คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ
โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 06, 2013 5:58 am
คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ
[youtube]iau3ETOhwnQ[/youtube]
[youtube]iau3ETOhwnQ[/youtube]
เว็บบอร์ดเพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
https://thaiviv3.mdsoft.co.th/./
ผมว่าไม่เพ้อเจ้อนะ โอกาสจะทำไก่สิบปีกน่าจะเป็นไปได้มาก ดีไม่ดีตอนนี้อาจทำแล้วแต่เราไม่รู้ก็ได้dr1 เขียน:อีกหน่อยคงไม่ต้องกังวลเรื่องสารเคมีตกค้างแล้วครับ
เพราะคง"เลี้ยง"ชิ้นเนื้อจากห้องทดลองเลย ไม่ต้องสร้างฟาร์ม
(ตอนนี้เลี้ยงออกมาเป็นแผ่นเบอร์เกอร์ได้แล้ว)
ผมว่าเทคโนโลยีเพื่อเพิ่ม"ปริมาณ"อาหาร
จากการเอาชนะเชื้อโรค ด้วยเคมี กำลังเปลี่ยนเป็นตัดต่อยีนส์
เพื่อให้ใด้ลักษณะที่ต้องการ เช่น ไก่สิบปีก สิบขา วัวนมยี่สิบเต้า
ไม่ต้องให้เคมีเพราะมียีนส์"ยาฆ่าเชื้อ"อยู่ในตัวแล้ว
ขออภัยที่เพ้อเจ้อครับ
เตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อชื่ออาหาร แนะอ่านส่วนผสมอย่างละเอียด
เรียกร้องหน่วยงานรัฐตรวจสอบหามาตรการควบคุม จี้ผู้ประกอบการแสดงข้อมูลฉลากชัดเจน
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชนได้ร่วมกับศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยผลการทดสอบฉลากของอาหารพร้อมบริโภคชนิดแช่เย็นจากร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 76 ตัวอย่าง ทั้งเบอร์เกอร์ แซนด์วิช เกี๊ยว ติ่มซำ ไส้กรอก และลูกชิ้น ที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ทั้ง หมู ไก่ ปู กุ้ง และปลาหมึก โดยผลการอ่านฉลากอาหารพบว่า มีอาหารที่ฉลากแสดงชื่ออาหารได้อย่างเหมาะสมกับส่วนประกอบของอาหาร 29 ตัวอย่าง และมีอาหารจำนวน 47 รายการ (กว่า 2 ใน 3) ที่อาจจะเข้าข่ายการกระทำความผิดฐานการแสดงชื่ออาหารที่ทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ เป็นเท็จ หลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อ หรือทำให้เข้าใจผิด จึงเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐดำเนินการตรวจสอบ และขอให้ผู้ประกอบการดำเนินการแสดงความรับผิดชอบโดยเรียกคืนสินค้าออกจากตลาด แลปรับปรุงฉลากให้ผู้บริโภคเข้าใจชัดเจน
นายพชร แกล้วกล้า ผู้ประสานงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ได้ร่วมกับ ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากการกรณีตรวจพบดีเอ็นเอของเนื้อม้าในเบอร์เกอร์ของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่กลายเป็นประเด็นร้อนในแวดวงอุตสาหกรรมอาหารเมื่อเดือนที่ผ่านมา ทำให้ผู้บริโภคในไทยตื่นตัวแจ้งข้อมูลเรื่องฉลากอาหารที่มีส่วนผสมที่ทำให้ผู้บริโภคสับสนมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทางโครงการจึงได้ร่วมกับศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ ทดสอบการแสดงชื่ออาหารและส่วนประกอบของอาหารประเภทพร้อมบริโภคชนิดแช่เย็นบนชั้นวางสินค้าของร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ตกว่า 76 รายการ พบว่า โดยภาพรวมผู้ประกอบการมีการแสดงฉลากที่มีการระบุส่วนประกอบอย่างละเอียด บางรายมีการแสดงคำว่า “ผลิต” และ “หมดอายุ” เป็นภาษาไทยอย่างชัดเจนทำให้เข้าใจได้ง่าย โดยพบว่า29 รายการ ที่ฉลากแสดงชื่ออาหารได้อย่างเหมาะสมกับส่วนประกอบของอาหารที่มีอยู่บนฉลาก และพบว่าจำนวน 47 รายการ แสดงชื่ออาหารที่อาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดได้ โดยชื่ออาหารแจ้งว่าเป็นหมู กุ้ง ปู หรือ ปลาหมึก แต่กลับมีส่วนประกอบของเนื้ออื่น ในปริมาณที่ใกล้เคียงกับเนื้อที่ใช้เป็นส่วนประกอบหลัก ยกตัวอย่าง เช่น ข้าวเหนียวหมูย่าง ตราเดลี่ไทย ฉลากระบุส่วนประกอบของหมู 10.6% ขณะที่มีเนื้อไก่เป็นส่วนประกอบ 9.1%, เกี๊ยวกุ้ง ตรา เจด ดราก้อน ฉลากระบุส่วนประกอบของกุ้ง 31% และระบุเนื้อหมู 26%, ลูกชิ้นปลาหมึก ตรา แต้จิ๋ว ฉลากระบุ เนื้อปลา 58% มี ปลาหมึก 15 %, ขนมจีบกุ้ง Shrimp Shumai ตรา เทสโก้ ฉลากระบุว่า มีส่วนประกอบของ กุ้งและปลาบด (กุ้ง 39%, มันแกว 27% ปลาบด 10%) และเกี๊ยวซ่าญี่ปุ่นสำเร็จรูป ไส้หมูสาหร่าย ตรา โออิชิ เกี๊ยวซ่า ฉลากระบุว่า มีส่วนประกอบของ เนื้อหมูและเนื้อกุ้ง(เนื้อหมู 46%, แป้ง 32% ผัก(หอมใหญ่/ผักชี/แครอท) 12%, เนื้อกุ้ง 6%) ,เกี๊ยวซ่าญี่ปุ่น ไส้หมู ตรา สุรพลฟูดส์ Pork Gyoza ที่มีส่วนประกอบของเนื้อหมู และเนื้อไก่(ผัก 27.1%, แป้งเกี๊ยว 22.8 %,เนื้อหมู 21.3%,เนื้อไก่ 15.4 %)และลูกชิ้นหมูปิ้ง ตราเซเว่นเฟรช บายแฮปปี้เชพ ที่ระบุส่วนประกอบเพียงแค่เนื้อสัตว์ ขณะที่ชื่อระบุว่าเป็นลูกชิ้นหมูปิ้ง เป็นต้น นายพชร กล่าวต่อว่า แม้ผู้ประกอบการจะระบุส่วนประกอบไว้บนฉลากแล้วว่ามีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่กล่าวอ้างบนชื่ออาหาร แต่พฤติกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็อาจจะตัดสินใจจากชื่ออาหารที่อยู่ด้านหน้าและชัดเจนบนผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการแสดงชื่ออาหารที่ถูกต้องสมควรจะต้องระบุให้ชัดเจน และครอบคลุมถึงส่วนประกอบหลักที่สำคัญทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการนำเนื้อสัตว์ต่างชนิดกันมาผสมกันและทำเป็นอาหาร ยกตัวอย่าง เช่น ข้าวเหนียวหมูปิ้ง ที่มีส่วนประกอบของเนื้อไก่ ก็น่าจะระบุชื่ออาหารเป็นข้าวเหนียวหมูปิ้ง(ผสมไก่) หรือมีคำเตือนแสดงอยู่ในจุดที่เห็นได้ชัดเจนว่ามีการใช้เนื้อสัตว์อื่นมาผสม เช่น ไส้กรอกจูเนียร์ไก่ ตรา โชคุง-ดี เป็นต้น โดยการที่มีเนื้อสัตว์อื่นมาผสมโดยที่ผู้บริโภคไม่ได้สังเกตเห็นอาจจะก่อให้เกิดปัญหากับผู้บริโภคบางกลุ่มได้ เช่น ผู้บริโภคที่แพ้เนื้อไก่ เนื้อกุ้ง เนื้อปลา หรือมีปัญหาทางสุขภาพทำให้ไม่สามารถบริโภคเนื้อสัตว์บางประเภทได้ หากเผลอไปทานอาหารที่มีการผสมเนื้อนั้นโดยเข้าใจว่ามีเพียงเนื้อสัตว์ตามที่แจ้งหน้าซองเป็นส่วนประกอบก็อาจจะมีปัญหาได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องอ่อนไหวอย่างมากสำหรับผู้บริโภคกลุ่มนี้ ดังนั้น ถึงแม้ว่า ผู้ประกอบการจะแสดงชื่ออาหาร และ อย. อนุญาตให้แสดงชื่ออาหารดังที่เป็นอยู่ได้จริง ก็เป็นสิ่งที่ อย. และผู้ประกอบการควรต้องคำนึง และควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการแสดงชื่ออาหารเพื่อไม่ให้เกิดการสับสน ซึ่งเคยมีกรณีที่ อย.อนุญาตชื่อแบบหนึ่งและให้มีการเปลี่ยนแปลงการแสดงชื่อในภายหลังหรือไม่ คำตอบก็คือ เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เช่น ในกรณี “ปูอัด” ก่อนหน้านี้ ที่ว่า ส่วนประกอบคือเนื้อปลาบด แต่กลับอนุญาตชื่อปูอัดซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจผิดกับผู้บริโภคในวงกว้าง ทำให้ในภายหลัง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต้องเปลี่ยนการอนุญาตชื่ออาหารเป็นเนื้อปลาบดแทน รศ.วิสิฐ จะวะสิต ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ฉลากอาหารควรระบุส่วนผสมให้ชัดเจนว่า อาหารมีส่วนผสมอะไรบ้าง เช่น หากในขนมจีบมีส่วนผสมของกุ้ง ก็ต้องใส่ว่ามีกุ้ง เพราะบางคนที่แพ้กุ้งก็จะได้ทราบและเลือกทานได้ ฉะนั้นฉลากจำเป็นต้องบอกระบุชัดเจนว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง หรืออย่างเช่นบางคนไม่ทานเนื้อวัว หรือเนื้อหมู แต่อาหารบางชนิดใส่เนื้อหมูเพื่อช่วยเรื่องสีหรือรสสัมผัสของอาหาร หากฉลากไม่ตรงตามข้อมูลก็จะเป็นการรุกรานสิทธิ์ของผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคมีสิทธิ์ที่จะรับทราบในสิ่งที่ตนเองรับประทาน ฉะนั้น การแสดงฉลากต้องชัดเจน คำแสดงบางคำบนฉลาก เช่นภาษาต่างชาติกับคำภาษาไทยต้องตรงกันเป็นต้น ผู้บริโภคต้องได้รับข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค นางจุรีรัตน์ ห่อเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า มีกฎหมายว่าด้วยเรื่องฉลาก ให้แสดงส่วนผสม และชื่ออาหารที่ปรากฏบนฉลากต้องแสดงไม่เป็นเท็จ กรณีตัวอย่างอาหารที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคสำรวจมานั้น ผู้ประกอบการใช้วัตถุดิบที่ไม่ตรงกับชื่อ การนำชื่ออาหารมาใช้บนฉลาก ต้องใส่ส่วนผสมนั้นจริง และมีปริมาณมากกว่า 10%ของส่วนผสมทั้งหมด และสัมพันธ์กับการแสดงส่วนผสมในฉลาก อย่างเช่น อาหาร ชื่อ แบอร์เกอร์หมูย่าง ที่แสดงส่วนผสม ข้าวเหนียว 67.7% เนื้อหมู 14%, เนื้อไก่ 12% เป็นการใช้ชื่ออาหารที่ไม่เหมาะสม เพราะเป็นเบอร์เกอร์หมูย่าง แต่มีไก่ผสมด้วย ส่วนตัวอย่างที่ทางมูลนิธิฯ นั้นสามารถส่งให้ อย.ตรวจสอบให้ได้ น.ส.กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา ผู้จัดการโครงการกินเปลี่ยนโลก มูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า จากกรณีนี้จะเห็นถึงกระบวนการผลิตของผู้ประกอบการภายใต้ระบบการผลิตอาหารแบบอุตสาหกรรม ว่า มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ อาหารปรุงสำเร็จ อาหารแปรรูปมีให้เลือกมากมายในท้องตลาด แต่ผู้บริโภคแทบไม่รู้เลยว่ากระบวนการผลิตเป็นอย่างไร ตอนนี้เราเจอว่าเรียกชื่อผลิตภัณฑ์อาหารว่าเป็นเนื้อสัตว์ชนิดหนึ่ง แต่เอาเข้าจริงตามระบุในฉลากกลับมีส่วนผสมเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ ด้วย ปรากฎการณ์เบอร์เกอร์มี DNA เนื้อม้าในประเทศอังกฤษน่าจะเป็นกรณีศึกษาที่เตือนภัยให้เราได้ว่า เอาเข้าจริงส่วนผสมที่ระบุในฉลากก็อาจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้เช่นกัน นายพชร แกล้วกล้า กล่าวว่า ทางกฎหมาย อาหารกลุ่มนี้จัดอยู่ในกลุ่มอาหารที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่อนุญาตให้ใช้ชื่ออาหารใด ๆ คือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โดยพิจารณาจากการแจ้งในเอกสารจดแจ้งจากผู้ประกอบการเมื่อขอขึ้นทะเบียนเลขสารบบอาหาร ซึ่งในแนวปฏิบัติทั่วไปการจดแจ้งจะกระทำ ณ จังหวัดที่มีแหล่งผลิตตั้งอยู่ โดยตามแนวทางในการยื่นจดแจ้งอาหาร ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องนำฉลากมายื่นด้วย จึงอาจเป็นจุดที่ทำให้เกิดกรณีดังกล่าวได้ ฉะนั้นในกรณีนี้ อย. ควรต้องกลับไปตรวจสอบ ณ สถานที่จดแจ้ง ว่าด้วยเหตุใดจึงได้มีการอนุญาตชื่ออาหารเช่นนี้ หากพบว่าเป็นปัญหาก็น่าที่จะดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องได้เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค นายพชร กล่าวว่า อยากแนะนำให้ผู้บริโภคเลือกสินค้าที่มีชื่ออาหารและฉลากส่วนผสมอย่างรายละเอียดเหมาะสมกับการตั้งชื่ออาหารให้กับผู้บริโภคอย่างชัดเจนหรือเพียงพอต่อการตัดสินใจซื้อ ซึ่งจากการสำรวจมี 29 รายการ เช่น เบอร์เกอร์ข้าวเหนียวไก่ทอดหาดใหญ่ ตรา เซเว่นเฟรช แสดงส่วนประกอบ ข้าวเหนียว 61.5%, เนื้อไก่ 22.5%, เครื่องปรุงรส 6.9%, เกี๊ยวกุ้งสองสไตล์ Duo Wanton ตรา สามสมุทร แสดงส่วนประกอบ เนื้อกุ้ง 70%, แผ่นแป้ง 27%, เครื่องปรุงรส 3%, มูส เดอ ฟัว (ตับหมูบดนึ่ง) ตราคาสิโน แสดงส่วนประกอบ ตับหมู 30%, ไขมัน 30%, หนังหมู 10%, …. ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ผู้บริโภคยอมรับได้ในปริมาณส่วนผสมที่มีชื่ออาหารเป็นหลัก ขณะเดียวกันจากข้อมูลการพบตัวอย่างจำนวนมากที่อาจจะมีปัญหาการแสดงฉลากอาหารในครั้งนี้ ชี้ให้เห็นช่องโหว่ในระบบซึ่งทำให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น จึงขอเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาดำเนินการปรับปรุงระเบียบการขอขึ้นทะเบียนให้มีความรัดกุมโดยกำหนดให้การขออนุญาตต้องยื่นฉลากประกอบการขออนุญาตด้วย และเห็นว่าการลดการควบคุมในขั้นตอนก่อนการวางจำหน่าย (pre-marketing) และไปเพิ่มการกำกับดูแลในกระบวนการหลังจำหน่าย (post-marketing) ซึ่งคณะกรรมการอาหารได้มีมติมาแล้วเมื่อประมาณ 3 เดือนก่อน จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นได้อีก ดังนั้นจึงขอให้ อย. ในฐานะฝ่ายเลขาของคณะกรรมการอาหารได้เสนอให้ทบทวนมติ ดังกล่าวด้วย
ที่มาของข่าวครับ http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B ... 2%E0%B8%94leky เขียน:ก่อนจะซื้ออะไร ดูฉลากด้านหลังก่อนนะครับ ผมเจอมาหมดแล้ว ทั้งประเภทส่วนประกอบไม่ตรงกับที่เขียนที่ซอง ของหมดอายุ เจอในร้านที่ไม่คิดว่าจะมีของพวกนี้หลุดออกมา บางทีก็ต้องไปบอกพนักงานให้เค้ารีบเอาออกไป โดยเฉพาะของใกล้หมดอายุที่มักจะเอามาลดราคาครับ บางทีเป็นขนมกินเล่น คนซื้อไปก็ไม่รู้และก็ไม่ได้กินทันที ยิ่งพวกระบุเป็นเนื้ออย่างหนึ่งแต่ส่วนประกอบจริง ๆ มีอีกแบบก็เคยเจอไม่ใช่แค่ในข่าวที่เค้ายกตัวอย่าง อีกพวกที่เลี่ยงคำว่าใส่ผงชูรสหรือโมโนโซเดียมกลูตาเมตแต่จริง ๆ ใส่สารตัวอื่นก็มีให้เห็นบ่อย ๆ ครับ แล้วสินค้าที่ชอบอ้างอย.ก็โปรดเข้าใจด้วยครับว่าไม่ได้แปลว่าทุกล็อตจะรับรองความปลอดภัยได้นะคร้บ ที่ปลอมตราอย.ก็มากครับ พวกสินค้าที่โฆษณาเกินจริง โดยเฉพาะในสื่อเล็ก ๆ บางทีเราเคยสงสัยว่าทำไมไม่โดนจับหรือโดนตรวจสอบเพราะหน่วยงานราชการเค้าตามจับหรือตรวจสอบได้ไม่หมดครับ ที่สำคัญบางเรื่องต้องมีคนร้องไปก่อนครับ
เตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อชื่ออาหาร แนะอ่านส่วนผสมอย่างละเอียด
เรียกร้องหน่วยงานรัฐตรวจสอบหามาตรการควบคุม จี้ผู้ประกอบการแสดงข้อมูลฉลากชัดเจน
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชนได้ร่วมกับศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยผลการทดสอบฉลากของอาหารพร้อมบริโภคชนิดแช่เย็นจากร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 76 ตัวอย่าง ทั้งเบอร์เกอร์ แซนด์วิช เกี๊ยว ติ่มซำ ไส้กรอก และลูกชิ้น ที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ทั้ง หมู ไก่ ปู กุ้ง และปลาหมึก โดยผลการอ่านฉลากอาหารพบว่า มีอาหารที่ฉลากแสดงชื่ออาหารได้อย่างเหมาะสมกับส่วนประกอบของอาหาร 29 ตัวอย่าง และมีอาหารจำนวน 47 รายการ (กว่า 2 ใน 3) ที่อาจจะเข้าข่ายการกระทำความผิดฐานการแสดงชื่ออาหารที่ทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ เป็นเท็จ หลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อ หรือทำให้เข้าใจผิด จึงเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐดำเนินการตรวจสอบ และขอให้ผู้ประกอบการดำเนินการแสดงความรับผิดชอบโดยเรียกคืนสินค้าออกจากตลาด แลปรับปรุงฉลากให้ผู้บริโภคเข้าใจชัดเจน
นายพชร แกล้วกล้า ผู้ประสานงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ได้ร่วมกับ ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากการกรณีตรวจพบดีเอ็นเอของเนื้อม้าในเบอร์เกอร์ของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่กลายเป็นประเด็นร้อนในแวดวงอุตสาหกรรมอาหารเมื่อเดือนที่ผ่านมา ทำให้ผู้บริโภคในไทยตื่นตัวแจ้งข้อมูลเรื่องฉลากอาหารที่มีส่วนผสมที่ทำให้ผู้บริโภคสับสนมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทางโครงการจึงได้ร่วมกับศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ ทดสอบการแสดงชื่ออาหารและส่วนประกอบของอาหารประเภทพร้อมบริโภคชนิดแช่เย็นบนชั้นวางสินค้าของร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ตกว่า 76 รายการ พบว่า โดยภาพรวมผู้ประกอบการมีการแสดงฉลากที่มีการระบุส่วนประกอบอย่างละเอียด บางรายมีการแสดงคำว่า “ผลิต” และ “หมดอายุ” เป็นภาษาไทยอย่างชัดเจนทำให้เข้าใจได้ง่าย โดยพบว่า29 รายการ ที่ฉลากแสดงชื่ออาหารได้อย่างเหมาะสมกับส่วนประกอบของอาหารที่มีอยู่บนฉลาก และพบว่าจำนวน 47 รายการ แสดงชื่ออาหารที่อาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดได้ โดยชื่ออาหารแจ้งว่าเป็นหมู กุ้ง ปู หรือ ปลาหมึก แต่กลับมีส่วนประกอบของเนื้ออื่น ในปริมาณที่ใกล้เคียงกับเนื้อที่ใช้เป็นส่วนประกอบหลัก ยกตัวอย่าง เช่น ข้าวเหนียวหมูย่าง ตราเดลี่ไทย ฉลากระบุส่วนประกอบของหมู 10.6% ขณะที่มีเนื้อไก่เป็นส่วนประกอบ 9.1%, เกี๊ยวกุ้ง ตรา เจด ดราก้อน ฉลากระบุส่วนประกอบของกุ้ง 31% และระบุเนื้อหมู 26%, ลูกชิ้นปลาหมึก ตรา แต้จิ๋ว ฉลากระบุ เนื้อปลา 58% มี ปลาหมึก 15 %, ขนมจีบกุ้ง Shrimp Shumai ตรา เทสโก้ ฉลากระบุว่า มีส่วนประกอบของ กุ้งและปลาบด (กุ้ง 39%, มันแกว 27% ปลาบด 10%) และเกี๊ยวซ่าญี่ปุ่นสำเร็จรูป ไส้หมูสาหร่าย ตรา โออิชิ เกี๊ยวซ่า ฉลากระบุว่า มีส่วนประกอบของ เนื้อหมูและเนื้อกุ้ง(เนื้อหมู 46%, แป้ง 32% ผัก(หอมใหญ่/ผักชี/แครอท) 12%, เนื้อกุ้ง 6%) ,เกี๊ยวซ่าญี่ปุ่น ไส้หมู ตรา สุรพลฟูดส์ Pork Gyoza ที่มีส่วนประกอบของเนื้อหมู และเนื้อไก่(ผัก 27.1%, แป้งเกี๊ยว 22.8 %,เนื้อหมู 21.3%,เนื้อไก่ 15.4 %)และลูกชิ้นหมูปิ้ง ตราเซเว่นเฟรช บายแฮปปี้เชพ ที่ระบุส่วนประกอบเพียงแค่เนื้อสัตว์ ขณะที่ชื่อระบุว่าเป็นลูกชิ้นหมูปิ้ง เป็นต้น นายพชร กล่าวต่อว่า แม้ผู้ประกอบการจะระบุส่วนประกอบไว้บนฉลากแล้วว่ามีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่กล่าวอ้างบนชื่ออาหาร แต่พฤติกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็อาจจะตัดสินใจจากชื่ออาหารที่อยู่ด้านหน้าและชัดเจนบนผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการแสดงชื่ออาหารที่ถูกต้องสมควรจะต้องระบุให้ชัดเจน และครอบคลุมถึงส่วนประกอบหลักที่สำคัญทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการนำเนื้อสัตว์ต่างชนิดกันมาผสมกันและทำเป็นอาหาร ยกตัวอย่าง เช่น ข้าวเหนียวหมูปิ้ง ที่มีส่วนประกอบของเนื้อไก่ ก็น่าจะระบุชื่ออาหารเป็นข้าวเหนียวหมูปิ้ง(ผสมไก่) หรือมีคำเตือนแสดงอยู่ในจุดที่เห็นได้ชัดเจนว่ามีการใช้เนื้อสัตว์อื่นมาผสม เช่น ไส้กรอกจูเนียร์ไก่ ตรา โชคุง-ดี เป็นต้น โดยการที่มีเนื้อสัตว์อื่นมาผสมโดยที่ผู้บริโภคไม่ได้สังเกตเห็นอาจจะก่อให้เกิดปัญหากับผู้บริโภคบางกลุ่มได้ เช่น ผู้บริโภคที่แพ้เนื้อไก่ เนื้อกุ้ง เนื้อปลา หรือมีปัญหาทางสุขภาพทำให้ไม่สามารถบริโภคเนื้อสัตว์บางประเภทได้ หากเผลอไปทานอาหารที่มีการผสมเนื้อนั้นโดยเข้าใจว่ามีเพียงเนื้อสัตว์ตามที่แจ้งหน้าซองเป็นส่วนประกอบก็อาจจะมีปัญหาได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องอ่อนไหวอย่างมากสำหรับผู้บริโภคกลุ่มนี้ ดังนั้น ถึงแม้ว่า ผู้ประกอบการจะแสดงชื่ออาหาร และ อย. อนุญาตให้แสดงชื่ออาหารดังที่เป็นอยู่ได้จริง ก็เป็นสิ่งที่ อย. และผู้ประกอบการควรต้องคำนึง และควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการแสดงชื่ออาหารเพื่อไม่ให้เกิดการสับสน ซึ่งเคยมีกรณีที่ อย.อนุญาตชื่อแบบหนึ่งและให้มีการเปลี่ยนแปลงการแสดงชื่อในภายหลังหรือไม่ คำตอบก็คือ เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เช่น ในกรณี “ปูอัด” ก่อนหน้านี้ ที่ว่า ส่วนประกอบคือเนื้อปลาบด แต่กลับอนุญาตชื่อปูอัดซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจผิดกับผู้บริโภคในวงกว้าง ทำให้ในภายหลัง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต้องเปลี่ยนการอนุญาตชื่ออาหารเป็นเนื้อปลาบดแทน รศ.วิสิฐ จะวะสิต ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ฉลากอาหารควรระบุส่วนผสมให้ชัดเจนว่า อาหารมีส่วนผสมอะไรบ้าง เช่น หากในขนมจีบมีส่วนผสมของกุ้ง ก็ต้องใส่ว่ามีกุ้ง เพราะบางคนที่แพ้กุ้งก็จะได้ทราบและเลือกทานได้ ฉะนั้นฉลากจำเป็นต้องบอกระบุชัดเจนว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง หรืออย่างเช่นบางคนไม่ทานเนื้อวัว หรือเนื้อหมู แต่อาหารบางชนิดใส่เนื้อหมูเพื่อช่วยเรื่องสีหรือรสสัมผัสของอาหาร หากฉลากไม่ตรงตามข้อมูลก็จะเป็นการรุกรานสิทธิ์ของผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคมีสิทธิ์ที่จะรับทราบในสิ่งที่ตนเองรับประทาน ฉะนั้น การแสดงฉลากต้องชัดเจน คำแสดงบางคำบนฉลาก เช่นภาษาต่างชาติกับคำภาษาไทยต้องตรงกันเป็นต้น ผู้บริโภคต้องได้รับข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค นางจุรีรัตน์ ห่อเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า มีกฎหมายว่าด้วยเรื่องฉลาก ให้แสดงส่วนผสม และชื่ออาหารที่ปรากฏบนฉลากต้องแสดงไม่เป็นเท็จ กรณีตัวอย่างอาหารที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคสำรวจมานั้น ผู้ประกอบการใช้วัตถุดิบที่ไม่ตรงกับชื่อ การนำชื่ออาหารมาใช้บนฉลาก ต้องใส่ส่วนผสมนั้นจริง และมีปริมาณมากกว่า 10%ของส่วนผสมทั้งหมด และสัมพันธ์กับการแสดงส่วนผสมในฉลาก อย่างเช่น อาหาร ชื่อ แบอร์เกอร์หมูย่าง ที่แสดงส่วนผสม ข้าวเหนียว 67.7% เนื้อหมู 14%, เนื้อไก่ 12% เป็นการใช้ชื่ออาหารที่ไม่เหมาะสม เพราะเป็นเบอร์เกอร์หมูย่าง แต่มีไก่ผสมด้วย ส่วนตัวอย่างที่ทางมูลนิธิฯ นั้นสามารถส่งให้ อย.ตรวจสอบให้ได้ น.ส.กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา ผู้จัดการโครงการกินเปลี่ยนโลก มูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า จากกรณีนี้จะเห็นถึงกระบวนการผลิตของผู้ประกอบการภายใต้ระบบการผลิตอาหารแบบอุตสาหกรรม ว่า มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ อาหารปรุงสำเร็จ อาหารแปรรูปมีให้เลือกมากมายในท้องตลาด แต่ผู้บริโภคแทบไม่รู้เลยว่ากระบวนการผลิตเป็นอย่างไร ตอนนี้เราเจอว่าเรียกชื่อผลิตภัณฑ์อาหารว่าเป็นเนื้อสัตว์ชนิดหนึ่ง แต่เอาเข้าจริงตามระบุในฉลากกลับมีส่วนผสมเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ ด้วย ปรากฎการณ์เบอร์เกอร์มี DNA เนื้อม้าในประเทศอังกฤษน่าจะเป็นกรณีศึกษาที่เตือนภัยให้เราได้ว่า เอาเข้าจริงส่วนผสมที่ระบุในฉลากก็อาจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้เช่นกัน นายพชร แกล้วกล้า กล่าวว่า ทางกฎหมาย อาหารกลุ่มนี้จัดอยู่ในกลุ่มอาหารที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่อนุญาตให้ใช้ชื่ออาหารใด ๆ คือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โดยพิจารณาจากการแจ้งในเอกสารจดแจ้งจากผู้ประกอบการเมื่อขอขึ้นทะเบียนเลขสารบบอาหาร ซึ่งในแนวปฏิบัติทั่วไปการจดแจ้งจะกระทำ ณ จังหวัดที่มีแหล่งผลิตตั้งอยู่ โดยตามแนวทางในการยื่นจดแจ้งอาหาร ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องนำฉลากมายื่นด้วย จึงอาจเป็นจุดที่ทำให้เกิดกรณีดังกล่าวได้ ฉะนั้นในกรณีนี้ อย. ควรต้องกลับไปตรวจสอบ ณ สถานที่จดแจ้ง ว่าด้วยเหตุใดจึงได้มีการอนุญาตชื่ออาหารเช่นนี้ หากพบว่าเป็นปัญหาก็น่าที่จะดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องได้เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค นายพชร กล่าวว่า อยากแนะนำให้ผู้บริโภคเลือกสินค้าที่มีชื่ออาหารและฉลากส่วนผสมอย่างรายละเอียดเหมาะสมกับการตั้งชื่ออาหารให้กับผู้บริโภคอย่างชัดเจนหรือเพียงพอต่อการตัดสินใจซื้อ ซึ่งจากการสำรวจมี 29 รายการ เช่น เบอร์เกอร์ข้าวเหนียวไก่ทอดหาดใหญ่ ตรา เซเว่นเฟรช แสดงส่วนประกอบ ข้าวเหนียว 61.5%, เนื้อไก่ 22.5%, เครื่องปรุงรส 6.9%, เกี๊ยวกุ้งสองสไตล์ Duo Wanton ตรา สามสมุทร แสดงส่วนประกอบ เนื้อกุ้ง 70%, แผ่นแป้ง 27%, เครื่องปรุงรส 3%, มูส เดอ ฟัว (ตับหมูบดนึ่ง) ตราคาสิโน แสดงส่วนประกอบ ตับหมู 30%, ไขมัน 30%, หนังหมู 10%, …. ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ผู้บริโภคยอมรับได้ในปริมาณส่วนผสมที่มีชื่ออาหารเป็นหลัก ขณะเดียวกันจากข้อมูลการพบตัวอย่างจำนวนมากที่อาจจะมีปัญหาการแสดงฉลากอาหารในครั้งนี้ ชี้ให้เห็นช่องโหว่ในระบบซึ่งทำให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น จึงขอเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาดำเนินการปรับปรุงระเบียบการขอขึ้นทะเบียนให้มีความรัดกุมโดยกำหนดให้การขออนุญาตต้องยื่นฉลากประกอบการขออนุญาตด้วย และเห็นว่าการลดการควบคุมในขั้นตอนก่อนการวางจำหน่าย (pre-marketing) และไปเพิ่มการกำกับดูแลในกระบวนการหลังจำหน่าย (post-marketing) ซึ่งคณะกรรมการอาหารได้มีมติมาแล้วเมื่อประมาณ 3 เดือนก่อน จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นได้อีก ดังนั้นจึงขอให้ อย. ในฐานะฝ่ายเลขาของคณะกรรมการอาหารได้เสนอให้ทบทวนมติ ดังกล่าวด้วย
คับ ขาดข้อมูลที่ชัดเจนอย่างมาก ต้องระวังchatchai เขียน:ในคลิปดูง่าย สื่อสารให้ชาวบ้านดูพอจะรู้เรื่องว่าต้องการสื่ออะไร
แต่ที่ขาดไปอย่างมาก คือ ข้อมูล งานวิจัยที่สรุปผลได้อย่างที่คลิปต้องการสื่อ ซึ่งนักลงทุนแนวเน้นคุณค่าควรจะคำนึง
การขาดข้อมูลส่วนนี้ไป ทำให้อาจจะเป็นการคิดเอง เออเอง โยงประเด็นต่างๆเอง ก็เป็นได้
ถ้าข้อสรุปในคลิปไม่ใช่เรื่องจริง ผลกระทบต่อบุคคลอื่น ใครจะรับผิดชอบ ในเมื่อคนผลิตคลิปยังไม่กล้าเปิดเผยตัว
เห็นด้วยกับ คุณ chatchaichatchai เขียน:ในคลิปดูง่าย สื่อสารให้ชาวบ้านดูพอจะรู้เรื่องว่าต้องการสื่ออะไร
แต่ที่ขาดไปอย่างมาก คือ ข้อมูล งานวิจัยที่สรุปผลได้อย่างที่คลิปต้องการสื่อ ซึ่งนักลงทุนแนวเน้นคุณค่าควรจะคำนึง
การขาดข้อมูลส่วนนี้ไป ทำให้อาจจะเป็นการคิดเอง เออเอง โยงประเด็นต่างๆเอง ก็เป็นได้
ถ้าข้อสรุปในคลิปไม่ใช่เรื่องจริง ผลกระทบต่อบุคคลอื่น ใครจะรับผิดชอบ ในเมื่อคนผลิตคลิปยังไม่กล้าเปิดเผยตัว