หน้า 1 จากทั้งหมด 1

วิธีการประเมินมูลค่าแบบวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ค. 23, 2016 3:04 pm
โดย RujiZ
ผมเพิ่งลงทุนได้ไม่นานครับ กำลังศึกษาเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าหลายๆแบบ
แต่มีอยู่วิธีหนึ่งที่พยายามหาข้อมูลอยู่ คือการประเมินมูลค่าแบบวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์ เท่าที่พอจะเข้าใจคือ จะเป็นการหา
“มูลค่าของเงินสดที่สามารถเอาออกมาจากธุรกิจนั้นตลอดชั่วชีวิตของมัน โดยคิดลดกลับมาเป็นค่าปัจจุบัน แล้วเข้าซื้อด้วย Margin Of Safety”
แต่ที่ผมสงสัยคือ "มูลค่าของเงินสดที่สามารถเอาออกมาจากธุรกิจนั้นตลอดชั่วชีวิตของมัน" ซึ่งมันจะมีอยู่มูลค่าเดียว
แต่วิธีอื่นๆจะเป็นการคิดมูลค่าในอีก 3-5 ปี แล้วอย่างนี้จะมีวิธีการอย่างไรครับ พี่ๆท่านไหนพอจะมีลิงค์ให้ศึกษาต่อบ้างมั้ยครับ
เท่าที่หาในอินเตอร์เน็ต เจอแต่วอร์เรนต์ได้ผลตอบแทนกี่เปอร์เซนต์ ลงทุนในหุ้นอะไรบ้างครับ

Re: วิธีการประเมินมูลค่าแบบวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 24, 2016 4:39 pm
โดย Ii'8N
ที่จริง Warren Buffett ไม่เคยพูดถึงวิธีการประเมินมูลค่าของตัวเองชัดๆ แบบนี้นะครับ แต่มีคนเอามาตีความหลากหลาย

เดาทางแรก ว่าประโยคนี้ อาจเพราะมีคนปะติดปะต่อกับเรื่องปู่แกเคยมีพูดถึงในรายงานประจำปี ว่าจะ diversify ธุรกิจ เพื่อให้ Berkshire Hathaway ยั่งยืน ด้วยการหาบริษัทที่มี ROC สูงกว่าบริษัทโดยเฉลี่ยทั่วไป มาเข้า port เพื่อเป็นตัวผลิตเงินสดที่ยั่งยืน โดยเอาเงิน float จากบริษัทประกันไปต่อยอด ตอนแปลเป็นไทย สำนวนคงได้อีกแบบ ว่า "เอาเงินสดออกมาจากธุรกิจนั้นตลอดชั่วชีวิตของมัน"


แต่ที่คุณ RujiZ อ่านมาว่าเป็นวิธีการประเมินถึงขั้นรู้ "การทำ cash flow ตลอดชีวิตของมัน" อาจเป็นวิธีการที่เรียกว่า DCF ธรรมดา ... ที่ใกล้เคียงอีกทาง คนที่อ้างชัดเจนว่า Buffett ใช้วิธีทำนองนี้ การคิดทบต้นจากบริษัทที่ EPS เติบโตสม่ำเสมอ ก็เห็นจะเป็นในหนังสือที่เขียนโดยอดีตสะใภ้ คือ Mary Buffet ... บางคนก็บอกว่าเอานามสกุล เอาความเป็นอดีตสะใภ้ปู่มาหากิน แต่ปู่แกไม่ปฏิเสธหนังสือนี้ ก็เลยทำให้ยังมีคนยอมรับอยู่ (เพราะผ่านมาปู่เคยปฏิเสธคนที่อ้างว่าเป็นหลานแก จริงๆ เป็นลูกติดสะใภ้ของลูกชาย แต่พอมาเรื่องนี้ที่อดีตสะใภ้แกเขียนและยังใช้นามสกุลแกอยู่ แกไม่ได้เอ่ยปากสนับสนุนก็จริง แต่ไม่เคยออกมาปฏิเสธหรือแย้ง)

คิดว่าคุณ RujiZ น่าจะรู้จัก DCF อยู่แล้ว เพราะบอกว่าเห็น "การคิดมูลค่าในอีก 3-5 ปี" ประเมินกิจการ หา Free Cash Flow ที่ส่วนใหญ่ก็ใช้ประเมินมูลค่าทั่วไปกันอยู่แล้ว แต่ปฏิบัติจริงใช้หลายๆ ต้องวิธีรวมกัน เพราะตัวเลขที่เอามาคำนวณ มันแปรเปลี่ยนไปได้ ในมุมมองคนประเมินแต่ละคน (เพราะมันมีส่วนที่ต้องคาดการณ์อนาคตอยู่ ใช้ expected return ต่างกันนิดเดียว มูลค่าต่างกันได้เยอะ WACC นี่อีก แต่ละคนคำนวณออกมาไม่ค่อยเท่ากัน) พอเข้าใจที่มาของตัวเลข ลองทำบ่อยๆ จะทำให้รู้ว่าอาจไม่ใช่วิธีที่ได้ค่าถูกต้องที่สุด แต่ก็เป็นหนึ่งในหลายวิธีเอาไปประกอบกันกับวิธีอื่นในการมองมูลค่า ช่วยทำให้เราพยายามหาอะไรอ้างอิงในการลงทุนรอบคอบขี้น


ไม่มีใครรู้อนาคตได้จริง แล้วไม่เคยเห็นปู่แกพูดถึงวิธีคำนวณชัดๆ เองเลย
ที่ปู่แกพูด นอกจากสารภาพบาปถึงความผิดพลาดมีขาดทุนบ้างแล้ว ที่เหลือมักพูดถึงกลไกในการสร้างผลกำไรของบริษัทต่างๆ จากผลการทำงานในอดีตและมาสภาพปัจจุบัน

อย่างปู่นี่ แกเชื่อมั่นในคนทำงาน ที่ทำงานได้น่าเชื่อถือและซื่อสัตย์ ไม่ต้องลงไปกวดขัน แต่ผู้บริหารนั้นกวดขันในองค์กร ยิ่งจะเป็นที่ชอบ ที่ทั้งเขียนทั้งให้สัมภาษณ์ ที่แกไม่ชอบ คือผู้บริหารทำอะไรเพื่อความยิ่งใหญ่ของตัวเอง สร้างอาณาจักรด้วยเงินผู้ถือหุ้น แจกออปชั่นให้ตัวเอง ทำ office ใหญ่โตหรูหรา ทำ M&A ด้วยการเพิ่มทุน swap หุ้น ทำให้ผลประโยชน์ผู้ถือหุ้นลดลง แบบนั้นแกต่อต้านมีทั้งเขียนทั้งพูดออกมาบ่อย

เคยพูดกันบ่อยๆ ว่าปู่บัฟฟ์บอกว่าถ้าบริษัทดี เอาลิงมาบริหารได้ เพื่อสื่อว่าบริษัทอยู่ได้เพราะทำมาดี แต่เอาจริงๆ ตอนเข้าซื้อกิจการคนที่ทำงานดีหรือยิ่งที่เป็นคนที่สร้างบริษัทมากับมือ แกจะเลือกและวางเขื่อนไขตอนซื้อว่าให้อยู่ต่อเสมอ ชอบเจ้าของบริษัทหรือผู้บริหาร ที่กวดขันในบริษัทดูแลผลประโยชน์ให้ผู้ถือหุ้นทุกเม็ด
อย่างกรณีศึกษาที่พูดถึงกัน ผู้บริหารคนหนึ่ง ประหยัดแบบทาสีตึกสำนักงานข้างเดียว คือข้างที่หันไปหาถนน
และอีกกรณี ที่เป็นตำนาน ในประวัติ buffet ต้องมีคนเขียนถึงเสมอ คือเจ้าของร้านเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นหญิงยิวอพยพหนีสงครามชาวรัสเซีย (จริงๆ พื้นที่โซเวียตเป็นอดีต ตอนแตกแล้วตรงนั้นเป็นเมืองหลวงประเทศใหม่กลายเป็น Belarus) ไม่เคยมีความรู้เรื่องบัญชีอะไร แต่ทำมาค้าขายแบบรุ่งเรืองด้วยการลดสะบั้นหั่นแหลก ตอนมาอเมริกาใหม่ๆ ไม่รู้ภาษาอังกฤษซักตัว แต่สร้างกิจการจนเป็นร้านเฟอร์นิเจอร์ใหญ่ที่สุดในอเมริกาเหนือ ตอนที่ปู่ไปพบอายุเข้า 90 แล้ว ตอนหลังเมื่อซื้อกิจการไปแล้ว ถูกหลานๆ ยึดอำนาจเพราะมองว่าแกหัวเก่าและเผด็จการ แกไปตั้งร้านแข่งตรงข้ามทำให้ยอดร้านที่ปู่ซื้อมาย่ำแย่ จนเมื่อสงบศึกกับหลานได้แล้ว ปู่ต้องมาจบเรื่องด้วยการซื้อร้านของแกใหม่ทำสัญญาว่าจะไม่มีปัญหามาแข่งขันกันอีกภายใน 5 ปี ตอนนั้น อายุ 99 แล้ว จำจากที่อานมาได้ว่า แกเสียน่าจะตอนอายุ 100 ปีกว่าๆ
ดูหน้าตา คนที่ ฺBuffet ฝัน ว่าอยากอายุไปถึงขนาดนี้ให้ได้ ชื่นชมการทำงานที่จริงจังถึงขนาดขอปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์คให้



นอกจากนั้น บริษัทมีสินค้าที่สามารถสู้กับคู่แข่งอย่างยั่งยืนได้ keyword ในการค้นเรื่องนี้ ไปหาว่าคำว่า DCA หรือ Durable competitive advantage (ระวังว่า DCA ย่อมาจาก Dollar-cost averaging ได้อีกอย่าง อันนั้นเป็นคนละเรื่อง)
มีความสามารถที่จะกำหนดราคาได้ ปู่เรียกมันว่า มี Franchise (ไม่ได้เกี่ยวกับทำธุรกิจที่ขาย Franchise ให้ใคร) หมายถึงถ้ากำหนดราคาแล้ว ลูกค้าส่วนใหญ่ยังอยู่กับสินค้าหรือบริการของบริษัท แกเขียนไว้ในรายงานประจำปีมาตั้งแต่ปี 1986 แล้วมีการพูดถึงมาเป็นระยะจนคนสังเกต จึงเอาไปเขียน
keyword ในการค้นเรื่องนี้ "economic franchise"

อีกเรื่องที่ปู่พูดถึง เกี่ยวเนื่องกับ DCA คือบริษัทมี "wide (economic) moat" หรือคูป้องกันเมืองที่แข็งแรง ยากข้าศึกจะโจมตีได้ เพื่อให้ได้เปรียบ ในการแข่งขันยั่งยืน วิธีการประเมินป้อมคูเมืองทางเศรษฐศาสตร์นี้ ปัจจุบัน บริษัทที่เอาหลักการนี้ไปใช้ คือ Morning Star มีการทำดัชนีและ Moat Ratings ลองไปอ่านหนังสือเพิ่งมีแปลไทย "Why moats matter"
ผมไม่ฟันธงว่าปู่บัฟเฟตต์มอง moat ใช้วิธีประเมินเหมือนกันหรือเปล่า กำลังพยายามอ่านเปรียบเทียบอยู่ ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าตรงกันหรือเปล่า แต่โดย moat ที่ Morning Star มอง ประเมินจาก 5 ด้าน ลูกค้าจะไปเปลี่ยนย้ายผู้ขายโดยไม่จำเป็นเพราะมีต้นทุน (switching cost), การครอบครองทรัพย์สินที่ีไม่มีตัวตนที่มทีมูลค่าสูงพวก brand พวกสิทธิบัตร, ความแข็งแรง จากการมีเครือข่าย, การได้เปรียบทางด้านต้นทุน, การมีขนาดที่มีประสิทธิภาพ ไม่มีแรงจูงใจให้คู่แข่งหน้าใหม่เข้ามาในตลาด

ตอนนี้ กว้างๆ ผมคิดว่าส่วนประกอบพวกนี้ที่ปู่พูดบ่อยๆ ก็จะทำให้กำเนิดกระแสเงินสดได้ยั่งยืนเอง
(แต่ถ้าใครได้ข้อมูลเพิ่มเติม ว่ามีวิธีประเมิน หรือหาได้มากกว่านี้ คือหา "มูลค่าของเงินสดที่สามารถเอาออกมาจากธุรกิจนั้นตลอดชั่วชีวิตของมัน" ได้จริง ยินดีเปิดใจรับฟัง ผมชอบ จะเรียนรู้ด้วยคน)

Re: วิธีการประเมินมูลค่าแบบวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 24, 2016 9:04 pm
โดย RujiZ
ขอบคุณ คุณ Ii'8N มากนะครับ
เห็นมีคนเข้ามาอ่านเยอะ แต่ไม่คิดว่าจะมีคนมาตอบ
ถ้าเพื่อนๆท่านใด พอจะมีข้อมูลเพิ่มเติม สามารถแชร์กันได้นะครับ
ขอบคุณครับ

Re: วิธีการประเมินมูลค่าแบบวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 25, 2016 12:08 am
โดย miracle
แนะนำอ่านหนังสือเรื่อง Snow ball
เล่มนี้ได้ชีวประวัติของคุณ บัฟเฟตทั้งหมด ถึงปี 2008
ทนอ่านหน่อยครับ ประมาณ 1,200 หน้า ถ้าเป็นภาษาไทย 2 เล่ม
ภาษาอังกฤษ 1 เล่มครับ

:)

Re: วิธีการประเมินมูลค่าแบบวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 25, 2016 5:52 am
โดย pete_77
Ii'8N เขียน:ที่จริง Warren Buffett ไม่เคยพูดถึงวิธีการประเมินมูลค่าของตัวเองชัดๆ แบบนี้นะครับ แต่มีคนเอามาตีความหลากหลาย
ผมว่า Buffett เขาพูดไว้หลายที่เหมือนกันนะครับ ตัวอย่างเช่น:

"We define intrinsic value as the discounted value of the
cash that can be taken out of a business during its remaining
life. Anyone calculating intrinsic value necessarily comes up
with a highly subjective figure that will change both as
estimates of future cash flows are revised and as interest rates
move. Despite its fuzziness, however, intrinsic value is all-
important and is the only logical way to evaluate the relative
attractiveness of investments and businesses.

To see how historical input (book value) and future output
(intrinsic value) can diverge, let's look at another form of
investment, a college education. Think of the education's cost
as its "book value." If it is to be accurate, the cost should
include the earnings that were foregone by the student because he
chose college rather than a job.

For this exercise, we will ignore the important non-economic
benefits of an education and focus strictly on its economic
value. First, we must estimate the earnings that the graduate
will receive over his lifetime and subtract from that figure an
estimate of what he would have earned had he lacked his
education. That gives us an excess earnings figure, which must
then be discounted, at an appropriate interest rate, back to
graduation day. The dollar result equals the intrinsic economic
value of the education."

1994 Berkshire Hathaway letter to shareholders

Re: วิธีการประเมินมูลค่าแบบวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 25, 2016 8:12 am
โดย Ii'8N
pete_77 เขียน:
Ii'8N เขียน:ที่จริง Warren Buffett ไม่เคยพูดถึงวิธีการประเมินมูลค่าของตัวเองชัดๆ แบบนี้นะครับ แต่มีคนเอามาตีความหลากหลาย
ผมว่า Buffett เขาพูดไว้หลายที่เหมือนกันนะครับ ตัวอย่างเช่น:

"We define intrinsic value as the discounted value of the
cash that can be taken out of a business during its remaining
life. Anyone calculating intrinsic value necessarily comes up
with a highly subjective figure that will change both as
estimates of future cash flows are revised and as interest rates
move. Despite its fuzziness, however, intrinsic value is all-
important and is the only logical way to evaluate the relative
attractiveness of investments and businesses.

To see how historical input (book value) and future output
(intrinsic value) can diverge, let's look at another form of
investment, a college education. Think of the education's cost
as its "book value." If it is to be accurate, the cost should
include the earnings that were foregone by the student because he
chose college rather than a job.

For this exercise, we will ignore the important non-economic
benefits of an education and focus strictly on its economic
value. First, we must estimate the earnings that the graduate
will receive over his lifetime and subtract from that figure an
estimate of what he would have earned had he lacked his
education. That gives us an excess earnings figure, which must
then be discounted, at an appropriate interest rate, back to
graduation day. The dollar result equals the intrinsic economic
value of the education."

1994 Berkshire Hathaway letter to shareholders

ขอบคุณครับคุณ pete_77 ที่แชร์กัน เอาไว้เป็นข้อมูล reference อีกจุด ที่อาจเคยข้ามไป


ผมเพิ่งมานั่งนึกต่ออีกนิด เพิ่งนึกได้ว่าหรือที่คุณ RujiZ เจ้าของกระทู้เขียน
หรือว่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการประเมิน DCF ด้วย model ROC หรือ ROIC & growth?
เพราะ model นี้ ก็ต้องตั้งสมมติฐานว่าบริษัทนั้นมีการเติบโตยั่งยืนสม่ำเสมอ จึงจะเป็นเครื่องผลิตเงินสดออกมาได้สม่ำเสมอ
จริงๆ ตอนคิด DCF ถ้ากลัวว่าจะมองเว่อร์ไป ค่อยๆลด growth rate ตอนปีผ่านๆ ไปได้ ก็จะ conservative และสมเหตุสมผลกว่ามองว่าโตตลอดไม่หยุด


ขอให้เพื่อนๆ ลองช่วยกันดู ช่วยแชร์ไอเดีย นิดนะครับ ว่าพอจะใกล้เคียงหรือไม่ หรือเผื่อผมตีคามหมายโจทย์ไกลเกินไป?


https://www.oldschoolvalue.com/forum/di ... ng-roic/p1
General Value Investing
Valuation Model using ROIC

somrhsomrh March 2012
Posts: 1,030
So I started going through Valuation: Measuring and Managing the Value of Companies. The equation (which is just a variation of DCF):

Value = (Invested Capital x ROIC x (1 - g / ROIC) ) / (WACC - g)

where g is the perpetual rate of growth and WACC is the weighted average cost of capital.Note, this is all based on the assumption that the cash flows growth a constant rate perpetually from here to eternity so the model should be on the high side of true value. This also assumes ROIC is contant (e.g. newly invested capital gets the same rate of return as previously invested capital.) You can modify it to factor in RONIC (return on incremental capital):

Value = (Invested Capital x ROIC x (1 - g / RONIC) ) / (WACC - g)

One interesting point the authors make:


In general, companies already earning a high ROIC can generate more additional value by increasing their rate of growth, rather than their ROIC, while low-ROIC companies will generate relatively more value by focusing on increasing their ROIC.


So I'm wondering, Jae, if that might be something to try for your increasing CROIC screen (e.g. restricting it to lower CROIC companies or something.)

You can also play with the formula a bit since (Invested Capital x ROIC) ~ Earnings, you can use it to derive an earnings multiple:

P/E = (1 - g / ROIC) / (WACC - g)

An example the authors use of a typical large company in the US with ROIC = 13%, growth rate = 5% and discount rate = 9% gives a P/E = 15.4.

And in the case where (ROIC < WACC), the formula correctly shows that growth actually destroys value (which also happens to be a criteria that gets James Chanos interested in a short candidate.)
Post edited by Unknown User at -0001-11-30 00:00:00
My Blog: http://somrh.blogspot.com
Twitter: https://twitter.com/SamuelGoti

มีตัวอย่า่งการคำนวณพื้นฐาน ในหนังสือคูณสุมาอี้ ที่สมาคมฯ เอามาใช้สอน มีเพื่อนสมาชิก ThaiVI ดึงมาลงเป็น excel
download -> http://board.thaivi.org/download/file.php?id=7391
หรือไป download ในกระทู้นี้นะครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=34&t=49909

model นี้ อยู่ใน sheet "DCF2" ในหนังสือคุณสุมาอี้ ทดลองตัวอย่างใช้ประเมินมูลค่า MINT อยู่ท้ายๆ เล่ม

Re: วิธีการประเมินมูลค่าแบบวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 25, 2016 8:21 am
โดย Ii'8N
ใน web morningstar
มีการแสดง ROIC คำนวณไว้ด้วยในหุ้นทุกตัว

ตัวอย่างลองไปดู ของ PTT ละักัน
http://financials.morningstar.com/ratio ... ture=en-US

ดูบรรทัดก่อนสุดท้ายนะครับ Return on Invested Capital %
อยู่หัวข้อใหญ่ Profitability

( web นี้ หุ้นไทยที่มีเครื่องหมายคั่นกลาง & กับ - ยังไม่รู้เข้ายังไง
ในกระทู้อ. imerlot ก็มีแต่ S&P เปลี่ยนเป็น SNP ถึงเข้าได้ ตัวอื่น search เจอ แต่พอ click เข้าไป จะกลาย้เป็นหุ้นประเทศอื่น หรือย่าง S & J จะกลายเป็นของหุ้น S ไป)

Re: วิธีการประเมินมูลค่าแบบวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 25, 2016 3:51 pm
โดย RujiZ
ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความเห็นนะครับ ผมขอขยายความเพิ่มเติม เผื่อพี่ๆจะได้ให้ความรู้ผมได้เพิ่มเติมครับ
คือผมเคยคุยกับพี่ VI (ที่ชื่นชอบวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์)ท่านนึง ว่าพี่มีวิธีประเมินมูลค่าหุ้นอย่างไร ผมก็สรุปใจความได้ประมาณนี้
"หามูลค่าของเงินสดที่สามารถเอาออกมาจากธุรกิจนั้นตลอดชั่วชีวิตของมัน โดยคิดลดกลับมาเป็นค่าปัจจุบัน แล้วเข้าซื้อด้วย Margin Of Safety"
ผมจึงสงสัยว่าปกติแล้วมันต้องมี "จุดของเวลาในอนาคตเพื่อคิดย้อนกลับมา" เช่นอีก 5 ปีข้างหน้าคิดย้อนกลับมาเป็นปัจจุบัน
จึงถามเค้าว่า "แล้วปกติพี่ใช้กี่ปีครับ" แต่เค้าบอกว่ามันมีอยู่มูลค่าเดียวครับ มูลค่าปัจจุบันคือมูลค่าตลอดชีวิตของมัน
มันคือมูลค่าของกระแสเงินสุดทั้งหมดที่กิจการจะทำให้เจ้าของ แล้วคิดกลับมาที่มูลค่าในปัจจุบันครับ
แต่ผมก็ไม่ได้ถามเค้าต่อ (เพราะเกรงใจ ถามเค้ามาเยอะแล้ว) ตั้งใจว่าจะมาศึกษาเพิ่มเติมก่อนจะไปคุยกับเค้าอีกครั้ง
จนได้มาเจอบทความนึงที่มีการแชร์ต่อๆกันมา

มูลค่าโดยเนื้อแท้ กับมูลค่าทางบัญชี
โดย ชัชวนันท์ สันธิเดช...
ใครก็ตามที่เรียนบัญชีมาโดยไม่ได้สนใจลงทุนในหุ้น อาจมองว่า “มูลค่ากิจการ” ก็คือ “มูลค่าทางบัญชี” ที่ดูได้จากงบการเงินของบริษัท แต่สำหรับนักลงทุนเน้นมูลค่า มูลค่าทั้งสองเป็นอะไรที่ต่างกันลิบลับเลยทีเดียว
เบนจามิน แกรแฮม บิดาแห่งวีไอ ใช้คำเรียกมูลค่าของกิจการว่า “Intrinsic Value” แปลตรงตัวคือ “มูลค่าโดยเนื้อแท้” หมายถึงมูลค่าที่แท้จริงของธุรกิจ ซึ่งหาออกมาเพื่อเอาไปเปรียบเทียบกับราคาขายในตลาด จะได้รู้ว่าธุรกิจนั้นน่าซื้อหรือไม่
ในขณะที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้ขยายความคำว่า “มูลค่าโดยเนื้อแท้” ว่าหมายถึง “มูลค่าของเงินสดที่สามารถเอาออกมาจากธุรกิจนั้นตลอดชั่วชีวิตของมัน โดยคิดลดกลับมาเป็นค่าปัจจุบัน” ซึ่งแน่นอนว่าค่าที่หาออกมาได้นั้น ย่อมเป็นเรื่องของการคาดการณ์ ไม่อาจชี้ชัดออกมาเป็นตัวเลขที่ถูกต้องตรงเป๊ะเพียงตัวเดียว
หากกระแสเงินสดที่คาดว่าธุรกิจจะทำได้ในอนาคตมีการเปลี่ยนแปลง หรือแม้แต่ดอกเบี้ยมีการเปลี่ยนแปลง มูลค่าของธุรกิจก็ย่อมจะเปลี่ยนไป ซึ่งด้วยปัจจัยต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย ปู่จึงบอกว่า คนแต่ละคนย่อมประเมินมูลค่าโดยเนื้อแท้ของธุรกิจออกมาได้ไม่เท่ากัน แม้แต่แกกับชาร์ลี มังเกอร์ เพื่อนคู่หู ก็ยังไม่เคยคิดมูลค่าธุรกิจใดๆ ออกมาได้ตรงกัน โดยจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย
ปู่ยังชี้ชัดด้วยว่า “มูลค่าทางบัญชี” เป็นคนละเรื่องเลยกับ “มูลค่าโดยเนื้อแท้” โดยยกตัวอย่างมูลค่าทางบัญชีของเบิร์คเชียร์เมื่อปี 1964 ซึ่งอยู่ที่ 19.46 เหรียญ ต่อหุ้น แต่นั่นเป็นการตีมูลค่าสินทรัพย์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักรผลิตสิ่งทออันเป็นธุรกิจที่กำลังย่ำแย่ ดังนั้น หากปิดกิจการแล้วขายสินทรัพย์ทิ้งทั้งหมด ก็ย่อมจะไม่ได้เงินสดมาเท่ากับมูลค่าทางบัญชีที่บันทึกไว้อย่างแน่นอน
ตรงข้ามกับมูลค่าทางบัญชีของเบิร์คเชียร์ในปี 1996 (ซึ่งเป็นเวลาที่ปู่เขียนเรื่องนี้) ที่ 15,180 เหรียญต่อหุ้น ซึ่งปู่บอกว่า เป็นตัวเลขที่ต่ำกว่ามูลค่าโดยเนื้อแท้ของเบิร์คเชียร์ในเวลานั้นอย่างมาก
ปู่ยกตัวอย่างไว้ชัดเจนที่สุดว่า มูลค่าทางบัญชี ก็เหมือนกับต้นทุน “ค่าเทอม” ที่นักศึกษาคนหนึ่งจ่ายให้กับมหาวิทยาลัย แต่อันที่จริง ต้นทุนของการเรียนมหาวิทยาลัยไม่ได้มีแค่นั้น เพราะหากนักศึกษาคนนั้นไม่เรียน แต่ตัดสินใจไปทำงาน เขาก็ย่อมจะได้รับค่าจ้างค่าตอบแทน ต้นทุนที่แท้จริงของการเรียนมหาวิทยาลัยจึงต้องรวมเอาค่าจ้างจากการทำงานที่เขา “น่าจะได้รับ” หากเขาไม่เรียนมหาวิทยาลัยมาคิดด้วย
แล้วปู่ก็อธิบายต่อไปว่า การจะคิดมูลค่าโดยเนื้อแท้ของการเรียนมหาวิทยาลัย จึงไม่ควรคำนวณจากต้นทุนค่าเล่าเรียน ซึ่งก็เทียบได้กับ “มูลค่าทางบัญชี” แต่ต้องคำนวณหา “รายได้ในอนาคต” ที่นักศึกษาคนนั้นจะทำได้ เมื่อเขาเรียนจบและไปประกอบอาชีพ จนถึงวันที่เขาเกษียณอายุและทำงานไม่ได้อีกต่อไป ตรงนี้ก็เหมือนกับการคำนวณหา “กระแสเงินสดในอนาคต” ของธุรกิจนั่นเอง
นอกจากนี้ ตัวเลขรายได้ที่ได้มา ยังต้องหักลบด้วยรายได้ที่คนๆ นั้นจะทำได้ หากเขาไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัย เพราะต้องไม่ลืมว่า แม้เขาจะไม่เรียนมหาลัย เขาก็ยังสามารถทำงานได้ เพียงแต่อาจจะได้รายได้น้อยกว่า จุดนี้เทียบได้กับ “อัตราคิดลด” ซึ่งต้องใช้ในการคำนวณมูลค่ากิจการ
และท้ายที่สุด เราก็ต้องเอาตัวเลขรวมที่หาได้ “คิดลด” กลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน ตัวเลขสุดท้ายที่ได้ออกมานั่นแหละ จึงเป็น “มูลค่าโดยเนื้อแท้” ของการเรียนมหาวิทยาลัยของนักศึกษาคนนั้น
ปู่ยังบอกด้วยว่า บัณฑิตบางคนอาจมองว่า มูลค่าทางบัญชีของการศึกษาของตัวเองสูงกว่ามูลค่าโดยเนื้อแท้ หรือพูดอีกอย่างก็คือ ค่าเล่าเรียนที่เขาจ่ายไปนั้น “ไม่คุ้ม” กับประโยชน์ที่ได้รับ เช่น พวกที่ร่ำเรียนมาแล้วไม่ได้เอาความรู้ไปใช้ หรือเรียนไม่ตรงสาย จบแล้วไปทำงานอย่างอื่น เป็นต้น
แล้วปู่ก็สรุปปิดท้ายว่า ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงไม่สามารถใช้ “มูลค่าทางบัญชี” เป็นตัวบ่งชี้ถึง “มูลค่าโดยเนื้อแท้” ได้ เพราะมันแตกต่างกันลิบลับเลยทีเดียว
ผมมองว่าเสน่ห์อย่างหนึ่งของปู่ คือการอธิบายเรื่องวุ่นๆ ออกมาเห็นภาพชัดแจ๋วนี่แหละ ท่านว่าไหมครับ!

ซึ่งก็ใกล้เคียงกับที่ VI ท่านนั้นกล่าวไว้ ก็เลยมาตั้งกระทู้ในนี้ครับ ว่ามันเรียกวิธีการประเมินชั่วชีวิตนี้ว่าอะไร เพื่อจะได้ศึกษาต่อครับ

Re: วิธีการประเมินมูลค่าแบบวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 25, 2016 5:35 pm
โดย Ii'8N
ผมแน่ใจว่าไม่มีใครคำนวณได้ตลอดชีวิตของกิจการจริงนะครับ ... เพียงแต่ถ้าเราจะลงทุนกับมัน ก็เพราะมั่นใจมากๆ แค่นั้น คำนวณอย่างสมเหตุสมผล ดูจากสถานการณ์ปัจจุบัน ดูจากฝีมือในอดีตที่เพิ่งผ่านมา แล้วเชื่อว่าตัวเลขที่เราคำนวณ ไม่ได้เกิดจากกการ "หลงไปเอง" มากเกินไป ว่าสามารถหยั่งรู้อนาคตได้แม่นยำแบบไม่มีผิดพลาดเลย (ซึ่งก็มีบ้างอยู่แล้ว เราเป็นมนุษย์ มี bias มีบ้างแน่)

แล้ว DCF ผมเคยกังวลเหมือนกัน ว่าควรจะใช้กี่ปีในการคิด

ถ้ามานั่งทำความเข้าใจหลักการคิดลด จะเห็นว่ายิ่งปีมากๆ ก็จะยิ่งทำให้กระแสเงินสดถูกลดความสำคัญลดลงทุกที ไปจนแทบหมดนัยสำคัญ (มีผลทศนิยมไกลออกไปเรื่อยๆ)
อย่างเช่น ปีที่ r = 10% ปีที่ 10 CF เริ่มถูกคูณด้วค่าแค่ 0.4 แล้ว
ปีที่ 20 ค่า CF จะถูกคูณด้วย Discounted Factor แค่ 0.16
ปีที่ 50 Discounted Factor เหลือแค่ 0.0.0094 เลย

ถ้านึกภาพไม่ออก ลองนั่งดูนะครับ ดู online ได้เลย (google spreadsheet) click ที่นี่ -> https://goo.gl/4tU7WM เลื่อน mouse ไปขวาเรื่อยๆ
พอนึกถึง model คิดลดว่าเป็นแบบนี้ เราไม่จำเป็นต้องกังวล ว่าจะให้คำนวณได้ว่าบริษัทนี้มากปีมากมาย ตามทฤษฎี
แล้วพอมาถึงความเป็นจริงภาคปฎิบัติ เชื่อว่าไม่มีใครสามารถพยากรณ์บริษัทไหนได้ถึง 10-15 ปีจริง นานๆ อาจจะเจอซักบริษัท ที่มันเติบโตได้ยั่งยืนแบบนั้นจริง บริษัทจริงๆ ต้องคอยมานั่งติดตามสถานการณ์ของมันเป็นระยะ
(ซึ่งปู่ buffet ลดความเสี่ยงเรื่องความไม่แน่นอนพยากรณ์ยากอันนี้ ที่ได้ coke มา ได้ see's candies มา ได้ Washington post มา บอกว่าด้วยการเลือกธุรกิจไม่หวือหวา ไม่เอา Hi-Tech หรือหุ้นอินเตอร์เน็ตประเภทปีหนึ่งรุ่ง อีกปีร่วง...
แต่พูดง่าย จริงๆ มันหายากที่โตอย่างยั่งยืนจริงๆ เพราะยุคที่คนเริ่มลงทุนแนวนี้มากขึ้นหาหุ้นถูกแล้วน่าจะโตยาก กับพอ port ปู่โตมากๆ ก็เห็นปู่เคยมีพลาดมั่งเหมือนกัน ไปหาหุ้นนอกกระแสเดิมอย่าง commodity บางอันไม่ได้บินไปดูกิจการแต่อ่านแต่ดูงบ แล้วกำไรมั่งอย่าง PetroChina แต่บางอย่างอยู่ในประเทศกลับขาดทุนบ้างแล้วมาสารภาพผิด อย่าง Conocophillips)



ความเห็นส่วนตัวของผม: ทั้งจากที่ลองมา ทั้งจากอ่านหลายๆ ท่าน พยากรณ์แค่ 5 ปีนี่ก็ถือว่ามากพอแล้วนะครับ จะทำ model ไว้ซัก 10 ปี ก็ตามแต่
แต่การพยากรณ์ตัวเลขอะไร 10 ปี ผมคิดว่าลังเลว่าจะเป็นการเดาแบบนั่งเทียนเกินไป เพราะอนาคต สภาพแวดล้อมธุรกิจ ตลาด และคนที่ขับเคลื่อนองค์กรเหล่านี้ มักจะเปลี่ยนไปเยอะ หลายบริษัท ของจริงแค่ปี 2-3 ปี ต้องมานั่งทบทวนตัวเลขจริงใหม่แล้ว

สำหรับผม ถ้า 15-20 ปีก่อน ผมเป็นพวกที่ชอบคำนวณอะไรใน excel โชว์มาเป็นทศนิยมทุกตัว ตามประสาวิศกรรมกร (สมัยก่อนคำนวณพวกระยะทางตั้งเสามือถือ ระยะจานไมโครเวฟ)
แต่เดี๋ยวนี้เริ่มค่อยๆ เลิกยึดติดแบบตัวเลขทุกทศนิยม พูดเป็นตัวเลขกลมๆ เยอะขึ้นแล้ว ยิ่งการพยากรณ์ "model" มันก็เป็นเส้นบางๆ ระหว่างเดากับคำนวณ
การคำนวณหลายอย่าง ที่มามันก็เป็น subjective หลายอย่างเป็น assumption มีใครกล้าพูดบ้าง ว่าทุกอย่างแม่นยำทุกทศนิยม

ตอนหลังคำนวณอะไรก็ตามใน excel ตอนใน sheet คำนวณทุกหลักก็จริง แต่คำนวณเสร็จ หน้าที่จะใช้สุดท้าย ผมมักซ่อนทศนิยมไว้หมดเลย ตัวเล็กไปอย่าง EPS จึงจะโชว์แต่ก็เหลือแค่ 2 หลัก

Re: วิธีการประเมินมูลค่าแบบวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 27, 2016 6:42 am
โดย offshore-engineer
แนะนำให้อ่านหนังสือ Little Book of Valuation เขียนโดย Prof. Aswath Damodaran ครับ

Re: วิธีการประเมินมูลค่าแบบวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 27, 2016 1:33 pm
โดย nut776
ในดันโด กะแนะนำ ให้ใช่ scenario แค่ 5 ปีคับ

Re: วิธีการประเมินมูลค่าแบบวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 28, 2016 4:43 pm
โดย imerlot
Ii'8N เขียน: ( web นี้ หุ้นไทยที่มีเครื่องหมายคั่นกลาง & กับ - ยังไม่รู้เข้ายังไง
ในกระทู้อ. imerlot ก็มีแต่ S&P เปลี่ยนเป็น SNP ถึงเข้าได้ ตัวอื่น search เจอ แต่พอ click เข้าไป จะกลาย้เป็นหุ้นประเทศอื่น หรือย่าง S & J จะกลายเป็นของหุ้น S ไป)[/size]

ลองใช้
http://quotes.wsj.com/TH/XBKK/S&J

Re: วิธีการประเมินมูลค่าแบบวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 28, 2016 4:54 pm
โดย imerlot
Ii'8N เขียน:ใน web morningstar
มีการแสดง ROIC คำนวณไว้ด้วยในหุ้นทุกตัว

ตัวอย่างลองไปดู ของ PTT ละักัน
http://financials.morningstar.com/ratio ... ture=en-US

ดูบรรทัดก่อนสุดท้ายนะครับ Return on Invested Capital %
อยู่หัวข้อใหญ่ Profitability

( web นี้ หุ้นไทยที่มีเครื่องหมายคั่นกลาง & กับ - ยังไม่รู้เข้ายังไง
ในกระทู้อ. imerlot ก็มีแต่ S&P เปลี่ยนเป็น SNP ถึงเข้าได้ ตัวอื่น search เจอ แต่พอ click เข้าไป จะกลาย้เป็นหุ้นประเทศอื่น หรือย่าง S & J จะกลายเป็นของหุ้น S ไป)

ลองอีกอัน
http://www.reuters.com/finance/stocks/o ... bol=SNJ.BK

Re: วิธีการประเมินมูลค่าแบบวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 28, 2016 4:55 pm
โดย imerlot
Ii'8N เขียน:ใน web morningstar
มีการแสดง ROIC คำนวณไว้ด้วยในหุ้นทุกตัว

ตัวอย่างลองไปดู ของ PTT ละักัน
http://financials.morningstar.com/ratio ... ture=en-US

ดูบรรทัดก่อนสุดท้ายนะครับ Return on Invested Capital %
อยู่หัวข้อใหญ่ Profitability

( web นี้ หุ้นไทยที่มีเครื่องหมายคั่นกลาง & กับ - ยังไม่รู้เข้ายังไง
ในกระทู้อ. imerlot ก็มีแต่ S&P เปลี่ยนเป็น SNP ถึงเข้าได้ ตัวอื่น search เจอ แต่พอ click เข้าไป จะกลาย้เป็นหุ้นประเทศอื่น หรือย่าง S & J จะกลายเป็นของหุ้น S ไป)

ลองอีกอัน
http://www.reuters.com/finance/stocks/o ... bol=SNJ.BK

Re: วิธีการประเมินมูลค่าแบบวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 28, 2016 4:59 pm
โดย imerlot

Re: วิธีการประเมินมูลค่าแบบวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 28, 2016 5:13 pm
โดย Ii'8N
imerlot เขียน:http://www.barrons.com/quote/stock/th/x ... financials

คล้ายกัน

ขอบคุณครับ :bow:

Re: วิธีการประเมินมูลค่าแบบวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 31, 2016 2:07 pm
โดย iceberg
ถ้าจะให้สรุปเป็นสั้นๆ ผมเข้าใจแบบนี้ครับ

1) กระแสเงินสด และ อัตราคิดลด แกใช้แบบประมาณครับ คือ ไม่ใช่ตัวเลขเป๊ะ
ใช้เป็นช่วงเอาว่าน่าจะอยู่ประมาณนี้ ถึงตัวเลขนี้ครับ

2) เพื่อลดความผันผวนของตัวกระแสเงินสด ที่แกประมาณในข้อ 1
แกเลยเลือกธุรกิจที่มีการทำกำไรสม่ำเสมอ และแกเข้าใจ ครับ

3) ในจังหวะที่จะซื้อ จะต้องมี margin of safety ครับ ในกรณีที่แกพลาด จะได้ไม่เจ็บหนัก

น่าจะเป็นประโยชน์ครับ

Re: วิธีการประเมินมูลค่าแบบวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์

โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 01, 2016 1:40 pm
โดย Ii'8N
imerlot เขียน:http://www.barrons.com/quote/stock/th/x ... financials

คล้ายกัน

ตามที่ อ. imerlot ว่าไว้ ผมดึงข้อมูลทุกกิจการที่มีบน web นี้ มารวมไว้บน excel เลยเอามาแชร์ใย attachment ข้างล่างนี้ เผื่อใครจะเอาไปใช้ต่อนะครับ
แต่ละไฟล์ คือ 1 Industry (ทุกบริษัทในอุตสาหกรรม)

ปรากฎว่าบางไฟล์ upload ไม่เข้า บอกว่าไฟล์ใหญ่เกิน 2M
ผมแชร์ไว้ที่ onedrive ทั้งหมด ทั้งแบบ zip ทั้งแบบ excel download ที่นี่ -> https://goo.gl/om33Cf



สำหรับที่ Buffet เขียน
ผมลองพยายามอ่านดู ที่ปู่แกพูด ผมตีความว่าก็น่าจะไม่ต่างจากการหา Cashflow โดยทางใดทางหนึ่ง ที่เราใช้กันอยู่แล้ว ไม่น่าจะมีอะไรไปมากกว่านั้น หรือมีทางลัด หรือว่ามีสูตรลึกลับอะไร
pete_77 เขียน:
ผมว่า Buffett เขาพูดไว้หลายที่เหมือนกันนะครับ ตัวอย่างเช่น:

"We define intrinsic value as the discounted value of the
cash that can be taken out of a business during its remaining
life. Anyone calculating intrinsic value necessarily comes up
with a highly subjective figure that will change both as
estimates of future cash flows are revised and as interest rates
move. Despite its fuzziness, however, intrinsic value is all-
important and is the only logical way to evaluate the relative
attractiveness of investments and businesses.

แต่เรื่องจริง ชีวิตมันไม่ได้ง่ายสำเร็จรูปเหมือนบะหมี่ เพราะการจะหา cashflow ได้จริง มันไม่ได้เป็นตายตัว เหมือน 1+1 = 2 เพราะปู่แกก็พูดเอง ตรงที่ขีดเส้นใต้

แต่ยังไง ถ้าจะมาแนว value ก็ต้องทำ อย่างที่ปู่แกว่า "the only logical way"

Re: วิธีการประเมินมูลค่าแบบวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์

โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 02, 2016 9:50 pm
โดย 6 Dimensions
ผมขอเสริมพี่ Ii'8N นิดเดียวครับ ... เนื่องจากไม่มีใครที่จะสามารถประเมินกระแสเงินสดตลอดชีวิตได้แน่นอน เพราะไม่มีใครรู้อนาคต การประเมิน DCF (ซึ่งก็คือสิ่งที่คุณ RujiZ บรรยาย เป็นวิธีเดียวกัน) ในทางปฏิบัติที่นักลงทุนเก่งๆ หลายคนใช้ก็คือการประเมิน สถานการณ์หลายรูปแบบ เช่น กระแสเงินสดที่น่าจะทำได้ในกรณีเลวร้าย เพื่อการประเมินแบบอนุรักษ์นิยมหรือปลอดภัยไว้ก่อน (เช่น บริษัทสูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขันไป หรือมีคู่แข่งทัดเทียมรายใหม่ๆ เข้ามา เป็นต้น) ประเมินเป็นเคสหนึ่ง และประเมินเคสอื่นๆ คือเคสปกติ และเคสดี เพื่อหามูลค่าของบริษัทในกรณีต่างๆ (ตรงนี้สำคัญนะครับ อาจจะขัดกับที่บอกว่า มูลค่าแท้จริงมีค่าเดียว)

การหา MOS ที่เพื่อนคุณ RuijiZ พูดถึง ส่วนตัวมองว่าคือการซื้อให้ได้ในราคาที่ถูกกว่าหรือเท่ากับ DCF กรณีร้าย (ซึ่งเมื่อเราลงทุนแล้ว เราคาดหวังให้เกิดกรณีปกติ หรือกรณีดีเพื่อให้ผลงานดันมูลค่าบริษัืให้เติบโตในอนาคต แต่ถ้าเกิดกรณีร้ายจริงเราก็น่าจะไม่เสียหายมากเนื่องจากเราซื้อในราคาที่เผื่อกรณีนั้นแล้ว)

หนังสือที่พี่ Offshore แนะนำก็ควรอ่านนะครับถ้าสนใจทางนี้จริงๆ เพราะเป็นสุดยอดกูรูในด้านนี้เขียนเองแบบฉบับย่อครับ และอาจจะอ่านพวก Corporate Finance เสริมเอาถ้าอยากรู้ประเด็นเพิ่มเติม