กำลังซื้อแผ่วกว่าเดิม? สัญญาณวิกฤติปี 2557
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 01, 2013 2:16 am
กำลังซื้อแผ่วกว่าเดิม? สัญญาณวิกฤติปี 2557
ผู้ประกอบการค้าปลีกหลายรายบอกกล่าวตรงกันว่า กำลังซื้อแผ่วลงอย่างเหลือเชื่อ!! แม้งัดกลยุทธ์สารพัดรูปแบบ
ลด-แลก-แจก-แถม หนักกว่าเดิม แต่สัญญาณตอบรับแผ่วเหลือเชื่อเช่นกัน ทำเอาแปลกใจพร้อมตั้งคำถามว่าทำไม?... ไม่มีสัญญาณบ่งบอกอาการหนักหนาสาหัส ที่กำลังเผชิญกันอยู่เวลานี้ทั้งที่ต้นปีทั้งรัฐและเอกชนมองภาพปี 2556 นี้ "สวยหรู" หากจำกันได้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง 5.6% ผ่านไตรมาสแรก "ตัวเลข" จากสำนักเศรษฐกิจทั้งภาครัฐและเอกชนต่างพร้อมใจกัน "ปรับลด" อย่างต่อเนื่อง
อุตสาหกรรมค้าปลีกค้าส่ง หนึ่งในดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจใกล้ตัวและสะท้อนภาพเป็นจริงได้มากสุดปรับประมาณการตัวเลขช่วงกลางปีมาแล้วรอบหนึ่ง หลังพบว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนในระบบขยายตัวสูง ทำให้กำลังซื้อลดลงและหดตัวต่อเนื่อง แรงซื้อส่วนใหญ่ถูกใช้จ่ายไปกับการซื้อรถยนต์คันแรก รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องจากการใช้รถยนต์ การซื้อมือถือและอุปกรณ์ไอที ขณะที่ค่าครองชีพขยับสูง ทั้งราคาอาหารในชีวิตประจำวัน ค่าโดยสาร เชื้อเพลิง
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ระบุว่า ช่วงครึ่งปีแรกธุรกิจค้าปลีกขยายตัวเพียง 8% ต่ำกว่าคาดการณ์ พร้อมปรับตัวเลขการเติบโตปีนี้ลงเหลือ 9% ต่ำสุดในรอบหลายปี จากเดิมคาดการณ์เติบโต 10-12% โดยภาพรวมธุรกิจค้าปลีกมูลค่า 2.4 ล้านล้านบาท หากขยายตัวเพียง 9% เท่ากับ เม็ดเงินในการบริโภคหายไปกว่า 1.2 แสนล้านบาท คิดเป็น 1-2% ของจีดีพีประเทศ สะท้อนผลจากหนี้ครัวเรือนสูงขึ้นจะเป็นแรงกดดันให้ภาคครัวเรือนตัดลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นทั้งสินค้าฟุ่มเฟือย ลามถึงการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคประจำวัน
ผู้ประกอบการเชื่อว่าตลาดค่อนข้างผิดปกติ!! ยิ่งหากดูตัวเลขเงินเฟ้อต่ำอยู่ในระดับประมาณ 2% สวนทางค่าครองชีพพุ่งสูง หากพิจารณาตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ดอกเบี้ยต่ำ เงินเฟ้อต่ำ การว่างงานไม่มีปัญหา เศรษฐกิจน่าจะขยายตัว 6-7% ด้วยซ้ำ
รัฐจะต้องทบทวนมาตรการต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาค่าครองชีพ!! ขณะที่การปรับเงินเดือนบริษัทเอกชนส่วนใหญ่มักอ้างอิงอัตราเงินเฟ้อ จึงกลับกลายเป็นว่า "รายได้เพิ่มน้อย" แต่ "รายจ่ายจริงพุ่งขึ้นสูงมาก" ก่อเกิดปัญหาความไม่สมดุลระหว่างรายได้กับรายจ่ายในอนาคต กระทบต่อการอุปโภคบริโภคภาคครัวเรือนอย่างแน่นอน
ยิ่งสถานการณ์การเมืองคุกรุ่นขณะนี้กระทบความเชื่อมั่นผู้บริโภคไม่น้อย ซ้ำเติมบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอย "ไฮซีซั่น" ความหวังโค้งสุดท้ายในการปลุกยอดขาย ต่อให้ผู้ประกอบการเฉือนเนื้อ หั่นกำไร อัดฉีดแคมเปญกระตุ้นการซื้อแบบจัดหนัก!! ก็แทบไร้ประโยชน์ เพราะภาวการณ์ที่ประชาชนใช้เครดิตของตัวเองเต็มเพดาน ซื้อบ้าน ผ่อนรถ ฯลฯ แทบจะหมดโอกาสใช้ต่อไป!!
ปัจจัยเสี่ยงรอบด้านส่อเค้ายืดเยื้อและลากยาวส่งสัญญาณ "วิกฤติ" ในปีหน้า ภาครัฐ ธุรกิจและประชาชน จะเตรียมตัวรับมือและตั้งการ์ดรับ "เอ็นพีแอล" กันอย่างไร??
ผู้ประกอบการค้าปลีกหลายรายบอกกล่าวตรงกันว่า กำลังซื้อแผ่วลงอย่างเหลือเชื่อ!! แม้งัดกลยุทธ์สารพัดรูปแบบ
ลด-แลก-แจก-แถม หนักกว่าเดิม แต่สัญญาณตอบรับแผ่วเหลือเชื่อเช่นกัน ทำเอาแปลกใจพร้อมตั้งคำถามว่าทำไม?... ไม่มีสัญญาณบ่งบอกอาการหนักหนาสาหัส ที่กำลังเผชิญกันอยู่เวลานี้ทั้งที่ต้นปีทั้งรัฐและเอกชนมองภาพปี 2556 นี้ "สวยหรู" หากจำกันได้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง 5.6% ผ่านไตรมาสแรก "ตัวเลข" จากสำนักเศรษฐกิจทั้งภาครัฐและเอกชนต่างพร้อมใจกัน "ปรับลด" อย่างต่อเนื่อง
อุตสาหกรรมค้าปลีกค้าส่ง หนึ่งในดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจใกล้ตัวและสะท้อนภาพเป็นจริงได้มากสุดปรับประมาณการตัวเลขช่วงกลางปีมาแล้วรอบหนึ่ง หลังพบว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนในระบบขยายตัวสูง ทำให้กำลังซื้อลดลงและหดตัวต่อเนื่อง แรงซื้อส่วนใหญ่ถูกใช้จ่ายไปกับการซื้อรถยนต์คันแรก รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องจากการใช้รถยนต์ การซื้อมือถือและอุปกรณ์ไอที ขณะที่ค่าครองชีพขยับสูง ทั้งราคาอาหารในชีวิตประจำวัน ค่าโดยสาร เชื้อเพลิง
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ระบุว่า ช่วงครึ่งปีแรกธุรกิจค้าปลีกขยายตัวเพียง 8% ต่ำกว่าคาดการณ์ พร้อมปรับตัวเลขการเติบโตปีนี้ลงเหลือ 9% ต่ำสุดในรอบหลายปี จากเดิมคาดการณ์เติบโต 10-12% โดยภาพรวมธุรกิจค้าปลีกมูลค่า 2.4 ล้านล้านบาท หากขยายตัวเพียง 9% เท่ากับ เม็ดเงินในการบริโภคหายไปกว่า 1.2 แสนล้านบาท คิดเป็น 1-2% ของจีดีพีประเทศ สะท้อนผลจากหนี้ครัวเรือนสูงขึ้นจะเป็นแรงกดดันให้ภาคครัวเรือนตัดลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นทั้งสินค้าฟุ่มเฟือย ลามถึงการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคประจำวัน
ผู้ประกอบการเชื่อว่าตลาดค่อนข้างผิดปกติ!! ยิ่งหากดูตัวเลขเงินเฟ้อต่ำอยู่ในระดับประมาณ 2% สวนทางค่าครองชีพพุ่งสูง หากพิจารณาตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ดอกเบี้ยต่ำ เงินเฟ้อต่ำ การว่างงานไม่มีปัญหา เศรษฐกิจน่าจะขยายตัว 6-7% ด้วยซ้ำ
รัฐจะต้องทบทวนมาตรการต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาค่าครองชีพ!! ขณะที่การปรับเงินเดือนบริษัทเอกชนส่วนใหญ่มักอ้างอิงอัตราเงินเฟ้อ จึงกลับกลายเป็นว่า "รายได้เพิ่มน้อย" แต่ "รายจ่ายจริงพุ่งขึ้นสูงมาก" ก่อเกิดปัญหาความไม่สมดุลระหว่างรายได้กับรายจ่ายในอนาคต กระทบต่อการอุปโภคบริโภคภาคครัวเรือนอย่างแน่นอน
ยิ่งสถานการณ์การเมืองคุกรุ่นขณะนี้กระทบความเชื่อมั่นผู้บริโภคไม่น้อย ซ้ำเติมบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอย "ไฮซีซั่น" ความหวังโค้งสุดท้ายในการปลุกยอดขาย ต่อให้ผู้ประกอบการเฉือนเนื้อ หั่นกำไร อัดฉีดแคมเปญกระตุ้นการซื้อแบบจัดหนัก!! ก็แทบไร้ประโยชน์ เพราะภาวการณ์ที่ประชาชนใช้เครดิตของตัวเองเต็มเพดาน ซื้อบ้าน ผ่อนรถ ฯลฯ แทบจะหมดโอกาสใช้ต่อไป!!
ปัจจัยเสี่ยงรอบด้านส่อเค้ายืดเยื้อและลากยาวส่งสัญญาณ "วิกฤติ" ในปีหน้า ภาครัฐ ธุรกิจและประชาชน จะเตรียมตัวรับมือและตั้งการ์ดรับ "เอ็นพีแอล" กันอย่างไร??