หุ้นไทย ชี้ตลาดร้อนแตะฟองสบู่ ลุ้นดัชนี 1,700 จุด ฟากเซียนหุ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 18, 2013 8:56 am
นักเล่นหุ้นไทยสนุกมือปั่นกำไรหลายรอบ เดือนครึ่งวอลุ่มทะลุ 1 ล้านล้านบาท ต่างชาติถอดใจเทขายกว่า 1.3 หมื่นล้านบาท ธปท.ชี้ฝรั่งหอบเงินออกนอกประเทศแล้ว ฟากเซียนหุ้น VI เดินหน้าลงทุน
หุ้นไทย ชี้ตลาดร้อนแตะฟองสบู่ ลุ้นดัชนี 1,700 จุด
จาก ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค.-14 ก.พ. 56 ดัชนีมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากต้นปี ดัชนีปิดตลาดที่ระดับ 1,407.45 จุด วิ่งขึ้นไปแตะระดับสูงสุด 1,526.74 จุด ทำสถิติสูงสุดในรอบ 18 ปี คิดเป็นการปรับขึ้น 8.5% ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 55,391 ล้านบาท
เมื่อแยกประเภทกลุ่มนักลงทุนในช่วงกว่า 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า นักลงทุนทั่วไปในประเทศมีมูลค่าการซื้อขาย (วอลุ่ม) สูงสุดเป็นสัดส่วนถึง 60% ของวอลุ่มตลาดรวม ซึ่งพบว่ามียอดเข้าซื้อ 1,067,912.26 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 60.25% และมูลค่าการขาย 1,085,865.34 ล้านบาท คิดเป็น 61.26% โดยรวมแล้วเป็นการขายสุทธิ 17,953.08 ล้านบาท
ขณะ ที่กลุ่มนักลงทุนต่างประเทศมีสัดส่วนไม่ถึง 20% คือ มีมูลค่าการเข้าซื้อ 345,148.14 ล้านบาท หรือ 19.47% ขณะที่ยอดขาย 341,284.05 ล้านบาท หรือ 19.25% โดยมียอดซื้อสุทธิ 3,864.09 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 13,466.09 ล้านบาท และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 622.90 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าว รายงานว่า มูลค่าการซื้อขายหนาแน่น โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนในประเทศที่เล่นรอบกันสะท้อนจากวอลุ่มที่พุ่งแตะ ระดับ 1 ล้านล้านบาท นำมาสู่ปัญหาที่หน่วยงานกำกับวิตกกังวลจะไปสู่การเกิดภาวะฟองสบู่ในตลาดหุ้น ไทย ไม่ว่าจะเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เริ่มมีสัญญาณที่จะนำไปสู่การเกิดฟองสบู่ในบางกลุ่ม อย่างตลาดหุ้นไทย ซึ่งมีแรงซื้อในกลุ่มนักลงทุนไทยที่เข้ามาจำนวนมาก ขณะที่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นักลงทุนต่างชาติเริ่มขายหุ้นออก เงินในส่วนนี้ก็ไม่ได้กลับเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้เลย และถ้าดูค่าเงินบาทก็ชะลอการแข็งค่า โดยค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอ่อนตัวลงมายืนบริเวณ 29.80 บาท/ดอลลาร์ สะท้อนว่าน่าจะมีการนำเงินบางส่วนออกนอกประเทศแล้ว
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติเริ่มทำการขายหุ้นออกมาต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 5-14 กุมภาพันธ์ 2556 มียอดขายสุทธิ 13,005 ล้านบาท ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ พบว่านักลงทุนต่างชาติที่ส่วนใหญ่ลงทุนในพันธบัตรระยะสั้น เริ่มมียอดซื้อสุทธิลดลงจากต้นปีที่มียอดซื้อสุทธิสูงถึงระดับ 37,606 ล้านบาทต่อสัปดาห์ ได้เริ่มลดลงมาอยู่ที่ระดับ 17,000-26,000 ล้านบาทแล้ว
ขณะ ที่ด้านนายจรัมพร โชติกเสถียร ผู้จัดการ ตลท. กล่าวว่า ได้มีการหารือร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หรือโบรกเกอร์ เกี่ยวกับการออกมาตรการดูแลหุ้นที่ปรับตัวร้อนแรงผิดปกติ
โดยล่าสุด ได้ออกมาตรการขยายระยะเวลาในวางเงินสดเต็มจำนวนก่อนซื้อ (Cash Balance หรือแคชบาลานซ์) เป็นเวลา 6 สัปดาห์ เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2556 ท้งนี้ปัจจุบันหุ้นที่ติดแคชบาลานซ์ กำหนดระยะเวลา 3 สัปดาห์
แหล่ง ข่าวจากโบรกเกอร์ เปิดเผย ว่า เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา มีแรงเก็งกำไรสูงในหุ้นขนาดกลางและเล็ก จนทำให้ราคาปรับตัวขึ้นแรงเกินกว่าปัจจัยพื้นฐาน จนทำให้ ตลท.เกิดความวิตกกังวลเกิดปัญหาฟองสบู่
VI รอลุ้นดัชนหุ้น 1,700 จุด
ด้าน มุมมองของนายนิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนหุ้นคุณค่า (Value Investor : VI) ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน ที่เน้นหุ้นคุณภาพสูงราคาเหมาะสม กล่าวว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในขณะนี้ถือว่าราคาหุ้นแพงแล้ว แต่ยังไม่อยู่ในระดับที่เรียกว่าฟองสบู่ เนื่องจากประเทศไทยได้รับปัจจัยบวกจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะแรงกระตุ้นจากนโยบายรัฐบาล ทั้งโครงการรถยนต์คันแรก การขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ การจำนำสินค้าเกษตร ฯลฯ ซึ่งช่วยให้เกิดการบริโภคหมุนเวียน ส่งผลดีต่อความต้องการลงทุนและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ดังนั้นจึงไม่น่าเป็นห่วงมากนัก
"แม้ดัชนีระดับนี้จะถือว่าแพง แต่ยังไม่ได้อยู่ในภาวะฟองสบู่จนน่ากลัว และถ้าดัชนีจะขึ้นไป 1,700 จุด ก็ไม่แปลกใจ เพราะเป็นการปรับตัวขึ้นอย่างมีเหตุมีผล ตามทิศทางเศรษฐกิจบ้านเราที่ค่อนข้างสดใส การเมืองก็มีความมั่นคงขึ้นด้วย ดังนั้นในภาวะที่ดอกเบี้ยทั่วโลกอยู่ในระดับต่ำ และอาจจะต่ำได้อีก จึงทำให้การลงทุนในหุ้นเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับนักลงทุน"
นาย นิเวศน์ แนะนำว่า หากเป็นนักลงทุน VI ที่ต้องการลงทุนในขณะนี้ ให้ลดความเสี่ยงของพอร์ตจากภาวะตลาดร้อนแรงด้วยการเน้นเลือกกลุ่ม บจ.ที่มีรายได้อิงกับเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก รวมถึง บจ.ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มลูกค้ารากหญ้า เช่น บจ.ที่ประกอบธุรกิจเช่าซื้อ (ลีสซิ่ง) ค้าปลีก สื่อสาร ธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น ซึ่งจะมั่นใจได้ระดับหนึ่งว่าธุรกิจจะมีกำไรต่อเนื่อง และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผล หากสถานการณ์ไม่เป็นตามคาด
"จังหวะ นี้ VI ที่รู้จักกันในวงการ เท่าที่ทราบบางคนถือหุ้นอยู่ ยังไม่ได้ถอนออกจากตลาดมาก เพราะตอนนี้สถานการณ์เหมือนเรา ได้รับเชิญไปงานเลี้ยง แม้จะใกล้เที่ยงคืน แต่ทุกคนก็รอจนนาทีสุดท้ายว่าจะมีดาราซูเปอร์สตาร์มาเซอร์ไพรส์หรือเปล่า ถ้ามาจริง 1,700 จุด เป็นซุป"ตาร์ ก็คงมีขายกันบ้าง" นายนิเวศน์กล่าว
ชี้ราคาหุ้นส่วนใหญ่เก�นพื้นฐ�น
ขณะ ที่นายภาววิทย์ กลิ่นประทุม นักลงทุน VI หนุ่มไฟแรงอีกคน กล่าวว่า ตลาดหุ้นเริ่มมีความเสี่ยง เพราะราคาหุ้นส่วนใหญ่เก็งกำไรจนปรับขึ้นไปเกินพื้นฐาน จนทำให้เกิดภาวะตลาด "Over Bought" จึงแนะนำนักลงทุนควรป้องกันความเสี่ยงโดยกำหนดจุดขายตัดขาดทุน (Stop Loss) ทุก 5-10% เพื่อจำกัดขอบข่ายความเสียหายในช่วงที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลง และจะช่วยให้นักลงทุนมีเวลาวางแผนการลงทุนในรอบต่อไปมากขึ้นด้วย
"ตอน นี้นักลงทุนสามารถเกาะกระแสความคึกคักของตลาดได้ แต่จะต้องลิมิตความเสี่ยง เพราะตอนนี้ทุกคนกำลังเล่นเกมโยนเผือกร้อน ทั้งที่เข้าใจว่ามันร้อน แต่ทุกคนก็ยังหวังว่าจะไม่ใช่ไม้สุดท้าย ดังนั้นภาวะแบบนี้ต้องระวัง" นายภาววิทย์กล่าว
นายวิบูลย์ พึงประเสริฐ นักลงทุนรายใหญ่ กล่าวว่า เริ่มเห็นสัญญาณฟองสบู่ตลาดหุ้นไทยแล้ว หากดัชนีปรับขึ้นไปถึง ระดับ ไ1,700 จุดตามที่นักวิเคราะห์คาด มีโอกาสที่ตลาดหุ้นจะเข้าสู่ภาวะฟองสบู่ เพราะค่าพี/อีตลาดจะขึ้นไปที่ 16-17 เท่า แต่หากตอนนี้ดูหุ้นบางกลุ่มพบว่ามีค่าพี/อีสูงไปถึง 70-80 เท่า
นาย ธำรงชัย เอกอมรวงศ์ นักลงทุนหุ้นเทคนิค กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยยังมีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในระยะ 3-4 ปีนับจากนี้ เพียงแต่นักลงทุนต้องติดตามสัญญาณที่บ่งชี้ว่าอาจทำให้เกิดการปรับตัวลดลง ของดัชนี ซึ่งปัจจัยที่เป็นสัญญาณ ได้แก่ การขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งเป็นการดึงสภาพคล่องออกจากตลาด การผิดนัดชำระหนี้ภาคครัวเรือน ซึ่งนักลงทุนต้องระมัดระวังการพักฐานของดัชนี
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0900
หุ้นไทย ชี้ตลาดร้อนแตะฟองสบู่ ลุ้นดัชนี 1,700 จุด
จาก ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค.-14 ก.พ. 56 ดัชนีมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากต้นปี ดัชนีปิดตลาดที่ระดับ 1,407.45 จุด วิ่งขึ้นไปแตะระดับสูงสุด 1,526.74 จุด ทำสถิติสูงสุดในรอบ 18 ปี คิดเป็นการปรับขึ้น 8.5% ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 55,391 ล้านบาท
เมื่อแยกประเภทกลุ่มนักลงทุนในช่วงกว่า 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า นักลงทุนทั่วไปในประเทศมีมูลค่าการซื้อขาย (วอลุ่ม) สูงสุดเป็นสัดส่วนถึง 60% ของวอลุ่มตลาดรวม ซึ่งพบว่ามียอดเข้าซื้อ 1,067,912.26 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 60.25% และมูลค่าการขาย 1,085,865.34 ล้านบาท คิดเป็น 61.26% โดยรวมแล้วเป็นการขายสุทธิ 17,953.08 ล้านบาท
ขณะ ที่กลุ่มนักลงทุนต่างประเทศมีสัดส่วนไม่ถึง 20% คือ มีมูลค่าการเข้าซื้อ 345,148.14 ล้านบาท หรือ 19.47% ขณะที่ยอดขาย 341,284.05 ล้านบาท หรือ 19.25% โดยมียอดซื้อสุทธิ 3,864.09 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 13,466.09 ล้านบาท และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 622.90 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าว รายงานว่า มูลค่าการซื้อขายหนาแน่น โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนในประเทศที่เล่นรอบกันสะท้อนจากวอลุ่มที่พุ่งแตะ ระดับ 1 ล้านล้านบาท นำมาสู่ปัญหาที่หน่วยงานกำกับวิตกกังวลจะไปสู่การเกิดภาวะฟองสบู่ในตลาดหุ้น ไทย ไม่ว่าจะเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เริ่มมีสัญญาณที่จะนำไปสู่การเกิดฟองสบู่ในบางกลุ่ม อย่างตลาดหุ้นไทย ซึ่งมีแรงซื้อในกลุ่มนักลงทุนไทยที่เข้ามาจำนวนมาก ขณะที่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นักลงทุนต่างชาติเริ่มขายหุ้นออก เงินในส่วนนี้ก็ไม่ได้กลับเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้เลย และถ้าดูค่าเงินบาทก็ชะลอการแข็งค่า โดยค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอ่อนตัวลงมายืนบริเวณ 29.80 บาท/ดอลลาร์ สะท้อนว่าน่าจะมีการนำเงินบางส่วนออกนอกประเทศแล้ว
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติเริ่มทำการขายหุ้นออกมาต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 5-14 กุมภาพันธ์ 2556 มียอดขายสุทธิ 13,005 ล้านบาท ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ พบว่านักลงทุนต่างชาติที่ส่วนใหญ่ลงทุนในพันธบัตรระยะสั้น เริ่มมียอดซื้อสุทธิลดลงจากต้นปีที่มียอดซื้อสุทธิสูงถึงระดับ 37,606 ล้านบาทต่อสัปดาห์ ได้เริ่มลดลงมาอยู่ที่ระดับ 17,000-26,000 ล้านบาทแล้ว
ขณะ ที่ด้านนายจรัมพร โชติกเสถียร ผู้จัดการ ตลท. กล่าวว่า ได้มีการหารือร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หรือโบรกเกอร์ เกี่ยวกับการออกมาตรการดูแลหุ้นที่ปรับตัวร้อนแรงผิดปกติ
โดยล่าสุด ได้ออกมาตรการขยายระยะเวลาในวางเงินสดเต็มจำนวนก่อนซื้อ (Cash Balance หรือแคชบาลานซ์) เป็นเวลา 6 สัปดาห์ เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2556 ท้งนี้ปัจจุบันหุ้นที่ติดแคชบาลานซ์ กำหนดระยะเวลา 3 สัปดาห์
แหล่ง ข่าวจากโบรกเกอร์ เปิดเผย ว่า เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา มีแรงเก็งกำไรสูงในหุ้นขนาดกลางและเล็ก จนทำให้ราคาปรับตัวขึ้นแรงเกินกว่าปัจจัยพื้นฐาน จนทำให้ ตลท.เกิดความวิตกกังวลเกิดปัญหาฟองสบู่
VI รอลุ้นดัชนหุ้น 1,700 จุด
ด้าน มุมมองของนายนิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนหุ้นคุณค่า (Value Investor : VI) ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน ที่เน้นหุ้นคุณภาพสูงราคาเหมาะสม กล่าวว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในขณะนี้ถือว่าราคาหุ้นแพงแล้ว แต่ยังไม่อยู่ในระดับที่เรียกว่าฟองสบู่ เนื่องจากประเทศไทยได้รับปัจจัยบวกจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะแรงกระตุ้นจากนโยบายรัฐบาล ทั้งโครงการรถยนต์คันแรก การขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ การจำนำสินค้าเกษตร ฯลฯ ซึ่งช่วยให้เกิดการบริโภคหมุนเวียน ส่งผลดีต่อความต้องการลงทุนและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ดังนั้นจึงไม่น่าเป็นห่วงมากนัก
"แม้ดัชนีระดับนี้จะถือว่าแพง แต่ยังไม่ได้อยู่ในภาวะฟองสบู่จนน่ากลัว และถ้าดัชนีจะขึ้นไป 1,700 จุด ก็ไม่แปลกใจ เพราะเป็นการปรับตัวขึ้นอย่างมีเหตุมีผล ตามทิศทางเศรษฐกิจบ้านเราที่ค่อนข้างสดใส การเมืองก็มีความมั่นคงขึ้นด้วย ดังนั้นในภาวะที่ดอกเบี้ยทั่วโลกอยู่ในระดับต่ำ และอาจจะต่ำได้อีก จึงทำให้การลงทุนในหุ้นเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับนักลงทุน"
นาย นิเวศน์ แนะนำว่า หากเป็นนักลงทุน VI ที่ต้องการลงทุนในขณะนี้ ให้ลดความเสี่ยงของพอร์ตจากภาวะตลาดร้อนแรงด้วยการเน้นเลือกกลุ่ม บจ.ที่มีรายได้อิงกับเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก รวมถึง บจ.ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มลูกค้ารากหญ้า เช่น บจ.ที่ประกอบธุรกิจเช่าซื้อ (ลีสซิ่ง) ค้าปลีก สื่อสาร ธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น ซึ่งจะมั่นใจได้ระดับหนึ่งว่าธุรกิจจะมีกำไรต่อเนื่อง และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผล หากสถานการณ์ไม่เป็นตามคาด
"จังหวะ นี้ VI ที่รู้จักกันในวงการ เท่าที่ทราบบางคนถือหุ้นอยู่ ยังไม่ได้ถอนออกจากตลาดมาก เพราะตอนนี้สถานการณ์เหมือนเรา ได้รับเชิญไปงานเลี้ยง แม้จะใกล้เที่ยงคืน แต่ทุกคนก็รอจนนาทีสุดท้ายว่าจะมีดาราซูเปอร์สตาร์มาเซอร์ไพรส์หรือเปล่า ถ้ามาจริง 1,700 จุด เป็นซุป"ตาร์ ก็คงมีขายกันบ้าง" นายนิเวศน์กล่าว
ชี้ราคาหุ้นส่วนใหญ่เก�นพื้นฐ�น
ขณะ ที่นายภาววิทย์ กลิ่นประทุม นักลงทุน VI หนุ่มไฟแรงอีกคน กล่าวว่า ตลาดหุ้นเริ่มมีความเสี่ยง เพราะราคาหุ้นส่วนใหญ่เก็งกำไรจนปรับขึ้นไปเกินพื้นฐาน จนทำให้เกิดภาวะตลาด "Over Bought" จึงแนะนำนักลงทุนควรป้องกันความเสี่ยงโดยกำหนดจุดขายตัดขาดทุน (Stop Loss) ทุก 5-10% เพื่อจำกัดขอบข่ายความเสียหายในช่วงที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลง และจะช่วยให้นักลงทุนมีเวลาวางแผนการลงทุนในรอบต่อไปมากขึ้นด้วย
"ตอน นี้นักลงทุนสามารถเกาะกระแสความคึกคักของตลาดได้ แต่จะต้องลิมิตความเสี่ยง เพราะตอนนี้ทุกคนกำลังเล่นเกมโยนเผือกร้อน ทั้งที่เข้าใจว่ามันร้อน แต่ทุกคนก็ยังหวังว่าจะไม่ใช่ไม้สุดท้าย ดังนั้นภาวะแบบนี้ต้องระวัง" นายภาววิทย์กล่าว
นายวิบูลย์ พึงประเสริฐ นักลงทุนรายใหญ่ กล่าวว่า เริ่มเห็นสัญญาณฟองสบู่ตลาดหุ้นไทยแล้ว หากดัชนีปรับขึ้นไปถึง ระดับ ไ1,700 จุดตามที่นักวิเคราะห์คาด มีโอกาสที่ตลาดหุ้นจะเข้าสู่ภาวะฟองสบู่ เพราะค่าพี/อีตลาดจะขึ้นไปที่ 16-17 เท่า แต่หากตอนนี้ดูหุ้นบางกลุ่มพบว่ามีค่าพี/อีสูงไปถึง 70-80 เท่า
นาย ธำรงชัย เอกอมรวงศ์ นักลงทุนหุ้นเทคนิค กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยยังมีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในระยะ 3-4 ปีนับจากนี้ เพียงแต่นักลงทุนต้องติดตามสัญญาณที่บ่งชี้ว่าอาจทำให้เกิดการปรับตัวลดลง ของดัชนี ซึ่งปัจจัยที่เป็นสัญญาณ ได้แก่ การขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งเป็นการดึงสภาพคล่องออกจากตลาด การผิดนัดชำระหนี้ภาคครัวเรือน ซึ่งนักลงทุนต้องระมัดระวังการพักฐานของดัชนี
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0900