ธนาคารของ Bill Gates / คนขายของ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 25, 2016 4:53 pm
ธนาคารของ Bill Gates / โดย คนขายของ
จากการศึกษาการลงทุนของ บิล เกตส์ ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ผมสังเกตุว่าพอร์ตการลงทุนของมูลนิธิ Bill & Melinda Gates แทบไม่เคยลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคารเลย แต่เมื่อปลายปีที่แล้ว ผมแปลกใจมากที่ได้ข่าวว่า บิล เกตส์ ได้ร่วมลงทุนในสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง และ ยิ่งแปลกใจขึ้นไปอีก เมื่อได้ทราบว่าสถาบันการเงินแห่งนี้ไม่ได้อยู่ในอเมริกา แต่อยู่ในประเทศบังกลาเทศ ประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย มีประชากรราว 170 ล้านคน ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ราว 80% อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท แม้จะมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อเดือนเพียง 3,600 บาท แต่มีประชากรที่มีโทรศัพท์มือถือถึง 70 ล้านคน
“bKash” คือชื่อของธนาคารที่มูลนิธิของ บิล เกตส์ ได้ร่วมลงทุนตั้งแต่ปี 2014 ธนาคารแห่งนี้ก่อตั้งเมื่อปี 2011 โดย BRAC Bank บังกลาเทศ และ Money In Motion จากอเมริกา โดยมุ่งเน้นการให้บริการ Mobile Financial Service (MFS) แก่ผู้ที่มีรายได้น้อย บริการหลักที่มีในตอนนี้ได้แก่ การฝาก-ถอน, การโอนเงิน และ การรับชำระเงิน (Bill Payment) โดยทำรายการผ่าน “ตัวแทน” ซึ่งโดยมากเป็นร้านโชห่วย ร้านให้บริการเติมเงินมือถือ หรือ ร้านขายยา ในการฝากเงินลูกค้าจะนำ เงินสดไปให้ กับร้าน “ตัวแทน” เจ้าของร้านจะทำรายการเหมือนพนักงานเคาเตอร์ของธนาคารทั่วไปผ่าน ทางโทรศัพท์มือถือ เงินจะเข้าไปยัง “bKash Wallet” ซึ่งเป็นเหมือนกระเป๋าสตางค์อีเล็คโทรนิคของ เจ้าของบัญชี พร้อมทั้งได้รับ sms ยืนยันการทำรายการ ส่วนการชำระเงิน หรือ การโอนเงินลูกค้า สามารถทำรายการผ่านมือถือได้เอง
ในช่วง 18 เดือนแรกที่เปิดให้บริการ ธนาคารเริ่มมีฐานลูกค้าราว 2 ล้านคน และตัวเลขฐานลูกค้าได้เพิ่ม ขึ้นอย่างก้าวกระโดดเป็น 20 ล้านคน และมีร้านค้า “ตัวแทน” ที่ทำหน้าที่เหมือนสาขาของธนาคารถึง 110,000 ร้านในปี 2015 เพราะเหตุใด bKash จึงประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว? เหตุผลหลัก น่าจะเป็นเพราะว่า บริการ MFS ซึ่งเป็นการให้บริการทางการเงินที่ต้นทุนต่ำ สามารถตอบโจทย์ ประชากรส่วนใหญ่ของบังกลาเทศซึ่งมีรายได้น้อย ทั้งนี้เพราะมีการคิดค่าธรรมเนียมที่ต่ำมาก เป็นผลให้การเข้าถึงบริการธนาคารเป็นเรื่องที่ง่ายและสะดวกขึ้น แต่กระนั้นก็ตาม การแข่งขันในธุรกิจ MFS ในบังกลาเทศนั้นดุเดือดมากเพราะทางรัฐบาลได้ออกใบอนุญาติให้ถึง 28 ราย แต่เพราะเหตุใด bKash จึงสามารถสร้างส่วนแบ่งการตลาดได้มากกว่า 50%?
บทวิเคราะห์ของ Jadara Partner LLC ซึ่งเป็นบริษัทจัดการกองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในประเทศ เกิดใหม่ ได้ชี้แจงว่า bKash นั้นเป็นธนาคารที่เน้นเรื่อง MFS อย่างแท้จริง บริษัท MFS ส่วนใหญ่มักเป็นเพียงฝ่ายหรือแผนกของธนาคาร แต่ bKash ถูกตั้งออกมาเป็นบริษัทต่างหาก เพื่อให้การบริหาร และการจัดการทรัพยากรเป็นไปอย่างอิสระ และเพื่อให้ผู้บริหารโฟกัสในธุรกิจนี้อย่างจริงจัง
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รายได้ด้านค่าธรรมเนียมของธนาคารไทยได้เติบโตโดยตลอด แต่ทั้งนี้อาจเป็น เพราะ เรายังไม่ได้เห็นธนาคารประเภท “Low Cost” เกิดขึ้นในไทย จากการศึกษาค่าธรรมเนียมการโอนเงินไปยังบุคคลอื่นของ bKash พบว่าไม่มีการคิดเป็นระบบแบ่งเขตเหมือนในไทยที่มีการคิด ค่าธรรมเนียมในการโอนไปต่างจังหวัด แต่ bKash จะคิดราวๆ 2.5 บาท ต่อหนึ่งรายการ สำหรับ การโอนเงินเพื่อชำระสินค้าหรือบริการ bKash ไม่คิดค่าธรรมเนียม แม้แต่ขอ statement ก็ไม่คิดค่า ธรรมเนียม แต่ที่ bKash จะคิดค่าธรรมเนียมหนักตอนถอนเงิน โดยคิด 1.85% ของยอดเงินเพื่อเป็น ค่าธรรมเนียมให้ “ตัวแทน”
การแข่งขันทางด้าน “ต้นทุน” ในการดำเนินธุรกิจมีมาช้านาน ยิ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทอย่างสูงมากในการลดต้นทุนเพื่อให้สินค้าและบริการเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น มีหลายตัวอย่างในอดีตที่แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ปรับตัวไม่ทันต้องพ่ายแพ้ไป โดยเฉพาะในธุรกิจธนาคารซึ่งในปัจจุบันช่องทาง Mobile Banking มีการเติบโตในอัตราที่สูงมาก PwC (ประเทศไทย) เคยประเมินว่า สาขาของธนาคารที่เปิดอยู่ทั่วไป จะหายไปจากภายใน 15 ปี ดูเหมือนว่าเมื่อโลกของการเงินมารวมกับเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงใน อุตสาหกรรมนี้กำลังจะรวดเร็ว และรุนแรงอย่างที่เราคาดไม่ถึง
จากการศึกษาการลงทุนของ บิล เกตส์ ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ผมสังเกตุว่าพอร์ตการลงทุนของมูลนิธิ Bill & Melinda Gates แทบไม่เคยลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคารเลย แต่เมื่อปลายปีที่แล้ว ผมแปลกใจมากที่ได้ข่าวว่า บิล เกตส์ ได้ร่วมลงทุนในสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง และ ยิ่งแปลกใจขึ้นไปอีก เมื่อได้ทราบว่าสถาบันการเงินแห่งนี้ไม่ได้อยู่ในอเมริกา แต่อยู่ในประเทศบังกลาเทศ ประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย มีประชากรราว 170 ล้านคน ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ราว 80% อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท แม้จะมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อเดือนเพียง 3,600 บาท แต่มีประชากรที่มีโทรศัพท์มือถือถึง 70 ล้านคน
“bKash” คือชื่อของธนาคารที่มูลนิธิของ บิล เกตส์ ได้ร่วมลงทุนตั้งแต่ปี 2014 ธนาคารแห่งนี้ก่อตั้งเมื่อปี 2011 โดย BRAC Bank บังกลาเทศ และ Money In Motion จากอเมริกา โดยมุ่งเน้นการให้บริการ Mobile Financial Service (MFS) แก่ผู้ที่มีรายได้น้อย บริการหลักที่มีในตอนนี้ได้แก่ การฝาก-ถอน, การโอนเงิน และ การรับชำระเงิน (Bill Payment) โดยทำรายการผ่าน “ตัวแทน” ซึ่งโดยมากเป็นร้านโชห่วย ร้านให้บริการเติมเงินมือถือ หรือ ร้านขายยา ในการฝากเงินลูกค้าจะนำ เงินสดไปให้ กับร้าน “ตัวแทน” เจ้าของร้านจะทำรายการเหมือนพนักงานเคาเตอร์ของธนาคารทั่วไปผ่าน ทางโทรศัพท์มือถือ เงินจะเข้าไปยัง “bKash Wallet” ซึ่งเป็นเหมือนกระเป๋าสตางค์อีเล็คโทรนิคของ เจ้าของบัญชี พร้อมทั้งได้รับ sms ยืนยันการทำรายการ ส่วนการชำระเงิน หรือ การโอนเงินลูกค้า สามารถทำรายการผ่านมือถือได้เอง
ในช่วง 18 เดือนแรกที่เปิดให้บริการ ธนาคารเริ่มมีฐานลูกค้าราว 2 ล้านคน และตัวเลขฐานลูกค้าได้เพิ่ม ขึ้นอย่างก้าวกระโดดเป็น 20 ล้านคน และมีร้านค้า “ตัวแทน” ที่ทำหน้าที่เหมือนสาขาของธนาคารถึง 110,000 ร้านในปี 2015 เพราะเหตุใด bKash จึงประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว? เหตุผลหลัก น่าจะเป็นเพราะว่า บริการ MFS ซึ่งเป็นการให้บริการทางการเงินที่ต้นทุนต่ำ สามารถตอบโจทย์ ประชากรส่วนใหญ่ของบังกลาเทศซึ่งมีรายได้น้อย ทั้งนี้เพราะมีการคิดค่าธรรมเนียมที่ต่ำมาก เป็นผลให้การเข้าถึงบริการธนาคารเป็นเรื่องที่ง่ายและสะดวกขึ้น แต่กระนั้นก็ตาม การแข่งขันในธุรกิจ MFS ในบังกลาเทศนั้นดุเดือดมากเพราะทางรัฐบาลได้ออกใบอนุญาติให้ถึง 28 ราย แต่เพราะเหตุใด bKash จึงสามารถสร้างส่วนแบ่งการตลาดได้มากกว่า 50%?
บทวิเคราะห์ของ Jadara Partner LLC ซึ่งเป็นบริษัทจัดการกองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในประเทศ เกิดใหม่ ได้ชี้แจงว่า bKash นั้นเป็นธนาคารที่เน้นเรื่อง MFS อย่างแท้จริง บริษัท MFS ส่วนใหญ่มักเป็นเพียงฝ่ายหรือแผนกของธนาคาร แต่ bKash ถูกตั้งออกมาเป็นบริษัทต่างหาก เพื่อให้การบริหาร และการจัดการทรัพยากรเป็นไปอย่างอิสระ และเพื่อให้ผู้บริหารโฟกัสในธุรกิจนี้อย่างจริงจัง
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รายได้ด้านค่าธรรมเนียมของธนาคารไทยได้เติบโตโดยตลอด แต่ทั้งนี้อาจเป็น เพราะ เรายังไม่ได้เห็นธนาคารประเภท “Low Cost” เกิดขึ้นในไทย จากการศึกษาค่าธรรมเนียมการโอนเงินไปยังบุคคลอื่นของ bKash พบว่าไม่มีการคิดเป็นระบบแบ่งเขตเหมือนในไทยที่มีการคิด ค่าธรรมเนียมในการโอนไปต่างจังหวัด แต่ bKash จะคิดราวๆ 2.5 บาท ต่อหนึ่งรายการ สำหรับ การโอนเงินเพื่อชำระสินค้าหรือบริการ bKash ไม่คิดค่าธรรมเนียม แม้แต่ขอ statement ก็ไม่คิดค่า ธรรมเนียม แต่ที่ bKash จะคิดค่าธรรมเนียมหนักตอนถอนเงิน โดยคิด 1.85% ของยอดเงินเพื่อเป็น ค่าธรรมเนียมให้ “ตัวแทน”
การแข่งขันทางด้าน “ต้นทุน” ในการดำเนินธุรกิจมีมาช้านาน ยิ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทอย่างสูงมากในการลดต้นทุนเพื่อให้สินค้าและบริการเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น มีหลายตัวอย่างในอดีตที่แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ปรับตัวไม่ทันต้องพ่ายแพ้ไป โดยเฉพาะในธุรกิจธนาคารซึ่งในปัจจุบันช่องทาง Mobile Banking มีการเติบโตในอัตราที่สูงมาก PwC (ประเทศไทย) เคยประเมินว่า สาขาของธนาคารที่เปิดอยู่ทั่วไป จะหายไปจากภายใน 15 ปี ดูเหมือนว่าเมื่อโลกของการเงินมารวมกับเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงใน อุตสาหกรรมนี้กำลังจะรวดเร็ว และรุนแรงอย่างที่เราคาดไม่ถึง