คำว่า"อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน 0.25%" หมายความว่าอ
-
- ผู้ติดตาม: 0
คำว่า"อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน 0.25%" หมายความว่าอ
โพสต์ที่ 1
พอดีไปอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์ธุรกิจฉบับหนึ่งมาหน่ะครับ ไม่เข้าใจคำว่า อัตราดอกเบี้ย R/P มันคืออะไรเหรอครับ แล้วทำไมต้องกำหนด 14 วันด้วย และเห็นในข่าวเขาบอกว่า การที่แบงค์ชาติออกมาประกาศแบบนี้ ไม่จำเป็นว่าแบงค์อื่นทั่วไปจะต้องปรับเป็นอัตรานี้ตอนนี้เนี่ย เป็นเพราะอะไรครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 285
- ผู้ติดตาม: 0
คำว่า"อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน 0.25%" หมายความว่าอ
โพสต์ที่ 3
เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Key Policy Rate) ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการเงินจะส่งสัญญาณทางการเงินผ่านอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการรักษาเสถียรภาพด้านราคา และเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
-
- Verified User
- โพสต์: 285
- ผู้ติดตาม: 0
คำว่า"อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน 0.25%" หมายความว่าอ
โพสต์ที่ 4
ธนาคารแห่งประเทศไทย ดำเนินนโยบายการเงินแบบกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Targeting)
จึงได้กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน(R/P 14วัน) เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Key Policy Rate)
จึงได้กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน(R/P 14วัน) เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Key Policy Rate)
-
- Verified User
- โพสต์: 285
- ผู้ติดตาม: 0
คำว่า"อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน 0.25%" หมายความว่าอ
โพสต์ที่ 5
ทางการจะดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ และเนื่องจาก เสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนในระยะยาวจะขึ้นอยู่กับ เสถียรภาพของอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศ กล่าวคือ หากทางการประสบความสำเร็จในการจัดการให้อัตราเงินเฟ้อของไทยอยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงหรือต่ำกว่าประเทศคู่ค้าเล็กน้อย ก็จะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพไปด้วยในระยะยาว
- harry
- Verified User
- โพสต์: 4200
- ผู้ติดตาม: 0
คำว่า"อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน 0.25%" หมายความว่าอ
โพสต์ที่ 7
ดอกเบี้ย R/P นี้ เหมือนกับ fed fund rate ของเมกาป่าวครับ
ล่าสุดอ่านข่าวเจอว่าดอกเบี้ยเงินฝากจะขึ้นแล้ว เพราะสภาพคล่องลดน้อยลง แต่ก็จะต้องขึ้นดอกกู้ด้วยนะ ใครมีหนี้ ก็เตรียมตัวด้วยเน้อ
ล่าสุดอ่านข่าวเจอว่าดอกเบี้ยเงินฝากจะขึ้นแล้ว เพราะสภาพคล่องลดน้อยลง แต่ก็จะต้องขึ้นดอกกู้ด้วยนะ ใครมีหนี้ ก็เตรียมตัวด้วยเน้อ
Expecto Patronum!!!!!!
-
- Verified User
- โพสต์: 285
- ผู้ติดตาม: 0
คำว่า"อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน 0.25%" หมายความว่าอ
โพสต์ที่ 9
ทั้ง r/p14วัน กับ fed fund rate
เป็นเครื่องมือของธนาคารกลางเหมือนกัน
ในการกำหนดนโยบายทางการเงิน
แต่วัตถุประสงค์ต่างกัน
ของไทยเราเน้นเรื่องการควบคุมเงินเฟ้อ
แต่ ของอเมริกาจะเน้นการเจริญเติบโต
ทางเศรษฐกิจ และความเสี่ยงต่างๆในระยะยาว
เป็นเครื่องมือของธนาคารกลางเหมือนกัน
ในการกำหนดนโยบายทางการเงิน
แต่วัตถุประสงค์ต่างกัน
ของไทยเราเน้นเรื่องการควบคุมเงินเฟ้อ
แต่ ของอเมริกาจะเน้นการเจริญเติบโต
ทางเศรษฐกิจ และความเสี่ยงต่างๆในระยะยาว
-
- Verified User
- โพสต์: 61
- ผู้ติดตาม: 0
คำว่า"อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน 0.25%" หมายความว่าอ
โพสต์ที่ 12
อัตราดอกเบี้ยอีกที
คอลัมน์ คนเดินตรอก โดย วีรพงษ์ รามางกูร ประชาชาติธุรกิจ หน้า 2 วันที่ 09 สิงหาคม 2547 ปีที่ 28 ฉบับที่ 3608 (2808)
เมื่อฉบับที่แล้วได้เขียนเรื่องการส่งสัญญาณที่ผิดของการตัดสินใจไม่ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายหรืออัตราดอกเบี้ยของตลาดซื้อคืน 14 วันของธนาคารแห่งประเทศไทย หลังจากที่ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 1.00 เป็นร้อยละ 1.25 ต่อปีทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเรากับของอเมริกาเท่ากัน
หลังจากที่ได้ตีพิมพ์ไปแล้วก็มีเพื่อนฝูงโทรศัพท์มาซักถามอยากให้อธิบาย-ขยายความที่ได้เขียนไปแล้ว เลยต้องจับปากกาขึ้นมาเขียนขยายความอีกครั้งหนึ่ง
ดอกเบี้ยของตลาดซื้อคืนพันธบัตรที่พูดกันนี้ก็คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดจากการที่ธนาคารพาณิชย์ มากู้จากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยต้องทำตามกฎหมายคือ ต้องมีหลักประกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เมื่อมากู้เงินจากธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ต้องนำเอาพันธบัตรรัฐบาลมาวางเป็นประกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยเรียกตลาดนี้ว่าตลาดซื้อคืนหรือขายคืนพันธบัตร ทั้งที่ไม่ได้มีการซื้อขายพันธบัตรเลย
อัตราดอกเบี้ยของตลาดซื้อคืนพันธบัตรหรือตลาด RP หรือตลาด Repurchase ที่ว่านี้มีความสำคัญที่จะเป็นตัวนำของตลาดระยะสั้น หรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นระหว่างธนาคารที่เป็นเงินบาทเหมือนๆ กับ LIBOR หรืออัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารที่ลอนดอนหรือ SIBOR อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารที่สิงคโปร์ เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยของตลาดซื้อคืนนั้น กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย โดยปกติก็จะกำหนดให้สอดคล้องกับตลาด หรือถ้ากำหนดสูงเกินไปธนาคารพาณิย์ ก็จะนำเงินมาไถ่ถอนพันธบัตรกลับไป มากกว่าที่ธนาคารจะนำพันธบัตรมาวางเพื่อกู้เงินออกไป ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจะต้องจ่ายดอกเบี้ยออกไปมากกว่ารับเข้ามา มองดูก็อาจจะเห็นว่าขาดทุน ซึ่ง ธปท.มักจะคำนึงถึงเรื่องนี้เสมอ
ความจริงแล้ว ธปท.ไม่ควรคำนึงถึงกำไรขาดทุนมากนัก เพราะอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอันนี้ มีผลต่อการรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน และเสถียรภาพของระดับการเงินอย่างมาก
สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเล็ก ตลาดเงินบาทก็เล็กมากเมื่อเทียบกับตลาดเงินอื่นๆ เช่น เงินเยน เงินยูโร ไม่ต้องเทียบกับเงินดอลลาร์ ดังนั้นการปั่นตลาดเงินบาทเพื่อแสวงหากำไรจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจึงทำได้ง่าย และทำกำไรให้กับนักปั่นตลาดและนักเก็งกำไรได้เสมอถ้าไม่ป้องกันไว้บ้าง
ด้วยเหตุที่กล่าวข้างบน วิธีหนึ่งที่จะป้องกันไว้บ้างก็คือ สร้างต้นทุนให้กับผู้ที่นำเงินบาทออกมาขายเพื่อถือเงินดอลลาร์เพื่อเก็งกำไร ปกติการเก็งกำไร หรือการปั่นตลาดก็คือการซื้อขาย เงินดอลลาร์กับเงินบาทล่วงหน้าไว้บ้าง
ค่าธรรมเนียมหรือพรีเมี่ยมของการซื้อเงินดอลลาร์ล่วงหน้าจะเท่ากับส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยระยะสั้นของเงินบาทกับเงินดอลลาร์ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับดอลลาร์ขณะนี้อยู่ที่ 40 บาทต่อดอลลาร์ ถ้าส่วนต่างของดอกเบี้ยเงินบาทกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 0.25 เปอร์เซ็นต์ อัตราแลกเปลี่ยนในการซื้อขายล่วงหน้าก็จะเท่ากับบาทต่อดอลลาร์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ซึ่งเท่ากับส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยระยะสั้นของเงินตราทั้งสองสกุลคือ 2.50 สตางค์ ราคาซื้อล่วงหน้าก็จะเท่ากับ 40.025 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์ แต่ผู้ขายเงินดอลลาร์ล่วงหน้าก็จะได้ส่วนต่างนี้ไป
ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะ เมื่อธนาคารขายดอลลาร์ล่วงหน้า 3 เดือนไปแล้ว ก็ต้องเตรียมหาเงินดอลลาร์ไว้ส่งมอบ ต้นทุนของการเตรียมดอลลาร์ไว้ส่งมอบก็คือ ค่าเสียโอกาส ที่จะได้รับดอกเบี้ยจากเงินบาท คืออัตราดอกเบี้ยเงินบาท หักด้วยดอกเบี้ยเงินดอลลาร์ที่จะได้รับ
วิธีการจึงเหมือนกับธนาคารทำการแลกกันระหว่างทรัพย์สินของตนจากเงินบาทไปเป็นเงินดอลลาร์ในอนาคต ภาษาฝรั่งเขาจึงเรียกว่า "แลกกัน" หรือ "swap"
ถ้าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเงินบาทสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยดอลลาร์ คนที่ซื้อดอลลาร์ล่วงหน้าก็มีต้นทุนในการเตรียมดอลลาร์ไว้ส่งมอบ เพราะต้องสละดอกเบี้ยเงินบาทในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินดอลลาร์
เมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินบาทกับเงินดอลลาร์เท่ากัน คนซื้อดอลลาร์ล่วงหน้าก็ไม่มีต้นทุนก็จะเป็นแรงจูงใจให้ซื้อดอลลาร์ล่วงหน้ามากขึ้น ส่วนผู้ขายล่วงหน้าก็ไม่ได้ส่วนเพิ่มให้ก็เก็บดอลลาร์ไว้ไม่มาแลกเป็นเงินบาท ค่าเงินบาทก็จะอ่อนลง ถ้าทางการไม่พยุงไว้
เมื่อปัจจัยภายนอกเปลี่ยนแปลงไป เช่น ค่าเงินเยนหรือเงินยูโรอ่อนลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ นักเก็งกำไรก็จะเข้ามาโยกตลาดโดยมีความเสี่ยงน้อยลง เพราะไม่มีต้นทุน อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินดอลลาร์ก็จะขึ้นลง ผันผวนมากขึ้น ทำให้ต้องใช้ทุนสำรองมากขึ้นในการรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน ถ้าค่าเงินไม่นิ่ง มีความผันผวนมากขึ้นและบ่อยครั้งมากขึ้น ความแตกต่างระหว่างราคารับซื้อดอลลาร์ และราคาขายเงินดอลลาร์ของธนาคารพาณิชย์ในตลาดปัจจุบัน ก็จะห่างกันมากขึ้น ความแตกต่างระหว่างอัตราซื้อและอัตราขายของธนาคารพาณิชย์ก็คือสิ่งสะท้อนถึงความเสี่ยงในความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งผู้ส่งออกและผู้นำเข้าจะต้องเป็นผู้รับความเสี่ยงนั้น เพื่อให้คุ้มกับความเสี่ยงของธนาคารที่จะเก็บเงินดอลลาร์ไว้ซื้อขายระหว่างวัน
การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการซื้อคืนพันธบัตรก็ไม่ได้หมายความว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก จะต้องขึ้นตามไปด้วย เพราะสภาพคล่องในตลาดยังสูงอยู่ เห็นว่าสภาพคล่องในตลาดยังเหลืออยู่ตั้ง 6-7 แสนล้านบาท เป็นแค่เพียงสัญญาณว่าดอกเบี้ยจะไม่ลงไปกว่านี้แล้วมีแต่โอกาสจะขึ้น ที่กลัวว่าดอกเบี้ยในตลาดจะขึ้นจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัว หรือเป็นเครื่องมือในการป้องกันเงินเฟ้อก็จะยังไม่เกิดจนกว่าสภาพคล่องจะลดลง แต่ธนาคารพาณิชย์อาจจะได้ดอกเบี้ยมากขึ้น เมื่อนำเงินมาปล่อยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร กำไรของธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจะน้อยลง แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็มิได้ตั้งขึ้นมาเพื่อกำไรขาดทุนของตนเอง แต่เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน เพื่อให้ภาคธุรกิจเขาทำมาค้าขายได้ เศรษฐกิจจะได้ขยายตัว
ด้วยเหตุนี้เมื่อทางการประกาศไม่ขึ้นดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน ค่าเงินบาทจึงตกเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักทุกสกุล คือดอลลาร์สหรัฐ เงินยูโร และเงินเยน การซื้อเงินดอลลาร์ล่วงหน้าไม่มีพรีเมี่ยม บางขณะมีส่วนลดหรือมีรางวัลเสียด้วยซ้ำ การขายล่วงหน้ากลายเป็นมีส่วนลดแทนที่จะได้รางวัล คนจึงซื้อดอลลาร์ล่วงหน้ามากขึ้น และขายดอลลาร์ล่วงหน้าน้อยลง ค่าเงินบาทจึงค่อยๆ อ่อนลง แล้วก็มีข่าวเล็ดลอดออกมาว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาพยุงค่าเงินบาทผ่านทางสำนักข่าวต่างประเทศ
การไม่ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินดอลลาร์สหรัฐคราวนี้ นอกจากจะสร้างปัญหาในการรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทระยะสั้นดังที่อธิบายมาแล้ว ยังสร้างปัญหาเรื่องความไม่แน่นอนในตลาดเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งคือ
ถ้าธนาคารกลางสหรัฐขึ้นดอกเบี้ยไปอีกในอนาคต ทางการไทยจะทำอย่างไร จะคงไว้ตามเดิมคงจะยิ่งทำให้ปัญหามากขึ้นไปอีก ค่าเงินบาทก็จะถูกนักเก็งกำไรโยกได้ง่ายเข้า ถ้าขึ้นจะขึ้นเท่าไหร่ ถ้าขึ้นตามไป 0.25 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาเดิมก็จะยังคงอยู่ แต่ถ้าขึ้น 0.50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้มีความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินบาทกับเงินดอลลาร์ ตลาดทุนหรือตลาดตราสารหนี้ระยะยาว กับตลาดหุ้น ก็จะได้รับผลกระทบหนักกว่าควรจะเป็น เพราะปรับตัวไม่ทัน ถ้าสหรัฐขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง การตัดสินใจในเรื่องนโยบายการเงินก็จะยากขึ้นไปอีก โอกาสที่ทางการจะคงปัญหาไว้ตามเดิมคือขึ้นเพียง 0.25 คงจะมากกว่าการปรับเสียให้ถูกต้อง
ทั้งหมดที่ว่ามาจึงไม่เกี่ยวกับเรื่องอัตราเงินเฟ้อ ไม่เกี่ยวกับการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ หรือการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจในขณะนี้ เพราะยังมีสภาพคล่องในระบบอยู่มากมาย ระบบการเงินยังไม่ได้ออกจาก "กับดักสภาพคล่อง" เต็มที่
เหตุผลของการคงดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นเหตุผลที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ เพราะไม่ตรงประเด็นว่าไม่ขึ้นเพราะอะไร
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ในขณะที่สภาพคล่องในตลาดมีสูงอยู่อย่างนี้ จะยังไม่ทำให้อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดเปลี่ยนแปลง ดังนั้นต้นทุนของธุรกิจที่เกิดจากการขึ้นดอกเบี้ยยังไม่มี ธนาคารพาณิชย์เขาก็ออกมาให้สัญญาณกับผู้กำหนดนโยบายแล้วว่าจะไม่ขึ้นดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนจึงยังไม่เกี่ยวกับผู้กู้ผู้ฝากเงินในธนาคารโดยตรง แต่เกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์ และตลาดเงินตราต่างประเทศทั้งตลาดปัจจุบันและตลาดอนาคต (spot and future markets) มากกว่า เมื่อสภาพคล่องในตลาดลดลงจนเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งยังอีกนาน ซึ่งอาจจะเป็นปีก็ได้ถึงตอนนั้นจึงค่อยมาดูกัน
ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งจะเกิดขึ้นง่ายขึ้น เมื่อไม่มีทำนบกั้นคลื่นไว้บ้างนั้น เป็นต้นทุนของสังคมหรือภาคธุรกิจที่สูงกว่าการขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกำไรของธนาคารพาณิชย์
ที่ต้องเขียนดักคอธนาคารแห่งประเทศไทยไว้ก็เพราะกลัวว่าจะทำแบบเดิมเมื่อ 3-4 ปีก่อนที่ดึงดอกเบี้ยเงินบาทให้ต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินดอลลาร์ อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินดอลลาร์จึงขึ้นลงระหว่าง 45 บาท กับ 37 บาทต่อดอลลาร์ทุกปี บางปีปีละ 2 ครั้ง คนที่ถือดอลลาร์ไว้เล่นกับเงินบาทกำไรกันทุกปีไป ธนาคารแห่งประเทศไทยเคยทำมาแล้ว จนได้มีผู้ว่าการใหม่ จึงได้ปรับใหม่ให้ถูกต้อง แต่ขณะนี้กำลังจะกลับไปอย่างเก่าอีก
จะคอยดูว่าจะทำอย่างไรกันต่อไป
ประชาชาติธุรกิจ หน้า 2
คอลัมน์ คนเดินตรอก โดย วีรพงษ์ รามางกูร ประชาชาติธุรกิจ หน้า 2 วันที่ 09 สิงหาคม 2547 ปีที่ 28 ฉบับที่ 3608 (2808)
เมื่อฉบับที่แล้วได้เขียนเรื่องการส่งสัญญาณที่ผิดของการตัดสินใจไม่ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายหรืออัตราดอกเบี้ยของตลาดซื้อคืน 14 วันของธนาคารแห่งประเทศไทย หลังจากที่ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 1.00 เป็นร้อยละ 1.25 ต่อปีทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเรากับของอเมริกาเท่ากัน
หลังจากที่ได้ตีพิมพ์ไปแล้วก็มีเพื่อนฝูงโทรศัพท์มาซักถามอยากให้อธิบาย-ขยายความที่ได้เขียนไปแล้ว เลยต้องจับปากกาขึ้นมาเขียนขยายความอีกครั้งหนึ่ง
ดอกเบี้ยของตลาดซื้อคืนพันธบัตรที่พูดกันนี้ก็คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดจากการที่ธนาคารพาณิชย์ มากู้จากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยต้องทำตามกฎหมายคือ ต้องมีหลักประกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เมื่อมากู้เงินจากธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ต้องนำเอาพันธบัตรรัฐบาลมาวางเป็นประกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยเรียกตลาดนี้ว่าตลาดซื้อคืนหรือขายคืนพันธบัตร ทั้งที่ไม่ได้มีการซื้อขายพันธบัตรเลย
อัตราดอกเบี้ยของตลาดซื้อคืนพันธบัตรหรือตลาด RP หรือตลาด Repurchase ที่ว่านี้มีความสำคัญที่จะเป็นตัวนำของตลาดระยะสั้น หรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นระหว่างธนาคารที่เป็นเงินบาทเหมือนๆ กับ LIBOR หรืออัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารที่ลอนดอนหรือ SIBOR อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารที่สิงคโปร์ เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยของตลาดซื้อคืนนั้น กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย โดยปกติก็จะกำหนดให้สอดคล้องกับตลาด หรือถ้ากำหนดสูงเกินไปธนาคารพาณิย์ ก็จะนำเงินมาไถ่ถอนพันธบัตรกลับไป มากกว่าที่ธนาคารจะนำพันธบัตรมาวางเพื่อกู้เงินออกไป ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจะต้องจ่ายดอกเบี้ยออกไปมากกว่ารับเข้ามา มองดูก็อาจจะเห็นว่าขาดทุน ซึ่ง ธปท.มักจะคำนึงถึงเรื่องนี้เสมอ
ความจริงแล้ว ธปท.ไม่ควรคำนึงถึงกำไรขาดทุนมากนัก เพราะอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอันนี้ มีผลต่อการรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน และเสถียรภาพของระดับการเงินอย่างมาก
สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเล็ก ตลาดเงินบาทก็เล็กมากเมื่อเทียบกับตลาดเงินอื่นๆ เช่น เงินเยน เงินยูโร ไม่ต้องเทียบกับเงินดอลลาร์ ดังนั้นการปั่นตลาดเงินบาทเพื่อแสวงหากำไรจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจึงทำได้ง่าย และทำกำไรให้กับนักปั่นตลาดและนักเก็งกำไรได้เสมอถ้าไม่ป้องกันไว้บ้าง
ด้วยเหตุที่กล่าวข้างบน วิธีหนึ่งที่จะป้องกันไว้บ้างก็คือ สร้างต้นทุนให้กับผู้ที่นำเงินบาทออกมาขายเพื่อถือเงินดอลลาร์เพื่อเก็งกำไร ปกติการเก็งกำไร หรือการปั่นตลาดก็คือการซื้อขาย เงินดอลลาร์กับเงินบาทล่วงหน้าไว้บ้าง
ค่าธรรมเนียมหรือพรีเมี่ยมของการซื้อเงินดอลลาร์ล่วงหน้าจะเท่ากับส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยระยะสั้นของเงินบาทกับเงินดอลลาร์ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับดอลลาร์ขณะนี้อยู่ที่ 40 บาทต่อดอลลาร์ ถ้าส่วนต่างของดอกเบี้ยเงินบาทกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 0.25 เปอร์เซ็นต์ อัตราแลกเปลี่ยนในการซื้อขายล่วงหน้าก็จะเท่ากับบาทต่อดอลลาร์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ซึ่งเท่ากับส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยระยะสั้นของเงินตราทั้งสองสกุลคือ 2.50 สตางค์ ราคาซื้อล่วงหน้าก็จะเท่ากับ 40.025 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์ แต่ผู้ขายเงินดอลลาร์ล่วงหน้าก็จะได้ส่วนต่างนี้ไป
ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะ เมื่อธนาคารขายดอลลาร์ล่วงหน้า 3 เดือนไปแล้ว ก็ต้องเตรียมหาเงินดอลลาร์ไว้ส่งมอบ ต้นทุนของการเตรียมดอลลาร์ไว้ส่งมอบก็คือ ค่าเสียโอกาส ที่จะได้รับดอกเบี้ยจากเงินบาท คืออัตราดอกเบี้ยเงินบาท หักด้วยดอกเบี้ยเงินดอลลาร์ที่จะได้รับ
วิธีการจึงเหมือนกับธนาคารทำการแลกกันระหว่างทรัพย์สินของตนจากเงินบาทไปเป็นเงินดอลลาร์ในอนาคต ภาษาฝรั่งเขาจึงเรียกว่า "แลกกัน" หรือ "swap"
ถ้าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเงินบาทสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยดอลลาร์ คนที่ซื้อดอลลาร์ล่วงหน้าก็มีต้นทุนในการเตรียมดอลลาร์ไว้ส่งมอบ เพราะต้องสละดอกเบี้ยเงินบาทในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินดอลลาร์
เมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินบาทกับเงินดอลลาร์เท่ากัน คนซื้อดอลลาร์ล่วงหน้าก็ไม่มีต้นทุนก็จะเป็นแรงจูงใจให้ซื้อดอลลาร์ล่วงหน้ามากขึ้น ส่วนผู้ขายล่วงหน้าก็ไม่ได้ส่วนเพิ่มให้ก็เก็บดอลลาร์ไว้ไม่มาแลกเป็นเงินบาท ค่าเงินบาทก็จะอ่อนลง ถ้าทางการไม่พยุงไว้
เมื่อปัจจัยภายนอกเปลี่ยนแปลงไป เช่น ค่าเงินเยนหรือเงินยูโรอ่อนลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ นักเก็งกำไรก็จะเข้ามาโยกตลาดโดยมีความเสี่ยงน้อยลง เพราะไม่มีต้นทุน อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินดอลลาร์ก็จะขึ้นลง ผันผวนมากขึ้น ทำให้ต้องใช้ทุนสำรองมากขึ้นในการรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน ถ้าค่าเงินไม่นิ่ง มีความผันผวนมากขึ้นและบ่อยครั้งมากขึ้น ความแตกต่างระหว่างราคารับซื้อดอลลาร์ และราคาขายเงินดอลลาร์ของธนาคารพาณิชย์ในตลาดปัจจุบัน ก็จะห่างกันมากขึ้น ความแตกต่างระหว่างอัตราซื้อและอัตราขายของธนาคารพาณิชย์ก็คือสิ่งสะท้อนถึงความเสี่ยงในความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งผู้ส่งออกและผู้นำเข้าจะต้องเป็นผู้รับความเสี่ยงนั้น เพื่อให้คุ้มกับความเสี่ยงของธนาคารที่จะเก็บเงินดอลลาร์ไว้ซื้อขายระหว่างวัน
การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการซื้อคืนพันธบัตรก็ไม่ได้หมายความว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก จะต้องขึ้นตามไปด้วย เพราะสภาพคล่องในตลาดยังสูงอยู่ เห็นว่าสภาพคล่องในตลาดยังเหลืออยู่ตั้ง 6-7 แสนล้านบาท เป็นแค่เพียงสัญญาณว่าดอกเบี้ยจะไม่ลงไปกว่านี้แล้วมีแต่โอกาสจะขึ้น ที่กลัวว่าดอกเบี้ยในตลาดจะขึ้นจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัว หรือเป็นเครื่องมือในการป้องกันเงินเฟ้อก็จะยังไม่เกิดจนกว่าสภาพคล่องจะลดลง แต่ธนาคารพาณิชย์อาจจะได้ดอกเบี้ยมากขึ้น เมื่อนำเงินมาปล่อยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร กำไรของธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจะน้อยลง แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็มิได้ตั้งขึ้นมาเพื่อกำไรขาดทุนของตนเอง แต่เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน เพื่อให้ภาคธุรกิจเขาทำมาค้าขายได้ เศรษฐกิจจะได้ขยายตัว
ด้วยเหตุนี้เมื่อทางการประกาศไม่ขึ้นดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน ค่าเงินบาทจึงตกเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักทุกสกุล คือดอลลาร์สหรัฐ เงินยูโร และเงินเยน การซื้อเงินดอลลาร์ล่วงหน้าไม่มีพรีเมี่ยม บางขณะมีส่วนลดหรือมีรางวัลเสียด้วยซ้ำ การขายล่วงหน้ากลายเป็นมีส่วนลดแทนที่จะได้รางวัล คนจึงซื้อดอลลาร์ล่วงหน้ามากขึ้น และขายดอลลาร์ล่วงหน้าน้อยลง ค่าเงินบาทจึงค่อยๆ อ่อนลง แล้วก็มีข่าวเล็ดลอดออกมาว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาพยุงค่าเงินบาทผ่านทางสำนักข่าวต่างประเทศ
การไม่ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินดอลลาร์สหรัฐคราวนี้ นอกจากจะสร้างปัญหาในการรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทระยะสั้นดังที่อธิบายมาแล้ว ยังสร้างปัญหาเรื่องความไม่แน่นอนในตลาดเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งคือ
ถ้าธนาคารกลางสหรัฐขึ้นดอกเบี้ยไปอีกในอนาคต ทางการไทยจะทำอย่างไร จะคงไว้ตามเดิมคงจะยิ่งทำให้ปัญหามากขึ้นไปอีก ค่าเงินบาทก็จะถูกนักเก็งกำไรโยกได้ง่ายเข้า ถ้าขึ้นจะขึ้นเท่าไหร่ ถ้าขึ้นตามไป 0.25 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาเดิมก็จะยังคงอยู่ แต่ถ้าขึ้น 0.50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้มีความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินบาทกับเงินดอลลาร์ ตลาดทุนหรือตลาดตราสารหนี้ระยะยาว กับตลาดหุ้น ก็จะได้รับผลกระทบหนักกว่าควรจะเป็น เพราะปรับตัวไม่ทัน ถ้าสหรัฐขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง การตัดสินใจในเรื่องนโยบายการเงินก็จะยากขึ้นไปอีก โอกาสที่ทางการจะคงปัญหาไว้ตามเดิมคือขึ้นเพียง 0.25 คงจะมากกว่าการปรับเสียให้ถูกต้อง
ทั้งหมดที่ว่ามาจึงไม่เกี่ยวกับเรื่องอัตราเงินเฟ้อ ไม่เกี่ยวกับการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ หรือการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจในขณะนี้ เพราะยังมีสภาพคล่องในระบบอยู่มากมาย ระบบการเงินยังไม่ได้ออกจาก "กับดักสภาพคล่อง" เต็มที่
เหตุผลของการคงดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นเหตุผลที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ เพราะไม่ตรงประเด็นว่าไม่ขึ้นเพราะอะไร
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ในขณะที่สภาพคล่องในตลาดมีสูงอยู่อย่างนี้ จะยังไม่ทำให้อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดเปลี่ยนแปลง ดังนั้นต้นทุนของธุรกิจที่เกิดจากการขึ้นดอกเบี้ยยังไม่มี ธนาคารพาณิชย์เขาก็ออกมาให้สัญญาณกับผู้กำหนดนโยบายแล้วว่าจะไม่ขึ้นดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนจึงยังไม่เกี่ยวกับผู้กู้ผู้ฝากเงินในธนาคารโดยตรง แต่เกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์ และตลาดเงินตราต่างประเทศทั้งตลาดปัจจุบันและตลาดอนาคต (spot and future markets) มากกว่า เมื่อสภาพคล่องในตลาดลดลงจนเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งยังอีกนาน ซึ่งอาจจะเป็นปีก็ได้ถึงตอนนั้นจึงค่อยมาดูกัน
ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งจะเกิดขึ้นง่ายขึ้น เมื่อไม่มีทำนบกั้นคลื่นไว้บ้างนั้น เป็นต้นทุนของสังคมหรือภาคธุรกิจที่สูงกว่าการขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกำไรของธนาคารพาณิชย์
ที่ต้องเขียนดักคอธนาคารแห่งประเทศไทยไว้ก็เพราะกลัวว่าจะทำแบบเดิมเมื่อ 3-4 ปีก่อนที่ดึงดอกเบี้ยเงินบาทให้ต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินดอลลาร์ อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินดอลลาร์จึงขึ้นลงระหว่าง 45 บาท กับ 37 บาทต่อดอลลาร์ทุกปี บางปีปีละ 2 ครั้ง คนที่ถือดอลลาร์ไว้เล่นกับเงินบาทกำไรกันทุกปีไป ธนาคารแห่งประเทศไทยเคยทำมาแล้ว จนได้มีผู้ว่าการใหม่ จึงได้ปรับใหม่ให้ถูกต้อง แต่ขณะนี้กำลังจะกลับไปอย่างเก่าอีก
จะคอยดูว่าจะทำอย่างไรกันต่อไป
ประชาชาติธุรกิจ หน้า 2
-
- Verified User
- โพสต์: 2
- ผู้ติดตาม: 0
คำว่า"อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน 0.25%" หมายความว่าอ
โพสต์ที่ 13
Thank you very much for knowledge sharing.