หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ความเจ็บปวดและบทเรียนของบัฟเฟตต์/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 28, 2015 2:27 pm
โดย Thai VI Article

โค้ด: เลือกทั้งหมด

    ประวัติและเรื่องราวเกี่ยวกับวอเร็นบัฟเฟตต์ที่คนส่วนใหญ่ได้รับรู้นั้น  ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นเรื่องของความสำเร็จ  จรรยาบรรณทางธุรกิจ  และก็การใช้ชีวิตส่วนตัวที่ดีงาม  อุปสรรคในชีวิตของเขาเองก็ได้รับการกล่าวขวัญถึงไม่น้อยแต่ก็เป็นเรื่องของการต่อสู้และฝ่าฟันอุปสรรคจนประสบความสำเร็จอย่างงดงาม  ถ้าจะพูดว่าเขานั้นเป็น  “เทพ” ที่ไม่เคย “ด่างพร้อย” ในทุกเรื่องสำหรับคนจำนวนมากก็คงจะไม่ผิด  อย่างไรก็ตาม  คนที่ “ผ่านร้อนผ่านหนาว” มาถึง 85 ปีใน “สมรภูมิ” ที่มีการ “สู้รบ” ที่รุนแรงที่สุดแห่งหนึ่งนั่นคือตลาดหุ้นและโลกของธุรกิจนั้น  มันก็ “เป็นไปไม่ได้” ที่เขาจะไม่เคย  “เจ็บตัว” หรือ  “ทำผิด” อย่างหนักจนเขาเองต้องจดจำเป็นบทเรียนเพื่อที่จะไม่ให้มันเกิดซ้ำ  เพราะเขารู้ว่าถ้ามันเกิดขึ้นอีก  เขาอาจจะ “ตาย” หรือ  “ปางตาย” ได้  และต่อไปนี้ก็คือสิ่งที่ผมคิดว่ามันน่าจะเป็น  “ความเจ็บปวด” ที่เกิดขึ้นในชีวิตของบัฟเฟตต์และหลายเรื่องน่าจะเป็น “บทเรียน” ที่เขาคงจำขึ้นใจ

    เรื่องแรกก็คือการซื้อหุ้นครั้งแรกของเขาเมื่ออายุ 11 ขวบ ในหุ้น Cities Service ร่วมกับพี่สาวในราคาหุ้นละ 38 เหรียญเพราะเขาเห็นว่ามันถูกและมั่นใจว่าจะทำกำไรได้งดงาม   หลังจากซื้อแล้วราคาหุ้นกลับไหลลงไปถึงเกือบ 1 ใน 3 ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์  ในระหว่างนั้นพี่สาวเขาก็เฝ้าถามและ “กดดัน”เขามากแต่เขาก็ไม่ขายจนกระทั่งหุ้นปรับตัวกลับขึ้นมาเป็น 40 เหรียญซึ่งเขาก็ตัดสินใจขายไปทำกำไรได้ 2 เหรียญ อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น  หุ้น Cities ก็ปรับตัวขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึง 200 เหรียญ “บทเรียน” เรื่องนี้คงสอนให้บัฟเฟตต์กลายเป็นนักลงทุนระยะ “ยาวมาก” และไม่ขายหุ้นที่ดีมากไปเพียงเพราะกำไรที่ได้เพียงเล็กน้อย

    เรื่องที่สองเกิดขึ้นเมื่อเขาอายุ 21 ปีและเป็น “เจ้าของ” ปั๊มน้ำมันชื่อ Sinclair ที่เขาซื้อมาร่วมกับเพื่อนคนหนึ่ง  เขา “ทุ่มเท” ให้กับกิจการนี้มาก  ว่ากันว่าในช่วงวันหยุดเขาถึงกับมาเช็ดกระจกรถให้ลูกค้าที่มาเติมน้ำมัน  แต่แล้วปั๊มนี้ก็  “เจ๊ง”  เพราะปั๊มน้ำมันยักษ์ใหญ่ Texaco มาเปิดฝั่งตรงข้าม  เขาขาดทุนไป 2,000 เหรียญ จากเงินทั้งหมด 9,600 เหรียญที่เขามีอยู่ในเวลานั้นซึ่งคิดแล้วเป็นการ “ขาดทุนหนักที่สุด” คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของการลงทุนของเขา  บทเรียนเรื่องนี้คงสอนให้บัฟเฟตต์เลิกคิดบริหารกิจการเองแบบผู้ประกอบการและเน้นการลงทุนเป็นหลักซึ่ง  “เปลี่ยนชีวิตเขา” อย่างสิ้นเชิง

    เรื่องที่สามที่ทำให้เขาเจ็บปวดก็คือการเกิดเรื่อง “ฉาวโฉ่” ในบริษัทยักษ์ใหญ่ทางการเงิน Salomon Brothers  เรื่องของเรื่องก็คือ ในปี 1987 ซึ่งเกิดวิกฤติการเงิน  บัฟเฟตต์ได้เข้าไปลงทุนซื้อพันธบัตร “ขยะ” ของบริษัทเป็นเงิน 700 ล้านเหรียญ  แต่หลังจากนั้นบริษัทก็ประกาศตั้งสำรองหนี้สูญจำนวนมากซึ่งทำให้พันธบัตรที่บัฟเฟตต์ถืออยู่ราคาตกและเขาขาดทุนไปถึง 1 ใน 3  แต่ที่หนักไปกว่านั้นก็คือ  ในปี 1991 ซาโลมอนบราเดอร์ก็ถูกจับได้ว่าทำผิดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การเทรดพันธบัตรกับภาครัฐและทำให้บริษัทตกอยู่ในภาวะเกือบล้มละลายเพราะบริษัทมีหนี้ถึง 37 เท่าของเงินทุน  สุดท้ายบัฟเฟตต์ต้องเข้าไป “กู้” โดยเข้าไปรับหน้าที่เป็นประธานของบริษัท  เขาต้องเข้าไปนั่งทำงานประจำซึ่งเขาบอกว่ามัน  “ไม่สนุกเลย” แต่บริษัทก็รอดมาได้และเงินลงทุนของเขาก็ได้กำไรกลับมางดงาม  แต่วันที่เขาลาออกจากตำแหน่งเป็นวันที่เหมือน “ยกภูเขาออกจากอก”

    เรื่องที่เขา “เจ็บ” ต่อมาน่าจะเป็นเรื่องของการลงทุนในหุ้นเทสโก้  บริษัทค้าปลีกใหญ่ที่สุดของอังกฤษและอันดับ 3 ของโลกเมื่อเร็ว ๆ นี้  บัฟเฟตต์น่าจะซื้อหุ้นเทสโก้ตั้งแต่ปี 2012 และกลายเป็นหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในพอร์ทของเขา  ต่อมาเขาก็เริ่มได้ “กลิ่น” ไม่ดีในบริษัทและทยอยขายหุ้นได้กำไรมาบ้างแต่เขาไม่ได้รีบขายเร็วพอ  จนในที่สุดผลประกอบการของบริษัทก็เริ่มแย่ลงและมีการประกาศว่าบริษัทถูกจับได้โดย กลต. ของอังกฤษ ว่ารายงานกำไรผิดจากความเป็นจริง หุ้นของบริษัทตกลงมาอย่างหนัก  เหตุผลใหญ่นอกจากเรื่อง “ฉาวโฉ่”  แล้วก็คือ  ความสามารถในการแข่งขันและทำกำไรของกิจการแย่ลงไปมากเทียบกับคู่แข่ง  บัฟเฟตต์ตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมดในปี 2014 และขาดทุนไป 444 ล้านเหรียญ  นับเป็นการขาดทุนครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของเบิร์กไชร์  และน่าจะเป็นความเจ็บปวดที่ไม่มีวันลืมของบัฟเฟตต์

    เรื่องที่กล่าวมานั้นเป็นเรื่องที่ “คนอื่น” ทำเสียหายและเขา “เจ็บ”  แต่เรื่องที่ 5 นี้เป็นเรื่องที่เขาเองน่าจะ  “เจ็บปวด”  ไม่น้อยเพราะเป็นสิ่งที่เกิดกับบัฟเฟตต์เองในสมัยที่เขาเริ่ม “ดัง” แต่ยังไม่มาก  นั่นเป็นปี 1974-1976 ขณะที่บัฟเฟตต์อายุได้ 44-45 ปี  ที่เขาถูกกลต. สหรัฐจับฐาน  “ปั่นหุ้น”  เรื่องของเรื่องก็คือ  บัฟเฟตต์กำลังเข้าไปซื้อกิจการของบริษัทเล็ก ๆ  แห่งหนึ่งและเขาสัญญากับผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของบริษัทว่าราคาหุ้นจะไม่ต่ำกว่าราคาหนึ่งที่กำหนด   ดังนั้น  เขาก็เลย “ทำให้มั่นใจ” ว่าราคาหุ้น “ต่ำบาท” ตัวนี้จะไม่ตกลงมาต่ำกว่าราคาที่ตกลงไว้  เขาทำอย่างไรนั้น  คนนอกคงไม่รู้  และเรื่องราวรายละเอียดที่พูดนี้ก็อาจจะไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์  ความเข้าใจของผมก็คือ  บัฟเฟตต์ไม่ได้รับหรือปฎิเสธข้อหา  แต่ยอมจ่ายค่าปรับเป็นเงิน 115,000 เหรียญ ให้กลต. และเรื่องราวการ “ปั่นหุ้น” ก็จบลง  ผมเองคิดว่าถ้าเรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยปัจจุบันที่ “กระแส”  สังคมผ่านระบบสื่ออินเตอร์เน็ตมาแรงมาก  เรื่องนี้อาจจะ “ดูไม่จืด”กรณี “ปั่นหุ้น” นั้น  ผมคิดว่าบัฟเฟตต์คง “กังวลมาก” และมันคงเป็น “บทเรียน” สำคัญที่ทำให้เขาพูดอยู่เสมอเรื่องธรรมาภิบาล  คำพูดของเขาที่ว่า  “มันใช้เวลา 20 ปีที่จะสร้างชื่อเสียง  แต่ใช้เวลาเพียง 5 นาทีที่จะทำลายมัน”  ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากกรณีนี้ด้วย

    เรื่องที่ 6 นั้น  ผมยกให้กับเรื่อง “ส่วนตัว”  ที่น่าจะทำให้บัฟเฟตต์ “เจ็บ” เรื่องแรกก็คือ  การที่เขาถูกมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ปฎิเสธรับเข้าไปเรียนในระดับปริญญาโท  ซึ่งทำให้บัฟเฟตต์สมัครเข้าเรียนที่โคลัมเบียที่เบน เกรแฮม สอนอยู่แทน  ผมเองไม่รู้ว่าถ้าฮาร์วาร์ดรับ  บัฟเฟตต์จะเข้าไปเรียนไหม  และถ้าเป็นอย่างนั้น  เราจะรู้จักวอเร็น บัฟเฟตต์ ในวันนี้ไหม  แต่เชื่อว่าเขาก็คงจะ “เจ็บ” บ้างที่ถูกปฎิเสธ

    เรื่องที่ 7 น่าจะเป็นเรื่องที่เขาถูกปฎิเสธอีกเช่นกันจาก เบน เกรแฮม เมื่อบัฟเฟตต์ขอทำงานกับเขาหลังจากเรียนจบโดย  “ไม่คิดเงิน”  ด้วยซ้ำเนื่องจากบัฟเฟตต์อยากที่จะเรียนรู้การลงทุนด้วยการทำงานกับอาจารย์  การที่เบน เกรแฮมปฎิเสธเป็นเพราะเขาต้องการรับคนยิวที่ถูก “กีดกัน” ในสมัยนั้น  อย่างไรก็ตาม  บัฟเฟตต์เองก็พยายาม “ตื๊อ” ขอทำงาน  โดยการติดต่อพูดคุยเรื่องหุ้นและการลงทุนกับเกรแฮมในระหว่างที่กลับไปทำงานกับบริษัทโบรกเกอร์ของพ่อที่โอมาฮา  ซึ่งทำให้ในที่สุดหลังจาก 1-2 ปี  บัฟเฟตต์ก็ได้มีโอกาสทำงานกับเกรแฮมจนเกรแฮมเกษียณ

    เรื่องสุดท้ายที่น่าจะเป็นเรื่องที่ “เจ็บที่สุดในชีวิตส่วนตัว” ของบัฟเฟตต์ก็คือ  การที่เขา “แยกทาง”กับภรรยาซูซานหลังจากอยู่กันมา 26 ปี  แต่เอาเข้าจริง ๆ  แล้ว  ทั้งคู่ก็ไม่ได้หย่ากันตามกฎหมาย  ตรงกันข้าม  ซูซานเองกลับแนะนำผู้หญิงใหม่คือ Astrid Menks ให้เป็น “คนดูแล”  บัฟเฟตต์  และทั้งคู่ก็ยังออกงานสำคัญ ๆ  ด้วยกันเหมือนสามีภรรยา เวลาส่งการ์ดในวันเทศกาลสำคัญก็เซ็นต์ชื่อร่วมกันทั้งสามคน  ถ้าคนไม่ชอบก็อาจจะเรียกได้ว่า “สามคนผัวเมีย”  และเมื่อซูซานเสียชีวิต  บัฟเฟตต์ก็จดทะเบียนแต่งงานกับแอสทริดจนถึงทุกวันนี้  และนี่ก็คือพฤติกรรมที่  “ไม่ธรรมดา” ของบัฟเฟตต์ ที่หลายคนอาจจะไม่รู้
[/size]

Re: ความเจ็บปวดและบทเรียนของบัฟเฟตต์/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 28, 2015 9:19 pm
โดย vim
ขอบคุณครับ ข้อ 5 น่าสนใจมาก เพราะคล้ายๆกับเรื่องที่เกิดขึ้นในไทยเร็วๆนี้ ผมเลยไปหาข้อมูลต่อครับ เอามาโพสท์ในนี้เผื่อเป็นประโยชน์กับทุกๆคน

http://blog.wallstreetsurvivor.com/2015 ... h-the-sec/

So What Happened in 1974?

More than 40 years ago, Warren Buffett assisted in the takeover of Wesco Financial, a savings-and-loan company based in Pasadena, California. In 1972 he and his partner Charlie Munger began acquiring shares in Wesco via Blue Chip Stamps.

Wesco Financial went public in the 1950s, but by the 1970s it was having a tough time of it. Buffett had been following the company for a while and by 1972 Wesco’s share price was only about half of its book value. Book value is the value of a business as calculated from its “books” or financial statements. Very generally, a company’s book value is the difference between its total assets (property owned, anything that generates cash) and total liabilities (debts or obligations).

At the time, Wesco’s plan was to merge with another company and the heads of Berkshire were aware that Wesco was offering itself at a deep discount. Blue Chip Stamps was a trading stamps company and fully owned by Buffett’s Berkshire Hathaway. Using this company as a middleman, Buffett vacuumed up 8% of the stock for about $2 million. Soon they would up their investment to 20% in order to influence the directors of Wesco against the merger.

It didn’t work.

Enter Betty Peters, the only member of the founding family of Wesco that was interested in Buffett’s view on the deal. She met with the Oracle and was swayed. Peters was able to move the other family members of the board and the merger was called off.

This sent Wesco stock into the ground, crashing to $11 from over $18. At the same time Blue Chip was still increasing its stake in Wesco, the share rising to 25%. The shares kept falling and Berkshire, through Blue Chip, kept raising its stake until 1974 when it became a majority shareholder in the company.

That’s when the SEC came calling.

Buffett’s Investigation

The SEC, or Securities and Exchange Commission, was poking around the events that transpired over the past two years. They concluded that Buffett and Munger had deliberately broken up the Wesco merger by offering a higher price for the stock than the stock merited and then using the opportunities once the stock crashed to buy up the rest.

They were operating on the assumption that Buffett and Blue Chip had planned to take over Wesco from the very beginning, and now Buffett was in a fight to save his reputation.

The situation was complicated by the fact that Buffett had actually paid above market price once the shares had collapsed. That didn’t look good. Their reasoning: they felt slightly indebted to the management at Wesco, as they had been counselling a breakup of the merger. As Buffett said in 1975 when asked why they had over-paid, “…the general business reputation of Blue Chip would not have been as good. I think someone might have been sore about…[it’s] important how Wesco management feels about us.” Charlie Munger admitted that the details of the deal did not look good but echoed Buffett’s thoughts, remarking, “We wanted to look fair to Lou Vincenti and Betty Peters”.

The SEC lawyers seemed to sense the good character of Buffett but could not ignore the sequence of events and the subsequent entanglement. Neither could Munger and Buffett and in fact, after a while of maintaining his view of the events, Buffett confronted the prosecutor: “If you look at it your way, you’re right, there is a technical violation. If you look at it our way, there isn’t. But we weren’t out to do anything wrong. Now how do we solve it?”

อ่านตัวเต็มได้ที่ลิงค์ต้นฉบับครับ

Re: ความเจ็บปวดและบทเรียนของบัฟเฟตต์/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 30, 2015 11:11 am
โดย dr1
ขอบคุณครับ

เข้าใจว่าบทความชิ้นนี้เป็นบทความส่งท้ายปีของอาจารย์นะครับ
ผมขออนุญาต กราบสวัสดีปีใหม่อาจารย์ และขอบคุณสำหรับเมตตา และความรู้ที่อาจารย์มีให้กับชาววีไอตลอดมา
ขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรง เป็นที่พึ่งของลูกศิษย์ไปอีกนานๆ ชนะเหล่าปรมาจารย์วีไอ (อ.เกรแฮม อ.ฟิชเชอร์ อ.ชลอส อ.เทมเปิลตัน อ.บัฟเฟต์ อ.ชาร์ลี ฯลฯ ที่ตะละคนเกินเลข 8 เลข9 กันไปทั้งนั้น)นะครับ

แม้ใครหลายคนทั้งนอกในวงการ อาจมองว่าการเก็บเงินริมทางของใครหลายคน ดูเหมือนเป็นเรื่องแสบๆคันๆ(รึเปล่า?)ของใครบางคนมั้ยนะฮะ..

หลบตีนอาจารย์(ที่กระดิกอยู่)แพร็บ..