บ่อยครั้ง ช่วงหลังอย่างพี่ romee ว่า แล้วที่พี่ดำกับพี่ NB คุยกัน
(เรียกพี่ทั้งหมดไว้ก่อน จะได้รู้สึกว่าเด็ก ไม่รู้ใครอายุมากกว่ากัน 5555 ... แต่เอาว่าเคารพในความเป็นอาวุโสด้าน VI ละกัน ผมเด็กกว่าชัวร์ๆ จนป่านนี้แล้ว ยังไม่แน่ใจเลย ว่าจะเรียกตัวเอง ว่ามีความเป็น VI ในตัวได้สักกี่ %) "สื่อ" ด้านหุ้นจำนวนมาก ที่มีเบื้องหลัง มีคนในมุมมืดมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ... ในการ "ทำราคา" ก็พัฒนาการปล่อยข่าวตามกระแส ระยะแรก พอ VI เริ่มบูม ก็เกาะไปกับกระแส VI และกระแสต่อมา turnaround ก็เล่นข่าว หวังดักปลาซิวปลาสร้อย บ่อยครั้งออกข่าวเพื่อหวังหลอกคนมาติดกับระยะสั้น turnaround ปลอม กลายเป็น turn-a-low
แทนที่จะ "กลับ" กลายเป็น "หลับ" ยาว
ขนาดบางกิจการ มองว่าฟื้น แต่ถ้าเราไม่ "อ่านขาด" แล้วเข้าไปยุ่งเกี่ยว เราคิดว่า "ฟื้นไข้" แล้ว แต่จริงๆ ยังมี "เชื้อหลบใน" เข้าใจผิด ว่าให้ยาแรงปราบเอาอยู่แล้ว แต่จริงๆ เชื้อที่เหลืออยู่ ยังไม่แสดงอาการวันนี้ อาจแย่ภายหลัง
ผมว่าที่พี่ปีเตอร์ (ไม่รู้เรื่องกับสาวบิ๊กไบค์ไปถึงไหนแล้ว

) ยกคำพูดมา "Turnaround mostly never turn" เป็นคำเตือนได้ดีไม่ให้ไว้วางใจมากๆ ถ้าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการแบบนี้ เพราะมีหุ้นจำนวนมากเป็นเช่นนั้น
แทนที่จะเป็นหุ้น "กลับตัว" กลายเป็น หุ้น "เจ็บตัว"
แต่มันก็มี "ของจริง" อย่างพี่ romee ยกตัวอย่างมา มันมีหุ้นกลับตัวจริง
ผมในฐานะที่เคยเข้าไปลงทุน ในหุ้นกลับตัวอยู่บ้าง แล้วตอนหัดเป็น VI ทารกมือใหม่อยู่ด้วย (แต่เก่ามาจากการเล่นรอบ เล่นสะเปะสะปะ) มีทั้งกลายเป็นหุ้นเจ็บตัว ทั้งเจอหุ้นกลับตัวจริง แล้วกลายเป็นหุ้นเด้ง ช่วงนั้น ผมปรับพอร์ต จากเคยได้ 2-3 เท่า เอามาทบต้นซ้ำกลายเป็น 6 เท่านับจากหลังวิกฤติรอบล่าสุด ใน 2 ปีหลัง port จากหุ้น growth มาจัดเพิ่มสัดส่วนหุ้น turn around 2-3 กิจการ (แต่อีกเหตุ เพราะฟลุ๊กตลาดขาขึ้นมาผสมโรงด้วย ไม่ใช่ฝีมือ)
แต่ตอนหลังถอยจากหุ้นประเภทนี้ละ เพราะมีสำเร็จ แต่ก็มีที่้ล้มเหลวด้วยเช่นกัน ทำให้ลดลงเหลือ 5 เท่า รู้ตัวเองว่ายังต้องหาความรู้เพิ่มอีกมาก ยิ่งอ่านมาก ยิ่งรู้ว่าไอ้ที่เ้ราหลงตัวเองไปนั้น เรารู้นิดเดียวเทียบกับรุ่นพี่ๆ
รวบรวมที่เคยศึกษามาเล่า
วิธี "play safe" ของผมในฐานะที่เป็นมือใหม่ VI ขอเรียกว่า ผมเข้าไป "engage stage 2"
จากการแบ่งช่วงการเปลี่ยนแปลงหรือ 3 stages เองมั่วๆ ง่ายๆ ไม่ซับซ้อนดังนี้
Stage 1 Distressing to improving
กิจการที่เคยย่ำแย่ มีแนวโน้มว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง มีกิจกรรมภายใน ที่เริ่มคึกคัก
อย่างที่พี่ NB กับพี่ romee พูดเหมือนกัน ตรงที่ "วิวัฒนาการแบบเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ เช่น เปลี่ยนผู้บริหาร เปลี่ยนธุรกิจใหม่"
ช่วงนี้แหละครับ อันตรายสำหรับมือใหม่ ถ้าเราไม่รู้จริง หลงผิดนึกว่าเป็น "หุบผาสวรรค์" มันก็เหมือนเดินไปลง "เหวนรก" บ่อยครั้ง ยิ่งซื้อ ก็ยิ่งทรุด
แต่ถ้าเป็นของจริง อย่างที่พี่ๆ หลายท่าน ใน Thai VI เคยสร้างตำนานกันมาแล้ว กลายเป็น "หุ้นหลายเด้ง" เพราะราคาหุ้นที่ได้มา มันทรุดอยู่แบบถูกกว่า book คือเห็น PBV ต่ำมากๆ แต่ PE มักหาค่าไม่ได้ เพราะ E ติดลบ ("หาค่าไม่ได้" ตัวเลข PE ติดลบจึงเป็น N/A เหตุที่เขาไม่คิดค่ากัน เพราะว่า E ติดลบคือขาดทุน จึงหมายถึงไม่ทราบชะตากรรม ว่ากี่ปีคุ้ม ได้คืนทุน P ที่ซื้อไป จึงถือว่าไม่มีความหมายอันใด)
แต่ว่าคนที่จะเล่นหุ้น turn around จำนวนมาก ได้ยินได้ฟัง มักมองเห็น ตอนเขาประสบผลสำเร็จแล้ว แต่ขณะที่หุ้นยังปรับปรุงผลประกอบการไม่เสร็จจริง คนที่ต้องผ่านแรงเสียดทานมากมาย ว่าจะผ่าน stage นี้ไปได้จริงหรือไม่ คนที่เคยสำเร็จในหุ้นกลับตัวบางตัว ก็มีล้มเหลวบ้างด้วยเช่นกัน
ดังนั้น Stage 1 ขนาดมือเก๋า ยังแย่กว่าจะผ่านมาได้ เป็นอันตรายสำหรับมือใหม่ บางกิจการอาจกลับตัวภายหลังจริง แต่พอ "อ่านไม่ขาด" หรือ "ซื้อตามเซียน" พอซื้อไปใจวอกแวก เพราะความ "ไม่รู้จริง" พอถือไป ทนเห็นการขาดทุนระยะเวลานานๆ ไม่ได้ อาจทิ้งกลางคัน ขาดทุนเป็นตัวเลขสูงมากๆ
เพราะต้องอ่านได้ 1. เป็นการปรับปรุงภายในของจริง ไม่ใช่หลอกๆ ออกข่าวล่อเม่า 2. เป็นของจริงแล้ว จากนั้น implement ไป ต้องทำ "สำเร็จ" จริงด้วย
จึงถือเป็นจุดตาย "ความเสี่ยง 2 ชั้น" สำหรับมือใหม่ แต่ "มือเก๋า" เจอข้อ 2 ไป ถ้าไม่สำเร็จ จะรออะไรอยู่... รู้ว่ารถกำลังจะวิ่งไปลงเหวก็ถอยน่ะสิ
Stage 2 Turning around
ตัวเลขที่เห็น กิจการบางตัว อาจยังติดลบอยู่นิดๆ บางตัวเริ่มเป็นบวก อย่างที่เราเห็น PE สูงเว่อร์ เป็นเพราะตัวหาร E มันน้อย
อย่างเช่น P 5 บาท แต่ EPS เพิ่งมาพ้นจากลบ 0.01 บาท PE ที่คิดได้ จึงเป็น 5/0.01 = 500 เท่า
ไตรมาสถัดไป PE จะลดลงอย่างฮวบฮาบ เพราะผลประกอบการเริ่มกลับมา แต่ราคายังไม่เพิ่มตามมากนัก เพราะกำไร แต่ก็ยังต่ำยังดูไม่น่าไว้ใจ เช่น P/E = 5.3/0.05 = 106
จึงมีคนกล่าวว่า หุ้นประเภทนี้ ซื้อตอน PE แพง ไปขาย PE ถูก เพราะไตรมาสถัดไปจะดูปกติขึ้นเรื่อยๆ
จุดนี้แหละครับ ที่ผมบอก ว่ามือใหม่เริ่มดูว่าเข้าได้ เพราะมันสะท้อนออกมาทางผลประกอบการแล้ว กระแสเงินสดประเมินออกมาแล้วไม่ต้องส่ายหน้า สภาพคล่องไม่บีบคอน่าหวาดเสียวแต่หายใจคล่อง ซึ่งก็เหมือนการอ่านผลประกอบการกิจการทั่วไป จะเข้าต่อเมื่อแน่ใจ
แต่ต้องยอมรับ ตามความสามารถของเรา ว่าการ "ลดความเสี่ยง" ลงได้มากมายเช่นนี้ ก็คือไม่สามารถได้ "ผลตอบแทนสูง" ได้มัลติเด้งอย่างพี่ๆ เขา เขาทำ high risk ก็ high return เรายอม lower มันลงมา อยู่ในระดับที่เรายอมรับได้ ตามของเขตความรู้แต่ละคน การซื้อเข้าไป แบบไม่รู้ อ่านไม่ออกคือความเสี่ยง (อย่างปูบัฟฟ์บอก ไม่ซื้อหุ้นที่ไม่รู้จัก ไปซื้อหุ้นที่รู้ ประเมินได้ เหมือนเราโดดข้าม แทนที่
อาจทำ watchlist ไว้ เมื่ออยู่ในระดับที่มั่นใจว่ามันน่าไว้่ใจแล้ว ค่อยเข้าไป
Stage 3 Growing (and then ...?)
เมื่อสินค้าใหม่ ธุรกิจใหม่ หรือ business model ใหม่
อันนี้ขึ้นกับแต่ละกิจการ หลายตัวกลายเป็นหุ้น growth หลังจาก turn around บางกิจการฟื้นตัวมาแล้ว ดูเหมือนว่าจะ growth แต่ก็ใช่ว่าจะ growth ได้ตลอด ต้องคอยติดตามผลประกอบการอย่างสม่ำเสมอ
มีข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ ไปอ่านเพิ่มหาความรู้:
- มีศัพท์เฉพาะของฝรั่ง เรียกหุ้นที่เคยเป็นดาวเด่น แต่ต่อมาประสบความล้มเหลว แต่อนาคตจะกลับมาได้หรือไม่ ก็แล้วแต่ เรียว่า fallen angels หรือนางฟ้าตกสวรรค์ เข้าไปรับไม่ดูตาม้าตาเรือ อาจเจอ falling knives
-มีบางกิจการที่อาจย่ำแย่ชั่วคราว ขอยกบทความจาก blog และจาก VI สายดำ เรื่อง "หุ้นแมวป่วย" ที่ "ดร. kabu" แห่ง thavi ของเรานี่เองว่าไว้
https://kabuvi.wordpress.com/2012/02/06 ... %E0%B8%A2/
โค้ด: เลือกทั้งหมด
หุ้นแมวป่วย
February 6, 2012 by kabuvi 19 Comments
หลายๆครั้งผมพบว่ามีหลายๆบริษัทในตลาดที่อยู่ในสภาพคล้ายแมวป่วย คือ ผลประกอบการติดลบต่อเนื่อง ราคาหุ้นก็เนิบๆ ไม่ขึ้นลงมากนัก แม้ว่าผลประกอบการล่าสุดจะออกมาขาดทุนมากซักแค่ไหน (ส่วนใหญ่จะขาดทุน) ราคาก็ไม่ค่อยลงไปอีกซักเท่าไหร่ วอลุ่มเทรดต่อวันก็ค่อนข้างน้อย เหมือนกับรอคอยวันลาโลกใบน้อยใบนี้ ซึ่งแม้ว่าสถานการณ์อันน่าเศร้านี้จะนำมาซึ่งความผิดหวังของผู้ถือหุ้น ทั้งที่เพิ่งหัดถือหรือถือมาเป็นเวลานานแล้วก็ตาม ในจำนวนหุ้นแมวป่วยเหล่านี้ มีบางตัวที่สามารถกลับมาหายและแข็งแรงเป็นปกติ (ในระยะสั้น บางตัวก็แข็งแรงเกินกว่าปกติ) เนื่องจากได้รับยารักษาหรือแรงกระตุ้นบางประการจากปัจจัยทั้งภายใน และภายนอก ยารักษาที่ผมมักจะเห็นว่าใช้การได้ดีคือ การเปลี่ยนผู้บริหาร การเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจ และการเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้น
1. การเปลี่ยนผู้บริหาร
บางบริษัทเมื่อเปลี่ยนผู้บริหารแล้วสามารถลดต้นทุนหรือค่าใช่จ่ายที่ไม่จำเป็น ขายสินทรัพย์บางอย่าง ส่งผลให้บริษัทแสดงกำไรให้ตลาดเห็นได้ ยิ่งถ้าผู้บริหารท่านนั้นเคยบริหารบริษัทอื่นในตลาดแล้วประสบความสำเร็จ นายตลาดยิ่งให้ความสนใจให้ราคาที่สูงขึ้นพร้อมเพิ่มคะแนนความคาดหวังให้ด้วย จากแมวป่วยก็เริ่มกลับมาแข็งแรง ที่เคยเห็นก็มีหุ้นธนาคารที่ได้มือดีจากธนาคารรวงข้าวไปเมื่อประมาณ 3 ปีก่อน หรือล่าสุดก็มีบริษัทที่ทำรับเหมา ซึ่งผู้บริหารเป็นคนเดียวกันกับหุ้นค้าปลีกขายอุปกรณ์ก่อสร้างเจ้าพ่อแถบอีกสาน โดยหลังจากที่ผู้บริหารท่านใหม่เข้ามาบริหารได้เพียง ปีเศษก็โชว์กำไรให้กับนักลงทุนได้
2. การเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจ
หลายบริษัทที่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางธุรกิจแล้วสามารถฟื้นขึ้นมาจากสภาพแมวป่วยด้วย ไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่ทำเกี่ยวกับถ่านหิน หรือที่ล่าสุด ได้แก่บริษัทซึ่งเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจมาเน้นขายเครื่องสำอางค์ ผมลองศึกษาเพิ่มเติมดู พบว่าบริษัทเริ่มปรับโครงสร้างธุรกิจอย่างจริงจังตั้งแต่ช่วงกลางปี 2553 โดยแรกๆเป็นการขายส่งโดยนำเข้าเครื่องสำอางค์หลักๆ มาจากประเทศเกาหลี จนถึงปลายปี 2553 บริษัทเริ่มเน้นทำแบรนด์มากขึ้นโดย ขาย Franchise เข้าไปลุยในกลุ่มค้าปลีกเต็มโต และเมื่อทุกอย่างเป็นรูปเป็นร่างชัดเจน ช่วงกลางปี 2554 บริษัทเปลี่ยนชื่อจากหนูดีเป็นหนูเค รวมทั้งผู้บริหารเข้าซื้อหุ้นตัวเองอย่างบ้าคลั่ง ถ้าใครที่ติดตามหุ้นเมวป่วยตัวนี้แล้วซื้อในช่วงนั้น ณ เวลานี้จะทำกำไรได้ประมาณ 10 เท่าหรือ 1,000% !!! จังหวะที่เหมาะเจาะของการเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจ การทำการตลาดที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งบังเอิญที่นายตลาดของเมืองไทยชมชอบหุ้นค้าปลีกซะเหลือเกิน ทำให้แมวที่เคยป่วยตัวนี้ ทำกำไรให้ผู้ถือหุ้นมหาศาล
3. การเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้น
การเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้น มีได้ตั้งแต่เปลี่ยนเพื่อความอยู่รอด คือการปรับโครงสร้างหนี้โดยการแปลงหนี้เป็นทุน เช่นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสแตนเลสที่เพิ่งมีข่าวไป หรือที่เปลี่ยนแบบเห็นชอบทั้งสองฝ่ายเช่นบริษัทที่ทำโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่ถือโอกาสเข้าข้างหลังบริษัทชื่อเหล็ก (นามสมมติ) โดยได้ประโยชน์จากขาดทุนสะสมที่อุตส่าห์สั่งสมมาเป็นเวลานาน เพื่อนำไปใช้ในการลดภาษี ถ้าการเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นเป็นไปในลักษณะที่ผู้ถือหุ้นใหม่ช่วยส่งเสริมการดำเนินธุรกิจ หรือช่วยลดต้นทุน ท้ายที่สุดบริษัทก็สามารถแสดงกำไรออกมาให้นายตลาดเห็น
—
ปัจจุบันนี้ผมก็คอยติดตามหุ้นแมวป่วยอยู่หลายตัว บางตัวก็เข้าขั้นโคม่า โดยพยายามสังเกตเมื่อมีข่าวเกี่ยวกับโอกาสในการเปลี่ยนผู้บริหาร การเปลี่ยนโครงสร้างทางธุรกิจ หรือโครงสร้างผู้ถือหุ้น บางครั้งงบการเงินก็สามารถบอกเราได้คร่าวๆว่าบริษัทกำลังคิดจะทำอะไรอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่กำลังจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางธุรกิจ ทั้งนี้ทั้งนั้นใช่ว่าทุกๆบริษัทจะสามารถพลิกจากสภาพแมวป่วยมาแข็งแรงง่ายๆด้วยปัจจัยดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยดังกล่าวก็มีโอกาสที่จะนำไปสู่โอกาสในการลงทุนซึ่งบางครั้งก็สร้างผลตอบแทนให้กับคนที่ขยันติดตามได้ไม่น้อยทีเดียว
- นอกจากนี้ ยังมีกิจการที่ผลประกอบการตกลงไป ซึ่งถือกันว่าเป็นวัฎจักร เพราะมันจะตกๆ ขึ้นๆ วนเวียนไปมา "หุ้นวัฎจักร" ฝรั่งเรียกว่า "cyclical stock" ตัวอย่างเช่น หุ้นเรืออย่าง TTA PSL RCL มีอยู่ช่วงหนึ่ง เมื่อก่อนวิกฤติล่าสุด ราคาพุ่งขึ้นมาหลายเท่า ซึ่งก็มาจากผลประกอบการจริง ลองดูย้อนหลังต่อไปนี้ click ที่ 10Year ด้วยนะครับ
http://www.bloomberg.com/research/stock ... ker=TTA:TB
- ที่คล้ายๆ cyclical stock คือ commodity หรือสินค้าโภคภัณฑ์ ที่คนขาย ไม่สามารถควบคุมราคาเองได้ และบริหารการทำมาหา margin ให้ตัวเองได้ยากลำบาก
ราคาของสินค้า เกิดจากกลไก demand-supply ของตลาด
หลายกิจการ supply หด เพราะสภาพที่เอื้ออำนวยการผลิตแย่ แต่ demand ในตลาดโลกคงที่หรือเพิ่มสูง ผลคือราคา product ของกิจการเพิ่ม แต่ในบางช่วงก็ตรงกันข้าม ทำคนถือหุ้นออกอาการ
ตัวอย่าง หุ้นยาง TRUBB STA ไปดูย้อนหลัง ช่วง 2011 แล้วไปศึกษา ว่าราคามันพุ่งแบบนี้เพราะอะไร
http://www.bloomberg.com/research/stock ... ker=STA:TB
- ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ หุ้นที่มักจะตกไประนาว คือหุ้นกลุ่มการเงิน หุ้นอสังหา และยานยนต์
กลุ่มการเงินคงไม่ต้องอธิบายมาก เพราะเป็นเรื่องโดยตรง
แต่อสังหานั้น เป็นผลต่อเนื่อง เพราะกู้เงินมาลงทุน แล้วคนหยุดซื้อ
ยานยนต์ กำลังซื้อคนเริ่มหด
เมื่อเศรษฐกิจกลับมา หุ้นเหล่านี้ จะเรียกว่า turn around ก็เป็นได้ เพราะชัดเจน ที่ตอบสนองเร็ว และจำนวนมากกลายเป็น "หุ้นหลายเด้ง" คือหุ้นอสังหา เพราะก่อนเศรษฐกิจแย่ อาจมีหลายกิจการมีโครงการทำไว้ แต่พอกำลังซื้อหด กลายเป็น backlog ค้างไว้
พอกำลังซื้อกลับมา ก็กลับมาเฟื่องฟู
อันนี้ ที่ผมเคยรวบรวมไว้เป็นตัวอย่าง หลังวิกฤติใหม่ๆ 2011 เคย post คุยกันในกระทู้ทีนึง หากระทู้ไม่เจอ
แต่ต้องออกตัว ว่าตอนนั้นเขียนข้างล่างว่า "หลัก VI" อาจไม่ใช่หลักจริงๆ ตอนนั้นยังรู้น้อย คิดว่ามันใช่
เอาเป็นว่า แค่ดูตัวอย่าง ว่าวิกฤติ มันทำให้คนตระหนกมากเกินจริง เราอาจหาวิกฤติในโอกาสได้ แต่ต้องศึกษาลงไปจริง เราจะค่อยๆ เรียนรู้ไปเอง ว่าที่เห็นเป็นโอกาสจริง หรือโอกาสเทียม
ไฟล์ excel
!Sample of Stocks for 'Opportunity in Crisis'_shared.rar
แต่ทั้งหลายทั้งปวง ขอเตือนใจเอาไว้ เวลาไปอ่านข้อมูลเหล่านั้น
สำหรับมือใหม่ เรามักโฟกัสไปที่ราคาอยบ่างเดียว (ผมก็เคยเป็นแบบนั้นอยู่นานด้วยครับ ไม่ต้องปิดบัง) ...แต่ถ้าเรามาแนว "คุณค่า" เราต้องค่อยๆ ศึกษาจนเป็นนิสัยว่ามันมีที่มาอย่างไร และมันอาจเป็นอย่างไรต่อไป อย่าดูเฉพาะ "ราคา" นะครับ
ตอนนี้ ถ้าเรานึกถึงเรื่องนี้แล้ว จากที่เราเคยมักรู้สึกว่า "พื้นฐาน" เป็นแค่คำพูดเท่ๆ แต่พอคิดดู ลงไปดูข้อมูลให้ลึก ว่าคนที่ซื้อหุ้นรอ turnaround มั่นใจไปซื้อได้ราคาถูก คิดว่าแค่ซบเซา แค่สลบ
แต่อาจตายไม่ฟื้นกลับมา ระหว่างมันอยู่ในช่วงเหตุการณ์วิกฤติของตัวเอง หรือของเศรษฐกิจมหภาคได้ เพราะมันแย่จริงๆ
ลงไปศึกษาดูตัวเลขพื้นฐานที่มา ว่าพวกราคามันขึ้นมันลงมาแบบข้างบนนี้ได้ เพราะที่มันเป็นไปเช่นนั้น มันมีเหตุอะไรของมัน ถ้าลงชั่วคราว ต้องยังแกร่งอยู่ ถ้ากิจการที่แย่แล้วปรับปรุง มีกิจกรรมเกิดขึ้นจริง และวัีดค่าได้จริง ถ้าไม่มีข้อมูลรองรับ ซื้อหุ้นไป ก็ไม่ต่างอะไรกับการรอถูกรางวัล มีโอกาสถูกเจ้ามือกินมากกว่า
- ของดีเอาไว้ท้ายสุด แล้วขอแนะนำ ที่รุ่นพี่สอนกันไว้ ลองไปอ่านกระทู้ตำนานในห้องคุณค่าที่รุ่นพี่อย่างพี่หมอสามัญชนและท่านอื่นๆ คุยกันรับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?t=20791 Investing in Cyclical Stocks
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?t=41860 ทำไมตอนนั้นผมซื้อยานยนต์