กว่าจะเป็น 'เซียนพันล้าน''นเรศ งามอภิชน' (ตอน1)
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 15, 2014 8:14 pm
กว่าจะเป็น 'เซียนพันล้าน''นเรศ งามอภิชน' (ตอน1)
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, September 15, 2014 06:01
ชาลินี กุลแพทย์
"ขาใหญ่วีไอ" ประจำบล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ใช่จะมีแต่ "เสียปู่-เสียยักษ์-เสียจึง" แม้จะไม่มีคำนำหน้าว่า "เสีย" แต่ "นเรศ งามอภิชน" เจ้าของห้อง VIP หมายเลข 121 ก็ผ่านสังเวียนหุ้นมาอย่างโชกโชนเกือบ 30 ปี
พอร์ตหลายพันล้าน คือ ตัวการันตีความเก่ง
"ขาใหญ่วีไอ" ประจำบล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ใช่จะมีแต่ "เสี่ยปู่-เสี่ยยักษ์-เสี่ยจึง" แม้จะไม่มีคำนำหน้าว่า "เสี่ย" แต่ "นเรศ งามอภิชน" เจ้าของห้อง VIP หมายเลข 121 ก็ผ่านสังเวียนหุ้นมาแล้วอย่างโชกโชนเกือบ 30 ปี พอร์ตหลายพันล้าน คือ ตัวการันตีความเก่ง
ความ Low Profile ของ "นเรศงามอภิชน" อาจทำให้แวดวงตลาดหุ้นเกิดคำถามที่ว่า Who are you? เหตุใด "บุรุษปริศนารายนี้" ถึงสามารถบุกรังขอซื้อหุ้น บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ BTS ล็อตเดียว 100 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 7.50 บาท มูลค่ารวม 750 ล้านบาท จาก "คีรี กาญจนพาสน์" ในฐานะ หุ้นใหญ่ BTS ได้ง่ายดายนัก
แม้จะยังไม่เห็นความผิดปกติ แต่สำนักงานก.ล.ต. ก็เรียกตัว "เทรดเดอร์" บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) หรือ MBKET ประจำตัว "นเรศ" เข้าไปสอบถามเกี่ยวกับเส้นทางการลงทุน "เงินลงทุนมาจากไหน ได้กำไรแล้วเอาไปไว้ที่ไหน"?
คำถามเหล่านี้ดูจะสร้างความรำคาญใจ ไม่น้อยให้กับ "วีไอขาใหญ่" ที่อยู่ในตลาดหุ้นมาเกือบ 30 ปี ถึงขนาดเอ่ยปากขอให้คนสนิท นัดเคลียร์ใจกับสำนักงานก.ล.ต. แม้ทางการ จะพยายามบอก "นเรศ" ว่า "อย่าได้กังวลใจ"เพราะนั่นคือ หน้าที่ของระดับฝ่ายปฏิบัติการแต่ความไม่สบายใจยังคงค้างคาใจ "ชายวัย 56 ปี"
ก๊อกๆ สิ้นเสียงเคาะประตู "นเรศ งามอภิชน" นักลงทุนวีไอรายใหญ่ เจ้าของ ห้อง VIP ขนาดใหญ่ หมายเลข 121 บนชั้น 21 อาคาร สำนักงาน ดิ ออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ก็เปิดประตูต้อนรับ "กรุงเทพธุรกิจ Biz Week" ชายวัยกลางคน รูปร่างสูงโปร่ง ท่าทางสุขุม คือ คนที่อยู่หน้าประตู
ชั้น 21 นอกจากจะเป็นที่ตั้งของบล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) อีกฟากหนึ่งของชั้นยังเป็นศูนย์รวมนักลงทุนรายใหญ่ ขนาดพอร์ตตั้งแต่ระดับร้อยล้านจนพันล้านบาท ประกอบด้วยห้อง VIP ขนาดใหญ่จำนวน 4 ห้อง โดยห้อง VIP หมายเลข 121 ของ "นเรศ" จะเป็น ห้องขนาดใหญ่เพียงห้องเดียวที่ถูกขนาน ข้างซ้ายขวาด้วยห้อง VIP ขนาดเล็กกว่า 10 ห้อง
ส่วนห้อง VIP ขนาดใหญ่อีก 3 ห้อง จะอยู่สุดทางเดิน โดยห้อง VIP หมายเลข 129 ของ"เสี่ยปู่-สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล" จะอยู่ตรงกลางระหว่างห้องของ "เสี่ยยักษ์-วิชัย วชิรพงศ์"และ "เสี่ยจึง-วิชัย จึงทรัพย์ไพศาล" ทุกๆ เที่ยง "เซียนหุ้นไซด์ใหญ่" มากหน้าหลายตาจะออกมาตั้งวงกินข้าวเคล้าเสียงหัวเราะกันอย่างสนุกสนาน
"ผมอยู่ในตลาดหุ้นมา 30 ปี ลงทุน ในลักษณะนี้ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่พอร์ตเล็กๆ ก็มักหาโอกาสเข้าไปพูดคุยกับผู้บริหาร เมื่อเขาเชื่อใจว่าผมจะถือหุ้นในระยะยาว เราจึงสามารถตกลงซื้อหุ้นกันได้ ในความเป็นจริงอยากให้ทางการเรียกผมเข้าไปคุยน่าจะง่ายกว่า สงสัยอะไรตอบได้ทุกคำถาม" "นเรศ งามอภิชน" เซียนหุ้นวีไอไซด์ใหญ่ ทักทายบิสวีค ด้วยการระบายความในใจ
"ครอบครัวผมมีด้วยกัน 5 คน คือ ผม ภรรยาและลูกสาว 2 คน ลูกชาย 1 คน หากทางการไม่สบายใจการลงทุนของผมสามารถตรวจดูเส้นทางการเงินได้เลยง่ายนิดเดียว การที่ภรรยาซื้อหุ้นไอพีโอแล้วโอนมาเป็นชื่อผมมันก็เป็นเรื่องปกติไม่ใช่หรือ"
เมื่อพูดถึงภรรยา เขาถือโอกาสบอกความเชื่อ ส่วนตัวให้ฟังว่า การลงทุนในตลาดหุ้น "โชค"กับ "ความสามารถ" ต้องสัมพันธ์กัน เห็นได้จากภรรยา ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้ลึกซึ้งเรื่องตลาดหุ้น แต่เขาดวงดีมาก
ครั้งหนึ่งเคยเล่าเรื่องดีๆ ในธุรกิจพลังงานทดแทนของบมจ.วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง ให้ภรรยาฟัง ซึ่งบริษัทแห่งนี้ยังไม่จดทะเบียนในตลาดหุ้น แต่ภรรยาเข้าใจว่า เป็นหุ้น สวนอุตสาหกรรม วินโคสท์ หรือ WIN แต่เมื่อซื้อหุ้นมาแล้วราคากลับปรับตัวเพิ่มขึ้น สุดท้ายก็ขายได้กำไร "โชคมีผลต่อการลงทุนเหมือนกันนะ"
"นเรศ" ชายผู้ไม่มีชื่อเล่น เล่าประวัติส่วนตัว ที่ใครหลายคนอยากรู้ให้ฟังว่า "ผมเป็นลูกชายคนรอง จากจำนวนพี่น้อง 9 คน น้องคนสุดท้อง อายุห่างกันเกือบ 20 ปี คุณพ่อและคุณแม่เป็นคนจีน ท่านเข้ามาเมืองไทยตั้งแต่มีอายุเพียง 10 กว่าขวบ ครอบครัวเรายึดอาชีพค้าส่งเครื่องครัวตราสามดาว และตราโลตัส โรงงานอยู่แถวเพชรเกษม
พ่อให้ทำงานตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ด้วยการรับโทรศัพท์ลูกค้า เมื่ออายุ 18 ปี ตอนนั้น น่าจะประมาณปี 2517 ก็ขอพ่อไปทำงานในฝ่ายการตลาด เพราะอยากออกไปพบลูกค้า ส่วนใหญ่ลูกค้าจะอยู่แถวลำเพ็งและจักรวาล สมัยก่อนพ่อไม่เคยสอนวิธีการทำงาน แต่เรามักอาศัยดูพ่อเป็นตัวอย่างแล้วทำตาม
จากนั้นเมื่ออายุ 25 ปี ก็ขอไปทำงานด้านส่งออก ลูกค้าหลักของเราอยู่ที่ตะวันออกกลาง ช่วงนั้นยอดสั่งซื้อดีมาก เรียกว่าแทบไม่มีวันหยุด ด้วยความที่ทำงานทุกวันควบคู่ไปกับการเรียน ปริญญาตรี (เขาขอไม่เปิดเผยเรื่องการศึกษา) ทำให้มีโอกาสช่วยพ่อทำงานเต็มที่ได้ถึงแค่ปี 2530
จุดเริ่มต้นการลงทุนในตลาดหุ้นเกิดขึ้นตอนนี้
เขาเกริ่นนำ ช่วงนั้นมีโอกาสเจอเพื่อนที่เพิ่งเรียนจบ MBA จากประเทศสหรัฐอเมริกา เขามาเล่าให้ฟังว่า หลักสูตรที่เรียนมาได้สอนเกี่ยวเรื่องการลงทุนในตลาดหุ้น หลังจากฟังเขาพูดจนจบเกิดความคิดอยากลงทุนบ้าง ต้องบอกก่อนว่า เมื่อก่อนเรื่องหุ้นเป็นเรื่องใหม่ มาก ที่ผ่านมามักได้ยินแต่เรื่องไม่ดีเกี่ยวกับตลาดหุ้น โดยเฉพาะเรื่องคนโดดตึกฆ่าตัวตาย เพราะขาดทุนหุ้น
ตอนนั้นเราตามเพื่อนไปดูห้องค้าที่บล.นครหลวงเครดิต อาคารมณียา ย่านเพลินจิต เมื่อมีโอกาสได้สัมผัสของจริงรู้สึกตื่นเต้นมาก เพราะเป็นห้องค้าขนาดใหญ่ตกแต่งหรูหรา คนที่อยู่ในห้องค้าส่วนใหญ่แต่งตัวดีทุกคน เมื่อก่อนโบรกเกอร์ยังไม่มีห้อง VIP ทำให้ นักลงทุนทุกคนไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนรายเล็กหรือใหญ่ มีชื่อเสียงดังแค่ไหน ก็ต้องมานั่งรวมกันในห้องเดียวกัน
วิธีการซื้อขายหุ้นสมัยก่อน เทรดเดอร์จะไปนั่งประจำอยู่ที่ตลาดหลักทรัพย์อาคารสินธร เพื่อรับคำสั่งซื้อขายจากพนักงานที่อยู่ประจำโบรกเกอร์ โดยจะทำการสั่งซื้อขายผ่าน โทรศัพท์ ซึ่งนักลงทุนรายใดส่งกระดาษคำสั่งซื้อขาย ถี่ๆ รับรู้ได้เลยว่า คนนั้นเป็นนักลงทุนรายใหญ่ ส่วนนักลงทุนรายย่อยนานๆ จะส่งกระดาษสักที เพราะต้องใช้เวลาคิดนาน กระดาษสีฟ้า คือ สั่งซื้อ กระดาษสีแดง คือ สั่งขาย
หลังจากกลับมาจากห้องค้าตัดสินใจเปิดพอร์ต ด้วยเงินลงทุนก้อนแรก "หลักหมื่นบาท"ในปี 2531 ตอนนั้นเพื่อนที่ชวนมาลงทุนเขา มีพอร์ตหลักแสนแล้ว เพราะเล่นมานานเป็นปี เขาได้กำไรมาแล้วหลายเท่าตัว ก่อนเปิดพอร์ตลงทุนเพื่อนคนนี้ย้ำว่า การลงทุนในตลาดหุ้นจะทำให้เงินของเราเติบโต แต่ตอนนั้นเราพูดแย้งเพื่อนไปว่า เคยได้ยินแต่คนฆ่าตัวตาย (ยิ้ม)
จำหุ้นตัวแรกไม่ได้ แต่ช่วงนั้นตลาดหุ้นอ่อนไหวมากเหมาะกับการเล่นเก็งกำไร ในห้องค้า ยังไม่ใครพูดถึงการถือหุ้นยาวๆ เมื่อก่อน กฎระเบียบยังไม่เข้มงวดมีเงินเท่าไรโบรกเกอร์ไม่เคยขอดูรายละเอียด อยากซื้อหุ้นตัวไหนทำได้ตามใจชอบ ทำให้ช่วงนั้นมีทั้งนักลงทุนที่ได้กำไรและขาดทุนมากๆ คละเคล้ากันไป
"เล่นหุ้นตามเพื่อน" คือ วิถีลงทุนหุ้นในช่วงแรก "กำไรหลักหมื่นบาทต่อวันต่อเนื่อง สิบวัน" (หัวเราะ) คือ ผลของการเก็งกำไรในครานั้น เพราะซื้อขายทุกวันเฉลี่ยวันละหลายๆ ตัว ตอนนั้น ทำบัญชีการซื้อขายเก็บไว้ด้วย ส่วนใหญ่จะลงทุนในหุ้นกลุ่มหลักทรัพย์ เช่น หุ้นบล.ภัทร หุ้นบล.เอกธำรง รวมถึงกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เช่น หุ้น แลนด์แอนด์เฮ้าส์ หรือ LH เป็นต้น
แม้ตลอด 1 ปี จะได้กำไรติตต่อกันเป็นสิบวัน แต่เวลาขาดทุนหนึ่งครั้งก็แทบจะกินกำไรทั้งหมด ตอนนั้นท้อใจมาก จำได้เคยหันไปบอกเพื่อนว่า เลิกเล่นหุ้นแล้วกลับไปค้าขายเหมือนเดิมดีกว่ามั้ย แต่บังเอิญช่วงนั้นแอบสังเกตเห็นนักลงทุนรายใหญ่ เขามักจะเข้ามา ห้องค้าในช่วงตลาดหุ้นเปิดประมาณ 09.30 น. เพื่อตามข่าวและอ่านหนังสือพิมพ์ จากนั้น ก็จะออกไปข้างนอก ก่อนจะกลับเข้ามาอีกครั้ง หลังตลาดหุ้นปิดทำการในเวลาเที่ยง สมัยก่อนตลาดหุ้นเปิดซื้อขายเพียงครึ่งวัน
ตอนนั้นแอบสงสัยรายใหญ่ไปไหนกันหมด วันหนึ่งถึงได้รู้ว่า เขาเหล่านั้นไปส่องกล้องดูหุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์ เขาอธิบายความหมายของคำว่า "ส่องกล้อง" เมื่อก่อนห้องเทรดหุ้นของตลาดหลักทรัพย์จะอยู่ชั้นล่างของอาคารสินธร ซึ่งนักลงทุนรายใหญ่หลายคนจะขึ้นไปยืนบนชั้น สูงๆ ของตึก ซึ่งอยู่เยื้องๆ กับห้องเทรดหุ้น
จากนั้นเขาจะใช้กล้องส่องทางไกลส่องเข้ามาที่ในห้องเทรดหุ้น เพื่อดูว่าเทรดเดอร์กำลังจะสั่งซื้อหุ้นตัวไหนในราคาเท่าไหร่ เมื่อเรารู้แล้วก็จะรีบสั่งซื้อหุ้นตามทันที ซึ่งจะแตกต่างจากการซื้อตามห้องค้าที่ต้องต่อคิวกว่าจะได้ซื้อราคาก็เปลี่ยนไปแล้ว
ส่องกล้องเล่นหุ้น แบบนี้ได้เปรียบมาก เพราะสามารถสั่งซื้อได้เร็วกว่าเป็นนาที "เจอทางสว่าง"
ความรู้สึกของผมกับเพื่อนในขณะนั้น หลังจากนั้นเราทั้งคู่ก็ปรับพฤติกรรม
การลงทุนใหม่ ด้วยการขึ้นมาส่องกล้องดูหุ้นบนอาคารสินธรทุกวัน ทำให้ช่วงนั้นได้ "กำไรหลายเท่าตัว" พอร์ตลงทุนก็เพิ่มขึ้นจาก "หลักหมื่น" เป็น "หลักหลายล้านบาท" แรกๆ ยังไม่ค่อยมีนักลงทุนรู้เรื่องส่องกล้อง แต่เมื่อเรื่องแพร่กระจายเชื่อหรือไม่แทบไม่มีที่จะยืน เพราะทุกคนแย่งพื้นที่ส่องหุ้นกันหมด เราทั้งคู่ส่องกล้องอยู่เกือบปี ทางการก็ไม่ได้ห้ามอะไร เพราะไม่ได้ผิดกติกา
แต่หลังจากระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเมืองไทยในปี 2534 นักลงทุนทุกคนก็เลิกส่องกล้อง เมื่อความได้เปรียบในการเล่นหุ้นหมดไป ผมตัดสินใจย้ายมาซื้อขายในบล.เกียรตินาคิน คราวนี้ต้องมาศึกษารูปแบบการลงทุนกันใหม่ ด้วยความที่ไม่ถนัดใช้คอมพิวเตอร์ในช่วงแรกเราจึงต้องนั่งประกบมาร์เก็ตติ้ง เพื่อสั่งให้เข้าคีย์ข้อมูลซื้อขาย
ตอนนั้นยังคงคอนเซปต์เล่นเก็งกำไรเช่นเคย แต่ด้วยความที่รู้จักหุ้นเยอะขึ้น ทำให้เริ่มใส่ใจพื้นฐานของบริษัทต่างๆมากขึ้น และสนใจดูความสามารถของผู้บริหารควบคู่ไปด้วย เมื่อก่อนบริษัทแห่งใดมีโอกาสเพิ่มทุนราคาหุ้นจะวิ่งชนซิลลิ่งนักลงทุนจะชอบมาก เพราะบริษัทมักขายหุ้นเพิ่มทุนต่ำกว่าราคาในกระดาน แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แล้วแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
เมื่อก่อนจะใช้เวลาดูข้อมูลไม่นาน ถ้ามั่นใจแล้วก็จะใส่เต็มที ทุกวันนี้ยังเป็นคนตัดสินใจเร็วเหมือนเดิม เพียงแต่จะละเอียดมากขึ้น สมมุติตั้งใจจะซื้อหุ้นตัวนี้ 1 ล้านหุ้น ผมจะจัดเต็มเลยจะไม่ทยอยซื้อครั้งละแสนสองแสน แต่หากไม่ค่อยมั่นใจจะทดลองซื้อ 50,000 -100,000 บาท เมื่อก่อนจะเป็นคนซื้อหุ้นน้อยตัว
หลังเมืองไทยเปลี่ยนเข้าสู่ยุคคอมพิวเตอร์ เริ่มเทรดหุ้นน้อยลงเต็มที่จะมีหุ้นในมือไม่เกิน 3 ตัว ไม่เหมือนตอนส่องกล้องที่ซื้อขายมั่วไปหมด อะไรดีจะซื้อและเมื่อมีกำไรจะจัดการขายทันที เมื่อซื้อขายไม่บ่อยครั้งพอร์ตลงทุน ก็ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง อาจเป็นเพราะตอนนั้น ยังไม่คุ้นเคยกับระบบคอมพิวเตอร์
ช่วงปี 2535 บล.การทุนไทย มาชวนให้ไป ซื้อขายด้วย โดยเขาจะให้ห้อง VIP มีเครื่องอำนวย ความสะดวก ไม่ว่าจะเป็นทีวี และตู้เย็น เป็นต้น ถือเป็นก้าวในการเข้าสู่ "นักลงทุนรายใหญ่ครั้งแรก" ตอนนั้นพอร์ตลงทุนขยับขึ้นเป็น "หลัก สิบล้านบาท" ทุกอย่างมันบูมไปหมดเศรษฐกิจดีมากถึงขนาดรถยนต์ผลิตไม่พอขาย ทำให้คนที่อยากได้รถยนต์ต้องไปสั่งจองกว่าจะได้รถใช้เวลานาน 3-4 เดือน
ผมมีโอกาสจ่ายเงินจองรถยนต์ฮอนด้า 10,000 บาท แล้วดันเกิดเปลี่ยนใจอยากเปลี่ยนสีรถ แต่ศูนย์ฮอนด้าแจ้งว่า ถ้าเปลี่ยนสีรถต้องกลับไปเข้าคิวใหม่ บังเอิญตอนนั้นไปเห็นคนประกาศรับซื้อใบจองผ่านหนังสือพิมพ์จึงตัดสินใจติดต่อเข้าไป
ผลปรากฏว่า เขารับซื้อใบจองสูงถึง 30,000 บาท ตอนนั้นเราเริ่มเห็นช่องทางการหาเงินใหม่ คราวนี้สั่งจองรถยนต์ฮอนด้าทีเดียวรวด 10-20 คัน จากนั้นไปประกาศลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์บ้านเมืองฟรีว่า เราขายใบจอง เชื่อหรือไม่ คนโทรเข้ามาเยอะมากถึงขนาดผมต้องจ้างคนมารับโทรศัพท์ (ยิ้ม)
ตอนนั้นได้กำไรจากการขายใบจองเป็น "ล้านบาท" เพราะจองซื้อรถยนต์ฮอนด้า รุ่น Civic และ Accord ไปหลายสิบคัน เยอะมากถึงขนาดศูนย์รถยนต์ฮอนด้าออกใบประกาศขอบคุณ และมอบถ้วยรางวัล ระหว่างเทรดหุ้นเราก็ยึดอาชีพนี้ไปด้วยทำอยู่เกือบปีจนใบจองรถยนต์ขายไม่ได้ หลังโรงงานเริ่มผลิตรถยนต์ได้ตามความต้องการแล้ว
ด้วยความที่เป็นคนมีทักษะในการเจรจา ตอนนั้นเหลือใบจองรถยนต์ฮอนด้าราคาใบละ 20,000 บาท หลายสิบใบ ตัดสินใจนัดขอเข้าไปคุยกับผู้บริหารชาวญี่ปุ่นว่า ที่ผ่านมาเราช่วยคุณขายรถยนต์มาเยอะมาก แต่ตอนนี้ใบจองขายไม่ได้แล้ว คุณช่วยรับคืนได้มั้ย สุดท้ายเขาก็รับคืน
"นเรศ" ย้อนกลับมาเล่าเรื่องลงทุนในตลาดหุ้นต่อว่า ช่วงที่ย้ายมาซื้อขายในบล. การทุนไทย เทคนิคการลงทุนเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก ข้อแรก เริ่มศึกษาข้อมูลบริษัท จดทะเบียนละเอียดมากขึ้น ข้อสอง เริ่มใกล้ชิด ผู้บริหารมากขึ้น เพื่อที่จะได้รับรู้ถึงความมีธรรมภิบาลของเจ้าของบริษัท และนโยบายการทำธุรกิจ
แม้จะจำชื่อบริษัทจดทะเบียนตัวแรก ที่ขอเข้าไปพบเจ้าของไม่ได้ แต่ตอนนั้นเกิด สงครามแย่งหุ้น ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ หรือ บีบีซี ระหว่าง "เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์" ในฐานะหุ้นใหญ่ และ "สอง วัชรศรีโรจน์"ในฐานะนักลงทุนรายใหญ่ เมื่อมีโอกาสได้พูดคุยกับทั้งสองฝ่าย ด้วยการต่อสายตรงถึงเลขาของทั้งคู่ ทำให้มั่นใจว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นจริงไม่ใช่แค่ข่าวลือ
ตอนนั้น "เสี่ยสอง" บอกกับ "นเรศ" ว่า เขามีเงินลงทุน และอยากถือหุ้นอธนาคาร ส่วนฟาก "เกริกเกียรติ" บอกว่า เขาพยายามรักษาความเป็นเจ้าของให้ถึงที่สุด เมื่อทั้งสองฝ่ายยืนยันอยากครอบครองหุ้น บีบีซี ทำให้ตอนนั้นมั่นใจว่า ราคาหุ้นต้องพุ่งแน่นอน ผมจึงตัดสินใจไล่ซื้อหุ้นในกระดาน เรียกว่า ซื้อเยอะมากๆ ตอนนั้นไม่ได้สนใจว่า สุดท้ายใครคือ ผู้ชนะ รู้เพียงว่า ต้องไล่เก็บหุ้น เพื่อนำมาขายให้กับผู้ที่ให้ราคารับซื้อสูงที่สุด
หลังจากได้หุ้นมาจำนวนหนึ่ง ผมตัดสินใจ นำไปขายต่อให้ "เกริกเกียรติ" โดยผ่านคนประสานงานของเขา ได้กำไรจากการขายหุ้นครั้งนั้นเท่าไหร่ จำตัวเลขไม่ได้จริงๆ รู้เพียงว่า "เยอะมากๆ" (ลากเสียงยาว) เพราะขายในราคาที่สูงกว่าในกระดานและราคาต้นทุนพอสมควร
ตอนนั้นไม่ได้ขายเพียงหุ้น บีบีซี ในส่วนที่ ตัวเองไล่เก็บมาเท่านั้น แต่ยังรับซื้อหุ้น บีบีซี จากนักลงทุนรายอื่นด้วย เมื่อนำหุ้นของตัวเอง มารวมกับหุ้นที่รับซื้อมาขาย ทำให้มีส่วนต่างจาก การขายหุ้นครั้งนั้นหลายเท่าตัว เขาย้ำ
"กลับเข้ามาในตลาดหุ้นด้วยความเชื่อที่ว่า ทุกอย่างกำลังดีขึ้น และไม่รู้สึกเข็ดฉะนั้นใครมีเงินคุณจะรวยมหาศาล"
ชีวิตลงทุนช่วง'ยุคมืด'
"วีไอรายใหญ่" เล่าต่อว่า ผ่านมาถึง ปี 2536 ตลาดหุ้นไทยบูมมาก ดัชนีขยับจาก 900 จุด ในเดือนก.ย.มาเป็น 1,600 จุดปลายๆ ขึ้นมาประมาณ 700-800 จุด โดยใช้เวลาเพียง 3 เดือน ตอนนั้นไม่มีสตอรี่อะไรมาหนุนดัชนี แต่ตลาดหุ้นตัวเลขเศรษฐกิจ และราคาที่ดินดีมากๆ ทำให้พอร์ตลงทุนของผมโตเร็วมาก ตอนนั้นกฎระเบียบยังไม่เข้มงวด เขาย้ำ คุณสามารถเปิดบัญชี เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ หรือบัญชีมาจิน (Margin Account) ด้วยการวางเงิน 1 ล้านบาท แต่สามารถซื้อได้ 5 ล้านบาท
สนุกกับการเก็งกำไรได้เพียง 1 ปี สิ้นปี 2536 เพื่อนๆ นักลงทุนรวมตัวกันไปเที่ยวประเทศสิงคโปร์ ตอนไปถึงสนามบินดอนเมือง มีเพื่อนคนหนึ่งพูดขึ้นว่า ปี 2537 ดัชนีจะยืน 2,500 จุด ตอนนั้นหัวเราะกันเฮฮา เมื่อ เดินทางกลับเมืองไทย หลังไปเที่ยวมา 2-3 วัน วันแรกของการซื้อขายหุ้น "ร้อนแรงมาก"ดัชนีเปิดลอยไปกว่า 1,700 จุด
จากนั้นเกิดแรงขายกระหน่ำ ด้วยความที่ เคยชินกับขาขึ้นมาหลายปี เมื่อเขาสาดขายเรา ก็รับ เพราะคิดว่าเดี๋ยวหุ้นคงขึ้นเหมือนเคย ผลปรากฏว่า เมื่อรับแล้วต้อง Cut loss (ตัดขาดทุน) ทำให้พอร์ตระหว่างวันเกิดความเสียหายหลายล้านบาท ตอนนั้นความผิดปกติของวอลุ่มมีให้เห็น เด่นชัด ปกติซื้อขายเฉลี่ย 10,000-20,000 ล้านบาทต่อวัน แต่ช่วงนั้นซื้อขายสูงถึงวันละ 40,000-50,000 ล้านบาท
แม้วอลุ่มจะผิดปกติ แต่ยังคงซื้อขายต่อ 2-3 เดือน แต่เมื่อเริ่มคิดได้ว่า เหตุผลที่หุ้นไทยไหลลงเกิดจากนักลงทุนต่างประเทศ ผู้ที่ขึ้นชื่อว่าเป็น "นักเก็งกำไรชั้นยอด" กำลัง ลากนักลงทุนไทยขึ้นไปเชือดในที่สูง ตอนนั้นต้อง ยอมรับว่า นักลงทุนไทยขาดประสบการณ์ เมื่อได้สติตัดสินใจล้างพอร์ต ตอนนั้นมีหุ้น ในมือ 5-6 ตัว จำชื่อหุ้นไม่ได้รู้แค่ว่าเป็นหุ้นดีๆ ทั้งนั้น
ตอนนั้น "ขาดทุนแสนสาหัส" ได้เงินคืนกลับมาแค่ 20-30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อคิดจากมูลค่าพอร์ตลงทุน "หลักสิบล้านบาท" บังเอิญเล่นมาร์จิ้นเยอะมาก 4-5 เท่าของพอร์ต ผมบอกเพื่อนๆ ทุกคนให้เลิกเล่น เพราะตลาดหุ้นคงตกต่ำอีกยาวนาน และกว่าจะหาฐานใหม่เจอคงต้องใช้เวลา แม้จะเลิกเล่นหุ้น แต่ยังคงติดตามตลาดหุ้นตลอดเวลา
เลิกเล่นหุ้นในปี 2537 แล้วกลับไปทำอะไรต่อ เขาบอกว่า เดิมตั้งใจจะกลับไปช่วยงาน ของครอบครัว แต่รู้สึกไม่มีความท้าทาย อีกอย่างน้องๆ สามารถขึ้นมาทำงานแทนเราได้แล้ว ทำให้ช่วงนั้นหมดเวลาไปกับการเข้าวัด นั่งสมาธิ
ไปวัดทุกวันจนกระทั่งปี 2539 มีโอกาสเจอเพื่อนคนหนึ่งที่ทำธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหารไทยในเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เขามาชวนให้ไปลงทุนด้วยกัน เมื่อลองบินไปดูงานที่ญี่ปุ่น ทำให้เห็นว่า เป็นธุรกิจที่น่าสนใจ เพราะคนต่อคิวเข้าร้านยาวมาก แต่เมื่อนั่งเครื่องบินกลับเมืองไทยรู้สึกเครียดคิดไม่ออกจะทำอย่างไรกับชีวิต ตอนนั้นมีภรรยาและลูกสามคนแล้ว
ตั้งแต่ขายหุ้นขาดทุนในปี 2537 มีความเชื่อว่า เมื่อตลาดหุ้นตกต่ำจนถึงที่สุดแล้วต้องดีดกลับมา ฉะนั้นหากเราสามารถรักษาเงินก้อนที่มีอยู่ 20-30 เปอร์เซ็นต์ เงินจะต้องกลับมา เท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม ทั้งๆ ที่ตอนนั้นยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตลาดหุ้นจะกลับมาเมื่อไร
"อดทนรอ ประหยัด" เป็นเรื่องที่ต้องทำ ในเวลานั้น ในเมื่อรู้ว่า หุ้นกลับมาแน่ ฉะนั้นถามว่า เมื่อรู้อย่างนี้แล้วจะกล้านำเงินก้อนสุดท้ายไปลงทุนในญี่ปุ่นหรือ หากไปจริงต้องนำลูกและภรรยาไปด้วย ซึ่งค่าใช้จ่ายคงสูงมาก เงินก้อนนี้ อาจหมดได้ สุดท้ายตัดสินใจไม่ลงทุนในญี่ปุ่น และใช้ชีวิตอยู่เมืองไทย ด้วยความหวังว่า ตลาดหุ้นไทยจะกลับมา...
ด้วยความที่อยู่ว่างๆ ปลายปี 2539 ไปอบรมโครงการพัฒนาผู้บริหาร หรือ MINI MBA มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นั่งเรียนไปมาเกิดความรู้สึกว่า เรื่องที่อาจารย์กำลังสอนผมรู้หมดแล้ว เพราะเรียนรู้มาจากตลาดหุ้น แม้กระทั่งเรื่องบัญชีก็เข้าใจหมดแล้ว วันหนึ่ง มีโอกาสออกไปพูดเรื่องเศรษฐกิจธุรกิจหน้าห้องเรียน เพื่อนๆ ชอบจนเขาโหวตให้เป็นประธานรุ่น สุดท้ายเรียนแล้วไม่ได้ความรู้อะไรเพิ่มเติม ทำให้ไปเรียนแค่ 2-3 เดือน จากหลักสูตร 4 เดือน
"ที่ผ่านมาผมเรียนรู้อะไรหลายอย่างจากตลาดหุ้น นั่นคือ ข้อดีของการ เล่นหุ้น"
ช่วงนั้นจึงใช้ชีวิตวนเวียนระหว่างวัด และนั่งเป็นที่ปรึกษาธุรกิจให้กับน้องๆ ตอนนั้นพ่อและแม่รับรู้เรื่องของเรา มาตลอด ปกติครอบครัวคนจีนใครเก่ง มักออกไปเติบโตนอกบ้าน ส่วนใครอ่อนแอครอบครัวจะเป็นห่วง ฉะนั้นกิจการของครอบครัวจึงมีไว้รองรับคนอ่อนแอ ที่ผ่านมาพ่อกับแม่ไม่เคยหวังว่า ธุรกิจต้องใหญ่โต ขอเพียงว่า บริหารธุรกิจให้สามารถเลี้ยงดูคน ในครอบครัวได้ก็พอ
กราฟลงทุนของ "นเรศ" จะรุ่งเรืองมาก ระดับไหน ตามอ่านต่อสัปดาห์หน้า บิสวีค รับประกันความทึ่ง!!--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, September 15, 2014 06:01
ชาลินี กุลแพทย์
"ขาใหญ่วีไอ" ประจำบล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ใช่จะมีแต่ "เสียปู่-เสียยักษ์-เสียจึง" แม้จะไม่มีคำนำหน้าว่า "เสีย" แต่ "นเรศ งามอภิชน" เจ้าของห้อง VIP หมายเลข 121 ก็ผ่านสังเวียนหุ้นมาอย่างโชกโชนเกือบ 30 ปี
พอร์ตหลายพันล้าน คือ ตัวการันตีความเก่ง
"ขาใหญ่วีไอ" ประจำบล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ใช่จะมีแต่ "เสี่ยปู่-เสี่ยยักษ์-เสี่ยจึง" แม้จะไม่มีคำนำหน้าว่า "เสี่ย" แต่ "นเรศ งามอภิชน" เจ้าของห้อง VIP หมายเลข 121 ก็ผ่านสังเวียนหุ้นมาแล้วอย่างโชกโชนเกือบ 30 ปี พอร์ตหลายพันล้าน คือ ตัวการันตีความเก่ง
ความ Low Profile ของ "นเรศงามอภิชน" อาจทำให้แวดวงตลาดหุ้นเกิดคำถามที่ว่า Who are you? เหตุใด "บุรุษปริศนารายนี้" ถึงสามารถบุกรังขอซื้อหุ้น บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ BTS ล็อตเดียว 100 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 7.50 บาท มูลค่ารวม 750 ล้านบาท จาก "คีรี กาญจนพาสน์" ในฐานะ หุ้นใหญ่ BTS ได้ง่ายดายนัก
แม้จะยังไม่เห็นความผิดปกติ แต่สำนักงานก.ล.ต. ก็เรียกตัว "เทรดเดอร์" บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) หรือ MBKET ประจำตัว "นเรศ" เข้าไปสอบถามเกี่ยวกับเส้นทางการลงทุน "เงินลงทุนมาจากไหน ได้กำไรแล้วเอาไปไว้ที่ไหน"?
คำถามเหล่านี้ดูจะสร้างความรำคาญใจ ไม่น้อยให้กับ "วีไอขาใหญ่" ที่อยู่ในตลาดหุ้นมาเกือบ 30 ปี ถึงขนาดเอ่ยปากขอให้คนสนิท นัดเคลียร์ใจกับสำนักงานก.ล.ต. แม้ทางการ จะพยายามบอก "นเรศ" ว่า "อย่าได้กังวลใจ"เพราะนั่นคือ หน้าที่ของระดับฝ่ายปฏิบัติการแต่ความไม่สบายใจยังคงค้างคาใจ "ชายวัย 56 ปี"
ก๊อกๆ สิ้นเสียงเคาะประตู "นเรศ งามอภิชน" นักลงทุนวีไอรายใหญ่ เจ้าของ ห้อง VIP ขนาดใหญ่ หมายเลข 121 บนชั้น 21 อาคาร สำนักงาน ดิ ออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ก็เปิดประตูต้อนรับ "กรุงเทพธุรกิจ Biz Week" ชายวัยกลางคน รูปร่างสูงโปร่ง ท่าทางสุขุม คือ คนที่อยู่หน้าประตู
ชั้น 21 นอกจากจะเป็นที่ตั้งของบล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) อีกฟากหนึ่งของชั้นยังเป็นศูนย์รวมนักลงทุนรายใหญ่ ขนาดพอร์ตตั้งแต่ระดับร้อยล้านจนพันล้านบาท ประกอบด้วยห้อง VIP ขนาดใหญ่จำนวน 4 ห้อง โดยห้อง VIP หมายเลข 121 ของ "นเรศ" จะเป็น ห้องขนาดใหญ่เพียงห้องเดียวที่ถูกขนาน ข้างซ้ายขวาด้วยห้อง VIP ขนาดเล็กกว่า 10 ห้อง
ส่วนห้อง VIP ขนาดใหญ่อีก 3 ห้อง จะอยู่สุดทางเดิน โดยห้อง VIP หมายเลข 129 ของ"เสี่ยปู่-สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล" จะอยู่ตรงกลางระหว่างห้องของ "เสี่ยยักษ์-วิชัย วชิรพงศ์"และ "เสี่ยจึง-วิชัย จึงทรัพย์ไพศาล" ทุกๆ เที่ยง "เซียนหุ้นไซด์ใหญ่" มากหน้าหลายตาจะออกมาตั้งวงกินข้าวเคล้าเสียงหัวเราะกันอย่างสนุกสนาน
"ผมอยู่ในตลาดหุ้นมา 30 ปี ลงทุน ในลักษณะนี้ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่พอร์ตเล็กๆ ก็มักหาโอกาสเข้าไปพูดคุยกับผู้บริหาร เมื่อเขาเชื่อใจว่าผมจะถือหุ้นในระยะยาว เราจึงสามารถตกลงซื้อหุ้นกันได้ ในความเป็นจริงอยากให้ทางการเรียกผมเข้าไปคุยน่าจะง่ายกว่า สงสัยอะไรตอบได้ทุกคำถาม" "นเรศ งามอภิชน" เซียนหุ้นวีไอไซด์ใหญ่ ทักทายบิสวีค ด้วยการระบายความในใจ
"ครอบครัวผมมีด้วยกัน 5 คน คือ ผม ภรรยาและลูกสาว 2 คน ลูกชาย 1 คน หากทางการไม่สบายใจการลงทุนของผมสามารถตรวจดูเส้นทางการเงินได้เลยง่ายนิดเดียว การที่ภรรยาซื้อหุ้นไอพีโอแล้วโอนมาเป็นชื่อผมมันก็เป็นเรื่องปกติไม่ใช่หรือ"
เมื่อพูดถึงภรรยา เขาถือโอกาสบอกความเชื่อ ส่วนตัวให้ฟังว่า การลงทุนในตลาดหุ้น "โชค"กับ "ความสามารถ" ต้องสัมพันธ์กัน เห็นได้จากภรรยา ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้ลึกซึ้งเรื่องตลาดหุ้น แต่เขาดวงดีมาก
ครั้งหนึ่งเคยเล่าเรื่องดีๆ ในธุรกิจพลังงานทดแทนของบมจ.วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง ให้ภรรยาฟัง ซึ่งบริษัทแห่งนี้ยังไม่จดทะเบียนในตลาดหุ้น แต่ภรรยาเข้าใจว่า เป็นหุ้น สวนอุตสาหกรรม วินโคสท์ หรือ WIN แต่เมื่อซื้อหุ้นมาแล้วราคากลับปรับตัวเพิ่มขึ้น สุดท้ายก็ขายได้กำไร "โชคมีผลต่อการลงทุนเหมือนกันนะ"
"นเรศ" ชายผู้ไม่มีชื่อเล่น เล่าประวัติส่วนตัว ที่ใครหลายคนอยากรู้ให้ฟังว่า "ผมเป็นลูกชายคนรอง จากจำนวนพี่น้อง 9 คน น้องคนสุดท้อง อายุห่างกันเกือบ 20 ปี คุณพ่อและคุณแม่เป็นคนจีน ท่านเข้ามาเมืองไทยตั้งแต่มีอายุเพียง 10 กว่าขวบ ครอบครัวเรายึดอาชีพค้าส่งเครื่องครัวตราสามดาว และตราโลตัส โรงงานอยู่แถวเพชรเกษม
พ่อให้ทำงานตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ด้วยการรับโทรศัพท์ลูกค้า เมื่ออายุ 18 ปี ตอนนั้น น่าจะประมาณปี 2517 ก็ขอพ่อไปทำงานในฝ่ายการตลาด เพราะอยากออกไปพบลูกค้า ส่วนใหญ่ลูกค้าจะอยู่แถวลำเพ็งและจักรวาล สมัยก่อนพ่อไม่เคยสอนวิธีการทำงาน แต่เรามักอาศัยดูพ่อเป็นตัวอย่างแล้วทำตาม
จากนั้นเมื่ออายุ 25 ปี ก็ขอไปทำงานด้านส่งออก ลูกค้าหลักของเราอยู่ที่ตะวันออกกลาง ช่วงนั้นยอดสั่งซื้อดีมาก เรียกว่าแทบไม่มีวันหยุด ด้วยความที่ทำงานทุกวันควบคู่ไปกับการเรียน ปริญญาตรี (เขาขอไม่เปิดเผยเรื่องการศึกษา) ทำให้มีโอกาสช่วยพ่อทำงานเต็มที่ได้ถึงแค่ปี 2530
จุดเริ่มต้นการลงทุนในตลาดหุ้นเกิดขึ้นตอนนี้
เขาเกริ่นนำ ช่วงนั้นมีโอกาสเจอเพื่อนที่เพิ่งเรียนจบ MBA จากประเทศสหรัฐอเมริกา เขามาเล่าให้ฟังว่า หลักสูตรที่เรียนมาได้สอนเกี่ยวเรื่องการลงทุนในตลาดหุ้น หลังจากฟังเขาพูดจนจบเกิดความคิดอยากลงทุนบ้าง ต้องบอกก่อนว่า เมื่อก่อนเรื่องหุ้นเป็นเรื่องใหม่ มาก ที่ผ่านมามักได้ยินแต่เรื่องไม่ดีเกี่ยวกับตลาดหุ้น โดยเฉพาะเรื่องคนโดดตึกฆ่าตัวตาย เพราะขาดทุนหุ้น
ตอนนั้นเราตามเพื่อนไปดูห้องค้าที่บล.นครหลวงเครดิต อาคารมณียา ย่านเพลินจิต เมื่อมีโอกาสได้สัมผัสของจริงรู้สึกตื่นเต้นมาก เพราะเป็นห้องค้าขนาดใหญ่ตกแต่งหรูหรา คนที่อยู่ในห้องค้าส่วนใหญ่แต่งตัวดีทุกคน เมื่อก่อนโบรกเกอร์ยังไม่มีห้อง VIP ทำให้ นักลงทุนทุกคนไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนรายเล็กหรือใหญ่ มีชื่อเสียงดังแค่ไหน ก็ต้องมานั่งรวมกันในห้องเดียวกัน
วิธีการซื้อขายหุ้นสมัยก่อน เทรดเดอร์จะไปนั่งประจำอยู่ที่ตลาดหลักทรัพย์อาคารสินธร เพื่อรับคำสั่งซื้อขายจากพนักงานที่อยู่ประจำโบรกเกอร์ โดยจะทำการสั่งซื้อขายผ่าน โทรศัพท์ ซึ่งนักลงทุนรายใดส่งกระดาษคำสั่งซื้อขาย ถี่ๆ รับรู้ได้เลยว่า คนนั้นเป็นนักลงทุนรายใหญ่ ส่วนนักลงทุนรายย่อยนานๆ จะส่งกระดาษสักที เพราะต้องใช้เวลาคิดนาน กระดาษสีฟ้า คือ สั่งซื้อ กระดาษสีแดง คือ สั่งขาย
หลังจากกลับมาจากห้องค้าตัดสินใจเปิดพอร์ต ด้วยเงินลงทุนก้อนแรก "หลักหมื่นบาท"ในปี 2531 ตอนนั้นเพื่อนที่ชวนมาลงทุนเขา มีพอร์ตหลักแสนแล้ว เพราะเล่นมานานเป็นปี เขาได้กำไรมาแล้วหลายเท่าตัว ก่อนเปิดพอร์ตลงทุนเพื่อนคนนี้ย้ำว่า การลงทุนในตลาดหุ้นจะทำให้เงินของเราเติบโต แต่ตอนนั้นเราพูดแย้งเพื่อนไปว่า เคยได้ยินแต่คนฆ่าตัวตาย (ยิ้ม)
จำหุ้นตัวแรกไม่ได้ แต่ช่วงนั้นตลาดหุ้นอ่อนไหวมากเหมาะกับการเล่นเก็งกำไร ในห้องค้า ยังไม่ใครพูดถึงการถือหุ้นยาวๆ เมื่อก่อน กฎระเบียบยังไม่เข้มงวดมีเงินเท่าไรโบรกเกอร์ไม่เคยขอดูรายละเอียด อยากซื้อหุ้นตัวไหนทำได้ตามใจชอบ ทำให้ช่วงนั้นมีทั้งนักลงทุนที่ได้กำไรและขาดทุนมากๆ คละเคล้ากันไป
"เล่นหุ้นตามเพื่อน" คือ วิถีลงทุนหุ้นในช่วงแรก "กำไรหลักหมื่นบาทต่อวันต่อเนื่อง สิบวัน" (หัวเราะ) คือ ผลของการเก็งกำไรในครานั้น เพราะซื้อขายทุกวันเฉลี่ยวันละหลายๆ ตัว ตอนนั้น ทำบัญชีการซื้อขายเก็บไว้ด้วย ส่วนใหญ่จะลงทุนในหุ้นกลุ่มหลักทรัพย์ เช่น หุ้นบล.ภัทร หุ้นบล.เอกธำรง รวมถึงกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เช่น หุ้น แลนด์แอนด์เฮ้าส์ หรือ LH เป็นต้น
แม้ตลอด 1 ปี จะได้กำไรติตต่อกันเป็นสิบวัน แต่เวลาขาดทุนหนึ่งครั้งก็แทบจะกินกำไรทั้งหมด ตอนนั้นท้อใจมาก จำได้เคยหันไปบอกเพื่อนว่า เลิกเล่นหุ้นแล้วกลับไปค้าขายเหมือนเดิมดีกว่ามั้ย แต่บังเอิญช่วงนั้นแอบสังเกตเห็นนักลงทุนรายใหญ่ เขามักจะเข้ามา ห้องค้าในช่วงตลาดหุ้นเปิดประมาณ 09.30 น. เพื่อตามข่าวและอ่านหนังสือพิมพ์ จากนั้น ก็จะออกไปข้างนอก ก่อนจะกลับเข้ามาอีกครั้ง หลังตลาดหุ้นปิดทำการในเวลาเที่ยง สมัยก่อนตลาดหุ้นเปิดซื้อขายเพียงครึ่งวัน
ตอนนั้นแอบสงสัยรายใหญ่ไปไหนกันหมด วันหนึ่งถึงได้รู้ว่า เขาเหล่านั้นไปส่องกล้องดูหุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์ เขาอธิบายความหมายของคำว่า "ส่องกล้อง" เมื่อก่อนห้องเทรดหุ้นของตลาดหลักทรัพย์จะอยู่ชั้นล่างของอาคารสินธร ซึ่งนักลงทุนรายใหญ่หลายคนจะขึ้นไปยืนบนชั้น สูงๆ ของตึก ซึ่งอยู่เยื้องๆ กับห้องเทรดหุ้น
จากนั้นเขาจะใช้กล้องส่องทางไกลส่องเข้ามาที่ในห้องเทรดหุ้น เพื่อดูว่าเทรดเดอร์กำลังจะสั่งซื้อหุ้นตัวไหนในราคาเท่าไหร่ เมื่อเรารู้แล้วก็จะรีบสั่งซื้อหุ้นตามทันที ซึ่งจะแตกต่างจากการซื้อตามห้องค้าที่ต้องต่อคิวกว่าจะได้ซื้อราคาก็เปลี่ยนไปแล้ว
ส่องกล้องเล่นหุ้น แบบนี้ได้เปรียบมาก เพราะสามารถสั่งซื้อได้เร็วกว่าเป็นนาที "เจอทางสว่าง"
ความรู้สึกของผมกับเพื่อนในขณะนั้น หลังจากนั้นเราทั้งคู่ก็ปรับพฤติกรรม
การลงทุนใหม่ ด้วยการขึ้นมาส่องกล้องดูหุ้นบนอาคารสินธรทุกวัน ทำให้ช่วงนั้นได้ "กำไรหลายเท่าตัว" พอร์ตลงทุนก็เพิ่มขึ้นจาก "หลักหมื่น" เป็น "หลักหลายล้านบาท" แรกๆ ยังไม่ค่อยมีนักลงทุนรู้เรื่องส่องกล้อง แต่เมื่อเรื่องแพร่กระจายเชื่อหรือไม่แทบไม่มีที่จะยืน เพราะทุกคนแย่งพื้นที่ส่องหุ้นกันหมด เราทั้งคู่ส่องกล้องอยู่เกือบปี ทางการก็ไม่ได้ห้ามอะไร เพราะไม่ได้ผิดกติกา
แต่หลังจากระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเมืองไทยในปี 2534 นักลงทุนทุกคนก็เลิกส่องกล้อง เมื่อความได้เปรียบในการเล่นหุ้นหมดไป ผมตัดสินใจย้ายมาซื้อขายในบล.เกียรตินาคิน คราวนี้ต้องมาศึกษารูปแบบการลงทุนกันใหม่ ด้วยความที่ไม่ถนัดใช้คอมพิวเตอร์ในช่วงแรกเราจึงต้องนั่งประกบมาร์เก็ตติ้ง เพื่อสั่งให้เข้าคีย์ข้อมูลซื้อขาย
ตอนนั้นยังคงคอนเซปต์เล่นเก็งกำไรเช่นเคย แต่ด้วยความที่รู้จักหุ้นเยอะขึ้น ทำให้เริ่มใส่ใจพื้นฐานของบริษัทต่างๆมากขึ้น และสนใจดูความสามารถของผู้บริหารควบคู่ไปด้วย เมื่อก่อนบริษัทแห่งใดมีโอกาสเพิ่มทุนราคาหุ้นจะวิ่งชนซิลลิ่งนักลงทุนจะชอบมาก เพราะบริษัทมักขายหุ้นเพิ่มทุนต่ำกว่าราคาในกระดาน แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แล้วแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
เมื่อก่อนจะใช้เวลาดูข้อมูลไม่นาน ถ้ามั่นใจแล้วก็จะใส่เต็มที ทุกวันนี้ยังเป็นคนตัดสินใจเร็วเหมือนเดิม เพียงแต่จะละเอียดมากขึ้น สมมุติตั้งใจจะซื้อหุ้นตัวนี้ 1 ล้านหุ้น ผมจะจัดเต็มเลยจะไม่ทยอยซื้อครั้งละแสนสองแสน แต่หากไม่ค่อยมั่นใจจะทดลองซื้อ 50,000 -100,000 บาท เมื่อก่อนจะเป็นคนซื้อหุ้นน้อยตัว
หลังเมืองไทยเปลี่ยนเข้าสู่ยุคคอมพิวเตอร์ เริ่มเทรดหุ้นน้อยลงเต็มที่จะมีหุ้นในมือไม่เกิน 3 ตัว ไม่เหมือนตอนส่องกล้องที่ซื้อขายมั่วไปหมด อะไรดีจะซื้อและเมื่อมีกำไรจะจัดการขายทันที เมื่อซื้อขายไม่บ่อยครั้งพอร์ตลงทุน ก็ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง อาจเป็นเพราะตอนนั้น ยังไม่คุ้นเคยกับระบบคอมพิวเตอร์
ช่วงปี 2535 บล.การทุนไทย มาชวนให้ไป ซื้อขายด้วย โดยเขาจะให้ห้อง VIP มีเครื่องอำนวย ความสะดวก ไม่ว่าจะเป็นทีวี และตู้เย็น เป็นต้น ถือเป็นก้าวในการเข้าสู่ "นักลงทุนรายใหญ่ครั้งแรก" ตอนนั้นพอร์ตลงทุนขยับขึ้นเป็น "หลัก สิบล้านบาท" ทุกอย่างมันบูมไปหมดเศรษฐกิจดีมากถึงขนาดรถยนต์ผลิตไม่พอขาย ทำให้คนที่อยากได้รถยนต์ต้องไปสั่งจองกว่าจะได้รถใช้เวลานาน 3-4 เดือน
ผมมีโอกาสจ่ายเงินจองรถยนต์ฮอนด้า 10,000 บาท แล้วดันเกิดเปลี่ยนใจอยากเปลี่ยนสีรถ แต่ศูนย์ฮอนด้าแจ้งว่า ถ้าเปลี่ยนสีรถต้องกลับไปเข้าคิวใหม่ บังเอิญตอนนั้นไปเห็นคนประกาศรับซื้อใบจองผ่านหนังสือพิมพ์จึงตัดสินใจติดต่อเข้าไป
ผลปรากฏว่า เขารับซื้อใบจองสูงถึง 30,000 บาท ตอนนั้นเราเริ่มเห็นช่องทางการหาเงินใหม่ คราวนี้สั่งจองรถยนต์ฮอนด้าทีเดียวรวด 10-20 คัน จากนั้นไปประกาศลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์บ้านเมืองฟรีว่า เราขายใบจอง เชื่อหรือไม่ คนโทรเข้ามาเยอะมากถึงขนาดผมต้องจ้างคนมารับโทรศัพท์ (ยิ้ม)
ตอนนั้นได้กำไรจากการขายใบจองเป็น "ล้านบาท" เพราะจองซื้อรถยนต์ฮอนด้า รุ่น Civic และ Accord ไปหลายสิบคัน เยอะมากถึงขนาดศูนย์รถยนต์ฮอนด้าออกใบประกาศขอบคุณ และมอบถ้วยรางวัล ระหว่างเทรดหุ้นเราก็ยึดอาชีพนี้ไปด้วยทำอยู่เกือบปีจนใบจองรถยนต์ขายไม่ได้ หลังโรงงานเริ่มผลิตรถยนต์ได้ตามความต้องการแล้ว
ด้วยความที่เป็นคนมีทักษะในการเจรจา ตอนนั้นเหลือใบจองรถยนต์ฮอนด้าราคาใบละ 20,000 บาท หลายสิบใบ ตัดสินใจนัดขอเข้าไปคุยกับผู้บริหารชาวญี่ปุ่นว่า ที่ผ่านมาเราช่วยคุณขายรถยนต์มาเยอะมาก แต่ตอนนี้ใบจองขายไม่ได้แล้ว คุณช่วยรับคืนได้มั้ย สุดท้ายเขาก็รับคืน
"นเรศ" ย้อนกลับมาเล่าเรื่องลงทุนในตลาดหุ้นต่อว่า ช่วงที่ย้ายมาซื้อขายในบล. การทุนไทย เทคนิคการลงทุนเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก ข้อแรก เริ่มศึกษาข้อมูลบริษัท จดทะเบียนละเอียดมากขึ้น ข้อสอง เริ่มใกล้ชิด ผู้บริหารมากขึ้น เพื่อที่จะได้รับรู้ถึงความมีธรรมภิบาลของเจ้าของบริษัท และนโยบายการทำธุรกิจ
แม้จะจำชื่อบริษัทจดทะเบียนตัวแรก ที่ขอเข้าไปพบเจ้าของไม่ได้ แต่ตอนนั้นเกิด สงครามแย่งหุ้น ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ หรือ บีบีซี ระหว่าง "เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์" ในฐานะหุ้นใหญ่ และ "สอง วัชรศรีโรจน์"ในฐานะนักลงทุนรายใหญ่ เมื่อมีโอกาสได้พูดคุยกับทั้งสองฝ่าย ด้วยการต่อสายตรงถึงเลขาของทั้งคู่ ทำให้มั่นใจว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นจริงไม่ใช่แค่ข่าวลือ
ตอนนั้น "เสี่ยสอง" บอกกับ "นเรศ" ว่า เขามีเงินลงทุน และอยากถือหุ้นอธนาคาร ส่วนฟาก "เกริกเกียรติ" บอกว่า เขาพยายามรักษาความเป็นเจ้าของให้ถึงที่สุด เมื่อทั้งสองฝ่ายยืนยันอยากครอบครองหุ้น บีบีซี ทำให้ตอนนั้นมั่นใจว่า ราคาหุ้นต้องพุ่งแน่นอน ผมจึงตัดสินใจไล่ซื้อหุ้นในกระดาน เรียกว่า ซื้อเยอะมากๆ ตอนนั้นไม่ได้สนใจว่า สุดท้ายใครคือ ผู้ชนะ รู้เพียงว่า ต้องไล่เก็บหุ้น เพื่อนำมาขายให้กับผู้ที่ให้ราคารับซื้อสูงที่สุด
หลังจากได้หุ้นมาจำนวนหนึ่ง ผมตัดสินใจ นำไปขายต่อให้ "เกริกเกียรติ" โดยผ่านคนประสานงานของเขา ได้กำไรจากการขายหุ้นครั้งนั้นเท่าไหร่ จำตัวเลขไม่ได้จริงๆ รู้เพียงว่า "เยอะมากๆ" (ลากเสียงยาว) เพราะขายในราคาที่สูงกว่าในกระดานและราคาต้นทุนพอสมควร
ตอนนั้นไม่ได้ขายเพียงหุ้น บีบีซี ในส่วนที่ ตัวเองไล่เก็บมาเท่านั้น แต่ยังรับซื้อหุ้น บีบีซี จากนักลงทุนรายอื่นด้วย เมื่อนำหุ้นของตัวเอง มารวมกับหุ้นที่รับซื้อมาขาย ทำให้มีส่วนต่างจาก การขายหุ้นครั้งนั้นหลายเท่าตัว เขาย้ำ
"กลับเข้ามาในตลาดหุ้นด้วยความเชื่อที่ว่า ทุกอย่างกำลังดีขึ้น และไม่รู้สึกเข็ดฉะนั้นใครมีเงินคุณจะรวยมหาศาล"
ชีวิตลงทุนช่วง'ยุคมืด'
"วีไอรายใหญ่" เล่าต่อว่า ผ่านมาถึง ปี 2536 ตลาดหุ้นไทยบูมมาก ดัชนีขยับจาก 900 จุด ในเดือนก.ย.มาเป็น 1,600 จุดปลายๆ ขึ้นมาประมาณ 700-800 จุด โดยใช้เวลาเพียง 3 เดือน ตอนนั้นไม่มีสตอรี่อะไรมาหนุนดัชนี แต่ตลาดหุ้นตัวเลขเศรษฐกิจ และราคาที่ดินดีมากๆ ทำให้พอร์ตลงทุนของผมโตเร็วมาก ตอนนั้นกฎระเบียบยังไม่เข้มงวด เขาย้ำ คุณสามารถเปิดบัญชี เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ หรือบัญชีมาจิน (Margin Account) ด้วยการวางเงิน 1 ล้านบาท แต่สามารถซื้อได้ 5 ล้านบาท
สนุกกับการเก็งกำไรได้เพียง 1 ปี สิ้นปี 2536 เพื่อนๆ นักลงทุนรวมตัวกันไปเที่ยวประเทศสิงคโปร์ ตอนไปถึงสนามบินดอนเมือง มีเพื่อนคนหนึ่งพูดขึ้นว่า ปี 2537 ดัชนีจะยืน 2,500 จุด ตอนนั้นหัวเราะกันเฮฮา เมื่อ เดินทางกลับเมืองไทย หลังไปเที่ยวมา 2-3 วัน วันแรกของการซื้อขายหุ้น "ร้อนแรงมาก"ดัชนีเปิดลอยไปกว่า 1,700 จุด
จากนั้นเกิดแรงขายกระหน่ำ ด้วยความที่ เคยชินกับขาขึ้นมาหลายปี เมื่อเขาสาดขายเรา ก็รับ เพราะคิดว่าเดี๋ยวหุ้นคงขึ้นเหมือนเคย ผลปรากฏว่า เมื่อรับแล้วต้อง Cut loss (ตัดขาดทุน) ทำให้พอร์ตระหว่างวันเกิดความเสียหายหลายล้านบาท ตอนนั้นความผิดปกติของวอลุ่มมีให้เห็น เด่นชัด ปกติซื้อขายเฉลี่ย 10,000-20,000 ล้านบาทต่อวัน แต่ช่วงนั้นซื้อขายสูงถึงวันละ 40,000-50,000 ล้านบาท
แม้วอลุ่มจะผิดปกติ แต่ยังคงซื้อขายต่อ 2-3 เดือน แต่เมื่อเริ่มคิดได้ว่า เหตุผลที่หุ้นไทยไหลลงเกิดจากนักลงทุนต่างประเทศ ผู้ที่ขึ้นชื่อว่าเป็น "นักเก็งกำไรชั้นยอด" กำลัง ลากนักลงทุนไทยขึ้นไปเชือดในที่สูง ตอนนั้นต้อง ยอมรับว่า นักลงทุนไทยขาดประสบการณ์ เมื่อได้สติตัดสินใจล้างพอร์ต ตอนนั้นมีหุ้น ในมือ 5-6 ตัว จำชื่อหุ้นไม่ได้รู้แค่ว่าเป็นหุ้นดีๆ ทั้งนั้น
ตอนนั้น "ขาดทุนแสนสาหัส" ได้เงินคืนกลับมาแค่ 20-30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อคิดจากมูลค่าพอร์ตลงทุน "หลักสิบล้านบาท" บังเอิญเล่นมาร์จิ้นเยอะมาก 4-5 เท่าของพอร์ต ผมบอกเพื่อนๆ ทุกคนให้เลิกเล่น เพราะตลาดหุ้นคงตกต่ำอีกยาวนาน และกว่าจะหาฐานใหม่เจอคงต้องใช้เวลา แม้จะเลิกเล่นหุ้น แต่ยังคงติดตามตลาดหุ้นตลอดเวลา
เลิกเล่นหุ้นในปี 2537 แล้วกลับไปทำอะไรต่อ เขาบอกว่า เดิมตั้งใจจะกลับไปช่วยงาน ของครอบครัว แต่รู้สึกไม่มีความท้าทาย อีกอย่างน้องๆ สามารถขึ้นมาทำงานแทนเราได้แล้ว ทำให้ช่วงนั้นหมดเวลาไปกับการเข้าวัด นั่งสมาธิ
ไปวัดทุกวันจนกระทั่งปี 2539 มีโอกาสเจอเพื่อนคนหนึ่งที่ทำธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหารไทยในเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เขามาชวนให้ไปลงทุนด้วยกัน เมื่อลองบินไปดูงานที่ญี่ปุ่น ทำให้เห็นว่า เป็นธุรกิจที่น่าสนใจ เพราะคนต่อคิวเข้าร้านยาวมาก แต่เมื่อนั่งเครื่องบินกลับเมืองไทยรู้สึกเครียดคิดไม่ออกจะทำอย่างไรกับชีวิต ตอนนั้นมีภรรยาและลูกสามคนแล้ว
ตั้งแต่ขายหุ้นขาดทุนในปี 2537 มีความเชื่อว่า เมื่อตลาดหุ้นตกต่ำจนถึงที่สุดแล้วต้องดีดกลับมา ฉะนั้นหากเราสามารถรักษาเงินก้อนที่มีอยู่ 20-30 เปอร์เซ็นต์ เงินจะต้องกลับมา เท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม ทั้งๆ ที่ตอนนั้นยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตลาดหุ้นจะกลับมาเมื่อไร
"อดทนรอ ประหยัด" เป็นเรื่องที่ต้องทำ ในเวลานั้น ในเมื่อรู้ว่า หุ้นกลับมาแน่ ฉะนั้นถามว่า เมื่อรู้อย่างนี้แล้วจะกล้านำเงินก้อนสุดท้ายไปลงทุนในญี่ปุ่นหรือ หากไปจริงต้องนำลูกและภรรยาไปด้วย ซึ่งค่าใช้จ่ายคงสูงมาก เงินก้อนนี้ อาจหมดได้ สุดท้ายตัดสินใจไม่ลงทุนในญี่ปุ่น และใช้ชีวิตอยู่เมืองไทย ด้วยความหวังว่า ตลาดหุ้นไทยจะกลับมา...
ด้วยความที่อยู่ว่างๆ ปลายปี 2539 ไปอบรมโครงการพัฒนาผู้บริหาร หรือ MINI MBA มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นั่งเรียนไปมาเกิดความรู้สึกว่า เรื่องที่อาจารย์กำลังสอนผมรู้หมดแล้ว เพราะเรียนรู้มาจากตลาดหุ้น แม้กระทั่งเรื่องบัญชีก็เข้าใจหมดแล้ว วันหนึ่ง มีโอกาสออกไปพูดเรื่องเศรษฐกิจธุรกิจหน้าห้องเรียน เพื่อนๆ ชอบจนเขาโหวตให้เป็นประธานรุ่น สุดท้ายเรียนแล้วไม่ได้ความรู้อะไรเพิ่มเติม ทำให้ไปเรียนแค่ 2-3 เดือน จากหลักสูตร 4 เดือน
"ที่ผ่านมาผมเรียนรู้อะไรหลายอย่างจากตลาดหุ้น นั่นคือ ข้อดีของการ เล่นหุ้น"
ช่วงนั้นจึงใช้ชีวิตวนเวียนระหว่างวัด และนั่งเป็นที่ปรึกษาธุรกิจให้กับน้องๆ ตอนนั้นพ่อและแม่รับรู้เรื่องของเรา มาตลอด ปกติครอบครัวคนจีนใครเก่ง มักออกไปเติบโตนอกบ้าน ส่วนใครอ่อนแอครอบครัวจะเป็นห่วง ฉะนั้นกิจการของครอบครัวจึงมีไว้รองรับคนอ่อนแอ ที่ผ่านมาพ่อกับแม่ไม่เคยหวังว่า ธุรกิจต้องใหญ่โต ขอเพียงว่า บริหารธุรกิจให้สามารถเลี้ยงดูคน ในครอบครัวได้ก็พอ
กราฟลงทุนของ "นเรศ" จะรุ่งเรืองมาก ระดับไหน ตามอ่านต่อสัปดาห์หน้า บิสวีค รับประกันความทึ่ง!!--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ