*** จุดเปลี่ยนกองอสังหาฯไทยก้าวไปสู่ 'REIT' ***
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 14, 2013 11:41 am
การเงิน - การลงทุน : การเงินส่วนบุคคล
วันที่ 9 มิถุนายน 2556 13:00
จุดเปลี่ยนกองอสังหาฯไทยก้าวไปสู่'REIT'
โดย : สรวิศ อิ่มบำรุง
วรพล โสคติยานุรักษ์
เปรียบเทียบกอง REIT ของสหรัฐฯกับกองทุนอสังหาฯ (กอง 1) ในไทย ช่วยให้นักลงทุนเห็นภาพความแตกต่างได้ดียิ่งขึ้น
ปี 2013 ถือเป็นปีสุดท้ายที่ "สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)" อนุญาตให้มีการจัดตั้ง "กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1)" ได้
ก่อนที่กองทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทยจะเปลี่ยนไปใช้รูปแบบ ของ "กองทรัสต์เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust : REIT" ซึ่งเป็นรูปแบบที่เป็นสากลมากกว่า ซึ่งน่าจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ไทยในระยะยาวได้
ถ้าจะเทียบเคียงกอง REIT ของสหรัฐที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่ปี1960 กับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ในไทยเพื่อให้เห็นความแตกต่างน่าจะช่วยทำให้นักลงทุนเห็นภาพได้ดียิ่งขึ้น
กองอสังหาฯไทยก้าวสู่สากล
ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) บอกว่า รูปแบบ "กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1)" ของไทยในปัจจุบันจะอนุญาตให้จัดตั้งได้ภายในปีนี้เป็นปีสุดท้ายก่อนที่จะปรับไปสู่รูปแบบใหม่ที่เป็นสากลมากขึ้นในรูปของ "กองทรัสต์เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust : REIT" ซึ่งปัจจุบันเกณฑ์ต่างๆ ได้ออกมาเรียบร้อยหมดแล้ว โดยในต่างประเทศมีการจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบ "ทรัสต์" โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนและการบริหารอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้จัดการ REIT สำหรับ REIT ที่จะมีขึ้นในไทยจะมีการกำกับดูแลด้านการออกและเสนอขายด้านการเปิดเผยข้อมูล และการให้ความคุ้มครองผู้ลงทุนเหมือนกับบริษัทจดทะเบียน ส่วนการกำกับดูแลด้านการลงทุนจะคล้ายกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) แต่จะมีความยืดหยุ่นกว่า ได้แก่
1) การเปิดให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนและบริหารอสังหาริมทรัพย์เข้ามา จัดตั้งและจัดการทรัพย์สินอสังหาริมทรัพย์ได้,
2) ไม่จำกัดประเภททรัพย์สินที่ลงทุนได้สามารถลงทุนในทรัพย์สินในประเทศก็ได้และลงทุนในต่างประเทศได้ นอกจากนี้ยังเปิดให้ลงทุนในโครงการที่อยู่ระหว่างพัฒนาได้ถึง 10% ของทรัพย์สินรวม,
3) สามารถกู้ยืมเงินเพื่อนำไปลงทุนหรือซ่อมแซมทรัพย์สินได้คล่องตัวกว่า โดยสามารถกู้ได้ถึง 35% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ หรือ 60% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ หากได้รับการจัดอันดับน่าเชื่อถือในระดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade)
"ปัจจุบันใครที่สนใจจะจัดตั้งกอง REIT ใหม่สามารถทำได้เลย แต่ที่ยังไม่มีการจัดตั้งเพราะยังไม่มีคนที่จะเข้ามาทำหน้าที่ "ทรัสตี" ซึ่งจะเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินและดูแลให้ผู้บริหารกอง REIT ทำหน้าที่ตามที่ควรจะเป็นเพราะถือว่ายังเป็นเรื่องใหม่อยู่ แต่ปัจจุบันก็มีสถาบันการเงินมายื่นขอใบอนุญาตเพื่อทำหน้าที่ "ทรัสตี" แล้ว รวมทั้งบลจ.เองด้วย ซึ่งหากมีทรัสตีเกิดขึ้นแล้ว เชื่อว่ากระบวนการจัดตั้ง REIT หลังจากนี้จะสามารถทำได้เร็วขึ้น แต่ในส่วนของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) เดิมที่จะมีการแปลงเป็น REIT นั้น ในเรื่องของประโยชน์ทางภาษีในการโอนทรัพย์สินจากกอง1 มาไว้ในกอง REIT นั้น ยังอยู่ในระหว่างหารือกับทางกรมสรรพากร ซึ่งคงขึ้นกับดุลพินิจของทางกรมสรรพากรว่าอยากจะสนับสนุนในส่วนนี้มากน้อยแค่ไหน เพราะการจัดตั้งกอง REIT ใหม่ในปัจจุบันสามารถทำได้อยู่แล้ว"
รอดูทิศทางหลังการเปลี่ยนแปลง
โดย ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บลจ.ทหารไทย ในฐานะนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) ยอมรับว่า กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ถือเป็นเครื่องมือในการระดมทุนที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งฝ่ายผู้ประกอบการและเป็นเครื่องมือในการลงทุนที่ดีสำหรับนักลงทุนจึงได้รับการตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะในปีนี้ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่จะจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ได้นั้น คงเห็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ออกมาเป็นทางเลือกในการระดมทุนให้กับนักลงทุนมากขึ้นในเป็นพิเศษในปีนี้ เพราะมีเงื่อนไขในการจัดตั้งเป็นเงื่อนเวลาอยู่ แต่หลังจากนี้ที่เปลี่ยนไปใช้รูปแบบของกอง REIT แล้วนั้น ยังเป็นสถานการณ์ที่ประเมินได้ยาก
"เพราะประโยชน์ทางภาษีบางส่วนของทางเจ้าของนักลงทุนสถาบันที่เคยได้จะหายไป แต่นักลงทุนรายย่อยประโยชน์ที่ได้รับยังคงเหมือนเดิม ตรงนี้จึงคงต้องรอติดตามหลังการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งว่าแนวโน้มการเติบโตจะเป็นเช่นไร"
ด้าน โชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ มองว่า การเติบโตของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทยจะเติบโตขึ้นมากในปีนี้ที่เป็นปีสุดท้ายที่อนุญาตให้จัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ได้ ซึ่งประโยชน์ทางภาษีที่ลดลงของนักลงทุนสถาบันประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับยกเว้นหากลงทุนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนจ่าย และ 3 เดือนหลังจ่ายเงินปันผลตรงนี้ก็จะหมดไป เพราะเกณฑ์ของ REIT มองผลตอบแทนนี้เป็น "เงินแบ่งผลประโยชน์" ซึ่งต้องเสียภาษี ซึ่งปกติเจ้าของทรัพย์สินก็จะเข้ามาใช้สิทธิถือหน่วยลงทุนตามสิทธิ์ในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) อยู่แล้ว เมื่อประโยชน์ตรงนี้หมดไป ในแง่ต้นทุนของเขาก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้นคงจะเห็นการออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) รวมทั้งการเพิ่มทุนเกิดขึ้นค่อนข้างมากในปีนี้ซึ่งเป็นปีสุดท้ายก่อนที่จะเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบของ REIT
"หลังจากนั้นเชื่อว่าตลาดกองทุนอสังหาริมทรัพย์อาจจะเงียบไปสักพักสั้นๆ เพราะคนที่อยากออกหรือเพิ่มทุนก็ได้เร่งทำกันหมดแล้วในปีนี้ แล้วหลังจากนั้นอีกระยะหลังจากเห็นความชัดเจนในรูปแบบของ REIT ก็จะเห็นการเติบโตอีกครั้งในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ไทย"
ในขณะที่ สมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บลจ.กรุงไทย เชื่อว่า กองทุนอสังหาริมทรัพย์ของไทยจะเติบโตต่อเนื่องแม้จะเปลี่ยนเป็นรูปแบบของ REIT เพราะ REIT มีคุณสมบัติที่โดดเด่นและแตกต่างจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ทั้งในด้านรูปแบบการลงทุนและการบริหารจัดการ แม้ว่าจะมีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เหมือนกันก็ตาม โดยโครงสร้างการระดมทุนและการลงทุนของ REIT เป็นไปตามแนวทางสากลและไม่มีภาระภาษีที่ลักลั่นกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยตรง จึงทำให้การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้ง "ทางตรง" และ "ทางอ้อม" เกิดความเท่าเทียมกัน
"โดยหลักเกณฑ์การลงทุนและการบริหารจัดการ REIT จะมีความยืดหยุ่น เปิดกว้าง และเป็นมาตรฐานจึงทำให้มีแนวโน้มว่าผู้ลงทุนน่าจะได้รับผลตอบแทนที่ดี"
กองอสังหาฯไทยปันผลเด่นสุดในโลก
โชติกา มองว่า หากมองถึงการลงทุนผ่านกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทยแล้วถือว่ามีความน่าสนใจที่สุดในโลกในแง่ของ “อัตราผลตอบแทน” ที่ค่อนข้างสูงเฉลี่ย 7 - 8% แล้วแต่ประเภทของสินทรัพย์และลักษณะของการลงทุนว่าเป็นการลงทุนใน "กรรมสิทธิ์ (Free Hold)" หรือ "สิทธิการเช่า (Lease Hold)" แต่โดยภาพรวมแล้วกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทยก็ยังให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ดีกว่ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศประมาณ 2 - 3% ซึ่งถือว่าน่าสนใจมากในแง่ของการลงทุน ดังนั้น ถ้ามองการลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์แล้วยังมองว่าในไทยน่าสนใจที่สุดในโลกในแง่ของ "อัตราผลตอบแทนเงินปันผล"
"สำหรับกองอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) เดิมที่มีแผนจะเพิ่มทุนให้กองทุนเติบโตในอนาคตก็คงอยากจะเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบของ REIT เพื่อการเติบโตในอนาคต แต่เชื่อว่าหลายบลจ.ที่มีแผนจะเพิ่มทุนกองทุนอสังหาริมทรัพย์ของตัวเองก็คงรอดูความชัดเจนเรื่องประโยชน์ทางภาษีในการโอนทรัพย์สินจากกอง 1 ไปสู่กอง REIT ด้วยเช่นกัน ถ้าแปลงไปเป็นรูปแบบของ REIT แล้วผลประโยชน์ลดลงก็คงไม่แปลง แต่คงเลือกที่จะไปจัดตั้งเป็นกอง REIT ใหม่แทนมากกว่า ซึ่งตอนนี้คงต้องรอความชัดเจนในเรื่องนี้ต่อไป"
ในขณะที่ ธีรนาถ รุจิเมธาภาส กรรมการผู้จัดการ บลจ.ทิสโก้ มองว่า กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ของไทยนั้น ในปัจจุบันผลตอบแทนไม่ถือว่าถูกเพราะหลายกองราคาปรับตัวขึ้นมาสูงกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนแล้ว อัตราผลตอบแทนที่เคยสูงในปัจจุบันอาจจะไม่ได้สูงอย่างที่คิดกันเอาไว้ และในส่วนของอัตราผลตอบแทนเงินปันผลเองอาจจะเป็นการให้ข้อมูลที่ยังไม่ครบถ้วนนัก เพราะคงต้องไปมองดูด้วยว่ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ที่ลงทุนอยู่นั้นเป็นกองทุนประเภทไหน Free Hold หรือ Lease Hold ถ้าเป็นกรณีของกองทุนประเภท Lease Hold อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจะมีส่วนที่เป็น "เงินต้น" ที่คืนมาให้กับนักลงทุนรวมอยู่ด้วย ซึ่งหากบอกว่าอัตราผลตอบแทนประมาณ 7% อายูโครงการประมาณ 30 ปี ก็จะเป็นอัตราผลตอบแทนปันผลจริงๆ ประมาณ 3.67% เท่านั้น เพราะเป็นส่วนของเงินต้นที่ต้องคืนประมาณ 3.33%
"ถ้ามองแบบนี้อัตราผลตอบแทนเงินปันผลของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ในไทยก็อาจจะไม่ได้ดีมากอย่างที่คิด ดังนั้นก่อนจะลงทุนนักลงทุนคงต้องสนใจรายละเอียดของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนมากขึ้น เพราะรูปแบบของกอง REIT ในไทยเองปัจจุบันก็ยังไม่มี"
กอง REIT สหรัฐโอกาสเติบโตดีกว่าไทย
โดยธีรนาถ บอกว่า ถ้ามองในแง่ของการเติบโตของกองทุนอสังหาริมทรัพย์แล้วในต่างประเทศจะมีโอกาสที่ดีกว่าโดยเฉพาะตลาดสหรัฐซึ่งเป็นตลาด REIT ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีส่วนแบ่งการตลาดกองทุน REIT มากกว่า 50% ของตลาด REIT ทั่วโลก และถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ปี1960 ในขณะที่ประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนไปใช้รูปแบบของ REIT ในปีหน้า แต่ถ้ามองรูปแบบของกอง REIT ในต่างประเทศและกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ของไทย ในแง่ของโอกาสการเติบโตแล้วกอง REIT ในต่างประเทศมีมากกว่าแน่นอนโดยเฉพาะในสหรัฐซึ่งเป็นต้นตำรับของกองทุนประเภทนี้ ในขณะที่กองทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทยทรัพย์สินที่จะให้ลงทุนก็มีให้เลือกไม่มากนักและในแง่ของขนาดก็ไม่ใหญ่มากเช่นกัน ยกเว้นบางอสังหาริมทรัพย์ที่มีทรัพย์สินมากจริงๆ แต่ถ้าไปเทียบกับ REIT ในต่างประเทศแล้วก็ถือว่ายังเล็กมาก ยกตัวอย่าง "กองทุน Vanguard Real Estate Investment Trusts (REITs) ETF" ซึ่งเป็นกองทุน REIT ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐนั้นมีขนาดประมาณ 37.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุน 10 อันดับแรก ล้วนเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ในดัชนี S&P 500 ทั้งสิ้น เฉพาะ Simon Property Group Inc. ที่กองทุนลงทุนมากสุดนั้นมีขนาดประมาณ 3,786 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่รอพัฒนากว่า 2,000 - 2,500 โครงการทั่วโลก เป็นต้น
"กอง REIT ต่างกับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ของไทยเพราะไม่กำหนดประเภทของอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนและสามารถลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้มีโอกาสในการลงทุนที่กว้างกว่า อสังหาริมทรัพย์ในไทยที่จะมีขนาดใหญ่จริงๆ มีไม่กี่แห่งและที่ใหญ่ของไทยเองก็ยังเล็กเมื่อเทียบกับต่างประเทศ แล้วส่วนใหญ่อสังหาริมทรัพย์ของไทยจะเป็นชิ้นๆ เวลาจัดตั้งกองทุนก็จะตั้งเป็นกองทุนของอสังหาริมทรัพย์แต่ละชิ้นไป โอกาสเติบโตจึงมีน้อยต่างกับกอง REIT ในสหรัฐที่มีโอกาสขยายทรัพย์สินที่ลงทุนทำให้กองทุนมีโอกาสเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว นี่คือจุดเด่นที่สำคัญของ REIT สหรัฐ"
ผลตอบแทนรวมที่ดีกว่าในระยะยาว
ธีรนาถ ยังบอกอีกว่า ถ้ามองตลาด REIT ทั่วโลกในปัจจุบันเองนั้นในเอเชียถือว่าไม่ถูกค่อนข้างแพงรวมทั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทยและออสเตรเลียเอง ในขณะที่ REIT ในยุโรปแม้จะถูกแต่ภาพเศรษฐกิจยังไม่ส่งสัญญาณฟื้นตัวที่แข็งแกร่งที่ชัดเจนเหมือนสหรัฐ ในขณะที่ REIT ในสหรัฐน่าสนใจเพราะเชื่อว่าเศรษฐกิจในสหรัฐฟื้นและราคาบ้านเองก็ฟื้นแล้วเช่นกันนั่นจึงทำให้ REIT ในสหรัฐน่าสนใจกว่า REIT ใดในโลก ในปัจจุบันและแม้จะเป็น REIT ในสหรัฐก็จริงแต่ก็สามารถจะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ได้ทั่วโลก ซึ่งจากการศึกษาของบริษัทพบว่า การเพิ่มขึ้นของราคาหน่วย REIT จะมาจากปัจจัยหลักๆ 2 ประการคือ 1) การเพิ่มขึ้นของราคาอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุน REITs ลงทุนอยู่ และ 2) การเติบโตของรายได้จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นหน้าที่ๆ สำคัญของผู้บริหารกอง REIT ในสหรัฐ ที่จะต้องมองหาโอกาสในการลงทุนเพื่อทำให้รายได้เติบโตนั่นจะทำให้ "อัตราเงินปันผล" มีโอกาสเติบโตได้เช่นกันเมื่อรายได้เพิ่มมากขึ้นก็สามารถจะจ่ายปันผลให้ผู้ลงทุนได้มากขึ้น โดยผู้บริหาร REIT สามารถจะกู้เงินเพื่อไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติมเพื่อทำให้รายได้ของกอง REIT เติบโตได้ในอนาคต
ผู้บริหาร REIT ในต่างประเทศจึงทำหน้าที่ต่างกับผู้จัดการกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทยซึ่งมีบทบาทในเชิงบริหารไม่มากนัก เพราะส่วนใหญ่กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ก็จะจ้างเจ้าของทรัพย์สินมาเป็นผู้บริหารทรัพย์สินอีกครั้ง ผู้จัดการกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทยจึงมีบทบาทในเชิงบริหารไม่มากนัก โอกาสในการมองหาทรัพย์สินใหม่เพื่อลงทุนก็น้อยเพราะกองทุนอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพียงชิ้นเดียวอยู่แล้ว
"การลงทุนในกอง REIT นักลงทุนจึงคาดหวังผลตอบแทนมากกว่าแค่เงินปันผลแต่จะมองผลตอบแทนรวมที่จะมีผลตอบแทนอีกส่วนจากส่วนต่างมูลค่าเงินลงทุน (Capital Gain)ด้วย โดยดัชนี MSCI US REIT ให้ผลตอบแทนรวมในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เฉลี่ยประมาณ 11.58% ต่อปี ก็ถือเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนดังนั้นนักลงทุนที่จะลงทุนในกอง REIT ต้องรับความเสี่ยงได้พอสมควรแม้จะไม่มากเท่ากับการลงทุนในหุ้นก็ตาม ในขณะที่กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ของไทยส่วนใหญ่จะเน้นของอัตราผลตอบแทนเงินปันผลเป็นหลักเพียงอย่างเดียว นักลงทุนที่จะเข้าลงทุนก็จะเป็นนักลงทุนอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องการรายได้สม่ำเสมอในระยะยาวไป"
หลังจากกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทยเปลี่ยนไปใช้รูปแบบของ REIT แทนแล้ว ในส่วนของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ก็คงทยอยหมดอายุไปตามลำดับโดยเฉพาะในส่วนของกองทุนประเภท Lease hold ที่จะต้องทยอยคืนเงินต้นและผลตอบแทนให้กับนักลงทุนอย่างต่อเนื่องเมื่อครบอายุโครงการก็จะกลายเป็นศูนย์พอดี ในส่วนของกองทุนประเภท Free Hold อาจจะยังมีทรัพย์สินอยู่แต่เมื่อขายทรัพย์สินเพื่อปิดกองทุนก็จะหายไปเช่นกัน ดังนั้นโดยภาพรวมในระยะยาวของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ก็คงมีขนาดเล็กลงตามลำดับ ในส่วนของกอง REIT ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ในไทยเองนั้นก็คงต้องดูต่อไปว่าจะมีแนวโน้มการเติบโตเป็นเช่นไร
ทั้งหมดนี้เป็นมุมมองที่น่าจะทำให้นักลงทุนมองเห็นภาพของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ของไทยที่จะก้าวไปสู่รูปแบบที่เป็นสากลได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมองในเชิงเปรียบเทียบกับกอง REIT ในต่างประเทศอย่างสหรัฐ
http://bit.ly/11AcxeX
วันที่ 9 มิถุนายน 2556 13:00
จุดเปลี่ยนกองอสังหาฯไทยก้าวไปสู่'REIT'
โดย : สรวิศ อิ่มบำรุง
วรพล โสคติยานุรักษ์
เปรียบเทียบกอง REIT ของสหรัฐฯกับกองทุนอสังหาฯ (กอง 1) ในไทย ช่วยให้นักลงทุนเห็นภาพความแตกต่างได้ดียิ่งขึ้น
ปี 2013 ถือเป็นปีสุดท้ายที่ "สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)" อนุญาตให้มีการจัดตั้ง "กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1)" ได้
ก่อนที่กองทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทยจะเปลี่ยนไปใช้รูปแบบ ของ "กองทรัสต์เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust : REIT" ซึ่งเป็นรูปแบบที่เป็นสากลมากกว่า ซึ่งน่าจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ไทยในระยะยาวได้
ถ้าจะเทียบเคียงกอง REIT ของสหรัฐที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่ปี1960 กับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ในไทยเพื่อให้เห็นความแตกต่างน่าจะช่วยทำให้นักลงทุนเห็นภาพได้ดียิ่งขึ้น
กองอสังหาฯไทยก้าวสู่สากล
ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) บอกว่า รูปแบบ "กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1)" ของไทยในปัจจุบันจะอนุญาตให้จัดตั้งได้ภายในปีนี้เป็นปีสุดท้ายก่อนที่จะปรับไปสู่รูปแบบใหม่ที่เป็นสากลมากขึ้นในรูปของ "กองทรัสต์เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust : REIT" ซึ่งปัจจุบันเกณฑ์ต่างๆ ได้ออกมาเรียบร้อยหมดแล้ว โดยในต่างประเทศมีการจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบ "ทรัสต์" โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนและการบริหารอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้จัดการ REIT สำหรับ REIT ที่จะมีขึ้นในไทยจะมีการกำกับดูแลด้านการออกและเสนอขายด้านการเปิดเผยข้อมูล และการให้ความคุ้มครองผู้ลงทุนเหมือนกับบริษัทจดทะเบียน ส่วนการกำกับดูแลด้านการลงทุนจะคล้ายกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) แต่จะมีความยืดหยุ่นกว่า ได้แก่
1) การเปิดให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนและบริหารอสังหาริมทรัพย์เข้ามา จัดตั้งและจัดการทรัพย์สินอสังหาริมทรัพย์ได้,
2) ไม่จำกัดประเภททรัพย์สินที่ลงทุนได้สามารถลงทุนในทรัพย์สินในประเทศก็ได้และลงทุนในต่างประเทศได้ นอกจากนี้ยังเปิดให้ลงทุนในโครงการที่อยู่ระหว่างพัฒนาได้ถึง 10% ของทรัพย์สินรวม,
3) สามารถกู้ยืมเงินเพื่อนำไปลงทุนหรือซ่อมแซมทรัพย์สินได้คล่องตัวกว่า โดยสามารถกู้ได้ถึง 35% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ หรือ 60% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ หากได้รับการจัดอันดับน่าเชื่อถือในระดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade)
"ปัจจุบันใครที่สนใจจะจัดตั้งกอง REIT ใหม่สามารถทำได้เลย แต่ที่ยังไม่มีการจัดตั้งเพราะยังไม่มีคนที่จะเข้ามาทำหน้าที่ "ทรัสตี" ซึ่งจะเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินและดูแลให้ผู้บริหารกอง REIT ทำหน้าที่ตามที่ควรจะเป็นเพราะถือว่ายังเป็นเรื่องใหม่อยู่ แต่ปัจจุบันก็มีสถาบันการเงินมายื่นขอใบอนุญาตเพื่อทำหน้าที่ "ทรัสตี" แล้ว รวมทั้งบลจ.เองด้วย ซึ่งหากมีทรัสตีเกิดขึ้นแล้ว เชื่อว่ากระบวนการจัดตั้ง REIT หลังจากนี้จะสามารถทำได้เร็วขึ้น แต่ในส่วนของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) เดิมที่จะมีการแปลงเป็น REIT นั้น ในเรื่องของประโยชน์ทางภาษีในการโอนทรัพย์สินจากกอง1 มาไว้ในกอง REIT นั้น ยังอยู่ในระหว่างหารือกับทางกรมสรรพากร ซึ่งคงขึ้นกับดุลพินิจของทางกรมสรรพากรว่าอยากจะสนับสนุนในส่วนนี้มากน้อยแค่ไหน เพราะการจัดตั้งกอง REIT ใหม่ในปัจจุบันสามารถทำได้อยู่แล้ว"
รอดูทิศทางหลังการเปลี่ยนแปลง
โดย ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บลจ.ทหารไทย ในฐานะนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) ยอมรับว่า กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ถือเป็นเครื่องมือในการระดมทุนที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งฝ่ายผู้ประกอบการและเป็นเครื่องมือในการลงทุนที่ดีสำหรับนักลงทุนจึงได้รับการตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะในปีนี้ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่จะจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ได้นั้น คงเห็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ออกมาเป็นทางเลือกในการระดมทุนให้กับนักลงทุนมากขึ้นในเป็นพิเศษในปีนี้ เพราะมีเงื่อนไขในการจัดตั้งเป็นเงื่อนเวลาอยู่ แต่หลังจากนี้ที่เปลี่ยนไปใช้รูปแบบของกอง REIT แล้วนั้น ยังเป็นสถานการณ์ที่ประเมินได้ยาก
"เพราะประโยชน์ทางภาษีบางส่วนของทางเจ้าของนักลงทุนสถาบันที่เคยได้จะหายไป แต่นักลงทุนรายย่อยประโยชน์ที่ได้รับยังคงเหมือนเดิม ตรงนี้จึงคงต้องรอติดตามหลังการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งว่าแนวโน้มการเติบโตจะเป็นเช่นไร"
ด้าน โชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ มองว่า การเติบโตของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทยจะเติบโตขึ้นมากในปีนี้ที่เป็นปีสุดท้ายที่อนุญาตให้จัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ได้ ซึ่งประโยชน์ทางภาษีที่ลดลงของนักลงทุนสถาบันประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับยกเว้นหากลงทุนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนจ่าย และ 3 เดือนหลังจ่ายเงินปันผลตรงนี้ก็จะหมดไป เพราะเกณฑ์ของ REIT มองผลตอบแทนนี้เป็น "เงินแบ่งผลประโยชน์" ซึ่งต้องเสียภาษี ซึ่งปกติเจ้าของทรัพย์สินก็จะเข้ามาใช้สิทธิถือหน่วยลงทุนตามสิทธิ์ในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) อยู่แล้ว เมื่อประโยชน์ตรงนี้หมดไป ในแง่ต้นทุนของเขาก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้นคงจะเห็นการออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) รวมทั้งการเพิ่มทุนเกิดขึ้นค่อนข้างมากในปีนี้ซึ่งเป็นปีสุดท้ายก่อนที่จะเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบของ REIT
"หลังจากนั้นเชื่อว่าตลาดกองทุนอสังหาริมทรัพย์อาจจะเงียบไปสักพักสั้นๆ เพราะคนที่อยากออกหรือเพิ่มทุนก็ได้เร่งทำกันหมดแล้วในปีนี้ แล้วหลังจากนั้นอีกระยะหลังจากเห็นความชัดเจนในรูปแบบของ REIT ก็จะเห็นการเติบโตอีกครั้งในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ไทย"
ในขณะที่ สมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บลจ.กรุงไทย เชื่อว่า กองทุนอสังหาริมทรัพย์ของไทยจะเติบโตต่อเนื่องแม้จะเปลี่ยนเป็นรูปแบบของ REIT เพราะ REIT มีคุณสมบัติที่โดดเด่นและแตกต่างจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ทั้งในด้านรูปแบบการลงทุนและการบริหารจัดการ แม้ว่าจะมีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เหมือนกันก็ตาม โดยโครงสร้างการระดมทุนและการลงทุนของ REIT เป็นไปตามแนวทางสากลและไม่มีภาระภาษีที่ลักลั่นกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยตรง จึงทำให้การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้ง "ทางตรง" และ "ทางอ้อม" เกิดความเท่าเทียมกัน
"โดยหลักเกณฑ์การลงทุนและการบริหารจัดการ REIT จะมีความยืดหยุ่น เปิดกว้าง และเป็นมาตรฐานจึงทำให้มีแนวโน้มว่าผู้ลงทุนน่าจะได้รับผลตอบแทนที่ดี"
กองอสังหาฯไทยปันผลเด่นสุดในโลก
โชติกา มองว่า หากมองถึงการลงทุนผ่านกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทยแล้วถือว่ามีความน่าสนใจที่สุดในโลกในแง่ของ “อัตราผลตอบแทน” ที่ค่อนข้างสูงเฉลี่ย 7 - 8% แล้วแต่ประเภทของสินทรัพย์และลักษณะของการลงทุนว่าเป็นการลงทุนใน "กรรมสิทธิ์ (Free Hold)" หรือ "สิทธิการเช่า (Lease Hold)" แต่โดยภาพรวมแล้วกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทยก็ยังให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ดีกว่ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศประมาณ 2 - 3% ซึ่งถือว่าน่าสนใจมากในแง่ของการลงทุน ดังนั้น ถ้ามองการลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์แล้วยังมองว่าในไทยน่าสนใจที่สุดในโลกในแง่ของ "อัตราผลตอบแทนเงินปันผล"
"สำหรับกองอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) เดิมที่มีแผนจะเพิ่มทุนให้กองทุนเติบโตในอนาคตก็คงอยากจะเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบของ REIT เพื่อการเติบโตในอนาคต แต่เชื่อว่าหลายบลจ.ที่มีแผนจะเพิ่มทุนกองทุนอสังหาริมทรัพย์ของตัวเองก็คงรอดูความชัดเจนเรื่องประโยชน์ทางภาษีในการโอนทรัพย์สินจากกอง 1 ไปสู่กอง REIT ด้วยเช่นกัน ถ้าแปลงไปเป็นรูปแบบของ REIT แล้วผลประโยชน์ลดลงก็คงไม่แปลง แต่คงเลือกที่จะไปจัดตั้งเป็นกอง REIT ใหม่แทนมากกว่า ซึ่งตอนนี้คงต้องรอความชัดเจนในเรื่องนี้ต่อไป"
ในขณะที่ ธีรนาถ รุจิเมธาภาส กรรมการผู้จัดการ บลจ.ทิสโก้ มองว่า กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ของไทยนั้น ในปัจจุบันผลตอบแทนไม่ถือว่าถูกเพราะหลายกองราคาปรับตัวขึ้นมาสูงกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนแล้ว อัตราผลตอบแทนที่เคยสูงในปัจจุบันอาจจะไม่ได้สูงอย่างที่คิดกันเอาไว้ และในส่วนของอัตราผลตอบแทนเงินปันผลเองอาจจะเป็นการให้ข้อมูลที่ยังไม่ครบถ้วนนัก เพราะคงต้องไปมองดูด้วยว่ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ที่ลงทุนอยู่นั้นเป็นกองทุนประเภทไหน Free Hold หรือ Lease Hold ถ้าเป็นกรณีของกองทุนประเภท Lease Hold อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจะมีส่วนที่เป็น "เงินต้น" ที่คืนมาให้กับนักลงทุนรวมอยู่ด้วย ซึ่งหากบอกว่าอัตราผลตอบแทนประมาณ 7% อายูโครงการประมาณ 30 ปี ก็จะเป็นอัตราผลตอบแทนปันผลจริงๆ ประมาณ 3.67% เท่านั้น เพราะเป็นส่วนของเงินต้นที่ต้องคืนประมาณ 3.33%
"ถ้ามองแบบนี้อัตราผลตอบแทนเงินปันผลของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ในไทยก็อาจจะไม่ได้ดีมากอย่างที่คิด ดังนั้นก่อนจะลงทุนนักลงทุนคงต้องสนใจรายละเอียดของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนมากขึ้น เพราะรูปแบบของกอง REIT ในไทยเองปัจจุบันก็ยังไม่มี"
กอง REIT สหรัฐโอกาสเติบโตดีกว่าไทย
โดยธีรนาถ บอกว่า ถ้ามองในแง่ของการเติบโตของกองทุนอสังหาริมทรัพย์แล้วในต่างประเทศจะมีโอกาสที่ดีกว่าโดยเฉพาะตลาดสหรัฐซึ่งเป็นตลาด REIT ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีส่วนแบ่งการตลาดกองทุน REIT มากกว่า 50% ของตลาด REIT ทั่วโลก และถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ปี1960 ในขณะที่ประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนไปใช้รูปแบบของ REIT ในปีหน้า แต่ถ้ามองรูปแบบของกอง REIT ในต่างประเทศและกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ของไทย ในแง่ของโอกาสการเติบโตแล้วกอง REIT ในต่างประเทศมีมากกว่าแน่นอนโดยเฉพาะในสหรัฐซึ่งเป็นต้นตำรับของกองทุนประเภทนี้ ในขณะที่กองทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทยทรัพย์สินที่จะให้ลงทุนก็มีให้เลือกไม่มากนักและในแง่ของขนาดก็ไม่ใหญ่มากเช่นกัน ยกเว้นบางอสังหาริมทรัพย์ที่มีทรัพย์สินมากจริงๆ แต่ถ้าไปเทียบกับ REIT ในต่างประเทศแล้วก็ถือว่ายังเล็กมาก ยกตัวอย่าง "กองทุน Vanguard Real Estate Investment Trusts (REITs) ETF" ซึ่งเป็นกองทุน REIT ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐนั้นมีขนาดประมาณ 37.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุน 10 อันดับแรก ล้วนเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ในดัชนี S&P 500 ทั้งสิ้น เฉพาะ Simon Property Group Inc. ที่กองทุนลงทุนมากสุดนั้นมีขนาดประมาณ 3,786 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่รอพัฒนากว่า 2,000 - 2,500 โครงการทั่วโลก เป็นต้น
"กอง REIT ต่างกับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ของไทยเพราะไม่กำหนดประเภทของอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนและสามารถลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้มีโอกาสในการลงทุนที่กว้างกว่า อสังหาริมทรัพย์ในไทยที่จะมีขนาดใหญ่จริงๆ มีไม่กี่แห่งและที่ใหญ่ของไทยเองก็ยังเล็กเมื่อเทียบกับต่างประเทศ แล้วส่วนใหญ่อสังหาริมทรัพย์ของไทยจะเป็นชิ้นๆ เวลาจัดตั้งกองทุนก็จะตั้งเป็นกองทุนของอสังหาริมทรัพย์แต่ละชิ้นไป โอกาสเติบโตจึงมีน้อยต่างกับกอง REIT ในสหรัฐที่มีโอกาสขยายทรัพย์สินที่ลงทุนทำให้กองทุนมีโอกาสเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว นี่คือจุดเด่นที่สำคัญของ REIT สหรัฐ"
ผลตอบแทนรวมที่ดีกว่าในระยะยาว
ธีรนาถ ยังบอกอีกว่า ถ้ามองตลาด REIT ทั่วโลกในปัจจุบันเองนั้นในเอเชียถือว่าไม่ถูกค่อนข้างแพงรวมทั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทยและออสเตรเลียเอง ในขณะที่ REIT ในยุโรปแม้จะถูกแต่ภาพเศรษฐกิจยังไม่ส่งสัญญาณฟื้นตัวที่แข็งแกร่งที่ชัดเจนเหมือนสหรัฐ ในขณะที่ REIT ในสหรัฐน่าสนใจเพราะเชื่อว่าเศรษฐกิจในสหรัฐฟื้นและราคาบ้านเองก็ฟื้นแล้วเช่นกันนั่นจึงทำให้ REIT ในสหรัฐน่าสนใจกว่า REIT ใดในโลก ในปัจจุบันและแม้จะเป็น REIT ในสหรัฐก็จริงแต่ก็สามารถจะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ได้ทั่วโลก ซึ่งจากการศึกษาของบริษัทพบว่า การเพิ่มขึ้นของราคาหน่วย REIT จะมาจากปัจจัยหลักๆ 2 ประการคือ 1) การเพิ่มขึ้นของราคาอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุน REITs ลงทุนอยู่ และ 2) การเติบโตของรายได้จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นหน้าที่ๆ สำคัญของผู้บริหารกอง REIT ในสหรัฐ ที่จะต้องมองหาโอกาสในการลงทุนเพื่อทำให้รายได้เติบโตนั่นจะทำให้ "อัตราเงินปันผล" มีโอกาสเติบโตได้เช่นกันเมื่อรายได้เพิ่มมากขึ้นก็สามารถจะจ่ายปันผลให้ผู้ลงทุนได้มากขึ้น โดยผู้บริหาร REIT สามารถจะกู้เงินเพื่อไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติมเพื่อทำให้รายได้ของกอง REIT เติบโตได้ในอนาคต
ผู้บริหาร REIT ในต่างประเทศจึงทำหน้าที่ต่างกับผู้จัดการกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทยซึ่งมีบทบาทในเชิงบริหารไม่มากนัก เพราะส่วนใหญ่กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ก็จะจ้างเจ้าของทรัพย์สินมาเป็นผู้บริหารทรัพย์สินอีกครั้ง ผู้จัดการกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทยจึงมีบทบาทในเชิงบริหารไม่มากนัก โอกาสในการมองหาทรัพย์สินใหม่เพื่อลงทุนก็น้อยเพราะกองทุนอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพียงชิ้นเดียวอยู่แล้ว
"การลงทุนในกอง REIT นักลงทุนจึงคาดหวังผลตอบแทนมากกว่าแค่เงินปันผลแต่จะมองผลตอบแทนรวมที่จะมีผลตอบแทนอีกส่วนจากส่วนต่างมูลค่าเงินลงทุน (Capital Gain)ด้วย โดยดัชนี MSCI US REIT ให้ผลตอบแทนรวมในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เฉลี่ยประมาณ 11.58% ต่อปี ก็ถือเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนดังนั้นนักลงทุนที่จะลงทุนในกอง REIT ต้องรับความเสี่ยงได้พอสมควรแม้จะไม่มากเท่ากับการลงทุนในหุ้นก็ตาม ในขณะที่กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ของไทยส่วนใหญ่จะเน้นของอัตราผลตอบแทนเงินปันผลเป็นหลักเพียงอย่างเดียว นักลงทุนที่จะเข้าลงทุนก็จะเป็นนักลงทุนอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องการรายได้สม่ำเสมอในระยะยาวไป"
หลังจากกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทยเปลี่ยนไปใช้รูปแบบของ REIT แทนแล้ว ในส่วนของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ก็คงทยอยหมดอายุไปตามลำดับโดยเฉพาะในส่วนของกองทุนประเภท Lease hold ที่จะต้องทยอยคืนเงินต้นและผลตอบแทนให้กับนักลงทุนอย่างต่อเนื่องเมื่อครบอายุโครงการก็จะกลายเป็นศูนย์พอดี ในส่วนของกองทุนประเภท Free Hold อาจจะยังมีทรัพย์สินอยู่แต่เมื่อขายทรัพย์สินเพื่อปิดกองทุนก็จะหายไปเช่นกัน ดังนั้นโดยภาพรวมในระยะยาวของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ก็คงมีขนาดเล็กลงตามลำดับ ในส่วนของกอง REIT ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ในไทยเองนั้นก็คงต้องดูต่อไปว่าจะมีแนวโน้มการเติบโตเป็นเช่นไร
ทั้งหมดนี้เป็นมุมมองที่น่าจะทำให้นักลงทุนมองเห็นภาพของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ของไทยที่จะก้าวไปสู่รูปแบบที่เป็นสากลได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมองในเชิงเปรียบเทียบกับกอง REIT ในต่างประเทศอย่างสหรัฐ
http://bit.ly/11AcxeX