไปหาดูรายชื่อกันเอาเอง
เรื่องนี้น่าจะเป็นบทเรียนให้กับผู้ที่คิดว่า Block Trade นั้นเล่นง่าย เป็นเครื่องมือทำกำไรได้อย่างดี เพราะเป็นการซื้อขาย SSF ที่มี leverage สูงราว 10 เท่า
ในฐานะที่ผมเรียนด้านการเงินมา ผมไม่เคยกล่าวร้ายกับสินค้าชนิดใดในตลาดว่ามันไม่ดี เพราะสินค้าแต่ละชนิดก็มีข้อดีและข้อเสียของมันเอง สิ่งที่เกิดขึ้นกับ EARTH เป็นเครื่องการันตีได้อย่างดีว่า การเล่น SSF ไม่ว่าจะผ่านการทำ block trade หรือเป็นการซื้อในกระดาน ก็มี "ความเสี่ยง" อย่างมาก หากเรา "ไม่ศึกษาอย่างจริงจัง"
คำว่า "ศึกษา" ไม่ใช่ศึกษาแค่ว่า มันดีกว่าสินค้าประเภทอื่นตรงไหน มันทำกำไรได้มากกว่าหุ้นปกติมากแค่ไหน แต่สิ่งที่ต้องศึกษาให้ละเอียดลึกซึ้งก็คือ ข้อจำกัดและความเสี่ยงของการเล่นตราสารชนิดนี้ ซึ่งเป็นตราสารที่ให้ leverage สูงมาก ซึ่งนักลงทุนจะต้องให้ความระมัดระวังอย่างมากในการเล่น และต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของ money management มาเป็นอันดับแรก
คำกล่าวที่ว่า การเล่น SSF นั้นใช้เงินเพียงแค่นิดเดียวก็ทำกำไรได้มหาศาลนั้นถูกต้อง แต่มองมุมกลับ เวลาขาดทุน ก็ขาดทุนได้อย่างมหาศาล และนอกจากนั้น แม้การเล่น SSF จะใช้เงินเพียงน้อยนิด แต่ไม่ได้หมายความว่า "คนที่มีเงินเพียงน้อยนิดจะหาญกล้ามาเล่น SSF ได้"
เงินที่คุณใช้เปิดสัญญา SSF นั้น ไม่ใช่เงินที่ "จ่ายไปครั้งเดียว" เพื่อให้ได้สัญญามา แต่มันเป็นเพียง "เงินวางหลักประกัน" ที่ต้องวางไว้กับโบรกเกอร์เพื่อเปิดสัญญา หากคุณกำไร คุณก็ถอนส่วนที่เกินกว่าหลักประกันออกไปได้ แต่หากคุณขาดทุน ไม่ใชว่า คุณลงเงิน 10000 แล้วจะขาดทุนแค่ 10000 บาท เพราะเงินส่วนนี้เป็นเพียง "เงินวางหลักประกัน"
นักลงทุนยังมีหน้าที่ที่จะต้อง "เติมเงินวางหลักประกัน" ให้กลับมาสู่เกณฑ์ที่ตลาดกำหนดเอาไว้ และยิ่งราคาหุ้นไปผิดทางเรื่อยๆ นักลงทุนก็ต้อง "เติมเรื่อยๆ" เรียกได้ว่า "เติมกันจนไม่รู้จักจบสิ้น" จนกว่าคุณจะตัดสินใจ ปิดสัญญาทิ้ง จะเป็นการหยุดขาดทุนอย่างแท้จริง
นอกจากเติมเงินแล้ว หากราคาหุ้นปรับตัวลงมาถึงระดับที่ลึกมากจนทำให้หลักประกันลงมาต่ำถึงจุดสุดท้ายที่โบรกยอมรับได้ โบรกจะ "บังคับปิดสัญญา" ทันที เพื่อจำกัดการขาดทุนให้หยุดอยู่แค่ตรงนั้น แต่มันก็มีกรณีที่เลวร้ายก็คือ เมื่อบังคับปิดสัญญาแล้ว เงินที่วางหลักประกันไว้ก็ยังไม่เพียงพอกับการขาดทุนที่เกิดขึ้น นักลงทุนคนนั้นจะต้อง "เป็นหนี้" โบรกเกอร์อีกด้วย
ดังที่เกิดขึ้นกับ EARTH
การคิดจะเป็นคนคุมเกมการเล่น SSF Block Trade นั้น ต้องมีการวางแผนมาอย่างดี อย่างที่เกิดขึ้นกับ JAS หรือ TPIPL ผู้ที่ประสบความสำเร็จจะต้องสามารถคุมจำนวนหุ้นที่หมุนเวียนได้ และรู้ว่าจะใช้ Block Trade ในปริมาณมากขนาดไหนเพื่อทำกำไร หากเราสามารถควบคุมจำนวนหุ้นได้ ทุกอย่างจะเป็นงานสบาย
การเล่น SSF Block Trade ของ JAS จึงจำกัดอยู่เพียงราว 3 แสนสัญญาเท่านั้น ไม่มากกว่านั้น เพราะคนที่ทำรู้ความเสี่ยงเป็นอย่างดี และแม้จะกำไรไปมหาศาลขนาดไหน การทำกำไรในรอบถัดๆไป ก็จะไม่เปิดสัญญา block trade เพิ่มกว่าเดิม เพราะอะไร?
เพราะจุดมุ่งหมายไม่ได้อยู่ที่ "กำไร" แต่จุดที่ต้องให้ความสำคัญมากกว่าคือ "ปริมาณหุ้นที่ควบคุมอยู่"
เช่นเดียวกันกับ TPIPL ที่ปริมาณการเปิดสัญญา ก็จะอยู่ประมาณเดียวกันทุกรอบ ไม่ได้เล่นมากกว่านั้น
แต่สำหรับ EARTH ผู้ที่เข้ามาเปิดสัญญานั้น คิดตั้งต้นเพียงแค่ว่า จะใช้ Block Trade เป็นเครื่องมือในการใช้ leverage คือเพิ่มอำนาจซื้อของตัวเอง ทดแทนการใช้บัญชีมาร์จิ้น เพราะบางโบรกไม่ให้ซื้อ EARTH ในบัญชีมาร์จิ้น หรือไม่ก็ต้องการได้อำนาจซื้อมากกว่าการใช้บัญชีมาร์จิ้น
ที่สำคัญก็คือ คนที่เปิดสัญญา Block Trade นั้น ไม่ได้มีหุ้นมากพอที่จะ "ควบคุม" การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นได้ เหมือนกับที่เกิดขึ้นกับ JAS และ TPIPL เพราะก่อนหน้านั้น เมื่อมีการซื้อเหมืองถ่านหินกี่ครั้งก็ตามแต่ EARTH ใช้วิธีออกหุ้นเพิ่มทุนเพื่อแลกหุ้นตลอด นั่นหมายความว่า หุ้น EARTH นั้น มีการกระจายออกไปยังคนอื่นมาก และทำให้การเก็บ EARTH ผ่านการทำ block trade เพียงแค่ราว 100000 สัญญา หรือ 100 ล้านหุ้น มันไม่ได้มากพอที่จะรับประกันได้ว่า คนเล่นจะ "ไม่ขาดทุน" เพราะไม่สามารถคุมหุ้นได้ (จำนวนหุ้น EARTH มีหลายพันล้านหุ้น)
ก่อนหน้านี้ EARTH เคยเปิด block trade กับโบรกเกอร์มากกว่า 1 แห่ง แต่แล้วโบรกเกอร์แห่งหนึ่งเห็นถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น จึงได้ยกเลิกการทำธุรกรรม block trade กับผู้เปิดสัญญา และให้เวลา 2 สัปดาห์ ในการย้ายธุรกรรมดังกล่าวไปยังโบรกเกอร์แห่งอื่น หรือไม่ก็ต้องจ่ายเงินค่าหุ้นทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่า คนเปิด block trade ไม่สามารถหาเงินทั้งหมดมาจ่ายค่าหุ้นได้ จึงใช้วิธีโยกหุ้นไปทำ block trade กับโบรกแห่งอื่นแทน
นี่ก็เป็นความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้น ในกรณีที่เราทำ block trade ปริมาณมากๆ
ผมจึงบอกได้ว่า Block Trade EARTH นั้นเป็นรายการ block ที่อัปยศที่สุด เพราะมันตลกตรงที่ว่า ผู้ที่ขาดทุนจากการทำ block trade กลับเป็นผู้ที่ "ไม่ควรจะขาดทุน"
นักลงทุนหลายคนอยากลองเข้ามาเล่น SSF block trade เพราะเห็นว่ากำไรมาก แต่ต้องพึงระวังเอาไว้ว่า นักลงทุนควรศึกษาให้รอบด้าน
ผมไม่ได้บอกว่า block trade นั้นไม่ดี มันดีตรงที่ leverage มันสูงถึง 10 เท่า และดอกเบี้ยมันก็ดูเป็นธรรม แต่นักลงทุนต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง money management มากที่สุด
ใครที่ไม่รู้เรื่อง money management เลย ไม่ควรเข้ามาเล่น SSF หรือ ทำ block trade เป็นอันขาด เพราะความเสี่ยงสูงมาก
หากคุณใส่เงินทั้งหมดที่คุณมีมาเปิดสัญญา ราคาหุ้นปรับตัวลงเพียง 3% คุณจะถูกเรียกวางหลักประกัน และถ้าราคาหุ้นลงมาถึง 5% คุณจะถูกบังคับปิดสัญญาทันที เพราะนั่นหมายความว่า คุณจะขาดทุน 30% หรือไม่ก็ 50% แล้ว
นอกจากนั้น block trade เป็นธุรกรรมที่เรียกว่า OTC หรือ over the counter ซึ่งเป็นการตกลงกันเองระหว่างลูกค้ากับโบรกเกอร์ มีทริกมากมายที่ใช้ในการเปิดสัญญา ปิดสัญญา
เราคงเคยเห็นว่า ทำไมการทำราคา block trade มันถึงสูงหรือว่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งที่เมื่อหักหรือรวมดอกเบี้ยเข้าไปแล้ว มันก็ไม่ควรจะได้ราคานั้น แต่มันก็ทำกันได้ นั่นเพราะมันเป็นการตกลงกันเอง ขอเพียงโบรกเกอร์โอเค ผู้เล่นยอมรับ อะไรก็ทำกันได้
ด้วยเหตุนี้ การทำ block trade นั้น นักลงทุนจึงควรพิจารณาปัจจัยรอบๆด้าน เมื่อมองด้านบวก "ห้ามลืมมองด้านลบ" เป็นอันขาด และหากเราไม่สามารถควบคุมหุ้นได้ เราต้องไม่ลืมว่า ปัจจุบัน block trade ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการหาเงิน "ก้อนใหญ่" หากเขาทุบหุ้นลงมาด้วยการปิดสัญญา block trade ถ้าเงินเขาหนาพอ เขาไม่เจ๊ง แต่คนที่เจ๊งน่ะ คือ "ตัวเราเอง"
ที่มา: FB Wattana Stock Page