ข้อเตือนใจเกี่ยวกับความเสี่ยง/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 31, 2014 11:41 am
เหตุการณ์ที่เครื่องบินของสายการบินมาเลเชียนแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ MH 370 สูญหาย โดยบินออกนอกเส้นทาง และคาดว่าจมอยู่ใต้ทะเลลึกของมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ ห่างจากบริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศออสเตรเลียประมาณ 1,100 กิโลเมตร ทำให้นักเดินทางตระหนักถึงความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
ในการวางแผนการเงินนั้น แผนจะไม่สมบูรณ์ ถ้าไม่ได้วางแผนปกป้องความมั่งคั่งค่ะ ไม่ว่าท่านจะประสบความสำเร็จในอาชีพการงานเพียงใด ไม่ว่าท่านจะทำงานสะสมความมั่งคั่งไว้ได้มากเพียงใด หากท่านไม่ทำการป้องกันรักษาไว้ ความมั่งคั่งอาจจะสูญหายหรือพร่องลงไปได้ด้วยเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ซึ่งจากเหตุการณ์นี้ หากผู้ที่จากไปเป็นกำลังสำคัญในการหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว ความเดือดร้อนของคนในครอบครัวก็จะยิ่งทบทวีมากขึ้น
แม้เราไม่สามารถนำชีวิตของบุคคลเหล่านั้นกลับคืนมาได้ แต่เราอาจจะวางแผนบรรเทาความเสียหายจากการสูญเสียบุคคลสำคัญของครอบครัวได้ ด้วยการทำประกันภัยค่ะ ในกรณีนี้ หากผู้โดยสารหรือลูกเรือมีการทำการประกันชีวิตทั่วไป หรือทำประกันภัยการเดินทางต่างประเทศ จะมีเงินชดเชยให้กับทายาท ซึ่งอย่างน้อยก็จะช่วยให้ผู้อยู่เบื้องหลังมีเงินใช้ดูแลตัวเองได้ในช่วงเวลาหนึ่งหลังจากบุคคลที่เป็นกำลังสำคัญของครอบครัวจากไป
จำนวนทุนประกันควรจะเป็นเท่าไรไม่มีกฎแน่นอนตายตัวค่ะ โดยทั่วไปจะอยู่ที่จำนวนที่จะทำให้ผู้อยู่เบื้องหลังมีเงินใช้จ่ายประมาณ 3-5 ปี เช่น หากครอบครัวท่านใช้เงินเดือนละ 50,000 บาท หรือปีละ 6 แสนบาท ท่านอาจจะสนใจที่จะมีทุนประกันชีวิต 1.8 ถึง 3 ล้านบาท และหวังว่าคนในครอบครัวของท่านจะมีความสามารถในการหารายได้เพื่อช่วยเหลือตัวเองและปรับตัวได้ภายใน 3-5 ปีค่ะ
นอกจากความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดจากอุบัติเหตุแล้ว ความเสี่ยงของโลกได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งความเสี่ยงด้านสภาวะอากาศ จากภัยธรรมชาติ ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจและสังคม และความเสี่ยงจากการกระทำของมนุษย์ และอื่นๆ โดยความเสี่ยงที่สำคัญของโลกสิบประการ ที่สำรวจโดย World Economic Forum ในรายงานที่ชื่อว่า Global Risks 2014 มีดังนี้
1. ความเสี่ยงทางการคลังในประเทศเศรษฐกิจสำคัญ 2. การว่างงานและการว่างงานแฝงที่สูงขึ้นเนื่องจากปัญหาทางโครงสร้าง 3. วิกฤติน้ำ 4. ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ที่รุนแรง 5. ความล้มเหลวในการเลี่ยงและปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ 6. การมีสภาวะอากาศที่รุนแรงมากขึ้น เช่น น้ำท่วม พายุ ไฟไหม้ 7. ความล้มเหลวของธรรมาภิบาลโลก 8. วิกฤติอาหาร 9. การล้มเหลวของระบบการเงินใหญ่ๆ/สถาบันการเงินขนาดใหญ่ และ 10. ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองและสังคมที่ฝังรากลึก
พวกเราทุกคนจึงต้องเตรียมตัวด้วยว่า ความเสี่ยงเหล่านี้จะส่งผลต่อตัวเราและธุรกิจของเรา รวมถึงสังคมที่เราอยู่ และประเทศของเรา โลกของเราอย่างไร เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงเหล่านี้ ทั้งพยายามหามาตรการป้องกันไม่ให้เกิด ลดโอกาสเกิด และหามาตรการบรรเทาความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นด้วย
เมื่อดิฉันหาข้อมูลเพื่อเขียนบทความเรื่องความเสี่ยงในสัปดาห์นี้ ได้ค้นพบโดยบังเอิญจากรายงานของ Swiss Re ว่า ประเทศไทยของเราทำสถิติโลกไว้ด้วยค่ะ โดยเป็นอันดับหนึ่งของมูลค่าความเสียหายจากภัยน้ำท่วมในรอบ 43 ปีของโลก นับตั้งแต่ปี 1970 ถึง 2013 โดยมีความเสียหายที่มีการประกัน 16,200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 526,500 ล้านบาท และส่งผลเสียหายต่อเศรษฐกิจถึง 49,600 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 1.612 ล้านล้านบาท สูงกว่าอันดับสอง คือเหตุการณ์น้ำท่วมในเยอรมนีและสาธารณรัฐเชคเมื่อปีที่แล้วอยู่หลายเท่า
ความเสียหายของน้ำท่วมในเยอรมนีและสาธารณรัฐเชคในปี 2013 มีมูลค่าความเสียหายที่มีการประกัน 4,100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 133,250 ล้านบาท และสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ 16,500 ล้านเหรียญ หรือ 536,250 ล้านบาท
ดูๆแล้ว ประเทศอื่นคงจะมาลบสถิติของเรายากอยู่พอสมควร และหวังว่านับจากนี้ไป รัฐบาลชุดต่อๆไปของประเทศไทย จะมีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดีกว่าปี 2011 ที่ผ่านมา สถิติแบบนี้ ครั้งเดียวก็เกินพอค่ะ
ความเสียหายจากน้ำท่วมที่มากที่สุดในโลก ตั้งแต่ปี 1970-2013
สำหรับในปี 2013 ที่ผ่านมา ภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดในโลกคือ พายุไห่เยี่ยน ซึ่งเป็นซุปเปอร์ไต้ฝุ่น ความรุนแรงระดับ 5 สร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับประเทศฟิลิปปินส์ มีผู้เสียชีวิตและสูญหาย 7,500 คน บาดเจ็บ 28,000 คน บ้านเรือนถูกทำลาย หรือเสียหายอย่างมาก 1 ล้านหลัง มีคนอย่างน้อย 4 ล้านคน ไร้ที่อยู่อาศัย มูลค่าความเสียหายที่มีการประกัน 1,500 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 48,750 ล้านบาท ความเสียหายต่อเศรษฐกิจ 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 390,000 ล้านบาท
ท่านที่สนใจรายละเอียดสามารถหาอ่านได้จากเว็บนี้ค่ะ
http://media.swissre.com/documents/sigma1_2014_en.pdf
ขอจบด้วยหลักธรรมะในพุทธศาสนาว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นอนิจจัง ไม่แน่นอน เราจึงต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
ในการวางแผนการเงินนั้น แผนจะไม่สมบูรณ์ ถ้าไม่ได้วางแผนปกป้องความมั่งคั่งค่ะ ไม่ว่าท่านจะประสบความสำเร็จในอาชีพการงานเพียงใด ไม่ว่าท่านจะทำงานสะสมความมั่งคั่งไว้ได้มากเพียงใด หากท่านไม่ทำการป้องกันรักษาไว้ ความมั่งคั่งอาจจะสูญหายหรือพร่องลงไปได้ด้วยเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ซึ่งจากเหตุการณ์นี้ หากผู้ที่จากไปเป็นกำลังสำคัญในการหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว ความเดือดร้อนของคนในครอบครัวก็จะยิ่งทบทวีมากขึ้น
แม้เราไม่สามารถนำชีวิตของบุคคลเหล่านั้นกลับคืนมาได้ แต่เราอาจจะวางแผนบรรเทาความเสียหายจากการสูญเสียบุคคลสำคัญของครอบครัวได้ ด้วยการทำประกันภัยค่ะ ในกรณีนี้ หากผู้โดยสารหรือลูกเรือมีการทำการประกันชีวิตทั่วไป หรือทำประกันภัยการเดินทางต่างประเทศ จะมีเงินชดเชยให้กับทายาท ซึ่งอย่างน้อยก็จะช่วยให้ผู้อยู่เบื้องหลังมีเงินใช้ดูแลตัวเองได้ในช่วงเวลาหนึ่งหลังจากบุคคลที่เป็นกำลังสำคัญของครอบครัวจากไป
จำนวนทุนประกันควรจะเป็นเท่าไรไม่มีกฎแน่นอนตายตัวค่ะ โดยทั่วไปจะอยู่ที่จำนวนที่จะทำให้ผู้อยู่เบื้องหลังมีเงินใช้จ่ายประมาณ 3-5 ปี เช่น หากครอบครัวท่านใช้เงินเดือนละ 50,000 บาท หรือปีละ 6 แสนบาท ท่านอาจจะสนใจที่จะมีทุนประกันชีวิต 1.8 ถึง 3 ล้านบาท และหวังว่าคนในครอบครัวของท่านจะมีความสามารถในการหารายได้เพื่อช่วยเหลือตัวเองและปรับตัวได้ภายใน 3-5 ปีค่ะ
นอกจากความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดจากอุบัติเหตุแล้ว ความเสี่ยงของโลกได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งความเสี่ยงด้านสภาวะอากาศ จากภัยธรรมชาติ ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจและสังคม และความเสี่ยงจากการกระทำของมนุษย์ และอื่นๆ โดยความเสี่ยงที่สำคัญของโลกสิบประการ ที่สำรวจโดย World Economic Forum ในรายงานที่ชื่อว่า Global Risks 2014 มีดังนี้
1. ความเสี่ยงทางการคลังในประเทศเศรษฐกิจสำคัญ 2. การว่างงานและการว่างงานแฝงที่สูงขึ้นเนื่องจากปัญหาทางโครงสร้าง 3. วิกฤติน้ำ 4. ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ที่รุนแรง 5. ความล้มเหลวในการเลี่ยงและปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ 6. การมีสภาวะอากาศที่รุนแรงมากขึ้น เช่น น้ำท่วม พายุ ไฟไหม้ 7. ความล้มเหลวของธรรมาภิบาลโลก 8. วิกฤติอาหาร 9. การล้มเหลวของระบบการเงินใหญ่ๆ/สถาบันการเงินขนาดใหญ่ และ 10. ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองและสังคมที่ฝังรากลึก
พวกเราทุกคนจึงต้องเตรียมตัวด้วยว่า ความเสี่ยงเหล่านี้จะส่งผลต่อตัวเราและธุรกิจของเรา รวมถึงสังคมที่เราอยู่ และประเทศของเรา โลกของเราอย่างไร เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงเหล่านี้ ทั้งพยายามหามาตรการป้องกันไม่ให้เกิด ลดโอกาสเกิด และหามาตรการบรรเทาความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นด้วย
เมื่อดิฉันหาข้อมูลเพื่อเขียนบทความเรื่องความเสี่ยงในสัปดาห์นี้ ได้ค้นพบโดยบังเอิญจากรายงานของ Swiss Re ว่า ประเทศไทยของเราทำสถิติโลกไว้ด้วยค่ะ โดยเป็นอันดับหนึ่งของมูลค่าความเสียหายจากภัยน้ำท่วมในรอบ 43 ปีของโลก นับตั้งแต่ปี 1970 ถึง 2013 โดยมีความเสียหายที่มีการประกัน 16,200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 526,500 ล้านบาท และส่งผลเสียหายต่อเศรษฐกิจถึง 49,600 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 1.612 ล้านล้านบาท สูงกว่าอันดับสอง คือเหตุการณ์น้ำท่วมในเยอรมนีและสาธารณรัฐเชคเมื่อปีที่แล้วอยู่หลายเท่า
ความเสียหายของน้ำท่วมในเยอรมนีและสาธารณรัฐเชคในปี 2013 มีมูลค่าความเสียหายที่มีการประกัน 4,100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 133,250 ล้านบาท และสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ 16,500 ล้านเหรียญ หรือ 536,250 ล้านบาท
ดูๆแล้ว ประเทศอื่นคงจะมาลบสถิติของเรายากอยู่พอสมควร และหวังว่านับจากนี้ไป รัฐบาลชุดต่อๆไปของประเทศไทย จะมีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดีกว่าปี 2011 ที่ผ่านมา สถิติแบบนี้ ครั้งเดียวก็เกินพอค่ะ
ความเสียหายจากน้ำท่วมที่มากที่สุดในโลก ตั้งแต่ปี 1970-2013
สำหรับในปี 2013 ที่ผ่านมา ภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดในโลกคือ พายุไห่เยี่ยน ซึ่งเป็นซุปเปอร์ไต้ฝุ่น ความรุนแรงระดับ 5 สร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับประเทศฟิลิปปินส์ มีผู้เสียชีวิตและสูญหาย 7,500 คน บาดเจ็บ 28,000 คน บ้านเรือนถูกทำลาย หรือเสียหายอย่างมาก 1 ล้านหลัง มีคนอย่างน้อย 4 ล้านคน ไร้ที่อยู่อาศัย มูลค่าความเสียหายที่มีการประกัน 1,500 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 48,750 ล้านบาท ความเสียหายต่อเศรษฐกิจ 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 390,000 ล้านบาท
ท่านที่สนใจรายละเอียดสามารถหาอ่านได้จากเว็บนี้ค่ะ
http://media.swissre.com/documents/sigma1_2014_en.pdf
ขอจบด้วยหลักธรรมะในพุทธศาสนาว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นอนิจจัง ไม่แน่นอน เราจึงต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาท