หน้า 1 จากทั้งหมด 1

Shale Gas ทางรอดพลังงานที่โลกยังต้องลุ้น

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 07, 2012 9:47 am
โดย patongpa
Shale Gas ทางรอดพลังงานที่โลกยังต้องลุ้น




ไม่กี่ปีมานี้ คำว่า “Shale Gas” กลายเป็นศัพท์ฮิตในอุตสาหกรรมพลังงานโลก ในฐานะทางเลือกใหม่ที่จะมาแทนที่พลังงานในรูปแบบอื่นๆ ท่ามกลางราคาน้ำมันที่ผันผวน และทรัพยากรพลังงานแบบดั้งเดิมที่เริ่มร่อยหรอ

Shale Gas หรือก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน ช่วยให้โลกมีปริมาณก๊าซสำรองเพิ่มขึ้นมหาศาล แต่เนื่องจากก๊าซธรรมชาติถูกกักอยู่ในหินดินดาน ทำให้กระบวนการขุดเจาะที่ซับซ้อนมากกว่าก๊าซธรรมชาติแบบดั้งเดิม ขณะที่สหรัฐค้นพบเทคโนโลยีที่เรียกว่า Hydraulic Fracturing หรือการขุดเจาะโดยใช้น้ำแรงดันสูง ผสมสารเคมีและทรายเพื่อให้หินแตกร้าว ซึ่งใช้ต้นทุนต่ำลงเมื่อเทียบกับการขุดเจาะในแหล่งพลังงานดั้งเดิม

นี่ทำให้บริษัทพลังงานหลายแห่งพยายามจะเดินตามรอยความสำเร็จของสหรัฐ แต่ก็ใช่ว่าจะทำได้ง่ายดาย เพราะปัจจัยที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ทำให้สหรัฐยังคงมีความได้เปรียบด้านการแข่งขันค่อนข้างมาก

ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจากหินดินดานที่เพิ่งค้นพบใหม่ ช่วยปลุกอุตสาหกรรมพลังงานในอเมริกาเหนือ และกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมจากราคาพลังงานที่ต่ำลง ขณะเดียวกัน ก็พบข้อมูลว่ามีแหล่งก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานขนาดใหญ่อยู่นอกอเมริกาเหนือ ทำให้ทั้งภาครัฐและเอกชนกระตือรือร้นที่จะร่วมกระแสนี้

แต่ดูเหมือนบริษัทน้ำมันหลายรายกำลังเผชิญกับอุปสรรคจากการเดินตามรอยความสำเร็จของสหรัฐในแหล่งก๊าซบนทวีปอื่นๆ โดยเหตุผลที่ทำให้ยังไม่ถึงฝั่งฝัน เพราะรัฐบาลเป็นเจ้าของสิทธิแหล่งแร่ รวมถึงความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม และขาดโครงสร้างพื้นฐานในการขุดเจาะและขนส่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน นอกจากนี้ ยังเป็นเพราะขาดข้อมูลทางธรณีวิทยาเกี่ยวกับแหล่งพลังงานในประเทศต่างๆ ผิดกับสหรัฐที่กิจกรรมด้านขุดเจาะพลังงานดำเนินมายาวนานกว่าศตวรรษ

หมายความว่า จนถึงขณะนี้ สหรัฐและแคนาดายังคงเป็นประเทศหลักที่เก็บเกี่ยวความได้เปรียบเชิงเศรษฐกิจ จากการพัฒนาเรื่องก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานที่ล้ำหน้าประเทศอื่นๆ และการที่ทั้ง 2 ประเทศมีก๊าซธรรมชาติและสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอย่างล้นเหลือ มีส่วนดึงดูดให้บริษัทปิโตรเคมีและผู้ผลิตปุ๋ยเข้ามาสร้างโรงงานใหม่ แทนที่จะยกขบวนออกไปตั้งฐานผลิตนอกบ้านอย่างที่ทำมาตลอดหลายปี โดยเฉพาะรัฐเท็กซัสและนอร์ทดาโกต้าที่ได้อานิสงส์จากแหล่งพลังงานจากหินดินดาน ทำให้เศรษฐกิจท้องถิ่นเติบโตขึ้นจากกิจกรรมการขุดเจาะแบบใหม่

ขณะที่โปแลนด์ ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในผู้เล่นรายสำคัญในตลาดนี้ กลับต้องผิดหวัง เมื่อพบปริมาณก๊าซไม่มากอย่างที่คาดไว้ บวกับความกังวลของชุมชนเกี่ยวกับการขุดเจาะ รวมถึงการปรับเปลี่ยนกฎเรื่องภาษีและค่าธรรมเนียม ส่งผลให้ “เอ็กซอน โมบิล คอร์ป” ตัดสินใจโยนผ้าขาวยอมแพ้ในโปแลนด์ หลังจากขุดเจาะก๊าซแค่ 2 หลุม โดยบริษัทให้เหตุผลว่า ไม่พบน้ำมันหรือก๊าซมากพอที่จะเดินหน้าขุดเจาะเพิ่มเติม

จีน เป็นอีกประเทศหนึ่งที่คาดกันว่าน่าจะมีน้ำมันและก๊าซจากชั้นหินดินดานมหาศาล มากกว่าในสหรัฐเสียอีก แต่ปัญหาอยู่ที่แหล่งก๊าซจากหินดินดานส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง หรือไม่ก็มีประชากรหนาแน่น นอกจากนี้ บริษัทน้ำมันยังกังวลว่าอาจไม่มีปริมาณน้ำมากพอที่จะใช้แรงดันน้ำทำให้หินแตกออก ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้สารไฮโดรคาร์บอนออกมาจากชั้นหิน

ไซมอน เฮนรี ผู้อำนวยการบริหารของโรยัล ดัตช์ เชลล์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บอกว่า การจะสร้างแท่นขุดเจาะก๊าซจากหินดินดาน อาจต้องขออนุญาตขุดเจาะพื้นที่บางส่วนของภูเขา หรือไม่ก็บนนาข้าวของใครสักคน

เช่นเดียวกับอาร์เจนตินา ที่เมื่อเร็วๆ นี้เพิ่งยึดคืนบริษัทของสเปนเป็นของรัฐ ก็ค้นพบแหล่งพลังงานจากหินดินดานขนาดใหญ่ที่น่าจะมีน้ำมันเกือบ 1 พันล้านบาร์เรล แต่กฎระเบียบที่เข้มงวดทำให้นำเข้าเทคโนโลยีที่จำเป็นได้ยาก เช่นเดียวกับการส่งกำไรกลับบ้าน “อาปาเช่ คอร์ป” ที่ได้สิทธิขุดเจาะแหล่งพลังงานจากหินดินดานราว 450,000 เอเคอร์ ระบุว่า อาจจะมีต้นทุนในการขุดเจาะสูงกว่าที่สหรัฐราว 2 เท่า และอาจต้องใช้ต้นทุนในการทำให้หินแตกเพื่อเริ่มการผลิตสูงกว่าราวๆ 2-4 เท่า

ส่วนประเทศอื่นๆ อย่างฝรั่งเศส บัลแกเรีย ต่างก็ห้ามใช้เทคโนโลยีขุดเจาะด้วยแรงดันน้ำ เนื่องจากกังวลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงพับแผนพัฒนาเรื่องนี้เอาไว้ก่อน

“โจเซฟ สแตนิสลอว์” ที่ปรึกษาอาวุโสด้านพลังงานของดีลอยต์ มองว่า ยังมีโอกาสในการพัฒนาพลังงานจากหินดินดานอีกมาก เมื่ออุตสาหกรรมนี้ก้าวสู่ความจริง และเริ่มต้นจริงจัง พลังงานจากหินดินดานก็จะทะยานขึ้นเหมือนในสหรัฐ แต่ระยะเวลาอาจจะยาวนานกว่าที่หลายคนคาดคิด

เพราะความสำเร็จของสหรัฐเกิดขึ้นจากปัจจัยที่แตกต่าง เทคโนโลยีการขุดเจาะด้วยน้ำแรงดันสูงบุกเบิกโดยบริษัทขนาดเล็กที่ต้องการเสี่ยง รวมทั้งได้แรงหนุนจากเจ้าของที่ดินที่ถือสิทธิครอบครองแหล่งแร่ และพร้อมจะแลกกับผลกำไร ขณะที่อุตสาหกรรมพลังงานสหรัฐมีเครือข่ายท่อก๊าซและแท่นขุดเจาะจำนวนมาก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้มีอยู่ในพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของโลก ดังนั้น การผลิตก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานจึงเป็นโมเดลเฉพาะของสหรัฐ

อีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญในบทเรียนความสำเร็จของสหรัฐ แต่มักถูกมองข้าม คือ การพัฒนาพลังงานจากหินดินดานส่วนใหญ่เป็นก๊าซจากใต้พื้นดิน จึงก่อความกังวลเกี่ยวกับการขุดเจาะในพื้นที่ของเจ้าของที่ดินที่ต้องการผลกำไร แตกต่างกับในประเทศอื่นๆ ที่สิทธิแหล่งแร่เป็นของรัฐ จึงไม่ค่อยจูงใจการขุดเจาะเชิงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

ความแตกต่างอีกประการ คือ ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งพลังงานจากหินดินดานที่ค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับสหรัฐที่ขุดเจาะแหล่งพลังงานนับหมื่นแห่ง และมีข้อมูลทางธรณีวิทยาที่ต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ แม้ว่านักธรณีวิทยาอาจจะพอรู้ว่าแหล่งพลังงานจากหินดินดานในประเทศต่างๆ อยู่ที่ไหน แต่ไม่รู้ว่าสภาพหินแบบไหนที่เหมาะต่อการใช้เทคโนโลยีขุดเจาะด้วยน้ำแรงดันสูง

แต่การลงทุนก็อาจคุ้มค่ากับการเสี่ยง เพราะผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า ปริมาณก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานน่าจะมีอยู่มหาศาล โดยผลการศึกษาของรัฐบาลสหรัฐในปีที่แล้ว ประเมินว่า แหล่งพลังงานจากหินดินดานน่าจะมีอยู่ใน 32 ประเทศทั่วโลก คิดเป็นปริมาณมากถึง 6.6 พันล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือคิดเป็นปริมาณการบริโภคทั้งโลกในขณะนี้ ได้ยาวนานกว่า 50 ปี ขณะที่สหรัฐครอบครอง 862 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือ 13% ของที่ประเมินทั้งหมด

เพียงแต่อาจต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะได้ปริมาณที่มากเพียงพอ ซึ่งทั้งเชฟรอนและบริษัทอื่นๆ ต่างหวังว่าจะสร้างอุตสาหกรรมการกลั่นก๊าซจากหินดินดานในโปแลนด์ได้สำเร็จ และพบก๊าซมากพอที่จะทำให้คุ้มค่ากับต้นทุนการขุดเจาะ แต่ตอนนี้รัฐบาลยังเผชิญกับแรงต้านจากประชาชน ส่งผลให้กระบวนการออกใบอนุญาตขุดเจาะล่าช้า

“พิออตร์ วอสเนียก” รัฐมนตรีช่วยกระทรวงสิ่งแวดล้อม ของโปแลนด์ บอกว่า กฎหมายพลังงานฉบับใหม่จะจัดสรรเงินชดเชยให้รัฐบาลท้องถิ่นที่มีการดำเนินการขุดเจาะพลังงาน ซึ่งจะช่วยลดแรงต้านจากคนในท้องถิ่นได้

ขณะที่ “พิออตร์ แดมป์” ชาวบ้านที่เพิ่งขายที่ดิน เล่าว่า ถูกบริษัทกดดันให้ต้องขายที่ไป เพราะก๊าซที่อยู่ใต้ดินเป็นของรัฐ และอาจต้องเวนคืนที่ดินบางส่วนเพื่อตั้งแท่นขุดเจาะ แต่หากไม่ยอมขาย กระบวนการก็อาจยาวนานออกไปอีก



ที่มา:กรุงเทพธุรกิจ

Re: Shale Gas ทางรอดพลังงานที่โลกยังต้องลุ้น

โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 08, 2012 12:28 am
โดย Tamจัง
บริษัท Shale Gas จะเจ๊งกันหมดแล้วครับ
ราคาต้นทุนจริงทุกวันนี้มากกว่า $8 แต่ราคาขาย $3-4
ยังไม่ถึงเวลาของ Shale Gas หรอกครับ

Re: Shale Gas ทางรอดพลังงานที่โลกยังต้องลุ้น

โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 10, 2012 12:28 am
โดย CARPENTER
Tamจัง เขียน:บริษัท Shale Gas จะเจ๊งกันหมดแล้วครับ
ราคาต้นทุนจริงทุกวันนี้มากกว่า $8 แต่ราคาขาย $3-4
ยังไม่ถึงเวลาของ Shale Gas หรอกครับ
ต่ออะไรครับ หน่วยที่เป็นลูกบาศน์ หนือ น้ำหนักก็ได้ครับ

ถามท่านผู้รู้
1.Shale Gas กับ Gasในอ่าวไทยชนิดของ Gasต่างกันไม๊ครับ
2.Shale Gas อยู่ใต้หินดินดาน และ Gasในอ่าวไทย มันอยู่ในระดับไหนครับ
3.น้ำมันที่อยู่ในทะเล มันอยู่ลึกขนาดไหนครับ
4.เดาว่าพลังงานและGas ที่เราใช้มันอยู่ตื้นกว่าหินดินดานใช่ไม๊ครับ

Re: Shale Gas ทางรอดพลังงานที่โลกยังต้องลุ้น

โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 10, 2012 8:18 am
โดย ดำ
อย่างน้อย เมื่อไม่นานมานี้ ก็ทำให้ผมได้อ่านเจอข่าวแบบที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยเจอ
คือ โอเปคออกมาบอกว่าจะคงการผลิตไว้ระดับนี้ เพราะพอใจราคาขายน้ำมัน
ขณะที่ ฝั่งยุโรปออกมาบอกว่า ถ้าโอเปคไม่ยอมลดกำลังการผลิต ราคาน้ำมันอาจร่วงไปเกินสิบเหรียญ

Re: Shale Gas ทางรอดพลังงานที่โลกยังต้องลุ้น

โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 10, 2012 4:02 pm
โดย kasam
ผมคิดว่าประเด็นที่สะเทือนวงการพลังงานน่าจะอยู่ที่ปริมาณนำ้มันในชั้นหินดินดานครับ
เพราะมันเยอะครับเดิมไม่สามารถนำออกมาใช้ได้ทำให้พลังงานทางเลือกอื่นต้องจบอะซิครับถ้า
สามารถใช้เทคนิคใหม่ในการขุดได้ทุกภูมิภาคเพราะน้แก๊สและำมันในขั้นหินดินดานมีอยู่ทั่วโลกครับ
ผมคาดว่าเดิมน้ำมันจะหมดภายใน 50 ปี ตอนนี้ถ้าเป็นจริงมองการ 100 ปีครับ

Re: Shale Gas ทางรอดพลังงานที่โลกยังต้องลุ้น

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 12, 2012 9:52 am
โดย CARPENTER
ผมอ่านเรื่อง shale gas มาหลายครั้งแล้วแมีหลายเรื่องที่ผมไม่เข้าใจ
แต่เป็นไปได้มากว่าอเมริกา จะกลับมายิ่งใหญ่อีกเพราะ shale gas
อมเริกาจะโดดเด่นในอุตสาหกรรมต้นน้ำ เช่น ปิโตเคมี พลังงาน เหล็ก อีกเยอะที่ผมไม่รู้
นอกจากนี้ยังเป็นผลต่อดีต่อความสงบสุขของคนทั้งโลก
นโยบายในการกอบโกยพลังงานจากประเทศต่างๆทั่วโลกจะลดลง
การบุกอีรักของอเมริกามีสาเหตุมาจากน้ำมัน
ภัยจากสงครามก็จะลดลง มีแต่ภัยธรรมชาติเท่านั้นจะเพิ่มขึ้น

Re: Shale Gas ทางรอดพลังงานที่โลกยังต้องลุ้น

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 12, 2012 11:14 am
โดย YEAN
ขอแชร์ความคิดเห็นหน่อยน่ะครับ ผมเป็นคนนึงที่ค่อนข้างแปลกใจว่าทำไมอเมริกาถึงมีต้นทุนในการผลิต shale gas ที่ถูกมาก เพราะในกระบวนการผลิตก๊าซจากชั้นหินดินดานนั้นค่อนข้างยุ่งยาก เนื่องจากสาเหตุหลายประการดังนี้
1. แหล่งก๊าซของชั้นหินดินดานนั้นโดยเฉลี่ยจะอยู่ลึกกว่า conventional gas ทั่วไป ทำให้ค่าขุดเจาะแพงกว่า
2. โดยปกติชั้นหินดินดานไม่มีรูพรุนที่สามารถให้ก๊าซไหลออกมาได้โดยธรรมชาติ ทำให้ต้องใช้เทคนิคพิเศษในการขุดเจาะคือ เมื่อถึงชั้นหินที่ต้องการผลิตต้องเจาะแบบ horizontal เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการผลิต และต้องมีการทำ hydraulic fracturing คือการสร้างรอยแยกในชั้นหินเพื่อสร้างรูพรุนให้ก๊าซไหลได้
โดยทั้งสองประการนี้ทำให้ค่าใช้จ่ายในการขุดเจาะของแหล่ง shale gas แพงกว่าแบบทั่วไป 5-10 เท่าเลยทีเดียว

แต่หลังจากได้มีโอกาสคุยกับเพื่อนเก่าซึ่งตอนนี้เรียนเอกอยู่ทีอเมริกาก็ได้ความว่า ค่าใช้จ่ายในการขุดเจาะนั้นที่จริงยังแพงกว่าธรรมดาอยู่มาก แต่ที่สามารถผลิตมาขายในราคาถูกได้คงเป็นเพราะ ก๊าซที่ได้จากชั้นหินดินดานที่นั้นส่วนมากเป็น wet gas คือมีส่วนผสมของ condensate อยู่มาก (condensate มีราคาสูงเนื่องจากสามารถนำไปผลิตน้ำมันเบนซินและดีเซลได้ เหมือนที่ RPC เคยซื้อจาก PTT มาผลิตน้ำมันนั่นเอง) ทำให้ก๊าซเบาที่ได้เหมือนเป็นผลพลอยได้ทำให้สามารถขายได้ในราคาถูก เมื่อมีการขุดเจาะแหล่ง shale gas มากขึ้นเพื่อเอา condensate ก๊าซเบาจึงมีปริมาณมากขึ้นเรื่อยทำให้บริษัทที่ผลิตต้องลดราคาเพื่อสร้างความต้องการมากขึ้น ณ ปัจจุบันเหลือ 2 เหรียญกว่าเอง และไม่ได้กระทบเฉพาะถ่านหิน แต่กระทบบริษัทผู้ผลิตก๊าซที่มีแหล่งผลิตเป็น dry gas คือมีแต่ก๊าซเบา ทำให้ตอนนี้บางบริษัทถึงกับต้องหยุดผลิตไปเลย ซึ่งเหตุการณ์ตรงนี้มองว่าไม่น่าจะอยู่ได้ตลอดไปเพราะราคาก๊าซ ณ ปัจจุบัน บิดเบือนจากโครงสร้างต้นทุนที่แท้จริง

Re: Shale Gas ทางรอดพลังงานที่โลกยังต้องลุ้น

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 12, 2012 11:37 am
โดย CARPENTER
"บ่อน้ำมันเพียงบ่อเดียว..สามารถดูดน้ำมัน/ก๊าซธรรมชาติในแนวขวางได้มากกว่า 10 แหล่ง"
มาจาก
http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=38867
บางทีการขุดเจาะชั้นหินดินดานอาจจะไม่แพงอย่างที่คิดก็ได้

Re: Shale Gas ทางรอดพลังงานที่โลกยังต้องลุ้น

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 12, 2012 2:11 pm
โดย YEAN
CARPENTER เขียน:"บ่อน้ำมันเพียงบ่อเดียว..สามารถดูดน้ำมัน/ก๊าซธรรมชาติในแนวขวางได้มากกว่า 10 แหล่ง"
มาจาก
http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=38867
บางทีการขุดเจาะชั้นหินดินดานอาจจะไม่แพงอย่างที่คิดก็ได้
โดยปกติการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในแต่ละหลุมก็มีการผลิตจากหลายแหล่งกักเก็บอยู่แล้ว โดยเฉพาะในอ่าวไทยที่แหล่งกักเก็บมีขนาดเล็ก และที่ทุกคนพูดว่าอเมริกามีเทคโนโลยีใหม่ horizontal drilling / hydraulic fracturing ก็ดี มันมีมานานมากแล้ว และถ้าสังเกตุให้ดีบริษัทส่วนใหญ่ที่ลงทุน shale gas ในประเทศอื่น ก็เป็นบริษัทพลังงานขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นบริษัทอเมริกาทั้งนั้น จะไม่มีเทคโนโลยีเท่าที่ผลิตอยู่ในอเมริกาหรือ ฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น (new normal พูดกันที่ประมาณ $100) ทำให้ condensate ที่ผลิตได้จากแหล่ง shale gas มีมูลค่ามากกว่า เพราะไม่มีน้ำมันเตาที่ค่าการกลั่นติดลบ ดังนั้นประเด็นสำคัญของแหล่ง shale gas อื่นที่จะผลิตเพื่อการพาณิชย์ได้ ต้องเป็นแหล่งที่ใหญ่ และเป็น wet gas ยิ่ง %condy มากยิ่งดี ถึงจะคุ้มกับการลงทุน

Re: Shale Gas ทางรอดพลังงานที่โลกยังต้องลุ้น

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 12, 2012 10:52 pm
โดย Roustabout
CARPENTER เขียน:
Tamจัง เขียน:บริษัท Shale Gas จะเจ๊งกันหมดแล้วครับ
ราคาต้นทุนจริงทุกวันนี้มากกว่า $8 แต่ราคาขาย $3-4
ยังไม่ถึงเวลาของ Shale Gas หรอกครับ
ต่ออะไรครับ หน่วยที่เป็นลูกบาศน์ หนือ น้ำหนักก็ได้ครับ

ถามท่านผู้รู้
1.Shale Gas กับ Gasในอ่าวไทยชนิดของ Gasต่างกันไม๊ครับ
2.Shale Gas อยู่ใต้หินดินดาน และ Gasในอ่าวไทย มันอยู่ในระดับไหนครับ
3.น้ำมันที่อยู่ในทะเล มันอยู่ลึกขนาดไหนครับ
4.เดาว่าพลังงานและGas ที่เราใช้มันอยู่ตื้นกว่าหินดินดานใช่ไม๊ครับ
ขอตอบข้อ 3 ครับ
แหล่งปิโตรเลียม อยู่ที่ความลึก (True vertical depth) ประมาณ 2,000 - 2,500 m TVD ครับ
ข้อมูลจากตอนที่ผมทำ thesis

จริงๆ ยังมีแหล่งปิโตรเลียมอีกครับ แต่ยังอยู่ใน possible reserve
คงต้องรอให้ราคาน้ำมันดิบ/แก๊ส เพิ่มขึ้นอีก เพื่อที่จะให้คุมทุน

ส่วนข้ออื่นๆ ขอให้ Reservoir Engineer มาตอบดีกว่านะครับ
ใน ThaiVI มี Reservoir Engineer ของ PTTEP, Chevron ช่วยมาตอบหน่อยครับ

Re: Shale Gas ทางรอดพลังงานที่โลกยังต้องลุ้น

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 12, 2012 11:21 pm
โดย YEAN
Roustabout เขียน:
CARPENTER เขียน:
Tamจัง เขียน:บริษัท Shale Gas จะเจ๊งกันหมดแล้วครับ
ราคาต้นทุนจริงทุกวันนี้มากกว่า $8 แต่ราคาขาย $3-4
ยังไม่ถึงเวลาของ Shale Gas หรอกครับ
ต่ออะไรครับ หน่วยที่เป็นลูกบาศน์ หนือ น้ำหนักก็ได้ครับ

ถามท่านผู้รู้
1.Shale Gas กับ Gasในอ่าวไทยชนิดของ Gasต่างกันไม๊ครับ
2.Shale Gas อยู่ใต้หินดินดาน และ Gasในอ่าวไทย มันอยู่ในระดับไหนครับ
3.น้ำมันที่อยู่ในทะเล มันอยู่ลึกขนาดไหนครับ
4.เดาว่าพลังงานและGas ที่เราใช้มันอยู่ตื้นกว่าหินดินดานใช่ไม๊ครับ
ขอตอบข้อ 3 ครับ
แหล่งปิโตรเลียม อยู่ที่ความลึก (True vertical depth) ประมาณ 2,000 - 2,500 m TVD ครับ
ข้อมูลจากตอนที่ผมทำ thesis




จริงๆ ยังมีแหล่งปิโตรเลียมอีกครับ แต่ยังอยู่ใน possible reserve
คงต้องรอให้ราคาน้ำมันดิบ/แก๊ส เพิ่มขึ้นอีก เพื่อที่จะให้คุมทุน

ส่วนข้ออื่นๆ ขอให้ Reservoir Engineer มาตอบดีกว่านะครับ
ใน ThaiVI มี Reservoir Engineer ของ PTTEP, Chevron ช่วยมาตอบหน่อยครับ


ชนิดของ gas ในแต่ละแหล่งมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันไม่ได้ขึ้นกับว่าอยู่ในแหล่งกักเก็บที่เป็นหินชนิดไหนครับ
ผมขออธิบายนิดนึงว่า การเกิดของปิโตรเลียมในปัจจุบันนั้นตามทฤษฎีเกิดขึ้นได้จากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ในสภาวะ anaerobic คือไม่มีอ็อกซิเจน (ถ้ามีอ็อกซิเจนก็จะกลายเป็น CO2 กับ H2O) ซึ่งโดยมากจะเกิดที่ก้นแม่น้ำ บึง หรือ ทะเล และส่วนมากจะเป็นโคลนตม ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของหินดินดาน พอเวลาผ่านไปนานนานการทับถมที่มากขึ้นก็ทำให้ชั้นหินนั้นอยู่ลึกลงไป ถ้าเวลาประจวบเหมาะที่ทำให้ซากเหล่านั้นกลายเป็นปิโตเลียมก่อนที่ชั้นโคลนนั้นจะกลายเป็นหิน น้ำหนักที่กดทับด้านบนจะทำให้ปิโตเลียมเคลื่อนที่ไปสะสมที่ไหนซักแห่ง และจะกลายเป็นแหล่งกักเก็บต่อไป ซึ่งส่วนมากจะเป็นหินทรายหรือหินปูน นี่คือ conventional reservoir ทั่วไป แต่ถ้าชั้นโคลนนั้นกลายเป็นหินก่อน ก็จะทำให้ปิโตรเลียมติดอยู่ในชั้นหินดินดานหรือที่เราเรียกกันว่า shale gas นั่นเองครับ ดังนั้นโดยมาก shale gas โดยเฉลี่ย จะมีความลึกที่มากกว่าแหล่งกักเก็บทั่วไปครับ

Re: Shale Gas ทางรอดพลังงานที่โลกยังต้องลุ้น

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 13, 2012 10:50 am
โดย chukieat30
ประเทศมหาอำนาจ อย่างจีน กว่าจะเริ่มใช้เชลล์แก๊ซได้

ยังไงก้ต้องใช้เวลาเกิน 5 ปี+ ครับ

อินฟราสตรัคของเค้าไม่ได้ แก้กันง่ายในปีสองปี


ผมมองว่าอีก 5-10ปี ถ่านหินจึงจะดรอป ลง

Re: Shale Gas ทางรอดพลังงานที่โลกยังต้องลุ้น

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 13, 2012 12:17 pm
โดย CARPENTER
ขอบคุณมากครับ คุณYEAN
ทำให้ผมหายสงสัยหลายเรื่อง

Re: Shale Gas ทางรอดพลังงานที่โลกยังต้องลุ้น

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 13, 2012 1:12 pm
โดย navapon
วกกลับมาที่หลักการว่า สินค้าโภคภัณฑ์ ใครควบคุมต้นทุนตํ่าที่สุดได้จะเป็นผู้ชนะที่แท้จริงคนสุดท้าย เพราะ ราคาขายสินค้ากำหนดไม่ได้ ต้องปล่อยตาม demand&supply และราคาขายในตลาดโลก แต่เรื่อง"ต้นทุน"บริษัทสามารถกำหนดชะตาชีวิตตัวเองได้มากที่สุด

เท่าที่ดู เล่นใช้แผนบิดเบือนราคา และ ลดราคาแข่งกันอย่างนี้ ธุรกิจที่บริหารงานได้ดีและควบคุมต้นทุนได้ตํ่าจะอยู่รอด ส่วนที่เหลือที่เหลือจะเจ็บตัวกันหมด การที่ราคาทั้งก็าซและถ่านหินมันตํ่าอย่างนี้ไม่ใช่ไม่ดีนะครับ มันเป็นการกำจัดศัตรูทางธุรกิจที่ไม่แข้มแข็งพอไปในตัว

แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับความเห็นผม ผมว่าทั้งแก็สและถ่านหินจะรอดในระยะยาวทั้งคู่ครับ (เฉพาะบริษัทที่เยี่ยมยอด ต้นทุนตํ่าเท่านั้นนะ)

มนุษย์บริโภคทรัพยากรเท่าไหร่ก็ไม่พอหรอกครับ มันเป็นสัจธรรม :D :D :D

Re: Shale Gas ทางรอดพลังงานที่โลกยังต้องลุ้น

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 13, 2012 2:55 pm
โดย YEAN
navapon เขียน:วกกลับมาที่หลักการว่า สินค้าโภคภัณฑ์ ใครควบคุมต้นทุนตํ่าที่สุดได้จะเป็นผู้ชนะที่แท้จริงคนสุดท้าย เพราะ ราคาขายสินค้ากำหนดไม่ได้ ต้องปล่อยตาม demand&supply และราคาขายในตลาดโลก แต่เรื่อง"ต้นทุน"บริษัทสามารถกำหนดชะตาชีวิตตัวเองได้มากที่สุด

เท่าที่ดู เล่นใช้แผนบิดเบือนราคา และ ลดราคาแข่งกันอย่างนี้ ธุรกิจที่บริหารงานได้ดีและควบคุมต้นทุนได้ตํ่าจะอยู่รอด ส่วนที่เหลือที่เหลือจะเจ็บตัวกันหมด การที่ราคาทั้งก็าซและถ่านหินมันตํ่าอย่างนี้ไม่ใช่ไม่ดีนะครับ มันเป็นการกำจัดศัตรูทางธุรกิจที่ไม่แข้มแข็งพอไปในตัว

แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับความเห็นผม ผมว่าทั้งแก็สและถ่านหินจะรอดในระยะยาวทั้งคู่ครับ (เฉพาะบริษัทที่เยี่ยมยอด ต้นทุนตํ่าเท่านั้นนะ)

มนุษย์บริโภคทรัพยากรเท่าไหร่ก็ไม่พอหรอกครับ มันเป็นสัจธรรม :D :D :D

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ว่าราคาคงไม่มีใครคาดการณ์ได้แม่นยำ แต่ต้นทุนคือสิ่งที่คาดการณ์ได้ การมีเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประหยัดขึ้น จะช่วยทำให้โลกนี้มีพลังงานสำรองเพิ่มมากขึ้น
ยังไงก็แล้วแต่ผมยังเชื่อว่าถ่านหินยังคงเป็นเชื้อเพลิงที่มีต้นทุนต่ำที่สุด ทั้งการผลิตและการขนส่งระหว่างประเทศไปอีกนานหลายปี และด้วยปริมาณสำรองที่ยังมีอยู่อีกมาก ยังไงถ่านหินก็ยังคงเป็นทางเลือกหลักเพื่อเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า