สรุปสัมมนา VI Knowhow charity#4(Nov2016)
โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 26, 2016 6:31 pm
สรุปสัมมนา VI Knowhow charity#4 (Nov2016)
Day1 มี 3 หัวข้อ ได้แก่
1) Creative marketing คุณรวิศ หาญอุตสาหะ เป็นเรื่องราวความเป็นมาของบริษัทศรีจันทร์ และการพลิกฟื้นธุรกิจ ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดที่น่าสนใจ
2) หุ้นร้อยเด้ง คุณวีระพงษ์ ธัม เป็นการนำหนังสือต่างประเทศเรื่อง 100 Baggers มาเล่าให้ฟังถึงการหาหุ้น 100 เด้ง, Case study บวกกับเสริมประสบการณ์ให้เราฟังกันด้วย
3) Investment analytics for VI คุณสมเกียรติ ไกรเกรียงศรี เป็นการนำเทคโนโลยีในยุค Big data มาช่วยในการวิเคราะห์หุ้น ซึ่งทำให้เห็นว่ามันช่วยให้ชีวิตเราสะดวก ง่าย ขึ้นจริงๆ
ขอขอบคุณ พี่หมอนุ่น ที่ตั้งใจจัดสัมมนาความรู้ในเชิงวิชาการ และให้เราได้ร่วมบริจาคเงินเพื่อการกุศลให้โรงพยาบาล ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ
และขอบคุณวิทยากร, ทีม staff ช่วยงานทุกท่าน รวมถึงทีมงานพี่เวบด้วยครับ
ผมนั่งจดๆแว่บๆไปข้างนอกบ้าง ไม่เป๊ะนะครับ เผื่อถ้าฟังอะไรเข้าใจผิดพลาด จดขาดไปอย่างไรขออภัยไว้ด้วยนะครับ
Creative marketing คุณรวิศ หาญอุตสาหะ
• ประวัติเรียนจบปริญญาตรีวิศวะจากจุฬาฯ แล้วย้ายสายไปการเงิน ทำงานที่สุดท้าย Citibank เป็น trader ด้าน derivatives เป็นงานที่ชอบ
• จุดเปลี่ยนคือพ่อให้ไปหาคุณปู่ที่บริษัทศรีจันทร์ ซึ่งยังเป็นบริษัทที่เก่าแก่และขนาดเล็ก มีคนราว 30 คน พบว่าถ้าไม่ทำอะไร บริษัทคงปิด
จึงอยากไปช่วยพัฒนาและลาออกกลับไปทำที่ศรีจันทร์ ตอนปี 2008
• ตอนนั้นผลิตภัณฑ์มีตัวเดียวคือ ผงหอมศรีจันทร์ ซึ่ง Package ดูโบราณ ใน 2-3 ปีแรกเปลี่ยน Packaging มา 12 ครั้ง แต่ไม่ทำให้ลูกค้าซื้อสินค้ามากขึ้น
และต่อมาก็พยายาม ออกสินค้าตัวใหม่ ผงหอมศรีจันทร์ ทานาคา ที่ใช้เทคโนโลยีผลิตอย่างดี พบว่า ลูกค้านึกว่าตำหลังโรงงาน
• สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ ถ้าปรับปรุงแล้วลูกค้าไม่รับรู้ ไม่พึงพอใจ ก็สูญเสียเปล่า อย่าทำเลย
• บทเรียนอีกอย่าง ช่วงที่วางขายหลายที่ อยากทำโฆษณา เคเบิ้ลทีวี อยากประหยัดเงินและคิดว่าเราทำได้จึงเป็นผู้กำกับเอง ผลออกมายี่ปั๊วซาปั๊วโทรมาด่า
ว่าดูไม่รู้เรื่อง ภายใน 3 วันต้องถอดโฆษณาออก ก็ต้องไปจ้างเอเจนซี่ทำเหมือนเดิม
• Learning คือ 1. คุณไม่ได้เก่งทุกเรื่อง 2. ทุกอาชีพมีเหตุผล มีความสามารถบางอย่าง
• สิ่งที่พบคือ การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยไม่ Work ต้องเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ด้วยความที่อ่านหนังสือเยอะ ก็มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ
Leading change (Professor Kotter) พูดถึงว่า มนุษย์ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ถ้าจะให้อยู่คงทนต้องมี Framework ซึ่งมี 8 Step ซึ่งได้นำมาประยุกต์ใช้
ยกตัวอย่าง เช่น
• Step 1 ต้องสร้างความรู้สึกเร่งด่วน พอมี “ความเร่งด่วน” ก็ต้องช่วยกันหาทางออก ซึ่งศรีจันทร์อยู่ในสถานการณ์ที่ทุกคนตระหนักอยู่แล้ว
o มีตัวอย่าง สินค้ายี่ห้อ ROM ของประเทศโรมาเนียเป็น ช็อคโกแลตแท่งยี่ห้อเก่าแก่ Package ลายธงชาติ ปัญหาคือวัยรุ่นไม่ชอบสินค้าที่ผลิตในประเทศตัวเอง
ทางแก้คือทำ Packaging ลายธงชาติอเมริกาแทน
• Step 2 Create the guiding coalition : ต้องแชร์ วัตถุประสงค์ไปให้ถึงคนล่างสุด จากประสบการณ์เป็นสิ่งที่บริษัทฝรั่งทำได้ดี
บริษัทไทยพวกผู้บริหารก็ทำกันไป ลูกน้องก็ไม่ได้รับรู้อะไร จึงพยายามเอาแนวของฝรั่งมาใช้ คือ one on one meeting เป็นเทคนิคที่ Share Objective องค์กรได้สำเร็จ
เพราะเราไม่มีเวลาพูดกับทุกคนได้ แต่เราสามารถพูดกับคนที่ต้องมารายงานเราโดยตรงได้ (เต็มที่ก็ไม่ควรเกิน 7 คน) ซึ่งจะคุยกันเขาทุกสัปดาห์
และถ่ายทอดความคิดของเราให้กับเขา ขณะเดียวกันก็มีคนที่เราคุยด้วยโดยตรงก็จะมีลูกน้องที่ต้องไปคุยต่อแบบ one on one เหมือนกัน
o “ต้องเชื่อใจทีมงาน “ สิ่งที่ไม่ชอบอย่างหนึ่งเกี่ยวกับนายในการทำงาน คือชอบล้วงลูก ปัญหาคือ ทีมงานจะไม่กล้าตัดสินใจอะไรเลย
o Put the right man to the right job
• Step 3 Develop our change vision – A vision inspires people to take action
• วิสัยทัศน์ไม่ใช่สิ่งที่แปะข้างฝา มันสำคัญเพราะสร้างแรงบันดาลใจให้คน คนเราไม่ใช่แค่ทำงานเพื่อหาเงิน ยกตัวอย่าง ชื่อเต็มของบริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ
เมื่อก่อนรับสมัครงานใน Job DB ไม่มีใครสมัครเข้ามาเลย หลังจากที่ทำ Page เขียนหนังสือ มีน้องๆที่เก่งที่จบจากมหาวิทยาลัยต่างประเทศ “ความฝันของที่นี่
ตรงกับความฝันของเขา เขามาทำงานแล้วสนุก เติมเต็มกับสิ่งที่เขาเป็น”
• วิสัยทัศน์ ศรีจันทร์ คือ ทำแบรนด์ไทยให้คนไทยภูมิใจ
• ตัวอย่าง ในยุคหนึ่งบริษัทที่มีวิสัยทัศน์แข็งแรงที่สุดแห่งหนึ่งคือ Apple สมัย สตีฟ จ๊อบ
• วิธีง่ายๆ ที่จะบอกว่าวิสัยทัศน์บริษัทแข็งแรงไหม ให้ลองนึกว่าถ้าไม่มีบริษัทนี้อยู่ จะมีคนคิดถึงบริษัทนี้ไหม? เช่นถ้า บริษัท Google หายไป จะเกิดอะไรขึ้น?
• Step 4 Communicate vision to Buy-in – ผู้นำ ต้องเป็นคนขาย ทำอย่างที่พูดให้ได้
• ปัญหาศรีจันทร์
o 1) แบรนด์ไม่ชัดเจน 2) สินค้า สารพัดวิธีใช้ => ลูกค้างง => ไม่อยากใช้
o Bias ต้องระวังของที่เราทำเอง จะดูดีสำหรับเราเสมอ ต้องเชคกับลูกค้าเสมอ
o พอมีปัญหาที่ว่าก็ไม่รู้จะ สื่อสารลูกค้าอย่างไร
• ทางออก คือความชัดเจน => สิ่งที่ต้องมีคือ “Brand’s single mind” มี research เวลาที่ออกจากบ้านจะมี Brand กว่า 1000 อย่าง
ซึ่งมีแค่ 20 แบรนด์ที่เราจะพิจารณาว่าจะซื้อไหม ซึ่งจะมีมี “Brand’s single mind” เสมอ เราจึงต้องเปลี่ยนวิธีเล่าแบรนด์ใหม่ เปรียบเทียบเหมือนศณีจันทร์
เป็นกระต๊อบชานเมือง จะเปลี่ยนมาเป็น คอนโดแถวชิดลมได้อย่างไร
• ถ้าไม่ได้อัจฉริยะแบบ สตีฟ จ๊อบ ต้องไปหาลูกค้า ใช้เวลาทำ Market research อยู่ 8 เดือน
• Market research ผู้บริหารต้องลงตลาดเอง ไม่ใช่แค่อ่านกระดาษ คนเรามักไม่ตอบตรงกับสิ่งที่ตัวเองทำ เป็นลักษณะปกติของมนุษย์
สิ่งที่เราไปหาคือ mindset, behavior, พูดถึงเกี่ยวกับแบรนด์
• ตัวอย่าง Dove ทำ Global research ถามว่าคนเราสวยไหม? มีคนตอบว่าสวยแค่ 4% ยิ่งในไทยมีแค่ 1% ถ้าทุกคนรู้สึกว่าตัวเองสวย เครื่องสำอางค์จะขายไม่ได้
• สิ่งที่น่าสนใจทำไม ความมั่นใจผู้หญิงไทยจึงต่ำ ? 1) ทีมงานไปคุยกับจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ได้เหตุผลที่น่าสนใจว่า “พ่อแม่กลัวลูกสาวโตขึ้นจะRadเลยไม่ชม”
แต่ถ้าพ่อแม่ตะวันตกเขาสอนว่าเราต้องภูมิใจในสรีระตัวเอง 2) คนไทยมี “Stereo type(ภาพเหมารวม)” ของความสวย = ผอม และขาว
แต่ถ้าถามคนต่างประเทศคำตอบจะหลากหลายมาก
• มี Campaign marketing => Real beauty ที่ ประสบความสำเร็จทั่วโลก มาแป้กที่ไทย เราไม่ต้องการ เราต้องการ ผอมๆ ขาวๆ
• ทุกธุรกิจต้องมี “วิจัยพฤติกรรม” เสมอ เป็นการทำให้สถานที่จริง ไม่ใช่ถาม เช่น ให้ลบหน้า แต่งหน้าให้ดูเลย
ต้องเอามาคิดในการออกสินค้าให้ตอบโจทย์ อย่างการออกแบบขนาดสินค้าให้เหมาะกับการใช้
• “พฤติกรรมตัวลูกค้า” – ยุคนี้ต้องพูดถึงผลกระทบ Social Media การถ่ายรูปสมัยนี้การถ่ายรูปเกิดขึ้นได้เสมอและลง Social Media ได้อย่างรวดเร็ว
ประเด็นคือ รูปที่ Post ลง Social media คือรูปที่เจ้าของโพสต์หน้าตาดี คนอื่นในรูปหน้าแย่ช่างมัน หรืออย่าง “วัฒนธรรมการอวด”
ยุคนี้เป็นยุคที่ตั๋ว Business class เต็มเร็วมากกว่า Economy มีความเชื่อว่าเพราะคนอยากโพสต์รูปว่านั่ง business class
หรืออย่างร้านอาหารที่หากทำให้คนถ่ายภาพอาหารไปโพสต์ได้สวยก็จะช่วยทำให้ขายดี
• พฤติกรรมคนยุคนี้ชอบลองของใหม่ Brand royalty ต่ำลงกว่าคนยุคก่อน ทำให้คนที่ทำแบรนด์เดิมอยู่แล้วไม่สามารถหยุดได้ แบรนด์ใหม่ก็มีโอกาสเกิดตลอด
และมีความใจร้อนอยากเห็นผลเร็ว เช่น ทาครีม 3 วันอยากให้หน้าขาวเลย ทำให้พวก ครีมซอมบี้ขาวคูณสิบ หรือยาลดความอ้วน ขายดีมาก ทั้งที่ใส่สารที่ผิดกฏหมาย
• Internet เป็นของที่ control ไม่ได้ แต่ influence ได้นิดหน่อย พบว่าทำของให้ดีที่สุดแล้วจุดประกายขึ้นมา ถ้าของดีจริงแล้วคนจะบอกต่อเอง
• คนทุกวันนี้ฉลาดขึ้น ความโปร่งใสสำคัญ คนเราพลาดนิดเดียว ถูกขุดถูกแฉยาว สิ่งที่ค้นพบเรื่อง Crisis management ถ้าเจอดราม่าออนไลน์
หากไม่เกี่ยวกับกฏหมายอาญา ให้ขอโทษไว้ก่อน ให้ขอโทษอย่างเป็นทางการ คนที่โวยวาย ออกอาการเยอะ ใช้กำลังจะแพ้เสมอ ไม่ว่าคุณจะถูกและผิด
เพราะโลกออนไลน์จากความหมั่นไส้ ความน่าสงสาร ไม่อ่านเนื้อหา ไม่ต้องคิดมากมันจะผ่านไปในเวลาไม่นาน สักพักก็มีเรื่องใหม่
ยกตัวอย่าง เคสกราบรถ น่าสนใจมาก ดูจริงๆแล้วเรื่องไม่มีอะไรเยอะ แต่ดันไปพูดประโยชน์ที่ “Hashtag” ได้ เป็นข้อต้องห้าม
• ร้านค้าดั้งเดิม vs ร้านค้าออนไลน์ – มีคนเชื่อว่าร้านค้าออนไลน์จะทำให้ร้านค้าดั้งเดิมเจ๊ง ซึ่งไม่จริง ถ้าหากปรับตัวได้ก็อยู่รอดได้
ตัวอย่างเช่น ร้านวอเตอร์ สโตน ในอังกฤษ ปรับตัวได้ และกลับมามีกำไรได้ , ร้านขายเครื่องสำอางค์ก็เช่นกัน ลูกค้าเข้าไปต้องการตื่นเต้น
รู้สึกสนุก อยากลอง ซึ่งทำในร้านค้าออนไลน์ไม่ได้ จึงเห็นว่าร้านค้าจะเป็น Experience store
• Strategic moves ของศรีจันทร์
o เราเปลี่ยน องค์กรจากเดิมไม่มีคอมพิวเตอร์ เริ่มเอาพวก inventory อะไรต่างๆเข้ามาใส่ในระบบด้วยตัวเอง ทำให้ได้รู้ทุกอย่าง
ซึ่งไม่เพียงพอจึง migrate มาใช้ SAP และเพิ่ง implement เสร็จ
o โลกยุคนี้เปลี่ยนไป การ Brief Media ต้องเปลี่ยนไปเป็นแบบ “Attitude”
o Brand idea – Ambition, Culture, Product truth, Insight
o เอาวิธีของ สตีฟ จ๊อบ มาใช้ ไปทำสินค้าให้บางที่สุด แล้วพวกพวก Engineer หาทางทำให้บางเอง จึงไปบอกให้ทีมงาน
ไปทำผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดมา เดี๋ยวทาง Marketing จะหาทางขายเอง
o “ผงหอม ศรีจันทร์ ทรานซลูเซนต์” –ตัวอย่างจุดเด่นการออกแบบสินค้าที่ประสบความสำเร็จของเรา
ผ้า –ใช้ผ้าจากญี่ปุ่นแบบ Bobby brown โจทย์คือเราไม่ได้ขายแพงเท่ากันจึงต้องหาวิธีลดต้นทุน ซึ่งเราลดได้ถึง 50%
ฝา – มีวิธีการผลิตที่เป็นสิทธิบัตรคนอื่นทำตามยาก
กล่อง – ใช้กระดาษจากฟินแลนด์แพงมาก เพราะคนไม่ได้ซื้อของด้วยเหตุผลอย่างเดียว สมมติเดินเข้า B2S เห็นปากกาน้ำเงินเยอะมาก
จะไม่รู้ว่าอยากได้ยี่ห้ออะไร ถ้าไม่ได้เลือกไว้แล้ว ซึ่งถ้าไปลองไปหยิบแล้วตัดสินใจซื้อ เราเชื่อว่าเรามีเหตุผล 100% แต่หนังสือการตลาดบอกว่า
มันมีเหตุผลแค่ 20% จิตใต้สำนึก 80% มาจากประสบการณ์สั่งสม เช่น ชอบญี่ปุ่น , มีสิ่งที่เราชอบ
o AIDMA – Attention, Interest, Demand, Motive, Action คือ Journey ของลูกค้าผ่านสื่อ
ในอดีตเราใช้โฆษณาทีวีเกิดกระบวนการ AIDMA จนลูกค้าซื้อ ปัจจุบันใช้แบบนี้ไม่ได้ ลูกค้าไม่เกิด Motive => มันเกิดบน ออนไลน์ ไปดูรีวิว และไปตัดสินใจซื้อบน ออนไลน์
o ธุรกิจอะไรก็ตามมีรีวิวทุกอย่าง เช่น รีวิวถ่ายไฟฉาย บนพันทิพย์ ทำละเอียดมาก ใช้อุปกรณ์เหมือนตอนทำ Lab ไฟฟ้า เขียนละเอียดมาก
o โจทย์ทำให้ศรีจันทร์เป็น Thai modern brand ณ ปลายปี 2014 ก็รีบมากไปจึงทำสิ่งผิดพลาดขึ้น
o สิ่งสำคัญที่จะสำเร็จมี 2 อย่าง Strategy กับ execution
ถ้า Strategy ดี แต่ Execution แย่ = เพ้อเจ้อ
Execution ดี แต่ Strategy ไม่ได้เรื่อง = ขยันผิดที่ สิบปีก็ไม่ไปไหน
o เรา Execution ดี แต่ strategy ยังไม่ดี ตัวอย่าง โฆษณาศรีจันทร์ หญิงไทยสวย หน้าไม่มัน
ปัญหาคือ โฆษณาออกมาดีมาก แต่ลูกค้าไม่ซื้อ เพราะ strategy มันผิด มองไม่ขาด เราค้นพบว่า strategy ที่ดีมักจะ simple
o วิเคราะห์ปัญหา การเล่าเรื่องของเรา ศรีจันทร์ => ขายแป้ง => oil control พบว่าพอพูดศรีจันทร์แล้วคนไม่อยากฟัง
เราจึงเปลี่ยนเป็น ขายแป้ง => oil control+คุณสมบัติ+เปิดใจ => ศรีจันทร์ และมีการเอาไปคุยกับช่องทางจัดจำหน่ายต่างๆ
ตั้งแต่ 7-11 ไปถึง Lotus 99% modern trade จึงทำให้เรามั่นใจในการออกโฆษณาถัดไป
o โจทย์ถัดมา เราต้องการหาคนเล่าเรื่องที่เก่งที่สุด คือ พี่ต่อ ธนนชัย ที่เป็นผู้กำกับเบอร์ 1 ของโลก
ปัญหาคือ ไม่รู้จัก บริษัทเล็ก และต้องการรีบด้วย สิ่งที่ทำคือต้องใช้ความกล้าก็เข้าไปคุยจนพี่ต่อยอมทำด้วย และยังช่วยทำให้จนทุกวันนี้
o ไอเดียโฆษณาที่ทำกับพี่ต่อ คือให้ฝรั่งเป็นเล่าเรื่อง ซึ่งคิดว่าคนดูครึ่งหนึ่งจะฟังไม่รู้เรื่อง แต่ เขาจะจำได้ว่าเป็น แป้ง ยี่ห้อ ศรีจันทร์
และจะสงสัยมากว่ามันเป็นอย่างไร แล้วออกไปซื้อ ซึ่งทำให้ต้องคิดหนักมากว่าจะทำแบบนั้นดีไหม ซึ่งสุดท้ายก็ตัดสินใจเชื่อพี่ต่อ
และเกิดสิ่งที่พูดไว้จริงๆ และคนพูดถึงโฆษณานี้เยอะมาก โดยสิบวันแรกขายถล่มทลายหมด 2 แสนชิ้น นักข่าวโทรหาทุกชั่วโมง
และหลังจากนั้นก็ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 20 เท่า รวมทั้งต่อมาที่ทำศรีจันทร์ฟอร์เมน ก็ขายดีมาก
o Marketing ที่ดีควรเริ่มจาก Product development ว่าเราทำเพราะอะไร ธุรกิจเครื่องสำอางค์ผู้เล่นหลายใหญ่นำตลาด
เขามีงบประมาณ ทรัพยากรมหาศาล ใช้ตำราเล่มเดียวกันเราสู้ไม่ได้
o สิ่งสำคัญคือต้องใช้ตำรารบคนละเล่ม เคยเดินเข้าวัตสัน เจอเครื่องสำอางค์ที่ใช้หน้ากล่องแบรนด์ Paris, New York, Milan
แต่สินค้าพวกนี้ ผลิตที่ China เป็นสิ่งที่แบรนด์ใหญ่ทำแบบนี้คือลดต้นทุน งั้นเราคิดใหม่ถ้าเพิ่มต้นทุน โดยให้มีคุณค่ากับลูกค้ามากขึ้น
ถ้าเราทำกลับกัน ใส่ชื่อ Bangkok หน้ากล่อง แต่ไปทำสินค้าที่ เมืองที่ทำสินค้าดี่ที่สุดในฝั่งตะวันออก คือ Japan ใช้เวลาวิจัยทำสอบอยู่เป็นปี
จนได้ Serie ใหม่ของศรีจันทร์, เปลี่ยนโลโก้ และออก Luminescence serie เป็นสินค้าที่ R&D และผลิตที่ญี่ปุ่นทั้งหมด แต่เหมาะกับคนไทยที่สุด
ซึ่งเชื่อว่าจะได้ผลเหมือนโฆษณาชุดก่อนที่ประสบความสำเร็จ
o ทุกวันนี้เราไปได้ไกลมากกว่าอดีตเยอะ มีความสุขกับสิ่งที่ได้ทำ และสร้างความภาคภูมิใจกับแบรนด์นี้
o ใช้เงินน้อยๆ ทำ campaign ให้สำเร็จ ให้สนุกได้ไหม? ตอบ ได้ สำคัญที่โจทย์ อย่างหนังสือ “อย่าปล่อยให้ใครฆ่า วาฬของคุณ
” Target group คือ startup เจ้าของกิจการ คนทำงานอยากเปลี่ยนงาน มีเรื่องที่ได้เคยไปนั่งคุยกับน้อง startup แล้วเหลือบไปเห็นคนกวาดถนน
จึงถามชวนคิดว่า คนกวาดถนนมีความฝันหรือเปล่า? จึงมีทำคลิปให้คนเหล่านี้มารีวิวหนังสือ เป็นตัวอย่างที่ใช้เงินไม่เยอะ และมีความลึกซึ้งไปอีกขั้น
o Q&A
มีขายที่ตลาดต่างประเทศ 6 ประเทศ ยากกว่าที่คิด อาจะเพราะตำแหน่งทางการตลาดเราอาจจะไม่ได้เหมาะกับเขา
หนังสือแนะนำ The mckinsey edge, The future,…
ความภูมิใจในแบรนด์ไทยจะดูได้จาก ข้อมูลออนไลน์ได้,เสียงจากลูกค้า ภาพความภาคภูมิใจที่ว่า
ยกตัวอย่างเหมือนกระเป๋า Boyy แบรนด์ไทยที่ลูกค้าระดับบนนิยมถือเปรียบกับ Hermes ได้
ลูกค้าปัจจุบันเป็นคนเมืองมีไลฟ์สไตล์ royalty ไม่สูง ภาพในอนาคตเป็นแบรนด์เครื่องสำอางค์ขึ้นห้างที่จะมีอะไรออกมา surprise ลูกค้าอยู่ตลอด
คิดว่าเรายังไม่ได้ประสบความสำเร็จมาก สำคัญคือเราทำผิดมาเยอะ และเรียนรู้จากความผิดพลาดตลอดเวลา เป็นบันไดที่ทำให้เราก้าวต่อไป
ถ้าเราอยากได้อะไรจากการทำผิด มากกว่าการเสียใจ เราต้องยอมรับความผิดนั้น ถ้าเราผลักให้คนอื่น โทษเศรษฐกิจ โทษลูกน้อง โทษคนอื่น เราจะไม่เรียนรู้จากมัน
เมื่อเราทำผิดบ่อยๆ และเรียนรู้จากมันเราจะเริ่มทำถูก และเมื่อเราทำถูกสิ่งที่ได้กลับมาจะมากกว่าสิ่งที่เราทำผิดเป็นหลายสิบเท่าตัว นึกถึงคำว่า สิ่งใดเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดีเสมอ
มีเคสแป้ง อังกฤษ ตรางู เคยเปลี่ยนจากกระป๋องสังกะสี เป็นพลาสติก เกือบเจ๊ง ต้องเปลี่ยนกลับมาเป็นแบบเดิม เพราะคนรู้สึกว่ากระป๋องสังกะสีมันเย็นกว่า
หรือ สบู่นกแก้ว เปลี่ยนแบรนด์เป็น Parrot ก็เหมือนกัน เพราะลูกค้าเป็นคนต่างจังหวัดเยอะ
หุ้นร้อยเด้ง (100 Baggers) คุณวีระพงษ์ ธัม
• จากประสบการณ์หุ้นร้อยเด้งในตลาดไทยไม่ค่อยมี จะเห็นบ่อยก็สิบเด้ง แต่หุ้นร้อยเดี้ยงน่าจะมีเยอะกว่า
• ถ้าเราจะขึ้นภูเขาเอเวอร์เรสต์ไม่ใช่ขึ้นทีเดียว แต่ต้องใช้เวลา ฝึกร่างกาย ถ้าหุ้นนั้นผลตอบแทน 14% ใช้เวลา 35 ปี
ถ้าผลตอบแทนสูงกว่านั้นก็จะใช้เวลาลดลง หุ้นบางตัวร้อยเด้งที่อเมริกาใช้เวลาสิบปี
• Series of short-term decision is worsen than on long term decision – การทำแบบนั้นเราอาจจะทำได้ไม่นาน หรือมีความผิดพลาดตลอดทาง
• ประวัติศาสตร์หุ้นไทย สมัยปี 1995 จะเห็นว่าหุ้นขนาดใหญ่ หลายๆ sector ปัจจุบันในสมัยนั้น ขนาดแค่ราวพันล้านบาท
แต่ปัจจุบันขึ้นมาเป็นระดับหมื่น,แสนล้านบาทได้ (แม้จะมีการเพิ่มทุนบ้าง) รวมถึงจะเห็นว่าหลายๆกลุ่มเป็นธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมามาก เช่น กลุ่ม commerce
• มีเคสหุ้นอเมริกา คล้าย SCC ชื่อ เทเลดราย เป็นชื่อที่ Conglomerate ฮิต PE 50 เท่า ก็โตขึ้นมามาก
• กฏข้อการลงทุนข้อแรกที่ต้องมีคือ อย่าขายหุ้นเพราะมันขึ้นหรือลง ขายต่อเมื่อสิ่งที่คิดไว้ทีแรกผิด
• ตัวอย่างบัฟเฟตต์ที่ซื้อหุ้น Disney ปี 1966 ขาย 0.3 เหรียญ และขายออกไปสมัยปี 1967 ได้กำไร 50% จากการถือใน 1 ปี
ซึ่งทุกวันนี้ Disney ราคา 98 เหรียญ
• ความท้าทายทุกวันนี้การแข่งขันสูง Asset life สั้นลง อาจจะไม่สามารถซื้อแล้วถือตลอดได้ หรือบางทีอานจจะต้องมีวิกฤติเศรษฐกิจ
อย่าง Great depression Warner Bros. ราคาลงจาก 64.5 ปี 1929 เหลือ 0.5 ปี 1932 เป็นต้น
• เบน เกรแฮม ตอนอายุ 36 ปี ซึ่งเป็นเศรษฐีที่มีความั่นใจสูง ได้ใช้ leverage ปี 1930 ซื้อหุ้นตอนที่ตลาดลงมา 30-40%
คิดว่า market crash ผ่านไปแล้ว แต่ตอนนั้นยังไม่จบ และยังใช้เวลานานกว่าจะฟื้นตัว ปีนั้นเขาทำผมตอบแทน -50% เทียบกับ DJIA -29% แย่ที่สุด
น่าจะเป็นจุดกำเนิดของหนังสือ Security analysis และ The intelligence investor
• บัฟเฟตต์ ก็จะลงทุนในอเมริกา, อุตสาหกรรมที่ 5 forceแข็งแรง, การเงินแข็งแรง
• Do not fight against wisdom of crowd
• หุ้นร้อยเด้ง ต้องมี Twin engine EPS ต้องโต และ PE โต ซึ่ง PE จะโต eps ต้องโตดี และซื้อหุ้นที่ถูกลืมในตลาดก่อน perform
ราคาหุ้นสูง PE สูง ไม่ใช่เหตุผลขายหุ้น (แต่เป็นประโยคที่ทำได้ยาก บางทีหุ้นก็ลงกลับมาได้)
• ลักษณะหุ้นแบบนี้ คือ
o Micro cap ขนาดเล็กๆ น่าสนใจ เช่น SBUX 1971 เปิดร้านแห่งแรก ซีแอทเติล ทุกวนนี้ขยายจนมีขนาด 768 พันล้านเหรียญ
หรือ Apple ปี 1976จาก 10,000 USD ปัจจุบันขนาด 768 MB USD
o Martelli’s 10 Baggers ในหุ้น สองหมื่นกว่าตัว 18% เป็นหุ้นมากกว่าสิบเด้ง และใน 3,800 ตัวจะมี market cap น้อยกว่า 300 ล้านเหรียญ
มันไม่มีสูตรสำเร็จที่จะหาหุ้นสิบเด้งได้ในแต่ละช่วงเวลา เปลี่ยนตามยุคสมัย
o SQGLP = Small, Quality in business and management, Growth, Longevity of Q & G, Price แต่หลายๆครั้งแล้ว
แค่ management อย่างเดียวก็พอ พี่หลินให้ความเห็นเพิ่มว่า อุตสาหกรรมต้องเอื้อด้วย อย่างสมัยหุ้นทีวีเติบโตเมื่อก่อน ก็ขึ้นกันมากเป็นกลุ่ม
o Growth stock with Reasonable price - หุ้นถูกอย่างเดียวระยะสั้นอาจต่างไม่มาก แต่เมื่อผ่านไปหลายปี ผลตอบแทนจะมาจากกำไรที่โตของบริษัท
ยกเว้นถ้าจะซื้อหุ้นแบบถูกมาก ขึ้นมาขายแล้วก็เปลี่ยนไปเรื่อย
o Earning ไม่สำคัญเท่า Cash flow ดู Eps บอกอะไรน้อย เช่น มันไม่ได้บอก capex หุ้นหลายๆตัวที่ capex มากกว่า depreciation
ก็จะทำให้เงินสดออกไป (cash drain) , ไม่รวม working cap , การปันผลก็มีต้นทุน ถ้ากิจการไม่ปันผลออกมาจะเป็นหุ้นเด้งได้เร็วกว่า
o พวกหุ้นร้อยเด้งที่ขึ้นมาเร็วๆ ที่รู้จัก เช่น Time warner บางทีมี M&A อุตสาหกรรมโตมหาศาลด้วย หรืออย่างเดลล์ ก็จะจากขนาดเล็ก และกิน market share ตลาด PC มาก
o หุ้นพวกนี้ส่วนมากจะมียุคทอง ที่มันจะขึ้นได้เร็ว หลายๆตัวถ้าพ้นยุคทองไว้ก็อาจจะลงกลับไปอีก ความยากมันคือไม่รู้จะจบที่ไหน
o ตัวอย่าง หุ้น Gillette ใช้เวลา 32 ปี เป็นหุ้น 100 เด้ง มี market share 70% ปัญหาคือไม่มี twin engines effect PE 20 เท่า ถือไปเหลือ PE 10 เท่า
เพราะว่า ROA,ROIC ลดลง เพราะการแข่งขัน สมัยก่อนเป็นผู้นำใบมีดโกน ต่อมาก็มีคู่แข่งเยอะ และถูกกว่า จึงต้องใส่เงิน R&D เพิ่ม
จากปี 1962 มาก็ไม่ค่อยไปไหน จนถึงจุดหนึ่งถ้าเราเข้าซื้อไว้ จนปัจจุบันก็จะขึ้นมาเป็นหุ้น 10 เด้งได้ ขึ้นมาเป็น PE 28 เท่า
o ตัวอย่าง Pepsi ใช้เวลา 18 ปี เป็นหุ้น 100 เด้ง ปี 1962-1980 เป็นช่วงตลาดปกติ strategy ง่าย โตดีในอเมริกา
ก็หาตลาดต่างประเทศก็น่าจะชอบเหมือนกัน ยอดขายจาก 192 เป็น 64,000 ล้านเหรียญ (ไม่รวม YUM) จุดเด่นเขามี GPM สูงตลาด (57%) ตอนนี้ก็เป็นหุ้นมากกว่า พันเด้งไปแล้ว
o การจะรักษา GPM ให้สูงได้ ต้องมี Economic Moats (avoiding mean reversion)
Strong brand that is value to customers – แบรนด์ต้องมีคุณค่า ยอมจ่ายแพงขึ้น
High switching cost
Favorable network effect
Cheaper/faster/bigger/easier
การที่บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันจะทำให้รู้สึกว่ามีคุณภาพสูง ควรจะแพง ไม่ว่าจะเป็นสินค้า หรือหุ้น
o Potential entrants
ความดึงดูดของอุตสาหรรม
กำแพงเข้า / ออก
o Bargaining power – แข่งขันเยอะ, ไม่มีความต่าง, ต้นทุนการเปลี่ยน, การขยาย backward/forward
o Barriers to Exit - Investment in specialist equipment, Specialized skilled, high fix cost, contract/Penalty
o Barrier to Exit น่าสนใจ ถ้าเข้าง่ายๆ ออกยากๆ จะเกิดการแข่งขันสูง เช่น สายการบิน พวก ROIC ต่ำๆ สายการบินพอเข้ามา
ออกไม่ได้ มีเครื่องบินแล้ว ในทางกลับกัน เข้ายากๆ ออกง่ายๆ ดี เช่น โรงพยาบาล ไม่ค่อยเจ้าเพิ่ม แต่ขายทิ้งออกง่าย แต่โรงแรม ออกยาก เพราะไม่มีคนอยากซื้อ
o อีกตัวอย่าง Barrier to Exit ที่ใกล้ตัวคือ เป็นพนักงานบริษัท อยู่นานๆแล้วจะออกยาก เพราะชำนาญตรงนั้น และจะทำอย่างอื่นยาก
• EA(Electronics Art ไม่ใช่หุ้น EA ในไทยนะ) เป็นหุ้น 100 เด้งใน 14 ปี อุตสาหกรรมเกม เจ้าของออมาจาก apple ผลตอบแทนแต่ละปี
มี Profit margin ผันผวน เพราะอุตสาหกรรม มันเป็นอย่างนั้น
EA เขาพยายามทำ Differentiation ซื้อ license ให้ตัวนักกีฬาเหมือนจริง และพยยามหาเกมที่เขาเป็น Winner game ไม่ใช่มาแล้วไป
ทุกวันนี้อุตสาหกรรมเกม ก็ยังไม่นิ่ง มีในมือถือบ้างอะไรบ้าง
• Industry stability เป็น matrix ของ core asset และ core activities อย่างกลุ่มที่ activity เปลี่ยน แต่ asset ไม่เปลี่ยน เป็น Creative change เช่น ทำหนัง
ก็ต้องทำใหม่มาขายตลอดเวลา ต้องคิดใหม่มาตลอด
• ตลาด Semiconductor – มีหุ้นร้อยเด้งหลายตัว ความยากคือ บริษัทที่เป็น Top ten ในแต่ละยุคตั้งแต่ 1955 – 2007
มีการเปลี่ยนไปเรื่อย แทบไม่มีใครอยู่ยั่งยืนคงกระพัน เป็น Radical change แบบหนึ่ง
• ค้าปลีกไทย – ผู้เล่นรายใหม่ไม่มี ผู้เล่นรายเก่าไม่ Exit เป็น Progressive change ค่อนข้างนิ่งแล้ว
ถ้าเทียบกับ อินโดนีเซีย Alframart มี Profit margin 1% , Lawson 2%, 7-11 ยังติดลบ เป็นภาพคนละแบบกันไทย ต้องดูให้รู้ว่า Industry นั้นอยู่ในช่วงไหน
• Sharing Economy – ในยุคแรกคือร้านเช่าหนัง ซึ่งโตจนอิ่มตัวไปแล้ว ตอนนี้กลายเป็น intermediate change ที่ความสัมพันธ์กับลูกค้าเปลี่ยนไปแล้ว
หันไปเช่า(ดู)ผ่าน netflix แทน หรือจะเป็นรถเช่า, ที่พัก หรือ crowdfunding ต่างๆ
• ผู้บริหาร – ระหว่างที่เป็น เจ้าของบริษัท กับ มือปืนรับจ้าง อะไรดีกว่ากัน? ถ้าความเก่งเท่ากัน เจ้าของบริษัท ซึ่งมีเงินตัวเองอยู่ด้วยจะดีกว่า
เพราะมือปืนรับจ้างจะมองว่า ผลดำเนินงานในไตรมาสที่ออกมาต้องดี ปีหน้าว่ากันทีหลัง หรือต้องหาสิ่งเสนอที่ดูตื่นเต้น (Flashy)
แต่จริงๆแล้วถ้าเราต้องการดีระยะยาวจะมองอีกแบบ หาโอกาสหา M&A ที่ดี , มองว่าเสี่ยงใน wealth ที่ตัวเองมีเงินร่วม , มุ่งการเติบโตระยะยาว
อย่างเช่น แจ๊ค เวลท์ เป็นผู้บริหารที่บริหารจาก GE 1 เหรียญ เป็น 48 เหรียญ ซึ่งถือเป็นตำนานที่ได้รับการยอมรับ มีการ focus
ในธุรกิจที่มี roic สูง จากเครื่องใช้ไฟฟ้า กลายเป็นเป็น finance อะไรต่างๆ
• CEO ที่เก่งที่สุด ? ที่จริงมีอีกหลายคนที่เก่งกว่านั้น Henry Singleton (Tetdyne) 180 เด้ง, Tom Murphy (Capital cities) 204เด้ง
ทำจากบริษัทเล็กๆจนไปซื้อบริษัทใหญ่กว่าได้, John Malone(TCI) 900 เด้ง ทำบรอดแบนด์และขยายไปธุรกิจต่างๆ , บัฟเฟตต์(BRK) xxx เด้ง
• CEO ที่ดี – การจัดสรรทุนเป็นสิ่งสำคัญ ต้องดูว่าสิ่งที่ทำให้ value หรือเปล่า
• Best capital allocators
o ลงทุนใน operation ปัจจุบันที่ทำอยู่
o ซื้อกิจการอื่น
o จ่ายปันผล
o จ่ายหนี้
o ซื้อหุ้นคืน
o นั่งทับเงินสด
• การทำเงินจากตลาดหุ้นให้ได้ - มองเห็นให้ไกล, กล้าซื้อ, อดทนถือ
• อดทนถือก็เป็นสิ่งที่ยาก เช่น อย่างหุ้น Monster Beverage ที่ผลตอบแทนมีขึ้นลงในแต่ละเดือนได้ถึง 50% ได้
เราจะสามารถถือมันจนขึ้นไปเป็น 100 เด้งได้ไหม? (ไม่รู้จะมีคนทนถือได้ถึง 100 เด้งไหม)
• บางทีหุ้นร้อยเด้งก็ไม่ต้องอยู่ในตลาดหุ้น อาจเป็นคู่ชีวิต เป็นครอบครัว ที่เราจะถือยาวและไม่ได้ปล่อยไปก่อน
• Q&A การขายหุ้นที่บอกว่ามองว่าอยู่ที่เกมที่เราเล่น ถ้าเราไปล่าช้าง ก็ต้องมองหาช้าง ไม่ใช่มองอะไรเล็กๆน้อยๆ
มันต้องเป็น superstock ตอนที่ยังมี room โตต่อได้อีกมหาศาล
Investment analytic for VI คุณสมเกียรติ ไกรเกรียงศรี
• Analytics คือ การค้นพบและการแปล สื่อสารไป เป็น Pattern ข้อมูลที่มีความหมาย
• Visual analytics มีตัวอย่าง chart ต่างๆ ที่ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม
• ทำไมต้องเป็น Visual ? เพราะสมองมนุษย์มีข้อจำกัด
• Visual analytics สำหรับ การลงทุนหุ้น ส่วนใหญ่ใช้ใน technical analysis แต่ก็มีสำหรับ fundamental analysis เช่นกัน
• ชั้นตอนการเลือกลงทุนหุ้น : กำหนดเกณฑ์ลงทุน => เข้าหาข้อมูลและสารสนเทศ => วิเคราะห์รายละเอียดแต่ละบริษัท
=>ออกแบบ Portfolio => ลงมือหรือเปลี่ยนแปลง
• ปัญหาของการหาที่ละบริษัทคือยุ่งยากใช้เวลา เช่น ถ้าต้องการ หาบริษัท ROIC, GPM สูงที่สุด 3 บริษัท
• คำถามคือ ข้อมูลที่มีเพียงพอทำนายอนาคตไหม? เบนจามิน เกรแฮม บอกว่า แนวโน้มในอดีตเป็นข้อเท็จจริง แต่ แนวโน้มในอนาคตเป็นแค่สมมติฐาน
• แล้วทำไมต้องหาข้อมูลในอดีต? วอร์เรน บัฟเฟตต์ บอกว่า ในโลกธุรกิจ การมองกระจกหลัง ย่อมมองชัดเจนกว่ากระจกหน้าเสมอ
มีข้อสังเกตว่า อ.วอร์เรน จะต้องมีหลักฐานพิสูจน์พอสมควรถึงตัดสินใจ
• Case study Top down selection – เลือกอุตสาหกรรม => ดู Ratio ต่างๆและเปรียบเทียบ
o ตัวอย่าง เลือกกลุ่ม ธุรกิจ health care จะสามารถนำข้อมูลมาแสดงในมุมต่างๆให้เห็นได้ว่าตัวไหนมีจุดเด่นตรงไหน เช่น ROIC vs ROE
, Revenue growth vs Profit growth, Sales growth จะช่วยให้เรา screen สิ่งที่น่าสนใจและสามารถเข้าไปช่วยเจาะดูรายละเอียดได้ง่าย
• Case study Magic formula – Joel Greenblatt เอา Profitability, Earning yield, มาจัดลำดับ Rank highest earning เลือก 20-30 ตัว
แล้วซื้อถือไป 1 ปีแล้วขายซื้อใหม่ จะเห็น
o จะเห็นว่า visual analytics ช่วยให้ให้เราเห็นตัวเลข กราฟเส้น กราฟแท่ง เปรียบเทียบรายละเอียดจากข้อมูลทั้งรายหุ้นหรือตลาดได้สะดวก รวดเร็ว
ข้อมูลชุดนี้ของปี 2015 แสดงให้เห็นว่าสูตรนี้ชนะตลาดได้
• Case Net-Net stock – เอาหุ้นที่ถูกกว่า 2/3 ของ Market cap เทียบกับ Current asset – Total liabilities)
o ช่วยแสดงให้ว่าไม่มี ถ้าลดเหลือ 80% ของสูตรนี้มี 1 ตัว
• Case study turn around – จุดสำคัญคือดูหนี้ โปรแกรมจะช่วยวิเคราะห์แนวโน้มให้เห็นเทียบกับสินทรัพย์ ส่วนทุน ในปีที่ผ่านๆมาได้
รวมถึง แนวโน้ม GPM NPM ที่จะช่วยให้เห็นจุด turn around
• สามารถใช้ analytics ช่วยวิเคราะห์และเปรียบเทียบ model ในการลงทุนให้เราได้
• สรุปสุดท้ายก็ยังต้องใช้ทั้ง Quantitative และ Qualitative ด้วย สำคัญทั้งคู่
• Q&A ข้อมูลขายบุคคลธรรมดา 8 พันบาทต่อปี ถ้ามีบัตรนักศึกษาเหลือปีละ 4 พันบาทต่อปี
ส่วนตัวมองว่าข้อมูลย้อนไกลเกินไปไม่มีประโยชน์4-5 ปีก็พอ ยกเว้นมาทำ research
• โปรแกรมใช้ทำ analytics มีหลากหลาย และมีฟรี ด้วย อย่างที่ใช้งานเสียเงินแพงก็มีเป็นหลายหมื่นก็มี ที่ใช้อยู่คือ Tableau
• ถ้าสนใจใช้งาน 1. ซื้อข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ 2.หา Tool มาใช้งาน
Day1 มี 3 หัวข้อ ได้แก่
1) Creative marketing คุณรวิศ หาญอุตสาหะ เป็นเรื่องราวความเป็นมาของบริษัทศรีจันทร์ และการพลิกฟื้นธุรกิจ ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดที่น่าสนใจ
2) หุ้นร้อยเด้ง คุณวีระพงษ์ ธัม เป็นการนำหนังสือต่างประเทศเรื่อง 100 Baggers มาเล่าให้ฟังถึงการหาหุ้น 100 เด้ง, Case study บวกกับเสริมประสบการณ์ให้เราฟังกันด้วย
3) Investment analytics for VI คุณสมเกียรติ ไกรเกรียงศรี เป็นการนำเทคโนโลยีในยุค Big data มาช่วยในการวิเคราะห์หุ้น ซึ่งทำให้เห็นว่ามันช่วยให้ชีวิตเราสะดวก ง่าย ขึ้นจริงๆ
ขอขอบคุณ พี่หมอนุ่น ที่ตั้งใจจัดสัมมนาความรู้ในเชิงวิชาการ และให้เราได้ร่วมบริจาคเงินเพื่อการกุศลให้โรงพยาบาล ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ
และขอบคุณวิทยากร, ทีม staff ช่วยงานทุกท่าน รวมถึงทีมงานพี่เวบด้วยครับ
ผมนั่งจดๆแว่บๆไปข้างนอกบ้าง ไม่เป๊ะนะครับ เผื่อถ้าฟังอะไรเข้าใจผิดพลาด จดขาดไปอย่างไรขออภัยไว้ด้วยนะครับ
Creative marketing คุณรวิศ หาญอุตสาหะ
• ประวัติเรียนจบปริญญาตรีวิศวะจากจุฬาฯ แล้วย้ายสายไปการเงิน ทำงานที่สุดท้าย Citibank เป็น trader ด้าน derivatives เป็นงานที่ชอบ
• จุดเปลี่ยนคือพ่อให้ไปหาคุณปู่ที่บริษัทศรีจันทร์ ซึ่งยังเป็นบริษัทที่เก่าแก่และขนาดเล็ก มีคนราว 30 คน พบว่าถ้าไม่ทำอะไร บริษัทคงปิด
จึงอยากไปช่วยพัฒนาและลาออกกลับไปทำที่ศรีจันทร์ ตอนปี 2008
• ตอนนั้นผลิตภัณฑ์มีตัวเดียวคือ ผงหอมศรีจันทร์ ซึ่ง Package ดูโบราณ ใน 2-3 ปีแรกเปลี่ยน Packaging มา 12 ครั้ง แต่ไม่ทำให้ลูกค้าซื้อสินค้ามากขึ้น
และต่อมาก็พยายาม ออกสินค้าตัวใหม่ ผงหอมศรีจันทร์ ทานาคา ที่ใช้เทคโนโลยีผลิตอย่างดี พบว่า ลูกค้านึกว่าตำหลังโรงงาน
• สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ ถ้าปรับปรุงแล้วลูกค้าไม่รับรู้ ไม่พึงพอใจ ก็สูญเสียเปล่า อย่าทำเลย
• บทเรียนอีกอย่าง ช่วงที่วางขายหลายที่ อยากทำโฆษณา เคเบิ้ลทีวี อยากประหยัดเงินและคิดว่าเราทำได้จึงเป็นผู้กำกับเอง ผลออกมายี่ปั๊วซาปั๊วโทรมาด่า
ว่าดูไม่รู้เรื่อง ภายใน 3 วันต้องถอดโฆษณาออก ก็ต้องไปจ้างเอเจนซี่ทำเหมือนเดิม
• Learning คือ 1. คุณไม่ได้เก่งทุกเรื่อง 2. ทุกอาชีพมีเหตุผล มีความสามารถบางอย่าง
• สิ่งที่พบคือ การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยไม่ Work ต้องเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ด้วยความที่อ่านหนังสือเยอะ ก็มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ
Leading change (Professor Kotter) พูดถึงว่า มนุษย์ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ถ้าจะให้อยู่คงทนต้องมี Framework ซึ่งมี 8 Step ซึ่งได้นำมาประยุกต์ใช้
ยกตัวอย่าง เช่น
• Step 1 ต้องสร้างความรู้สึกเร่งด่วน พอมี “ความเร่งด่วน” ก็ต้องช่วยกันหาทางออก ซึ่งศรีจันทร์อยู่ในสถานการณ์ที่ทุกคนตระหนักอยู่แล้ว
o มีตัวอย่าง สินค้ายี่ห้อ ROM ของประเทศโรมาเนียเป็น ช็อคโกแลตแท่งยี่ห้อเก่าแก่ Package ลายธงชาติ ปัญหาคือวัยรุ่นไม่ชอบสินค้าที่ผลิตในประเทศตัวเอง
ทางแก้คือทำ Packaging ลายธงชาติอเมริกาแทน
• Step 2 Create the guiding coalition : ต้องแชร์ วัตถุประสงค์ไปให้ถึงคนล่างสุด จากประสบการณ์เป็นสิ่งที่บริษัทฝรั่งทำได้ดี
บริษัทไทยพวกผู้บริหารก็ทำกันไป ลูกน้องก็ไม่ได้รับรู้อะไร จึงพยายามเอาแนวของฝรั่งมาใช้ คือ one on one meeting เป็นเทคนิคที่ Share Objective องค์กรได้สำเร็จ
เพราะเราไม่มีเวลาพูดกับทุกคนได้ แต่เราสามารถพูดกับคนที่ต้องมารายงานเราโดยตรงได้ (เต็มที่ก็ไม่ควรเกิน 7 คน) ซึ่งจะคุยกันเขาทุกสัปดาห์
และถ่ายทอดความคิดของเราให้กับเขา ขณะเดียวกันก็มีคนที่เราคุยด้วยโดยตรงก็จะมีลูกน้องที่ต้องไปคุยต่อแบบ one on one เหมือนกัน
o “ต้องเชื่อใจทีมงาน “ สิ่งที่ไม่ชอบอย่างหนึ่งเกี่ยวกับนายในการทำงาน คือชอบล้วงลูก ปัญหาคือ ทีมงานจะไม่กล้าตัดสินใจอะไรเลย
o Put the right man to the right job
• Step 3 Develop our change vision – A vision inspires people to take action
• วิสัยทัศน์ไม่ใช่สิ่งที่แปะข้างฝา มันสำคัญเพราะสร้างแรงบันดาลใจให้คน คนเราไม่ใช่แค่ทำงานเพื่อหาเงิน ยกตัวอย่าง ชื่อเต็มของบริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ
เมื่อก่อนรับสมัครงานใน Job DB ไม่มีใครสมัครเข้ามาเลย หลังจากที่ทำ Page เขียนหนังสือ มีน้องๆที่เก่งที่จบจากมหาวิทยาลัยต่างประเทศ “ความฝันของที่นี่
ตรงกับความฝันของเขา เขามาทำงานแล้วสนุก เติมเต็มกับสิ่งที่เขาเป็น”
• วิสัยทัศน์ ศรีจันทร์ คือ ทำแบรนด์ไทยให้คนไทยภูมิใจ
• ตัวอย่าง ในยุคหนึ่งบริษัทที่มีวิสัยทัศน์แข็งแรงที่สุดแห่งหนึ่งคือ Apple สมัย สตีฟ จ๊อบ
• วิธีง่ายๆ ที่จะบอกว่าวิสัยทัศน์บริษัทแข็งแรงไหม ให้ลองนึกว่าถ้าไม่มีบริษัทนี้อยู่ จะมีคนคิดถึงบริษัทนี้ไหม? เช่นถ้า บริษัท Google หายไป จะเกิดอะไรขึ้น?
• Step 4 Communicate vision to Buy-in – ผู้นำ ต้องเป็นคนขาย ทำอย่างที่พูดให้ได้
• ปัญหาศรีจันทร์
o 1) แบรนด์ไม่ชัดเจน 2) สินค้า สารพัดวิธีใช้ => ลูกค้างง => ไม่อยากใช้
o Bias ต้องระวังของที่เราทำเอง จะดูดีสำหรับเราเสมอ ต้องเชคกับลูกค้าเสมอ
o พอมีปัญหาที่ว่าก็ไม่รู้จะ สื่อสารลูกค้าอย่างไร
• ทางออก คือความชัดเจน => สิ่งที่ต้องมีคือ “Brand’s single mind” มี research เวลาที่ออกจากบ้านจะมี Brand กว่า 1000 อย่าง
ซึ่งมีแค่ 20 แบรนด์ที่เราจะพิจารณาว่าจะซื้อไหม ซึ่งจะมีมี “Brand’s single mind” เสมอ เราจึงต้องเปลี่ยนวิธีเล่าแบรนด์ใหม่ เปรียบเทียบเหมือนศณีจันทร์
เป็นกระต๊อบชานเมือง จะเปลี่ยนมาเป็น คอนโดแถวชิดลมได้อย่างไร
• ถ้าไม่ได้อัจฉริยะแบบ สตีฟ จ๊อบ ต้องไปหาลูกค้า ใช้เวลาทำ Market research อยู่ 8 เดือน
• Market research ผู้บริหารต้องลงตลาดเอง ไม่ใช่แค่อ่านกระดาษ คนเรามักไม่ตอบตรงกับสิ่งที่ตัวเองทำ เป็นลักษณะปกติของมนุษย์
สิ่งที่เราไปหาคือ mindset, behavior, พูดถึงเกี่ยวกับแบรนด์
• ตัวอย่าง Dove ทำ Global research ถามว่าคนเราสวยไหม? มีคนตอบว่าสวยแค่ 4% ยิ่งในไทยมีแค่ 1% ถ้าทุกคนรู้สึกว่าตัวเองสวย เครื่องสำอางค์จะขายไม่ได้
• สิ่งที่น่าสนใจทำไม ความมั่นใจผู้หญิงไทยจึงต่ำ ? 1) ทีมงานไปคุยกับจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ได้เหตุผลที่น่าสนใจว่า “พ่อแม่กลัวลูกสาวโตขึ้นจะRadเลยไม่ชม”
แต่ถ้าพ่อแม่ตะวันตกเขาสอนว่าเราต้องภูมิใจในสรีระตัวเอง 2) คนไทยมี “Stereo type(ภาพเหมารวม)” ของความสวย = ผอม และขาว
แต่ถ้าถามคนต่างประเทศคำตอบจะหลากหลายมาก
• มี Campaign marketing => Real beauty ที่ ประสบความสำเร็จทั่วโลก มาแป้กที่ไทย เราไม่ต้องการ เราต้องการ ผอมๆ ขาวๆ
• ทุกธุรกิจต้องมี “วิจัยพฤติกรรม” เสมอ เป็นการทำให้สถานที่จริง ไม่ใช่ถาม เช่น ให้ลบหน้า แต่งหน้าให้ดูเลย
ต้องเอามาคิดในการออกสินค้าให้ตอบโจทย์ อย่างการออกแบบขนาดสินค้าให้เหมาะกับการใช้
• “พฤติกรรมตัวลูกค้า” – ยุคนี้ต้องพูดถึงผลกระทบ Social Media การถ่ายรูปสมัยนี้การถ่ายรูปเกิดขึ้นได้เสมอและลง Social Media ได้อย่างรวดเร็ว
ประเด็นคือ รูปที่ Post ลง Social media คือรูปที่เจ้าของโพสต์หน้าตาดี คนอื่นในรูปหน้าแย่ช่างมัน หรืออย่าง “วัฒนธรรมการอวด”
ยุคนี้เป็นยุคที่ตั๋ว Business class เต็มเร็วมากกว่า Economy มีความเชื่อว่าเพราะคนอยากโพสต์รูปว่านั่ง business class
หรืออย่างร้านอาหารที่หากทำให้คนถ่ายภาพอาหารไปโพสต์ได้สวยก็จะช่วยทำให้ขายดี
• พฤติกรรมคนยุคนี้ชอบลองของใหม่ Brand royalty ต่ำลงกว่าคนยุคก่อน ทำให้คนที่ทำแบรนด์เดิมอยู่แล้วไม่สามารถหยุดได้ แบรนด์ใหม่ก็มีโอกาสเกิดตลอด
และมีความใจร้อนอยากเห็นผลเร็ว เช่น ทาครีม 3 วันอยากให้หน้าขาวเลย ทำให้พวก ครีมซอมบี้ขาวคูณสิบ หรือยาลดความอ้วน ขายดีมาก ทั้งที่ใส่สารที่ผิดกฏหมาย
• Internet เป็นของที่ control ไม่ได้ แต่ influence ได้นิดหน่อย พบว่าทำของให้ดีที่สุดแล้วจุดประกายขึ้นมา ถ้าของดีจริงแล้วคนจะบอกต่อเอง
• คนทุกวันนี้ฉลาดขึ้น ความโปร่งใสสำคัญ คนเราพลาดนิดเดียว ถูกขุดถูกแฉยาว สิ่งที่ค้นพบเรื่อง Crisis management ถ้าเจอดราม่าออนไลน์
หากไม่เกี่ยวกับกฏหมายอาญา ให้ขอโทษไว้ก่อน ให้ขอโทษอย่างเป็นทางการ คนที่โวยวาย ออกอาการเยอะ ใช้กำลังจะแพ้เสมอ ไม่ว่าคุณจะถูกและผิด
เพราะโลกออนไลน์จากความหมั่นไส้ ความน่าสงสาร ไม่อ่านเนื้อหา ไม่ต้องคิดมากมันจะผ่านไปในเวลาไม่นาน สักพักก็มีเรื่องใหม่
ยกตัวอย่าง เคสกราบรถ น่าสนใจมาก ดูจริงๆแล้วเรื่องไม่มีอะไรเยอะ แต่ดันไปพูดประโยชน์ที่ “Hashtag” ได้ เป็นข้อต้องห้าม
• ร้านค้าดั้งเดิม vs ร้านค้าออนไลน์ – มีคนเชื่อว่าร้านค้าออนไลน์จะทำให้ร้านค้าดั้งเดิมเจ๊ง ซึ่งไม่จริง ถ้าหากปรับตัวได้ก็อยู่รอดได้
ตัวอย่างเช่น ร้านวอเตอร์ สโตน ในอังกฤษ ปรับตัวได้ และกลับมามีกำไรได้ , ร้านขายเครื่องสำอางค์ก็เช่นกัน ลูกค้าเข้าไปต้องการตื่นเต้น
รู้สึกสนุก อยากลอง ซึ่งทำในร้านค้าออนไลน์ไม่ได้ จึงเห็นว่าร้านค้าจะเป็น Experience store
• Strategic moves ของศรีจันทร์
o เราเปลี่ยน องค์กรจากเดิมไม่มีคอมพิวเตอร์ เริ่มเอาพวก inventory อะไรต่างๆเข้ามาใส่ในระบบด้วยตัวเอง ทำให้ได้รู้ทุกอย่าง
ซึ่งไม่เพียงพอจึง migrate มาใช้ SAP และเพิ่ง implement เสร็จ
o โลกยุคนี้เปลี่ยนไป การ Brief Media ต้องเปลี่ยนไปเป็นแบบ “Attitude”
o Brand idea – Ambition, Culture, Product truth, Insight
o เอาวิธีของ สตีฟ จ๊อบ มาใช้ ไปทำสินค้าให้บางที่สุด แล้วพวกพวก Engineer หาทางทำให้บางเอง จึงไปบอกให้ทีมงาน
ไปทำผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดมา เดี๋ยวทาง Marketing จะหาทางขายเอง
o “ผงหอม ศรีจันทร์ ทรานซลูเซนต์” –ตัวอย่างจุดเด่นการออกแบบสินค้าที่ประสบความสำเร็จของเรา
ผ้า –ใช้ผ้าจากญี่ปุ่นแบบ Bobby brown โจทย์คือเราไม่ได้ขายแพงเท่ากันจึงต้องหาวิธีลดต้นทุน ซึ่งเราลดได้ถึง 50%
ฝา – มีวิธีการผลิตที่เป็นสิทธิบัตรคนอื่นทำตามยาก
กล่อง – ใช้กระดาษจากฟินแลนด์แพงมาก เพราะคนไม่ได้ซื้อของด้วยเหตุผลอย่างเดียว สมมติเดินเข้า B2S เห็นปากกาน้ำเงินเยอะมาก
จะไม่รู้ว่าอยากได้ยี่ห้ออะไร ถ้าไม่ได้เลือกไว้แล้ว ซึ่งถ้าไปลองไปหยิบแล้วตัดสินใจซื้อ เราเชื่อว่าเรามีเหตุผล 100% แต่หนังสือการตลาดบอกว่า
มันมีเหตุผลแค่ 20% จิตใต้สำนึก 80% มาจากประสบการณ์สั่งสม เช่น ชอบญี่ปุ่น , มีสิ่งที่เราชอบ
o AIDMA – Attention, Interest, Demand, Motive, Action คือ Journey ของลูกค้าผ่านสื่อ
ในอดีตเราใช้โฆษณาทีวีเกิดกระบวนการ AIDMA จนลูกค้าซื้อ ปัจจุบันใช้แบบนี้ไม่ได้ ลูกค้าไม่เกิด Motive => มันเกิดบน ออนไลน์ ไปดูรีวิว และไปตัดสินใจซื้อบน ออนไลน์
o ธุรกิจอะไรก็ตามมีรีวิวทุกอย่าง เช่น รีวิวถ่ายไฟฉาย บนพันทิพย์ ทำละเอียดมาก ใช้อุปกรณ์เหมือนตอนทำ Lab ไฟฟ้า เขียนละเอียดมาก
o โจทย์ทำให้ศรีจันทร์เป็น Thai modern brand ณ ปลายปี 2014 ก็รีบมากไปจึงทำสิ่งผิดพลาดขึ้น
o สิ่งสำคัญที่จะสำเร็จมี 2 อย่าง Strategy กับ execution
ถ้า Strategy ดี แต่ Execution แย่ = เพ้อเจ้อ
Execution ดี แต่ Strategy ไม่ได้เรื่อง = ขยันผิดที่ สิบปีก็ไม่ไปไหน
o เรา Execution ดี แต่ strategy ยังไม่ดี ตัวอย่าง โฆษณาศรีจันทร์ หญิงไทยสวย หน้าไม่มัน
ปัญหาคือ โฆษณาออกมาดีมาก แต่ลูกค้าไม่ซื้อ เพราะ strategy มันผิด มองไม่ขาด เราค้นพบว่า strategy ที่ดีมักจะ simple
o วิเคราะห์ปัญหา การเล่าเรื่องของเรา ศรีจันทร์ => ขายแป้ง => oil control พบว่าพอพูดศรีจันทร์แล้วคนไม่อยากฟัง
เราจึงเปลี่ยนเป็น ขายแป้ง => oil control+คุณสมบัติ+เปิดใจ => ศรีจันทร์ และมีการเอาไปคุยกับช่องทางจัดจำหน่ายต่างๆ
ตั้งแต่ 7-11 ไปถึง Lotus 99% modern trade จึงทำให้เรามั่นใจในการออกโฆษณาถัดไป
o โจทย์ถัดมา เราต้องการหาคนเล่าเรื่องที่เก่งที่สุด คือ พี่ต่อ ธนนชัย ที่เป็นผู้กำกับเบอร์ 1 ของโลก
ปัญหาคือ ไม่รู้จัก บริษัทเล็ก และต้องการรีบด้วย สิ่งที่ทำคือต้องใช้ความกล้าก็เข้าไปคุยจนพี่ต่อยอมทำด้วย และยังช่วยทำให้จนทุกวันนี้
o ไอเดียโฆษณาที่ทำกับพี่ต่อ คือให้ฝรั่งเป็นเล่าเรื่อง ซึ่งคิดว่าคนดูครึ่งหนึ่งจะฟังไม่รู้เรื่อง แต่ เขาจะจำได้ว่าเป็น แป้ง ยี่ห้อ ศรีจันทร์
และจะสงสัยมากว่ามันเป็นอย่างไร แล้วออกไปซื้อ ซึ่งทำให้ต้องคิดหนักมากว่าจะทำแบบนั้นดีไหม ซึ่งสุดท้ายก็ตัดสินใจเชื่อพี่ต่อ
และเกิดสิ่งที่พูดไว้จริงๆ และคนพูดถึงโฆษณานี้เยอะมาก โดยสิบวันแรกขายถล่มทลายหมด 2 แสนชิ้น นักข่าวโทรหาทุกชั่วโมง
และหลังจากนั้นก็ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 20 เท่า รวมทั้งต่อมาที่ทำศรีจันทร์ฟอร์เมน ก็ขายดีมาก
o Marketing ที่ดีควรเริ่มจาก Product development ว่าเราทำเพราะอะไร ธุรกิจเครื่องสำอางค์ผู้เล่นหลายใหญ่นำตลาด
เขามีงบประมาณ ทรัพยากรมหาศาล ใช้ตำราเล่มเดียวกันเราสู้ไม่ได้
o สิ่งสำคัญคือต้องใช้ตำรารบคนละเล่ม เคยเดินเข้าวัตสัน เจอเครื่องสำอางค์ที่ใช้หน้ากล่องแบรนด์ Paris, New York, Milan
แต่สินค้าพวกนี้ ผลิตที่ China เป็นสิ่งที่แบรนด์ใหญ่ทำแบบนี้คือลดต้นทุน งั้นเราคิดใหม่ถ้าเพิ่มต้นทุน โดยให้มีคุณค่ากับลูกค้ามากขึ้น
ถ้าเราทำกลับกัน ใส่ชื่อ Bangkok หน้ากล่อง แต่ไปทำสินค้าที่ เมืองที่ทำสินค้าดี่ที่สุดในฝั่งตะวันออก คือ Japan ใช้เวลาวิจัยทำสอบอยู่เป็นปี
จนได้ Serie ใหม่ของศรีจันทร์, เปลี่ยนโลโก้ และออก Luminescence serie เป็นสินค้าที่ R&D และผลิตที่ญี่ปุ่นทั้งหมด แต่เหมาะกับคนไทยที่สุด
ซึ่งเชื่อว่าจะได้ผลเหมือนโฆษณาชุดก่อนที่ประสบความสำเร็จ
o ทุกวันนี้เราไปได้ไกลมากกว่าอดีตเยอะ มีความสุขกับสิ่งที่ได้ทำ และสร้างความภาคภูมิใจกับแบรนด์นี้
o ใช้เงินน้อยๆ ทำ campaign ให้สำเร็จ ให้สนุกได้ไหม? ตอบ ได้ สำคัญที่โจทย์ อย่างหนังสือ “อย่าปล่อยให้ใครฆ่า วาฬของคุณ
” Target group คือ startup เจ้าของกิจการ คนทำงานอยากเปลี่ยนงาน มีเรื่องที่ได้เคยไปนั่งคุยกับน้อง startup แล้วเหลือบไปเห็นคนกวาดถนน
จึงถามชวนคิดว่า คนกวาดถนนมีความฝันหรือเปล่า? จึงมีทำคลิปให้คนเหล่านี้มารีวิวหนังสือ เป็นตัวอย่างที่ใช้เงินไม่เยอะ และมีความลึกซึ้งไปอีกขั้น
o Q&A
มีขายที่ตลาดต่างประเทศ 6 ประเทศ ยากกว่าที่คิด อาจะเพราะตำแหน่งทางการตลาดเราอาจจะไม่ได้เหมาะกับเขา
หนังสือแนะนำ The mckinsey edge, The future,…
ความภูมิใจในแบรนด์ไทยจะดูได้จาก ข้อมูลออนไลน์ได้,เสียงจากลูกค้า ภาพความภาคภูมิใจที่ว่า
ยกตัวอย่างเหมือนกระเป๋า Boyy แบรนด์ไทยที่ลูกค้าระดับบนนิยมถือเปรียบกับ Hermes ได้
ลูกค้าปัจจุบันเป็นคนเมืองมีไลฟ์สไตล์ royalty ไม่สูง ภาพในอนาคตเป็นแบรนด์เครื่องสำอางค์ขึ้นห้างที่จะมีอะไรออกมา surprise ลูกค้าอยู่ตลอด
คิดว่าเรายังไม่ได้ประสบความสำเร็จมาก สำคัญคือเราทำผิดมาเยอะ และเรียนรู้จากความผิดพลาดตลอดเวลา เป็นบันไดที่ทำให้เราก้าวต่อไป
ถ้าเราอยากได้อะไรจากการทำผิด มากกว่าการเสียใจ เราต้องยอมรับความผิดนั้น ถ้าเราผลักให้คนอื่น โทษเศรษฐกิจ โทษลูกน้อง โทษคนอื่น เราจะไม่เรียนรู้จากมัน
เมื่อเราทำผิดบ่อยๆ และเรียนรู้จากมันเราจะเริ่มทำถูก และเมื่อเราทำถูกสิ่งที่ได้กลับมาจะมากกว่าสิ่งที่เราทำผิดเป็นหลายสิบเท่าตัว นึกถึงคำว่า สิ่งใดเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดีเสมอ
มีเคสแป้ง อังกฤษ ตรางู เคยเปลี่ยนจากกระป๋องสังกะสี เป็นพลาสติก เกือบเจ๊ง ต้องเปลี่ยนกลับมาเป็นแบบเดิม เพราะคนรู้สึกว่ากระป๋องสังกะสีมันเย็นกว่า
หรือ สบู่นกแก้ว เปลี่ยนแบรนด์เป็น Parrot ก็เหมือนกัน เพราะลูกค้าเป็นคนต่างจังหวัดเยอะ
หุ้นร้อยเด้ง (100 Baggers) คุณวีระพงษ์ ธัม
• จากประสบการณ์หุ้นร้อยเด้งในตลาดไทยไม่ค่อยมี จะเห็นบ่อยก็สิบเด้ง แต่หุ้นร้อยเดี้ยงน่าจะมีเยอะกว่า
• ถ้าเราจะขึ้นภูเขาเอเวอร์เรสต์ไม่ใช่ขึ้นทีเดียว แต่ต้องใช้เวลา ฝึกร่างกาย ถ้าหุ้นนั้นผลตอบแทน 14% ใช้เวลา 35 ปี
ถ้าผลตอบแทนสูงกว่านั้นก็จะใช้เวลาลดลง หุ้นบางตัวร้อยเด้งที่อเมริกาใช้เวลาสิบปี
• Series of short-term decision is worsen than on long term decision – การทำแบบนั้นเราอาจจะทำได้ไม่นาน หรือมีความผิดพลาดตลอดทาง
• ประวัติศาสตร์หุ้นไทย สมัยปี 1995 จะเห็นว่าหุ้นขนาดใหญ่ หลายๆ sector ปัจจุบันในสมัยนั้น ขนาดแค่ราวพันล้านบาท
แต่ปัจจุบันขึ้นมาเป็นระดับหมื่น,แสนล้านบาทได้ (แม้จะมีการเพิ่มทุนบ้าง) รวมถึงจะเห็นว่าหลายๆกลุ่มเป็นธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมามาก เช่น กลุ่ม commerce
• มีเคสหุ้นอเมริกา คล้าย SCC ชื่อ เทเลดราย เป็นชื่อที่ Conglomerate ฮิต PE 50 เท่า ก็โตขึ้นมามาก
• กฏข้อการลงทุนข้อแรกที่ต้องมีคือ อย่าขายหุ้นเพราะมันขึ้นหรือลง ขายต่อเมื่อสิ่งที่คิดไว้ทีแรกผิด
• ตัวอย่างบัฟเฟตต์ที่ซื้อหุ้น Disney ปี 1966 ขาย 0.3 เหรียญ และขายออกไปสมัยปี 1967 ได้กำไร 50% จากการถือใน 1 ปี
ซึ่งทุกวันนี้ Disney ราคา 98 เหรียญ
• ความท้าทายทุกวันนี้การแข่งขันสูง Asset life สั้นลง อาจจะไม่สามารถซื้อแล้วถือตลอดได้ หรือบางทีอานจจะต้องมีวิกฤติเศรษฐกิจ
อย่าง Great depression Warner Bros. ราคาลงจาก 64.5 ปี 1929 เหลือ 0.5 ปี 1932 เป็นต้น
• เบน เกรแฮม ตอนอายุ 36 ปี ซึ่งเป็นเศรษฐีที่มีความั่นใจสูง ได้ใช้ leverage ปี 1930 ซื้อหุ้นตอนที่ตลาดลงมา 30-40%
คิดว่า market crash ผ่านไปแล้ว แต่ตอนนั้นยังไม่จบ และยังใช้เวลานานกว่าจะฟื้นตัว ปีนั้นเขาทำผมตอบแทน -50% เทียบกับ DJIA -29% แย่ที่สุด
น่าจะเป็นจุดกำเนิดของหนังสือ Security analysis และ The intelligence investor
• บัฟเฟตต์ ก็จะลงทุนในอเมริกา, อุตสาหกรรมที่ 5 forceแข็งแรง, การเงินแข็งแรง
• Do not fight against wisdom of crowd
• หุ้นร้อยเด้ง ต้องมี Twin engine EPS ต้องโต และ PE โต ซึ่ง PE จะโต eps ต้องโตดี และซื้อหุ้นที่ถูกลืมในตลาดก่อน perform
ราคาหุ้นสูง PE สูง ไม่ใช่เหตุผลขายหุ้น (แต่เป็นประโยคที่ทำได้ยาก บางทีหุ้นก็ลงกลับมาได้)
• ลักษณะหุ้นแบบนี้ คือ
o Micro cap ขนาดเล็กๆ น่าสนใจ เช่น SBUX 1971 เปิดร้านแห่งแรก ซีแอทเติล ทุกวนนี้ขยายจนมีขนาด 768 พันล้านเหรียญ
หรือ Apple ปี 1976จาก 10,000 USD ปัจจุบันขนาด 768 MB USD
o Martelli’s 10 Baggers ในหุ้น สองหมื่นกว่าตัว 18% เป็นหุ้นมากกว่าสิบเด้ง และใน 3,800 ตัวจะมี market cap น้อยกว่า 300 ล้านเหรียญ
มันไม่มีสูตรสำเร็จที่จะหาหุ้นสิบเด้งได้ในแต่ละช่วงเวลา เปลี่ยนตามยุคสมัย
o SQGLP = Small, Quality in business and management, Growth, Longevity of Q & G, Price แต่หลายๆครั้งแล้ว
แค่ management อย่างเดียวก็พอ พี่หลินให้ความเห็นเพิ่มว่า อุตสาหกรรมต้องเอื้อด้วย อย่างสมัยหุ้นทีวีเติบโตเมื่อก่อน ก็ขึ้นกันมากเป็นกลุ่ม
o Growth stock with Reasonable price - หุ้นถูกอย่างเดียวระยะสั้นอาจต่างไม่มาก แต่เมื่อผ่านไปหลายปี ผลตอบแทนจะมาจากกำไรที่โตของบริษัท
ยกเว้นถ้าจะซื้อหุ้นแบบถูกมาก ขึ้นมาขายแล้วก็เปลี่ยนไปเรื่อย
o Earning ไม่สำคัญเท่า Cash flow ดู Eps บอกอะไรน้อย เช่น มันไม่ได้บอก capex หุ้นหลายๆตัวที่ capex มากกว่า depreciation
ก็จะทำให้เงินสดออกไป (cash drain) , ไม่รวม working cap , การปันผลก็มีต้นทุน ถ้ากิจการไม่ปันผลออกมาจะเป็นหุ้นเด้งได้เร็วกว่า
o พวกหุ้นร้อยเด้งที่ขึ้นมาเร็วๆ ที่รู้จัก เช่น Time warner บางทีมี M&A อุตสาหกรรมโตมหาศาลด้วย หรืออย่างเดลล์ ก็จะจากขนาดเล็ก และกิน market share ตลาด PC มาก
o หุ้นพวกนี้ส่วนมากจะมียุคทอง ที่มันจะขึ้นได้เร็ว หลายๆตัวถ้าพ้นยุคทองไว้ก็อาจจะลงกลับไปอีก ความยากมันคือไม่รู้จะจบที่ไหน
o ตัวอย่าง หุ้น Gillette ใช้เวลา 32 ปี เป็นหุ้น 100 เด้ง มี market share 70% ปัญหาคือไม่มี twin engines effect PE 20 เท่า ถือไปเหลือ PE 10 เท่า
เพราะว่า ROA,ROIC ลดลง เพราะการแข่งขัน สมัยก่อนเป็นผู้นำใบมีดโกน ต่อมาก็มีคู่แข่งเยอะ และถูกกว่า จึงต้องใส่เงิน R&D เพิ่ม
จากปี 1962 มาก็ไม่ค่อยไปไหน จนถึงจุดหนึ่งถ้าเราเข้าซื้อไว้ จนปัจจุบันก็จะขึ้นมาเป็นหุ้น 10 เด้งได้ ขึ้นมาเป็น PE 28 เท่า
o ตัวอย่าง Pepsi ใช้เวลา 18 ปี เป็นหุ้น 100 เด้ง ปี 1962-1980 เป็นช่วงตลาดปกติ strategy ง่าย โตดีในอเมริกา
ก็หาตลาดต่างประเทศก็น่าจะชอบเหมือนกัน ยอดขายจาก 192 เป็น 64,000 ล้านเหรียญ (ไม่รวม YUM) จุดเด่นเขามี GPM สูงตลาด (57%) ตอนนี้ก็เป็นหุ้นมากกว่า พันเด้งไปแล้ว
o การจะรักษา GPM ให้สูงได้ ต้องมี Economic Moats (avoiding mean reversion)
Strong brand that is value to customers – แบรนด์ต้องมีคุณค่า ยอมจ่ายแพงขึ้น
High switching cost
Favorable network effect
Cheaper/faster/bigger/easier
การที่บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันจะทำให้รู้สึกว่ามีคุณภาพสูง ควรจะแพง ไม่ว่าจะเป็นสินค้า หรือหุ้น
o Potential entrants
ความดึงดูดของอุตสาหรรม
กำแพงเข้า / ออก
o Bargaining power – แข่งขันเยอะ, ไม่มีความต่าง, ต้นทุนการเปลี่ยน, การขยาย backward/forward
o Barriers to Exit - Investment in specialist equipment, Specialized skilled, high fix cost, contract/Penalty
o Barrier to Exit น่าสนใจ ถ้าเข้าง่ายๆ ออกยากๆ จะเกิดการแข่งขันสูง เช่น สายการบิน พวก ROIC ต่ำๆ สายการบินพอเข้ามา
ออกไม่ได้ มีเครื่องบินแล้ว ในทางกลับกัน เข้ายากๆ ออกง่ายๆ ดี เช่น โรงพยาบาล ไม่ค่อยเจ้าเพิ่ม แต่ขายทิ้งออกง่าย แต่โรงแรม ออกยาก เพราะไม่มีคนอยากซื้อ
o อีกตัวอย่าง Barrier to Exit ที่ใกล้ตัวคือ เป็นพนักงานบริษัท อยู่นานๆแล้วจะออกยาก เพราะชำนาญตรงนั้น และจะทำอย่างอื่นยาก
• EA(Electronics Art ไม่ใช่หุ้น EA ในไทยนะ) เป็นหุ้น 100 เด้งใน 14 ปี อุตสาหกรรมเกม เจ้าของออมาจาก apple ผลตอบแทนแต่ละปี
มี Profit margin ผันผวน เพราะอุตสาหกรรม มันเป็นอย่างนั้น
EA เขาพยายามทำ Differentiation ซื้อ license ให้ตัวนักกีฬาเหมือนจริง และพยยามหาเกมที่เขาเป็น Winner game ไม่ใช่มาแล้วไป
ทุกวันนี้อุตสาหกรรมเกม ก็ยังไม่นิ่ง มีในมือถือบ้างอะไรบ้าง
• Industry stability เป็น matrix ของ core asset และ core activities อย่างกลุ่มที่ activity เปลี่ยน แต่ asset ไม่เปลี่ยน เป็น Creative change เช่น ทำหนัง
ก็ต้องทำใหม่มาขายตลอดเวลา ต้องคิดใหม่มาตลอด
• ตลาด Semiconductor – มีหุ้นร้อยเด้งหลายตัว ความยากคือ บริษัทที่เป็น Top ten ในแต่ละยุคตั้งแต่ 1955 – 2007
มีการเปลี่ยนไปเรื่อย แทบไม่มีใครอยู่ยั่งยืนคงกระพัน เป็น Radical change แบบหนึ่ง
• ค้าปลีกไทย – ผู้เล่นรายใหม่ไม่มี ผู้เล่นรายเก่าไม่ Exit เป็น Progressive change ค่อนข้างนิ่งแล้ว
ถ้าเทียบกับ อินโดนีเซีย Alframart มี Profit margin 1% , Lawson 2%, 7-11 ยังติดลบ เป็นภาพคนละแบบกันไทย ต้องดูให้รู้ว่า Industry นั้นอยู่ในช่วงไหน
• Sharing Economy – ในยุคแรกคือร้านเช่าหนัง ซึ่งโตจนอิ่มตัวไปแล้ว ตอนนี้กลายเป็น intermediate change ที่ความสัมพันธ์กับลูกค้าเปลี่ยนไปแล้ว
หันไปเช่า(ดู)ผ่าน netflix แทน หรือจะเป็นรถเช่า, ที่พัก หรือ crowdfunding ต่างๆ
• ผู้บริหาร – ระหว่างที่เป็น เจ้าของบริษัท กับ มือปืนรับจ้าง อะไรดีกว่ากัน? ถ้าความเก่งเท่ากัน เจ้าของบริษัท ซึ่งมีเงินตัวเองอยู่ด้วยจะดีกว่า
เพราะมือปืนรับจ้างจะมองว่า ผลดำเนินงานในไตรมาสที่ออกมาต้องดี ปีหน้าว่ากันทีหลัง หรือต้องหาสิ่งเสนอที่ดูตื่นเต้น (Flashy)
แต่จริงๆแล้วถ้าเราต้องการดีระยะยาวจะมองอีกแบบ หาโอกาสหา M&A ที่ดี , มองว่าเสี่ยงใน wealth ที่ตัวเองมีเงินร่วม , มุ่งการเติบโตระยะยาว
อย่างเช่น แจ๊ค เวลท์ เป็นผู้บริหารที่บริหารจาก GE 1 เหรียญ เป็น 48 เหรียญ ซึ่งถือเป็นตำนานที่ได้รับการยอมรับ มีการ focus
ในธุรกิจที่มี roic สูง จากเครื่องใช้ไฟฟ้า กลายเป็นเป็น finance อะไรต่างๆ
• CEO ที่เก่งที่สุด ? ที่จริงมีอีกหลายคนที่เก่งกว่านั้น Henry Singleton (Tetdyne) 180 เด้ง, Tom Murphy (Capital cities) 204เด้ง
ทำจากบริษัทเล็กๆจนไปซื้อบริษัทใหญ่กว่าได้, John Malone(TCI) 900 เด้ง ทำบรอดแบนด์และขยายไปธุรกิจต่างๆ , บัฟเฟตต์(BRK) xxx เด้ง
• CEO ที่ดี – การจัดสรรทุนเป็นสิ่งสำคัญ ต้องดูว่าสิ่งที่ทำให้ value หรือเปล่า
• Best capital allocators
o ลงทุนใน operation ปัจจุบันที่ทำอยู่
o ซื้อกิจการอื่น
o จ่ายปันผล
o จ่ายหนี้
o ซื้อหุ้นคืน
o นั่งทับเงินสด
• การทำเงินจากตลาดหุ้นให้ได้ - มองเห็นให้ไกล, กล้าซื้อ, อดทนถือ
• อดทนถือก็เป็นสิ่งที่ยาก เช่น อย่างหุ้น Monster Beverage ที่ผลตอบแทนมีขึ้นลงในแต่ละเดือนได้ถึง 50% ได้
เราจะสามารถถือมันจนขึ้นไปเป็น 100 เด้งได้ไหม? (ไม่รู้จะมีคนทนถือได้ถึง 100 เด้งไหม)
• บางทีหุ้นร้อยเด้งก็ไม่ต้องอยู่ในตลาดหุ้น อาจเป็นคู่ชีวิต เป็นครอบครัว ที่เราจะถือยาวและไม่ได้ปล่อยไปก่อน
• Q&A การขายหุ้นที่บอกว่ามองว่าอยู่ที่เกมที่เราเล่น ถ้าเราไปล่าช้าง ก็ต้องมองหาช้าง ไม่ใช่มองอะไรเล็กๆน้อยๆ
มันต้องเป็น superstock ตอนที่ยังมี room โตต่อได้อีกมหาศาล
Investment analytic for VI คุณสมเกียรติ ไกรเกรียงศรี
• Analytics คือ การค้นพบและการแปล สื่อสารไป เป็น Pattern ข้อมูลที่มีความหมาย
• Visual analytics มีตัวอย่าง chart ต่างๆ ที่ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม
• ทำไมต้องเป็น Visual ? เพราะสมองมนุษย์มีข้อจำกัด
• Visual analytics สำหรับ การลงทุนหุ้น ส่วนใหญ่ใช้ใน technical analysis แต่ก็มีสำหรับ fundamental analysis เช่นกัน
• ชั้นตอนการเลือกลงทุนหุ้น : กำหนดเกณฑ์ลงทุน => เข้าหาข้อมูลและสารสนเทศ => วิเคราะห์รายละเอียดแต่ละบริษัท
=>ออกแบบ Portfolio => ลงมือหรือเปลี่ยนแปลง
• ปัญหาของการหาที่ละบริษัทคือยุ่งยากใช้เวลา เช่น ถ้าต้องการ หาบริษัท ROIC, GPM สูงที่สุด 3 บริษัท
• คำถามคือ ข้อมูลที่มีเพียงพอทำนายอนาคตไหม? เบนจามิน เกรแฮม บอกว่า แนวโน้มในอดีตเป็นข้อเท็จจริง แต่ แนวโน้มในอนาคตเป็นแค่สมมติฐาน
• แล้วทำไมต้องหาข้อมูลในอดีต? วอร์เรน บัฟเฟตต์ บอกว่า ในโลกธุรกิจ การมองกระจกหลัง ย่อมมองชัดเจนกว่ากระจกหน้าเสมอ
มีข้อสังเกตว่า อ.วอร์เรน จะต้องมีหลักฐานพิสูจน์พอสมควรถึงตัดสินใจ
• Case study Top down selection – เลือกอุตสาหกรรม => ดู Ratio ต่างๆและเปรียบเทียบ
o ตัวอย่าง เลือกกลุ่ม ธุรกิจ health care จะสามารถนำข้อมูลมาแสดงในมุมต่างๆให้เห็นได้ว่าตัวไหนมีจุดเด่นตรงไหน เช่น ROIC vs ROE
, Revenue growth vs Profit growth, Sales growth จะช่วยให้เรา screen สิ่งที่น่าสนใจและสามารถเข้าไปช่วยเจาะดูรายละเอียดได้ง่าย
• Case study Magic formula – Joel Greenblatt เอา Profitability, Earning yield, มาจัดลำดับ Rank highest earning เลือก 20-30 ตัว
แล้วซื้อถือไป 1 ปีแล้วขายซื้อใหม่ จะเห็น
o จะเห็นว่า visual analytics ช่วยให้ให้เราเห็นตัวเลข กราฟเส้น กราฟแท่ง เปรียบเทียบรายละเอียดจากข้อมูลทั้งรายหุ้นหรือตลาดได้สะดวก รวดเร็ว
ข้อมูลชุดนี้ของปี 2015 แสดงให้เห็นว่าสูตรนี้ชนะตลาดได้
• Case Net-Net stock – เอาหุ้นที่ถูกกว่า 2/3 ของ Market cap เทียบกับ Current asset – Total liabilities)
o ช่วยแสดงให้ว่าไม่มี ถ้าลดเหลือ 80% ของสูตรนี้มี 1 ตัว
• Case study turn around – จุดสำคัญคือดูหนี้ โปรแกรมจะช่วยวิเคราะห์แนวโน้มให้เห็นเทียบกับสินทรัพย์ ส่วนทุน ในปีที่ผ่านๆมาได้
รวมถึง แนวโน้ม GPM NPM ที่จะช่วยให้เห็นจุด turn around
• สามารถใช้ analytics ช่วยวิเคราะห์และเปรียบเทียบ model ในการลงทุนให้เราได้
• สรุปสุดท้ายก็ยังต้องใช้ทั้ง Quantitative และ Qualitative ด้วย สำคัญทั้งคู่
• Q&A ข้อมูลขายบุคคลธรรมดา 8 พันบาทต่อปี ถ้ามีบัตรนักศึกษาเหลือปีละ 4 พันบาทต่อปี
ส่วนตัวมองว่าข้อมูลย้อนไกลเกินไปไม่มีประโยชน์4-5 ปีก็พอ ยกเว้นมาทำ research
• โปรแกรมใช้ทำ analytics มีหลากหลาย และมีฟรี ด้วย อย่างที่ใช้งานเสียเงินแพงก็มีเป็นหลายหมื่นก็มี ที่ใช้อยู่คือ Tableau
• ถ้าสนใจใช้งาน 1. ซื้อข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ 2.หา Tool มาใช้งาน