หน้า 1 จากทั้งหมด 1

บทเรียนจากความผันผวน/ธันวา เลาหศิริวงศ์

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 04, 2013 10:12 am
โดย Thai VI Article

โค้ด: เลือกทั้งหมด

   หากติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่าน จะพบว่ามี “ความผันผวน” อย่างมาก หลังจาก SET ปิด ณ วันที่ 15 มีนาคม ที่ 1,598 จุด ตลาดหุ้นได้ปรับตัวลดลงต่อเนื่องตลอดสัปดาห์และปิดที่ระดับ 1,478 จุด ลดลงถึง 120 จุดหรือ 8% แม้จะมีความผันผวนอย่างมากระหว่างสัปดาห์ต่อมา แต่ ณ วันสิ้นสุดไตรมาสแรกของปี 2556 (29 มีนาคม) ดัชนีสามารถปรับขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 83 จุดหรือ 5.6% โดยปิดที่ 1,561 จุด สำหรับตลาด mai นั้น ราคาหุ้นมีความผันผวนสูงกว่า SET อีกด้วย
   ​แม้ความผันผวนเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับตลาดหุ้นเสมอ แต่ควรถามตนเองว่า เราได้เรียนรู้จากความผันผวนนี้อย่างไรบ้าง
   ​หากย้อนคิดไปถึงวันศุกร์ที่ 22 มีนาคมซึ่งเป็นวันที่ตลาดหุ้นตกลงกว่า 50 จุดและมีปริมาณซื้อขายต่อวันเป็นสถิติสูงสุดกว่า 100,000 ล้านบาท แน่นอนว่า จะต้องมีนักลงทุนที่ถือหุ้นจำนวนหนึ่งได้รับอิทธิพล ถูกโน้มน้าวทางอารมณ์ หรือตกใจจากสภาวะ “การปรับตัวลงอย่างแรง” ของตลาด จึงตัดสินใจขายหุ้นออกมาก่อนเพราะคาดว่าตลาดหุ้นจะต้องปรับลดลงอีกอย่างแน่นอน แล้วจึงเข้าซ้อนซื้อเมื่อราคาตกต่ำกว่าที่ราคาขายอีกครั้งหนึ่ง
   ​การใช้กลยุทธ์ “เล่นรอบ” โดยการใช้ Market Timing เพื่อขายและซื้อกลับเพื่อหวังส่วนต่างกำไรในระยะสั้นนั้น เหมาะกับนักลงทุนที่ติดตามภาวะตลาดอย่างใกล้ชิด เปี่ยมด้วยประสบการณ์ เก่งในจิตวิทยาการลงทุนและการตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใดในเวลาจำกัด เพราะหากปฏิบัติตามการคาดการณ์ที่ถูกต้องจะสามารถทำกำไรได้อย่างงาม อย่างไรก็ตาม นักลงทุนส่วนมากนั้นมักจะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะปัญหาส่วนใหญ่ที่พบคือ ไม่มีใครล่วงรู้ได้อย่างแม่นยำว่า หุ้นจะขึ้นสูงสุดหรือลงต่ำสุดที่ราคาใด ดังนั้นนักลงทุนที่ตัดสินใจขายหุ้นออกมา (ซึ่งมักจะไม่สามารถขายได้ในราคาสูงสุด) จะตกอยู่ในสองสถานการณ์ต่อไปนี้
   ​กรณีที่หนึ่ง ซื้อหุ้นกลับคืนเร็วเกินไปเพราะคาดว่าเป็นการ “ตกใจขายหุ้น” ชั่วคราวเท่านั้น การซื้อกลับคืนเร็วอาจทำกำไรส่วนต่างประมาณ 2-5% ข้อดีคือ หากหุ้นปรับตัวกลับขึ้นเร็วอย่างที่คาด นักลงทุนได้กำไรส่วนต่างราคาและยังมีหุ้นที่ต้องการลงทุนจำนวนเท่าเดิม ข้อเสียคือหากซื้อกลับไม่ทันและต้องยอมซื้อกลับในราคาที่สูงกว่าราคาที่ขายไป นักลงทุนจะต้องขาดทุน หากนักลงทุน “ทำใจไม่ได้” ที่จะต้องซื้อกลับในราคาสูงขึ้น นี่คือการสูญเสียโอกาสการเป็นเจ้าของกิจการชั้นเยี่ยมที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือกมาอย่างดีเพราะราคาหุ้นอาจจะไม่ปรับลดต่ำกว่าราคาที่ขาย หรือราคาปรับลงมาในจุดที่เราคิดว่ามี Margin of Safety อีกเลย 
   ​หากหุ้นยังปรับตัวลงต่อเนื่องต่อไปอีกนาน ธุรกรรมครั้งนี้จะเป็นการเพียงการประหยัดการขาดทุน (ของกำไรหากต้นทุนต่ำกว่าราคาขาย) เพียง 2-5% เท่านั้น นักลงทุนจึงต้องคิดว่า การนำกลยุทธ์ดังกล่าวมาใช้ในกรณีนี้เหมาะกับตนหรือไม่ อย่างไร
   ​กรณีที่สอง รอเวลาหรือราคาที่เหมาะสมแล้วจึงซื้อกลับคืน หากไม่ใช่นักลงทุนแนวเทคนิคแล้ว จังหวะซื้อหุ้นกลับคืนนั้นคงต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้สึกของนักลงทุนแต่ละคน ผลของการขายหุ้นยามตลาดผันผวนและซื้อกลับครั้งนี้คงแตกต่างกันไปตามความแม่นยำในการคาดการณ์และการปฏิบัติของแต่ละคน นักลงทุนต้องไม่ลืมว่า หากพบกิจการอื่นที่มีคุณภาพเยี่ยม เสนอขายในราคาที่เหมาะสมกว่าเนื่องจากตลาดปรับตัวลง นี่คือการนำกลยุทธ์ switching มาใช้เพื่อผลตอบแทนที่ดีขึ้นได้เช่นกัน
   ​การขายหุ้นในแนวทางการลงทุนแบบเน้นคุณค่านั้น จะกระทำก็ต่อเมื่อ หนึ่ง ปัจจัยพื้นฐานของกิจการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง สอง เมื่อซื้อหุ้นผิดจากการคาดการณ์หรือความเข้าใจผิด และสาม ราคาหุ้นสูงเกินปัจจัยพื้นฐานอย่างมาก จะเห็นได้ว่าการขายหุ้นนั้น ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความผันผวนของตลาดเลย อีกนัยหนึ่งคือ หากต้องการขายหุ้นที่อยู่ในข่ายดังกล่าว นักลงทุนไม่จำเป็นต้องรอให้ตลาดผันผวนแล้วจึงตัดสินใจขายหุ้น นั่นเอง
   ​คำถามต่อมาคือ เป้าหมายการลงทุนของตนคืออะไร หากเป้าหมายคือ การมีอิสรภาพทางการเงิน ความมั่งคั่งและมั่นคงในชีวิต ความสบายใจ กินอิ่มนอนหลับจากการลงทุน ผลตอบแทนระดับ 12-15% ต่อปีหรือเหมาะกับความสามารถ แต่กลยุทธ์ที่ใช้นั้นเพื่อผลตอบแทนสูงขึ้น โดยยอมเพิ่มความเสี่ยง ความท้าทาย ความตื่นเต้น หรือแม้กระทั่งความกังวล ไม่สบายใจ ไม่มีสมาธิ หงุดหงิดหากการตัดสินใจไม่เป็นดังคาดการณ์ไว้ นักลงทุนจึงต้องพิจารณาถึงกลยุทธ์และแนวทางที่เหมาะสมกับตนเองให้มากที่สุด
   ​มีคำกล่าวว่า สิ่งที่ยากที่สุดของการลงทุนคือ “การอยู่เฉยๆ” แม้เป็นคำพูดที่ง่ายแต่แฝงด้วยแง่คิด กล่าวคือ หากถือหุ้นที่ยอดเยี่ยมผ่านการคัดเลือกและไตร่ตรองอย่างดีแล้ว ควรอดทนและให้เวลากิจการเพื่อสร้างความเติบโตต่อไปเรื่อยๆ นี่คือ การนำกลยุทธ์ “Buy & Hold” มาใช้ ทั้งนี้เพราะ เราไม่สามารถทำนายราคาหุ้นว่าจะขึ้นหรือลงในระยะสั้นได้ แต่เราคาดการณ์ผลประกอบการของกิจการในระยะยาวได้ นั่นเอง ดังนั้น VI พันธุ์แท้จึงต้องมี “วินัย” และ “ใช้สติ” ในการตัดสินลงทุนเสมอ
[/size]

Re: บทเรียนจากความผันผวน/ธันวา เลาหศิริวงศ์

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 04, 2013 10:53 am
โดย silomlaw
ขอบคุณครับสำหรับข้อเตือนใจที่ยังคงมั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลงในหลักการ (เหมือนการเลี้ยงลูก)

Re: บทเรียนจากความผันผวน/ธันวา เลาหศิริวงศ์

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 04, 2013 12:32 pm
โดย uthai.l
ขอบคุณครับ

Re: บทเรียนจากความผันผวน/ธันวา เลาหศิริวงศ์

โพสต์แล้ว: ศุกร์ เม.ย. 05, 2013 4:04 pm
โดย naijan
ได้ข้อคิดมากๆเหมาะที่สุดสำหรับช่วงนี้ ขอบคุณมากๆครับ

-------------------------------
ปฏิบัติการปลดหนี้ สู่วิถีพอเพียง

http://www.thorfun.com/story/view/UVl_jK7rWb0kABBW

Re: บทเรียนจากความผันผวน/ธันวา เลาหศิริวงศ์

โพสต์แล้ว: ศุกร์ เม.ย. 05, 2013 4:05 pm
โดย smallpunk
ขอบคุณมากๆครับ

Re: บทเรียนจากความผันผวน/ธันวา เลาหศิริวงศ์

โพสต์แล้ว: ศุกร์ เม.ย. 05, 2013 11:46 pm
โดย baggio
บทความนี้สุดยอดครับพี่ ขอบคุณมากๆครับ

Re: บทเรียนจากความผันผวน/ธันวา เลาหศิริวงศ์

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 07, 2013 6:50 am
โดย imerlot
quote:{Since the basic game is so favorable, Charlie and I believe it’s a terrible mistake to try to dance in and ou
of it based upon the turn of tarot cards, the predictions of “experts,” or the ebb and flow of business
activity. The risks of being out of the game are huge compared to the risks of being in it.}

http://www.berkshirehathaway.com/letters/2012ltr.pdf
p4

Re: บทเรียนจากความผันผวน/ธันวา เลาหศิริวงศ์

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 07, 2013 10:14 pm
โดย yun_9889
ขอบคุณค่ะ

Re: บทเรียนจากความผันผวน/ธันวา เลาหศิริวงศ์

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 07, 2013 11:32 pm
โดย Noinar
:)