อคติ - หงส์ดำ - ธรรมะ - กับการลงทุนแนว VI
โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 02, 2015 5:32 pm
สวัสดีเพื่อนๆพี่ๆชาว VI ทุกคนครับ วันนี้ผมมีบทความหนึ่งมาฝาก เป็นบทความแรกที่ผมเขียนขึ้นเอง ผมเชื่อว่าก่อนหน้านี้ก็อาจจะเคยมีบทความคล้ายๆกันนี้มาแล้ว แต่จุดประสงค์ที่ผมนำมาเผยแพร่ในทีนี้เพราะคิดว่าอาจจะเกิดประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย และไม่มีจุดประสงค์ในการโจมตีใครหรือแนวคิดใดๆทั้งสิ้น แต่เป็นการเสนอความคิดส่วนตัว ในลักษณะที่พยายามมองอย่างเป็นกลาง และพยายามมองในมุมกลับ ในแนวทาง VI ที่เป็นที่เชื่อถือดูบ้าง หากบทความนี้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ไม่ว่าจะทางใดก็ตาม ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย และยินดีน้อมรับคำติชมและคำวิจารณ์ รวมถึงความเห็นต่างทั้งปวงครับ
--------------------------------------------------------
อคติ - หงส์ดำ - ธรรมะ - กับการลงทุนแนว VI
--------------------------------------------------------
ผมเริ่มเขียนบทความนี้ เนื่องมาจากผมสังเกตว่าในช่วงเวลาหลายเดือนที่ผ่านมาซึ่งตลาดเข้าสู่ช่วงขาลง นักลงทุนทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ ต่างออกมาแสดงความคิดเห็นต่างๆ รวมทั้งสังเกตถึงความเป็นไปที่เกิดขึ้นในบรรดานักลงทุนใกล้ตัว เช่น ในกลุ่มไลน์ หรือการพูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องหลายๆคน มีการพูดถึงเรื่องความกังวลว่าตลาดจะลงต่อเนื่อง และคิดว่าการถือเงินสดน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ส่วนอีกเสียงหนึ่งก็เป็นเสียงของเหล่า VI ที่เชื่อในการลงทุนตลอดเวลา ซึ่งเหตุผลนั้นอาจจะมาจากว่าเป็นแนวทางที่ผู้ประสบความสำเร็จได้ทำมาในอดีต หรืออาจจะเป็นตนเองที่เคยทำสำเร็จมา คำถามคือ แนวทางใดคือแนวทางที่ถูกต้องกันแน่
ตามคำพูดฮิตติดปากของ VI ที่ว่า จงกล้าเมื่อคนอื่นกลัว จงกลัวเมื่อคนอื่นกล้า เท่าที่ผมลองมองดูในสภาพคนรอบข้างตอนนี้ อาจจะมีความกลัวปะปนอยู่บ้าง แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังคงอยู่ในตลาด จริงๆแล้วตอนนี้ผู้คนกำลังกลัวกันขนาดนั้นจริงหรือ? ตัวผมเอง แม้ก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่สัปดาห์ ยังคงเชื่อในหลักการลงทุนหุ้นอยู่ตลอดเวลา แม้จะได้รับข้อมูลบางอย่างที่ฟังแล้วน่าจะชวนให้ฉุกคิดบ้าง เช่น SET มี PE ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับในอดีต ทัศนคติของ ดร.นิเวศน์ที่เชื่อว่าการลงทุน ณ เวลานี้ยากที่จะหวังผลตอบแทนสูงๆในระยะยาว ความจริงที่ว่า SET อยู่ในช่วงขาขึ้นมานานหลายปีแล้วนับตั้งแต่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ถึงแม้จะมีช่วงลงแรงในระยะสั้นๆอยู่บ้าง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผมยังคงเชื่อในหลักการเดิมๆ ยังคงคิดว่าถึงตลาดหุ้นจะแพง แต่ตัวเองน่าจะสามารถหาหุ้นที่ให้ผลตอบแทนในระดับเกิน 20 เปอร์เซนต์ทบต้นต่อปีได้อยู่ สาเหตุน่าจะมาจากความมั่นใจที่ในอดีตตนเองสามารถทำได้ โดยเฉพาะตอนที่เกิดน้ำท่วมปี 54 ซึ่ง SET ลงมาอยู่ในระดับ 800 กว่าจุด ที่ PE ประมาณ 10 เท่า ซึ่งเป็นโอกาสในการทำไรของ VI ในช่วงนั้น แต่แล้วจู่ๆ เหมือนไม่มีปี่มีขลุ่ย วันหนึ่ง ผมก็พยายามสำรวจความคิดของตนเอง ผมเกิดคำถามขึ้นมาว่า จริงๆแล้ว เราเก่งจริงๆหรือเป็นเพราะโชคกันแน่? แนวทางเดิมๆที่เคยใช้ในอดีต จะยังคงใช้ได้ผลต่อไปในอนาคตหรือไม่?
ผมเริ่มมองย้อนถึงสิ่งที่ประสบพบเจอในอดีต เมื่อไม่นานมานี้เอง ผมเพิ่งประสบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด หรือถ้าจะพูดให้ถูกก็คือ ผมเคยคิดไว้แล้ว แต่คิดว่าความน่าจะเป็นในการเกิดเหตุการณ์นี้ต่ำมากและคิดว่า มันไม่มีทางเกิดแน่นอน ประเด็นก็คือ ผมคิดผิด มันเกิดขึ้นได้จริงๆตราบเท่าที่โอกาสไม่ใช่ศูนย์ เหตุการณ์นี้ทำให้ผมนึกถึงกฏของเมอร์ฟี่ที่ว่า "Anything that can go wrong, will go wrong" แปลตามตัวก็คือ อะไรก็ตามที่มันสามารถผิดพลาดได้ มันจะผิดพลาดแน่ๆสักวันหนึ่ง และอีกคนหนึ่งที่ผมนึกถึงก็คือ นาสซิม นิโคลัส ทาเลบ
"ไม่ว่าเราจะเคยเห็นหงส์ขาวมามากแค่ไหน ก็ยังไม่เพียงพอจะสรุปว่าหงส์ทุกตัวเป็นสีขาว ขณะที่การเห็นหงส์ดำเพียงตัวเดียวจะหักล้างข้อสรุปนั้นได้ทันที" นี่คือคำพูดที่ทาเลบชอบยกมาพูด นาสซิม ทาเลบ ทำงานบริหารกองทุนเอมพิริกา ทั้งยังเป็นอาจารย์ด้านการเงิน และผู้แต่งหนังสือ The Black Swan เขาเล่าว่า ก่อนศตวรรษที่ 17 ผู้คนพบเห็นแต่หงส์สีขาว การพูดถึงหงส์ดำเป็นเพียงเรื่องเพ้อฝัน จนกระทั่งมีการค้นพบหงส์ดำเป็นครั้งแรกที่ออสเตรเลียซึ่งลบล้างความเชื่อดังกล่าวจนหมดสิ้น ในด้านชีวิตส่วนตัว ทาเลบเคยพบกับประสบการณ์หงส์ดำ 2 ครั้งด้วยกัน ครั้งแรกคือการเห็นบ้านเกิดที่เลบานอนกลายจากสวรรค์เป็นขุมนรก คุณตาซึ่งเคยเป็นรองนายกรัฐมนตรี จบบั้นปลายชีวิตในบ้านพักเล็กๆซอมซ่อ อีกครั้งหนึ่งคือการพบว่าตนเองเป็นโรคมะเร็งลำคอทั้งที่ไม่ได้สูบบุหรี่ และโอกาสในการเกิดโรคนี้ คือ 1 ใน 100000 คน ตั้งแต่นั้นมา หลักการลงทุนของทาเลบ จึงตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า หงส์ดำมีอยู่จริง และมันอาจมาเยือนเมื่อไรก็ได้ คงจะไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่า แนวคิดการลงทุนที่คิดเผื่อไว้เสมอว่า"อะไรก็เกิดขึ้นได้"นี้ คือหลักการลงทุนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความจริงของสิ่งทั้งปวง ความจริงที่ว่าสิ่งทั้งปวงนั้นเป็น "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" นั่นเอง
กลับมาที่เรื่องการลงทุน ในฐานะ VI ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ภาพของการลงทุนที่สามารถทำผลตอบแทนได้ในระดับสูงเกิน 15 หรือ 20 เปอร์เซนต์ต่อปี คงเปรียบเสมือนหงส์ขาวที่เหล่า VI ทุกคนมองเห็นอยู่จนชิน ทั้งจากตัวอย่างคนที่ประสบความสำเร็จในอดีต รวมทั้งจากผลตอบแทนที่ตนเองเคยทำได้ ผมเองยังถึงขั้นเคยคิดว่า การทำผลตอบแทนให้ได้ในระดับ 30 เปอร์เซนต์ทบต้นต่อปี น่าจะไม่ใช่เรื่องยากนัก จะด้วยสาเหตุนี้หรือเปล่าที่ยังคงทำให้ VI หลายๆคนยังคงเชื่อมั่นและลงทุนในหุ้นตลอดเวลา ผมเองก็ไม่อาจทราบได้ แต่สมมติว่า คุณสามารถมองเห็นอนาคตได้ และเห็นว่ากำลังจะเกิดการตกต่ำของตลาดอย่างหนัก หรือถึงขั้นวิกฤตเศรษฐกิจโลกในไม่ช้า คำถามก็คือ คุณจะยังคงเลือกที่จะถือหุ้นตลอดเวลาอยู่หรือไม่ แน่นอนว่าหากพูดถึงวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ หรือแม้กระทั่งเรื่องการหมดยุคทองของ VI คงเปรียบเสมือนการพูดถึงหงส์ดำที่เหล่า VI หลายๆคนยังไม่เคยพบเจอ และอาจจะคิดว่ามันเป็นเรื่องตลกน่าหัวร่อ แต่ใครจะกล้ายืนยันได้ว่า มันไม่มีทางเกิดขึ้นจริงๆ
เราทั้งหลายที่เลือกลงทุนแนว VI ต่างก็ต้องยึดถือสมมติฐานข้อหนึ่งอยู่เหมือนกัน นั่นก็คือ แนวทาง VI ประสบความสำเร็จในอดีต และตั้งสมมติฐานว่ามันจะยังคงประสบความสำเร็จต่อไปในอนาคต แต่จะมีใครที่ลองตั้งคำถามท้าทายสมมติฐานนี้? เป็นต้นว่า การลงทุนในตลาดช่วงเวลานี้ซึ่งมี PE สูงเมื่อเทียบกับอดีต จะยังคงให้ผลตอบแทนที่ดีเหมือนก่อนหรือไม่? เรื่องการหมดยุคทองของ VI ที่ ดร.นิเวศน์เคยให้ทัศนะ เป็นเรื่องที่มีโอกาสเกิดขึ้นจริงหรือไม่? หรือการลงทุนในหุ้นตลอดเวลาเป็นสิ่งที่ถูกต้องทุกสถาณการณ์จริงหรือ? จะว่าไป บัฟเฟตต์เอง ซึ่งเป็นต้นแบบแห่งการลงทุนแนว VI ก็เคยมีช่วงที่ล้างพอร์ตหมด และถือเงินสดอยู่หลายปีกว่าจะกลับเข้าซื้อหุ้นอีกครั้ง เราอาจจะคิดว่าวิกฤติเป็นเรื่องไกลตัว พร้อมกับหัวเราะให้กับคนที่ตกใจกลัวเมื่อตลาดลงมาเพียง 200 จุด แต่จริงๆแล้วนี่ถือเป็นการยึดมั่นถือมั่นในแบบ VI หรือเปล่า? ผมนึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องอุปาทาน 4 หรือกิเลสอันเป็นเครื่องให้ยึดถือ 4 ประการ ในข้อที่ว่าด้วยทิฏฐุปาทาน คือการยึดมั่นในทิฏฐิ ความคิดเห็นตามที่ตนมีอยู่ ซึ่งเป็นกิเลสข้อที่ทำให้เกิดอคติและความดื้อรั้นโง่เขลาได้โดยไม่รู้ตัว หากมองบนพื้นฐานความจริงที่สุดของทุกสรรพสิ่งที่เป็นอนิจจังนี้แล้ว การเชื่อมั่นในแนวทางใดแนวทางหนึ่งอย่างสุดโต่ง ถือเป็นทิฏฐุปาทาน หรือเป็นอคติอย่างหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายที่ไม่รู้จะมาเมื่อไร แต่จะมาอย่างแน่นอนสักวันหนึ่งในอนาคตหรือไม่?
สุดท้ายแล้ว คำตอบของคำถามที่ว่า แล้วเราควรจะทำอย่างไรดี หรือมีแผนหรือแนวทางอย่างไรในภาวะตลาดขาลงและภาพของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงคลุมเครือเช่นนี้ ผมคิดว่า สุดแท้ที่จะบอกได้ ในเมื่อไม่มีแผนการใดที่สามารถบอกได้ว่าจะได้ผล 100 เปอร์เซนต์ แต่เหนือสิ่งอื่นใด ผมเชื่อว่า แนวทางที่ถูกต้องที่สุดไม่เสื่อมคลายมีเพียงหนึ่ง นั่นคือ แนวทางที่ใช้"สติ" และ "ปัญญา"เป็นพลัง มิใช่ใช้กิเลสคือ "ความโลภ"และ"ความกลัว" เป็นตัวขับเคลื่อน และตั้งอยู่บนสมมติฐานแห่งความจริงแท้ที่สุดบนโลกใบนี้ว่า ไม่มีอะไรแน่นอน ผมเชื่อว่า หากเรายึดแนวทางนี้ไว้เป็นหลัก น่าจะทำให้เราสามารถบริหารจัดการเงินทุนของเราในแบบที่เหมาะสมกับตัวเราเองได้ พร้อมทั้งสามารถรับมือได้กับทุกสภาวะการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่"ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท" ดังเช่นปัจฉิมโอวาทที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ด้วยประการทั้งปวง
sakkaphan - 2/9/58
--------------------------------------------------------
อคติ - หงส์ดำ - ธรรมะ - กับการลงทุนแนว VI
--------------------------------------------------------
ผมเริ่มเขียนบทความนี้ เนื่องมาจากผมสังเกตว่าในช่วงเวลาหลายเดือนที่ผ่านมาซึ่งตลาดเข้าสู่ช่วงขาลง นักลงทุนทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ ต่างออกมาแสดงความคิดเห็นต่างๆ รวมทั้งสังเกตถึงความเป็นไปที่เกิดขึ้นในบรรดานักลงทุนใกล้ตัว เช่น ในกลุ่มไลน์ หรือการพูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องหลายๆคน มีการพูดถึงเรื่องความกังวลว่าตลาดจะลงต่อเนื่อง และคิดว่าการถือเงินสดน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ส่วนอีกเสียงหนึ่งก็เป็นเสียงของเหล่า VI ที่เชื่อในการลงทุนตลอดเวลา ซึ่งเหตุผลนั้นอาจจะมาจากว่าเป็นแนวทางที่ผู้ประสบความสำเร็จได้ทำมาในอดีต หรืออาจจะเป็นตนเองที่เคยทำสำเร็จมา คำถามคือ แนวทางใดคือแนวทางที่ถูกต้องกันแน่
ตามคำพูดฮิตติดปากของ VI ที่ว่า จงกล้าเมื่อคนอื่นกลัว จงกลัวเมื่อคนอื่นกล้า เท่าที่ผมลองมองดูในสภาพคนรอบข้างตอนนี้ อาจจะมีความกลัวปะปนอยู่บ้าง แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังคงอยู่ในตลาด จริงๆแล้วตอนนี้ผู้คนกำลังกลัวกันขนาดนั้นจริงหรือ? ตัวผมเอง แม้ก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่สัปดาห์ ยังคงเชื่อในหลักการลงทุนหุ้นอยู่ตลอดเวลา แม้จะได้รับข้อมูลบางอย่างที่ฟังแล้วน่าจะชวนให้ฉุกคิดบ้าง เช่น SET มี PE ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับในอดีต ทัศนคติของ ดร.นิเวศน์ที่เชื่อว่าการลงทุน ณ เวลานี้ยากที่จะหวังผลตอบแทนสูงๆในระยะยาว ความจริงที่ว่า SET อยู่ในช่วงขาขึ้นมานานหลายปีแล้วนับตั้งแต่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ถึงแม้จะมีช่วงลงแรงในระยะสั้นๆอยู่บ้าง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผมยังคงเชื่อในหลักการเดิมๆ ยังคงคิดว่าถึงตลาดหุ้นจะแพง แต่ตัวเองน่าจะสามารถหาหุ้นที่ให้ผลตอบแทนในระดับเกิน 20 เปอร์เซนต์ทบต้นต่อปีได้อยู่ สาเหตุน่าจะมาจากความมั่นใจที่ในอดีตตนเองสามารถทำได้ โดยเฉพาะตอนที่เกิดน้ำท่วมปี 54 ซึ่ง SET ลงมาอยู่ในระดับ 800 กว่าจุด ที่ PE ประมาณ 10 เท่า ซึ่งเป็นโอกาสในการทำไรของ VI ในช่วงนั้น แต่แล้วจู่ๆ เหมือนไม่มีปี่มีขลุ่ย วันหนึ่ง ผมก็พยายามสำรวจความคิดของตนเอง ผมเกิดคำถามขึ้นมาว่า จริงๆแล้ว เราเก่งจริงๆหรือเป็นเพราะโชคกันแน่? แนวทางเดิมๆที่เคยใช้ในอดีต จะยังคงใช้ได้ผลต่อไปในอนาคตหรือไม่?
ผมเริ่มมองย้อนถึงสิ่งที่ประสบพบเจอในอดีต เมื่อไม่นานมานี้เอง ผมเพิ่งประสบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด หรือถ้าจะพูดให้ถูกก็คือ ผมเคยคิดไว้แล้ว แต่คิดว่าความน่าจะเป็นในการเกิดเหตุการณ์นี้ต่ำมากและคิดว่า มันไม่มีทางเกิดแน่นอน ประเด็นก็คือ ผมคิดผิด มันเกิดขึ้นได้จริงๆตราบเท่าที่โอกาสไม่ใช่ศูนย์ เหตุการณ์นี้ทำให้ผมนึกถึงกฏของเมอร์ฟี่ที่ว่า "Anything that can go wrong, will go wrong" แปลตามตัวก็คือ อะไรก็ตามที่มันสามารถผิดพลาดได้ มันจะผิดพลาดแน่ๆสักวันหนึ่ง และอีกคนหนึ่งที่ผมนึกถึงก็คือ นาสซิม นิโคลัส ทาเลบ
"ไม่ว่าเราจะเคยเห็นหงส์ขาวมามากแค่ไหน ก็ยังไม่เพียงพอจะสรุปว่าหงส์ทุกตัวเป็นสีขาว ขณะที่การเห็นหงส์ดำเพียงตัวเดียวจะหักล้างข้อสรุปนั้นได้ทันที" นี่คือคำพูดที่ทาเลบชอบยกมาพูด นาสซิม ทาเลบ ทำงานบริหารกองทุนเอมพิริกา ทั้งยังเป็นอาจารย์ด้านการเงิน และผู้แต่งหนังสือ The Black Swan เขาเล่าว่า ก่อนศตวรรษที่ 17 ผู้คนพบเห็นแต่หงส์สีขาว การพูดถึงหงส์ดำเป็นเพียงเรื่องเพ้อฝัน จนกระทั่งมีการค้นพบหงส์ดำเป็นครั้งแรกที่ออสเตรเลียซึ่งลบล้างความเชื่อดังกล่าวจนหมดสิ้น ในด้านชีวิตส่วนตัว ทาเลบเคยพบกับประสบการณ์หงส์ดำ 2 ครั้งด้วยกัน ครั้งแรกคือการเห็นบ้านเกิดที่เลบานอนกลายจากสวรรค์เป็นขุมนรก คุณตาซึ่งเคยเป็นรองนายกรัฐมนตรี จบบั้นปลายชีวิตในบ้านพักเล็กๆซอมซ่อ อีกครั้งหนึ่งคือการพบว่าตนเองเป็นโรคมะเร็งลำคอทั้งที่ไม่ได้สูบบุหรี่ และโอกาสในการเกิดโรคนี้ คือ 1 ใน 100000 คน ตั้งแต่นั้นมา หลักการลงทุนของทาเลบ จึงตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า หงส์ดำมีอยู่จริง และมันอาจมาเยือนเมื่อไรก็ได้ คงจะไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่า แนวคิดการลงทุนที่คิดเผื่อไว้เสมอว่า"อะไรก็เกิดขึ้นได้"นี้ คือหลักการลงทุนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความจริงของสิ่งทั้งปวง ความจริงที่ว่าสิ่งทั้งปวงนั้นเป็น "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" นั่นเอง
กลับมาที่เรื่องการลงทุน ในฐานะ VI ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ภาพของการลงทุนที่สามารถทำผลตอบแทนได้ในระดับสูงเกิน 15 หรือ 20 เปอร์เซนต์ต่อปี คงเปรียบเสมือนหงส์ขาวที่เหล่า VI ทุกคนมองเห็นอยู่จนชิน ทั้งจากตัวอย่างคนที่ประสบความสำเร็จในอดีต รวมทั้งจากผลตอบแทนที่ตนเองเคยทำได้ ผมเองยังถึงขั้นเคยคิดว่า การทำผลตอบแทนให้ได้ในระดับ 30 เปอร์เซนต์ทบต้นต่อปี น่าจะไม่ใช่เรื่องยากนัก จะด้วยสาเหตุนี้หรือเปล่าที่ยังคงทำให้ VI หลายๆคนยังคงเชื่อมั่นและลงทุนในหุ้นตลอดเวลา ผมเองก็ไม่อาจทราบได้ แต่สมมติว่า คุณสามารถมองเห็นอนาคตได้ และเห็นว่ากำลังจะเกิดการตกต่ำของตลาดอย่างหนัก หรือถึงขั้นวิกฤตเศรษฐกิจโลกในไม่ช้า คำถามก็คือ คุณจะยังคงเลือกที่จะถือหุ้นตลอดเวลาอยู่หรือไม่ แน่นอนว่าหากพูดถึงวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ หรือแม้กระทั่งเรื่องการหมดยุคทองของ VI คงเปรียบเสมือนการพูดถึงหงส์ดำที่เหล่า VI หลายๆคนยังไม่เคยพบเจอ และอาจจะคิดว่ามันเป็นเรื่องตลกน่าหัวร่อ แต่ใครจะกล้ายืนยันได้ว่า มันไม่มีทางเกิดขึ้นจริงๆ
เราทั้งหลายที่เลือกลงทุนแนว VI ต่างก็ต้องยึดถือสมมติฐานข้อหนึ่งอยู่เหมือนกัน นั่นก็คือ แนวทาง VI ประสบความสำเร็จในอดีต และตั้งสมมติฐานว่ามันจะยังคงประสบความสำเร็จต่อไปในอนาคต แต่จะมีใครที่ลองตั้งคำถามท้าทายสมมติฐานนี้? เป็นต้นว่า การลงทุนในตลาดช่วงเวลานี้ซึ่งมี PE สูงเมื่อเทียบกับอดีต จะยังคงให้ผลตอบแทนที่ดีเหมือนก่อนหรือไม่? เรื่องการหมดยุคทองของ VI ที่ ดร.นิเวศน์เคยให้ทัศนะ เป็นเรื่องที่มีโอกาสเกิดขึ้นจริงหรือไม่? หรือการลงทุนในหุ้นตลอดเวลาเป็นสิ่งที่ถูกต้องทุกสถาณการณ์จริงหรือ? จะว่าไป บัฟเฟตต์เอง ซึ่งเป็นต้นแบบแห่งการลงทุนแนว VI ก็เคยมีช่วงที่ล้างพอร์ตหมด และถือเงินสดอยู่หลายปีกว่าจะกลับเข้าซื้อหุ้นอีกครั้ง เราอาจจะคิดว่าวิกฤติเป็นเรื่องไกลตัว พร้อมกับหัวเราะให้กับคนที่ตกใจกลัวเมื่อตลาดลงมาเพียง 200 จุด แต่จริงๆแล้วนี่ถือเป็นการยึดมั่นถือมั่นในแบบ VI หรือเปล่า? ผมนึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องอุปาทาน 4 หรือกิเลสอันเป็นเครื่องให้ยึดถือ 4 ประการ ในข้อที่ว่าด้วยทิฏฐุปาทาน คือการยึดมั่นในทิฏฐิ ความคิดเห็นตามที่ตนมีอยู่ ซึ่งเป็นกิเลสข้อที่ทำให้เกิดอคติและความดื้อรั้นโง่เขลาได้โดยไม่รู้ตัว หากมองบนพื้นฐานความจริงที่สุดของทุกสรรพสิ่งที่เป็นอนิจจังนี้แล้ว การเชื่อมั่นในแนวทางใดแนวทางหนึ่งอย่างสุดโต่ง ถือเป็นทิฏฐุปาทาน หรือเป็นอคติอย่างหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายที่ไม่รู้จะมาเมื่อไร แต่จะมาอย่างแน่นอนสักวันหนึ่งในอนาคตหรือไม่?
สุดท้ายแล้ว คำตอบของคำถามที่ว่า แล้วเราควรจะทำอย่างไรดี หรือมีแผนหรือแนวทางอย่างไรในภาวะตลาดขาลงและภาพของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงคลุมเครือเช่นนี้ ผมคิดว่า สุดแท้ที่จะบอกได้ ในเมื่อไม่มีแผนการใดที่สามารถบอกได้ว่าจะได้ผล 100 เปอร์เซนต์ แต่เหนือสิ่งอื่นใด ผมเชื่อว่า แนวทางที่ถูกต้องที่สุดไม่เสื่อมคลายมีเพียงหนึ่ง นั่นคือ แนวทางที่ใช้"สติ" และ "ปัญญา"เป็นพลัง มิใช่ใช้กิเลสคือ "ความโลภ"และ"ความกลัว" เป็นตัวขับเคลื่อน และตั้งอยู่บนสมมติฐานแห่งความจริงแท้ที่สุดบนโลกใบนี้ว่า ไม่มีอะไรแน่นอน ผมเชื่อว่า หากเรายึดแนวทางนี้ไว้เป็นหลัก น่าจะทำให้เราสามารถบริหารจัดการเงินทุนของเราในแบบที่เหมาะสมกับตัวเราเองได้ พร้อมทั้งสามารถรับมือได้กับทุกสภาวะการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่"ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท" ดังเช่นปัจฉิมโอวาทที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ด้วยประการทั้งปวง
sakkaphan - 2/9/58