หน้า 1 จากทั้งหมด 1

แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 29, 2014 8:04 pm
โดย echelon
http://goo.gl/J4O0KL
ลองอ่านตัวอย่างบทความอื่นๆ ได้ที่
https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul
เนื้อหาโดยสังเขป
หนังสือที่วิเคราะห์เจาะลึก "งบการเงิน" อย่างละเอียด โดยอาจารย์ "สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล" นักแกะงบเบอร์หนึ่งของเมืองไทย ผู้คร่ำหวอดในวงการเงินและการลงทุนมากกว่า 15 ปี ซึ่งได้แนะนำวิธีวิเคราะห์งบการเงินอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านเห็นและเข้าใจภาพรวมของงบการเงิน ซึ่งเป็นร่องรอยทางธุรกิจที่บริษัทต่างๆ ได้ทิ้งไว้ ทำให้เรารู้ถึงเส้นทางธุรกิจในอดีต ปัจจุบัน และรู้ว่าบริษัทนั้นๆ กำลังจะลงทุนอะไรต่อไปในอนาคต เพื่อให้นักลงทุนสามารถนำข้อมูลไปใช้ตัดสินใจลงทุนได้อย่างถูกต้อง
สารบัญ
- Who am I? ผมเป็นใคร?
- ความสำคัญของงบการเงินกับหุ้น
- เช็คสุขภาพธุรกิจ
- ถอดรหัสพันธุ์กรรม 1
- ถอดรหัสพันธุ์กรรม 2

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 29, 2014 8:06 pm
โดย echelon
เพิ่มรูปหนังสือครับ

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 30, 2014 1:16 am
โดย kissme
น่าสนใจครับ แต่ท่านผู้แต่งเป็นใครหรอครับ ชื่อท่านไม่ค่อยคุ้นเลย ท่านใดพอทราบบ้างครับ :?:

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 30, 2014 1:23 am
โดย artvi
ใครซื้อมาอ่านแล้วมั่งครับ
เบอร์ 1เมืองไทยเชียว อยากทราบความเห็นครับว่าดีหรือเปล่าเล่มนี้

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 30, 2014 9:09 am
โดย echelon
เป็นมือหนึ่งจริงหรือเปล่าผมไม่ทราบเหมือนกัน แต่ถามว่าเก่งไหมผมแน่ใจว่าเก่งมากครับ
ในเฟสบุ๊คของท่านจะมีเขียนบทความรู้ทางการเงิน การลงทุน และการบัญชี ให้อ่านด้วยลองตามไปอ่านกันดูครับ

ตัวอย่างบทความครับ
คุณภาพกำไร Quality of Earning

Quality of Earning = CFO / Net Income

บางทีเรียกย่อๆ ว่า QE เป็นคนละ QE กับที่รัฐบาลธนาคารกลางอเมริกาออกนะครับ อัตราส่วนนี้นำกำไรสุทธิมาหารด้วยเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานสุทธิ และต้องเป็นเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานที่หักการจ่ายดอกเบี้ยเงินสดแล้ว ดังนั้นเวลาดึงข้อมูลกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานสุทธิมาใช้ต้องตรวจสอบดูสักนิดว่าหักดอกเบี้ยจ่ายเงินสดหรือยัง ง่ายๆ คือดูที่กิจกรรมดำเนินงานว่ามีการหักดอกเบี้ยจ่ายเงินสดหรือไม่ ไม่ใช่รายการบวกลับดอกเบี้ยจ่ายเพราะนั้นเป็นการบวกรายการทางบัญชีกลับทั้งก้อนก่อนลบออกด้วยรายการเงินสดดอกเบี้ยจ่าย หรืออาจดูในกิจกรรมจัดหาเงินว่ามีลบด้วยรายจ่ายเงินสดดอกเบี้ย (ต้นทุนทางการเงิน) หรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานยังไม่ลบดอกเบี้ยจ่ายเงินสดออก
ITD หน่วยล้านบาท 2555 2554
เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมดำเนินงาน 2,100.3 3,970.2
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
จ่ายดอกเบี้ย (2,297.2) (2,344.0)
CK หน่วยล้านบาท
เงินสดจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมดำเนินงาน (1,273.6) (3,046.6)
จ่ายดอกเบี้ย (1,391.2) (1,080.7)
จ่ายภาษีเงินได้ (770.7) (266.1)
เงินสดสุทธิจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมดำเนินงาน (3,435.5) (4,393.5)
CFO ของ ITD จะเท่ากับ (196.9) และ 1,626.2 สำหรับปี 2555 และ 2554 ตามลำดับที่จะนำมาใช้ในการคำนวนอัตรส่วนคุณภาพกำไร ส่วนCFOของ CK ใช้ได้เลย

เคยเขียนมาก่อนหน้าว่า เป้าหมายกิจการคือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจการ ไม่ใช่เพียงกำไรเท่านั้น ในเป้าหมาย Shareholders’ value creation กิจการต้องมุ่งทำให้สมดุลทั้งสามด้านคือ Make Profit, Generate Cash Flow และ Stay Solvency ซึ่งหลายกิจการมีกำไรสุทธิแต่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นลบ กิจการเหล่านี้ถ้าสังเกตให้ดีกิจการที่มีกำไรแต่กระแสเงินสดดำนินงานเป็นลบ ล้วนแต่จะมีภาระหนี้เพิ่มขึ้น และมักหนีไม่พ้นต้องเพิ่มทุนเพื่อลดภาระหนี้ ในทางการเงินถือว่าไม่เป็นการเพิ่มทุนที่ดี เพราะการเพิ่มทุนควรสร้างผลกำไรจากการลงทุนที่ให้ ROE ที่สูงขึ้นจากโครงการใหม่ ไม่ใช่ผลตอบแทนจากการลดดอกเบี้ยเพราะเท่ากับได้ ROE จากทุนใหม่เพียงผลตอบแทนเงินกู้เท่านั้น เรื่องนี้ถ้าเข้าใจหลักการเรื่อง Capital Budgeting ใน Finance ก็จะเข้าใจไม่ยาก

กำไรที่แสดงในงบกำไรขาดทุนเป็นผลมาจากการรับรู้ด้วยหลักเกณฑ์ค้างรับหรือเกณฑ์สิทธิ (Accrual Basis) ซึ่งถือว่าถูกต้องในการวัดผลทางกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่บางครั้งกำไรที่เห็นอาจจะไม่ได้สะท้อนถึงมูลค่าที่เป็นจริงได้ หากกำไรนั้นไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาในรูปเงินสดที่แท้จริง เช่นเมื่อขายสินค้า 100 บาท ต้นทุนสินค้าที่ซื้อมาเท่ากับ 80 บาท ณ จุดที่ขายเวลานั้นกำไรเกิดขึ้นเท่ากับ 20 บาท ถ้ากิจการซื้อเงินสดขายเงินสด กิจการจะมีเงินสดเพิ่มขึ้นทันที 20 บาท แต่ถ้ากิจการขายโดยให้เครดิต 10 วัน ในทางบัญชีวันนั้น รับรู้กำไร 20 บาทแปลความว่า กิจกกรมที่ทำในวันนั้น ทำให้มูลค่ากิจการเพิ่มขึ้น 20 บาท มูลค่าหรือสินทรัพย์ที่เพิ่มนั้นคือประโยชน์เชิงเศรษฐกิจนั่นเองเพียงแต่ประโยชน์ดังกล่าวเป็นสิทธิเรียกร้องได้ไม่ได้อยู่ในรูปตัวเงินเท่านั้น หากรับรู้กำไรตามเกณฑ์เงินสด ผลงานจะไปเกิดขึ้นในอีก 10 วันหลังขาย กิจกรรมการขายได้จบสิ้นไปแล้ว เพียงแต่ในทางปฏิบัติเราซื้อขายทุกวัน จ่ายเงินเก็บเงินทุกวัน จึงทำให้ดูเหมือนมีเงินเข้าออกทุกวัน ความจริงเงินนั้นมาจากการขายก่อนหน้าไม่ใช่จากกิจกรรมปัจจุบัน ดังนั้นทุกครั้งที่การขายเกิดขึ้นแล้วเสร็จเครดิตการค้าที่เราให้ลูกหนี้ก็เหมือนกับการที่ลูกหนี้ได้เก็บกำไรกิจการไว้ช่วงหนึ่งนั่นเอง แต่มูลค่ากิจการวัดจากกระแสเงินสดที่เกิดจริง ดังที่กล่าวไว้ว่าการรับเงินทุกวันทำให้ดูเหมือนกับขายแล้วได้เงินสดมาทุกวัน ดังตัวอย่างขาย 100 บาท กำไร 20 บาท ถ้าเช่นนี้ทุกวัน 10 วันให้หลังกิจการจะมีกระแสเงินสดเพิ่มขึ้นวันละ 20 บาทต่อเนื่องตลอด มูลค่าของกิจการก็จะใช้กระแสเงินสดรับเข้าสุทธิวันละ 20 บาทเป็นตัวคำนวณมูลค่า ถ้าสมมติว่า การเก็บเงินมีปัญหาสะดุดบางช่วง กำไรจะยังคงเดิมอยู่แต่กระแสเงินสดจะเปลี่ยนไป เมื่อรูปแบบกระแสเงินสดเปลี่ยน ย่อมกระทบต่อมูลค่าธุรกิจ ในการวิเคราะห์งบการเงินกำไรที่เห็นกับกระแสเงินสดจากการดำเนินงานควรจะเปรียบเทียบกันได้ จากตัวอย่างง่ายๆ ที่ยกมากิจการมีกำไรวันละ 20 บาท เงินสดได้วันละ 20 บาท ถือได้ว่ากำไรที่เห็นมีคุณภาพกำไรทางบัญชีที่ผ่านมาเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ตามปกติ โดยมีข้อสมมติว่าดำเนินกิจกรรมตามหลักการดำรงอยู่ต่อเนื่อง กำไรในอดีตคือเงินสดในวันนี้ และกำไรในวันนี้ก็จะเป็นเงินสดในวันหน้า ถ้าเงินสดได้รับน้อยกว่ากำไรที่เกิดขึ้น อาจจะกำลังสะท้อนปัญหาบางอย่างในกิจการที่บ่งชี้ถึงคุณภาพกำไรในอนาคตว่าจะมีปัญหาในการเปลี่ยนกำไรเป็นเงินสดสุทธิเข้ามาในกิจการ เช่น
บริษัทในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง SCCC
หน่วยล้านบาท 2555 2554 2553
จ่ายดอกเบี้ย (205.4) (187.4) (188.9)
จ่ายภาษีเงินได้ (1,088.6) (1,444.2) (1,118.8)
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน 4,250.9 4,159.0 4,082.1
กำไรสำหรับปี 3,637.3 3,291.4 2,696.3
QE 1.17 1.26 1.51

บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ITD
หน่วยล้านบาท 2555 2554 2553
เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 2,100.3 3,970.2 748.7
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
จ่ายดอกเบี้ย (2,297.2) (2,344.0) (1,973.6)
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน (196.9) 1,626.2 (1,224.9)
กำไรสำหรับปี 91.5.0 (1,642.1) 317.9
QE (Quality of Earning) (2.15) (0.99) (3.85)

อัตราส่วนที่ดีคือ > 1 ยิ่งสูงยิ่งดีและถ้ามีความผันผวนน้อยจะแสดงคุณภาพกำไรที่แปลงเป็นเงินสดเข้าบริษัทมาก ส่วนภ้าต่ำกว่า 1 บ่งชี้ถึงคุณภาพที่ต่ำ ยิ่งน้อยยิ่งไม่ดี ส่วนกรณที่ติดลบถือว่าคุณภาพยิ่งแย่มากวึ่งจะกระทบต่อการจ่ายปันผล เพราะQE ลบหมายถึง มีกระแสเงินสดแต่ไม่มีกำไร ก็จะจ่ายปันผลไม่ได้ (แม้จะมีกำไรสะสมก็จ่ายไม่ได้ถ้าวงดนั้นขาดทุน เพราะกฎหมายให้จ่ายปันผลได้เมื่อมีกำไรเท่านั้น) หากจะจ่ายได้ (รวมกำไรสะสมด้วย) ต้องรอในปีที่มีกำไรเท่านั้น ส่วนกรณีมีกำไรแต่เงินสดจากการดำเนินงานติดลบ แสดงว่าถ้าจะจ่ายก็ต้องกู้เงินมาจ่ายเท่านั้น (หรือขายสินทรัพย์เท่านั้น) ดังนั้นจึงไม่แปลกใจว่าทำไม ITD จึงมี D/E สูง และต้องมาเพิ่มทุน เพราะปีที่มีกำไรเงินสดจากการดำเนินงานกลับติดลบ และต้องมาจ่ายปันผล (ข้อมูลการจ่ายปันผลจะเหลื่อมปีกับปีที่แสดงกำไรเพราะการประกาศจ่ายเกิดในปีถัดไปหลังปิดบัญชีประจำปี)

SCC 2552 2553 2554 2555
ราคาล่าสุด(บาท) 235 234 258 420
อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทน(%) 4.68 4.7 4.26 3.1
DPS 11.00 11.00 10.99 13.02

ITD
ราคาล่าสุด(บาท) 2.94 4.64 3.62 4.2
ตอบแทน(%) N.A. N.A. 1.38 N.A.
DPS 0.0 0.0 0.0 0.0

ข้อสังเกต อัตราส่วนคุณภาพกำไรคำนวณจากกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานหารด้วยกำไรสุทธิ คำถามที่อาจเกิดขึ้นกรณีที่ใช้งบการเงินรวมคือ กำไรสุทธิควรใช้กำไรสุทธิก่อนหรือหลังหักส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยออก ถ้าพิจารณาจากสูตรและวัตถุประสงค์ของการสื่อความหมายของค่าที่ได้ที่จะใช้บอกถึงกำไรจากการดำเนินงานและเงินสดจากการดำเนินงาน กำไรสุทธิควรเป็นกำไรของส่วนเจ้าของทั้งหมดก่อนการแบ่งระหว่างผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่และผู้ถือหุ้นส่วนน้อย เพราะกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่แสดงในงบกระแสเงินสดไม่ได้แสดงแยกออกว่าเป็นเงินสดของกลุ่มใดเท่าไร แม้ว่าการนำเสนอแบบทางออ้อมที่นิยมใช้จะเริ่มต้นด้วยกำไรสุทธิบรรทัดสุดท้ายในงบกำไรขาดทุนที่เป็นส่วนหลังจากหักส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยออกแล้ว แต่การเปลี่ยนแปลงของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยจะนำไปปรับปรุงในกิจกรรมการลงทุนเพื่อกระทบยอดเงินสดทั้งหมดโดยรวมให้ถูกต้อง ดังนั้นกระแสเงินสดจากกิจกรรมการดำเนินงานจึงเป็นกระแสเงินสดของบริษัทโดยรวมที่มาจากการดำเนินงานทั้งหมด กำไรที่จะนำมาเปรียบเทียบจึงควรเป็นกำไรก่อนหักส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (กำไรสุทธิรวม ไม่ใช่กำไรของบริษัท)

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 30, 2014 9:12 am
โดย echelon
วิเคราะห์งบการเงินและอัตราส่วนการเงินของหุ้นอสังหาริมทรัพย์จะดูอะไรบ้าง
มีคำถามว่าถ้าจะดูหุ้นอสังหาริมทรัพย์จะดูอะไรบ้าง ในที่นี้จะเริ่มจากงบการเงิน แล้วค่อยเชื่อมโยงกับปัจจัยภายนอก เป็นการวิเคราะห์ในแนวทาง Bottom up ซึ่งหากใครจะมองแบบ Top down ก็เพียงกลับทิศทางกันเท่านั้น บางครั้งTop down บ่งชี้ว่ายังไม่ใช้จังหวะเราก็อาจรอดูทั้งกลุ่ม เพียงแต่เมื่อทิศทางมาทั้งกลุ่ม เราก็ค่อยเลือกลงทุนในตัวที่วิเคราะห์แล้วดูเข้าตาก็ได้ Bottom up นั้นเมื่อเจอตัวหุ้นที่ดีก็ ดูมูลค่าที่ต่ำพอที่ลงทุนได้ ก็ทยอยซื้อเก็บลงทุนไป

เมื่อพูดถึงกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เมื่อก่อนจะรวมกลุ่มรับเหมาก่อสร้างไว้ด้วย แม้จะดึงออกมาไม่รวมแล้ว แต่ในกลุ่มอสังหาฯ ก็ยังมีความหลากหลาย มีทั้งสร้างที่อยู่อาศัย (บ้านและคอนโด) ขาย สร้างอาคารพาณิชย์ให้เช่า พัฒนาพื้นที่ทำนิคมอุตสาหกรรม สร้างคลังสินค้าขายหรือให้เช่า เป็นต้น ดังนั้น การเปรีบยเทียบและวิเคราะห็ต้องระมัดระวังอย้างมากในการวิเคราะห์และนำมาเปรียบเทียบ ในที่นี้ขอมุ่งเน้นที่สร้างที่อยู่อาศัย (บ้านและคอนโด) ขาย เป็นหลัก

โครงสร้างหรือรายการในงบการเงินที่สำคัญ
v รายการในงบดุลให้สังเกตรายการงาน สินค้าคงเหลือ ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย
v เงินมัดจำค่าซื้อที่ดิน
v เงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้า/วัสดุก่อสร้าง
v ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (และสิทธิการเช่า)
v หนี้สิน-เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เงินกู้ระยะยาว หุ้นกู้
v รายได้ ---- > รายได้ อสังหาฯ รับรู้เมื่อโอนฯ
v ต้นทุน
v ดอกเบี้ยจ่าย

1. ในโครงสร้างงบการเงินนี้คือรายการสาระสำคัญที่ทำให้เราสามารถมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ชัดเจน (หากตีความได้เป็นและถูกต้องตามกิจกรรมของธุรกิจ) รายการที่มีสาระสำคํญที่สุด มีจำนวนที่มาก คิดแล้วมีมูลค่ากว่า 90% ของสินทรัพย์ทั้งหมด คือ ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย ในการวิเคราะห์ที่ถูกต้องนั้น ต้องมองว่ารายการนี้คือ สินค้าคงเหลือของธุรกิจนี้ แต่เป็นสินค้าที่ต้องถือรอบนาน เพราะกว่าจะก่อสร้างเสร็จและขายได้ต่างจากการผลิตสินค้าเพื่อขายทั่วไป
2. ลูกหนี้ในธุรกิจนี้แทบจะไม่มีเลยเพราะ เมื่อสร้างเสร็จ หากลูกค้าที่ซื้อบ้านหรือคอนโด รับโอนก็จะจ่ายเงินทันที โดยส่วนมากเกือบทั้งหมด (>90-95%) จะขอสินเชื่อธนาคาร ดังนั้นธนาคารจะเป็นผู้ชำระค่าบ้านให้ทันที จึงไม่มียอดลูกหนี้
3. เนื่องจากธุรกิจนี้พึ่งพิงกับสถาบันการเงินสูง ส่วนมากแทบทุกโครงการจะมีสถาบันการเงินเป็นผู้ให้เงินกู้เพื่อขึ้นโครงการ เมื่อคนซื้อบ้านต้องการซื้อบ้าน ทางโครงการหรือบริษัทมักแนะนำธนาคารเพื่อขอสินเชื่อให้ (ซึ่งมักจะง่ายกว่าที่ผู้ซื้อบ้านไปขอที่ธนาคารอื่นเอง) บริษัทก็จะเอาเงินที่โอนขายบ้านได้จากธนาคารคืนเงินกู้ธนาคารไป ที่เหลือก็คือกำไร ถ้าคนซื้อไม่ผ่านอนุมัติเงินกู้สินเชื่อ ก็จะเกิดปัญหาแน่นอน เพราะขานบ้านไม่ได้ รายได้ไม่เกิด เงินกู้ธนาคารก็คืนไม่ได้ ตรงนี้แหละครับคือประเด็นที่เกี่ยวพันกับภาวะเศรษฐกิจ ตามปกติธนาคารจะกำหนดเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อโดยรวมตามภาวะเศรษฐกิจ โดยทั่วไปมักจะมียอดขยายสินเชื่อราวๆ 1.5-2.5 เท่าของ GDP และกระจายตามกลุ่มธุรกิจเพื่อป้องกันหรือเป็นการบริหารความเสี่ยงวิธีหนึ่งของธนาคาร ถ้าเศรษฐกิจดี พอร์ตสินเชื่อบ้านก็จะเพิ่มมากตามไปด้วย บริษัทอสังหาก็ขายง่ายขึ้น ถ้าเศรษฐกิจหดตัวก็ขายยากขึ้น เพราะลูกค้าบ้านได้รับการอนุมัติยากขึ้น โอนขายยากก็รับรู้รายได้น้อยลง
4. ภาวะดอกเบี้ยเป็นปัจจัยที่สอง คือเมื่อในช่วงดอกเบี้ยกำลังเริ่มขึ้นใหม่ (มักเกิดในตอนกำลังโตขึ้น) มักเป็นผลดีเพราะกำลังซื้อคนยังสูง การตัดสินใจคนซื้อจะง่ายขึ้น ยอดขายจึงโตเร็ว ส่วนในภาวะเศรษฐกิจถ้าโตมาระดับหนึ่งแล้วและดอกเบี้ยยังคงขึ้นต่อเนื่องตามวงจรเศรษฐกิจ ช่วงนี้จะเริ่มเป็นแรงกดดันการตัดสินใจซื้อ จะส่งผลให้การเติบโตยอดขายของอสังหาฯไม่สูงดังที่เกิดขึ้น ซึ่งหากอำนาจซื้อโดยทั่วไปเริ่มลดลงเพราะแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อด้วยแล้ว ยิ่งมีผลสูง
5. จากที่กล่าวในข้อแรกว่ารายการหลักในงบการเงินคือ ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย ดังนั้นหากวิแคราะห์อัตราส่วน current ratio จะไม่ได้ความหมายอะไร ช่วงดีก็เกิน 1 ใกล้ล้มละลายก็เกิน 1 ขาดสภาพคล่องก็เกิน 1 แล้วจะดู Liquidity อย่างไร เพราะธุรกิจนี้หากใครสภาพคล่องดี สายป่านดี ถือเป็นจุดแข็งที่ได้เปรียบข้อหนึ่งของธุรกิจ (Strength) กิจการที่สภาพคล่องไม่ดีจะพึ่งเงินกู้ระยะสั้นสูง จะมีต้นทุนการเงิน (ดอกเบี้ยจ่าย) สูงเป็นเงาตามตัว อ้ตราส่วนสภาพคล่องควรใช้ Modified Current Ratio = CFO/Current Liabbility แทน โดย CFO คือ กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (หักการจ่ายดอกเบี้ยเป็นเงินสดแล้ว) หารด้วย หนี้สินหมุนเวียนเฉลี่ย ค่าที่ได้ควรสูงกว่า 1 จึงจะถือว่าสถาพคล่องดี ถ้า CFO ต่ำหรือติดลบ แสดงว่าธุรกิจปัจจุบันดำเนินไปประจำวันด้วยเงินกูล้วนๆ แบบนี้ช่วงเศรษฐกิจดีก็ไม่น่าห่วง แต่ช่วงไม่ดีน่าห่วง เพราะล้มง่ายเกิดปัญหาง่าย
6. ต่อมาคือวัดรอบการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ สินค้าคงเหลือคือต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายนั่นเอง (ถ้ามีรายการสินค้าคงเหลืออีกบรรทัดให้เอามารวมกัน) ใช้สูตรเดียวกับ Inventory Turnover คือ ต้นทุนขายหารสินค้าคงเหลือเฉลี่ย แน่นอนรอบจะต่ำมาก บางบริษัมได้ 0.6 รอบต่อปี หาเป็นวันได้ 600 วัน หมายความว่า โดยเฉลี่ยโครงการหนึ่งนับแต่เริ่มขึ้นเสาเข็มจนสร้างเร็จแล้วโอนขายได้ ใช้เวลา ราว 1 ปี 8 เดือน เราสามารถนำค่านี้ไปพิจารณาความเหมาะสมได้ แต่ต้องระวังด้วยเพราะโครงการของแต่ละบริษัทอาจแตกต่างกันไปตามกลุ่มเป้าหมาย เช่นบางบรษัมเน่นลูกค้าระดับกล่างถึงกลางสูง กับบางบริษัทเน้นกลุ่มระดับสูงระยะเวลาอาจต่างกัน ซึ่งเราต้องอาศัยประสบการณ์และการสังเกต การพูดคุยหาข้อมูลเพื่อให้มั่นใจ แต่ถ้าจะพิจารณาให้เเร็วด้วยการเปรียบเทียบ บรฺษัทที่มีกลุ่มหรือภาพรวมโครงการคล้ายกัน ก็น่าจะใกล้เคียงกัน
7. เนื่องจากธุรกิจนี้ก่อหนี้สูงโดยสภาพธุรกิจ การพิจารณาเพียง D/E อาจจไม่พอที่จะได้ภาพชัดเจน จึงควรวิเคราะห์ควาสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยด้วย ปกติใช้ ICR (Interest Coverage Ratio = EBIT/I) แต่เนื่องจากธุรกิจนี้ จะมีการบันทึกต้นทุนการกู้ยืมบางส่วนเข้าในต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Interest Capitalization) ดอกเบี้ยจ่ายที่เห็นในงบกำไรขาดทุนจึงแสดงดอกเบี้ยจ่ายจริงเพียงบางส่วนเท่านั้น เพื่อหาความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยที่แท้จรงจึงควรใช้ MICR (Modified Interest Coverage Ratio = (CFO+I)/I ) โดยการเอา CFO (ซึ่งหักดอกเบี้ยจ่ายเงินสดแล้ว) บวกกลับด้วยดอกเบี้ยจ่ายเงินสด หารด้วยดอกเบี้ยจ่ายเงินสด ทั้งหมดหาตัวเลขได้จากงบกระแสเงินสด ค่าที่ได้ควรมากกว่า 1 หากน้อยกว่าหรือติดลบ แสดงถึงสภาวะที่ไม่ดีของธุรกิจ ยิ่งหากเกิดในช่วงเศรษฐกิจชลอตัวยิ่งต้องระวัง
8. อัตราส่วนที่ใช้พิจารณาอีกตัวเกี่ยวกับหนี้สินคือ Modified Payback Period = ภาระหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยทั้งหมด / CFO อัตราส่วนนี้บอกว่า ในภาระหนี้ที่ต้องจ่ายดอเกบี้ยทั้งหมดถ้าจ่ายด้วยกระแสเงินสดที่ได้รับ (หลังหักดอกเบี้ยจ่ายแล้ว) เงินต้นทั้งหมดจะหมดในกี่ปี ยิ่งสั้นยิ่งดี แต่ติดลบไม่ดีแปลว่าไม่มีเงินจ่ายเงินต้น ค่าที่พอรับได้ น่าจะอยู่ไม่เกิน 5 ปี เพราะปกติการกู้ยืมสถาบันการเงินจะได้ term ราว 3-5 ปี ถ้ายาวกว่านั้น แสดงว่าต้องมีการ refinance แน่นอน กิจการอยู่ได้โบการหมุนเงินกู้วันไหนแบงค์ล้มบริษัทล้มแน่นอน (เหมือนปี 40 ที่มีอสังหาจำนวนมากล้มตามสถาบันการเงิน ทุกที่ล้วนมีอัตราส่วนตัวนี้ยาวทั้งสิ้น) อีกแง่หนึ่งอาจบอกได้ว่า แนวโน้มเพิ่มทุนสูง ยิ่งค่าติดลบ บรษัทจะมี D/E สูงกว่าอัตสาหกรรม และโอกาสต้องเพิ่มทุนยิ่งสูง
9. GM (Gross Margin) และ NM (Net Margin) พิจารณาเชิงแนวโน้มจะได้ภาพที่ชัดเจน หากแนวโน้มคงที่รักษาระดีบได้ดี แสดงถึงการรักษาความได้เปรียบการแข่งขัน (Sustainable Competitive Advantage) อย่าดูเพียงค่าสูงหรือต่ำอย่างเดียว เพราะแต่ละบริษัทมีกลุ่มลูกค้าต่างกัน กลุ่ม High-end ย่อมมี GM สูงกว่าผู้จับตลาดกลุ่ม Middle-end เพราะเมื่อดู NM แล้วอาจใกล้เคียงกัน กลุ่ม High-end มักมีค่าใช้จ่ายขายและบริหารสูงกว่า การวิเคราะห์หาหุ้นดีในกลุ่มนี้จึงควรดู GM และ NM แบบแนวโน้มประกอบจึงชัดเจนกว่า
10. สุดท้ายก็คงเป็นค่ามาตราฐานที่ใช้ดูหลักๆในทุกกลุ่มคือ ROA และ ROE บริษัทที่มากกว่า และสูงกว่าย่อมดีกว่า แต่บางครั้ง ทำมาทุกข้อ 1-9 บางตัวสูงบางตัวต่ำเราก็เลือกสุดท้ายที่ค่านี้เพื่อเอาตัวที่เข้า win

เขียนมา 10 ข้อคงพอควรระดับหนึ่งที่ครอบคลุมพอควร ปลีกย่อยมีอีกบ้างแต่ที่เขียนมาคือหลักใหญ่ครับ

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 30, 2014 10:40 am
โดย Sugarray
สุดยอดมากครับ

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 30, 2014 11:23 am
โดย MR.MOSS
สำหรับผมแล้ว มีหนังสือการลงทุนที่อยู่บนหัวเตียงนอนหรือพกพาไปอ่านเวลาว่างๆอยู่บ่อยๆ ได้แก่

-ก้าวเล็กๆ ในตลาดหุ้น ก้าวที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต / : รวม 60 บทความเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

-จัดทัพลงทุน ตอน รวยแบบอัตโนมัติ โดย ดร.สมจินต์ ศรไพศาล/ คุณศักดา สรรพปัญญาวงศ์

-เพาะหุ้นเป็น เห็นผลยั่งยืน โดย คุณกวี ชูกิจเกษม

และเล่มนี้ “แกะงบการเงินสไตล์ VI โดย อ.สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล” เป็นอีกเล่มหนึ่งที่จะมีไว้อยู่ข้างกาย ไม่ว่าสภาวะของตลาดหุ้นจะขึ้นหรือจะลง ตลาดหมีหรือตลาดกะทิง หนังสือเล่มนี้ช่วยให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงบการเงินแก่ผู้ศรัทธาและสนใจการลงทุนแบบ VI ได้แน่นอน

คำแนะนำของผม “BUY” หนังสือ แกะงบการเงินสไตล์ โดย อ.สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 30, 2014 8:22 pm
โดย dome@perth
kissme เขียน:น่าสนใจครับ แต่ท่านผู้แต่งเป็นใครหรอครับ ชื่อท่านไม่ค่อยคุ้นเลย ท่านใดพอทราบบ้างครับ :?:
ท่านอาจารย์สรรพ์พงศ์ เก่งมากๆครับ ท่านยังใจดีมาให้ความรู้ ตอบคำถาม แก่สมาชิกในเวปเรา
ร่วมกับ ท่านอาจารย์ภาพร ในห้องบทความ / ความรู้งบการเงิน
ตามอ่านในกรทู้นี้ครับ

http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=51694

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 30, 2014 8:23 pm
โดย rekokung
อ. เขาเก่งมากครับ ผมเป็น fan page อยู่ มีข้อสงสัยก็ไปโพสถามแกบ่อยๆ
แต่เขียนหนังสือถ่ายทอดดีหรือไม่เป็นอีกเรื่องนึงนะครับ
ยอมรับว่า ผมอ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง บางเรื่องใช้ตัวย่อเยอะเกิน แทนค่าสูตร ไม่ได้อธิบายที่มาที่ไปชัดเจน
ความเห็นของผมคือ ไม่เหมาะสำหรับมือใหม่หรือคนที่เพิ่งเริ่มอ่านงบการเงินมาไม่นานครับ ผมว่า ไปอ่าน "อ่านงบการเงินให้เป็น" ของอ.ภาพร จะดีกว่า

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 30, 2014 9:07 pm
โดย kissme
ขอบคุณ ท่าน dome ครับ :D

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 01, 2014 12:14 am
โดย kongkiti
Strong Buy ครับ
ว่าจะไปซื้อเหมือนกัน
เคยอบรมกะ อ. 1-2 คอร์ส

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 01, 2014 10:03 pm
โดย Tow_kan11
วันนี้ไปเปิดดูผ่านๆ ครับ ท่าทางจะอ่านเข้าใจยากกว่าเล่ม "อ่านงบการเงินเพื่อลงทุนหุ้น" นะครับ :shock:

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 02, 2014 4:33 pm
โดย pat4310
ซื้อไว้หัวเตียงเลยครับ เนื้อหาแน่นปึ้ก

คำแนะนำ Strong Buy ครับ :D

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 04, 2014 3:40 pm
โดย artvi
ฟังๆแล้วน่าสนใจดีนะครับเดี๋ยวไว้จะไปซื้อหาอ่านบ้าง :D

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 08, 2014 9:22 pm
โดย amornkowa
เมื่อวานเจอคุณ MR Mos และพูดถึงหนังสือเล่มนี้ เดี๋ยวไปหามาอ่านซะหน่อย

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 13, 2014 7:54 pm
โดย 6 Dimensions
[quote="dome@perth"][quote="kissme"]น่าสนใจครับ แต่ท่านผู้แต่งเป็นใครหรอครับ ชื่อท่านไม่ค่อยคุ้นเลย ท่านใดพอทราบบ้างครับ :?:[/quote]

ท่านอาจารย์สรรพ์พงศ์ เก่งมากๆครับ ท่านยังใจดีมาให้ความรู้ ตอบคำถาม แก่สมาชิกในเวปเรา
ร่วมกับ ท่านอาจารย์ภาพร ในห้องบทความ / ความรู้งบการเงิน
ตามอ่านในกรทู้นี้ครับ

[url]http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=51694[/url][/quote]
เพิ่งอ่านเจอครับว่า ในหนังสือหน้า 150 อาจารย์ท่านบอกว่าตั้งแต่ปรับปรุงเว็บไม่สามารถเข้า thaivi ได้เลยครับ เลยไม่สามารถเข้ามาให้ความรู้พวกเราเพิ่มเติมได้ครับ

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 30, 2015 4:04 pm
โดย comrade
เห็นในงานหนังสือวันนี้ ลด 50% อยู่ครับ
จำบู๊ทไม่ได้แล้ว อยู่ใกล้ ๆ อมรินทร์

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 01, 2015 2:54 pm
โดย comrade
เจอล่ะ
บู๊ท สนพ. Think Good เองครับ หนังสือภารกิจพิชิตหุ้น Turnaround ของคุณ pak ก็ลดด้วย

ราคา VI สุด ๆ

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 25, 2015 9:07 am
โดย shumbrotta
โดยส่วนตัวไม่เคยอ่านเล่มนี้ครับ แต่ผมไปเรียนกะท่านมา 2 คอร์ส ถือว่าแกให้ความรู้เยอะมากครับ และสงสัยอะไรสามารถถามได้ตลอดเวลาทั้งทางเมล์และเฟสบุ๊คครับ

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 25, 2015 1:48 pm
โดย nut776
บอกตรงๆ. ผมหาไม่เจอคับ. ใครเจอชี้เป้าด้วยคับ

se ed มีไหมคับ

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 26, 2015 9:40 pm
โดย Tow_kan11
[quote="nut776"]บอกตรงๆ. ผมหาไม่เจอคับ. ใครเจอชี้เป้าด้วยคับ

se ed มีไหมคับ[/quote]

ีซีเอ็ดมีแน่นอนครับ เข้าไปที่ลิงค์เว็บ https://www.se-ed.com/product/%E0%B9%81 ... 6162881923

แล้วเลือกซื้อในซีเอ็ดสาขาที่ไปสะดวกได้เลยครับ

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ค. 27, 2015 2:33 pm
โดย nut776
thx a lot kub

Re: แกะงบการเงินสไตล์ VI ( ผู้เขียน :สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล )

โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 29, 2016 8:22 pm
โดย tongtong_St
https://www.skilllane.com/home
ลองเข้าไปดูในเวบนี้นะครับ อ.ท่านอัดเทปไว้ตอนที่เปิดคอร์สสอน แล้วเราสามารถเรียนออนไลน์ในนี้ได้ครับ ส่วนตัวผมซื้อไปแล้วคอร์สนึงครับ ดีมากเลย