น้องเม รัชนก คว้าแชมป์โลกครับ
- ลูกเนียง
- Verified User
- โพสต์: 51
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้องเม รัชนก คว้าแชมป์โลกครับ
โพสต์ที่ 6
มาฟังสัมภาษณ์ของโค้ชน้องเมย์ที่ให้สัมภาษณ์สื่อจีนกันค่ะ
http://pantip.com/topic/30830512
ชมคลิปประวัติศาสตร์
http://www.youtube.com/watch?v=bqUTCeVuaJA
จินตนาการ สำคัญกว่า ความรู้
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้องเม รัชนก คว้าแชมป์โลกครับ
โพสต์ที่ 7
เคยมีคนบอกผมว่า ถ้ามีความเชื่อและศรัทธา ปาฏิหารย์จะเกิด
ผมฟังข่าวตอนเช้าบอกน้องเมย์เข้ารอบชิงชนะเลิศ ยังคุยกับลูกเลยว่าเก่งมากแล้ว เป็นประวัติศาสตร์
คู่ชิงชนะเลิศ นักแบดจีน เก่งมากๆ เป็นมือ1 โลก แถมเป็นแชมป์โอลิมปิกมาด้วย แถมสถิติที่เจอกัน ไทยเราแพ้ซะส่วนใหญ่
คิดในใจว่าแพ้แน่ๆ
แต่ไม่น่าเชื่อครับ ในที่สุดน้องเมย์ ก็คว้าแชมป์โลก ให้ชาวไทยและตัวเองสำเร็จ ดีใจแทนมากๆเลยครับ
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จจะรออยู่ที่นั่น จริงๆ
ผมฟังข่าวตอนเช้าบอกน้องเมย์เข้ารอบชิงชนะเลิศ ยังคุยกับลูกเลยว่าเก่งมากแล้ว เป็นประวัติศาสตร์
คู่ชิงชนะเลิศ นักแบดจีน เก่งมากๆ เป็นมือ1 โลก แถมเป็นแชมป์โอลิมปิกมาด้วย แถมสถิติที่เจอกัน ไทยเราแพ้ซะส่วนใหญ่
คิดในใจว่าแพ้แน่ๆ
แต่ไม่น่าเชื่อครับ ในที่สุดน้องเมย์ ก็คว้าแชมป์โลก ให้ชาวไทยและตัวเองสำเร็จ ดีใจแทนมากๆเลยครับ
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จจะรออยู่ที่นั่น จริงๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 4241
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้องเม รัชนก คว้าแชมป์โลกครับ
โพสต์ที่ 9
ผมก็ดีใจแทนเธออย่างมาก. เห็นผลงานมานานครับ
คิดว่าวันหนึ่งเธอจะเป็นแชมป์รายการใหญ่ๆ
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเธอจะมุมานะต่อไป อย่าเป็นเหมือน
แชมป์อื่นๆ หลายคนที่ผมเสียดายพรสวรรค์และพรแสวง
และขออย่าให้เป็นอย่างที่คุณโน้ต อุดม พูดแบบขันๆ ใน
เดี่ยว 10
... อนาคตของเธอยังอีกไกลมาก ....
แต่คนไทยมักลืม เบื้องหลังความสำเร็จของนักกีฬา
ต้องมีโค้ช และสโมสร เมื่อเช้าในรายการ สรยุทธ
ท่านอดีตนายกฯ สมาคมแบด ได้ให้เครดิตทั้งโค้ช
และสโมสร น่ายินดียิ่งครับ ...
วันสองวันก่อน อ่านข่าวเกี่ยวกับ ฟิล เมคเกอร์สัน แชมป์กอลฟ
บิสติสโอเพนคนล่าสุด ขนาดตอนลงสนามซ้อมวอร์มอัพ
เขายังให้โค้ชดูให้ตลอดนะครับ ... แข่งมาน่าจะเกินยี่สิบปี
แล้วนะครับ เป็นแชมป์ใหญ่ตั้งหลายรายการ ... ทำไมยังต้องมีโค้ช ...
คนไทยมักไม่ให้ความสำคัญกับโค้ช ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไม
สุดท้ายก็หวังและอวยพรให้น้องเมย์จะขึ้นมือหนึ่ง และได้แชมป์รายการใหญ่ๆ
ทุกรายการมาครอง ... โดยเฉพาะ ออลอิงแลนด์ ... ที่ปีเกือบได้แล้ว ...
คิดว่าวันหนึ่งเธอจะเป็นแชมป์รายการใหญ่ๆ
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเธอจะมุมานะต่อไป อย่าเป็นเหมือน
แชมป์อื่นๆ หลายคนที่ผมเสียดายพรสวรรค์และพรแสวง
และขออย่าให้เป็นอย่างที่คุณโน้ต อุดม พูดแบบขันๆ ใน
เดี่ยว 10
... อนาคตของเธอยังอีกไกลมาก ....
แต่คนไทยมักลืม เบื้องหลังความสำเร็จของนักกีฬา
ต้องมีโค้ช และสโมสร เมื่อเช้าในรายการ สรยุทธ
ท่านอดีตนายกฯ สมาคมแบด ได้ให้เครดิตทั้งโค้ช
และสโมสร น่ายินดียิ่งครับ ...
วันสองวันก่อน อ่านข่าวเกี่ยวกับ ฟิล เมคเกอร์สัน แชมป์กอลฟ
บิสติสโอเพนคนล่าสุด ขนาดตอนลงสนามซ้อมวอร์มอัพ
เขายังให้โค้ชดูให้ตลอดนะครับ ... แข่งมาน่าจะเกินยี่สิบปี
แล้วนะครับ เป็นแชมป์ใหญ่ตั้งหลายรายการ ... ทำไมยังต้องมีโค้ช ...
คนไทยมักไม่ให้ความสำคัญกับโค้ช ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไม
สุดท้ายก็หวังและอวยพรให้น้องเมย์จะขึ้นมือหนึ่ง และได้แชมป์รายการใหญ่ๆ
ทุกรายการมาครอง ... โดยเฉพาะ ออลอิงแลนด์ ... ที่ปีเกือบได้แล้ว ...
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- Verified User
- โพสต์: 4241
- ผู้ติดตาม: 0
Re: น้องเม รัชนก คว้าแชมป์โลกครับ
โพสต์ที่ 10
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1376452609
"บ้านทองหยอด" เบ้าหลอม "ฮีโร่เมย์"
updated: 14 ส.ค. 2556 เวลา 11:00:00 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
สําหรับแฟนกีฬาชาวไทยแล้ว การแข่งขันแบดมินตันชิงแชมป์โลก 2013 ที่เมืองกว่างโจว ประเทศจีน เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นอีกครั้งที่จะตราตรึงอยู่ในหัวใจไปอีกนานแสนนาน
เมื่อ "น้องเมย์" รัชนก อินทนนท์ เฉือนชนะเต็งหนึ่งของรายการ หลี่ เสวี่ยรุ่ย มืออันดับ 1 โลกจากจีน ไปอย่างสนุก 2 ต่อ 1 เกม คว้าแชมป์โลกมาครองได้สำเร็จ สร้างสถิติใหม่เป็นนักแบดมินตันที่อายุน้อยที่สุดด้วยวัยเพียง 18 ปี
จึงไม่แปลกที่จะทำให้ใครต่อใครคิดถึงที่มาของความสำเร็จของเธอ โดยเฉพาะเรื่องราวของ "บ้านทองหยอด" ปัจจุบัน เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะโรงเรียนแบดมินตันต้นสังกัดของ "น้องเมย์"
กล่าวสำหรับสถานที่บ่มเพาะฝีมือให้กับแชมป์โลกแบดมินตันชาวไทยรายนี้ หลายคนเมื่อได้ยินชื่อแล้วอาจแซวหรือพูดเล่นๆ ติดตลกว่า "บ้านทองหยอด" นอกจากทองหยอดแล้วยังมีทองหยิบ ฝอยทอง เม็ดขนุน ฯลฯ ให้ได้ลิ้มลองอีกใช่ไหม?
ก็ไม่ผิดเพราะโรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด มีต้นกำเนิดมาจากโรงงานขนมไทย ที่ผลิตและจำหน่ายขนมไทยหลายอย่าง ทั้งทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน มาเป็นเวลายาวนานกว่า 30 ปี มีจุดเริ่มต้นจากครอบครัว "ทองกร"
กว่า 30 ปีมาแล้ว ที่ วิไล ทองกร ผู้เป็นแม่ และ กมลา ทองกร หรือ "อาปุก" เริ่มต้นกิจการขายขนมไทยเล็กๆ ขึ้นที่บ้านย่านถนนวุฒากาศ ด้วยรสชาติและคุณภาพที่ไม่เป็นสองรองใคร จึงมีลูกค้าติดใจในรสมือของคู่แม่ลูก จนขนมที่ทำมานั้นผลิตไม่ทัน
เมื่อทนเสียงเรียกร้องของแฟนคลับไม่ไหว บวกกับความเหนื่อยล้าของผู้เป็นแม่ กมลา ขณะนั้นได้แต่งงานกับ ไพโรจน์ เงินศรีสุข แล้ว ปรึกษากันว่าจะสร้างโรงงานทำขนมขึ้น
เริ่มมีการศึกษาและทดลองเครื่องโรยฝอยทอง เครื่องหยอดทองหยอด และเครื่องจับทองหยิบ หลังจากนั้นแฟนคลับก็ไม่ต้องรอขนมหวานแสนอร่อยอีกต่อไป ขนมไทยบ้านทองหยอดสามารถผลิตได้มากขึ้น ขยายตลาดได้ตามความต้องการของลูกค้า จนบ้านเดิมคับแคบ ต้องย้ายโรงงานไปตั้งที่หมู่บ้านเศรษฐกิจ
10 ปีต่อมา ไพโรจน์และกมลายกกิจการให้ลูกชายคนที่สองคือ ภาณุวัฒก์ เงินศรีสุข ดูแล โดยพ่อเป็นที่ปรึกษาและดูเเลเรื่องเครื่องจักรในโรงงาน ช่วงคาบเกี่ยวระหว่างนี้เองที่ ชมรมแบดมินตันบ้านทองหยอด ถือกำเนิดขึ้นใน พ.ศ.2534 ตัวตั้งตัวตีคนสำคัญก็คือ กมลา
กมลาบอกว่า เพราะเห็นว่าลูกๆ และเพื่อนของลูกชอบกีฬาแบดมินตัน แต่ยังไม่มีสังกัดจึงลงแข่งขันไม่ได้ เลยตั้งชมรมแบดมินตัน ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกสามัญของสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยฯ ชื่อชมรมนอกจากเป็นชื่อที่มาจากธุรกิจครอบครัวแล้ว ยังแสดงความเป็นไทยอีกด้วย
ระยะแรกมีนักกีฬาเพียง 4 คน ใช้สนามที่สร้างขึ้นในพื้นที่บ้านเพียง 1 สนาม มี พรโรจน์ บัณฑิตพิสุทธิ โค้ชแบดมินตันทีมชาติแบ่งเวลามาช่วยสอนในช่วงเย็นหลังจากเด็กๆ กลับจากโรงเรียนแล้ว ต่อมาจึงจ้างโค้ชอาชีพชาวจีนมาสอน กระทั่งเด็กในสังกัดที่ไม่เคยสร้างผลงานเป็นชิ้นเป็นอัน เริ่มคว้าถ้วยรางวัลมานอนกอด
หลังจากนั้นโรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอดได้ซื้อที่ดินย่านพุทธมณฑลสาย 3 ก่อสร้างคอร์ตเสร็จภายใน 1 ปี อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
กมลาเคยกล่าวถึง "น้องเมย์" ไว้ว่า "น้องเมย์เกิดมาในช่วงที่บ้านคุณแม่เป็นโรงงานทำขนมทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง คุณแม่ของน้องเมย์และเด็กหลายคนทำงานที่โรงงานทำขนม แล้วเขาต้องเลี้ยงลูกไป ทำงานไป ก็คิดว่าอันตราย บางทีน้ำตาลร้อน ทั้งยังมีพวกแก๊ส หรือไฟที่ร้อน คิดว่าถ้าเขาเล่นซนอยู่กับผู้ปกครองจะเป็นอันตราย จึงพาไปซ้อมกับนักกีฬาทุกวันตั้งแต่ 6 ขวบ พอเริ่มแข่งก็ได้แชมป์อุดรธานีโอเพ่น
"น้องเมย์ได้แชมป์ครั้งแรกด้วยวัย 7 ขวบ ในการแข่งขันแบดมินตันอุดรธานีโอเพ่น หญิงเดี่ยวรุ่นอายุไม่เกิน 9 ปี ตั้งแต่นั้นมาได้แชมป์ตลอด หลายครั้งก็กล้าลองให้เด็กเล่นข้ามรุ่น ผลคือทุกคนเห็นความสามารถ ถ้าพูดเป็นภาษาชาวบ้านก็เด็กบ้านนอกคนหนึ่ง ถ้าเราไม่ทำให้เขาเป็นแบบนี้ เขาคงไม่มีโอกาส" กมลากล่าวด้วยรอยยิ้มเปื้อนหน้า
ต่อมา พ.ศ.2547 โรงเรียนบ้านทองหยอดเป็นสถาบันสอนแบดมินตันแห่งแรกของประเทศ ที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ มีคอร์ตทั้งสิ้น 18 คอร์ต ณ ขณะนั้นนับว่ามากที่สุดของประเทศ
มาถึงวันนี้ มุก-คณิศรา เงินศรีสุข อดีตนักแบดมินตันทีมชาติ ผู้เคยครองถ้วยไทยแลนด์โอเพ่น ลูกสาวคนสุดท้องของกมลา รับหน้าที่ดูแลโรงเรียนมาได้ปีเศษ
คณิศราเล่าว่า ปัจจุบันบ้านทองหยอดมีนักเรียนมากกว่า 300 คน จากเดิม ก่อนหน้า "เมย์ฟีเวอร์" มีประมาณ 200 คน หรือตั้งแต่การแข่งขันโอลิมปิกครั้งที่ผ่านมา อีกทั้งได้พูดคุยกับสโมสรและโรงเรียนสอนแบดมินตันทั่วประเทศต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า มีคนสนใจมาเรียนและเล่นจนคอร์ตเต็ม มีคนเช่าคอร์ตเพิ่มขึ้นตลอดทั้งวัน อย่างไรก็ตาม ที่บ้านทองหยอดได้ล็อกคอร์ตให้นักกีฬาในสังกัดด้วย ยึดนักเรียนเป็นหลัก
กรณีจะมีการยกบ้านทองหยอดเป็นโรงเรียนต้นแบบนั้น คณิศราบอกว่า เราเป็นโรงเรียนที่มีมาตรฐานตั้งแต่ก่อตั้งแล้ว เป็นสถาบันแรกที่จดทะเบียนกับกระทรวงศึกษาธิการ เรียกว่ามีความพร้อมทุกด้าน ทั้งนักวิทยาศาสตร์การกีฬา เรื่องเวตเทรนนิ่งในการสร้างความแข็งแกร่งของนักกีฬา แต่ขาดนักโภชนาการที่จะเข้ามาดูแลอาหารแต่ละมื้อใน 1 สัปดาห์ของนักกีฬา แต่ถ้าเทียบกับต่างประเทศเราขาดอย่างเดียวคือสอนหนังสือด้วยเท่านั้น
"เรามีแม่ครัวที่ทำอาหารให้นักกีฬา ก็คือแม่ของเมย์ แต่ยังขาดนักโภชนาการที่มาคิดเมนูที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หน้าตาและรสชาติดี กินแล้วเด็กไม่เบื่อ แม้อาหารจะมีประโยชน์ถูกต้องตามหลักโภชนาการ แต่ถ้าไม่อร่อย เด็กก็ไม่มีความสุขในการกิน ร่างกายผ่ายผอม หงุดหงิดง่าย เล่นได้ไม่มีประสิทธิภาพ" คณิศรากล่าวพร้อมรอยยิ้ม
เวลาเย็นของทุกวัน ผู้ปกครองในละแวกพุทธมณฑลสาย 3 จูงมือลูกหลานมาซ้อมแบดมินตัน ในอาคารสีเปลือกไข่ แต่ละคนต่างสวมเสื้อสีเหลืองของทองหยอดถือไม้แบดมินตันตัวเก่งมาด้วยรอยยิ้ม
ยิ่งเป็นช่วงที่ศิษย์เอกของโรงเรียนอย่าง "น้องเมย์" ได้แชมป์โลกด้วยแล้ว ที่บ้านทองหยอดยิ่งคึกคัก ครึกครื้น
คณิศรากล่าวถึงโรงเรียนบ้านทองหยอดว่า เป็นโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ แต่ยังต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐ เรื่องการอำนวยความสะดวกในการทำวีซ่าของโค้ชและนักเรียนชาวต่างชาติที่มาเรียน รวมทั้งวีซ่าของนักกีฬาไทยที่ไปแข่งขันในต่างประเทศด้วย
อดีตนักแบดมินตันบอกอีกว่า "หัวใจหลักของการเป็นนักกีฬาแบดมินตันที่ดี คือ ใจสู้ มีวินัย ขยัน อดทน เชื่อฟังโค้ช ไม่คิดมาก เพียงทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ผลจะออกมาดีเอง"
ยิ่งระหว่างใครได้มาสัมผัส จะเห็นถ้วยรางวัลมากมาย รวมทั้งดอกไม้เป็นกำลังใจที่ให้ "น้องเมย์" เป็นเครื่องย้ำเตือนให้เห็นถึงความสำเร็จ ได้มาด้วยหยาดเหงื่อของการต่อสู้ด้วยกัน ทั้งผู้เล่น คนสอน และเจ้าของ
นี่คือเรื่องราวของ "บ้านทองหยอด"
สถานที่ปลุกปั้นแชมป์แบดมินตันโลกอย่าง "น้องเมย์"
ที่มา : นสพ.มติชน
"บ้านทองหยอด" เบ้าหลอม "ฮีโร่เมย์"
updated: 14 ส.ค. 2556 เวลา 11:00:00 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
สําหรับแฟนกีฬาชาวไทยแล้ว การแข่งขันแบดมินตันชิงแชมป์โลก 2013 ที่เมืองกว่างโจว ประเทศจีน เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นอีกครั้งที่จะตราตรึงอยู่ในหัวใจไปอีกนานแสนนาน
เมื่อ "น้องเมย์" รัชนก อินทนนท์ เฉือนชนะเต็งหนึ่งของรายการ หลี่ เสวี่ยรุ่ย มืออันดับ 1 โลกจากจีน ไปอย่างสนุก 2 ต่อ 1 เกม คว้าแชมป์โลกมาครองได้สำเร็จ สร้างสถิติใหม่เป็นนักแบดมินตันที่อายุน้อยที่สุดด้วยวัยเพียง 18 ปี
จึงไม่แปลกที่จะทำให้ใครต่อใครคิดถึงที่มาของความสำเร็จของเธอ โดยเฉพาะเรื่องราวของ "บ้านทองหยอด" ปัจจุบัน เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะโรงเรียนแบดมินตันต้นสังกัดของ "น้องเมย์"
กล่าวสำหรับสถานที่บ่มเพาะฝีมือให้กับแชมป์โลกแบดมินตันชาวไทยรายนี้ หลายคนเมื่อได้ยินชื่อแล้วอาจแซวหรือพูดเล่นๆ ติดตลกว่า "บ้านทองหยอด" นอกจากทองหยอดแล้วยังมีทองหยิบ ฝอยทอง เม็ดขนุน ฯลฯ ให้ได้ลิ้มลองอีกใช่ไหม?
ก็ไม่ผิดเพราะโรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด มีต้นกำเนิดมาจากโรงงานขนมไทย ที่ผลิตและจำหน่ายขนมไทยหลายอย่าง ทั้งทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน มาเป็นเวลายาวนานกว่า 30 ปี มีจุดเริ่มต้นจากครอบครัว "ทองกร"
กว่า 30 ปีมาแล้ว ที่ วิไล ทองกร ผู้เป็นแม่ และ กมลา ทองกร หรือ "อาปุก" เริ่มต้นกิจการขายขนมไทยเล็กๆ ขึ้นที่บ้านย่านถนนวุฒากาศ ด้วยรสชาติและคุณภาพที่ไม่เป็นสองรองใคร จึงมีลูกค้าติดใจในรสมือของคู่แม่ลูก จนขนมที่ทำมานั้นผลิตไม่ทัน
เมื่อทนเสียงเรียกร้องของแฟนคลับไม่ไหว บวกกับความเหนื่อยล้าของผู้เป็นแม่ กมลา ขณะนั้นได้แต่งงานกับ ไพโรจน์ เงินศรีสุข แล้ว ปรึกษากันว่าจะสร้างโรงงานทำขนมขึ้น
เริ่มมีการศึกษาและทดลองเครื่องโรยฝอยทอง เครื่องหยอดทองหยอด และเครื่องจับทองหยิบ หลังจากนั้นแฟนคลับก็ไม่ต้องรอขนมหวานแสนอร่อยอีกต่อไป ขนมไทยบ้านทองหยอดสามารถผลิตได้มากขึ้น ขยายตลาดได้ตามความต้องการของลูกค้า จนบ้านเดิมคับแคบ ต้องย้ายโรงงานไปตั้งที่หมู่บ้านเศรษฐกิจ
10 ปีต่อมา ไพโรจน์และกมลายกกิจการให้ลูกชายคนที่สองคือ ภาณุวัฒก์ เงินศรีสุข ดูแล โดยพ่อเป็นที่ปรึกษาและดูเเลเรื่องเครื่องจักรในโรงงาน ช่วงคาบเกี่ยวระหว่างนี้เองที่ ชมรมแบดมินตันบ้านทองหยอด ถือกำเนิดขึ้นใน พ.ศ.2534 ตัวตั้งตัวตีคนสำคัญก็คือ กมลา
กมลาบอกว่า เพราะเห็นว่าลูกๆ และเพื่อนของลูกชอบกีฬาแบดมินตัน แต่ยังไม่มีสังกัดจึงลงแข่งขันไม่ได้ เลยตั้งชมรมแบดมินตัน ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกสามัญของสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยฯ ชื่อชมรมนอกจากเป็นชื่อที่มาจากธุรกิจครอบครัวแล้ว ยังแสดงความเป็นไทยอีกด้วย
ระยะแรกมีนักกีฬาเพียง 4 คน ใช้สนามที่สร้างขึ้นในพื้นที่บ้านเพียง 1 สนาม มี พรโรจน์ บัณฑิตพิสุทธิ โค้ชแบดมินตันทีมชาติแบ่งเวลามาช่วยสอนในช่วงเย็นหลังจากเด็กๆ กลับจากโรงเรียนแล้ว ต่อมาจึงจ้างโค้ชอาชีพชาวจีนมาสอน กระทั่งเด็กในสังกัดที่ไม่เคยสร้างผลงานเป็นชิ้นเป็นอัน เริ่มคว้าถ้วยรางวัลมานอนกอด
หลังจากนั้นโรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอดได้ซื้อที่ดินย่านพุทธมณฑลสาย 3 ก่อสร้างคอร์ตเสร็จภายใน 1 ปี อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
กมลาเคยกล่าวถึง "น้องเมย์" ไว้ว่า "น้องเมย์เกิดมาในช่วงที่บ้านคุณแม่เป็นโรงงานทำขนมทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง คุณแม่ของน้องเมย์และเด็กหลายคนทำงานที่โรงงานทำขนม แล้วเขาต้องเลี้ยงลูกไป ทำงานไป ก็คิดว่าอันตราย บางทีน้ำตาลร้อน ทั้งยังมีพวกแก๊ส หรือไฟที่ร้อน คิดว่าถ้าเขาเล่นซนอยู่กับผู้ปกครองจะเป็นอันตราย จึงพาไปซ้อมกับนักกีฬาทุกวันตั้งแต่ 6 ขวบ พอเริ่มแข่งก็ได้แชมป์อุดรธานีโอเพ่น
"น้องเมย์ได้แชมป์ครั้งแรกด้วยวัย 7 ขวบ ในการแข่งขันแบดมินตันอุดรธานีโอเพ่น หญิงเดี่ยวรุ่นอายุไม่เกิน 9 ปี ตั้งแต่นั้นมาได้แชมป์ตลอด หลายครั้งก็กล้าลองให้เด็กเล่นข้ามรุ่น ผลคือทุกคนเห็นความสามารถ ถ้าพูดเป็นภาษาชาวบ้านก็เด็กบ้านนอกคนหนึ่ง ถ้าเราไม่ทำให้เขาเป็นแบบนี้ เขาคงไม่มีโอกาส" กมลากล่าวด้วยรอยยิ้มเปื้อนหน้า
ต่อมา พ.ศ.2547 โรงเรียนบ้านทองหยอดเป็นสถาบันสอนแบดมินตันแห่งแรกของประเทศ ที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ มีคอร์ตทั้งสิ้น 18 คอร์ต ณ ขณะนั้นนับว่ามากที่สุดของประเทศ
มาถึงวันนี้ มุก-คณิศรา เงินศรีสุข อดีตนักแบดมินตันทีมชาติ ผู้เคยครองถ้วยไทยแลนด์โอเพ่น ลูกสาวคนสุดท้องของกมลา รับหน้าที่ดูแลโรงเรียนมาได้ปีเศษ
คณิศราเล่าว่า ปัจจุบันบ้านทองหยอดมีนักเรียนมากกว่า 300 คน จากเดิม ก่อนหน้า "เมย์ฟีเวอร์" มีประมาณ 200 คน หรือตั้งแต่การแข่งขันโอลิมปิกครั้งที่ผ่านมา อีกทั้งได้พูดคุยกับสโมสรและโรงเรียนสอนแบดมินตันทั่วประเทศต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า มีคนสนใจมาเรียนและเล่นจนคอร์ตเต็ม มีคนเช่าคอร์ตเพิ่มขึ้นตลอดทั้งวัน อย่างไรก็ตาม ที่บ้านทองหยอดได้ล็อกคอร์ตให้นักกีฬาในสังกัดด้วย ยึดนักเรียนเป็นหลัก
กรณีจะมีการยกบ้านทองหยอดเป็นโรงเรียนต้นแบบนั้น คณิศราบอกว่า เราเป็นโรงเรียนที่มีมาตรฐานตั้งแต่ก่อตั้งแล้ว เป็นสถาบันแรกที่จดทะเบียนกับกระทรวงศึกษาธิการ เรียกว่ามีความพร้อมทุกด้าน ทั้งนักวิทยาศาสตร์การกีฬา เรื่องเวตเทรนนิ่งในการสร้างความแข็งแกร่งของนักกีฬา แต่ขาดนักโภชนาการที่จะเข้ามาดูแลอาหารแต่ละมื้อใน 1 สัปดาห์ของนักกีฬา แต่ถ้าเทียบกับต่างประเทศเราขาดอย่างเดียวคือสอนหนังสือด้วยเท่านั้น
"เรามีแม่ครัวที่ทำอาหารให้นักกีฬา ก็คือแม่ของเมย์ แต่ยังขาดนักโภชนาการที่มาคิดเมนูที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หน้าตาและรสชาติดี กินแล้วเด็กไม่เบื่อ แม้อาหารจะมีประโยชน์ถูกต้องตามหลักโภชนาการ แต่ถ้าไม่อร่อย เด็กก็ไม่มีความสุขในการกิน ร่างกายผ่ายผอม หงุดหงิดง่าย เล่นได้ไม่มีประสิทธิภาพ" คณิศรากล่าวพร้อมรอยยิ้ม
เวลาเย็นของทุกวัน ผู้ปกครองในละแวกพุทธมณฑลสาย 3 จูงมือลูกหลานมาซ้อมแบดมินตัน ในอาคารสีเปลือกไข่ แต่ละคนต่างสวมเสื้อสีเหลืองของทองหยอดถือไม้แบดมินตันตัวเก่งมาด้วยรอยยิ้ม
ยิ่งเป็นช่วงที่ศิษย์เอกของโรงเรียนอย่าง "น้องเมย์" ได้แชมป์โลกด้วยแล้ว ที่บ้านทองหยอดยิ่งคึกคัก ครึกครื้น
คณิศรากล่าวถึงโรงเรียนบ้านทองหยอดว่า เป็นโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ แต่ยังต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐ เรื่องการอำนวยความสะดวกในการทำวีซ่าของโค้ชและนักเรียนชาวต่างชาติที่มาเรียน รวมทั้งวีซ่าของนักกีฬาไทยที่ไปแข่งขันในต่างประเทศด้วย
อดีตนักแบดมินตันบอกอีกว่า "หัวใจหลักของการเป็นนักกีฬาแบดมินตันที่ดี คือ ใจสู้ มีวินัย ขยัน อดทน เชื่อฟังโค้ช ไม่คิดมาก เพียงทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ผลจะออกมาดีเอง"
ยิ่งระหว่างใครได้มาสัมผัส จะเห็นถ้วยรางวัลมากมาย รวมทั้งดอกไม้เป็นกำลังใจที่ให้ "น้องเมย์" เป็นเครื่องย้ำเตือนให้เห็นถึงความสำเร็จ ได้มาด้วยหยาดเหงื่อของการต่อสู้ด้วยกัน ทั้งผู้เล่น คนสอน และเจ้าของ
นี่คือเรื่องราวของ "บ้านทองหยอด"
สถานที่ปลุกปั้นแชมป์แบดมินตันโลกอย่าง "น้องเมย์"
ที่มา : นสพ.มติชน
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.