ในวันหุ้นตก ขาย ถือ หรือ ซื้อ ?
โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 04, 2014 8:58 pm
เมื่อวานก่อนผมเดินผ่านแผงหนังสืออมรินทร์ เห็นหนังสือใหม่หน้าปกสวยมาก เรื่อง สมองแห่งพุทธะ (หนังสือเกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ จิตวิทยาแบบไทย ๆ ดูดวง ไสยศาสตร์ จัดว่าเป็นหมวดหนังสือขายดี เห็นขึ้นอันดับตลอด) ผมก็หยิบมาอ่านปกใน แค่เนื้อหาปกใน ผมก็เดินไปจ่ายเงินทันที ระหว่างเดินไปจ่ายเงินก็อ่านประวัติผู้เขียนและผู้แปล ซึ่งทั้งหมดก็เป็นผู้ที่มีความรู้ทางวิชาการ และ การปฎิบัติธรรม เป็นอย่างดี
คำแนะนำเขียนไว้ว่า
ให้คุณมีสติตระหนักรู้ถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่กระตุ้นระบบประสาท ซิมพาเทติก (SNS) เช่นความเครียด ความเจ็บปวด ความกังวล หรือ ความหิว ซึ่งจะก่อให้เกิดความประสงค์ร้าย พยายามปลดชนวนระเบิดนี้เสีย ตั้งแต่ยังเนิ่น ๆ เช่นรับประทานอาหารเย็น ก่อนที่จะพูดจากัน อาบน้ำ อ่านอะไรบางอย่างที่เป็นสิ่งให้แรงบันดาลใจ หรือพูดคุยกับเพื่อน.
ซึ่งสรุปได้ว่า ปัจจัยความเครียด ความกลัว กังวล หรืออื่น ๆ นั้นเราสามารถบริหารจัดการได้ ด้วย
1 สำหรับผู้ฝึกวิปัสสนา มีสติตามรู้สภาวะ อารมณ์ในขณะนั้น อารมณ์นั้นก็จะดับไป
2 คนทั่วไปที่ มีสติ สามารถตามรู้อารมณ์ ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เช่นรู้ว่าโกรธ หงุดหงิด ก็ยังสามารถจัดการอารมณ์บางอย่างได้เช่น เมื่อกลับจากที่ทำงานแล้วเครียด สิ่งที่ควรทำคือไปอาบน้ำ ทานอาหาร แล้วค่อยมาสอนหนังสือลูก หรือถ้าอยากเครียดเพิ่มเราก็อาจสอนหนังสือลูก ก่อนก็ได้
กลับมาในเรื่องการลงทุน เมื่อเราเกิดความกลัว ความกังวล ที่จะสูญเสียเงิน ในวันที่หุ้นตก ซึ่งในทางบัญชีนั้น เกิดความสูญเสียไปแล้ว และบางคนสมองก็รับรู้การสูญเสียทางบัญชี ก็อาจทำให้เกิดความเครียดขึ้นมาได้
เมื่อเราเจอปัญหาจากการตกลงของหุ้นที่เราถือ เมื่อตาเรามองผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ สมองส่วนท้ายท้อยจะทำการแปรความจากสิ่งที่เราเห็น และส่งไปยังสมอง 2 ส่วนคือ
1 ฮิปโปแคมปัส ซึ่งคอยสร้างความทรงจำใหม่ ๆ และการระวังภัย เมื่อหุ้นตกแรง สัญญาณระวังภัยจะถูกส่งไปให้ อมิกดาลาที่จะทำการเตือนภัยไปยังระบบต่าง ๆ ซึ่งจะไม่ส่งผลดีถ้า เราจะมีสัญญาญเตือนภัยบ่อย ๆ ซึ่งบางครั้งอาจไประงับหรือยับยั้งการทำงานในส่วนสมองที่มีเหตุผล(อ่าน เพิ่มได้ในหน้า 62 63)
2 คอร์เท็กซ์ กลีบหน้าผากส่วนหน้า ที่ทำหน้าประมวลผลจากหน่วยความทรงจำระยะยาว คอร์เท็กซ์เป็นส่วนสมองที่ได้มีการพัฒนาระดับสูง แต่มีการทำงานที่ช้า ดังนั้นจะเห็นได้ว่า คนเราส่วนใหญ่นั้นจะตัดสินใจไปแล้ว ค่อยคิดได้ถึงเหตุผล
การประมวลผลและตีความของ คอร์เท็กซ์ จะใช้ข้อมูลจากความทรงจำ ที่เราได้สะสมมา ดังนั้นการตัดสินใจของนักลงทุนแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน เพราะความรู้ และประสบการณ์ รวมไปถึงลักษณะนิสัย วินัย และความอดทน ไม่เหมือนกัน
แต่สิ่งเหล่านี้เราสามารถพัฒนา ให้ดีขึ้นได้ทุกคน โดย เราอาจเพิ่มความรู้ ประสบการณ์ได้โดยการอ่านหนังสือ หรือคุยกับผู้ที่มีความรู้ในด้าน นั้น ๆ เช่น เมื่อเกิดปัญหา เราก็คิดด้วยข้อมูลที่เราศึกษามา หรืออาจลอกแนวคิดผู้เชี่ยวชาญ เราอาจจะคิดว่า ถ้าหุ้นตกอย่างนี้ ท่าน ดร นิเวศน์ จะทำอย่างไร แล้วลองไปอ่านแนวคิดแต่ละท่านดู ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจและสร้างกระบวนการคิดได้ดีขึ้น แต่ต้องระวังการลอกแนวคิด เพราะถ้าเราลอกผิดคน หรือ ลอกมาไม่หมด อาจเสียหายได้ และสิ่งผิด ๆ เวลาเข้าไปในสมองเราแล้วนั้น การแก้ไขอาจใช้เวลา มากกว่าหลายเท่า
จากการทำงานของคอร์เท็กซ์ที่ช้านี่เอง ทำให้ผมเพิ่งเข้าใจว่าทำมั้ยเมื่อก่อน เวลาเราเกิดอารมณ์ โกรธ หงุดหงิดหรือ ไม่พอใจ ผู้ใหญ่มักจะคอยสอนให้ หายใจออก ซึ่งจะลดความเครียดและ นับ 1 ถึง 10 เพื่อให้สมองส่วนที่มีเหตุผลทำงาน
ดังนั้นเมื่อหุ้นตกอย่างแรง เมื่อเรารับรู้ แล้ว ควรลดการใช้อารมณ์ รอสมองส่วนที่มีเหตุผลทำงาน ทำการวิเคราะห์โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มี บางคนตอนนี้อาจจะมีน้อยก็ต้องเพิ่มโดยการอ่านหนังสือ ฟังรายการโทรทัศน์ที่ดี หรือสอบถามผู้รู้ ทางด้านนั้น ๆ
ที่สำคัญสมองคนเรานั้น ส่วนไหนที่ใช้งานบ่อย ๆ ส่วนนั้นก็จะพัฒนาไปได้ดียิ่งขึ้น
สรุปจากหัวข้อว่า ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ควร ซื้อ ถือ หรือ ขาย เพราะมันขึ้นอยู่กับหุ้นแต่ละตัวและปัจจัยพื้นฐานของหุ้นตัวนั้น
ย้อนกลับไปที่ หนังสือสมองแห่งพุทธะ สรุปได้ว่าเป็นหนังสือที่น่าอ่านมาก ทั้งทางโลกและทางธรรม
และที่ผมนำมาขยายความทางโลกนั้นผิดพลาดประการใด ก็ต้องขออภัยด้วยครับ
คำแนะนำเขียนไว้ว่า
ให้คุณมีสติตระหนักรู้ถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่กระตุ้นระบบประสาท ซิมพาเทติก (SNS) เช่นความเครียด ความเจ็บปวด ความกังวล หรือ ความหิว ซึ่งจะก่อให้เกิดความประสงค์ร้าย พยายามปลดชนวนระเบิดนี้เสีย ตั้งแต่ยังเนิ่น ๆ เช่นรับประทานอาหารเย็น ก่อนที่จะพูดจากัน อาบน้ำ อ่านอะไรบางอย่างที่เป็นสิ่งให้แรงบันดาลใจ หรือพูดคุยกับเพื่อน.
ซึ่งสรุปได้ว่า ปัจจัยความเครียด ความกลัว กังวล หรืออื่น ๆ นั้นเราสามารถบริหารจัดการได้ ด้วย
1 สำหรับผู้ฝึกวิปัสสนา มีสติตามรู้สภาวะ อารมณ์ในขณะนั้น อารมณ์นั้นก็จะดับไป
2 คนทั่วไปที่ มีสติ สามารถตามรู้อารมณ์ ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เช่นรู้ว่าโกรธ หงุดหงิด ก็ยังสามารถจัดการอารมณ์บางอย่างได้เช่น เมื่อกลับจากที่ทำงานแล้วเครียด สิ่งที่ควรทำคือไปอาบน้ำ ทานอาหาร แล้วค่อยมาสอนหนังสือลูก หรือถ้าอยากเครียดเพิ่มเราก็อาจสอนหนังสือลูก ก่อนก็ได้
กลับมาในเรื่องการลงทุน เมื่อเราเกิดความกลัว ความกังวล ที่จะสูญเสียเงิน ในวันที่หุ้นตก ซึ่งในทางบัญชีนั้น เกิดความสูญเสียไปแล้ว และบางคนสมองก็รับรู้การสูญเสียทางบัญชี ก็อาจทำให้เกิดความเครียดขึ้นมาได้
เมื่อเราเจอปัญหาจากการตกลงของหุ้นที่เราถือ เมื่อตาเรามองผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ สมองส่วนท้ายท้อยจะทำการแปรความจากสิ่งที่เราเห็น และส่งไปยังสมอง 2 ส่วนคือ
1 ฮิปโปแคมปัส ซึ่งคอยสร้างความทรงจำใหม่ ๆ และการระวังภัย เมื่อหุ้นตกแรง สัญญาณระวังภัยจะถูกส่งไปให้ อมิกดาลาที่จะทำการเตือนภัยไปยังระบบต่าง ๆ ซึ่งจะไม่ส่งผลดีถ้า เราจะมีสัญญาญเตือนภัยบ่อย ๆ ซึ่งบางครั้งอาจไประงับหรือยับยั้งการทำงานในส่วนสมองที่มีเหตุผล(อ่าน เพิ่มได้ในหน้า 62 63)
2 คอร์เท็กซ์ กลีบหน้าผากส่วนหน้า ที่ทำหน้าประมวลผลจากหน่วยความทรงจำระยะยาว คอร์เท็กซ์เป็นส่วนสมองที่ได้มีการพัฒนาระดับสูง แต่มีการทำงานที่ช้า ดังนั้นจะเห็นได้ว่า คนเราส่วนใหญ่นั้นจะตัดสินใจไปแล้ว ค่อยคิดได้ถึงเหตุผล
การประมวลผลและตีความของ คอร์เท็กซ์ จะใช้ข้อมูลจากความทรงจำ ที่เราได้สะสมมา ดังนั้นการตัดสินใจของนักลงทุนแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน เพราะความรู้ และประสบการณ์ รวมไปถึงลักษณะนิสัย วินัย และความอดทน ไม่เหมือนกัน
แต่สิ่งเหล่านี้เราสามารถพัฒนา ให้ดีขึ้นได้ทุกคน โดย เราอาจเพิ่มความรู้ ประสบการณ์ได้โดยการอ่านหนังสือ หรือคุยกับผู้ที่มีความรู้ในด้าน นั้น ๆ เช่น เมื่อเกิดปัญหา เราก็คิดด้วยข้อมูลที่เราศึกษามา หรืออาจลอกแนวคิดผู้เชี่ยวชาญ เราอาจจะคิดว่า ถ้าหุ้นตกอย่างนี้ ท่าน ดร นิเวศน์ จะทำอย่างไร แล้วลองไปอ่านแนวคิดแต่ละท่านดู ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจและสร้างกระบวนการคิดได้ดีขึ้น แต่ต้องระวังการลอกแนวคิด เพราะถ้าเราลอกผิดคน หรือ ลอกมาไม่หมด อาจเสียหายได้ และสิ่งผิด ๆ เวลาเข้าไปในสมองเราแล้วนั้น การแก้ไขอาจใช้เวลา มากกว่าหลายเท่า
จากการทำงานของคอร์เท็กซ์ที่ช้านี่เอง ทำให้ผมเพิ่งเข้าใจว่าทำมั้ยเมื่อก่อน เวลาเราเกิดอารมณ์ โกรธ หงุดหงิดหรือ ไม่พอใจ ผู้ใหญ่มักจะคอยสอนให้ หายใจออก ซึ่งจะลดความเครียดและ นับ 1 ถึง 10 เพื่อให้สมองส่วนที่มีเหตุผลทำงาน
ดังนั้นเมื่อหุ้นตกอย่างแรง เมื่อเรารับรู้ แล้ว ควรลดการใช้อารมณ์ รอสมองส่วนที่มีเหตุผลทำงาน ทำการวิเคราะห์โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มี บางคนตอนนี้อาจจะมีน้อยก็ต้องเพิ่มโดยการอ่านหนังสือ ฟังรายการโทรทัศน์ที่ดี หรือสอบถามผู้รู้ ทางด้านนั้น ๆ
ที่สำคัญสมองคนเรานั้น ส่วนไหนที่ใช้งานบ่อย ๆ ส่วนนั้นก็จะพัฒนาไปได้ดียิ่งขึ้น
สรุปจากหัวข้อว่า ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ควร ซื้อ ถือ หรือ ขาย เพราะมันขึ้นอยู่กับหุ้นแต่ละตัวและปัจจัยพื้นฐานของหุ้นตัวนั้น
ย้อนกลับไปที่ หนังสือสมองแห่งพุทธะ สรุปได้ว่าเป็นหนังสือที่น่าอ่านมาก ทั้งทางโลกและทางธรรม
และที่ผมนำมาขยายความทางโลกนั้นผิดพลาดประการใด ก็ต้องขออภัยด้วยครับ