กิจกรรมโรดโชว์ "สร้างอนาคตไทย 2020"
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 29, 2013 11:04 am
ล้านล้านปักธงอีสานกลาง กลุ่มจังหวัด "ร้อยแก่นสารสินธุ์"
ไฮสปีดเทรน-ทางคู่...บูมอนาคตใหม่
29 ต.ค. 2556 เวลา 01:12:04 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
กิจกรรมโรดโชว์ "สร้างอนาคตไทย 2020" รอบนี้ถึงคิวกลุ่มอีสานกลาง
ครอบคลุมรัศมีพื้นที่ 4 จังหวัด "ร้อยเอ็ด-ขอนแก่น-มหาสารคาม-กาฬสินธุ์"
โดยมีเมืองดอกคูนเป็นศูนย์กลาง
ปัจจุบันกลุ่มจังหวัดนี้มีคำนิยามเรียกขานว่า "ร้อยแก่นสารสินธุ์" โดยหยิบคำ "นำหน้า+คำหลัง" ของแต่ละจังหวัดมาผนึกรวมกันเป็นหนึ่งเดียว เป็นคำเรียกขานกันเฉพาะกลุ่ม
ด้วยศักยภาพของพื้นที่อยู่แนวแกนเศรษฐกิจหลัก หรือเส้นระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Corridor) ทำให้โยธาธิการและผังเมืองทั้ง 4 จังหวัด ต้องขอรีเช็กผังเมืองรวมจังหวัดใหม่โดยพลัน หลังจากรัฐบาลประกาศแผนลงทุนโครงการ 2 ล้านล้านบาท รวมทั้งเพื่อรองรับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี 2558 ด้วย
ขอนแก่นรื้อใหญ่ผังเมือง
"นฤมล อัตนโถ" รักษาการโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า อยู่ระหว่างทบทวนผังเมืองรวมจังหวัดให้สอดรับกับภาพรวมจังหวัดที่เปลี่ยนไปจากหลายปัจจัย ได้แก่ 1.นโยบายและโครงการพัฒนาที่สำคัญของจังหวัด ข้อเสนอคือให้จังหวัดเป็นฮับด้านการแพทย์และโลจิสติกส์
2.แผนลงทุน 2 ล้านล้านบาท ในอนาคตอันใกล้ ขอนแก่นจะมีโครงการใหญ่เกิดขึ้นมากมาย เช่น รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ เป็นต้น 3.การก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ จะต้องเปิดพื้นที่พัฒนามากขึ้น และ 4.การเข้าสู่เออีซีในปี 2558 จะเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันด้านการค้า การลงทุน ที่สำคัญเพิ่มศักยภาพของเมืองเพื่อเชื่อมโยงโอกาสจากอาเซียนในด้านอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว และบริการ
ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยทำให้มีความต้องการใช้พื้นที่เพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม การค้าและบริการ ซึ่งปัจจุบันมี "เขตอุตสาหกรรมซีเคบี ขอนแก่น" ขอจัดตั้งในพื้นที่ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น เพิ่ม
"ต้องวิเคราะห์แนวโน้มการพัฒนาล่วงหน้า เพราะผังใหม่มีระยะเวลาใช้ 7 ปี อย่างการพัฒนาเมืองใหม่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงที่จะมีสถานีจอดที่ขอนแก่นด้วย ในพื้นที่ก็ต้องเตรียมไว้ล่วงหน้าว่าจะพัฒนาอะไร"
อ.บ้านไผ่ อนาคตสดใส
สำหรับรถไฟทางคู่ก็ต้องมาดูด้วยเช่นกันที่ "สถานีบ้านไผ่" อนาคตจะเป็นชุมทางทางคู่ 2 สาย คือไปถึงหนองคาย กับอีกเส้นจะตัดใหม่ไปทางมหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร สุดปลายทางที่นครพนม
จึงต้องเตรียมทั้งการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ตอบโจทย์และเสริมโครงข่ายคมนาคมให้เข้าถึงสถานีได้อย่างสะดวก
"นฤมล" กล่าวต่อว่า ในส่วนพื้นที่พัฒนาให้เป็นฮับนั้น กำลังพิจารณาร่วมกับอุตสาหกรรมจังหวัด เพื่อหารือว่าจะใช้อำเภอท่าพระที่เดิมหรือเป็นที่ใหม่ เนื่องจากมีโครงการ 2 ล้านล้านบาทเกิดขึ้น จากเดิมไม่มี
"บทบาทขอนแก่นรองรับทั้งโครงการ 2 ล้านล้านบาท และเปิดเออีซี ถูกกำหนดให้เป็นฮับของภาคอีสาน มองเรื่องการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการประชุมของอาเซียน จะส่งเสริมการพัฒนาโรงแรมและศูนย์ประชุมมากขึ้น ทั้งยกระดับของเดิมและเปิดพื้นที่ใหม่ในเขตเมือง"
นอกจากอำเภอเมืองที่เป็นศูนย์กลางแล้ว พื้นที่โดยรอบโซนด้านใต้ทาง "อำเภอบ้านไผ่" จะพัฒนามากขึ้นเมื่อมีสถานีรถไฟทางคู่, โซนตะวันตก "อำเภอชุมแพ" การพัฒนาคงไม่หวือหวา เป็นชุมทางการเดินทางโดยธรรมชาติ เพราะสามารถไปชัยภูมิ ขึ้นไปภาคเหนือได้ ผ่านเพชรบูรณ์และพิษณุโลก
ส่วน "อำเภอน้ำพอง" จะเป็นย่านนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ปัจจุบันศักยภาพทรงตัว เน้นรักษาสิ่งแวดล้อมไม่ให้อุตสาหกรรมมีมลพิษเกิดขึ้น
สารคามจุดพลุรอทางคู่
ด้าน "สุวพงษ์ ภูนาคพันธุ์" โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดมหาสารคาม ระบุว่า เหตุผลที่ปรับปรุงเนื่องจากร่างผังเมืองรวมจังหวัดเดิมยกร่างมาร่วม 10 ปี ไม่ตอบโจทย์และไม่สอดคล้องกับสภาพเมืองที่เปลี่ยนไป ทั้งด้านอุตสาหกรรม การขยายตัวของเมืองมีที่อยู่อาศัยเกิดใหม่มากหลังมีมหาวิทยาลัย เช่น หอพัก ค้าปลีก อุตฯ การเกษตร อิเล็กทรอนิกส์
โดยกำลังจะมีรถไฟทางคู่สายใหม่เส้นทางบ้านไผ่-นครพนม จะพาดผ่านพื้นที่จังหวัดใน 3 อำเภอ "เมืองมหาสารคาม-บรบือ-กุดรัง"
"ร่างผังเดิมไม่มีโครงการรถไฟทางคู่ก็ต้องวางแผนการพัฒนาใหม่ให้สอดรับกับสถานีที่จะมาจอดรับคน เช่น หาพื้นที่รองรับสร้างให้เป็นจุดกระจายสินค้า การพัฒนาเชิงพาณิชย์โดยรอบสถานี"
ขณะเดียวกัน พื้นที่อื่นที่เริ่มเปลี่ยนแปลงมี "อำเภอเชียงยืน" เนื่องจากเป็นพื้นที่แนวระเบียงเศรษฐกิจรองรับมาจากจังหวัดขอนแก่น ปัจจุบันมีการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมาก กับ "อำเภอกันทรวิชัย" ซึ่งเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัย ทำให้มีการพัฒนาเข้าพื้นที่จำนวนมาก
ทิศทางการวางผังเมืองรวมจังหวัดคือ จะเปิดการพัฒนาให้มากขึ้น เช่น กำหนดโซนให้สร้างโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท และอาคารขนาดใหญ่ได้ จากเดิมสร้างไม่ได้ อาทิ พื้นที่สีเขียวให้สร้างได้
อีกทั้งส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมไปสู่อุตฯสีเขียว ที่อยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน หรือจำกัดประเภทกิจการโรงงาน, ลดข้อจำกัดการใช้ที่ดินในการตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ เป็นต้น
ร้อยเอ็ดเล็งบูม 8 อำเภอ
"วรวรรณ กลิ่นแก้ว" โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า ขณะนี้ได้ขอทบทวนผังเมืองรวมจังหวัดใหม่ ปรับปรุงข้อกำหนดให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน รวมถึงรองรับโครงการ 2 ล้านล้านบาท ที่มีโครงการทางคู่สายใหม่จากบ้านไผ่ผ่านพื้นที่ 8 อำเภอ "ศรีสมเด็จ-เมืองร้อยเอ็ด-จังหาร-เชียงขวัญ-โพธิ์ชัย-โพนทอง-เมยวดี-หนองพอก"
ทิศทางการวางผังเมืองฉบับใหม่คือ จะกำหนดพื้นที่พัฒนาโดยรอบสถานี เช่น พาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย จุดกระจายสินค้า
นอกจากนี้ จะเปิดให้สร้างโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมอยากให้โรงงานบางประเภทเข้าไปได้ โดยภาพรวมจะพัฒนาให้รองรับธุรกิจและภาคคมนาคมขนส่งในทุกด้าน ขณะที่เมืองใหม่ใช้อำเภอเมืองเป็นศูนย์กลาง
เซ็นทรัลโผล่ปักธงห้างค้าปลีก
ส่วนเมืองรองจะเป็น "อำเภอเสลภูมิ" เนื่องจากเริ่มเจริญ เพราะเป็นจุดเชื่อมระหว่างร้อยเอ็ดกับ 2 จังหวัดคือ "ยโสธร-อุบลราชธานี" ทางด้านเหนือเป็น "อำเภอโพนทอง-หนองพอก" จะเป็นแหล่งท่องเที่ยว เนื่องจากจะมีรถไฟตัดผ่าน
"ร้อยเอ็ดเด่นเรื่องข้าวหอมมะลิ ต้องใช้พื้นที่สีเขียวเป็นหลัก แต่ในจังหวัดไม่อยากได้ ดังนั้นต้องให้สอดคล้องทั้งเกษตร พาณิชยกรรม และที่อยู่อาศัย ต้องทำให้ครบทุกด้าน"
จากจุดที่ตั้งของ "ร้อยเอ็ด" เป็นศูนย์กลางอยู่ใกล้ยโสธร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม มีประชากรกว่า 1.3 ล้านคน ล่าสุดทำให้ "กลุ่มเซ็นทรัล" เข้าไปปักธงลงทุนก่อสร้างห้างโรบินสันสาขาใหม่ที่ตำบลดงลาน บริเวณสี่แยกถนนวงแหวนรอบเมือง (สาย 232) ใกล้กับโฮมโปร ไทวัสดุ ที่เปิดตลาดไปล่วงหน้าเมื่อ 1-2 ปีที่แล้ว
กาฬสินธุ์ปลดล็อกโรงงาน
"อดิเรก วัฒนาอุดมชัย" โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า อยู่ระหว่างปรับปรุงร่างผังเมืองรวมจังหวัดใหม่ให้รับกับยุทธศาสตร์เป็นเมืองเกษตรอุตสาหกรรม เพราะมีโรงงานผลิตแป้งมันใหญ่ที่สุดในประเทศ เนื่องจากร่างผังเดิมไม่เปิดการพัฒนามากนัก แต่จะห้ามโรงงานที่เป็นมลพิษ
"เขตเมืองและเขตเทศบาลจะให้พัฒนาตึกสูงได้ ส่วนรอบนอกจะควบคุม อนาคตกาฬสินธุ์จะพัฒนาอีกมาก เช่น หอพัก บ้าน เพราะมีการควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์และราชมงคลเข้าด้วยกัน"
นอกจากนี้ จะเปิดการพัฒนาแนวถนนเส้นระเบียงเศรษฐกิจ East-West Corridor ใน 2 ล้านล้านบาท โดยจังหวัดได้เงินมาขยายถนนเป็น 4 เลน ทำให้การเดินทาง การขนส่งสินค้า และการท่องเที่ยวสะดวกขึ้น
ทั้งหมดนี้เป็นภาพใหญ่ยุทธศาสตร์เตรียมพร้อมตั้งรับของ 4 จังหวัดกลุ่มอีสานกลาง เพื่อรับมือกับคลื่นลงทุนที่คาดว่าจะไหลบ่าทะลักเข้าพื้นที่ในอนาคตอันใกล้นี้
ไฮสปีดเทรน-ทางคู่...บูมอนาคตใหม่
29 ต.ค. 2556 เวลา 01:12:04 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
กิจกรรมโรดโชว์ "สร้างอนาคตไทย 2020" รอบนี้ถึงคิวกลุ่มอีสานกลาง
ครอบคลุมรัศมีพื้นที่ 4 จังหวัด "ร้อยเอ็ด-ขอนแก่น-มหาสารคาม-กาฬสินธุ์"
โดยมีเมืองดอกคูนเป็นศูนย์กลาง
ปัจจุบันกลุ่มจังหวัดนี้มีคำนิยามเรียกขานว่า "ร้อยแก่นสารสินธุ์" โดยหยิบคำ "นำหน้า+คำหลัง" ของแต่ละจังหวัดมาผนึกรวมกันเป็นหนึ่งเดียว เป็นคำเรียกขานกันเฉพาะกลุ่ม
ด้วยศักยภาพของพื้นที่อยู่แนวแกนเศรษฐกิจหลัก หรือเส้นระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Corridor) ทำให้โยธาธิการและผังเมืองทั้ง 4 จังหวัด ต้องขอรีเช็กผังเมืองรวมจังหวัดใหม่โดยพลัน หลังจากรัฐบาลประกาศแผนลงทุนโครงการ 2 ล้านล้านบาท รวมทั้งเพื่อรองรับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี 2558 ด้วย
ขอนแก่นรื้อใหญ่ผังเมือง
"นฤมล อัตนโถ" รักษาการโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า อยู่ระหว่างทบทวนผังเมืองรวมจังหวัดให้สอดรับกับภาพรวมจังหวัดที่เปลี่ยนไปจากหลายปัจจัย ได้แก่ 1.นโยบายและโครงการพัฒนาที่สำคัญของจังหวัด ข้อเสนอคือให้จังหวัดเป็นฮับด้านการแพทย์และโลจิสติกส์
2.แผนลงทุน 2 ล้านล้านบาท ในอนาคตอันใกล้ ขอนแก่นจะมีโครงการใหญ่เกิดขึ้นมากมาย เช่น รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ เป็นต้น 3.การก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ จะต้องเปิดพื้นที่พัฒนามากขึ้น และ 4.การเข้าสู่เออีซีในปี 2558 จะเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันด้านการค้า การลงทุน ที่สำคัญเพิ่มศักยภาพของเมืองเพื่อเชื่อมโยงโอกาสจากอาเซียนในด้านอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว และบริการ
ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยทำให้มีความต้องการใช้พื้นที่เพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม การค้าและบริการ ซึ่งปัจจุบันมี "เขตอุตสาหกรรมซีเคบี ขอนแก่น" ขอจัดตั้งในพื้นที่ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น เพิ่ม
"ต้องวิเคราะห์แนวโน้มการพัฒนาล่วงหน้า เพราะผังใหม่มีระยะเวลาใช้ 7 ปี อย่างการพัฒนาเมืองใหม่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงที่จะมีสถานีจอดที่ขอนแก่นด้วย ในพื้นที่ก็ต้องเตรียมไว้ล่วงหน้าว่าจะพัฒนาอะไร"
อ.บ้านไผ่ อนาคตสดใส
สำหรับรถไฟทางคู่ก็ต้องมาดูด้วยเช่นกันที่ "สถานีบ้านไผ่" อนาคตจะเป็นชุมทางทางคู่ 2 สาย คือไปถึงหนองคาย กับอีกเส้นจะตัดใหม่ไปทางมหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร สุดปลายทางที่นครพนม
จึงต้องเตรียมทั้งการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ตอบโจทย์และเสริมโครงข่ายคมนาคมให้เข้าถึงสถานีได้อย่างสะดวก
"นฤมล" กล่าวต่อว่า ในส่วนพื้นที่พัฒนาให้เป็นฮับนั้น กำลังพิจารณาร่วมกับอุตสาหกรรมจังหวัด เพื่อหารือว่าจะใช้อำเภอท่าพระที่เดิมหรือเป็นที่ใหม่ เนื่องจากมีโครงการ 2 ล้านล้านบาทเกิดขึ้น จากเดิมไม่มี
"บทบาทขอนแก่นรองรับทั้งโครงการ 2 ล้านล้านบาท และเปิดเออีซี ถูกกำหนดให้เป็นฮับของภาคอีสาน มองเรื่องการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการประชุมของอาเซียน จะส่งเสริมการพัฒนาโรงแรมและศูนย์ประชุมมากขึ้น ทั้งยกระดับของเดิมและเปิดพื้นที่ใหม่ในเขตเมือง"
นอกจากอำเภอเมืองที่เป็นศูนย์กลางแล้ว พื้นที่โดยรอบโซนด้านใต้ทาง "อำเภอบ้านไผ่" จะพัฒนามากขึ้นเมื่อมีสถานีรถไฟทางคู่, โซนตะวันตก "อำเภอชุมแพ" การพัฒนาคงไม่หวือหวา เป็นชุมทางการเดินทางโดยธรรมชาติ เพราะสามารถไปชัยภูมิ ขึ้นไปภาคเหนือได้ ผ่านเพชรบูรณ์และพิษณุโลก
ส่วน "อำเภอน้ำพอง" จะเป็นย่านนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ปัจจุบันศักยภาพทรงตัว เน้นรักษาสิ่งแวดล้อมไม่ให้อุตสาหกรรมมีมลพิษเกิดขึ้น
สารคามจุดพลุรอทางคู่
ด้าน "สุวพงษ์ ภูนาคพันธุ์" โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดมหาสารคาม ระบุว่า เหตุผลที่ปรับปรุงเนื่องจากร่างผังเมืองรวมจังหวัดเดิมยกร่างมาร่วม 10 ปี ไม่ตอบโจทย์และไม่สอดคล้องกับสภาพเมืองที่เปลี่ยนไป ทั้งด้านอุตสาหกรรม การขยายตัวของเมืองมีที่อยู่อาศัยเกิดใหม่มากหลังมีมหาวิทยาลัย เช่น หอพัก ค้าปลีก อุตฯ การเกษตร อิเล็กทรอนิกส์
โดยกำลังจะมีรถไฟทางคู่สายใหม่เส้นทางบ้านไผ่-นครพนม จะพาดผ่านพื้นที่จังหวัดใน 3 อำเภอ "เมืองมหาสารคาม-บรบือ-กุดรัง"
"ร่างผังเดิมไม่มีโครงการรถไฟทางคู่ก็ต้องวางแผนการพัฒนาใหม่ให้สอดรับกับสถานีที่จะมาจอดรับคน เช่น หาพื้นที่รองรับสร้างให้เป็นจุดกระจายสินค้า การพัฒนาเชิงพาณิชย์โดยรอบสถานี"
ขณะเดียวกัน พื้นที่อื่นที่เริ่มเปลี่ยนแปลงมี "อำเภอเชียงยืน" เนื่องจากเป็นพื้นที่แนวระเบียงเศรษฐกิจรองรับมาจากจังหวัดขอนแก่น ปัจจุบันมีการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมาก กับ "อำเภอกันทรวิชัย" ซึ่งเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัย ทำให้มีการพัฒนาเข้าพื้นที่จำนวนมาก
ทิศทางการวางผังเมืองรวมจังหวัดคือ จะเปิดการพัฒนาให้มากขึ้น เช่น กำหนดโซนให้สร้างโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท และอาคารขนาดใหญ่ได้ จากเดิมสร้างไม่ได้ อาทิ พื้นที่สีเขียวให้สร้างได้
อีกทั้งส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมไปสู่อุตฯสีเขียว ที่อยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน หรือจำกัดประเภทกิจการโรงงาน, ลดข้อจำกัดการใช้ที่ดินในการตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ เป็นต้น
ร้อยเอ็ดเล็งบูม 8 อำเภอ
"วรวรรณ กลิ่นแก้ว" โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า ขณะนี้ได้ขอทบทวนผังเมืองรวมจังหวัดใหม่ ปรับปรุงข้อกำหนดให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน รวมถึงรองรับโครงการ 2 ล้านล้านบาท ที่มีโครงการทางคู่สายใหม่จากบ้านไผ่ผ่านพื้นที่ 8 อำเภอ "ศรีสมเด็จ-เมืองร้อยเอ็ด-จังหาร-เชียงขวัญ-โพธิ์ชัย-โพนทอง-เมยวดี-หนองพอก"
ทิศทางการวางผังเมืองฉบับใหม่คือ จะกำหนดพื้นที่พัฒนาโดยรอบสถานี เช่น พาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย จุดกระจายสินค้า
นอกจากนี้ จะเปิดให้สร้างโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมอยากให้โรงงานบางประเภทเข้าไปได้ โดยภาพรวมจะพัฒนาให้รองรับธุรกิจและภาคคมนาคมขนส่งในทุกด้าน ขณะที่เมืองใหม่ใช้อำเภอเมืองเป็นศูนย์กลาง
เซ็นทรัลโผล่ปักธงห้างค้าปลีก
ส่วนเมืองรองจะเป็น "อำเภอเสลภูมิ" เนื่องจากเริ่มเจริญ เพราะเป็นจุดเชื่อมระหว่างร้อยเอ็ดกับ 2 จังหวัดคือ "ยโสธร-อุบลราชธานี" ทางด้านเหนือเป็น "อำเภอโพนทอง-หนองพอก" จะเป็นแหล่งท่องเที่ยว เนื่องจากจะมีรถไฟตัดผ่าน
"ร้อยเอ็ดเด่นเรื่องข้าวหอมมะลิ ต้องใช้พื้นที่สีเขียวเป็นหลัก แต่ในจังหวัดไม่อยากได้ ดังนั้นต้องให้สอดคล้องทั้งเกษตร พาณิชยกรรม และที่อยู่อาศัย ต้องทำให้ครบทุกด้าน"
จากจุดที่ตั้งของ "ร้อยเอ็ด" เป็นศูนย์กลางอยู่ใกล้ยโสธร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม มีประชากรกว่า 1.3 ล้านคน ล่าสุดทำให้ "กลุ่มเซ็นทรัล" เข้าไปปักธงลงทุนก่อสร้างห้างโรบินสันสาขาใหม่ที่ตำบลดงลาน บริเวณสี่แยกถนนวงแหวนรอบเมือง (สาย 232) ใกล้กับโฮมโปร ไทวัสดุ ที่เปิดตลาดไปล่วงหน้าเมื่อ 1-2 ปีที่แล้ว
กาฬสินธุ์ปลดล็อกโรงงาน
"อดิเรก วัฒนาอุดมชัย" โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า อยู่ระหว่างปรับปรุงร่างผังเมืองรวมจังหวัดใหม่ให้รับกับยุทธศาสตร์เป็นเมืองเกษตรอุตสาหกรรม เพราะมีโรงงานผลิตแป้งมันใหญ่ที่สุดในประเทศ เนื่องจากร่างผังเดิมไม่เปิดการพัฒนามากนัก แต่จะห้ามโรงงานที่เป็นมลพิษ
"เขตเมืองและเขตเทศบาลจะให้พัฒนาตึกสูงได้ ส่วนรอบนอกจะควบคุม อนาคตกาฬสินธุ์จะพัฒนาอีกมาก เช่น หอพัก บ้าน เพราะมีการควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์และราชมงคลเข้าด้วยกัน"
นอกจากนี้ จะเปิดการพัฒนาแนวถนนเส้นระเบียงเศรษฐกิจ East-West Corridor ใน 2 ล้านล้านบาท โดยจังหวัดได้เงินมาขยายถนนเป็น 4 เลน ทำให้การเดินทาง การขนส่งสินค้า และการท่องเที่ยวสะดวกขึ้น
ทั้งหมดนี้เป็นภาพใหญ่ยุทธศาสตร์เตรียมพร้อมตั้งรับของ 4 จังหวัดกลุ่มอีสานกลาง เพื่อรับมือกับคลื่นลงทุนที่คาดว่าจะไหลบ่าทะลักเข้าพื้นที่ในอนาคตอันใกล้นี้