ตะลึงแก๊สโซฮอล์มีผลต่อสุขภาพ สหรัฐเลิกใช้กระทบระบบหายใจ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 25, 2004 11:26 am
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1925 25 ก.ค. - 28 ก.ค. 2547
ฉบับที่ 1925
ตะลึงแก๊สโซฮอล์มีผลต่อสุขภาพ สหรัฐเลิกใช้กระทบระบบหายใจ
--------------------------------------------------------------------------------
ผลการศึกษาของสหรัฐอเมริกา ชี้ชัดการเผาไหม้ของแก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล ทำให้เกิดโอโซนภาคพื้นดิน ส่งผลต่อสุขภาพระบบหายใจระคายเคือง และเป็นผลให้ใบของพืชแห้งเป็นรอยไหม้ เป็นผลให้นครลอสแองเจลิส ต้องยกเลิกการใช้ ขณะที่การตรวจวัดเส้นทางไปจ.ปทุมธานี คุณภาพอากาศแย่ พบโอโซนเกินมาตรฐาน เตรียมเร่งศึกษาวิจัย หาสัดส่วนผสมเอธานอลและน้ำมันพืชในน้ำมัน ก่อนประชาชนเจอภาวะเสี่ยง
ผศ.ดร.สาวิตรี การีเวทย์ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากที่รัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันโดยนำเอธานอลที่ผลิตได้นำมาผสมในสัดส่วน 10 % ในน้ำมันเบนซิน และตั้งเป้าไว้ว่าภายในปี 2550 จะผลิตเอธานอลให้ได้จำนวน 3 ล้านลิตรต่อวันเพื่อนำมาผสมในน้ำมันเบนซินเพื่อทดแทนสารเอ็มทีบีอี หรือสารเพิ่มคุณภาพน้ำมันนั้น อีกทั้งการนำน้ำมันพืชมาผสมร้อยละ 2 ในน้ำมันดีเซลเป็นไบโอดีเซล ที่รัฐบาลมีเป้าหมายผลิต 2.4 ล้านลิตร ในปี 2554 นั้น
ทั้งนี้ จากการศึกษาของหน่วยงานด้านพลังงานและเชื้อเพลิงของสหรัฐอเมริกา และข้อมูลของนายLarry Anderson อาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยโคโรลาโด สหรัฐอเมริกา โดยใช้แบบจำลองทางคณิศาสตร์พบว่า ผลจากการเผาไหม้ของแก๊สโซฮฮล์และไบโอดีเซลนั้น จะก่อให้เกิดการปล่อยสารAldehyde ซึ่งเป็นไฮโดรคาร์บอนที่มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบสูงกว่าน้ำมันเบนซินทั่วไป ส่งผลให้เกิดโอโซนภาคพื้นดินที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไป ทำให้เกิดการระคายเคืองในปอด เกิดผลกระทบต่อระบบหายใจ และยังมีผลกระทบต่อใบของพืชเกิดการไหม้ หากโอโซนนั้นเกิดกว่าระดับมาตรฐานที่กำหนด 100 พีพีบีใน 1 ชั่วโมง ทำให้เป็นห่วงว่าหากมีการนำแก๊สโซฮฮล์และไบโอดีเซลมาใช้ในปริมาณที่มากขึ้นจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและทางด้านกสิกรรมของประเทศได้
จากผลการศึกษาดังกล่าว ได้ส่งผลให้นครลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ต้องยกเลิกการใช้แก๊สโซฮอล์ ทั้งที่สหรัฐอเมริกาเอง เป็นประเทศหนึ่งในการพัฒนาใช้พลังงานทดแทนขึ้นมาเป็นจำนวนมากในเวลานี้ กับต้องยุติไป เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับประชากรของตนเอง แม้จะผสมเอธานอลในน้ำมนเบนซินเพียงร้อยละ 10 ก็ตาม
ผศ.ดร.สาวิตรี กล่าวอีกว่า จากสัญญาณดังกล่าวนี้เอง ทำให้มีการวิตกว่า หากรัฐบาลจะผลักดันการใช้แก๊สโซฮฮล์และไบโอดีเซลต่อไป ผลกระทบดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อประชากรของประเทศและผลิตผลทางการเกษตรหรือไม่ เนื่องจากเวลานี้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการตรวจวัดปริมาณโอโซนภาคพื้นดิน ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล พบว่า จะมีปริมาณเกิดมาตรฐานในบางเวลาบริเวณเส้นทางไปจังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีปริมาณสูงกว่า 130 พีพีบีใน 1 ชั่วโมง ในขณะที่ค่าเฉลี่ยโดยรวมยังไม่เกินมาตรฐาน
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและรองรับการใช้พลังงานทดแทนนี้ ทางบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม จะร่วมกันศึกษาและวิจัย ผลกระทบดังกล่าวโดยจะจัดทำแผนที่นำทางวิจัยและพัฒนา โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและตรวจวัดหาปริมาณโอโซนภาคพื่นดิน และนำมาใส่ในแบบจำลองสถานการณ์ โดยใช้แบบจำนลองทางคณิตศาสตร์มาเป็นตัวช่วย เพื่อที่จะหาความเหมาะสมของการผสมเอธานอลในน้ำมันเบนซินและน้ำมันพืชในสัดส่วนที่เท่าใด จึงจะไม่มีผลต่อสุขภาพและผลกระทบกับพืช โดยแผนที่นำทางคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2548 นี้ ทั้งนี้ เพื่อนำผลดังกล่าวเสนอต่อสภาวิจัยแห่งชาติ ก่อนที่จะนำสู่การพิจารณาในระดับนโยบายของประเทศต่อไป
ฉบับที่ 1925
ตะลึงแก๊สโซฮอล์มีผลต่อสุขภาพ สหรัฐเลิกใช้กระทบระบบหายใจ
--------------------------------------------------------------------------------
ผลการศึกษาของสหรัฐอเมริกา ชี้ชัดการเผาไหม้ของแก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล ทำให้เกิดโอโซนภาคพื้นดิน ส่งผลต่อสุขภาพระบบหายใจระคายเคือง และเป็นผลให้ใบของพืชแห้งเป็นรอยไหม้ เป็นผลให้นครลอสแองเจลิส ต้องยกเลิกการใช้ ขณะที่การตรวจวัดเส้นทางไปจ.ปทุมธานี คุณภาพอากาศแย่ พบโอโซนเกินมาตรฐาน เตรียมเร่งศึกษาวิจัย หาสัดส่วนผสมเอธานอลและน้ำมันพืชในน้ำมัน ก่อนประชาชนเจอภาวะเสี่ยง
ผศ.ดร.สาวิตรี การีเวทย์ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากที่รัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันโดยนำเอธานอลที่ผลิตได้นำมาผสมในสัดส่วน 10 % ในน้ำมันเบนซิน และตั้งเป้าไว้ว่าภายในปี 2550 จะผลิตเอธานอลให้ได้จำนวน 3 ล้านลิตรต่อวันเพื่อนำมาผสมในน้ำมันเบนซินเพื่อทดแทนสารเอ็มทีบีอี หรือสารเพิ่มคุณภาพน้ำมันนั้น อีกทั้งการนำน้ำมันพืชมาผสมร้อยละ 2 ในน้ำมันดีเซลเป็นไบโอดีเซล ที่รัฐบาลมีเป้าหมายผลิต 2.4 ล้านลิตร ในปี 2554 นั้น
ทั้งนี้ จากการศึกษาของหน่วยงานด้านพลังงานและเชื้อเพลิงของสหรัฐอเมริกา และข้อมูลของนายLarry Anderson อาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยโคโรลาโด สหรัฐอเมริกา โดยใช้แบบจำลองทางคณิศาสตร์พบว่า ผลจากการเผาไหม้ของแก๊สโซฮฮล์และไบโอดีเซลนั้น จะก่อให้เกิดการปล่อยสารAldehyde ซึ่งเป็นไฮโดรคาร์บอนที่มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบสูงกว่าน้ำมันเบนซินทั่วไป ส่งผลให้เกิดโอโซนภาคพื้นดินที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไป ทำให้เกิดการระคายเคืองในปอด เกิดผลกระทบต่อระบบหายใจ และยังมีผลกระทบต่อใบของพืชเกิดการไหม้ หากโอโซนนั้นเกิดกว่าระดับมาตรฐานที่กำหนด 100 พีพีบีใน 1 ชั่วโมง ทำให้เป็นห่วงว่าหากมีการนำแก๊สโซฮฮล์และไบโอดีเซลมาใช้ในปริมาณที่มากขึ้นจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและทางด้านกสิกรรมของประเทศได้
จากผลการศึกษาดังกล่าว ได้ส่งผลให้นครลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ต้องยกเลิกการใช้แก๊สโซฮอล์ ทั้งที่สหรัฐอเมริกาเอง เป็นประเทศหนึ่งในการพัฒนาใช้พลังงานทดแทนขึ้นมาเป็นจำนวนมากในเวลานี้ กับต้องยุติไป เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับประชากรของตนเอง แม้จะผสมเอธานอลในน้ำมนเบนซินเพียงร้อยละ 10 ก็ตาม
ผศ.ดร.สาวิตรี กล่าวอีกว่า จากสัญญาณดังกล่าวนี้เอง ทำให้มีการวิตกว่า หากรัฐบาลจะผลักดันการใช้แก๊สโซฮฮล์และไบโอดีเซลต่อไป ผลกระทบดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อประชากรของประเทศและผลิตผลทางการเกษตรหรือไม่ เนื่องจากเวลานี้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการตรวจวัดปริมาณโอโซนภาคพื้นดิน ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล พบว่า จะมีปริมาณเกิดมาตรฐานในบางเวลาบริเวณเส้นทางไปจังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีปริมาณสูงกว่า 130 พีพีบีใน 1 ชั่วโมง ในขณะที่ค่าเฉลี่ยโดยรวมยังไม่เกินมาตรฐาน
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและรองรับการใช้พลังงานทดแทนนี้ ทางบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม จะร่วมกันศึกษาและวิจัย ผลกระทบดังกล่าวโดยจะจัดทำแผนที่นำทางวิจัยและพัฒนา โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและตรวจวัดหาปริมาณโอโซนภาคพื่นดิน และนำมาใส่ในแบบจำลองสถานการณ์ โดยใช้แบบจำนลองทางคณิตศาสตร์มาเป็นตัวช่วย เพื่อที่จะหาความเหมาะสมของการผสมเอธานอลในน้ำมันเบนซินและน้ำมันพืชในสัดส่วนที่เท่าใด จึงจะไม่มีผลต่อสุขภาพและผลกระทบกับพืช โดยแผนที่นำทางคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2548 นี้ ทั้งนี้ เพื่อนำผลดังกล่าวเสนอต่อสภาวิจัยแห่งชาติ ก่อนที่จะนำสู่การพิจารณาในระดับนโยบายของประเทศต่อไป