นิยายหุ้น - ทางใครทางมัน
โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 26, 2012 12:18 am
“กริ๊งๆ” เสียงโทรศัพท์ของผมดังขึ้นในช่วงหัวค่ำ
“ฮัลโหล” ผมหยิบขึ้นมาแล้วกดรับโดยที่ไม่ได้มองว่าใครเป็นผู้โทร
“เชี่ยตูม พรุ่งนี้มาเจอกันหน่อยไหม พักนี้ไม่ได้เจอกันเลย เกือบปีละ มาหาไรกินแล้วนั่งคุยกัน กุนัดไอ้นัทกับไอ้โหน่งเรียบร้อยแล้ว” โอม เพื่อนสนิทของผมพูดโพล่งใส่โทรศัพท์
“เออ เอาดิ กุว่างพอดี” ผมตอบรับคำชวนมัน พรุ่งนี้วันอาทิตย์แล้วผมก็ว่างด้วย แน่ล่ะ ใครไม่ว่างนี่โคตรซวยเลย วันเสาร์อาทิตย์ยังต้องทำงานอีก
“งั้นโอเคตามนี้ พรุ่งนี้ 10 โมง ที่ MK สุกี้ ตรงเดอะมอลล์ ใครมาสายบ้านบึ้ม” พูดจบโอมก็วางสายไป บ้านบึ้ม หึหึ คำนี้ได้ยินมาตั้งแต่สมัยประถม สมัยนี้ไม่มีใครพูดกันละ นี่ละหนาความเปลี่ยนแปลง มาเรื่อยๆแต่ทำให้ตกใจเสมอ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
10 โมงเกือบครึ่ง ผมก็มายืนอยู่หน้าร้าน MK อยู่ยั้งยืนยงจริงๆแฮะ แม่ผมพากินมาตั้งแต่สมัยเรียนประถม ยังไม่เจ๊งอีก หลังจากยืนรำลึกความหลังเล็กน้อย ผมก็เดินเข้าไป เจอพวกมันนั่งรอผมอยู่ 3 คน นัท โอม โหน่ง แต่ละคนหน้าตาไม่แตกต่างไปจากตอนมหาลัยมากนัก เรา 4 คน เป็นเพื่อนซี้กันตั้งแต่สมัยเรียนมหาลัย ตอนนี้แต่ละคนก็อายุประมาณ 27-28 นานๆทีเราก็หาเรื่องมาพบปะกัน
“ฮึกๆ ฮือๆ เสียใจกับมืงด้วยว่ะ ไอ้ตูม” โอมพูดกับผมพร้อมทำหน้าสะอื้นเหมือนจะร้องให้
“เสียใจเรื่องอะไรวะ” ผมถามด้วยความงง
“ก็บ้านมืงบึ้มแล้วไง ก๊ากๆ ฮ่าๆๆ” โอมระเบิดหัวเราะพร้อมกับนัท
“กวนตีนละ” ผมตอบ พวกผมล้อเล่นแบบนี้กันประจำตอนอยู่มหาลัย ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ แต่อาจจะลดดีกรีความรุนแรงลงมาบ้างจากเมื่อก่อน ที่มีการตบกบาล ดึงกางเกงต่อหน้าสาวๆ ดึงเก้าอี้เวลาจะนั่ง และอีกสารพัด
“มาครบละ งั้นสั่งอาหารกันเลยดีกว่าครับ” โหน่ง ชายหนุ่มผู้ชอบใช้คำพูดคำจาแบบเรียบร้อยพูดแทรกขึ้นมา
“เออ เอาดิ” นัทพูดพลางโบกมือเรียกสาวเสิร์ฟ
ระหว่างที่รออาหารจึงมีการไถ่ถามสารทุกข์สุขดิบของแต่ละคนตามประสาเพื่อนสนิทที่ไม่ได้เจอกันนาน ยกเว้นอยู่สองคนคือโอมกับนัท ที่ติดต่อกันผ่านโทรศัพท์บ้าง เจอกันบ้าง เพราะมันสองคนสนใจอะไรบางอย่างที่คล้ายกัน ส่วนจะสนใจอะไรนั้น รอฟังต่อไปละกัน
“เชี่ยนัท มืงซื้อรถเหรอ” โอมพูดแทรกขึ้นมาหลังจากที่คุยเรื่องสัพเพเหระไปพอสมควร
“เออ เห็นแล้วก็ไหว้ยังล่ะ” นัทแหย่
“กวนตีนนักนะมืง แล้วซื้อทำไมวะ ทุกทีเห็นคลานไปทำงาน” โอมเหน็บกลับ
“อ้าวๆ ที่คลานนั่นบรรพบุรุษมืงละ กุซื้อเพราะพอร์ตหุ้นกุใหญ่พอละ เลยพอแบ่งเงินมาซื้อความสบายได้มั่ง แล้วบางทีกุก็ใช้ขับพาแม่ไปจ่ายตลาด แล้วมืงล่ะ ถึง 50 ล้านยังวะ เห็นเล่นแต่หุ้นปั่น” นัทสวนทันควัน
นัท นักลงทุนหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรง พอร์ตลงทุนขนาด 8 หลัก ลงทุนในตลาดหุ้นเกือบ 100% มันจะค่อนข้างหงุดหงิดขึ้นมาทันที ถ้าเจอใครถามว่าเล่นหุ้นตัวไหนดี เพราะตามความคิดมันแล้ว หุ้นไม่ได้มีไว้เล่น แต่มีเพื่อให้สิทธิ์การเป็นหุ้นส่วนของบริษัท ฉะนั้นการซื้อหุ้นก็คือการซื้อบริษัทนั่งเอง นัทเรียกตัวเองว่าเป็นนักลงทุนหุ้นแบบ VI หรือ Value Investor การเล่นหุ้นแบบนี้จะดูปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก นัทเชื่อว่าความเสี่ยงจำกัดได้ด้วยความรู้ความเข้าใจในตัวบริษํท มันคิดว่าซื้อธุรกิจ จึงไม่ซื้อขายบ่อย ซื้อทีเก็บยาวเป็นปีเลย แล้วทำไมผมไปรู้เรื่องวิธีการเล่นหุ้นของมันละเอียดขนาดนี้น่ะเหรอ ก็มันเล่นมาพูดกรอกหูผมทุกวัน สมัยเรียนมหาลัยน่ะสิ
“ปั่นป้ามืงสิ กุลุยเมื่อสัญญาณสั่งลุย ถอยเมื่อสัญญาณสั่งถอย ไม่มีสัญญาณไม่ยุ่ง กุจับหุ้นที่กำลังขึ้น กำไรทันที ไม่ต้องรอเหมือนมืง ซื้อแล้วนิ่ง ไม่ก็วิ่งโคตรเต่าเลย” โอมนักเก็งกำไรผู้ช่ำชองบอกเล่าวิธีของตัวเอง
โอมนักเก็งกำไรหุ้น เล่นหุ้นตั้งแต่เรียนมหาลัย ตอนนี้พอร์ตใหญ่จนไม่ต้องทำงานประจำแล้ว ถ้าให้เดา พอร์ตคงไม่ต่ำกว่า 20-30 ล้าน โอมเล่นหุ้นแบบเก็งกำไร ซื้อเมื่อเห็นว่ามีโอกาสไปขายในราคาแพงกว่า ให้น้ำหนักกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นหลัก เช่น กราฟ แนวรับแนวต้าน Indicator ต่างๆ การซื้อขายมักจะทำอย่างรวดเร็วตามสัญญาณหรือระบบที่ตัวเองมั่นใจ และมีวิธีป้องกันการขาดทุนหนักโดยขายเมื่อราคาวิ่งลงมาทะลุแนวรับ หรือราคาตกลงมา 7-8% จากจุดที่เข้าซื้อ
“อ้าว สุดท้ายแล้วเต่ากับกระต่ายใครชนะล่ะ วิธีซื้อหุ้นแบบกุ ราคามันวิ่งไม่เร้าใจก็จริง แต่มันก็ไปเรื่อยๆ เผลอแป๊บเดียวไปนู่นละ และถ้ากุซื้อบริษัทที่แข็งแกร่ง มีกระแสเงินสดดี หนี้น้อย ยังไงบริษัทก็ไม่เจ๊ง ก็ไม่ต่างอะไรกับกระดองเต่าสุดแข็งที่ป้องกันตัวจากอันตรายได้ ว่ากุเต่าแล้วมืงล่ะครับ ตัวอะไร” นัทพูดแก้ต่างให้วิธีการเล่นหุ้นของตัวเอง แล้วถามสวน
“หึหึ กุหรือ วิธีกุ กุว่าเหมือนเสือที่คอยซุ่มรอเหยื่ออย่างใจเย็น เมื่อเห็นโอกาสก็เข้าตะครุบอย่างรวดเร็ว ถ้าเห็นท่าไม่ดี ก็แปลงร่างเป็นเสือเผ่น ใช้ขาอันแข็งแรงหนีได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน” โอมเล่าด้วยใบหน้าโคตรภูมิใจ
“เห็นท่าไม่ดีก็คัทลอส (Cut Loss) เฉือนเนื้อตัวเองทิ้งอะนะ กุว่ามันเหมือนจิ้งจกมากกว่าว่ะ ฮ่าๆๆ” นัทแก้เผ็ดกลับ
“ฮ่าๆๆ” ผมอดหัวเราะตามไม่ได้ ไอ้ 2 คนนี้มันเล่นหุ้นมาตั้งแต่อยู่มหาลัย วิธีการเล่นแตกต่างกันสุดขั้ว คนนึงถือยาว คนนึงถือสั้น คนนึงมองพื้นฐานบริษัท อีกคนนึงมองแต่กราฟยึกยือ แต่น่าแปลกนักที่จำนวนเงินของมันสองคนกลับโตพรวดๆขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเป็นที่อิจฉาของใครต่อใคร สงสัยในโลกนี้คำตอบที่ถูกต้องคงไม่ได้มีคำตอบเดียวอย่างที่เขาว่ากันจริงๆ
“แล้วมืงล่ะ ไอ้แว่น เฮ้ยโทษทีว่ะ แล้วคุณล่ะ ยังทำงานอยู่ที่เดิมไหม” นัทหันไปถามโหน่ง แต่พึ่งนึกได้ว่าใช้คำสรรพนามผิดไปนิด เพราะโหน่งเป็นคนค่อนข้างสุภาพ เวลาใครพูดกับมันก็มักจะต้องพูดคุณพูดผมตามไปด้วย
“อ่อ ผมยังทำงานที่เดิมอยู่ว่ะ เพราะสวัสดิการมันดี แล้วผมก็กะจะอยู่ไปจนเกษียณด้วยอะนะ ผมเห็นพวกคุณได้กำไรหุ้นกันมาผมก็ดีใจด้วย แต่จะให้ผมไปทำแบบพวกคุณก็คงไม่ไหวว่ะ ความถนัดมันต่างกัน ผมแค่ทำงานเป็นกินเงินเดือน เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ เอาเงินไปฝาก ไปซื้อหุ้นสหกรณ์ รับปันผลทุกปี แค่นี้ก็พอใจละ” โหน่งร่ายยาว หลังจากที่เงียบมานาน
“อ่อ คุณมันสไตล์หอยทากนี่หว่า ฮ่าๆๆ” โอมแหย่
“เออว่ะ ช้ากว่ากุที่เป็นเต่าอีกนะเนี่ย ฮ่าๆๆ” นัทผสมโรง
“ฮะๆๆ ก็อาจจะจริงว่ะ แต่ว่านะ คุณเป็นเต่า แม้จะมีกระดองแข็งๆแต่คุณเคยดูสารคดีที่เหยี่ยวมันจะกินเต่าไหมล่ะ มันจะหิ้วเต่าบินขึ้นไปสูงๆ แล้วปล่อยลงมาให้กระแทกหินเพื่อให้กระดองแตก ส่วนคุณเสือ คุณอาจจะแข็งแกร่ง ว่องไว แต่ถ้าเหยื่อเหลือน้อยเมื่อไหร่ คุณก็ต้องไปต่อสู้แย่งเอากับเสือสิงห์กระทิงแรดตัวอื่นๆ ไม่งั้นก็อดตาย ส่วนหอยทาก ถึงจะเดินช้า ไม่มีกระดองแข็งๆเหมือนเต่า ไม่ว่องไวเหมือนเสือ แต่ก็เหมาะกับวิถีชีวิตของมันแล้ว คุณเคยเห็นตัวอะไรกินหอยทากมั้ยล่ะ อย่างผมที่ไม่มีความรู้เรื่องหุ้น ถ้าเข้าไปคงถูกเหยียบแบน ผมขออยู่แบบนี้ดีกว่า และผมก็เตรียมแผนเกษียณสไตล์ผมไว้แล้วด้วย” โหน่งแสดงความคิดเห็นในแบบของตัวเอง
“เออ จริงว่ะ” โอมพูดพลางพยักหน้าเห็นด้วย
“คมเหมือนกันนี่หว่า พี่แว่น ไหนลองเล่าแผนเกษียณคุณมาซิ” นัททำหน้าทึ่ง
“ตอนนี้ผมยังเป็นครูโรงเรียนรัฐบาล เงินเดือน 2 หมื่นกว่าบาท และยังมีรายได้เสริมจากการขายของาทางเนตอีก เงินที่ได้มาทุกเดือนผมจะแบ่งไปซื้อหุ้นของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ผมเป็นสมาชิอยู่ พวกคุณรู้ไหม ปันผลเบาะๆก็ได้ประมาณ 6% ต่อปีเข้าไปแล้ว ถ้าปีไหนกำไรสหกรณ์ดี ก็ลุ้นปันผลเพิ่มอีก แถมยังไม่ต้องเสียภาษี ไม่เหมือนกับหุ้นสามัญที่เสียภาษีปันผล 10% และเงินบางส่วนผมก็กันไว้ฝากออมทรัพย์สหกรณ์เพื่อให้มีสภาพคล่องบ้าง ดอกเบี้ยก็มากกว่าฝากธนาคาร และไม่เสียภาษี ถ้าผมทำงานไปเรื่อยๆจนเกษียณ ผมน่าจะเก็บเงินได้ 5-6 ล้าน อย่างต่ำ ถึงตอนนั้นผมก็กินบำนาญกับปันผล 6% ต่อปี แค่นี้ก็อยู่ได้แล้ว และอาจจะมีทำงานอดิเรกที่ได้เงินเล็กๆน้อยๆบ้าง” โหน่งเล่าแผนเกษียณของตัวเองรวดเดียวจบ
“โอ้โห วางแผนซะเสร็จสรรพเลยเว้ยเฮ้ย” ผมร้องออกมาด้วยความทึ่ง
“นี่มันหอยทากตัวพ่อเลยนี่หว่า” โอมรู้สึกทึ่งไปด้วย
“แล้วมืงล่ะ ไอ้ตูม ยังทำปตท. อยู่ไหม” นัทหันมาถามผม
“ฮะๆๆ กุออกมาแล้วว่ะ” ผมตอบแกมแกล้งขำ
“อ้าว แล้วทำไรวะ” โอมถามต่อ
“เอ่อ ก็ประมาณธุรกิจส่วนตัวอะ” ผมตอบ
“ธุรกิจอะไรล่ะคุณ” ไอ้โหน่งหนุ่มพูดน้อย คราวนี้เกิดดัดจริตสงสัยมั่ง
“ก็ ประมาณว่า ซื้อมาขายไปอะ” ผมตอบเลี่ยงๆ
“อ๋อ ขายของ ว่างั้น” โอมสรุปให้
“เออ นั่นแหละ” ผมเสริมทันที
“กริ๊งๆ” โทรศัพท์ผมดังขึ้น พร้อมกับสาวเสิร์ฟที่นำอาหารมาพอดี ผมหยิบขึ้นมาดูว่าใครโทร
“เฮ้ย กุไปคุยโทรศัพท์แป๊บนะ” ผมลุกขึ้นทำท่าทำทางชี้ไปข้างนอกร้าน
“เออ ตามสบาย ช้าพวกกุก็กินหมดเท่านั้นเอง ฮธๆๆ” นัทตอบ
“ฮัลโหล” ผมกดรับสายพร้อมกับสาวเท้าออกไปนอกร้าน
“สวัสดีครับ เสี่ยตูม ผมปล่อยข่าวหุ้น PSY เรื่องที่ว่าบริษัทได้รับออร์เดอร์งานจากลูกค้ารายใหญ่เรียบร้อยแล้วนะครับ” สุพจน์ ลูกน้องของผมโทรมารายงาน เขาคนนี้เป็นมือขวาผมที่คอยปล่อยข่าว ทำกราฟ ปั่นราคาหุ้นตามคำสั่งผม
“ดี งั้นคุณไปจัดการเรื่องบทวิเคราะห์ของบัวหลงด้วย ให้มันปรับราคาเป้าหมาย PSY ให้เป็น 30 บาท แล้วพรุ่งนี้ก็บอกทีมของคุณให้เตรียมปั่นราคาตามข่าวได้” ผมสั่งงานให้ลูกน้องคนสนิท
“ครับเสี่ย” สุพจน์รับคำ แล้ววางสายไป
“เฮ้อ พวกมืงเป็น เต่า เสือ หอยทาก แล้วนักปั่นหุ้นอย่างกุเป็นตัวอะไรดีล่ะ สงสัยกุคงเป็นต้นหม้อข้าวหม้อแกงคอยล่อหลอกแมลงหน้าโง่ที่บินเข้ามาไม่ดูตาม้าตาเรือ แล้วจับกินเสียล่ะมั้ง” ผมพูดกับตัวเองในใจ ผมคงไม่กล้าไปพูดกับเพื่อนผมอย่างภาคภูมิใจได้หรอก ไอ้อาชีพนี้ ที่จริงก็อยากจะเลิกอยู่ แต่ผลตอบแทนมันช่างล่อใจเหลือเกิน พวกแมลงหน้าโง่มันบินเข้ามาไม่หยุด รอให้ถึงสองร้อยล้านก่อนแล้วกันวะ ค่อยวางมือ ว่าแล้วก็ไปกินอาหารดีกว่า
------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
แม้ตลาดหุ้นจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีผลตอบแทนอันสมน้ำสมเนื้อให้กับความเสี่ยงของมันอยู่ การป้องกันตัวเองจากนักลงทุนสามารถทำได้ถ้าหากมีหลักการและวิธีการที่แน่นอนชัดเจน เช่น นักลงทุนที่ลงทุนแบบ Value Investment จะทำการขายหุ้นเมื่อราคาวิ่งไปเกินพื้นฐานที่ควรจะเป็นของบริษัท ทำให้ไม่ตกเป็นเหยื่อของนักปั่นหุ้น และนักเก็งกำไรหุ้นที่มีหลักการชัดเจน เช่น มีระบบตัดขาดทุน ที่ขายทันทีเมื่อขาดทุนจากจุดซื้อ 8% จะป้องกันตัวเองจากความเสียหายแบบหมดเนื้อหมดตัวได้ ทำให้ป้องกันตัวเองจากนักปั่นหุ้นไปด้วยในตัว
ถ้าคนที่ไม่ชอบความเสี่ยงเลย ก็ต้องหาวิธีการลงทุนที่ปลอดภัยเพื่อปกป้องเงินที่หามาอย่างยากลำบากจากเงินเฟ้อ แต่คงไม่ใช่การฝากธนาคารที่ดอกเบี้ยต่ำติดดิน สหกรณ์ออมทรัพย์ และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนก็เป็นทางเลือกนึงที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับความเสี่ยง เช่น การฝากเงิน ที่มีดอกเบี้ย 4-5% หรือ การซื้อหุ้นเป็นสมาชิกสหกรณ์ที่มีปันผลให้ปีละ 6% เป็นส่วนใหญ่
คำศัพท์
• Value Investor หรือ Value Investment เป็นแนวทางการลงทุนที่ริเริ่มและพัฒนาขึ้นโดย เบนจามิน เกรแฮม และต่อมาถูกนำมาใช้โดยวอเรน บัฟเฟต เป็นแนวทางการลงทุนที่เน้นลงทุนในกิจการที่ผู้ลงทุนเชื่อว่ามีราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานโดยการวิเคราะห์มูลค่าทางบัญชีหรือสัดส่วนทางการเงินแบบต่างๆ เช่นมูลค่าหุ้นตามบัญชี (book value) สัดส่วนราคาหุ้นต่อกำไร (price-to-earning ratios) สัดส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าตามบัญชี (price-to-book ratios) หรือสัดส่วนเงินปันผล (dividend yields) อย่างไรก็ตาม คำว่า "มูลค่าพื้นฐาน" นี้ยังถูกตีความในแบบต่างๆและยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ในวงวิชาการ นักลงทุนหุ้นที่ใช้แนวทางนี้คือ วอเรน บัฟเฟต, ปีเตอร์ ลินช์, ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
• คัทลอส (Cut Loss) คือการตัดขาดทุนเมื่อราคาไม่วิ่งไปตามที่คิด เพื่อลดความเสียหายให้น้อยที่สุด อาจจะ 7% 8% 10% เมื่อราคาตกลงมาจากจุดที่ซื้อหุ้น หรืออาจจะตัดขาดทุนเมื่อราคาหลุดทะลุแนวรับ
• พอร์ต ย่อมาจากคำว่า “พอร์ตการลงทุน” (Investment Portfolio) หมายถึงการสร้างกลุ่มหลักทรัพย์ตั้งแต่ 2 หลักทรัพย์ขึ้นไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลงทุน หรือพูดง่ายๆ ก็คือ การกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์
หลายๆ ประเภท เพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าของหลักทรัพย์ และสร้างผลตอบแทน
ให้เป็นไปตามที่คาดหวัง
• ปั่นหุ้น คือ การซื้อขายหุ้นของบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ร่วมมือกัน เพื่อชักนำผู้อื่นให้เกิดการเข้าใจผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นนั้น ๆ ด้วยการทำให้ซื้อขายหุ้นนั้นผิดไปจากความเป็นจริง ล่อ และลวงนักลงทุนรายย่อยให้เข้าไปซื้อหรือขายหุ้นที่มีราคาสูงหรือต่ำกว่าสภาวะปกติ โดยเจตนาที่ไม่สุจริต
• สหกรณ์ออมทรัพย์ คือ องค์การที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิกโดยสมาชิกแต่ละคนออมรายได้ฝากไว้กับสหกรณ์เป็นประจำสม่ำเสมอในลักษณะการถือหุ้นและฝากเงิน นอกจากนั้น
หากสมาชิกประสบความเดือดร้อนเกี่ยวกับการเงินก็สามารถช่วยเหลือได้โดยการให้กู้ยืม ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะต่ำกว่าสถาบันการเงินอื่น สมาชิกสหกรณ์ทั้งหมดจะเป็นผู้ที่อยู่ในหน่วยงานเดียวกันและมีเงินเดือนประจำด้วย
“ฮัลโหล” ผมหยิบขึ้นมาแล้วกดรับโดยที่ไม่ได้มองว่าใครเป็นผู้โทร
“เชี่ยตูม พรุ่งนี้มาเจอกันหน่อยไหม พักนี้ไม่ได้เจอกันเลย เกือบปีละ มาหาไรกินแล้วนั่งคุยกัน กุนัดไอ้นัทกับไอ้โหน่งเรียบร้อยแล้ว” โอม เพื่อนสนิทของผมพูดโพล่งใส่โทรศัพท์
“เออ เอาดิ กุว่างพอดี” ผมตอบรับคำชวนมัน พรุ่งนี้วันอาทิตย์แล้วผมก็ว่างด้วย แน่ล่ะ ใครไม่ว่างนี่โคตรซวยเลย วันเสาร์อาทิตย์ยังต้องทำงานอีก
“งั้นโอเคตามนี้ พรุ่งนี้ 10 โมง ที่ MK สุกี้ ตรงเดอะมอลล์ ใครมาสายบ้านบึ้ม” พูดจบโอมก็วางสายไป บ้านบึ้ม หึหึ คำนี้ได้ยินมาตั้งแต่สมัยประถม สมัยนี้ไม่มีใครพูดกันละ นี่ละหนาความเปลี่ยนแปลง มาเรื่อยๆแต่ทำให้ตกใจเสมอ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
10 โมงเกือบครึ่ง ผมก็มายืนอยู่หน้าร้าน MK อยู่ยั้งยืนยงจริงๆแฮะ แม่ผมพากินมาตั้งแต่สมัยเรียนประถม ยังไม่เจ๊งอีก หลังจากยืนรำลึกความหลังเล็กน้อย ผมก็เดินเข้าไป เจอพวกมันนั่งรอผมอยู่ 3 คน นัท โอม โหน่ง แต่ละคนหน้าตาไม่แตกต่างไปจากตอนมหาลัยมากนัก เรา 4 คน เป็นเพื่อนซี้กันตั้งแต่สมัยเรียนมหาลัย ตอนนี้แต่ละคนก็อายุประมาณ 27-28 นานๆทีเราก็หาเรื่องมาพบปะกัน
“ฮึกๆ ฮือๆ เสียใจกับมืงด้วยว่ะ ไอ้ตูม” โอมพูดกับผมพร้อมทำหน้าสะอื้นเหมือนจะร้องให้
“เสียใจเรื่องอะไรวะ” ผมถามด้วยความงง
“ก็บ้านมืงบึ้มแล้วไง ก๊ากๆ ฮ่าๆๆ” โอมระเบิดหัวเราะพร้อมกับนัท
“กวนตีนละ” ผมตอบ พวกผมล้อเล่นแบบนี้กันประจำตอนอยู่มหาลัย ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ แต่อาจจะลดดีกรีความรุนแรงลงมาบ้างจากเมื่อก่อน ที่มีการตบกบาล ดึงกางเกงต่อหน้าสาวๆ ดึงเก้าอี้เวลาจะนั่ง และอีกสารพัด
“มาครบละ งั้นสั่งอาหารกันเลยดีกว่าครับ” โหน่ง ชายหนุ่มผู้ชอบใช้คำพูดคำจาแบบเรียบร้อยพูดแทรกขึ้นมา
“เออ เอาดิ” นัทพูดพลางโบกมือเรียกสาวเสิร์ฟ
ระหว่างที่รออาหารจึงมีการไถ่ถามสารทุกข์สุขดิบของแต่ละคนตามประสาเพื่อนสนิทที่ไม่ได้เจอกันนาน ยกเว้นอยู่สองคนคือโอมกับนัท ที่ติดต่อกันผ่านโทรศัพท์บ้าง เจอกันบ้าง เพราะมันสองคนสนใจอะไรบางอย่างที่คล้ายกัน ส่วนจะสนใจอะไรนั้น รอฟังต่อไปละกัน
“เชี่ยนัท มืงซื้อรถเหรอ” โอมพูดแทรกขึ้นมาหลังจากที่คุยเรื่องสัพเพเหระไปพอสมควร
“เออ เห็นแล้วก็ไหว้ยังล่ะ” นัทแหย่
“กวนตีนนักนะมืง แล้วซื้อทำไมวะ ทุกทีเห็นคลานไปทำงาน” โอมเหน็บกลับ
“อ้าวๆ ที่คลานนั่นบรรพบุรุษมืงละ กุซื้อเพราะพอร์ตหุ้นกุใหญ่พอละ เลยพอแบ่งเงินมาซื้อความสบายได้มั่ง แล้วบางทีกุก็ใช้ขับพาแม่ไปจ่ายตลาด แล้วมืงล่ะ ถึง 50 ล้านยังวะ เห็นเล่นแต่หุ้นปั่น” นัทสวนทันควัน
นัท นักลงทุนหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรง พอร์ตลงทุนขนาด 8 หลัก ลงทุนในตลาดหุ้นเกือบ 100% มันจะค่อนข้างหงุดหงิดขึ้นมาทันที ถ้าเจอใครถามว่าเล่นหุ้นตัวไหนดี เพราะตามความคิดมันแล้ว หุ้นไม่ได้มีไว้เล่น แต่มีเพื่อให้สิทธิ์การเป็นหุ้นส่วนของบริษัท ฉะนั้นการซื้อหุ้นก็คือการซื้อบริษัทนั่งเอง นัทเรียกตัวเองว่าเป็นนักลงทุนหุ้นแบบ VI หรือ Value Investor การเล่นหุ้นแบบนี้จะดูปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก นัทเชื่อว่าความเสี่ยงจำกัดได้ด้วยความรู้ความเข้าใจในตัวบริษํท มันคิดว่าซื้อธุรกิจ จึงไม่ซื้อขายบ่อย ซื้อทีเก็บยาวเป็นปีเลย แล้วทำไมผมไปรู้เรื่องวิธีการเล่นหุ้นของมันละเอียดขนาดนี้น่ะเหรอ ก็มันเล่นมาพูดกรอกหูผมทุกวัน สมัยเรียนมหาลัยน่ะสิ
“ปั่นป้ามืงสิ กุลุยเมื่อสัญญาณสั่งลุย ถอยเมื่อสัญญาณสั่งถอย ไม่มีสัญญาณไม่ยุ่ง กุจับหุ้นที่กำลังขึ้น กำไรทันที ไม่ต้องรอเหมือนมืง ซื้อแล้วนิ่ง ไม่ก็วิ่งโคตรเต่าเลย” โอมนักเก็งกำไรผู้ช่ำชองบอกเล่าวิธีของตัวเอง
โอมนักเก็งกำไรหุ้น เล่นหุ้นตั้งแต่เรียนมหาลัย ตอนนี้พอร์ตใหญ่จนไม่ต้องทำงานประจำแล้ว ถ้าให้เดา พอร์ตคงไม่ต่ำกว่า 20-30 ล้าน โอมเล่นหุ้นแบบเก็งกำไร ซื้อเมื่อเห็นว่ามีโอกาสไปขายในราคาแพงกว่า ให้น้ำหนักกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นหลัก เช่น กราฟ แนวรับแนวต้าน Indicator ต่างๆ การซื้อขายมักจะทำอย่างรวดเร็วตามสัญญาณหรือระบบที่ตัวเองมั่นใจ และมีวิธีป้องกันการขาดทุนหนักโดยขายเมื่อราคาวิ่งลงมาทะลุแนวรับ หรือราคาตกลงมา 7-8% จากจุดที่เข้าซื้อ
“อ้าว สุดท้ายแล้วเต่ากับกระต่ายใครชนะล่ะ วิธีซื้อหุ้นแบบกุ ราคามันวิ่งไม่เร้าใจก็จริง แต่มันก็ไปเรื่อยๆ เผลอแป๊บเดียวไปนู่นละ และถ้ากุซื้อบริษัทที่แข็งแกร่ง มีกระแสเงินสดดี หนี้น้อย ยังไงบริษัทก็ไม่เจ๊ง ก็ไม่ต่างอะไรกับกระดองเต่าสุดแข็งที่ป้องกันตัวจากอันตรายได้ ว่ากุเต่าแล้วมืงล่ะครับ ตัวอะไร” นัทพูดแก้ต่างให้วิธีการเล่นหุ้นของตัวเอง แล้วถามสวน
“หึหึ กุหรือ วิธีกุ กุว่าเหมือนเสือที่คอยซุ่มรอเหยื่ออย่างใจเย็น เมื่อเห็นโอกาสก็เข้าตะครุบอย่างรวดเร็ว ถ้าเห็นท่าไม่ดี ก็แปลงร่างเป็นเสือเผ่น ใช้ขาอันแข็งแรงหนีได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน” โอมเล่าด้วยใบหน้าโคตรภูมิใจ
“เห็นท่าไม่ดีก็คัทลอส (Cut Loss) เฉือนเนื้อตัวเองทิ้งอะนะ กุว่ามันเหมือนจิ้งจกมากกว่าว่ะ ฮ่าๆๆ” นัทแก้เผ็ดกลับ
“ฮ่าๆๆ” ผมอดหัวเราะตามไม่ได้ ไอ้ 2 คนนี้มันเล่นหุ้นมาตั้งแต่อยู่มหาลัย วิธีการเล่นแตกต่างกันสุดขั้ว คนนึงถือยาว คนนึงถือสั้น คนนึงมองพื้นฐานบริษัท อีกคนนึงมองแต่กราฟยึกยือ แต่น่าแปลกนักที่จำนวนเงินของมันสองคนกลับโตพรวดๆขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเป็นที่อิจฉาของใครต่อใคร สงสัยในโลกนี้คำตอบที่ถูกต้องคงไม่ได้มีคำตอบเดียวอย่างที่เขาว่ากันจริงๆ
“แล้วมืงล่ะ ไอ้แว่น เฮ้ยโทษทีว่ะ แล้วคุณล่ะ ยังทำงานอยู่ที่เดิมไหม” นัทหันไปถามโหน่ง แต่พึ่งนึกได้ว่าใช้คำสรรพนามผิดไปนิด เพราะโหน่งเป็นคนค่อนข้างสุภาพ เวลาใครพูดกับมันก็มักจะต้องพูดคุณพูดผมตามไปด้วย
“อ่อ ผมยังทำงานที่เดิมอยู่ว่ะ เพราะสวัสดิการมันดี แล้วผมก็กะจะอยู่ไปจนเกษียณด้วยอะนะ ผมเห็นพวกคุณได้กำไรหุ้นกันมาผมก็ดีใจด้วย แต่จะให้ผมไปทำแบบพวกคุณก็คงไม่ไหวว่ะ ความถนัดมันต่างกัน ผมแค่ทำงานเป็นกินเงินเดือน เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ เอาเงินไปฝาก ไปซื้อหุ้นสหกรณ์ รับปันผลทุกปี แค่นี้ก็พอใจละ” โหน่งร่ายยาว หลังจากที่เงียบมานาน
“อ่อ คุณมันสไตล์หอยทากนี่หว่า ฮ่าๆๆ” โอมแหย่
“เออว่ะ ช้ากว่ากุที่เป็นเต่าอีกนะเนี่ย ฮ่าๆๆ” นัทผสมโรง
“ฮะๆๆ ก็อาจจะจริงว่ะ แต่ว่านะ คุณเป็นเต่า แม้จะมีกระดองแข็งๆแต่คุณเคยดูสารคดีที่เหยี่ยวมันจะกินเต่าไหมล่ะ มันจะหิ้วเต่าบินขึ้นไปสูงๆ แล้วปล่อยลงมาให้กระแทกหินเพื่อให้กระดองแตก ส่วนคุณเสือ คุณอาจจะแข็งแกร่ง ว่องไว แต่ถ้าเหยื่อเหลือน้อยเมื่อไหร่ คุณก็ต้องไปต่อสู้แย่งเอากับเสือสิงห์กระทิงแรดตัวอื่นๆ ไม่งั้นก็อดตาย ส่วนหอยทาก ถึงจะเดินช้า ไม่มีกระดองแข็งๆเหมือนเต่า ไม่ว่องไวเหมือนเสือ แต่ก็เหมาะกับวิถีชีวิตของมันแล้ว คุณเคยเห็นตัวอะไรกินหอยทากมั้ยล่ะ อย่างผมที่ไม่มีความรู้เรื่องหุ้น ถ้าเข้าไปคงถูกเหยียบแบน ผมขออยู่แบบนี้ดีกว่า และผมก็เตรียมแผนเกษียณสไตล์ผมไว้แล้วด้วย” โหน่งแสดงความคิดเห็นในแบบของตัวเอง
“เออ จริงว่ะ” โอมพูดพลางพยักหน้าเห็นด้วย
“คมเหมือนกันนี่หว่า พี่แว่น ไหนลองเล่าแผนเกษียณคุณมาซิ” นัททำหน้าทึ่ง
“ตอนนี้ผมยังเป็นครูโรงเรียนรัฐบาล เงินเดือน 2 หมื่นกว่าบาท และยังมีรายได้เสริมจากการขายของาทางเนตอีก เงินที่ได้มาทุกเดือนผมจะแบ่งไปซื้อหุ้นของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่ผมเป็นสมาชิอยู่ พวกคุณรู้ไหม ปันผลเบาะๆก็ได้ประมาณ 6% ต่อปีเข้าไปแล้ว ถ้าปีไหนกำไรสหกรณ์ดี ก็ลุ้นปันผลเพิ่มอีก แถมยังไม่ต้องเสียภาษี ไม่เหมือนกับหุ้นสามัญที่เสียภาษีปันผล 10% และเงินบางส่วนผมก็กันไว้ฝากออมทรัพย์สหกรณ์เพื่อให้มีสภาพคล่องบ้าง ดอกเบี้ยก็มากกว่าฝากธนาคาร และไม่เสียภาษี ถ้าผมทำงานไปเรื่อยๆจนเกษียณ ผมน่าจะเก็บเงินได้ 5-6 ล้าน อย่างต่ำ ถึงตอนนั้นผมก็กินบำนาญกับปันผล 6% ต่อปี แค่นี้ก็อยู่ได้แล้ว และอาจจะมีทำงานอดิเรกที่ได้เงินเล็กๆน้อยๆบ้าง” โหน่งเล่าแผนเกษียณของตัวเองรวดเดียวจบ
“โอ้โห วางแผนซะเสร็จสรรพเลยเว้ยเฮ้ย” ผมร้องออกมาด้วยความทึ่ง
“นี่มันหอยทากตัวพ่อเลยนี่หว่า” โอมรู้สึกทึ่งไปด้วย
“แล้วมืงล่ะ ไอ้ตูม ยังทำปตท. อยู่ไหม” นัทหันมาถามผม
“ฮะๆๆ กุออกมาแล้วว่ะ” ผมตอบแกมแกล้งขำ
“อ้าว แล้วทำไรวะ” โอมถามต่อ
“เอ่อ ก็ประมาณธุรกิจส่วนตัวอะ” ผมตอบ
“ธุรกิจอะไรล่ะคุณ” ไอ้โหน่งหนุ่มพูดน้อย คราวนี้เกิดดัดจริตสงสัยมั่ง
“ก็ ประมาณว่า ซื้อมาขายไปอะ” ผมตอบเลี่ยงๆ
“อ๋อ ขายของ ว่างั้น” โอมสรุปให้
“เออ นั่นแหละ” ผมเสริมทันที
“กริ๊งๆ” โทรศัพท์ผมดังขึ้น พร้อมกับสาวเสิร์ฟที่นำอาหารมาพอดี ผมหยิบขึ้นมาดูว่าใครโทร
“เฮ้ย กุไปคุยโทรศัพท์แป๊บนะ” ผมลุกขึ้นทำท่าทำทางชี้ไปข้างนอกร้าน
“เออ ตามสบาย ช้าพวกกุก็กินหมดเท่านั้นเอง ฮธๆๆ” นัทตอบ
“ฮัลโหล” ผมกดรับสายพร้อมกับสาวเท้าออกไปนอกร้าน
“สวัสดีครับ เสี่ยตูม ผมปล่อยข่าวหุ้น PSY เรื่องที่ว่าบริษัทได้รับออร์เดอร์งานจากลูกค้ารายใหญ่เรียบร้อยแล้วนะครับ” สุพจน์ ลูกน้องของผมโทรมารายงาน เขาคนนี้เป็นมือขวาผมที่คอยปล่อยข่าว ทำกราฟ ปั่นราคาหุ้นตามคำสั่งผม
“ดี งั้นคุณไปจัดการเรื่องบทวิเคราะห์ของบัวหลงด้วย ให้มันปรับราคาเป้าหมาย PSY ให้เป็น 30 บาท แล้วพรุ่งนี้ก็บอกทีมของคุณให้เตรียมปั่นราคาตามข่าวได้” ผมสั่งงานให้ลูกน้องคนสนิท
“ครับเสี่ย” สุพจน์รับคำ แล้ววางสายไป
“เฮ้อ พวกมืงเป็น เต่า เสือ หอยทาก แล้วนักปั่นหุ้นอย่างกุเป็นตัวอะไรดีล่ะ สงสัยกุคงเป็นต้นหม้อข้าวหม้อแกงคอยล่อหลอกแมลงหน้าโง่ที่บินเข้ามาไม่ดูตาม้าตาเรือ แล้วจับกินเสียล่ะมั้ง” ผมพูดกับตัวเองในใจ ผมคงไม่กล้าไปพูดกับเพื่อนผมอย่างภาคภูมิใจได้หรอก ไอ้อาชีพนี้ ที่จริงก็อยากจะเลิกอยู่ แต่ผลตอบแทนมันช่างล่อใจเหลือเกิน พวกแมลงหน้าโง่มันบินเข้ามาไม่หยุด รอให้ถึงสองร้อยล้านก่อนแล้วกันวะ ค่อยวางมือ ว่าแล้วก็ไปกินอาหารดีกว่า
------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
แม้ตลาดหุ้นจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีผลตอบแทนอันสมน้ำสมเนื้อให้กับความเสี่ยงของมันอยู่ การป้องกันตัวเองจากนักลงทุนสามารถทำได้ถ้าหากมีหลักการและวิธีการที่แน่นอนชัดเจน เช่น นักลงทุนที่ลงทุนแบบ Value Investment จะทำการขายหุ้นเมื่อราคาวิ่งไปเกินพื้นฐานที่ควรจะเป็นของบริษัท ทำให้ไม่ตกเป็นเหยื่อของนักปั่นหุ้น และนักเก็งกำไรหุ้นที่มีหลักการชัดเจน เช่น มีระบบตัดขาดทุน ที่ขายทันทีเมื่อขาดทุนจากจุดซื้อ 8% จะป้องกันตัวเองจากความเสียหายแบบหมดเนื้อหมดตัวได้ ทำให้ป้องกันตัวเองจากนักปั่นหุ้นไปด้วยในตัว
ถ้าคนที่ไม่ชอบความเสี่ยงเลย ก็ต้องหาวิธีการลงทุนที่ปลอดภัยเพื่อปกป้องเงินที่หามาอย่างยากลำบากจากเงินเฟ้อ แต่คงไม่ใช่การฝากธนาคารที่ดอกเบี้ยต่ำติดดิน สหกรณ์ออมทรัพย์ และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนก็เป็นทางเลือกนึงที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับความเสี่ยง เช่น การฝากเงิน ที่มีดอกเบี้ย 4-5% หรือ การซื้อหุ้นเป็นสมาชิกสหกรณ์ที่มีปันผลให้ปีละ 6% เป็นส่วนใหญ่
คำศัพท์
• Value Investor หรือ Value Investment เป็นแนวทางการลงทุนที่ริเริ่มและพัฒนาขึ้นโดย เบนจามิน เกรแฮม และต่อมาถูกนำมาใช้โดยวอเรน บัฟเฟต เป็นแนวทางการลงทุนที่เน้นลงทุนในกิจการที่ผู้ลงทุนเชื่อว่ามีราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานโดยการวิเคราะห์มูลค่าทางบัญชีหรือสัดส่วนทางการเงินแบบต่างๆ เช่นมูลค่าหุ้นตามบัญชี (book value) สัดส่วนราคาหุ้นต่อกำไร (price-to-earning ratios) สัดส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าตามบัญชี (price-to-book ratios) หรือสัดส่วนเงินปันผล (dividend yields) อย่างไรก็ตาม คำว่า "มูลค่าพื้นฐาน" นี้ยังถูกตีความในแบบต่างๆและยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ในวงวิชาการ นักลงทุนหุ้นที่ใช้แนวทางนี้คือ วอเรน บัฟเฟต, ปีเตอร์ ลินช์, ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
• คัทลอส (Cut Loss) คือการตัดขาดทุนเมื่อราคาไม่วิ่งไปตามที่คิด เพื่อลดความเสียหายให้น้อยที่สุด อาจจะ 7% 8% 10% เมื่อราคาตกลงมาจากจุดที่ซื้อหุ้น หรืออาจจะตัดขาดทุนเมื่อราคาหลุดทะลุแนวรับ
• พอร์ต ย่อมาจากคำว่า “พอร์ตการลงทุน” (Investment Portfolio) หมายถึงการสร้างกลุ่มหลักทรัพย์ตั้งแต่ 2 หลักทรัพย์ขึ้นไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลงทุน หรือพูดง่ายๆ ก็คือ การกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์
หลายๆ ประเภท เพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าของหลักทรัพย์ และสร้างผลตอบแทน
ให้เป็นไปตามที่คาดหวัง
• ปั่นหุ้น คือ การซื้อขายหุ้นของบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ร่วมมือกัน เพื่อชักนำผู้อื่นให้เกิดการเข้าใจผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นนั้น ๆ ด้วยการทำให้ซื้อขายหุ้นนั้นผิดไปจากความเป็นจริง ล่อ และลวงนักลงทุนรายย่อยให้เข้าไปซื้อหรือขายหุ้นที่มีราคาสูงหรือต่ำกว่าสภาวะปกติ โดยเจตนาที่ไม่สุจริต
• สหกรณ์ออมทรัพย์ คือ องค์การที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิกโดยสมาชิกแต่ละคนออมรายได้ฝากไว้กับสหกรณ์เป็นประจำสม่ำเสมอในลักษณะการถือหุ้นและฝากเงิน นอกจากนั้น
หากสมาชิกประสบความเดือดร้อนเกี่ยวกับการเงินก็สามารถช่วยเหลือได้โดยการให้กู้ยืม ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะต่ำกว่าสถาบันการเงินอื่น สมาชิกสหกรณ์ทั้งหมดจะเป็นผู้ที่อยู่ในหน่วยงานเดียวกันและมีเงินเดือนประจำด้วย