แนวทางความคิดการลงทุนปี 2556 ของ IH ที่ผมชอบ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 10, 2013 9:32 am
คุณ IH เป็นนักลงทุนที่เก่งและผมนับถือในความสามารถมาก ท่านเป็นรายใหญ่ของ หุ้น Jubile ซึ่งผมเคยมีและขายไปแล้ว เพราะผมคิดว่าเป็นของฟุ่มเฟือย แต่ผลการดำเนินงานของ Jubile ดีขึ้นตลอด มาทุกปี โตทั้งกำไรและยอดขาย การเพิ่มสาขา นับว่า ท่านเลือกได้ถูกต้องแล้วครับ ส่วนแนวความคิดของท่านมีดังนี้ครับ ลอกมาจากเวปกระทิงเขียวอีกทีนึงนะครับ-
..............................................
เศรษฐกิจโลกในปี 2556 ก็คงจะมีประเด็นเรื่องปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปและสหรัฐเป็นหลัก และทำให้ธนาคารกลางของประเทศเหล่านี้พยายามดำเนินนโยบายดอกเบี้ยต่ำและมีการอัดฉีดสภาพคล่องเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ การที่ดอกเบี้ยต่ำจึงทำให้นักลงทุนต้องหาทางเลือกในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการฝากธนาคารหรือซื้อพันธบัตร จึงทำให้น่าจะมีสภาพคล่องไหลมายังประเทศที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจน้อยกว่าและน่าจะให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีกว่าได้
ในช่วงปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าการลงทุนในตลาดหุ้นได้รับความสนใจจากผู้มีเงินออมเพิ่มขึ้นมาก ตัวชี้วัดที่เห็นได้ดีคือ จำนวนหนังสือด้านการลงทุนในหุ้นที่ถูกจัดพิมพ์ออกมาขาย และหนังสือที่ขายดี 10 อันดับแรกมักจะมีหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนถึง3-4 เล่ม และเวลาไปไหนมาไหนก็จะเริ่มมีผู้คนพูดถึงการลงทุนในหุ้นมากขึ้น และมีมุมมองที่ดีขึ้นเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นมากขึ้น ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ก็เป็นิสิ่งที่ดีที่ผู้ออมเงินสนใจศึกษาการลงทุนที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น แต่ในมุมที่น่าเป็นห่วงก็คือการมีนักลงทุนมือใหม่ที่อาจจะขาดประสบการณ์และคิดว่าลงทุนในหุ้นนั้นเป็นเรื่องง่าย รวยเร็ว และไม่เสี่ยง ซึ่งนักลงทุนกลุ่มนี้ในวันหนึ่งอาจจะพบว่าการลงทุนในหุ้นโดยขาดการศึกษาที่มากเพียงพอ การซื้อตามๆ กัน การปล่อยให้ความโลภมาครอบงำ วันหนึ่งอาจะค้นพบความจริงว่าการลงทุนในหุ้นโดยขาดการศึกษานั้นทำให้เงินหมดลงได้เร็วและจริงๆ เสี่ยงมากก็เป็นไปได้ครับ
สำหรับตลาดหุ้นไทย ที่ดัชนี 1400 กว่าจุด ซึ่งหุ้นหลายตัวได้ปรับเพิ่มขึ้นมาพอสมควรแล้วนั้น นักลงทุนก็คงจะต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นก็ยังมีความน่าสนใจอยู่พอสมควรเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนทางอื่นๆ ดังนี้
1 การฝากธนาคาร ที่ให้ดอกเบี้ยประมาณ 1-3%
2 การซื้อพันธบัตรรัฐบาล ที่ให้ดอกเบี้ยประมาณ 4-5%
3 การซื้อคอนโดฯ ให้เช่า ที่อาจจะให้ตอบแทนประมาณ 4-8% ต่อปี แต่มีความเสี่ยงที่อาจจะหาผู้เช่าไม่ได้เพราะปัจจุบันมี supply คอนโดฯ ออกมาจำนวนมาก
หากเราดู p/e ของหุ้นในตลาด ซึ่งหุ้นส่วนใหญ่ของตลาดมี p/e อยู่ประมาณ 15-40 เท่า ซึ่งดูเหมือนเป็น p/e ที่เพิ่มขึ้นมามากจากสมัยก่อนที่หุ้นส่วนใหญ่มักจะมี p/e เพียงประมาณ 8-30 เท่า และ p/e ที่ระดับสูงๆ ของหุ้นระดับสูงๆ นั้นเป็นระดับ p/e ที่นักลงทุนหลายๆ คนไม่เคยชิน นักลงทุนหลายๆ คนอาจจะชินกับระดับ p/e ต้องต่ำกว่า 10 เท่าหรืออย่างน้อยต้องไม่เกิน 15 เท่าถึงจะเป็นหุ้นที่ถูกและน่าลงทุน
ระดับ p/e ที่ 20 เท่าที่เป็นระดับที่นักลงทุนอาจจะรู้สึกว่าเริ่มแพงและไม่เคยชินนั้น หากมองในอัตราส่วน earning yield ซึ่งเท่ากับ earning / price หรือ e/p ซึ่งเป็นส่วนกลับของ p/e ratio ก็คือ 1/20 หรือ 5% เท่ากับว่า เงิน 100 บาทที่จ่ายเงินให้กับหุ้นตัวหนึ่ง หุ้นตัวนั้นๆ จะสร้างกำไรในแต่ละปีเท่ากับ 5 บาท หรือเทียบเท่าผลตอบแทน 5% ต่อปี ซึ่งจะเห็นว่ายังสูงกว่าทางเลือกในการลงทุนอื่นๆ เช่น เงินฝากหรือพันธบัตรรัฐบาล
หากจะเปรียบเทียบกับการซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่มีผลตอบแทน 4% ต่อปี ซึ่งมี earning yield 4% จะเปรียบเสมือนการซื้อหุ้นที่ p/e 25 เท่าแต่ไม่มีการเติบโตของกำไร หรือหากเราฝากธนาคารที่ดอกเบี้ย 2% ต่อปี ก็จะเปรียบเสมือนการซื้อหุ้น p/e 50 เท่าแต่ไม่มีการเติบโตของกำไรเช่นกัน
ในขณะที่เราซื้อหุ้น p/e 20 เท่า จะได้ earning yield 5% แต่หากหุ้นที่เราซื้อเป็นหุ้นที่มีแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว ซึ่งหมายถึงว่าในระยะยาวนั้น p/e จะลดลงเรื่อยๆ หรือ earning yield จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผมก็เชื่อว่าการลงทุนนี้ก็น่าจะเป็นการลงทุนที่น่าจะยังดีกว่าการฝากธนาคารหรือซื้อพันธบัตรรัฐบาลครับ
แต่หากเราซื้อหุ้นที่ p/e 20 เท่าแต่เป็นหุ้นที่แนวโน้มการเติบโตและการเพิ่มขึ้นของกำไรไม่ชัดเจน ซึ่งหมายความว่ากำไรในอนาคตอาจจะลดลงได้ซึ่งทำให้ earning yield ลดลงต่ำกว่า 5% ได้ ผมคิดว่าหุ้นลักษณะนี้เราควรระมัดระวังในการเข้าลงทุนครับ
ดังนั้น ผมจึงคิดว่าตลาดหุ้นในปัจจุบันแม้จะขึ้นมามาก และน่าจะมีหุ้นหลายๆ ตัวที่มี p/e สูงเกินกว่าศักยภาพในการเติบโตและพื้นฐานระยะยาวซึ่งเป็นหุ้นทีเราควรหลีกเลี่ยง แต่ก็อาจจะยังมีหุ้นหลายๆ ตัวที่แม้ p/e จะเริ่มสูงแต่ก็ยังมีโอกาสเติบโตได้ในระยะยาว หุ้นกลุ่มหลังนี้น่าจะยังเป็นหุ้นที่น่าลงทุนอยู่ครับ
ในทุกๆ ตลาดขาขึ้นที่มีลักษณะฟองสบู่หรือมีการเก็งกำไรเกินขอบเขตนั้น หุ้นที่มักจะปรับตัวได้แรงกว่าตลาดมากๆ มักจะเป็นหุ้นประเภทเก็งกำไร โดยที่มักจะจะมีผลประกอบการไม่ค่อยสม่ำเสมอ หรือบางบริษัทมีผลประกอบการขาดทุนในจำนวนปีที่มากกว่าปีที่กำไร บางตัวเป็นหุ้นที่เพิ่งมีการฟื้นตัวหรือ turnaround หุ้นเหล่านี้มักจะขึ้นได้แรงและสร้างผลตอบแทนที่สูงและรวดเร็ว แต่เมื่อตลาดหมดรอบขาขึ้น หุ้นเหล่านี้มักจะปรับตัวลงอย่างรุนแรงและรวดเร็วและมักจะสร้างความเสียหายให้กับนักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนหน้าใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในตลาดหุ้นและขาดประสบการณ์ที่มากพอ
ดังนั้นในตลาดขาขึ้นแบบนี้ หากเรายังยึดมั่นในหลักการลงทุนแบบ VI หรือ value investment อย่างเคร่งครัด ไม่ตื่นเต้นหรือปล่อยให้ความโลภเข้าครอบงำในการไปร่วมวงในการเก็งกำไรในหุ้นเก็งกำไรที่ขาดพื้นฐานที่ดีรองรับ ผมเชื่อว่าเราก็ยังสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวและมีความเสี่ยงที่ไม่มากเกินไปนักครับ
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าเราก็ควรจะติดตามตลาดในระดับหนึ่ง หากพบว่าภาพรวมการซื้อขายหุ้นทั้งตลาดอยู่ในภาวะร้อนแรงเกินไป ระดับ p/e ของหุ้นส่วนใหญ่สูงเกินกว่าที่เราจะรับได้เช่น เกิน 40-50 เท่า ซึ่งเป็นระดับที่เหลือ earing yield 2% - 2.5% เท่านั้น ความแพงระดับนี้อาจจะเกิดขึ้นได้หากดัชนีปรับตัวร้อนแรงไป 2,000 จุดหรือมากกว่า ก็อาจจะพอสรุปได้ว่าหุ้นอาจจะแพงเกินกว่าที่จะถือต่อไปแล้วและอาจจะต้องหาทางเลือกอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าและเสี่ยงน้อยกว่า เช่น กองทุนอสังหาฯ หรือพันธบัตรรัฐบาล ก็เป็นไปได้ครับ ซึ่งผมเองก็หวังว่าดัชนีหุ้นใน 1-2 ปีจากนี้ไปคงจะไม่ร้อนแรงจนเกินไปเพราะยิ่งร้อนแรงเกินไปเท่าไหร่เวลาตลาดหมดรอบก็อาจจะปรับตัวได้แรงเช่นกันครับซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็อาจจะมีนักลงทุนได้รับความเสียหายและออกจากตลาดหุ้นไปจำนวนมากได้ครับ
สรุปแล้วผมก็ขอแนะนำให้เรามีสติกับการลงทุน ถือหลักตนเป็นที่พึ่งของตน อย่ายืมจมูกคนอื่นหายใจ ใช้หลักกาลามสูตร ให้เชื่อว่าออกแรงมากได้มาก ออกแรงน้อยได้น้อย อย่าปล่อยให้ความโลภครอบงำและอยู่เหนือเหตุผลและหลักการ การลงทุนไม่ใช่ของยากแต่ก็ไม่ง่ายเกินไปถึงขนาดที่ทุกคนจะประสบความสำเร็จหรือรวยกันได้หมด อย่าชะล่าใจกับความสำเร็จหากกำไรที่เราได้เป็นลักษณะ Right for the wrong reason ขออวยพรให้ทุกคนประสบความสำเร็จในการลงทุนสำหรับปี 2556 และจากนี้ไปครับ
..............................................
เศรษฐกิจโลกในปี 2556 ก็คงจะมีประเด็นเรื่องปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปและสหรัฐเป็นหลัก และทำให้ธนาคารกลางของประเทศเหล่านี้พยายามดำเนินนโยบายดอกเบี้ยต่ำและมีการอัดฉีดสภาพคล่องเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ การที่ดอกเบี้ยต่ำจึงทำให้นักลงทุนต้องหาทางเลือกในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการฝากธนาคารหรือซื้อพันธบัตร จึงทำให้น่าจะมีสภาพคล่องไหลมายังประเทศที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจน้อยกว่าและน่าจะให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีกว่าได้
ในช่วงปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าการลงทุนในตลาดหุ้นได้รับความสนใจจากผู้มีเงินออมเพิ่มขึ้นมาก ตัวชี้วัดที่เห็นได้ดีคือ จำนวนหนังสือด้านการลงทุนในหุ้นที่ถูกจัดพิมพ์ออกมาขาย และหนังสือที่ขายดี 10 อันดับแรกมักจะมีหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนถึง3-4 เล่ม และเวลาไปไหนมาไหนก็จะเริ่มมีผู้คนพูดถึงการลงทุนในหุ้นมากขึ้น และมีมุมมองที่ดีขึ้นเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นมากขึ้น ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ก็เป็นิสิ่งที่ดีที่ผู้ออมเงินสนใจศึกษาการลงทุนที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น แต่ในมุมที่น่าเป็นห่วงก็คือการมีนักลงทุนมือใหม่ที่อาจจะขาดประสบการณ์และคิดว่าลงทุนในหุ้นนั้นเป็นเรื่องง่าย รวยเร็ว และไม่เสี่ยง ซึ่งนักลงทุนกลุ่มนี้ในวันหนึ่งอาจจะพบว่าการลงทุนในหุ้นโดยขาดการศึกษาที่มากเพียงพอ การซื้อตามๆ กัน การปล่อยให้ความโลภมาครอบงำ วันหนึ่งอาจะค้นพบความจริงว่าการลงทุนในหุ้นโดยขาดการศึกษานั้นทำให้เงินหมดลงได้เร็วและจริงๆ เสี่ยงมากก็เป็นไปได้ครับ
สำหรับตลาดหุ้นไทย ที่ดัชนี 1400 กว่าจุด ซึ่งหุ้นหลายตัวได้ปรับเพิ่มขึ้นมาพอสมควรแล้วนั้น นักลงทุนก็คงจะต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นก็ยังมีความน่าสนใจอยู่พอสมควรเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนทางอื่นๆ ดังนี้
1 การฝากธนาคาร ที่ให้ดอกเบี้ยประมาณ 1-3%
2 การซื้อพันธบัตรรัฐบาล ที่ให้ดอกเบี้ยประมาณ 4-5%
3 การซื้อคอนโดฯ ให้เช่า ที่อาจจะให้ตอบแทนประมาณ 4-8% ต่อปี แต่มีความเสี่ยงที่อาจจะหาผู้เช่าไม่ได้เพราะปัจจุบันมี supply คอนโดฯ ออกมาจำนวนมาก
หากเราดู p/e ของหุ้นในตลาด ซึ่งหุ้นส่วนใหญ่ของตลาดมี p/e อยู่ประมาณ 15-40 เท่า ซึ่งดูเหมือนเป็น p/e ที่เพิ่มขึ้นมามากจากสมัยก่อนที่หุ้นส่วนใหญ่มักจะมี p/e เพียงประมาณ 8-30 เท่า และ p/e ที่ระดับสูงๆ ของหุ้นระดับสูงๆ นั้นเป็นระดับ p/e ที่นักลงทุนหลายๆ คนไม่เคยชิน นักลงทุนหลายๆ คนอาจจะชินกับระดับ p/e ต้องต่ำกว่า 10 เท่าหรืออย่างน้อยต้องไม่เกิน 15 เท่าถึงจะเป็นหุ้นที่ถูกและน่าลงทุน
ระดับ p/e ที่ 20 เท่าที่เป็นระดับที่นักลงทุนอาจจะรู้สึกว่าเริ่มแพงและไม่เคยชินนั้น หากมองในอัตราส่วน earning yield ซึ่งเท่ากับ earning / price หรือ e/p ซึ่งเป็นส่วนกลับของ p/e ratio ก็คือ 1/20 หรือ 5% เท่ากับว่า เงิน 100 บาทที่จ่ายเงินให้กับหุ้นตัวหนึ่ง หุ้นตัวนั้นๆ จะสร้างกำไรในแต่ละปีเท่ากับ 5 บาท หรือเทียบเท่าผลตอบแทน 5% ต่อปี ซึ่งจะเห็นว่ายังสูงกว่าทางเลือกในการลงทุนอื่นๆ เช่น เงินฝากหรือพันธบัตรรัฐบาล
หากจะเปรียบเทียบกับการซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่มีผลตอบแทน 4% ต่อปี ซึ่งมี earning yield 4% จะเปรียบเสมือนการซื้อหุ้นที่ p/e 25 เท่าแต่ไม่มีการเติบโตของกำไร หรือหากเราฝากธนาคารที่ดอกเบี้ย 2% ต่อปี ก็จะเปรียบเสมือนการซื้อหุ้น p/e 50 เท่าแต่ไม่มีการเติบโตของกำไรเช่นกัน
ในขณะที่เราซื้อหุ้น p/e 20 เท่า จะได้ earning yield 5% แต่หากหุ้นที่เราซื้อเป็นหุ้นที่มีแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว ซึ่งหมายถึงว่าในระยะยาวนั้น p/e จะลดลงเรื่อยๆ หรือ earning yield จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผมก็เชื่อว่าการลงทุนนี้ก็น่าจะเป็นการลงทุนที่น่าจะยังดีกว่าการฝากธนาคารหรือซื้อพันธบัตรรัฐบาลครับ
แต่หากเราซื้อหุ้นที่ p/e 20 เท่าแต่เป็นหุ้นที่แนวโน้มการเติบโตและการเพิ่มขึ้นของกำไรไม่ชัดเจน ซึ่งหมายความว่ากำไรในอนาคตอาจจะลดลงได้ซึ่งทำให้ earning yield ลดลงต่ำกว่า 5% ได้ ผมคิดว่าหุ้นลักษณะนี้เราควรระมัดระวังในการเข้าลงทุนครับ
ดังนั้น ผมจึงคิดว่าตลาดหุ้นในปัจจุบันแม้จะขึ้นมามาก และน่าจะมีหุ้นหลายๆ ตัวที่มี p/e สูงเกินกว่าศักยภาพในการเติบโตและพื้นฐานระยะยาวซึ่งเป็นหุ้นทีเราควรหลีกเลี่ยง แต่ก็อาจจะยังมีหุ้นหลายๆ ตัวที่แม้ p/e จะเริ่มสูงแต่ก็ยังมีโอกาสเติบโตได้ในระยะยาว หุ้นกลุ่มหลังนี้น่าจะยังเป็นหุ้นที่น่าลงทุนอยู่ครับ
ในทุกๆ ตลาดขาขึ้นที่มีลักษณะฟองสบู่หรือมีการเก็งกำไรเกินขอบเขตนั้น หุ้นที่มักจะปรับตัวได้แรงกว่าตลาดมากๆ มักจะเป็นหุ้นประเภทเก็งกำไร โดยที่มักจะจะมีผลประกอบการไม่ค่อยสม่ำเสมอ หรือบางบริษัทมีผลประกอบการขาดทุนในจำนวนปีที่มากกว่าปีที่กำไร บางตัวเป็นหุ้นที่เพิ่งมีการฟื้นตัวหรือ turnaround หุ้นเหล่านี้มักจะขึ้นได้แรงและสร้างผลตอบแทนที่สูงและรวดเร็ว แต่เมื่อตลาดหมดรอบขาขึ้น หุ้นเหล่านี้มักจะปรับตัวลงอย่างรุนแรงและรวดเร็วและมักจะสร้างความเสียหายให้กับนักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนหน้าใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในตลาดหุ้นและขาดประสบการณ์ที่มากพอ
ดังนั้นในตลาดขาขึ้นแบบนี้ หากเรายังยึดมั่นในหลักการลงทุนแบบ VI หรือ value investment อย่างเคร่งครัด ไม่ตื่นเต้นหรือปล่อยให้ความโลภเข้าครอบงำในการไปร่วมวงในการเก็งกำไรในหุ้นเก็งกำไรที่ขาดพื้นฐานที่ดีรองรับ ผมเชื่อว่าเราก็ยังสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวและมีความเสี่ยงที่ไม่มากเกินไปนักครับ
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าเราก็ควรจะติดตามตลาดในระดับหนึ่ง หากพบว่าภาพรวมการซื้อขายหุ้นทั้งตลาดอยู่ในภาวะร้อนแรงเกินไป ระดับ p/e ของหุ้นส่วนใหญ่สูงเกินกว่าที่เราจะรับได้เช่น เกิน 40-50 เท่า ซึ่งเป็นระดับที่เหลือ earing yield 2% - 2.5% เท่านั้น ความแพงระดับนี้อาจจะเกิดขึ้นได้หากดัชนีปรับตัวร้อนแรงไป 2,000 จุดหรือมากกว่า ก็อาจจะพอสรุปได้ว่าหุ้นอาจจะแพงเกินกว่าที่จะถือต่อไปแล้วและอาจจะต้องหาทางเลือกอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าและเสี่ยงน้อยกว่า เช่น กองทุนอสังหาฯ หรือพันธบัตรรัฐบาล ก็เป็นไปได้ครับ ซึ่งผมเองก็หวังว่าดัชนีหุ้นใน 1-2 ปีจากนี้ไปคงจะไม่ร้อนแรงจนเกินไปเพราะยิ่งร้อนแรงเกินไปเท่าไหร่เวลาตลาดหมดรอบก็อาจจะปรับตัวได้แรงเช่นกันครับซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็อาจจะมีนักลงทุนได้รับความเสียหายและออกจากตลาดหุ้นไปจำนวนมากได้ครับ
สรุปแล้วผมก็ขอแนะนำให้เรามีสติกับการลงทุน ถือหลักตนเป็นที่พึ่งของตน อย่ายืมจมูกคนอื่นหายใจ ใช้หลักกาลามสูตร ให้เชื่อว่าออกแรงมากได้มาก ออกแรงน้อยได้น้อย อย่าปล่อยให้ความโลภครอบงำและอยู่เหนือเหตุผลและหลักการ การลงทุนไม่ใช่ของยากแต่ก็ไม่ง่ายเกินไปถึงขนาดที่ทุกคนจะประสบความสำเร็จหรือรวยกันได้หมด อย่าชะล่าใจกับความสำเร็จหากกำไรที่เราได้เป็นลักษณะ Right for the wrong reason ขออวยพรให้ทุกคนประสบความสำเร็จในการลงทุนสำหรับปี 2556 และจากนี้ไปครับ