Moneytalk@SET9Jul16CFA,FRM&VIมองหุ้นครึงปีหลัง
- i-salmon
- Verified User
- โพสต์: 293
- ผู้ติดตาม: 0
Moneytalk@SET9Jul16CFA,FRM&VIมองหุ้นครึงปีหลัง
โพสต์ที่ 1
Moneytalk@SET9Jul16
ช่วงที่1 สัมมนา หัวข้อ "CFA FRM มืออาชีพการเงิน"
โดย โครงการ FIRM, NIDA BUSINESS SCHOOL
1) ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บลจ.ทหารไทย
2) คุณวิน พรหมแพทย์ CIO บลจ. CIMB Principal
3) ศ.ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ รองอธิการบดี นิด้า
4) คุณอติ อติกุล ผช.กรรมการผู้จัดการ บมจ.หลักทรัพย์ เมแบงค์กิมเอ็ง (ประเทศไทย)
5) ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
Intro
อ.เสน่ห์ ชีวิตคนเราเต็มไปด้วยความเสี่ยง
ความเสี่ยงด้านการเงินก็เป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญ
ปัญหาคนทั่วไป มีเงินและบริหารไม่เป็น
แต่ถ้าบริหารเงินคนอื่นก็ผลกระทบใหญ่กว่า จึงต้องมีการเรียนบริหารจัดการความเสี่ยง
อ.กำพล หลักสูตร FIRM ย่อมาจาก Financial investment and risk management
ที่มาหลักสูตรคือเห็นหลายคนเรียน MBA finance แล้วต้องออกไปสอบประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ซึ่งอาชีพนี้ต้องไปดูแลเงินคนอื่น จึงอยากให้ได้คนที่มีความรู้ความสามารถจริงๆ
โดยเราไปพบหลักสูตร CFA ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก
ลูกศิษย์ที่จบ finance หลายคนทำงานไป 2-3 ปี ก็จะถูกให้สอบ CFA
และปัจจุบันความเสี่ยงสูงขึ้นจึงไปหาหลักสูตรที่เกี่ยวกับความเสี่ยงชื่อ FRM
รวมเป็ฯหลักสูตร FIRM ที่จะได้ปริญญาโทด้วยและเตรียมพร้อมไปสอบ ใบประกาศวิชาชีพ 2 อย่างนี้
โดยเอาองค์ความรู้ทั้ง CFA, FRM รวมเข้าไปในหลักสูตร
ซึ่งจะช่วยให้มีโอกาสได้งานยิ่งขึ้น และได้บุคลากรที่เป็นประโยชน์กับอุตสาหกรรม
คุณอติ สอบ CFA ได้มา 10-15 ปีแล้ว เนื้อหาของ CFA จะมีความทันสมัยในตัวเอง
ให้รู้ว่าวิธีการลงทุน และมีเครื่องมือในการลงทุนหลากหลายไม่ใช่แค่หุ้น
ถ้าเรียน level 3 จะเป็นเรื่องการจัดพอร์ตลงทุน
เนื้อหา CFA ทำให้เราเข้าใจองค์รวมในการลงทุนได้ดีขึ้น
อย่างสินค้าอนุพันธ์มีการอ้างอิงกับหุ้น ซึ่งคนที่เทรดต้องดูความเสี่ยงของตัวเองด้วย
ในแง่บริษัทหลักทรัพย์ ออก derivative warrant ก็ต้องมีวิธีบริหารจัดการความเสี่ยง
สมัย 10-15 ปีก่อน ก็มีคนรู้จัก CFA กันในตลาดอยู่แล้ว มี role model อยู่แล้ว อย่างอ.สมจินต์
คุณวิน น่าจะสอบ CFA ช่วงเดียวกับคุณอติ
ตอนเรียนที่เนเธอร์แลนด์ พี่ที่ดูแลเขาไปสอบ CFA ทำให้เรารู้ว่าอยากบริหารกองทุนต้องไปสอบ
เรียนจบกลับมาก็เลยมาสอบที่เมืองไทย
ที่ประเทศไทยมีสอบ CFA 2 รอบ เดือน มิ.ย. กับ เดือน ธ.ค.
คนสอบราว 2000 คน เป็นคนไทย 1000 คน ที่เหลือคือน้องๆเพื่อนบ้านมาสอบที่เรา
เยอะสุดคือเวียดนาม เพราะที่นั่นไม่มีศูนย์สอบ CFA
ที่ไทยสอบ CFA มาวันนี้ 20 ปีแล้ว น่าสนใจว่าคนเวียดนามมาทีหลังเรา แต่ขยันตั้งใจมาก
อ.กำพล FRM ความต้องการสอบเยอะยิ่งขึ้น และที่ Nida เป็นศูนย์สอบด้วย
เราเห็นความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง มีโอกาสทำงานกว้างมาก
จำนวนคนที่สอบเพิ่มขึ้นทุกปี เป็นหลักหลายร้อยคน
FRM มี 2 level ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีเพียง 1 level
หลัง hamburger crisis โลกมีความเสี่ยงสูงขึ้น
อ.ไพบูลย์ ถ้าใครชอบคณิตศาสตร์มีสาขาที่น่าสนใจ 2 อย่าง
FRM ที่แนะนำคืออย่างหนึ่ง และอีกอย่างคือ
คณิตศาสตร์ประกันภัย จะใช้คณิตศาสตร์มากกว่า
มีสอบใบคุณวุฒิ FSA มีจำนวนราว 8-10 level
เมืองไทยก็มีสอนที่นิด้าเหมือนกัน แต่คนละคณะกัน
ดร.สมจินต์ สอบ CFA ได้น่าจะราว 17 ปีที่แล้ว ตอนนั้นก็ดีใจมาก
รู้จัก CFA สมัยที่ไปเรียนทุนต่างประเทศ แล้วเจอเพื่อนต่างชาติแนะนำว่าควรจะสอบ CFA
ใครที่มี CFA สามารถเป็น fund manager ได้ทุกคน (ยุค 20 ปีที่แล้ว)
จึงสนใจและศึกษาดู ส่วนตัวคิดว่า CFA มีประโยชน์มาก
อ่านหนังสือเรื่อง peak เป็น science of expertise (วิทยาศาสตร์ของความเชี่ยวชาญ)
เวลาฝึกขับรถ ถ้าเราค่อยๆฝึก เราจะเก่งขึ้นเรื่อยๆ
จนขับรถไปได้ 5 ปี ความสามารถเราจะถึง จุดสูงสุด(peak)ในระดับที่คนทั่วๆไปทำได้
ในปีที่ 6-7 ขึ้นไปความสามารถจะไม่เพิ่มขึ้นเลย ยกเว้นจะไปฝึกฝนเฉพาะเจาะจงในบางเรื่อง
ในเชิงวิชาชีพก็เช่นกัน เหมือนนักกีฬาที่จะฝึกฝนไปเป็นแชมม์เปี้ยน
ต้องมี Purposeful practice ฝึกฝนอย่างมีเป้าหมายเจาะจง
สำหรับคนที่อยากทำงานด้านการเงิน CFA เป็นแหล่งที่ดีที่สุด
กระบวนการ 3 ปีในการฝึกฝน CFA จะช่วยให้เราครอบคลุมสิ่งสำคัญในการทำวิชาชีพ
หลังๆได้มีโอกาสศึกษาเรื่อง Risk management และได้ศึกษา case study ที่ใหญ่ที่สุด
คือ กรณีเลห์แมนบราเธอร์ ช่วงปี 2006-2007 ก่อนล้มเป็นยุคที่รุ่งเรืองมาก
เพราะ fed ลดดอกเบี้ยจนต่ำติดดิน คนไปเก็งกำไรในอสังหาเยอะ คนกู้เงินได้ถูก
เลห์แมน ได้ออกเครืองมือทางการเงินออกมาเยอะ เช่น cdo (collateral debt obligation)
เอาหนี้อสังหาต่างๆ มารวมกันแล้วออกเป็นหลักทรัพย์
มีการจัดชั้น มี seniority ต่างๆ คนไปเลือกความเสี่ยงได้ตามความต้องการ (เป็นระดับ A,B,C,D)
คนสนใจเยอะ แต่ขายดีเฉพาะชั้นเสี่ยงสูงกับเสี่ยงต่ำ เหลือชั้นกลางๆขายไม่ได้
จึงเอาตรงกลางมารวมกัน แล้วเอามาจัดชั้นมาขายอีกที (cdo square)
จนตอนหลังเกิดวิกฤติขึ้นมา correlation เข้าไปใกล้กันมากขึ้น
เวลาเกิดวิกฤติ ทรัพย์สินต่างๆจะลงไปด้วยกันเยอะ
พอเอาของต่างๆไปรวมกัน แล้วแบ่งเป็น ABC คนจึงมีความสับสนในความเสี่ยงของมัน
พอเศรษฐกิจไปไม่ได้แล้ว ความเสี่ยงทำให้เลห์แมนเองก็ล้ม
และเกิดสิ่งที่เรียกว่า systemic risk หรือความเสี่ยงที่เกิดจากบริษัทใหญ่ๆล้มแล้วส่งผลไปถึงในระบบ
ในทางวิชาการเราคุ้นชินกับคำว่า systematic risk คือ ปัจจัยทางมหภาคส่งผลให้แต่ละบริษัทมีความเสี่ยงด้วย
แต่เวลาบริษัทใหญ่ล้มทำให้ส่งผลไปหามหภาคและบริษัทอื่นด้วย
สิ่งที่อยากจะชี้คือ ความสามารถทางการเงินที่สร้างผลิตภัณฑ์ดีๆทำให้เกิดโอกาส
แต่ถ้ากระบวนการนั้นไม่มีการบริหารความเสี่ยงและสื่อสารความเสี่ยงที่ดี ก็เกิดความเสียหายได้
เชื่อว่าถ้าคนทำงานด้านการเงิน ถ้ามีความรู้ 2 ส่วนนี้ จะเป็นที่มีคุณภาพมาก
จากประสบการณ์จะมีเพื่อนร่วมงานหลายคนที่มี cfa,frm ก็ไม่เคยผิดหวังกับคนเหล่านี้
ที่นอกจากจะความรู้ความสามารถ คือ ความสามารถในการเรียนรู้ แล้วเอาไปประยุกต์ใช้กับงาน
ซึ่งเชื่อว่าลักษณะการเรียนรู้ของ cfa และ frm จะมีทั้ง 2 ส่วนนี้ให้
อ.นิเวศน์
ความเห็น CFA FRM เป็น ชุมชนของคน iq สูง ให้คนทั่วไปสอบไม่ผ่าน
เป็นวิทยาศาสตร์เยอะ ไม่ค่อยมีศิลปศาสตร์ หรือไสยศาสตร์ในนั้น
ถ้า iq สูงประมาณนี้ผ่านได้ ลดลงมาโอกาสผ่านระดับหนึ่ง ต่ำระดับนึงไม่ผ่าน
จริงๆแล้ว การสอบผ่าน cfa, frm จะได้แต้มต่อเยอะ
แต่คนที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุนหรือความเสี่ยง จะประกอบ 2 ส่วน
คือส่วนที่เป็นวิทยาศาสตร์ และศิลปศาสตร์
อีกส่วนคือมีไสยศาสตร์(หมายถึงโชคชะตา) นิดหน่อย เช่น เกิดมาถูกจังหวะ
ศิลปศาสตร์วัดไม่ค่อยได้ ถ้าเป็นแค่วิทยาศาสตร์อย่างเดียวไม่เพียงพอ
คนที่ประสบความสำเร็จสูงๆไม่ใช่แค่คนที่สอบได้คะแนนสูงสุด อย่างบัฟเฟตต์ และปีเตอร์ลินซ์
อ่านหนังสือเจอ เขาบอกว่า มีกิจกรรมหลายๆอย่างที่บอกว่าการประสบความสำเร็จ
ขึ้นกับฝีมือและดวง เช่น การลงทุนเป็นอะไรที่ดวงมีส่วนเยอะ
ในขณะที่การเล่นเทนนิส ดวงมีส่วนน้อย
จะสื่อว่ามีหลายกิจกรรมที่ขึ้นกับดวงหรือขึ้นกับฝีมือมาก
ถ้าเราไม่ได้จบ CFA,FRM ก็อย่าไปเสียใจ ยังมีโอกาสประสบความสำเร็จได้
อย่างไรก็ตามถ้ามี CFA,FRM ก็ดีกว่า
ดร.กำพล หลักสูตรนี้ถูกออกแบบมาเกือบ 10 ปีแล้ว แต่คิดว่าเข้ากับยุคสมัย อย่างที่อ.เสน่ห์พูดถึงไทยแลนด์ 4.0
ซึ่งเขาเน้น 4 keyword global context, collaborative, demand driven, very focus
ซึ่งหลักสูตร firm ตรงสิ่งที่เน้นทั้ง 4 อย่างเลย
1) Global context - เราใช้หลักสูตรของ CFA ซึ่งเคยใช้สโลแกนเป็น
Global passport to financial professional เป็นที่รู้จักทั่วโลก
2) Collaborative - เป็นการร่วมมือกับมหาวิทยาลัย เป็น partner ชั้นนำมีคุณภาพ
สามารถสอนตามความรู้ที่เขาต้องการได้
ซึ่งหลักสูตร firm เป็นหลักสูตรแรกที่ได้เป็น university partner แห่งแรกในไทย
GARP ออกคล้ายๆ CFP แล้ว certify ให้เป็น academic partner ซึ่ง firm ก็เป็นแห่งแรก
3) Demand driven - หลักสูตร CFA,FIRM กว่าจะได้ข้อสอบมีกระบวนการ update องค์ความรู้ทุกปี
ส่งแบบสอบถามให้บริษัทต่างๆ ถามว่าต้องการองค์ความรู้อะไรจากคนทำงาน
มีแผนหรือมีทิศทางอย่างไรที่คนทำงานต้องรู้ ไปเอาสิ่งเหล่านี้มาออกแบบหลักสูตรและข้อสอบ
4) Very focus – หลักสูตรนี้ไม่เหมือน mba ทั่วไป เน้นเฉพาะคนที่ต้องการทำงานการเงินบริหารความเสี่ยง
ซึ่งตรงองค์ประกอบครบถ้วนตาม ไทยแลนด์ 4.0
อ.กำพล ในทางวิชาการ PHD คือเป็นที่สุด แต่ถ้าเป็นสายทำงาน คิดว่า CFA น่าจะเป็นที่สุด
ซึ่งตอนนั้นก็ได้เอาอ.สมจินต์ เป็น role model น่าจะเป็นคนแรกๆที่ได้ทั้ง PHD และ CFA
และมีคุณวิน คุณอติ ที่เป็นอ.สอนรุ่นแรกๆ ทุกคนมีส่วนร่วมในการก่อตั้ง
อ.สมจินต์ อย่างที่อ.นิเวศน์บอก คิดว่า IQ คงมีส่วนบ้าง
แต่คนที่มีใจรัก และหากลยุทธ์ที่ดีในการเรียนรู้และฝึกฝน มีโอกาสประสบความสำเร็จเช่นกัน
ถ้าชอบจริงๆในสายวิชานี้ งตรงนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมาก
จะมีโอกาสได้โค้ชจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง และฝึกฝนไป
CFA พูดถึงในวิชาชีพ ไม่แช่แค่เป็นนักลงทุนเองเพื่อสำเร็จส่วนตัว
มักจะเล่าถึงเศรษฐีคนหนึ่งไปตรวจงานเจอคนงาน 3 คน ถามว่ากำลังทำอะไรอยู่
คนงานคนหนึ่งตอบ เขากำลังก่ออิฐ คนที่สองตอบ ก่อกำแพง คนที่สามตอบ สร้างพระราชวัง
จะเห็นว่า 3 คน มีความสุข และมีความตั้งใจทำผลงานไม่เหมือนกัน
คนแรกทำงานเพื่อเงิน คนที่สองทำงานให้นาย คนที่สามเขารู้ว่าเขากำลังสร้างพระราชวังให้พระราชาที่เขารัก
คนที่จะประสบความสำเร็จในวิชาชีพอะไรก็แล้วแต่
การที่เรามีใจรักและเห็นคุณค่าของงานเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
เชื่อว่าในทุกวิชาชีพจะมีพระราชวัง และพระราชาอยู่ในนั้นถ้าเราหาพบ
ในคนที่ทำงานสายการเงิน ส่วนตัวเชื่อว่าพระราชา คือคนที่ไว้ใจให้เงินเรามาลงทุน
หน้าที่คือบริหารเงินจัดการเงินให้ดีที่สุด และอย่าให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ดังนั้น คนที่กำลังมองหาเส้นทางอาชีพ การถามตัวเอง ว่าเส้นทางนี้ใช่ไหม
เส้นทางที่จะทำให้เกิดประโยชน์กับผู้ลงทุนใช่ไหม
การสอบ cfa อาจเป็นทางหนึ่งที่ทำให้เรารู้ว่า หัวใจของเราอยู่ที่ตรงนี้หรือเปล่า
คุณวิน CFA เป็นความจำเป็น อย่างการเป็นนักวิเคราะห์ หรือเป็นผู้จัดการกองทุน
ต้องมีใบอนุญาต เป็นส่วนหนึ่งของ requirement
ความจำเป็นไม่ใช่แค่ใบประกาศ แต่เป็นองค์ประกอบขององค์ความรู้
เป็นสิ่งที่คนทำงานจริงๆช่วยคิดหลักสูตรไม่ใช่แค่เชิงวิชาการ
อีกองค์ประกอบสำคัญของ CFA คือ จรรยาบรรณ
ความไว้ใจสำคัญมาก ต้องเชื่อว่า คนที่บริหารเงินต้องมีความรู้ และมีจรรยาบรรณ
ตอนอยู่ประกันสังคมไม่ได้บังคับว่าผู้จัดการกองทุนต้องมีใบอนุญาต
แต่ผมและทีมงาน ก็อยากให้เรามี standard เหมือนเขา
ก็เลยไปสอบกัน ซึ่งเราจะมีหลักแน่น และสามารถยึดหลักของเราในการบริหารจัดการ
ไม่เอาเรื่องส่วนตัวมาทำให้เกิดความเสื่อมเสีย เจ้าของเงินก็จะไว้ใจเรามากขึ้น
ไม่ใช่เป็นแค่ใบประกาศ เป็นการสร้างความเชื่อใจที่ลูกค้ามีต่อเรา
คุณอติ มีการสำรวจคนที่มี CFA ตอนนี้ทำอะไรอยู่
23% เป็น ผู้จัดการกองทุน
16% เป็นนักวิเคราะห์
7% เป็น CEO
6% เป็น risk manager
5% อื่นๆ เป็น financial advisor, relationship manger
แม้วาณิชธนกิจบ้านเราไม่จำเป็นต้องมี cfa แต่เนื้อหาจะทำให้เราประเมินมูลค่ากิจการได้
คุณอติ ความคุ้มค่าในการเรียน CFA เป็นการลงทุนในความรู้ซึ่งจะติดตัวเราไปตลอด
ถ้ามีสินค้าใหม่เข้ามาจะศึกษาได้ และเข้าใจมัน
โลกปัจจุบันต้องการ specialist ที่คนจำนวนน้อยทำได้ ผลตอบแทนมักจะสูงกว่าปกติ
ซึ่ง CFA,FRM จะทำให้เรามีทักษะเฉพาะทางได้
คุณวิน อย่างการสมัครงานที่บริษัทถ้าไม่มี CFA สมัครไม่ได้
ที่ผ่านมา อย่างน้อยต้อง level 1 ถ้าเป็นนักวิเคราห์ level 3 ถ้าจะเป็นผู้จัดการกองทุน
อาชีพบริหารกองทุนยังมีคนน้อยมาก
คนที่สอบผ่าน CFA แล้ว 400 กว่าคนเป็นคนไทย ที่เหลือร้อยกว่าคนเป็นต่างชาติที่มาทำงานเมืองไทย
เรามีเงินให้บริหารราว 10 ล้านล้านบาท ซึ่งจะมีเงินเข้ามาบริหารอีกมาก
ที่สำคัญ อาชีพนี้ให้โอกาสคนอายุน้อย ผู้จัดการกองทุนรุ่นหลังอายุน้อยกว่าสมัยก่อนลงเรื่อยๆ
หลายคนก็ประสบความสำเร็จ แล้วก็ออกจากวงการไปแล้ว ทำให้เราสร้างคนไม่ค่อยทัน
สมัยก่อนไม่มี firm ตอนนั้นก็เรียนทั้งปริญญาโท และอ่านตำราสอบ CFA ด้วย ชีวิตยากมาก
การเรียนโทจะทำให้เราได้สองเรื่องในเวลาเดียวกัน ใช้เวลาคุ้มค่า
อ.กำพล AACSB ใหญ่กว่า CFA และ GARP หน้าที่เป็นการให้การรับรองกับหลักสูตรต่างๆ (accredit)
แต่ถ้า CFA จะเฉพาะทางยิ่งขึ้น ซึ่ง CFA,FRM ไม่ได้การันตีว่าจะประสบความสำเร็จ
แต่จะทำให้มีโอกาสมากยิ่งขึ้น เป็นใบเบิกทางไปสู่วิชาชีพสายการเงิน
คนที่มาเข้าหลักสูตรนี้ส่วนใหญ่เป็นวิศวกรที่อยากเปลี่ยนสายอาชีพ
มีตัวอย่างบริษัทหนึ่งกำลังหาคนไปเป็น management trainee
ในรอบสุดท้ายคนสัมภาษณ์งาน 3 ใน 4 จบต่างประเทศ ซึ่งมีแค่ 1 คนจบในไทยจาก firm
แต่ได้รับเลือก เหตุผลที่ได้คือสอบ CFA level 1 ,FRM level 1 ผ่านหมดแล้ว
เพิ่งมารู้ที่หลังว่า bank มีนโยบายว่า คนที่เข้ามาหลังเป็น management trainee
ต้องสอบผ่าน cfa,frm อย่างน้อย level 1 ไม่งั้นหลุดจากโปรแกรม
หรืออย่างบริษัทที่ไปออก roadshow จำนวนคนที่สอบได้ CFA, FRM
ก็ใช้เป็นตัวที่ใช้แสดง qualification ของบุคลากร
เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้องค์กรอยากจ้างคนที่มีประกาศนียบัตรเหล่านี้
อ.กำพล ค่าเรียน FIRM เทียบกับต่างประเทศไม่แพง รวมทั้งหลักสูตรราว 4 แสนบาท เรียน 1 ปีครึ่ง
มีหนังสือตำราที่ใช้สอบ CFA,FRM ทั้งหมดเลยไม่ต้องไปหาเพิ่มเอง
และเรามีความร่วมมือกับ Indiana university ซึ่งเราส่งนักศึกษาไปเรียนทุกปี
มีทุนการศึกษาฟรีรุ่นละ 5 ทุน มีนักเรียน 25-30 คน
อ.ไพบูลย์เสริม นอกจากนี้มีทุนสอบให้ทุกคนที่เป็นนักเรียนของนิด้า สอบด้วยเงินตัวเอง แล้วมาเบิกที่นิด้าได้
อ.กำพล ไม่มีกำหนดสาขาคนที่มาสมัครหลักสูตร มีนักศึกษาที่เกษียณอายุแล้วก็มีเหมือนกัน
อัตราการรับเข้าเรียนราว 50% หลักสูตรหนึ่งไม่เกิน 30 คน
เรียนเสาร์อาทิตย์ วันธรรมดาทำงานได้
คุณอติ ตอนปริญาตรี ถ้าเราค้นพบตัวเอง สามารถสมัครสอบ CFA ได้เลย
แต่ถ้าเรียน firm ก่อนจะได้พื้นฐานที่ดี เนื้อหา CFA,FRM หากอ่านเองก็ไม่เข้าใจได้เหมือนกัน
มีศิษย์เก่าที่จบ firm ก็สอบ CFA,FRM ผ่านหลายคนและประสบความสำเร็จอาชีพการงานได้ดี
อ.ไพบูลย์ เป็นอะไรที่น่าสนใจ ว่าจะเป็นมืออาชีพการเงินต้องมี CFA
ถ้าจะเป็นด้านความเสี่ยงต้องมี FRM ส่วนอาชีพนักลงทุน อาจไม่จำเป็น
แต่ก็มีเหมือนกันที่มาเรียน FIRM เพื่อพัฒนาความรู้ในการเป็นนักลงทุน
หัวข้อที่ 2 สัมมนา หัวข้อ “วีไอมองหุ้นไทยครึ่งปีหลัง2559”
1) คุณอนุรักษ์ บุญแสวง อดีตนายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า(ประเทศไทย)
2) คุณชาย มโนภาส นายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)
3) คุณวิบูลย์ พึงประเสริฐ นักลงทุนเน้นคุณค่า
4) ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
มองทิศทางหุ้นไทยครึ่งหลังปี 59 อย่างไร?
คุณวิบูลย์
ไม่ทราบครับ สำหรับ VI ควรทำเหมือนครึ่งปีแรก
ตลาดหุ้นขึ้นๆลงๆ ไม่มีใครรู้ว่าครึ่งปีหลังจะเป็นอย่างไร
กลยุทธ์ VI ก็ทำเหมือนเดิม คือหาหุ้นที่มีคุณภาพและถือไว้
ดร.นิเวศน์
ย้อนไป 3 ปี จะมีเหตุการณ หุ้นขึ้นๆลงๆ เดี๋ยวกำไรเดี๋ยวขาดทุน
ทุกอย่างเหมือนเดิม ดัชนี กำไร เศรษฐกิจ เหมือนเดิมๆ
เศรษฐกิจชะลอ ดอกเบี้ยต่ำ ดัชนีเท่าเดิม แต่หุ้นยังยืนอยู่ได้ และมีทิศทางขึ้นด้วย
นักลงทุนก็ยังอยู่ในตลาด ซื้อขายหุ้นวันละ 4-5 หมื่นล้านเหมือนเดิม
มันถึงจุดที่ต้องทะลุขึ้นไปหรือลงกลับไปเลย ซึ่งส่วนตัวคิดว่ามันจะไม่ขึ้นไม่ลงแบบนี้ต่อไป
ในเวลานี้หุ้นก็ไม่ได้แพงเลวร้าย รวมๆราคาสมเหตุสมผล pe 22 pbv 1.8 %div 3%
เมื่อเทียบกับการลงทุนอย่างอื่นก็ใช้ได้ คนก็ไม่เข้าไม่ออก
ไม่มีนักลงทุนกลุ่มไหนที่ซื้อ หรือขายอย่างเดียว จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงรุนแรง
ดัชนีเราแกว่งอยู่บวกลบ 150 จุดนานแล้ว แต่นักลงทุนบ้านเราไม่เบื่อ
ตลาดหุ้นตัวเล็กบ้านเรามีสัดส่วน 2-3% ของ SET เท่านั้น
แต่บางช่วงซื้อขายหุ้นเยอะมาก ซึ่งหุ้นตัวเล็กคิดว่าแพงเกินไป pe 60 pbv 3 เท่ากว่า %div 1%
ครึ่งปีหลังน่าจะทรงๆ อาจมีตกวูบได้บ้าง โลกเปลี่ยนแปลงเร็ว อเมริกาจะเลือกตั้ง
บ้านเราก็จะมีเหตุการณ์เลือกตั้ง และเหตุการณ์ต่างๆที่ค้างคาในโลก
ก็มีโอกาสเกิดการลงได้ ซึ่งถ้าลงพอสมควรน่าสนใจ
คุณชาย
(แสดงรูปหยินและหยางให้ดู) ทุกสภาวะตลาดมีโอกาสเสมอ
ตลาดอาจจะดีหรือไม่ดีก็ได้ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตลาด อยู่ที่ตัวเราด้วย
เมื่อเร็วๆนี้ BREXIT หุ้นตก DJIA ลง 600 จุด FTSE ลง 4%
ถ้าเราไม่รู้อะไรเลย รู้แค่ตลาดแย่ ตัดสินใจขายหุ้นทิ้ง โดยไม่รู้รายละเอียด
รู้แค่กลัว จะทำให้พลาดโอกาส วันนี้ DJIA กลับขึ้นมาเยือน 18000 จุดแล้ว
บางทีตลาดดีมาก หุ้นเราถือไม่ไปไหน บางทีตลาดแย่ หุ้นเขาขึ้นก็มี
ขึ้นกับหุ้นที่เราเลือก ถ้าเราลงทุนใน SET index ต้องสนใจตลาด
แต่ถ้าลงทุนแบบ VI ถือหุ้นแบบ focus มันขึ้นกับหุ้นเราเป็นอย่างไร
หุ้น GlaxoSmithKline บวกสวนขึ้นมาเพราะเงินปอนด์อ่อน บริษัทส่งออกเยอะ
เหมือนสมัยต้มยำกุ้ง บ้านเราที่ค่าเงินอ่อนมาก บริษัทส่งออกไทย กำลังมโหฬาร
รูปหยินหยางคือ ในวิกฤติมีโอกาส
ปัญหาคือเรามีความรู้พอจะเห็นโอกาสหรือเปล่า เรามีความรู้ มีความพร้อมขนาดไหน
เพียงพอจะตักตวงได้ประโยชน์จากสิ่งที่เกิดขึ้นหรือเปล่า
ตลาดเป็นอย่างไรในครึ่งปีหลังไม่สำคัญเท่ากับมีความรู้แค่ไหน
ส่วนตัวมองตลาดครึ่งปีหลังเป็นบวกมากขึ้นกว่าเดิม เพราะ
1) รถคนแรกคนจะเริ่มทยอยผ่อนหมดแล้ว กำลังซื้อคนที่ผ่อนรถคันแรกก็ไม่ต้องส่งแล้ว
สมมติ ขายรถคันแรก 1 ล้านคัน ผ่อนเดือนละ 5,000 บาท จะมีกำลังซื้อกลับมา 5,000 ล้านบาทต่อเดือน
2) นักท่องเที่ยวมาเมืองไทยเยอะมาก ถ้าดูยอดนักท่องเที่ยว 2014 27 ล้าน 2016 น่าจะทะลุ 30 ล้าน
เราน่าจะชนะมาเลเซียแล้ว ฟิลิปปินส์ มีนักท่องเที่ยว 7-8 ล้านคน เชื่อว่าการท่องเที่ยวเป็นดาวเด่นของไทย
3) ตัวเลขมหภาคไทยดีมาก ดุลบัญชีเดินสะพัด เหมือนกระแสเงินสดกิจการ
ประเทศไทยติด 1 ใน 15 ประเทศของโลก ที่ current account เป็นบวก แสดงถึงสถานะความมั่นคงเงินบาท การคลัง
เงินสำรองระหว่างประเทศ ประเทศไทยอยู่ที่ 13 ของโลก
เป็นการ confirm ว่ารัฐบาลสามารถใช้จ่ายได้มากขึ้น
นอกจากนั้นจะเอา infrastructure fund กว่าแสนล้านเข้าครม. จะทำให้รัฐบาลได้เงินลงทุนเพิ่มอีก
ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยจะช่วยผลักดันหุ้นไทยครึ่งปีหลัง ไปถึงปีหน้าด้วย
คุณโจ ลูกอีสาน
พอดีพูดทีหลัง คนอื่นก็พูดไปแล้ว
ขอขยายความเพิ่มว่า ที่บอกไม่รู้ตลาดจะขึ้นหรือลง
มันไม่ขึ้น..ก็ลง แต่คิดว่า บวกลบ 300 จุด น่าจะเอาอยู่
การคาดการณ์อนาคตสั้นๆว่าเป็นอย่างไร คือเป็นผิดศีลทาง VI
เรารู้อยู่แล้วว่าคาดการณ์ไม่ได้ แต่เรารู้ว่าปัจจุบันตลาดหุ้นไทยเป็นอย่างไร
ตัวเลขอันหนึ่งคือ PE 22 เท่า ในอดีต ค่าเฉลี่ย PE 12-13 เท่า
ปีก่อน เรามีสำรองด้อยค่าของบริษัทใหญ่ค่อนข้างมาก PE จึงสูงกว่าปกติ
คิดว่าค่าที่แท้จริงน่าจะ 16-17 เท่า ซึ่งไม่สูงมาก
ถ้าคิดส่วนกลับ PE คือเป็น yield ราว 6%
ซึ่งเทียบกับดอกเบี้ย 1-2% คิดว่าค่อนข้างสมเหตุสมผลในยุคดอกเบี้ยต่ำ
ตัวสำคัญอีกตัว PBV ค่าเฉลี่ย 40 ปี คือ 2.2 ตอนนี้ 1.86 ไม่แพง ค่อนข้างถูกด้วยซ้ำ
อนาคตเราไม่รู้ แต่ปัจจุบันค่อนข้างต่ำนิดหน่อย
3 ปีที่ผ่านมาเป็น side way แต่ส่วนตัวคิดว่ามันต้องไปซักทางหนึ่ง
ถ้าบ้านเมืองเราปกติดี กองทุนต่างประเทศบางกองก็อาจจะเข้ามาซื้อได้
อีกอย่าง 3 ปีที่ผ่านมา หุ้นหลายๆตัวขึ้นเป็นเท่าหรือหลายเท่า
ดร.นิเวศน์ลงทุน set 800 ไป 1400 ขึ้นมาราวเท่าตัว แต่พอร์ตท่านโตหลายพันเท่า
ดังนั้น VI ซึ่งเราเรียนคัดของดีจากของเลว จึงควรสร้างผลตอบแทนมากกว่าตลาดได้
คุณวิบูลย์
ขยายความที่ตอบคำถามแรก คือจากประสบการณ์สมัยก่อน เราก็ลงทุนแบบ VI
แล้วก็มีการคาดการณ์ไปบ้างว่าตลาดหุ้นจะขึ้นหรือลง
ตอน subprime ตลาดลงไป 50% ก็คิดว่าน่าจะลงอีก ก็
เก็บเงินสดเยอะขึ้น ผ่านไปไม่กี่เดือนหุ้นก็ขึ้นมาก กลายเป็นเสียโอกาส
นั่นคือประสบการณ์ที่บอกว่าถ้าเราคาดเดาตลาดแล้วผิดก็จะเสียโอกาสหรือขาดทุนได้
ถ้าเราเข้าไปดูแต่ละบริษัทที่เราลงทุนเป็นอย่างไร อนาคตจะเป็นอย่างไร
แล้วลงทุนตามนั้นน่าจะดีกว่าการคาดเดาตลาด
มีปัจจัยที่จะเกิดขึ้นในแง่บวกหรือลบในครึ่งปีหลัง?
คุณชาย
ขออ้างคำพูดของบัฟเฟตต์ CNBC 15 May 2015
พิธีกรสัมภาษณ์ถามมุมมองว่าหุ้นอเมริกาขึ้นมาเยอะแล้ว เขาตอบว่า
“คิดว่าหุ้นอยู่บนขอบบนของ valuation แต่ถ้าดอกเบี้ยยังอยู่ในขาลงอีกนาน ราคานี้ถือว่าถูกมาก”
ดังนั้น ประเด็นหลักคือ ดอกเบี้ย
ถ้าเป็น VI ที่ดูหุ้นรายตัว เลือกหุ้นที่ดี แข็งแกร่งสุดยอดก็ไม่ต้องสนดอกเบี้ย
ถ้าดูแนวโน้มดอกเบี้ยโลกแทบไม่มีโอกาสจะขึ้น 10 ปีแล้วตอนนี้เหลือ 1.4%
ตลาดพันธบัตรทั้งโลกมีขนาด 170 ล้านล้านดอลลาร์ ตลาดทุนทั้งโลกมีขนาดแค่ 70 ล้านล้านดอลลาร์
คิดง่ายๆคือเป็นครึ่งหนึ่งของพันธบัตร
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดพันธบัตรหดตัวลง แต่ตลาดทุนขยายตัวขึ้น
ซึ่ง กองทุนทั่วโลกเปลี่ยนนโยบายมาเป็นหุ้นมากขึ้น เพราะไม่มีทางเลือก ผลตอบแทนพันธบัตรต่ำมาก
เหมือนหลังพิงฝา ทุกคนต้องรู้เรื่องการลงทุน ยุคฝากเงินกินดอกเบี้ยสบายๆหมดไปแล้ว
ความเสี่ยงคือ ดอกเบี้ย ไปศึกษาเพิ่มเติม พบว่า ตลาดอนุพันธ์ ทั่วโลก 600 ล้านล้านดอลลาร์
เป็น 10 เท่าของตลาดทุน 5 เท่าของตลาดพันธบัตร
Future ตาม Wikipedia มีมา 3 พันกว่าปีแล้ว ตั้งแต่สมัยบาบิโลน มีการขายฟิวเจอร์น้ำมันมาก่อน
จะบอกว่าตลาดใหญ่มาก ซึ่งสัดส่วนใหญ่คือ Interest rate swop เป็นอนุพันธ์เกี่ยวกับดอกเบี้ย
ราว 60-70% ของ อนุพันธ์ทั้งหมด
คิดว่าถ้าดอกเบี้ยปรับตัวเป็นขาขึ้นจะมีผลกับเศรษฐกิจมาก swop จะทำให้เกิดภาระกับสถาบันการเงิน
ด้วยเหตุนี้ แบงค์ชาติแต่ละประเทศต้องกดให้ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำให้ได้
ซึ่งมีโอกาสให้ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำอีกนาน
ตอนนี้คนยังไม่แน่ใจ ยังกล้าๆกลัวๆ ตลาดหุ้นที่ยังขาดคือผู้นำ ถ้ามีผู้นำ ก็จะมีคนตาม
ทำให้เงินก็ยังทนอยู่ในพันธบัตร ถ้าทุกคนทนไม่ไหว แค่แบ่ง 20% ของตลาดพันธบัตร
มาที่ตลาดทุนก็ขึ้นได้อีกมาก ซึ่งตอนนี้เราอยู่ใน diliemma(ทางเลือกไหนก็ลำบาก)
ขอยกตัวอย่าง ตัวเลขมหภาค เช่น GDP กับตลาดหุ้น ที่คนเชื่อว่า GDP ไม่ดี ตลาดหุ้นจะไม่ไป
ถ้าไปศึกษาตลาดหุ้นจีนตั้งแต่ 1990 จนถึงปี 2015 ไม่ไปไหนเลย
เพิ่งมาเริ่มปรับตัวขึ้นปี 2006 จนปี 2008 ก็ตกกลับลงมาทั้งๆที่ GDP จีนโตตลอด
ลองศึกษาตลาดหุ้นญี่ปุ่น GDP 1980-1990 โตไม่เกิน 2% ต่อปี แต่ดัชนีหุ้นทำจุดสูงสุดที่ 40000 จุด
ซึ่ง GDP เป็น Gross Domestic คือสิ่งที่ผลิตในประเทศ แต่ GNP เป็นทุกอย่างที่ผลิตโดยคนที่เกิดในประเทศ
อย่างอเมริกา GDP ไม่ค่อยโต แต่บริษัทอเมริกาโตมาก เช่น แอปเปิลขายสินค้าไปทั่วโลก
ความเกี่ยวข้องของ GDP กับตลาดหุ้นมันมีรายละเอียด ไม่สามารถฟังข่าวแล้วตัดสินได้ว่าไม่ดี
ถ้าลองศึกษาตลาดหุ้นโปแลนด์ ซึ่ง demographic คล้ายประเทศไทย กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ตลาดหุ้นโตดีมาก แต่ GDP เติบโตน้อยมาก
สิ่งที่ผลักดันในตลาดหุ้นซับซ้อน มีคนลงทุนหลายแบบ หลายความต้องการ
การจะเชื่อมโยงเรื่องต่างๆอย่าง GDP กับตลาดหุ้นแย่หรือดี มันอาจะไม่จริงเสมอไป
คุณโจลูกอีสาน
มองแคบกว่าหน่อย เศรษฐกิจไทย เครื่องยนต์ขับเคลื่อนหยุดไปหมดแล้ว
การบริโภค การลงทุน การส่งออก ที่เคยตั้งเป้าส่งออกจะโต 5% ตอนนี้อาจจะติดลบแล้ว
มีแค่ 1-2 อย่างที่ยังไปได้ การท่องเที่ยว การลงทุนภาครัฐ ซึ่งฟังจากคุณชายมา
เราไม่ได้ลงทุน infrastructure ใหญ่ๆมานานมากแล้ว
ที่จะลงทุนเกือบ 20 Project มูลค่ามหาศาลจนคนกังวลว่า สิ่งที่ขาดแคลนคือ
คนขับรถบรรทุก บ่อทราย ดังนั้นการจะขับเคลื่อนโครงการเหล่านี้จะเกิดขึ้นหรือไม่
จะเอาทรัพยากรจากไหน เกิดช้าหรือเร็ว ซึ่งปีที่แล้วก็เคยคิดว่ามันจะเกิดขึ้น
พอมาปีนี้ก็คิดว่าปีหน้าจะเกิดขึ้น คิดว่าซักวันน่าจะเกิดขึ้นได้
ถัดมา เหตุการณ์ไม่คาดฝัน ทั้งในและต่างประเทศ
เชื่อได้เลยว่า วันร้ายๆต้องมาแน่นอน ในขณะที่ตามองดาว เท้าเราอย่าลอย
ไม่ใช่มองผลตอบแทนอย่างเดียว ว่าจะได้เท่าไร
ถ้าหุ้นลงเยอะ เราเคยคิดกลยุทธ์ถอยจะทำอย่างไร
ผมคิดเสมอว่า สิ่งแย่ๆจะต้องเกิดขึ้นแน่นอน ถ้าเกิดขึ้นจะทำอย่างไร
เพราะผมรู้ตัวดีว่า ถ้ามันเกิดขึ้นก็จะสติแตกแน่นอน
ถ้าเราคิดตอนสติดีๆ เราจะรู้ว่าจะทำอย่างไร
ปัจจุบัน ไม่รู้ว่าโชคดีหรือร้ายของเรา
Internet ทำให้โลกเป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว ทำให้หลอมโลกเป็นหนึ่งเดียว
ข่าวเกิดที่ไหนเรารู้หมด ซึ่งตลาดหุ้นเป็นแหล่งรองรับอารมณ์ของทุกอย่างในโลกนี้
ดังนั้น อย่าลืมคิดเสมอว่า มันอาจจะลงได้เยอะๆ 200-300 จุดก็เป็นไปได้
ตอนนี้อาจจะอายุมากขึ้น อาจจะมองโลกแง่ร้ายมากขึ้น ถือหุ้น 60-70%
เผื่อมีเหตุการณ์ร้ายๆ จะได้มีเงินรับซื้อคนที่ตกใจขาย
อ.ไพบูลย์ เสริม คุณโจไม่ได้บอกว่าตลาดหุ้นจะตก แค่บอกให้เผื่อเอาไว้
ทุกอย่างในโลกไม่มีอะไรแน่นอน
ดร.นิเวศน์
เวลานี้คิดว่าคุณโจคล้ายๆ กันก็สัดส่วนถือเงินสดพอๆกัน
ประเด็นคือแตกต่าง จาก 20 ปีที่ผ่านมาไม่เคยถือเงินสดเลย
ตอน subprime มันตกมาเกือบครึ่งก็ไม่ได้ถือเงินเพิ่มเลย
เพราะคิดว่าหุ้นที่เราถือมันถูกเทียบกับพื้นฐานการเติบโตมันชัดเจน
ถ้าถือยาวพอมันต้องกลับมา แต่ 2 ปีที่ผ่านมาถือเงินสดเยอะขึ้นเรื่อยๆ
เพราะรู้สึกว่าราคามันพอดีๆไม่ได้ถูกแบบไม่ต้องห่วง
หุ้นดีๆราคาก็แพง หุ้นไม่แพงก็ไม่ได้ดีมาก ทำให้รู้สึกไม่มี mos เท่าไร
ถ้าหุ้นตกแรงๆก็ลงทุกตัวแม้จะหุ้นที่ดี ที่ถือเงินก็เป็นการเผื่อซื้อเวลาตก
ถ้าไม่ลงก็ยังคิดไม่ออก จะไปต่างประเทศก็ซื้อมากไม่ได้
คุณวิบูลย์
โดยส่วนใหญ่จะมอง 2 อย่าง คือ การเติบโตของบริษัท ไม่ใช่แค่ไตรมาสเดียว
จะมองไป 3-5 ปี จะเป็นอย่างไร แผนธุรกิจที่วางไว้ รายได้ที่จะได้ทำได้ไหม
และประเมินว่าถ้าทำได้ตามแผนจะเป็นอย่างไร
ถัดมาคือดูราคาว่าสิ่งที่เขาหาได้เทียบกับมูลค่ากิจการวันนี้เหมาะไหม
หน้าที่คือประเมินกิจการ ใครมองยาว 10 ปีได้ก็ยิ่งดี ถ้าราคาต่ำกว่ามูลค่าก็ลงทุนได้
ทุกวันนี้ตลาดหุ้นไทยก็ไม่ถูก ถ้าเทียบกับอดีต สมัยนั้น pe 7 pbv 1 กว่า
การหาหุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าหายากขึ้น กลุ่มที่น่าสนใจ ไม่ได้ชี้นำ
ส่วนตัวมองว่าหุ้นเกี่ยวกับสุขภาพยังเป็นทางเลือกที่ดี เพราะคนสูงวัยเยอะขึ้นเรื่อยๆ
คุณชาย
คิดว่าเป็น 3 กลุ่มที่เคยพูดไว้ คือการท่องเที่ยว เมืองไทยน่าจะมีอนาคตอีกมาก
มีเพื่อนชาวจีนหลายท่านประทับใจเมืองไทย ประวัติศาสตร์เมืองไทยเอื้อเฟื้อกับชาวจีน ไม่มีเรื่องแบ่งแยก
ประเทศจีนประชากร 1.3 พันล้านคน แต่เขาไม่มีชายหาดที่สวยงามเท่าไร
มีอยู่บ้างอย่างที่เกาะไหหลำใกล้เวียดนาม เมืองซันหยา เป็นเมืองต่างอากาศ
ซึ่งส่วนตัวไปเที่ยวมา ไม่ได้ทรายสีขาว น้ำใสแจ๋ว ไม่มีปะการัง คิดว่าเมืองไทยน่าจะไปได้อีก
สังเกตที่ CTW มีร้านอาหารไทยที่คนจีนไปกินเยอะมาก ชื่อร้านนารา วันหยุดต้องไปรอคิวอยู่ข้างหน้า
ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง คนจีนอาจมาซื้อบ้านตากอากาศ หรือมาลงทุนทำอะไร
อย่างที่สอง คิดว่าค้าปลีกในไทย หลายๆตัวขึ้นมา 20-30% เพราะ demographic เมืองไทย
กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ อายุ 40-50 ปี
มีมุมมองว่าดีกว่าค้าปลีก ทำให้มีเงินซื้ออะไรที่เป็นความงดงาม ความจรรโลงใจของชีวิตแล้ว
ซึ่งตอนอายุ 20 กว่าเป็นช่วงซื้ออะไรที่จำเป็นกับชีวิต เพราะบ้านมีแล้ว รถมีแล้ว
จึงเห็นว่าคนไทยออกไปเที่ยวเยอะ กำลังซื้อน่าจะอยู่ต่อไปได้ 10-15 ปี
ของที่เป็น lifestyle อย่างจักรยาน สมัยนี้คนสนใจเยอะ เป็นช่วงที่หา lifestyle ของตัวแล้ว
อย่างที่สาม ธุรกิจเกี่ยวกับการใช้จ่ายภาครัฐ ดอกเบี้ยในระดับต่ำจะเกิดการลงทุนมากขึ้น
โดยเฉพาะ infrastructure มันคืนทุนช้ามาก บางอย่างขาดทุนช่วงแรกๆ แต่มันจะอยู่ได้นาน
บางอย่างต้องคิด eirr คือคิดผลกระทบโดยรวมทั้งหมดโดยรวม เพราะถ้าคิด irr อย่างเดียวไม่คุ้มลงทุน
พอดอกเบี้ยต่ำช่วยให้การลงทุนต่างๆสมเหตุสมผลยิ่งขึ้น
และคิดว่ารัฐบาลกำลังได้สินค้าใหม่คือ infrastructure fund ของไทย เพราะเงินบาทไทยมีเสถียรภาพมาก
อย่างถ้ากู้เงินญี่ปุ่นดอกเบี้ย 0.5% มาซื้อ infrastructure fund เมืองไทย
ซึ่งอาจจะให้ yield 4-5% ก็คุ้มแล้ว เพราะยุโรปผลตอบแทนติดลบ
สิ่งที่หายากต่อไปคือ yield ที่สม่ำเสมอ
บริษัทไหนที่มีกระแสเงินสดดี ปันผลสม่ำเสมอ ต่อไปจะมีราคามากขึ้น
บางบริษัทคิดว่ามั่นคงกว่าธนาคารอีก พวกธนาคารไม่รู้เขาลงทุนอะไรกันบ้าง
สรุป 3 กลุ่มที่คิดว่าพอมีโอกาส ท่องเที่ยว ค้าปลีก และธุรกิจเกี่ยวกะใช้จ่ายภาครัฐ
คุณโจ
กลุ่มสุขภาพ เบบี้บูมก็ต้องการใช้บริการโรงพยาบาล ซึ่งหุ้นดีจริง แต่ PE สูงทุกตัว
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ จะมีบริษัทโรงพยาบาลที่อยู่นอกตลาดหุ้นจะเข้ามาจดทะเบียนมากขึ้น
เพราะสามารถขายได้แพง ถ้า PE ถูกๆ แทบไม่มีใครจะจดทะเบียนเข้ามา
ปัจจุบันหมอก็มีการล้นบางพื้นที่ ขาดแคลนบางพื้นที่
โรงเรียนแพทย์เพิ่มกำลังการผลิตแพทย์ค่อนข้างเยอะ
เชื่อว่าเมื่อธุรกิจที่มี margin มากๆ แต่ barrier ไม่ได้มาก
ทุนนิยมจะทำให้มีคู่แข่งมากขึ้นเรื่อยๆ
ต่อไปเบบี้บูมล้มหายตายจาก แต่เด็กที่เกิดใหม่น้อยลง อาจจะไม่ดีก็ได้ ก็ต้องระวังบ้าง
กลุ่มท่องเที่ยว – ไม่ได้เห็นด้วยว่าจะเติบโตเยอะขึ้นแค่ไหน
เพราะฐานนักท่องเที่ยวเราค่อนข้างสูง นักท่องเที่ยวทั้งโลก ประเทศไทยติด 1 ใน 10
ศักยภาพประเทศเราไม่แน่ใจว่ารองรับนักท่องเที่ยวจีนได้ไหม
นึกถึงอ่าวมาหยาถ้าสมัยก่อน มีสัตว์น้ำเดินอยู่ตามหาด สมัยนี้มีสภาพเหมือนงานวัด
ภาครัฐน่าจะเก็บเงินในการมาท่องเที่ยว มาทำนุบำรุงแหล่งท่องเที่ยว อีกอย่าง PE หุ้นก็ไม่ได้ต่ำ
กลุ่มรับเหมาและผู้ผลิตวัสดุ – น่าจะดี แต่ต้องดูราคาด้วย
หลายตัวราคาสะท้อนเยอะแล้ว ที่สำคัญปัจจัยและตัวแปรกลุ่มรับเหมามาก
บางครั้งรับงานจำนวนมาก แต่ไม่มีกำไร ไม่รู้หายไปไหนหมด
ลองคิดดูว่าถ้าต้องมาแย่งคนขับ แย่งทรายกัน อาจจะต้นทุนสูง ขาดทุนก็ได้
กลุ่มผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง ยุคตื่นทองเจ้าของเหมืองจน คนขายวัสดุรวย
วัสดุก่อสร้างอิฐหินปูนทราย น้ำหนักเยอะ ขนส่งได้ยาก
ต้องคัดตัวที่ราคาสมเหตุสมผล
ดร.นิเวศน์
สั้นๆเลือก ตัวใหญ่ high yield defensive (ปันผล 4-5%)
ขอบพระคุณอ.ไพบูลย์ อ.นิเวศน์ อ.เสน่ห์ ที่สละแรงกายแรงใจจัดสัมมนาดีๆเสมอมา
ขอบคุณแขกรับเชิญทุกท่านที่สละเวลามาแบ่งปันความรู้
คิดว่าหัวข้อ CFA,FRM ที่อ.กำพล วันนี้คงเป็นประโยชน์กับน้องๆที่กำลังสนใจเป็นมืออาชีพสายการเงิน
ส่วนตัวคิดว่ามืออาชีพสายการเงิน กับการเป็นนักลงทุนอาชีพเป็นทางเลือกที่ต่างกันมาก
ฟังอ.สมจินต์ คุณวิน คุณอติ แล้วรู้สึกชื่นชน และรู้สึกได้ถึงความตั้งใจในสายอาชีพที่ทำจริงๆ
ขอบคุณพี่โจ พี่ชาย พี่วิบูลย์ ที่มาแบ่งปันความรู้และมุมมองในการลงทุน
ได้ฟังบรรยายทีไรก็รู้สึกว่าได้รับการเปิดมุมมองเสมอๆ สัมผัสได้ความตั้งใจที่แบ่งปันอย่างเต็มที่ครับ
และขอบคุณพี่นุช พี่แป๋ม น้องเมย์ สมาคม thaivi สปอนเซอร์ ทีมงานกับผู้เกี่ยวข้องทุกท่านในการจัดงานทุกคนด้วยครับ
Moneytalk@SETครั้งต่อไป
เสาร์ 27 สิงหาคม 59 เปิดจอง เสาร์ที่ 20 สิงหาคม 59
หัวข้อ 1 สัมมนาหุ้นเด่นโค้งหลัง 59
แขกรับเชิญ ผู้บริหารจากบริษัท ilink คุณสมบัติ, kamart คุณวิวัฒน์, uac คุณธชพล, ck คุณประเสริฐ
หัวข้อ 2 เจาะเศรษฐกิจจับเมกะเทรนด์ เฟ้นกลยุทธ์ลงทุนยุคไทยแลนด์ 4.0
กรรมการผู้จัดการ kbank คุณธีระนันท์, ผู้เชี่ยวชาญด้านวางแผนการเงิน คุณวิวรรณ ,นักการเงินอาวุโส คุณอรุณ และอ.นิเวศน์
ช่วงที่1 สัมมนา หัวข้อ "CFA FRM มืออาชีพการเงิน"
โดย โครงการ FIRM, NIDA BUSINESS SCHOOL
1) ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บลจ.ทหารไทย
2) คุณวิน พรหมแพทย์ CIO บลจ. CIMB Principal
3) ศ.ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ รองอธิการบดี นิด้า
4) คุณอติ อติกุล ผช.กรรมการผู้จัดการ บมจ.หลักทรัพย์ เมแบงค์กิมเอ็ง (ประเทศไทย)
5) ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
Intro
อ.เสน่ห์ ชีวิตคนเราเต็มไปด้วยความเสี่ยง
ความเสี่ยงด้านการเงินก็เป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญ
ปัญหาคนทั่วไป มีเงินและบริหารไม่เป็น
แต่ถ้าบริหารเงินคนอื่นก็ผลกระทบใหญ่กว่า จึงต้องมีการเรียนบริหารจัดการความเสี่ยง
อ.กำพล หลักสูตร FIRM ย่อมาจาก Financial investment and risk management
ที่มาหลักสูตรคือเห็นหลายคนเรียน MBA finance แล้วต้องออกไปสอบประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ซึ่งอาชีพนี้ต้องไปดูแลเงินคนอื่น จึงอยากให้ได้คนที่มีความรู้ความสามารถจริงๆ
โดยเราไปพบหลักสูตร CFA ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก
ลูกศิษย์ที่จบ finance หลายคนทำงานไป 2-3 ปี ก็จะถูกให้สอบ CFA
และปัจจุบันความเสี่ยงสูงขึ้นจึงไปหาหลักสูตรที่เกี่ยวกับความเสี่ยงชื่อ FRM
รวมเป็ฯหลักสูตร FIRM ที่จะได้ปริญญาโทด้วยและเตรียมพร้อมไปสอบ ใบประกาศวิชาชีพ 2 อย่างนี้
โดยเอาองค์ความรู้ทั้ง CFA, FRM รวมเข้าไปในหลักสูตร
ซึ่งจะช่วยให้มีโอกาสได้งานยิ่งขึ้น และได้บุคลากรที่เป็นประโยชน์กับอุตสาหกรรม
คุณอติ สอบ CFA ได้มา 10-15 ปีแล้ว เนื้อหาของ CFA จะมีความทันสมัยในตัวเอง
ให้รู้ว่าวิธีการลงทุน และมีเครื่องมือในการลงทุนหลากหลายไม่ใช่แค่หุ้น
ถ้าเรียน level 3 จะเป็นเรื่องการจัดพอร์ตลงทุน
เนื้อหา CFA ทำให้เราเข้าใจองค์รวมในการลงทุนได้ดีขึ้น
อย่างสินค้าอนุพันธ์มีการอ้างอิงกับหุ้น ซึ่งคนที่เทรดต้องดูความเสี่ยงของตัวเองด้วย
ในแง่บริษัทหลักทรัพย์ ออก derivative warrant ก็ต้องมีวิธีบริหารจัดการความเสี่ยง
สมัย 10-15 ปีก่อน ก็มีคนรู้จัก CFA กันในตลาดอยู่แล้ว มี role model อยู่แล้ว อย่างอ.สมจินต์
คุณวิน น่าจะสอบ CFA ช่วงเดียวกับคุณอติ
ตอนเรียนที่เนเธอร์แลนด์ พี่ที่ดูแลเขาไปสอบ CFA ทำให้เรารู้ว่าอยากบริหารกองทุนต้องไปสอบ
เรียนจบกลับมาก็เลยมาสอบที่เมืองไทย
ที่ประเทศไทยมีสอบ CFA 2 รอบ เดือน มิ.ย. กับ เดือน ธ.ค.
คนสอบราว 2000 คน เป็นคนไทย 1000 คน ที่เหลือคือน้องๆเพื่อนบ้านมาสอบที่เรา
เยอะสุดคือเวียดนาม เพราะที่นั่นไม่มีศูนย์สอบ CFA
ที่ไทยสอบ CFA มาวันนี้ 20 ปีแล้ว น่าสนใจว่าคนเวียดนามมาทีหลังเรา แต่ขยันตั้งใจมาก
อ.กำพล FRM ความต้องการสอบเยอะยิ่งขึ้น และที่ Nida เป็นศูนย์สอบด้วย
เราเห็นความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง มีโอกาสทำงานกว้างมาก
จำนวนคนที่สอบเพิ่มขึ้นทุกปี เป็นหลักหลายร้อยคน
FRM มี 2 level ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีเพียง 1 level
หลัง hamburger crisis โลกมีความเสี่ยงสูงขึ้น
อ.ไพบูลย์ ถ้าใครชอบคณิตศาสตร์มีสาขาที่น่าสนใจ 2 อย่าง
FRM ที่แนะนำคืออย่างหนึ่ง และอีกอย่างคือ
คณิตศาสตร์ประกันภัย จะใช้คณิตศาสตร์มากกว่า
มีสอบใบคุณวุฒิ FSA มีจำนวนราว 8-10 level
เมืองไทยก็มีสอนที่นิด้าเหมือนกัน แต่คนละคณะกัน
ดร.สมจินต์ สอบ CFA ได้น่าจะราว 17 ปีที่แล้ว ตอนนั้นก็ดีใจมาก
รู้จัก CFA สมัยที่ไปเรียนทุนต่างประเทศ แล้วเจอเพื่อนต่างชาติแนะนำว่าควรจะสอบ CFA
ใครที่มี CFA สามารถเป็น fund manager ได้ทุกคน (ยุค 20 ปีที่แล้ว)
จึงสนใจและศึกษาดู ส่วนตัวคิดว่า CFA มีประโยชน์มาก
อ่านหนังสือเรื่อง peak เป็น science of expertise (วิทยาศาสตร์ของความเชี่ยวชาญ)
เวลาฝึกขับรถ ถ้าเราค่อยๆฝึก เราจะเก่งขึ้นเรื่อยๆ
จนขับรถไปได้ 5 ปี ความสามารถเราจะถึง จุดสูงสุด(peak)ในระดับที่คนทั่วๆไปทำได้
ในปีที่ 6-7 ขึ้นไปความสามารถจะไม่เพิ่มขึ้นเลย ยกเว้นจะไปฝึกฝนเฉพาะเจาะจงในบางเรื่อง
ในเชิงวิชาชีพก็เช่นกัน เหมือนนักกีฬาที่จะฝึกฝนไปเป็นแชมม์เปี้ยน
ต้องมี Purposeful practice ฝึกฝนอย่างมีเป้าหมายเจาะจง
สำหรับคนที่อยากทำงานด้านการเงิน CFA เป็นแหล่งที่ดีที่สุด
กระบวนการ 3 ปีในการฝึกฝน CFA จะช่วยให้เราครอบคลุมสิ่งสำคัญในการทำวิชาชีพ
หลังๆได้มีโอกาสศึกษาเรื่อง Risk management และได้ศึกษา case study ที่ใหญ่ที่สุด
คือ กรณีเลห์แมนบราเธอร์ ช่วงปี 2006-2007 ก่อนล้มเป็นยุคที่รุ่งเรืองมาก
เพราะ fed ลดดอกเบี้ยจนต่ำติดดิน คนไปเก็งกำไรในอสังหาเยอะ คนกู้เงินได้ถูก
เลห์แมน ได้ออกเครืองมือทางการเงินออกมาเยอะ เช่น cdo (collateral debt obligation)
เอาหนี้อสังหาต่างๆ มารวมกันแล้วออกเป็นหลักทรัพย์
มีการจัดชั้น มี seniority ต่างๆ คนไปเลือกความเสี่ยงได้ตามความต้องการ (เป็นระดับ A,B,C,D)
คนสนใจเยอะ แต่ขายดีเฉพาะชั้นเสี่ยงสูงกับเสี่ยงต่ำ เหลือชั้นกลางๆขายไม่ได้
จึงเอาตรงกลางมารวมกัน แล้วเอามาจัดชั้นมาขายอีกที (cdo square)
จนตอนหลังเกิดวิกฤติขึ้นมา correlation เข้าไปใกล้กันมากขึ้น
เวลาเกิดวิกฤติ ทรัพย์สินต่างๆจะลงไปด้วยกันเยอะ
พอเอาของต่างๆไปรวมกัน แล้วแบ่งเป็น ABC คนจึงมีความสับสนในความเสี่ยงของมัน
พอเศรษฐกิจไปไม่ได้แล้ว ความเสี่ยงทำให้เลห์แมนเองก็ล้ม
และเกิดสิ่งที่เรียกว่า systemic risk หรือความเสี่ยงที่เกิดจากบริษัทใหญ่ๆล้มแล้วส่งผลไปถึงในระบบ
ในทางวิชาการเราคุ้นชินกับคำว่า systematic risk คือ ปัจจัยทางมหภาคส่งผลให้แต่ละบริษัทมีความเสี่ยงด้วย
แต่เวลาบริษัทใหญ่ล้มทำให้ส่งผลไปหามหภาคและบริษัทอื่นด้วย
สิ่งที่อยากจะชี้คือ ความสามารถทางการเงินที่สร้างผลิตภัณฑ์ดีๆทำให้เกิดโอกาส
แต่ถ้ากระบวนการนั้นไม่มีการบริหารความเสี่ยงและสื่อสารความเสี่ยงที่ดี ก็เกิดความเสียหายได้
เชื่อว่าถ้าคนทำงานด้านการเงิน ถ้ามีความรู้ 2 ส่วนนี้ จะเป็นที่มีคุณภาพมาก
จากประสบการณ์จะมีเพื่อนร่วมงานหลายคนที่มี cfa,frm ก็ไม่เคยผิดหวังกับคนเหล่านี้
ที่นอกจากจะความรู้ความสามารถ คือ ความสามารถในการเรียนรู้ แล้วเอาไปประยุกต์ใช้กับงาน
ซึ่งเชื่อว่าลักษณะการเรียนรู้ของ cfa และ frm จะมีทั้ง 2 ส่วนนี้ให้
อ.นิเวศน์
ความเห็น CFA FRM เป็น ชุมชนของคน iq สูง ให้คนทั่วไปสอบไม่ผ่าน
เป็นวิทยาศาสตร์เยอะ ไม่ค่อยมีศิลปศาสตร์ หรือไสยศาสตร์ในนั้น
ถ้า iq สูงประมาณนี้ผ่านได้ ลดลงมาโอกาสผ่านระดับหนึ่ง ต่ำระดับนึงไม่ผ่าน
จริงๆแล้ว การสอบผ่าน cfa, frm จะได้แต้มต่อเยอะ
แต่คนที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุนหรือความเสี่ยง จะประกอบ 2 ส่วน
คือส่วนที่เป็นวิทยาศาสตร์ และศิลปศาสตร์
อีกส่วนคือมีไสยศาสตร์(หมายถึงโชคชะตา) นิดหน่อย เช่น เกิดมาถูกจังหวะ
ศิลปศาสตร์วัดไม่ค่อยได้ ถ้าเป็นแค่วิทยาศาสตร์อย่างเดียวไม่เพียงพอ
คนที่ประสบความสำเร็จสูงๆไม่ใช่แค่คนที่สอบได้คะแนนสูงสุด อย่างบัฟเฟตต์ และปีเตอร์ลินซ์
อ่านหนังสือเจอ เขาบอกว่า มีกิจกรรมหลายๆอย่างที่บอกว่าการประสบความสำเร็จ
ขึ้นกับฝีมือและดวง เช่น การลงทุนเป็นอะไรที่ดวงมีส่วนเยอะ
ในขณะที่การเล่นเทนนิส ดวงมีส่วนน้อย
จะสื่อว่ามีหลายกิจกรรมที่ขึ้นกับดวงหรือขึ้นกับฝีมือมาก
ถ้าเราไม่ได้จบ CFA,FRM ก็อย่าไปเสียใจ ยังมีโอกาสประสบความสำเร็จได้
อย่างไรก็ตามถ้ามี CFA,FRM ก็ดีกว่า
ดร.กำพล หลักสูตรนี้ถูกออกแบบมาเกือบ 10 ปีแล้ว แต่คิดว่าเข้ากับยุคสมัย อย่างที่อ.เสน่ห์พูดถึงไทยแลนด์ 4.0
ซึ่งเขาเน้น 4 keyword global context, collaborative, demand driven, very focus
ซึ่งหลักสูตร firm ตรงสิ่งที่เน้นทั้ง 4 อย่างเลย
1) Global context - เราใช้หลักสูตรของ CFA ซึ่งเคยใช้สโลแกนเป็น
Global passport to financial professional เป็นที่รู้จักทั่วโลก
2) Collaborative - เป็นการร่วมมือกับมหาวิทยาลัย เป็น partner ชั้นนำมีคุณภาพ
สามารถสอนตามความรู้ที่เขาต้องการได้
ซึ่งหลักสูตร firm เป็นหลักสูตรแรกที่ได้เป็น university partner แห่งแรกในไทย
GARP ออกคล้ายๆ CFP แล้ว certify ให้เป็น academic partner ซึ่ง firm ก็เป็นแห่งแรก
3) Demand driven - หลักสูตร CFA,FIRM กว่าจะได้ข้อสอบมีกระบวนการ update องค์ความรู้ทุกปี
ส่งแบบสอบถามให้บริษัทต่างๆ ถามว่าต้องการองค์ความรู้อะไรจากคนทำงาน
มีแผนหรือมีทิศทางอย่างไรที่คนทำงานต้องรู้ ไปเอาสิ่งเหล่านี้มาออกแบบหลักสูตรและข้อสอบ
4) Very focus – หลักสูตรนี้ไม่เหมือน mba ทั่วไป เน้นเฉพาะคนที่ต้องการทำงานการเงินบริหารความเสี่ยง
ซึ่งตรงองค์ประกอบครบถ้วนตาม ไทยแลนด์ 4.0
อ.กำพล ในทางวิชาการ PHD คือเป็นที่สุด แต่ถ้าเป็นสายทำงาน คิดว่า CFA น่าจะเป็นที่สุด
ซึ่งตอนนั้นก็ได้เอาอ.สมจินต์ เป็น role model น่าจะเป็นคนแรกๆที่ได้ทั้ง PHD และ CFA
และมีคุณวิน คุณอติ ที่เป็นอ.สอนรุ่นแรกๆ ทุกคนมีส่วนร่วมในการก่อตั้ง
อ.สมจินต์ อย่างที่อ.นิเวศน์บอก คิดว่า IQ คงมีส่วนบ้าง
แต่คนที่มีใจรัก และหากลยุทธ์ที่ดีในการเรียนรู้และฝึกฝน มีโอกาสประสบความสำเร็จเช่นกัน
ถ้าชอบจริงๆในสายวิชานี้ งตรงนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมาก
จะมีโอกาสได้โค้ชจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง และฝึกฝนไป
CFA พูดถึงในวิชาชีพ ไม่แช่แค่เป็นนักลงทุนเองเพื่อสำเร็จส่วนตัว
มักจะเล่าถึงเศรษฐีคนหนึ่งไปตรวจงานเจอคนงาน 3 คน ถามว่ากำลังทำอะไรอยู่
คนงานคนหนึ่งตอบ เขากำลังก่ออิฐ คนที่สองตอบ ก่อกำแพง คนที่สามตอบ สร้างพระราชวัง
จะเห็นว่า 3 คน มีความสุข และมีความตั้งใจทำผลงานไม่เหมือนกัน
คนแรกทำงานเพื่อเงิน คนที่สองทำงานให้นาย คนที่สามเขารู้ว่าเขากำลังสร้างพระราชวังให้พระราชาที่เขารัก
คนที่จะประสบความสำเร็จในวิชาชีพอะไรก็แล้วแต่
การที่เรามีใจรักและเห็นคุณค่าของงานเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
เชื่อว่าในทุกวิชาชีพจะมีพระราชวัง และพระราชาอยู่ในนั้นถ้าเราหาพบ
ในคนที่ทำงานสายการเงิน ส่วนตัวเชื่อว่าพระราชา คือคนที่ไว้ใจให้เงินเรามาลงทุน
หน้าที่คือบริหารเงินจัดการเงินให้ดีที่สุด และอย่าให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ดังนั้น คนที่กำลังมองหาเส้นทางอาชีพ การถามตัวเอง ว่าเส้นทางนี้ใช่ไหม
เส้นทางที่จะทำให้เกิดประโยชน์กับผู้ลงทุนใช่ไหม
การสอบ cfa อาจเป็นทางหนึ่งที่ทำให้เรารู้ว่า หัวใจของเราอยู่ที่ตรงนี้หรือเปล่า
คุณวิน CFA เป็นความจำเป็น อย่างการเป็นนักวิเคราะห์ หรือเป็นผู้จัดการกองทุน
ต้องมีใบอนุญาต เป็นส่วนหนึ่งของ requirement
ความจำเป็นไม่ใช่แค่ใบประกาศ แต่เป็นองค์ประกอบขององค์ความรู้
เป็นสิ่งที่คนทำงานจริงๆช่วยคิดหลักสูตรไม่ใช่แค่เชิงวิชาการ
อีกองค์ประกอบสำคัญของ CFA คือ จรรยาบรรณ
ความไว้ใจสำคัญมาก ต้องเชื่อว่า คนที่บริหารเงินต้องมีความรู้ และมีจรรยาบรรณ
ตอนอยู่ประกันสังคมไม่ได้บังคับว่าผู้จัดการกองทุนต้องมีใบอนุญาต
แต่ผมและทีมงาน ก็อยากให้เรามี standard เหมือนเขา
ก็เลยไปสอบกัน ซึ่งเราจะมีหลักแน่น และสามารถยึดหลักของเราในการบริหารจัดการ
ไม่เอาเรื่องส่วนตัวมาทำให้เกิดความเสื่อมเสีย เจ้าของเงินก็จะไว้ใจเรามากขึ้น
ไม่ใช่เป็นแค่ใบประกาศ เป็นการสร้างความเชื่อใจที่ลูกค้ามีต่อเรา
คุณอติ มีการสำรวจคนที่มี CFA ตอนนี้ทำอะไรอยู่
23% เป็น ผู้จัดการกองทุน
16% เป็นนักวิเคราะห์
7% เป็น CEO
6% เป็น risk manager
5% อื่นๆ เป็น financial advisor, relationship manger
แม้วาณิชธนกิจบ้านเราไม่จำเป็นต้องมี cfa แต่เนื้อหาจะทำให้เราประเมินมูลค่ากิจการได้
คุณอติ ความคุ้มค่าในการเรียน CFA เป็นการลงทุนในความรู้ซึ่งจะติดตัวเราไปตลอด
ถ้ามีสินค้าใหม่เข้ามาจะศึกษาได้ และเข้าใจมัน
โลกปัจจุบันต้องการ specialist ที่คนจำนวนน้อยทำได้ ผลตอบแทนมักจะสูงกว่าปกติ
ซึ่ง CFA,FRM จะทำให้เรามีทักษะเฉพาะทางได้
คุณวิน อย่างการสมัครงานที่บริษัทถ้าไม่มี CFA สมัครไม่ได้
ที่ผ่านมา อย่างน้อยต้อง level 1 ถ้าเป็นนักวิเคราห์ level 3 ถ้าจะเป็นผู้จัดการกองทุน
อาชีพบริหารกองทุนยังมีคนน้อยมาก
คนที่สอบผ่าน CFA แล้ว 400 กว่าคนเป็นคนไทย ที่เหลือร้อยกว่าคนเป็นต่างชาติที่มาทำงานเมืองไทย
เรามีเงินให้บริหารราว 10 ล้านล้านบาท ซึ่งจะมีเงินเข้ามาบริหารอีกมาก
ที่สำคัญ อาชีพนี้ให้โอกาสคนอายุน้อย ผู้จัดการกองทุนรุ่นหลังอายุน้อยกว่าสมัยก่อนลงเรื่อยๆ
หลายคนก็ประสบความสำเร็จ แล้วก็ออกจากวงการไปแล้ว ทำให้เราสร้างคนไม่ค่อยทัน
สมัยก่อนไม่มี firm ตอนนั้นก็เรียนทั้งปริญญาโท และอ่านตำราสอบ CFA ด้วย ชีวิตยากมาก
การเรียนโทจะทำให้เราได้สองเรื่องในเวลาเดียวกัน ใช้เวลาคุ้มค่า
อ.กำพล AACSB ใหญ่กว่า CFA และ GARP หน้าที่เป็นการให้การรับรองกับหลักสูตรต่างๆ (accredit)
แต่ถ้า CFA จะเฉพาะทางยิ่งขึ้น ซึ่ง CFA,FRM ไม่ได้การันตีว่าจะประสบความสำเร็จ
แต่จะทำให้มีโอกาสมากยิ่งขึ้น เป็นใบเบิกทางไปสู่วิชาชีพสายการเงิน
คนที่มาเข้าหลักสูตรนี้ส่วนใหญ่เป็นวิศวกรที่อยากเปลี่ยนสายอาชีพ
มีตัวอย่างบริษัทหนึ่งกำลังหาคนไปเป็น management trainee
ในรอบสุดท้ายคนสัมภาษณ์งาน 3 ใน 4 จบต่างประเทศ ซึ่งมีแค่ 1 คนจบในไทยจาก firm
แต่ได้รับเลือก เหตุผลที่ได้คือสอบ CFA level 1 ,FRM level 1 ผ่านหมดแล้ว
เพิ่งมารู้ที่หลังว่า bank มีนโยบายว่า คนที่เข้ามาหลังเป็น management trainee
ต้องสอบผ่าน cfa,frm อย่างน้อย level 1 ไม่งั้นหลุดจากโปรแกรม
หรืออย่างบริษัทที่ไปออก roadshow จำนวนคนที่สอบได้ CFA, FRM
ก็ใช้เป็นตัวที่ใช้แสดง qualification ของบุคลากร
เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้องค์กรอยากจ้างคนที่มีประกาศนียบัตรเหล่านี้
อ.กำพล ค่าเรียน FIRM เทียบกับต่างประเทศไม่แพง รวมทั้งหลักสูตรราว 4 แสนบาท เรียน 1 ปีครึ่ง
มีหนังสือตำราที่ใช้สอบ CFA,FRM ทั้งหมดเลยไม่ต้องไปหาเพิ่มเอง
และเรามีความร่วมมือกับ Indiana university ซึ่งเราส่งนักศึกษาไปเรียนทุกปี
มีทุนการศึกษาฟรีรุ่นละ 5 ทุน มีนักเรียน 25-30 คน
อ.ไพบูลย์เสริม นอกจากนี้มีทุนสอบให้ทุกคนที่เป็นนักเรียนของนิด้า สอบด้วยเงินตัวเอง แล้วมาเบิกที่นิด้าได้
อ.กำพล ไม่มีกำหนดสาขาคนที่มาสมัครหลักสูตร มีนักศึกษาที่เกษียณอายุแล้วก็มีเหมือนกัน
อัตราการรับเข้าเรียนราว 50% หลักสูตรหนึ่งไม่เกิน 30 คน
เรียนเสาร์อาทิตย์ วันธรรมดาทำงานได้
คุณอติ ตอนปริญาตรี ถ้าเราค้นพบตัวเอง สามารถสมัครสอบ CFA ได้เลย
แต่ถ้าเรียน firm ก่อนจะได้พื้นฐานที่ดี เนื้อหา CFA,FRM หากอ่านเองก็ไม่เข้าใจได้เหมือนกัน
มีศิษย์เก่าที่จบ firm ก็สอบ CFA,FRM ผ่านหลายคนและประสบความสำเร็จอาชีพการงานได้ดี
อ.ไพบูลย์ เป็นอะไรที่น่าสนใจ ว่าจะเป็นมืออาชีพการเงินต้องมี CFA
ถ้าจะเป็นด้านความเสี่ยงต้องมี FRM ส่วนอาชีพนักลงทุน อาจไม่จำเป็น
แต่ก็มีเหมือนกันที่มาเรียน FIRM เพื่อพัฒนาความรู้ในการเป็นนักลงทุน
หัวข้อที่ 2 สัมมนา หัวข้อ “วีไอมองหุ้นไทยครึ่งปีหลัง2559”
1) คุณอนุรักษ์ บุญแสวง อดีตนายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า(ประเทศไทย)
2) คุณชาย มโนภาส นายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)
3) คุณวิบูลย์ พึงประเสริฐ นักลงทุนเน้นคุณค่า
4) ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
มองทิศทางหุ้นไทยครึ่งหลังปี 59 อย่างไร?
คุณวิบูลย์
ไม่ทราบครับ สำหรับ VI ควรทำเหมือนครึ่งปีแรก
ตลาดหุ้นขึ้นๆลงๆ ไม่มีใครรู้ว่าครึ่งปีหลังจะเป็นอย่างไร
กลยุทธ์ VI ก็ทำเหมือนเดิม คือหาหุ้นที่มีคุณภาพและถือไว้
ดร.นิเวศน์
ย้อนไป 3 ปี จะมีเหตุการณ หุ้นขึ้นๆลงๆ เดี๋ยวกำไรเดี๋ยวขาดทุน
ทุกอย่างเหมือนเดิม ดัชนี กำไร เศรษฐกิจ เหมือนเดิมๆ
เศรษฐกิจชะลอ ดอกเบี้ยต่ำ ดัชนีเท่าเดิม แต่หุ้นยังยืนอยู่ได้ และมีทิศทางขึ้นด้วย
นักลงทุนก็ยังอยู่ในตลาด ซื้อขายหุ้นวันละ 4-5 หมื่นล้านเหมือนเดิม
มันถึงจุดที่ต้องทะลุขึ้นไปหรือลงกลับไปเลย ซึ่งส่วนตัวคิดว่ามันจะไม่ขึ้นไม่ลงแบบนี้ต่อไป
ในเวลานี้หุ้นก็ไม่ได้แพงเลวร้าย รวมๆราคาสมเหตุสมผล pe 22 pbv 1.8 %div 3%
เมื่อเทียบกับการลงทุนอย่างอื่นก็ใช้ได้ คนก็ไม่เข้าไม่ออก
ไม่มีนักลงทุนกลุ่มไหนที่ซื้อ หรือขายอย่างเดียว จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงรุนแรง
ดัชนีเราแกว่งอยู่บวกลบ 150 จุดนานแล้ว แต่นักลงทุนบ้านเราไม่เบื่อ
ตลาดหุ้นตัวเล็กบ้านเรามีสัดส่วน 2-3% ของ SET เท่านั้น
แต่บางช่วงซื้อขายหุ้นเยอะมาก ซึ่งหุ้นตัวเล็กคิดว่าแพงเกินไป pe 60 pbv 3 เท่ากว่า %div 1%
ครึ่งปีหลังน่าจะทรงๆ อาจมีตกวูบได้บ้าง โลกเปลี่ยนแปลงเร็ว อเมริกาจะเลือกตั้ง
บ้านเราก็จะมีเหตุการณ์เลือกตั้ง และเหตุการณ์ต่างๆที่ค้างคาในโลก
ก็มีโอกาสเกิดการลงได้ ซึ่งถ้าลงพอสมควรน่าสนใจ
คุณชาย
(แสดงรูปหยินและหยางให้ดู) ทุกสภาวะตลาดมีโอกาสเสมอ
ตลาดอาจจะดีหรือไม่ดีก็ได้ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตลาด อยู่ที่ตัวเราด้วย
เมื่อเร็วๆนี้ BREXIT หุ้นตก DJIA ลง 600 จุด FTSE ลง 4%
ถ้าเราไม่รู้อะไรเลย รู้แค่ตลาดแย่ ตัดสินใจขายหุ้นทิ้ง โดยไม่รู้รายละเอียด
รู้แค่กลัว จะทำให้พลาดโอกาส วันนี้ DJIA กลับขึ้นมาเยือน 18000 จุดแล้ว
บางทีตลาดดีมาก หุ้นเราถือไม่ไปไหน บางทีตลาดแย่ หุ้นเขาขึ้นก็มี
ขึ้นกับหุ้นที่เราเลือก ถ้าเราลงทุนใน SET index ต้องสนใจตลาด
แต่ถ้าลงทุนแบบ VI ถือหุ้นแบบ focus มันขึ้นกับหุ้นเราเป็นอย่างไร
หุ้น GlaxoSmithKline บวกสวนขึ้นมาเพราะเงินปอนด์อ่อน บริษัทส่งออกเยอะ
เหมือนสมัยต้มยำกุ้ง บ้านเราที่ค่าเงินอ่อนมาก บริษัทส่งออกไทย กำลังมโหฬาร
รูปหยินหยางคือ ในวิกฤติมีโอกาส
ปัญหาคือเรามีความรู้พอจะเห็นโอกาสหรือเปล่า เรามีความรู้ มีความพร้อมขนาดไหน
เพียงพอจะตักตวงได้ประโยชน์จากสิ่งที่เกิดขึ้นหรือเปล่า
ตลาดเป็นอย่างไรในครึ่งปีหลังไม่สำคัญเท่ากับมีความรู้แค่ไหน
ส่วนตัวมองตลาดครึ่งปีหลังเป็นบวกมากขึ้นกว่าเดิม เพราะ
1) รถคนแรกคนจะเริ่มทยอยผ่อนหมดแล้ว กำลังซื้อคนที่ผ่อนรถคันแรกก็ไม่ต้องส่งแล้ว
สมมติ ขายรถคันแรก 1 ล้านคัน ผ่อนเดือนละ 5,000 บาท จะมีกำลังซื้อกลับมา 5,000 ล้านบาทต่อเดือน
2) นักท่องเที่ยวมาเมืองไทยเยอะมาก ถ้าดูยอดนักท่องเที่ยว 2014 27 ล้าน 2016 น่าจะทะลุ 30 ล้าน
เราน่าจะชนะมาเลเซียแล้ว ฟิลิปปินส์ มีนักท่องเที่ยว 7-8 ล้านคน เชื่อว่าการท่องเที่ยวเป็นดาวเด่นของไทย
3) ตัวเลขมหภาคไทยดีมาก ดุลบัญชีเดินสะพัด เหมือนกระแสเงินสดกิจการ
ประเทศไทยติด 1 ใน 15 ประเทศของโลก ที่ current account เป็นบวก แสดงถึงสถานะความมั่นคงเงินบาท การคลัง
เงินสำรองระหว่างประเทศ ประเทศไทยอยู่ที่ 13 ของโลก
เป็นการ confirm ว่ารัฐบาลสามารถใช้จ่ายได้มากขึ้น
นอกจากนั้นจะเอา infrastructure fund กว่าแสนล้านเข้าครม. จะทำให้รัฐบาลได้เงินลงทุนเพิ่มอีก
ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยจะช่วยผลักดันหุ้นไทยครึ่งปีหลัง ไปถึงปีหน้าด้วย
คุณโจ ลูกอีสาน
พอดีพูดทีหลัง คนอื่นก็พูดไปแล้ว
ขอขยายความเพิ่มว่า ที่บอกไม่รู้ตลาดจะขึ้นหรือลง
มันไม่ขึ้น..ก็ลง แต่คิดว่า บวกลบ 300 จุด น่าจะเอาอยู่
การคาดการณ์อนาคตสั้นๆว่าเป็นอย่างไร คือเป็นผิดศีลทาง VI
เรารู้อยู่แล้วว่าคาดการณ์ไม่ได้ แต่เรารู้ว่าปัจจุบันตลาดหุ้นไทยเป็นอย่างไร
ตัวเลขอันหนึ่งคือ PE 22 เท่า ในอดีต ค่าเฉลี่ย PE 12-13 เท่า
ปีก่อน เรามีสำรองด้อยค่าของบริษัทใหญ่ค่อนข้างมาก PE จึงสูงกว่าปกติ
คิดว่าค่าที่แท้จริงน่าจะ 16-17 เท่า ซึ่งไม่สูงมาก
ถ้าคิดส่วนกลับ PE คือเป็น yield ราว 6%
ซึ่งเทียบกับดอกเบี้ย 1-2% คิดว่าค่อนข้างสมเหตุสมผลในยุคดอกเบี้ยต่ำ
ตัวสำคัญอีกตัว PBV ค่าเฉลี่ย 40 ปี คือ 2.2 ตอนนี้ 1.86 ไม่แพง ค่อนข้างถูกด้วยซ้ำ
อนาคตเราไม่รู้ แต่ปัจจุบันค่อนข้างต่ำนิดหน่อย
3 ปีที่ผ่านมาเป็น side way แต่ส่วนตัวคิดว่ามันต้องไปซักทางหนึ่ง
ถ้าบ้านเมืองเราปกติดี กองทุนต่างประเทศบางกองก็อาจจะเข้ามาซื้อได้
อีกอย่าง 3 ปีที่ผ่านมา หุ้นหลายๆตัวขึ้นเป็นเท่าหรือหลายเท่า
ดร.นิเวศน์ลงทุน set 800 ไป 1400 ขึ้นมาราวเท่าตัว แต่พอร์ตท่านโตหลายพันเท่า
ดังนั้น VI ซึ่งเราเรียนคัดของดีจากของเลว จึงควรสร้างผลตอบแทนมากกว่าตลาดได้
คุณวิบูลย์
ขยายความที่ตอบคำถามแรก คือจากประสบการณ์สมัยก่อน เราก็ลงทุนแบบ VI
แล้วก็มีการคาดการณ์ไปบ้างว่าตลาดหุ้นจะขึ้นหรือลง
ตอน subprime ตลาดลงไป 50% ก็คิดว่าน่าจะลงอีก ก็
เก็บเงินสดเยอะขึ้น ผ่านไปไม่กี่เดือนหุ้นก็ขึ้นมาก กลายเป็นเสียโอกาส
นั่นคือประสบการณ์ที่บอกว่าถ้าเราคาดเดาตลาดแล้วผิดก็จะเสียโอกาสหรือขาดทุนได้
ถ้าเราเข้าไปดูแต่ละบริษัทที่เราลงทุนเป็นอย่างไร อนาคตจะเป็นอย่างไร
แล้วลงทุนตามนั้นน่าจะดีกว่าการคาดเดาตลาด
มีปัจจัยที่จะเกิดขึ้นในแง่บวกหรือลบในครึ่งปีหลัง?
คุณชาย
ขออ้างคำพูดของบัฟเฟตต์ CNBC 15 May 2015
พิธีกรสัมภาษณ์ถามมุมมองว่าหุ้นอเมริกาขึ้นมาเยอะแล้ว เขาตอบว่า
“คิดว่าหุ้นอยู่บนขอบบนของ valuation แต่ถ้าดอกเบี้ยยังอยู่ในขาลงอีกนาน ราคานี้ถือว่าถูกมาก”
ดังนั้น ประเด็นหลักคือ ดอกเบี้ย
ถ้าเป็น VI ที่ดูหุ้นรายตัว เลือกหุ้นที่ดี แข็งแกร่งสุดยอดก็ไม่ต้องสนดอกเบี้ย
ถ้าดูแนวโน้มดอกเบี้ยโลกแทบไม่มีโอกาสจะขึ้น 10 ปีแล้วตอนนี้เหลือ 1.4%
ตลาดพันธบัตรทั้งโลกมีขนาด 170 ล้านล้านดอลลาร์ ตลาดทุนทั้งโลกมีขนาดแค่ 70 ล้านล้านดอลลาร์
คิดง่ายๆคือเป็นครึ่งหนึ่งของพันธบัตร
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดพันธบัตรหดตัวลง แต่ตลาดทุนขยายตัวขึ้น
ซึ่ง กองทุนทั่วโลกเปลี่ยนนโยบายมาเป็นหุ้นมากขึ้น เพราะไม่มีทางเลือก ผลตอบแทนพันธบัตรต่ำมาก
เหมือนหลังพิงฝา ทุกคนต้องรู้เรื่องการลงทุน ยุคฝากเงินกินดอกเบี้ยสบายๆหมดไปแล้ว
ความเสี่ยงคือ ดอกเบี้ย ไปศึกษาเพิ่มเติม พบว่า ตลาดอนุพันธ์ ทั่วโลก 600 ล้านล้านดอลลาร์
เป็น 10 เท่าของตลาดทุน 5 เท่าของตลาดพันธบัตร
Future ตาม Wikipedia มีมา 3 พันกว่าปีแล้ว ตั้งแต่สมัยบาบิโลน มีการขายฟิวเจอร์น้ำมันมาก่อน
จะบอกว่าตลาดใหญ่มาก ซึ่งสัดส่วนใหญ่คือ Interest rate swop เป็นอนุพันธ์เกี่ยวกับดอกเบี้ย
ราว 60-70% ของ อนุพันธ์ทั้งหมด
คิดว่าถ้าดอกเบี้ยปรับตัวเป็นขาขึ้นจะมีผลกับเศรษฐกิจมาก swop จะทำให้เกิดภาระกับสถาบันการเงิน
ด้วยเหตุนี้ แบงค์ชาติแต่ละประเทศต้องกดให้ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำให้ได้
ซึ่งมีโอกาสให้ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำอีกนาน
ตอนนี้คนยังไม่แน่ใจ ยังกล้าๆกลัวๆ ตลาดหุ้นที่ยังขาดคือผู้นำ ถ้ามีผู้นำ ก็จะมีคนตาม
ทำให้เงินก็ยังทนอยู่ในพันธบัตร ถ้าทุกคนทนไม่ไหว แค่แบ่ง 20% ของตลาดพันธบัตร
มาที่ตลาดทุนก็ขึ้นได้อีกมาก ซึ่งตอนนี้เราอยู่ใน diliemma(ทางเลือกไหนก็ลำบาก)
ขอยกตัวอย่าง ตัวเลขมหภาค เช่น GDP กับตลาดหุ้น ที่คนเชื่อว่า GDP ไม่ดี ตลาดหุ้นจะไม่ไป
ถ้าไปศึกษาตลาดหุ้นจีนตั้งแต่ 1990 จนถึงปี 2015 ไม่ไปไหนเลย
เพิ่งมาเริ่มปรับตัวขึ้นปี 2006 จนปี 2008 ก็ตกกลับลงมาทั้งๆที่ GDP จีนโตตลอด
ลองศึกษาตลาดหุ้นญี่ปุ่น GDP 1980-1990 โตไม่เกิน 2% ต่อปี แต่ดัชนีหุ้นทำจุดสูงสุดที่ 40000 จุด
ซึ่ง GDP เป็น Gross Domestic คือสิ่งที่ผลิตในประเทศ แต่ GNP เป็นทุกอย่างที่ผลิตโดยคนที่เกิดในประเทศ
อย่างอเมริกา GDP ไม่ค่อยโต แต่บริษัทอเมริกาโตมาก เช่น แอปเปิลขายสินค้าไปทั่วโลก
ความเกี่ยวข้องของ GDP กับตลาดหุ้นมันมีรายละเอียด ไม่สามารถฟังข่าวแล้วตัดสินได้ว่าไม่ดี
ถ้าลองศึกษาตลาดหุ้นโปแลนด์ ซึ่ง demographic คล้ายประเทศไทย กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ตลาดหุ้นโตดีมาก แต่ GDP เติบโตน้อยมาก
สิ่งที่ผลักดันในตลาดหุ้นซับซ้อน มีคนลงทุนหลายแบบ หลายความต้องการ
การจะเชื่อมโยงเรื่องต่างๆอย่าง GDP กับตลาดหุ้นแย่หรือดี มันอาจะไม่จริงเสมอไป
คุณโจลูกอีสาน
มองแคบกว่าหน่อย เศรษฐกิจไทย เครื่องยนต์ขับเคลื่อนหยุดไปหมดแล้ว
การบริโภค การลงทุน การส่งออก ที่เคยตั้งเป้าส่งออกจะโต 5% ตอนนี้อาจจะติดลบแล้ว
มีแค่ 1-2 อย่างที่ยังไปได้ การท่องเที่ยว การลงทุนภาครัฐ ซึ่งฟังจากคุณชายมา
เราไม่ได้ลงทุน infrastructure ใหญ่ๆมานานมากแล้ว
ที่จะลงทุนเกือบ 20 Project มูลค่ามหาศาลจนคนกังวลว่า สิ่งที่ขาดแคลนคือ
คนขับรถบรรทุก บ่อทราย ดังนั้นการจะขับเคลื่อนโครงการเหล่านี้จะเกิดขึ้นหรือไม่
จะเอาทรัพยากรจากไหน เกิดช้าหรือเร็ว ซึ่งปีที่แล้วก็เคยคิดว่ามันจะเกิดขึ้น
พอมาปีนี้ก็คิดว่าปีหน้าจะเกิดขึ้น คิดว่าซักวันน่าจะเกิดขึ้นได้
ถัดมา เหตุการณ์ไม่คาดฝัน ทั้งในและต่างประเทศ
เชื่อได้เลยว่า วันร้ายๆต้องมาแน่นอน ในขณะที่ตามองดาว เท้าเราอย่าลอย
ไม่ใช่มองผลตอบแทนอย่างเดียว ว่าจะได้เท่าไร
ถ้าหุ้นลงเยอะ เราเคยคิดกลยุทธ์ถอยจะทำอย่างไร
ผมคิดเสมอว่า สิ่งแย่ๆจะต้องเกิดขึ้นแน่นอน ถ้าเกิดขึ้นจะทำอย่างไร
เพราะผมรู้ตัวดีว่า ถ้ามันเกิดขึ้นก็จะสติแตกแน่นอน
ถ้าเราคิดตอนสติดีๆ เราจะรู้ว่าจะทำอย่างไร
ปัจจุบัน ไม่รู้ว่าโชคดีหรือร้ายของเรา
Internet ทำให้โลกเป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว ทำให้หลอมโลกเป็นหนึ่งเดียว
ข่าวเกิดที่ไหนเรารู้หมด ซึ่งตลาดหุ้นเป็นแหล่งรองรับอารมณ์ของทุกอย่างในโลกนี้
ดังนั้น อย่าลืมคิดเสมอว่า มันอาจจะลงได้เยอะๆ 200-300 จุดก็เป็นไปได้
ตอนนี้อาจจะอายุมากขึ้น อาจจะมองโลกแง่ร้ายมากขึ้น ถือหุ้น 60-70%
เผื่อมีเหตุการณ์ร้ายๆ จะได้มีเงินรับซื้อคนที่ตกใจขาย
อ.ไพบูลย์ เสริม คุณโจไม่ได้บอกว่าตลาดหุ้นจะตก แค่บอกให้เผื่อเอาไว้
ทุกอย่างในโลกไม่มีอะไรแน่นอน
ดร.นิเวศน์
เวลานี้คิดว่าคุณโจคล้ายๆ กันก็สัดส่วนถือเงินสดพอๆกัน
ประเด็นคือแตกต่าง จาก 20 ปีที่ผ่านมาไม่เคยถือเงินสดเลย
ตอน subprime มันตกมาเกือบครึ่งก็ไม่ได้ถือเงินเพิ่มเลย
เพราะคิดว่าหุ้นที่เราถือมันถูกเทียบกับพื้นฐานการเติบโตมันชัดเจน
ถ้าถือยาวพอมันต้องกลับมา แต่ 2 ปีที่ผ่านมาถือเงินสดเยอะขึ้นเรื่อยๆ
เพราะรู้สึกว่าราคามันพอดีๆไม่ได้ถูกแบบไม่ต้องห่วง
หุ้นดีๆราคาก็แพง หุ้นไม่แพงก็ไม่ได้ดีมาก ทำให้รู้สึกไม่มี mos เท่าไร
ถ้าหุ้นตกแรงๆก็ลงทุกตัวแม้จะหุ้นที่ดี ที่ถือเงินก็เป็นการเผื่อซื้อเวลาตก
ถ้าไม่ลงก็ยังคิดไม่ออก จะไปต่างประเทศก็ซื้อมากไม่ได้
คุณวิบูลย์
โดยส่วนใหญ่จะมอง 2 อย่าง คือ การเติบโตของบริษัท ไม่ใช่แค่ไตรมาสเดียว
จะมองไป 3-5 ปี จะเป็นอย่างไร แผนธุรกิจที่วางไว้ รายได้ที่จะได้ทำได้ไหม
และประเมินว่าถ้าทำได้ตามแผนจะเป็นอย่างไร
ถัดมาคือดูราคาว่าสิ่งที่เขาหาได้เทียบกับมูลค่ากิจการวันนี้เหมาะไหม
หน้าที่คือประเมินกิจการ ใครมองยาว 10 ปีได้ก็ยิ่งดี ถ้าราคาต่ำกว่ามูลค่าก็ลงทุนได้
ทุกวันนี้ตลาดหุ้นไทยก็ไม่ถูก ถ้าเทียบกับอดีต สมัยนั้น pe 7 pbv 1 กว่า
การหาหุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าหายากขึ้น กลุ่มที่น่าสนใจ ไม่ได้ชี้นำ
ส่วนตัวมองว่าหุ้นเกี่ยวกับสุขภาพยังเป็นทางเลือกที่ดี เพราะคนสูงวัยเยอะขึ้นเรื่อยๆ
คุณชาย
คิดว่าเป็น 3 กลุ่มที่เคยพูดไว้ คือการท่องเที่ยว เมืองไทยน่าจะมีอนาคตอีกมาก
มีเพื่อนชาวจีนหลายท่านประทับใจเมืองไทย ประวัติศาสตร์เมืองไทยเอื้อเฟื้อกับชาวจีน ไม่มีเรื่องแบ่งแยก
ประเทศจีนประชากร 1.3 พันล้านคน แต่เขาไม่มีชายหาดที่สวยงามเท่าไร
มีอยู่บ้างอย่างที่เกาะไหหลำใกล้เวียดนาม เมืองซันหยา เป็นเมืองต่างอากาศ
ซึ่งส่วนตัวไปเที่ยวมา ไม่ได้ทรายสีขาว น้ำใสแจ๋ว ไม่มีปะการัง คิดว่าเมืองไทยน่าจะไปได้อีก
สังเกตที่ CTW มีร้านอาหารไทยที่คนจีนไปกินเยอะมาก ชื่อร้านนารา วันหยุดต้องไปรอคิวอยู่ข้างหน้า
ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง คนจีนอาจมาซื้อบ้านตากอากาศ หรือมาลงทุนทำอะไร
อย่างที่สอง คิดว่าค้าปลีกในไทย หลายๆตัวขึ้นมา 20-30% เพราะ demographic เมืองไทย
กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ อายุ 40-50 ปี
มีมุมมองว่าดีกว่าค้าปลีก ทำให้มีเงินซื้ออะไรที่เป็นความงดงาม ความจรรโลงใจของชีวิตแล้ว
ซึ่งตอนอายุ 20 กว่าเป็นช่วงซื้ออะไรที่จำเป็นกับชีวิต เพราะบ้านมีแล้ว รถมีแล้ว
จึงเห็นว่าคนไทยออกไปเที่ยวเยอะ กำลังซื้อน่าจะอยู่ต่อไปได้ 10-15 ปี
ของที่เป็น lifestyle อย่างจักรยาน สมัยนี้คนสนใจเยอะ เป็นช่วงที่หา lifestyle ของตัวแล้ว
อย่างที่สาม ธุรกิจเกี่ยวกับการใช้จ่ายภาครัฐ ดอกเบี้ยในระดับต่ำจะเกิดการลงทุนมากขึ้น
โดยเฉพาะ infrastructure มันคืนทุนช้ามาก บางอย่างขาดทุนช่วงแรกๆ แต่มันจะอยู่ได้นาน
บางอย่างต้องคิด eirr คือคิดผลกระทบโดยรวมทั้งหมดโดยรวม เพราะถ้าคิด irr อย่างเดียวไม่คุ้มลงทุน
พอดอกเบี้ยต่ำช่วยให้การลงทุนต่างๆสมเหตุสมผลยิ่งขึ้น
และคิดว่ารัฐบาลกำลังได้สินค้าใหม่คือ infrastructure fund ของไทย เพราะเงินบาทไทยมีเสถียรภาพมาก
อย่างถ้ากู้เงินญี่ปุ่นดอกเบี้ย 0.5% มาซื้อ infrastructure fund เมืองไทย
ซึ่งอาจจะให้ yield 4-5% ก็คุ้มแล้ว เพราะยุโรปผลตอบแทนติดลบ
สิ่งที่หายากต่อไปคือ yield ที่สม่ำเสมอ
บริษัทไหนที่มีกระแสเงินสดดี ปันผลสม่ำเสมอ ต่อไปจะมีราคามากขึ้น
บางบริษัทคิดว่ามั่นคงกว่าธนาคารอีก พวกธนาคารไม่รู้เขาลงทุนอะไรกันบ้าง
สรุป 3 กลุ่มที่คิดว่าพอมีโอกาส ท่องเที่ยว ค้าปลีก และธุรกิจเกี่ยวกะใช้จ่ายภาครัฐ
คุณโจ
กลุ่มสุขภาพ เบบี้บูมก็ต้องการใช้บริการโรงพยาบาล ซึ่งหุ้นดีจริง แต่ PE สูงทุกตัว
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ จะมีบริษัทโรงพยาบาลที่อยู่นอกตลาดหุ้นจะเข้ามาจดทะเบียนมากขึ้น
เพราะสามารถขายได้แพง ถ้า PE ถูกๆ แทบไม่มีใครจะจดทะเบียนเข้ามา
ปัจจุบันหมอก็มีการล้นบางพื้นที่ ขาดแคลนบางพื้นที่
โรงเรียนแพทย์เพิ่มกำลังการผลิตแพทย์ค่อนข้างเยอะ
เชื่อว่าเมื่อธุรกิจที่มี margin มากๆ แต่ barrier ไม่ได้มาก
ทุนนิยมจะทำให้มีคู่แข่งมากขึ้นเรื่อยๆ
ต่อไปเบบี้บูมล้มหายตายจาก แต่เด็กที่เกิดใหม่น้อยลง อาจจะไม่ดีก็ได้ ก็ต้องระวังบ้าง
กลุ่มท่องเที่ยว – ไม่ได้เห็นด้วยว่าจะเติบโตเยอะขึ้นแค่ไหน
เพราะฐานนักท่องเที่ยวเราค่อนข้างสูง นักท่องเที่ยวทั้งโลก ประเทศไทยติด 1 ใน 10
ศักยภาพประเทศเราไม่แน่ใจว่ารองรับนักท่องเที่ยวจีนได้ไหม
นึกถึงอ่าวมาหยาถ้าสมัยก่อน มีสัตว์น้ำเดินอยู่ตามหาด สมัยนี้มีสภาพเหมือนงานวัด
ภาครัฐน่าจะเก็บเงินในการมาท่องเที่ยว มาทำนุบำรุงแหล่งท่องเที่ยว อีกอย่าง PE หุ้นก็ไม่ได้ต่ำ
กลุ่มรับเหมาและผู้ผลิตวัสดุ – น่าจะดี แต่ต้องดูราคาด้วย
หลายตัวราคาสะท้อนเยอะแล้ว ที่สำคัญปัจจัยและตัวแปรกลุ่มรับเหมามาก
บางครั้งรับงานจำนวนมาก แต่ไม่มีกำไร ไม่รู้หายไปไหนหมด
ลองคิดดูว่าถ้าต้องมาแย่งคนขับ แย่งทรายกัน อาจจะต้นทุนสูง ขาดทุนก็ได้
กลุ่มผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง ยุคตื่นทองเจ้าของเหมืองจน คนขายวัสดุรวย
วัสดุก่อสร้างอิฐหินปูนทราย น้ำหนักเยอะ ขนส่งได้ยาก
ต้องคัดตัวที่ราคาสมเหตุสมผล
ดร.นิเวศน์
สั้นๆเลือก ตัวใหญ่ high yield defensive (ปันผล 4-5%)
ขอบพระคุณอ.ไพบูลย์ อ.นิเวศน์ อ.เสน่ห์ ที่สละแรงกายแรงใจจัดสัมมนาดีๆเสมอมา
ขอบคุณแขกรับเชิญทุกท่านที่สละเวลามาแบ่งปันความรู้
คิดว่าหัวข้อ CFA,FRM ที่อ.กำพล วันนี้คงเป็นประโยชน์กับน้องๆที่กำลังสนใจเป็นมืออาชีพสายการเงิน
ส่วนตัวคิดว่ามืออาชีพสายการเงิน กับการเป็นนักลงทุนอาชีพเป็นทางเลือกที่ต่างกันมาก
ฟังอ.สมจินต์ คุณวิน คุณอติ แล้วรู้สึกชื่นชน และรู้สึกได้ถึงความตั้งใจในสายอาชีพที่ทำจริงๆ
ขอบคุณพี่โจ พี่ชาย พี่วิบูลย์ ที่มาแบ่งปันความรู้และมุมมองในการลงทุน
ได้ฟังบรรยายทีไรก็รู้สึกว่าได้รับการเปิดมุมมองเสมอๆ สัมผัสได้ความตั้งใจที่แบ่งปันอย่างเต็มที่ครับ
และขอบคุณพี่นุช พี่แป๋ม น้องเมย์ สมาคม thaivi สปอนเซอร์ ทีมงานกับผู้เกี่ยวข้องทุกท่านในการจัดงานทุกคนด้วยครับ
Moneytalk@SETครั้งต่อไป
เสาร์ 27 สิงหาคม 59 เปิดจอง เสาร์ที่ 20 สิงหาคม 59
หัวข้อ 1 สัมมนาหุ้นเด่นโค้งหลัง 59
แขกรับเชิญ ผู้บริหารจากบริษัท ilink คุณสมบัติ, kamart คุณวิวัฒน์, uac คุณธชพล, ck คุณประเสริฐ
หัวข้อ 2 เจาะเศรษฐกิจจับเมกะเทรนด์ เฟ้นกลยุทธ์ลงทุนยุคไทยแลนด์ 4.0
กรรมการผู้จัดการ kbank คุณธีระนันท์, ผู้เชี่ยวชาญด้านวางแผนการเงิน คุณวิวรรณ ,นักการเงินอาวุโส คุณอรุณ และอ.นิเวศน์
Go against and stay alive.