เหมือนกัน แต่ ไม่เหมือนกัน / คนขายของ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 26, 2015 10:27 pm
เหมือนกัน แต่ ไม่เหมือนกัน / โดย คนขายของ
เมื่อสิบกว่าปีก่อน มีนักลงทุนไทยหลายท่านได้เริ่มลงทุนในธุรกิจที่เรียกว่ากลุ่ม “Modern Trade” หรือ “ค้าปลีกสมัยใหม่” เช่นหุ้นของ CP7-11, BIGC และ HomePro เพราะได้ศึกษาการเติบโตของธุรกิจประเภทนี้ในสหรัฐอเมริกา และยุโรป และเห็นว่าการเติบโตในลักษณะที่เคยเกิดขึ้นในต่างแดนกำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะจับกระแสได้ถูกต้อง นักลงทุนเหล่านั้นสามารถสร้างผลกำไรในการลงทุนได้อย่างมากมาย ผ่านมาร่วมสิบปี นักลงทุนไทยหลายท่านเริ่มสนใจไปลงทุนในต่างประเทศ เมื่อมาถึง ขั้นตอนแรกที่จะเริ่มลงทุน มักเลือกหุ้นที่มีความคุ้นเคย หรือ ที่เคยประสบความสำเร็จในการลงทุนในหุ้นกลุ่มนั้นๆในไทยมาก่อน เช่น ค้าปลีก ร้านอาหาร ผู้ผลิตเครื่องดื่ม หรือ กลุ่มสื่อสาร เพราะเห็นว่า หุ้นเหล่านี้อยู่ในกระแสหลักของโลกที่ชนชั้นกลางมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น ผู้คนอาศัยอยู่ในเมืองมากขึ้น ทำให้รสนิยมในการบริโภคคล้ายคลึงกัน บทสรุปนี้จะถูกต้องหรือไม่? เราลองมาดูกรณีศึกษา ที่เกิดขึ้นจริงของหุ้นเหล่านี้ในต่างประเทศกัน
ในขณะที่หุ้น Hypermarket อย่าง BIGC Supercenter ในไทย ราคาหุ้นได้ขึ้นมาถึง 10 เท่าในรอบ สิบปีที่ผ่านมา แต่ดูเหมือนว่าหุ้น Hypermarket ที่ทำธุรกิจในจีน อย่างหุ้น Sun Art Retail Group ไม่สามารถสร้างความประทับใจให้ผู้ถือหุ้นขนาดนั้นได้ Sun Art เกิดจาการร่วมทุนของ บริษัท Groupe Auchan ค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของฝรั่งเศส กับ RT Mart ของไต้หวัน ณ สิ้นไตรมาส 3 ปีนี้บริษัทมีสาขาในจีนสูงถึง 396 สาขา มีส่วนแบ่งการตลาด 14% นับว่าเป็น Hypermarket ที่ใหญ่ที่สุดในจีน Sun Art ทำการขายหุ้นให้บุคคลทั่วไปในปี 2011 ที่ราคา 7.2 HKD ผ่านมา 4 ปี ราคาหุ้นกลับอยู่แค่ 5.66 HKD ขาดทุนไปราวๆ 20% ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่นักลงทุนควรศึกษาเวลาซื้อหุ้นต่างประเทศ นอกจากรู้เรื่องของบริษัทที่จะซื้อหุ้นแล้ว ควรศึกษาสภาวะแวดล้อมของการแข่งขันด้วย ตลาด Hypermarket ของจีนนั้นมีผู้เล่นมากมายถึง 10 บริษัท ทุกบริษัทไม่มีใครสามารถสร้างส่วนแบ่งการตลาดได้ถึง 20% ทำให้การแข่งขันสูงมาก แต่ในไทย เมื่อก่อนมีผู้เล่นสามราย ตอนนี้เหลือแค่สองราย ทำให้ระดับความเข้มข้นของการแข่งขัน ต่างกันมาก นอกจากนั้น ในตลาดจีนยังมีบริษัท China Resources Enterprise ซึ่งมีรัฐบาลจีนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ห้าง Walmart และห้าง Carrefour ร่วมแข่งขันด้วย แถมยังมีร้านค้าออนไลน์อีกเป็นจำนวนมาก จึงไม่น่าแปลกใจที่ อัตรากำไรสุทธิของ Sun Art ที่เคยสูงถึง 3.41% ในปี 2013 ได้ลดลงมาเหลือแค่ 2.8% ในไตรมาสล่าสุด ในขณะที่ตัวเลขของ BIGC อยู่ที่เกือบ 5%
ธุรกิจร้านอาหารเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่นักลงทุนไทยให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นธุรกิจรับเงินสดและไม่ต้องสร้างอาคารเองเพราะอาศัยเช่าพื้นที่ศูนย์การค้า ทำให้การคืนทุนค่อนข้างเร็ว หุ้นร้านอาหารของไทยปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากในรอบสิบปี เช่น หุ้นของร้านอาหาร S&P ปรับตัวขึ้น มาถึง 6 เท่าในระยะเวลา 10 ปี แต่ถ้าเรามาดูหุ้นร้านอาหารในประเทศญี่ปุ่น ที่เราคุ้น เคยกันดีเพราะมี สาขาในประเทศไทยอย่าง Mos Food Services เจ้าของร้าน Mos Burger ราคาปรับขึ้นมาแค่ หนึ่งเท่าในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้เพราะกิจการอาหารในประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่ ถือครองเงินสด อยู่ในปริมาณมาก ไม่ยอมนำไปลงทุนเพิ่ม การขยายงานเน้นอนุรักษ์นิยม ทำให้ ROE (อัตราส่วนผล ตอบแทนผู้ถือหุ้น) ต่ำมากๆ ผมศึกษา ROE ของหุ้นร้านอาหารในญี่ปุ่น 11 บริษัท พบว่า ROE สูงสุดทำได้แค่ 6.88% ในขณะที่ ROE ของหุ้น S&P ของไทยทำได้สูงถึงเกือบ 30%
ในตอนนี้นักลงทุนไทยสามารถลงทุนในหุ้นต่างประเทศได้อย่างสะดวกสบาย มีหลายโบรกเกอร์ให้ บริการซื้อขายหุ้นของต่างประเทศได้ แต่การลงทุนในหุ้นต่างประเทศให้ได้ผลดี นักลงทุนควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประเทศนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การเมืองการปกครอง, พฤติกรรมผู้บริโภค, วัฒนธรรมการทำธุรกิจ, ภาพรวมของอุตสาหกรรมในประเทศนั้นๆ ประกอบการตัดสินใจ การลงทุนที่เคยให้ผลตอบแทนที่ดีในไทย อาจสามารถนำไปใช้ในต่างประเทศได้ หากแต่ต้องมีการศึกษาหา ความรู้เพิ่มเติมเพื่อปรับแต่งประกอบด้วย การด่วนสรุปว่าหุ้นในกลุ่มเดียวกันต้องมีลักษณะเหมือนกัน ดังเช่นว่า หุ้นค้าปลีกในจีนควรมี PE เท่ากับหุ้นค้าปลีกในไทย หรือหุ้นค้าปลีกออนไลน์ในจีนควรมี การเติบโตเหมือนหุ้นค้าปลีกออนไลน์ของอเมริกา อาจทำความเสียหายให้แก่เงินลงทุนได้ ทั้งนี้เพราะ ถึงแม้จะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันแต่สภาวะแวดล้อมต่างกัน ดังนั้นการประเมินมูลค่าจึงควรใช้บรรทัดฐานที่ต่างกันเพื่อความถูกต้องแม่นยำของนักลงทุน
เมื่อสิบกว่าปีก่อน มีนักลงทุนไทยหลายท่านได้เริ่มลงทุนในธุรกิจที่เรียกว่ากลุ่ม “Modern Trade” หรือ “ค้าปลีกสมัยใหม่” เช่นหุ้นของ CP7-11, BIGC และ HomePro เพราะได้ศึกษาการเติบโตของธุรกิจประเภทนี้ในสหรัฐอเมริกา และยุโรป และเห็นว่าการเติบโตในลักษณะที่เคยเกิดขึ้นในต่างแดนกำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะจับกระแสได้ถูกต้อง นักลงทุนเหล่านั้นสามารถสร้างผลกำไรในการลงทุนได้อย่างมากมาย ผ่านมาร่วมสิบปี นักลงทุนไทยหลายท่านเริ่มสนใจไปลงทุนในต่างประเทศ เมื่อมาถึง ขั้นตอนแรกที่จะเริ่มลงทุน มักเลือกหุ้นที่มีความคุ้นเคย หรือ ที่เคยประสบความสำเร็จในการลงทุนในหุ้นกลุ่มนั้นๆในไทยมาก่อน เช่น ค้าปลีก ร้านอาหาร ผู้ผลิตเครื่องดื่ม หรือ กลุ่มสื่อสาร เพราะเห็นว่า หุ้นเหล่านี้อยู่ในกระแสหลักของโลกที่ชนชั้นกลางมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น ผู้คนอาศัยอยู่ในเมืองมากขึ้น ทำให้รสนิยมในการบริโภคคล้ายคลึงกัน บทสรุปนี้จะถูกต้องหรือไม่? เราลองมาดูกรณีศึกษา ที่เกิดขึ้นจริงของหุ้นเหล่านี้ในต่างประเทศกัน
ในขณะที่หุ้น Hypermarket อย่าง BIGC Supercenter ในไทย ราคาหุ้นได้ขึ้นมาถึง 10 เท่าในรอบ สิบปีที่ผ่านมา แต่ดูเหมือนว่าหุ้น Hypermarket ที่ทำธุรกิจในจีน อย่างหุ้น Sun Art Retail Group ไม่สามารถสร้างความประทับใจให้ผู้ถือหุ้นขนาดนั้นได้ Sun Art เกิดจาการร่วมทุนของ บริษัท Groupe Auchan ค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของฝรั่งเศส กับ RT Mart ของไต้หวัน ณ สิ้นไตรมาส 3 ปีนี้บริษัทมีสาขาในจีนสูงถึง 396 สาขา มีส่วนแบ่งการตลาด 14% นับว่าเป็น Hypermarket ที่ใหญ่ที่สุดในจีน Sun Art ทำการขายหุ้นให้บุคคลทั่วไปในปี 2011 ที่ราคา 7.2 HKD ผ่านมา 4 ปี ราคาหุ้นกลับอยู่แค่ 5.66 HKD ขาดทุนไปราวๆ 20% ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่นักลงทุนควรศึกษาเวลาซื้อหุ้นต่างประเทศ นอกจากรู้เรื่องของบริษัทที่จะซื้อหุ้นแล้ว ควรศึกษาสภาวะแวดล้อมของการแข่งขันด้วย ตลาด Hypermarket ของจีนนั้นมีผู้เล่นมากมายถึง 10 บริษัท ทุกบริษัทไม่มีใครสามารถสร้างส่วนแบ่งการตลาดได้ถึง 20% ทำให้การแข่งขันสูงมาก แต่ในไทย เมื่อก่อนมีผู้เล่นสามราย ตอนนี้เหลือแค่สองราย ทำให้ระดับความเข้มข้นของการแข่งขัน ต่างกันมาก นอกจากนั้น ในตลาดจีนยังมีบริษัท China Resources Enterprise ซึ่งมีรัฐบาลจีนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ห้าง Walmart และห้าง Carrefour ร่วมแข่งขันด้วย แถมยังมีร้านค้าออนไลน์อีกเป็นจำนวนมาก จึงไม่น่าแปลกใจที่ อัตรากำไรสุทธิของ Sun Art ที่เคยสูงถึง 3.41% ในปี 2013 ได้ลดลงมาเหลือแค่ 2.8% ในไตรมาสล่าสุด ในขณะที่ตัวเลขของ BIGC อยู่ที่เกือบ 5%
ธุรกิจร้านอาหารเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่นักลงทุนไทยให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นธุรกิจรับเงินสดและไม่ต้องสร้างอาคารเองเพราะอาศัยเช่าพื้นที่ศูนย์การค้า ทำให้การคืนทุนค่อนข้างเร็ว หุ้นร้านอาหารของไทยปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากในรอบสิบปี เช่น หุ้นของร้านอาหาร S&P ปรับตัวขึ้น มาถึง 6 เท่าในระยะเวลา 10 ปี แต่ถ้าเรามาดูหุ้นร้านอาหารในประเทศญี่ปุ่น ที่เราคุ้น เคยกันดีเพราะมี สาขาในประเทศไทยอย่าง Mos Food Services เจ้าของร้าน Mos Burger ราคาปรับขึ้นมาแค่ หนึ่งเท่าในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้เพราะกิจการอาหารในประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่ ถือครองเงินสด อยู่ในปริมาณมาก ไม่ยอมนำไปลงทุนเพิ่ม การขยายงานเน้นอนุรักษ์นิยม ทำให้ ROE (อัตราส่วนผล ตอบแทนผู้ถือหุ้น) ต่ำมากๆ ผมศึกษา ROE ของหุ้นร้านอาหารในญี่ปุ่น 11 บริษัท พบว่า ROE สูงสุดทำได้แค่ 6.88% ในขณะที่ ROE ของหุ้น S&P ของไทยทำได้สูงถึงเกือบ 30%
ในตอนนี้นักลงทุนไทยสามารถลงทุนในหุ้นต่างประเทศได้อย่างสะดวกสบาย มีหลายโบรกเกอร์ให้ บริการซื้อขายหุ้นของต่างประเทศได้ แต่การลงทุนในหุ้นต่างประเทศให้ได้ผลดี นักลงทุนควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประเทศนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การเมืองการปกครอง, พฤติกรรมผู้บริโภค, วัฒนธรรมการทำธุรกิจ, ภาพรวมของอุตสาหกรรมในประเทศนั้นๆ ประกอบการตัดสินใจ การลงทุนที่เคยให้ผลตอบแทนที่ดีในไทย อาจสามารถนำไปใช้ในต่างประเทศได้ หากแต่ต้องมีการศึกษาหา ความรู้เพิ่มเติมเพื่อปรับแต่งประกอบด้วย การด่วนสรุปว่าหุ้นในกลุ่มเดียวกันต้องมีลักษณะเหมือนกัน ดังเช่นว่า หุ้นค้าปลีกในจีนควรมี PE เท่ากับหุ้นค้าปลีกในไทย หรือหุ้นค้าปลีกออนไลน์ในจีนควรมี การเติบโตเหมือนหุ้นค้าปลีกออนไลน์ของอเมริกา อาจทำความเสียหายให้แก่เงินลงทุนได้ ทั้งนี้เพราะ ถึงแม้จะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันแต่สภาวะแวดล้อมต่างกัน ดังนั้นการประเมินมูลค่าจึงควรใช้บรรทัดฐานที่ต่างกันเพื่อความถูกต้องแม่นยำของนักลงทุน