กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ โจทย์ใหญ่...ปฏิรูปภาษีตลาดทุน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 26, 2014 3:02 pm
กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ โจทย์ใหญ่...ปฏิรูปภาษีตลาดทุน
สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยเกิดประเด็นร้อนจากที่มีการหยิบยกเรื่องข้อเสนอการจัดเก็บภาษี กำไรจากการขายหุ้น (Capital Gain Tax) ขึ้นมาเขย่าตลาดหุ้น พร้อมเอ่ยอ้างถึงข้อเสนอ แผนการปฏิรูปกฎหมายและภาษีแบบเร่งด่วน (Fast Track) ที่ได้นำเสนอต่อ 7 องค์กรเอกชน ของ "กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์" ประธานกรรมการ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด ซึ่งล่าสุดได้นั่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
ทุก ครั้งที่มีการพูดถึงการเก็บภาษีกำไรจากการขายหุ้นก็เป็นประเด็นร้อนทุกครั้ง และแน่นอนว่าจะมีเสียงคัดค้านจากคนในแวดวงตลาดทุนว่าประเทศไทยยังไม่พร้อม และจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยทันที "ประชาชาติธุรกิจ" ได้สัมภาษณ์พิเศษ "กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์" ถึงแนวคิดและที่มาที่ไปที่แท้จริงของข้อเสนอการปฏิรูปดังกล่าว
ทำไมเสนอแผนปฏิรูปกฎหมายและภาษีแบบเร่งด่วน
ช่วง เวลานี้ประเทศไทยต้องพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เพราะอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยติดกับดักในเทคนิคทางกฎหมายมากมาย ต้องบอกว่านับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 ประเทศไทยไม่เคยมีการปฏิรูปภาษีใหม่เลย โดย เฉพาะในช่วงประชาธิปไตยเต็มใบ ด้วยเหตุผลที่ไม่มีรัฐบาลไหนกล้าทำ โดยเฉพาะกฎหมายที่จะกระทบฐานเสียง และอาจกระทบต่อผลประโยชน์ของบรรดานักการเมือง ทำให้ส่วนใหญ่ก็เป็นการแก้ไข
ตามนโยบาย ของรัฐบาลในแต่ละยุคเรียกว่าที่ผ่านมา เราเพียงแต่ซ่อมแซมปะผุบ้าน ทั้งที่บ้านของเราควรต้องรื้อแล้วสร้างใหม่ เช่น การปฏิรูปภาษีนั่นเอง แม้แต่การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้เมื่อปี พ.ศ. 2535 ซึ่งอาจถือว่าเป็นการปฏิรูปภาษีครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของประเทศ ก็เป็นช่วงรัฐบาล นายกฯอานันท์ ปันยารชุน จากคณะ รสช.
กรณีข้อเสนอเก็บ Capital Gain Tax เป็นประเด็นขึ้นมา
ข้อ เท็จจริงคือได้ปรึกษากับ ท่านประธานกรรมการ ตลท. (ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์) ว่า ในการประชุมบอร์ด ตลท.เดือนหน้า จะเสนอตั้งคณะทำงานศึกษาระบบภาษีและกฎหมายตลาดทุนทั้งหมด เพื่อให้การจัดเก็บภาษีมีคุณภาพมากขึ้น โดยมองว่าจะช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับตลาดทุนไทยได้ ซึ่งยังไม่ได้ลงรายละเอียดพูดถึงเรื่อง Capital Gain Tax กับท่านประธาน
แต่ส่วนตัวก็มีการเตรียมข้อเสนอเรื่องนี้ไว้
ส่วน ตัวมีแนวคิดให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บภาษีใหม่ให้สอดคล้องกับต่าง ประเทศมากขึ้น โดยเสนอให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีเงินปันผลบุคคลธรรมดา ที่ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ 10% ซึ่งในหลายประเทศไม่มีการจัดเก็บ พร้อมเสนอให้จัดเก็บภาษีกำไรจากการขายหุ้น กับผู้ที่ถือหุ้นน้อยกว่า 6-10 เดือน ในอัตรา 5-10% ซึ่งการจัดเก็บดังกล่าวจะช่วยสร้างนักลงทุนระยะยาวให้มีมากขึ้น และลดการเก็งกำไรลง แต่จะยกเว้นให้กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนให้ยังคงซื้อขายหุ้นได้โดย ไม่เสียภาษีไม่อยากให้ตื่นตระหนก เพราะเป็นเพียงการเสนอให้ตั้งคณะทำงานเพื่อมาศึกษาข้อมูลเท่านั้นว่าสมควรจะ นำเรื่องใดมาปฏิบัติบ้าง ดังนั้นจึงต้องให้ฝ่ายต่าง ๆ ในตลาดทุนได้มีบทบาทในการเสนอความเห็น เอาข้อมูลมาพิจารณา ไม่ใช่พูดกันลอย ๆ ว่าประเทศไทยไม่พร้อม เพราะเรื่องนี้พูดกันมาเป็นสิบปีแล้ว และข้อเสนอก็เป็นการจัดเก็บภาษีที่ต่ำ ไม่ได้สูงเหมือนต่างประเทศที่เก็บแบบ 20-30%
นอกจากนี้ ตนยังมีข้อเสนอเรื่องการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถเข้ามาใช้ ประโยชน์จากตลาดทุนได้มากขึ้น เพื่อสร้างความสามารถการแข่งขันกับเอสเอ็มอีไทย และการยกเว้นจัดเก็บภาษีเวนเจอร์แคปปิตอล รวมถึงการผ่อนเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเกื้อหนุนในการช่วยเหลือแหล่งทุนกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมากขึ้น รวมทั้งการปฏิรูปภาษี การควบรวมกิจการ (M&A) ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
อย่าง ไรก็ตาม หากข้อเสนอนี้ได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการ ตลท. และจัดตั้งคณะทำงาน คาดว่าจะใช้เวลาในการศึกษา 3-6 เดือน เสนอให้กับรัฐบาลชุดใหม่ได้ทันภายใน 1 ปี
เรื่อง M&A ต้องมีการปรับแก้ประเด็นอะไร
เนื่องจากปัจจุบันกฎหมายและภาษีของการควบรวมกิจการยังมีข้อจำกัดเงื่อนไขยุ่งยาก โดยเฉพาะการควบรวมกิจการของบริษัทในเครือเดียวกัน เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจให้ความแข็งแกร่ง ปัจจุบันยังมีต้นทุนภาษีที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทในตลาดหรือนอกตลาด ทำให้ต้องมีความยุ่งยากในการดำเนินการ
หากมีการศึกษาปรับแก้ เงื่อนไขก็จะส่งเสริมให้มีการทำ M&A ได้คล่องตัวมากขึ้น ทั้งนี้เพราะ M&A ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ และจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะปัจจุบันการเติบโตโดยธรรมชาติ (Organic Growth) ของธุรกิจจะช้าลง หลายธุรกิจจึงเลือกจะทำ M&A เพราะต้องการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะเมื่อจะเปิดเสรีประชาคมอาเซียน การทำ M&A เป็นเรื่องสำคัญมาก เช่นกรณีธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ (BTMU) มาซื้อธนาคารกรุงศรีฯ เพราะมองเห็นโอกาสจากฐานลูกค้าของกรุงศรีฯที่สามารถต่อยอดธุรกิจได้เร็วกว่า การเริ่มต้นใหม่
ฉะนั้นในแง่ของนักลงทุน หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต้องมีความเข้าใจเรื่องเอ็มแอนด์เออย่างดี เพราะนับวันจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในมุมของนักลงทุนและผู้ถือหุ้น
สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยเกิดประเด็นร้อนจากที่มีการหยิบยกเรื่องข้อเสนอการจัดเก็บภาษี กำไรจากการขายหุ้น (Capital Gain Tax) ขึ้นมาเขย่าตลาดหุ้น พร้อมเอ่ยอ้างถึงข้อเสนอ แผนการปฏิรูปกฎหมายและภาษีแบบเร่งด่วน (Fast Track) ที่ได้นำเสนอต่อ 7 องค์กรเอกชน ของ "กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์" ประธานกรรมการ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด ซึ่งล่าสุดได้นั่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
ทุก ครั้งที่มีการพูดถึงการเก็บภาษีกำไรจากการขายหุ้นก็เป็นประเด็นร้อนทุกครั้ง และแน่นอนว่าจะมีเสียงคัดค้านจากคนในแวดวงตลาดทุนว่าประเทศไทยยังไม่พร้อม และจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยทันที "ประชาชาติธุรกิจ" ได้สัมภาษณ์พิเศษ "กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์" ถึงแนวคิดและที่มาที่ไปที่แท้จริงของข้อเสนอการปฏิรูปดังกล่าว
ทำไมเสนอแผนปฏิรูปกฎหมายและภาษีแบบเร่งด่วน
ช่วง เวลานี้ประเทศไทยต้องพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เพราะอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยติดกับดักในเทคนิคทางกฎหมายมากมาย ต้องบอกว่านับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 ประเทศไทยไม่เคยมีการปฏิรูปภาษีใหม่เลย โดย เฉพาะในช่วงประชาธิปไตยเต็มใบ ด้วยเหตุผลที่ไม่มีรัฐบาลไหนกล้าทำ โดยเฉพาะกฎหมายที่จะกระทบฐานเสียง และอาจกระทบต่อผลประโยชน์ของบรรดานักการเมือง ทำให้ส่วนใหญ่ก็เป็นการแก้ไข
ตามนโยบาย ของรัฐบาลในแต่ละยุคเรียกว่าที่ผ่านมา เราเพียงแต่ซ่อมแซมปะผุบ้าน ทั้งที่บ้านของเราควรต้องรื้อแล้วสร้างใหม่ เช่น การปฏิรูปภาษีนั่นเอง แม้แต่การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้เมื่อปี พ.ศ. 2535 ซึ่งอาจถือว่าเป็นการปฏิรูปภาษีครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของประเทศ ก็เป็นช่วงรัฐบาล นายกฯอานันท์ ปันยารชุน จากคณะ รสช.
กรณีข้อเสนอเก็บ Capital Gain Tax เป็นประเด็นขึ้นมา
ข้อ เท็จจริงคือได้ปรึกษากับ ท่านประธานกรรมการ ตลท. (ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์) ว่า ในการประชุมบอร์ด ตลท.เดือนหน้า จะเสนอตั้งคณะทำงานศึกษาระบบภาษีและกฎหมายตลาดทุนทั้งหมด เพื่อให้การจัดเก็บภาษีมีคุณภาพมากขึ้น โดยมองว่าจะช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับตลาดทุนไทยได้ ซึ่งยังไม่ได้ลงรายละเอียดพูดถึงเรื่อง Capital Gain Tax กับท่านประธาน
แต่ส่วนตัวก็มีการเตรียมข้อเสนอเรื่องนี้ไว้
ส่วน ตัวมีแนวคิดให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บภาษีใหม่ให้สอดคล้องกับต่าง ประเทศมากขึ้น โดยเสนอให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีเงินปันผลบุคคลธรรมดา ที่ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ 10% ซึ่งในหลายประเทศไม่มีการจัดเก็บ พร้อมเสนอให้จัดเก็บภาษีกำไรจากการขายหุ้น กับผู้ที่ถือหุ้นน้อยกว่า 6-10 เดือน ในอัตรา 5-10% ซึ่งการจัดเก็บดังกล่าวจะช่วยสร้างนักลงทุนระยะยาวให้มีมากขึ้น และลดการเก็งกำไรลง แต่จะยกเว้นให้กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนให้ยังคงซื้อขายหุ้นได้โดย ไม่เสียภาษีไม่อยากให้ตื่นตระหนก เพราะเป็นเพียงการเสนอให้ตั้งคณะทำงานเพื่อมาศึกษาข้อมูลเท่านั้นว่าสมควรจะ นำเรื่องใดมาปฏิบัติบ้าง ดังนั้นจึงต้องให้ฝ่ายต่าง ๆ ในตลาดทุนได้มีบทบาทในการเสนอความเห็น เอาข้อมูลมาพิจารณา ไม่ใช่พูดกันลอย ๆ ว่าประเทศไทยไม่พร้อม เพราะเรื่องนี้พูดกันมาเป็นสิบปีแล้ว และข้อเสนอก็เป็นการจัดเก็บภาษีที่ต่ำ ไม่ได้สูงเหมือนต่างประเทศที่เก็บแบบ 20-30%
นอกจากนี้ ตนยังมีข้อเสนอเรื่องการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถเข้ามาใช้ ประโยชน์จากตลาดทุนได้มากขึ้น เพื่อสร้างความสามารถการแข่งขันกับเอสเอ็มอีไทย และการยกเว้นจัดเก็บภาษีเวนเจอร์แคปปิตอล รวมถึงการผ่อนเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเกื้อหนุนในการช่วยเหลือแหล่งทุนกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมากขึ้น รวมทั้งการปฏิรูปภาษี การควบรวมกิจการ (M&A) ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
อย่าง ไรก็ตาม หากข้อเสนอนี้ได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการ ตลท. และจัดตั้งคณะทำงาน คาดว่าจะใช้เวลาในการศึกษา 3-6 เดือน เสนอให้กับรัฐบาลชุดใหม่ได้ทันภายใน 1 ปี
เรื่อง M&A ต้องมีการปรับแก้ประเด็นอะไร
เนื่องจากปัจจุบันกฎหมายและภาษีของการควบรวมกิจการยังมีข้อจำกัดเงื่อนไขยุ่งยาก โดยเฉพาะการควบรวมกิจการของบริษัทในเครือเดียวกัน เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจให้ความแข็งแกร่ง ปัจจุบันยังมีต้นทุนภาษีที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทในตลาดหรือนอกตลาด ทำให้ต้องมีความยุ่งยากในการดำเนินการ
หากมีการศึกษาปรับแก้ เงื่อนไขก็จะส่งเสริมให้มีการทำ M&A ได้คล่องตัวมากขึ้น ทั้งนี้เพราะ M&A ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ และจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะปัจจุบันการเติบโตโดยธรรมชาติ (Organic Growth) ของธุรกิจจะช้าลง หลายธุรกิจจึงเลือกจะทำ M&A เพราะต้องการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะเมื่อจะเปิดเสรีประชาคมอาเซียน การทำ M&A เป็นเรื่องสำคัญมาก เช่นกรณีธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ (BTMU) มาซื้อธนาคารกรุงศรีฯ เพราะมองเห็นโอกาสจากฐานลูกค้าของกรุงศรีฯที่สามารถต่อยอดธุรกิจได้เร็วกว่า การเริ่มต้นใหม่
ฉะนั้นในแง่ของนักลงทุน หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต้องมีความเข้าใจเรื่องเอ็มแอนด์เออย่างดี เพราะนับวันจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในมุมของนักลงทุนและผู้ถือหุ้น