สรุปอบรม TSI หลักสูตรการวิเคราะห์หลักทรัพย์หมวดธุรกิจประกัน
โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 17, 2013 4:51 pm
เผื่อเพื่อนๆ ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกครับ
(ท่านใดไปมาช่วยเสริมหน่อย)
(ท่านใดไปมาช่วยเสริมหน่อย)
kongkiti เขียน: Insurance Business ธุรกิจประกันภัย
1. ในไทยแบ่ง License เป็น ประกันชีวิต, และประกันวินาศภัย เพื่อนบ้าน ขายรวมกัน
2. รับเงินก่อน จ่าย Claim ทีหลัง
3. เป็นธุรกิจกระดาษ -> ดู Probability -> ต้องใช้คณิตศาสตร์ประกันภัย คำนวณ
4. ดูอัตราดอกเบี้ย, สถิติ ต่างๆ
5. เน้นเรื่อง เงินสำรอง -> เพียงพอจ่ายผู้เอาประกัน
6. แบบประกัน คปภ. ควบคุม ออกใหม่ ยาก ใช้เวลา
7. แบบประกันให้ดูว่า ขายได้มั๊ย, ทำได้จริงมั๊ย,มีกำไรมั๊ย
8. Adverse Selection -> การ Screen ลูกค้า
9. Moral Hazard -> ลูกค้าถลุงเงินบริษัทเก่งมั๊ย เช่น ป่วยนิดเดียว แต่อยากนอนโรงพยาบาลนานๆ ให้หมอเขียนบิลให้
10. ประกันที่ดี มีการแบ่ง ซอยย่อย คัดเลือกลุ่มลูกค้า
11. ประกัน 2 แบบ ALR, non-ALR
12. non-ALR คือ non-Active Life Reserve
-> จ่ายเบี้ยคุ้มครองสั้นๆ ใน 1 ปีสามารถ Control Loss Ratio ได้
*Loss Ratio คือ Claimed หารด้วย Net Earned Premium
-> คือ Claimed เพิ่ม ก็เพิ่มเบี้ย
-> Cash Cow / Cash Generation
13. ALR คือ Active Life Reserve
-> พวกจ่ายเบี้ย แล้วคุ้มครองนานเกิน 1 ปี
-> การตั้งสำรอง ซับซ้อน
-> ดู Long Term (พวกประกันชีวิต)
14. เงินสำรอง มี 2 แบบ
14.1 Claimed Reserve คือ มี Claimed ก็บันทึกไว้-> ประกันวินาศภัย
14.2 Policy Reserve เอาเงินฝากประกันไว้ก่อน -> ประกันชีวิต
15. แบบประกันชีวิตแบบต่างๆ เยอะแยะมากมาย
16. วิธีการคิดกำไร/Valuation ของบริษัทประกันชีวิต 4 แบบ (จริงๆ มีมากกว่านี้)
16.1 หลักการเงินสำรอง -> ดูงบดุล -> คุ้มครองผู้บริโภค (แบ่งย่อยได้เป็น Thai GAAP-คปภ. และ RBC)
16.2 ตั้งสำรองเฉลี่ยๆ เฉลี่ย Earning แล้วหา PE -> US GAAP
16.3 สรรพากร (เกณฑ์ภาษี)
16.4 Appraisal Value (EV), Economic Value Added
-> AV = EV + VoNB
-> EV = ANW+VIF
*EV (Embedded Value) คิดเหมือนธุรกิจมหาวิทยาลัย
*ANW (Adjusted Net Worth) = Asset (ราคาตลาด) - Liability (คปภ.)
*VIF (Value in Force) = มูลค่าเบี้ยปีต่ออายุ
*VoNB (Value of New Business) -> คำนวณค่อนข้างซับซ้อน ถามตัวเลขจากบริษัทเอา แล้ว Monitor อัตราการเติบโตของตัวเลขนี้เอา
*ทุกอย่างคิดเป็น Present Value
สงสัยไปถามนักคณิตศาสตร์ประกันภัย เอาดีกว่าครับ ไปอบรมมาแล้ว ก็ยังงงอยู่ Assumption เยอะเกิน
17.คุณทอมมี่ บอกว่า Top Line บริษัทประกันชีวิต อย่าไปดูมาก ดูเป็น AV, EV
18. ดูจาก GDP Penetration Rate ของประกันในไทยยังโตได้อีก โดยเฉพาะ ประกันชีวิต
19. แต่ประกันในไทย ยังมีไว้เพื่อขาย คือ ต้องไปง้อลูกค้าซื้อ ไม่เหมือน Developed Country ที่ทุกคนรู้ถึงความสำคัญของประกัน เป็นตลาดของปู้ซื้อ
นโยบายสำคัญที่ คปภ. กำลัง Promote
1. Micro Insurance
2. เบี้ยประกัน นักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่มาเที่ยวเมืองไทย
ประกันชีวิต ดูอะไรบ้าง
1. Earning Smooth มั๊ย (ดูวิธีการตั้งสำรอง)
2. Growth of VoNB
3. SWOT
4. Distribution Channel
5. Asset Liability Management
ผมแถมสรุปให้ว่า ประกันวินาศภัย ดูอะไรบ้าง
1. ผู้บริหาร, คนที่คุมการลงทุน
2. โครงสร้างต้นทุน + EoS (Economy of Scale)
3. อัตราเติบโตเบี้ยรับ (Direct Premium Written)
4. บริษัทเก่งประกันอะไร
5. ช่องทางการจำหน่าย, การเติบโตในอนาคต
-จบ-
TIPPING_POINT เขียน:ไปมาเหมือนกันครับ ไปสมัครวันท้ายๆเลย เหมือนเขาจะรับเพิ่ม
ต้องขอบอกก่อนผมว่าวิทยากรเก่งมาก
และเนื่องจากเนื้อหาค่อนข้างเยอะ ผมจับประเด็นได้ไม่หมดซะทีเดียวนะครับ
ผมไม่ได้ถามคำถามอาจารย์นะครับ แค่สรุปเท่าที่ผมเข้าใจ
1. โตจากการลงทุนหรือโตจากการประกัน
โตจากการลงทุน??? คือในงบมันจะบอกรายได้จากการลงทุนไว้อยู่แล้วทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย แค่อยู่คนละตำแหน่งในงบกำไรขาดทุน
การลงทุนก็จะมีอยู่ 2 item ในงบ
-รายได้จากการลงทุนสุทธิ ก็พวกปันผล ดอกเบี้ย
-กำไรจากเงินลงทุน ก็พวกขายหุ้นแล้วได้กำไร
นอกนั้นก็มีรายละเอียดปลีกย่อยเช่นเป็นเงินลงทุนเพื่อค้า หรือเผื่อขาย
จำได้ว่าเพื่อค้ากำไรแต่ยังไม่ขายออกก็ลงใน p/l เลย เผื่อขายลงในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
โตจากการประกัน ถ้าเป็นวินาศภัยก็ดูในงบได้ตรงๆมั้งครับ
แต่ถ้าเป็นประกันชีวิต มันมีปัญหาถ้าจะดูจาก p/l
คือหลักง่ายๆ ว่าสำรองมาก กำไรน้อย แต่ถ้า สำรองน้อยกำไรมาก
สมมติว่ากรมธรรม์อายุ 10 ปี และอัตราภาษีไม่เปลี่ยน และไม่คิดมูลค่าเงินที่เปลี่ยนตามเวลา
จะตั้งสำรองวิธีไหนก็จะได้กำไรที่ปีที่ 10 เท่ากันและเสียภาษีเท่ากัน
ถ้าเป็นภาครัฐบาลที่ดูแลผลประโยชน์ของคนทำประกันชีวิต
ปีแรกๆก็อยากให้ตั้งสำรองเยอะๆๆๆๆๆ แล้วค่อยกำไรปีหลัง
ถ้าเป็นสรรพากร
ปีแรกๆก็อยากให้กำไรเยอะๆๆๆๆๆ จะได้เก็บภาษีมาก่อน พอปีหลังค่อยกำไรน้อยๆ (เอาภาษีมาหมุนก่อน)
ถ้าเป็นนักลงทุนก็อยากให้กำไรเท่าๆกันทุกปี
แล้วเอาอะไรมาคิดในการตั้งสำรอง
ก็ต้องดูในหมายเหตุประกอบงบ ถ้าระบุประมาณว่าตั้งตาม คปภ. ระบุมา
งบนั้นก็อาจจะไม่สะท้อนการทำกำไรที่จริง (คือมีจุดหมายเพื่อให้สามารถคุ้มครองผู้บริโภค มีเงินจ่ายแน่ๆ ไม่ใช่เอาเงินไปทำอย่างอื่นๆ อาจารย์เปรียบเทียบกับ cawow คือ สมัครสมาชิกตลอดชีพแต่ไม่ตั้งสำรอง คิดเป็นกำไรเลย แล้วโอนเงินออก ผู้บริโภคก็โดยลอยแพอย่างที่เห็น)
ดังนั้นอาจารย์แนะนำว่าถ้าจะดูประกันชีวิตใช้พวก ev อะไรประมาณนี้
paul_n เขียน:ไปมาครับ ไม่รู้ว่าถูกหรือเปล่านะครับ 5555romee เขียน:1.อยากรู้วิธีการดูว่า บ.โตเพราะเบี้ยประกัน หรือโตเพราะการลงทุน ดูยังไงครับSurfing เขียน:ใครมีคำถามอะไร ที่อยากฝากถามวิทยากรเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ฝากมาได้นะครับ จะพยายามหาโอกาสสอบถามให้ครับSurfing เขียน:มีใครลงทะเบียนเข้าอบรมโครงการนี้ของ TSI ไว้บ้างครับ เผื่อได้ไปเจอกันครับ
หลักสูตร การวิเคราะห์หลักทรัพย์หมวดธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต
ส. 15 - อา. 16 มิ.ย. 56
เวลา: 09.00 - 16.00 น.
http://www.tsi-thailand.org/index.php?o ... 2&Itemid=0
2.ปกติประกันภัย และประกันชีวิต keyสำคัญของงบ คืออะไรครับ
ขอบคุณล่วงหน้านะครับ
1. ทั้งสองอย่างครับ ในงบการเงินมีระบุอยู่แล้วครับ ว่า รายได้จากการประกันภัยสุทธิ และรายได้จากการลงทุน
2. ประกันชีวิตก็ NVoB +EV =AV แต่ ค่าการคาดคะเนใน NVoB เยอะมากจนไม่รู้ว่าจะเป็นตัวเลขจริงได้อย่างไร แต่ EV นั้น ประกันชีวิตน่าจะแจ้งมาได้ครับ และดูเรื่องการตั้งสำรอง policy เป็นหลัก
ส่วนประกันภัย คงต้องดูว่ามี distribution channel และการตั้งสำรองของ claim ว่าเพียงพอหรือไม่ อย่างเรื่องน้ำท่วมครับ @_@