เซียนหุ้นนักธุรกิจ..ผู้รักสันโดษ'ธวัชชัย เลิศรุ่งเรือง'
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 10, 2012 5:58 pm
เซียนหุ้นนักธุรกิจ..ผู้รักสันโดษ'ธวัชชัย เลิศรุ่งเรือง'
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, September 10, 2012 05:40
59268 XTHAI XGEN DAS V%NETNEWS P%WKT
บางครั้งความสงบ ก็ทาให้สมองเราเบิกบาน..ประโยคเปิดตัวของ 'เอก' ธวัชชัย เลิศรุ่งเรือง นักธุรกิจวัยกลางคน หนึ่งใน 'เซียนหุ้น' ที่เพื่อนๆ ในกลุ่มยกนิ้วให้ว่า เขาคนนี้แหละของจริง!!! กับปรัชญาการลงทุนที่ว่า "ทุกครั้งที่ลงทุนเราต้องคิดว่านี่คือบริษัทของเรา"
ธวัชชัย เลิศรุ่งเรือง เป็นนักธุรกิจเจ้าของ3 บริษัท ได้แก่ บริษัท เอเอสเอ็น โบรกเกอร์ จำกัด ประกอบกิจการโบรกเกอร์ประกันภัย บริษัท เอเอสเอ็น ไลฟ์ โบรกเกอร์ จำกัด ประกอบกิจการโบรกเกอร์ ประกันชีวิต และบริษัท เอ-สแควร์เน็ตเวิร์ค จำกัด ดำเนินธุรกิจด้าน Tele Marketing & CRM ขายสินค้าทางโทรศัพท์ มีพนักงานในเครือประมาณ 350 คน
"ถ้าสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) ไม่ได้ "พี่เอก" ธวัชชัย เลิศรุ่งเรือง เพื่อนเรียนรุ่นเดียวกับผมคอยช่วยเหลือเรื่องหาสำนักงานให้ (ชั้นใต้ดินตึกไอบีเอ็ม) สมาคมฯคงต้องออกแรงหาบ้านใหม่คงเหนื่อยก่อนได้ลงมือทำงานแน่!" ธันวา เลาหศิริวงศ์ นายกสมาคม แนะนำเจ้าของชื่อล็อกอิน Epeterpanz ให้กรุงเทพธุรกิจ BizWeek รู้จัก
บุคลิกของธวัชชัยเป็นนักลงทุนผู้รักสันโดษ แต่คนใกล้ตัวต่างยกนิ้วคอนเฟิร์มว่า คนนี้ "พูดน้อย ต่อยหนัก" ด้วยเป็นคนที่ไม่ค่อยพูดคณะกรรมการสมาคมฯ บางราย ต้องออกแรง "เชียร์" ให้ธวัชชัยยอมรับนัด "บิซวีค" เขาส่งรอยยิ้มลอดแว่นพรางส่ายหัวพร้อมพูดขึ้นว่า "ผมไม่ชอบออกสื่อ เป็นคน Low Profile อีกอย่างทางเดินของนักลงทุนแนว VI ทุกคนก็เหมือนกันหมดไม่ได้มีความแตกต่างอะไร"
นายกฯ ธันวา ถึงกับการันตีเพื่อนคนนี้ ธวัชชัย เพิ่งหันมาลงทุนแนว VI ไม่กี่ปี แต่เขาเป็นหนึ่งในไม่กี่คน ที่มี Business View ที่ดี เพราะมีกิจการเป็นของตัวเอง แถมยังลงทุน "เก่ง" กรรมการคนหนึ่งตะโกนขึ้นว่าหาก พี่เอกยอมให้สัมภาษณ์ เราจะยอมจ่ายค่าอุปกรณ์ทั้งหมดที่ (พี่) สำรองจ่ายไปก่อน (หัวเราะ) ธันวาพูดแทรกขึ้นมาว่า... "ผมยังไม่เห็นเหตุผลอะไรที่จะไม่ยอมให้สัมภาษณ์ คุณรู้หรือเปล่า! BizWeek ไม่ใช่ใครจะลงกันง่ายๆ นะ" หลายคนกล่อมจนเจ้าตัวยอมรับนัด!!!
ธวัชชัยเปิดออฟฟิศบนชั้น 12 ตึกไอบีเอ็ม เป็น ที่ตั้งของ บริษัท เอ-สแควร์เน็ตเวิร์ค จำกัด ซึ่งเขาเป็นเจ้าของเพื่อเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ตัวตนของธวัชชัย เป็นคนอัธยาศัยดี มีรอยยิ้มที่เป็นมิตร ตรงข้ามกับบุคลิกที่คนภายนอกพบเห็นแทบจะสิ้นเชิง
"ชีวิตวัยเด็กของผมก็เหมือนเด็กหนุ่มทั่วไป ผมเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนทวีธาภิเศก จากนั้น ก็สอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จบปี 2530 รุ่นเดียว กับ "ไก่" ธันวา เลาหศิริวงศ์ ช่วงที่ผมเรียนจบใหม่ๆ ไปทำงานอยู่บริษัทเทเลคอมแห่งหนึ่ง เริ่มรู้สึกสนใจตลาดหุ้นขึ้นมา เพราะตอนนั้นเด็กจบใหม่เกือบทุกคนไม่มีใครไม่พูดถึงตลาดหุ้น ส่วนใหญ่เล่นตามสตอรี่ รายวัน ไม่มีข้อมูล ไม่มีอะไรในหัวสักอย่าง ทุกคนไม่รู้ว่า มันเสี่ยงมากแค่ไหน ขนาดเพิ่มทุนยังแห่ซื้อกันเลย" เขาเริ่มต้นบทสนทนาด้วยการเล่าประวัติอย่างย่อ
ธวัชชัย กล่าวว่า ตลาดหุ้นช่วงนั้นมันหอมหวานมากหุ้นขึ้นทุกวัน เป็นยุคเฟื่องฟูของตลาดหุ้น ตอนนั้น มี พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี (4 ส.ค. 2531- 23 ก.พ. 2534) ตัวเองก็เป็นคนหนึ่งที่รู้สึกว่าตลาดหุ้นเหมือน "ขุมทอง" เอาเงิน 2-3 แสนบาท ไปเปิดพอร์ตกับ บล.เอกธนกิจ เป็นเงินเก็บที่ได้จาก การทำงานในบริษัทเทเลคอม 4-5 ปี ตอนนั้นซื้อกลุ่ม สื่อสาร ไฟแนนซ์ และแบงก์ เพราะเป็นกลุ่มที่ "ฮอต" ตอนนั้น
"ผมจำตัวหุ้นแม่นๆ ไม่ได้ จำได้แค่ว่าเคยลงทุน หุ้นฟินวัน ของ ปิ่น จักกะพาก เยอะพอสมควร แต่ผล ออกมา "แย่มาก" ขาดทุน 70-80% ของพอร์ต เรียกว่า แทบไม่เหลือติดพอร์ต เพราะเจอวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 เล่นงานจนน่วม จริงๆ แล้วก่อนจะขาดทุนหนักผมก็ ได้ยินมาว่าภาวะเศรษฐกิจเมืองไทยอาจเกิดโอเวอร์ฮีท แต่การเล่นหุ้นช่วงนั้นมันไม่มีตรรกะ ไม่ต้องมานั่งดูข้อมูลหรืองบการเงินเหมือนสมัยนี้"
เขาจิบน้ำอุ่นพร้อมเพิ่มสปีดการเล่าอย่างมีอรรถรสว่า ช่วงที่ "ขาดทุนหนัก" ทำได้อย่างเดียว คือ "นั่งทำใจ"เมื่อกลับมานั่งคิดทบทวนย้อนหลังถึงความผิดพลาดทำให้รู้ว่า เรายังมีความรู้ไม่พอ ต้องเตรียมตัวให้มาก กว่านี้ ช่วงนั้นรู้สึก "ขยาด" และ "หวาดกลัว" ตลาดหุ้น หันกลับมาใส่ใจงานที่ทำและเลิกเล่นหุ้นไป 5-6 ปี "พอทำงานในบริษัทเทเลคอมได้อีกสักระยะ ก็ลาออกมาเปิดบริษัท เอ-สแควร์เน็ตเวิร์ค จำกัด ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนประมาณ 2 ล้านบาท ผมถือหุ้น 80% ที่เหลือ 20% เป็นพนักงานที่ทำงานร่วมกันมานาน จากนั้น 2-3 ปี ก็เปิดบริษัทอีก 1 แห่ง คือ บริษัท เอเอสเอ็น โบรกเกอร์ จำกัด เป็นนายหน้าประกันวินาศภัยและที่ปรึกษาด้านการประกันภัย ถามว่าทำไม! ถึงสนใจธุรกิจนี้ ผมเชื่อว่าธุรกิจประกันวินาศภัยมีโอกาสเติบโตไปตามยอดขายรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นทุกปี แต่หากมองในมุมของตลาดหุ้น ผมไม่ค่อยชอบหุ้นกลุ่มนี้เท่าไร เพราะลูกค้ามีการเคลมประกันค่อนข้างเยอะ ทำให้บริษัทครอบคลุมต้นทุนไม่ได้"
นักธุรกิจวัย 47 ปี เล่าต่อว่า หลังจากนั้นก็เปิดเพิ่ม อีก 1 บริษัท คือ บริษัท เอเอสเอ็น ไลฟ์ โบรกเกอร์ จำกัด เป็นนายหน้าประกันชีวิต ธุรกิจนี้น่าสนใจมากยิ่งพูดในฐานะนักลงทุนบอกได้เลยว่าธุรกิจประกันชีวิต น่าสนใจ ลูกค้าแทบจะไม่เคลมประกัน มีการเติบโตที่ดี แต่ข้อเสีย คือ "ขายยาก" คนสนใจทำประกันภัย รถยนต์มากกว่าประกันชีวิต ปัจจุบันทั้ง 3 บริษัทมีพนักงานราวๆ 350 คน
"หลักการบริหารงานของผมไม่มีอะไรมาก หลังๆ มีคนเก่งมาช่วยเยอะ เพราะเริ่มกระจายอำนาจออกไป ทุกวันนี้ทำงานน้อย แต่เที่ยวเยอะ (หัวเราะ) เมื่อก่อน ช่วงที่ยังบริหารงานเอง ผมจะเลือกคนที่มีความสามารถ ซื่อสัตย์ และเข้ากับเราได้ แต่ช่วงหลังคนเก่งหายากมาก ทำให้ความซื่อสัตย์ต้องมาก่อนซึ่งหลักการนี้ ก็นำมาใช้กับการลงทุนได้ โดยเฉพาะเรื่องความซื่อสัตย์ บางบริษัทพูดโน่นนี่เยอะแยะ สุดท้ายทำไม่ได้ เลยสักอย่าง"
ธวัชชัย เล่าต่อว่า เมื่อบริษัทแรก (เอ-สแควร์เน็ตเวิร์ค) เริ่มอยู่ตัว ก็นึกถึงวิธีการบริหารจัดการเงิน จึงเริ่มศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ เมื่ออ่านหนังสือมากๆ ทำให้รู้ว่าเราต้องเปลี่ยนวิธีจากการเล่นหุ้นเป็นการลงทุนให้ได้ จำหนังสือการลงทุนเล่มแรกที่อ่านไม่ได้ แต่มีหนังสือลักษณะนี้เกือบทุกเล่ม โดยเฉพาะหนังสือของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่ผ่านมาได้ความรู้จากอาจารย์เยอะมากต้องขอบคุณท่านมากๆ หนังสือเกือบทุกเล่มที่อาจารย์นิเวศน์เขียน จะพูดเสมอว่า "เราต้องลงทุนหุ้นให้เหมือนมันเป็นบริษัทของเรา" เพียงแค่ประโยคเดียวก็สามารถ ตอบโจทย์ทุกอย่างได้แล้ว เพราะการที่จะคิดแบบนี้ได้ แปลว่าเราต้องรู้เกี่ยวกับงบการเงินของบริษัท และต้องรู้ว่าสิ้นปีบริษัทจะมีกำไรต่อหุ้นกี่บาท มีเงินปันผล หรือเปล่า ความเสี่ยงอยู่ตรงไหน และปีหน้าจะเป็นอย่างไร โจทย์เพียงข้อเดียวก็คิดว่าเราก็ทำการบ้านไม่ไหวแล้ว
เพียงเราเข้าใจธุรกิจ อะไรๆ ก็ง่ายขึ้น ถามว่าหากเข้าใจแล้ว นั่นแปลว่า เราเข้าใจเหมือนคนอื่นแล้วใช่ หรือไม่ คำตอบ คือ "ไม่ใช่" เพราะพื้นฐานของคนไม่เหมือน กัน การที่เราไปลอกหุ้นคนอื่นมาแล้วทำออกมาให้ได้ดี มันยากมากนะ! บางคนเขาอาจเก่งกลุ่มแบงก์สามารถเดาได้ว่าภายใน 2-3 ปีข้างหน้าธุรกิจนี้จะเป็นอย่างไร บางคน มีพื้นฐานด้านการสื่อสาร และสามารถทำนายงบการเงินได้ ฉะนั้นการไปตามคนอื่นคงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก "ผมใช้เวลาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การลงทุนประมาณ 1-2 ปี จากนั้นอีกประมาณ 5 ปี หลังวิกฤติเศรษฐกิจ ก็เอา 2-3 แสนบาท ไปเปิดพอร์ตกับ บล.กิมเอ็ง ตอนนั้นซื้อหุ้น 15 ตัว เยอะมาก!!! ช่วงนั้นยอมรับว่าความรู้ยังไม่ค่อยดี และผมยังเข้าไม่ถึงแก่น ของมัน เรียกว่าซื้อกระจายไปเกือบทุกหมวด แต่จะเน้น ลงทุนบริษัทที่มีผลกำไร OK พอเข้าใจธุรกิจ และไม่ใช่หุ้นปั่น"
ตอนนั้นก็ดูตัวเลขทางการเงินประกอบการลงทุนบ้าง เช่น ค่า P/E ค่า P/BV และ อัตราหนี้สินต่อหุ้น (D/E) เพราะอ่านหนังสือมาแล้วทำให้พอรู้บ้างว่าตัวเลขการเงินตัวไหนสำคัญ ลงทุนลักษณะนี้อยู่เป็นปี แต่ผลของมันออกมาไม่ดีเท่าไร ไม่ถึงขนาดขาดทุน เรียกว่า "ได้บ้างเสียบ้าง" ทำให้กลับมาคิดว่า หากยังลงทุนแบบนี้ มันก็ยังเป็นการเล่นหุ้นอยู่ดี เพราะยังไม่สามารถประเมินได้ว่า หุ้นตัวนี้ปีหน้าจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร และความเสี่ยงอยู่ตรงไหน
เขากล่าวว่า วันหนึ่งก็มานั่งนึกว่า การลงทุน..มันคืออะไรกันแน่?? จนเมื่อความรู้เดินทางมาถึงจุดหนึ่ง ก็รู้ว่าการลงทุนมันมีทั้งเรื่องบุคลากร สำนักงาน เทคโนโลยี และลูกค้า ที่สำคัญต้องใช้เวลาในการลงทุน เป็นไปไม่ได้ที่ซื้อวันนี้จะหวังให้ราคาขึ้นพรุ่งนี้ ถ้าเป็นไปได้ มันคงแปลกเหมือนเล่นการพนัน
เมื่อความคิดตกผลึก ตรงประโยคที่ว่า "ทุกครั้งที่ลงทุนเราต้องคิดว่านี่คือบริษัทของเรา" เขาจึงหันมาพิจารณาว่า จริงๆ แล้วตัวเองรู้จักหุ้นทั้ง 15 ตัวดีพอหรือยัง! สุดท้ายก็ต้องตัดออกเกือบหมด เพราะไม่เข้าใจธุรกิจเลยสักตัว (หัวเราะ) จากหุ้นในพอร์ต 15 ตัว หั่นจนเหลือหุ้น เพียง 5 ตัว เพราะอ่านข้อมูลไม่ไหว เน้นกลุ่มประกันชีวิต ตอนนั้นซื้อหุ้นไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต (SCBLIF) รวมถึงกลุ่มรถยนต์ และกลุ่มเทเลคอม สาเหตุที่เลือกหุ้นกลุ่มนี้ (ประกันชีวิต, รถยนต์, สื่อสาร) เพราะอ่านข้อมูลแล้วเข้าใจ ผลออกมา "ดีเกินคาด" เรียกว่าดีกว่าในอดีตมากๆ แต่ไม่ขอบอกตัวเลข จากนั้นจึงยึดแนวทางนี้มาตลอด
ถามว่าถือหุ้น 5 ตัวในพอร์ตนานแค่ไหน เขาบอกว่า ถือจนมีความรู้สึกว่า "แพง" แล้ว ก่อนจะซื้อหุ้น 5 ตัวนี้ ทำการบ้านโดยประมาณการตัวเลขผลประกอบการในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า พอผลการดำเนินงานบริษัทออกไม่เป็นไปตามที่ทำนายไว้ ก็จะกลับมาดูว่าเป็นเพราะอะไร ถ้าเป็น เพราะโครงสร้างธุรกิจเปลี่ยนก็จะขายและเปลี่ยนตัวทันที ใจจริงอยากหาหุ้นที่มีผลประกอบการในช่วง 20 ปีข้างหน้า ดีๆ แต่ในความเป็นจริงมันหาไม่ได้ อีกอย่างความไม่แน่นอน สูงมากด้วย
"บอกตรงๆ ว่า สมัยก่อนไม่รู้ว่าเล่นหุ้นแบบนี้เขาเรียกว่าศาสตร์ VI รู้เพียงว่าการลงทุนมันเป็นชีวิตของเรา ไปแล้ว เพราะที่ผ่านมาผมนำทรัพย์สินที่มีนำมาลงทุน เพิ่มตลอด ขอไม่บอกว่าพอร์ตการลงทุนของผมหลักเท่าไร พูดไปมันไม่ดี เอาเป็นว่าไม่ได้แตกต่างอะไรจากคณะกรรมการ ท่านอื่นๆ เท่าไร (ส่วนใหญ่มูลค่าพอร์ตหลักร้อยล้านบาท)"
ธวัชชัย ทิ้งแง่คิดว่า ทุกวันนี้นักลงทุนหน้าใหม่หวังจะมีผลตอบแทนสูงๆ ภายในเวลาสั้นๆ บางคนซื้อปุ๊บ 3 เดือน จะเอากำไรทันที ซึ่งการลงทุนมันทำแบบนั้นไม่ได้ อยากให้ ทุกคนเปลี่ยนมุมมองใหม่เป็น "ลงทุนนานๆ" เชื่อเถอะ!ถ้าเลือกบริษัทดีๆ โอกาสทำกำไรเฉลี่ยปีละ 15% ต่อปี มันไม่ใช่เรื่องยากเลย
เรื่องราวของ ธวัชชัย เลิศรุ่งเรือง เซียนหุ้นนักธุรกิจ..ผู้รักสันโดษ ยังไม่จบ! ปัจจุบันเขาชอบ-ไม่ชอบหุ้นกลุ่มไหน มีกลยุทธ์การลงทุนเป็นอย่างไร แตกต่างจากเซียนหุ้น VI คนอื่นอย่างไร ติดตามต่อในสัปดาห์หน้า!!!
การลงทุนมีทั้งเรื่องบุคลากร สำนักงาน เทคโนโลยี และลูกค้า ที่สำคัญต้องใช้เวลาในการลงทุนเป็นไปไม่ได้ที่ซื้อหุ้นวันนี้จะหวังให้ราคาขึ้นวันพรุ่งนี้ ถ้าเป็นไปได้มันคงแปลก!
บางครั้งความสงบ ก็ทำให้สมองเราเบิกบาน...ประโยคเปิดตัวของ 'เอก' ธวัชชัย เลิศรุ่งเรือง นักธุรกิจวัยกลางคน หนึ่งใน 'เซียนหุ้น' ที่เพื่อนๆ ในกลุ่มยกนิ้วให้ว่า เขาคนนี้แหละของจริง!!!
อยากให้ทุกคนเปลี่ยนมุมมองใหม่เป็น "ลงทุนนานๆ" เชื่อเถอะ! ถ้าเลือกบริษัทดีๆ โอกาสทำกำไรเฉลี่ยปีละ 15% ต่อปี มันไม่ใช่เรื่องยากเลย
บรรยายใต้ภาพ
ธวัชชัย เลิศรุ่งเรือง--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, September 10, 2012 05:40
59268 XTHAI XGEN DAS V%NETNEWS P%WKT
บางครั้งความสงบ ก็ทาให้สมองเราเบิกบาน..ประโยคเปิดตัวของ 'เอก' ธวัชชัย เลิศรุ่งเรือง นักธุรกิจวัยกลางคน หนึ่งใน 'เซียนหุ้น' ที่เพื่อนๆ ในกลุ่มยกนิ้วให้ว่า เขาคนนี้แหละของจริง!!! กับปรัชญาการลงทุนที่ว่า "ทุกครั้งที่ลงทุนเราต้องคิดว่านี่คือบริษัทของเรา"
ธวัชชัย เลิศรุ่งเรือง เป็นนักธุรกิจเจ้าของ3 บริษัท ได้แก่ บริษัท เอเอสเอ็น โบรกเกอร์ จำกัด ประกอบกิจการโบรกเกอร์ประกันภัย บริษัท เอเอสเอ็น ไลฟ์ โบรกเกอร์ จำกัด ประกอบกิจการโบรกเกอร์ ประกันชีวิต และบริษัท เอ-สแควร์เน็ตเวิร์ค จำกัด ดำเนินธุรกิจด้าน Tele Marketing & CRM ขายสินค้าทางโทรศัพท์ มีพนักงานในเครือประมาณ 350 คน
"ถ้าสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) ไม่ได้ "พี่เอก" ธวัชชัย เลิศรุ่งเรือง เพื่อนเรียนรุ่นเดียวกับผมคอยช่วยเหลือเรื่องหาสำนักงานให้ (ชั้นใต้ดินตึกไอบีเอ็ม) สมาคมฯคงต้องออกแรงหาบ้านใหม่คงเหนื่อยก่อนได้ลงมือทำงานแน่!" ธันวา เลาหศิริวงศ์ นายกสมาคม แนะนำเจ้าของชื่อล็อกอิน Epeterpanz ให้กรุงเทพธุรกิจ BizWeek รู้จัก
บุคลิกของธวัชชัยเป็นนักลงทุนผู้รักสันโดษ แต่คนใกล้ตัวต่างยกนิ้วคอนเฟิร์มว่า คนนี้ "พูดน้อย ต่อยหนัก" ด้วยเป็นคนที่ไม่ค่อยพูดคณะกรรมการสมาคมฯ บางราย ต้องออกแรง "เชียร์" ให้ธวัชชัยยอมรับนัด "บิซวีค" เขาส่งรอยยิ้มลอดแว่นพรางส่ายหัวพร้อมพูดขึ้นว่า "ผมไม่ชอบออกสื่อ เป็นคน Low Profile อีกอย่างทางเดินของนักลงทุนแนว VI ทุกคนก็เหมือนกันหมดไม่ได้มีความแตกต่างอะไร"
นายกฯ ธันวา ถึงกับการันตีเพื่อนคนนี้ ธวัชชัย เพิ่งหันมาลงทุนแนว VI ไม่กี่ปี แต่เขาเป็นหนึ่งในไม่กี่คน ที่มี Business View ที่ดี เพราะมีกิจการเป็นของตัวเอง แถมยังลงทุน "เก่ง" กรรมการคนหนึ่งตะโกนขึ้นว่าหาก พี่เอกยอมให้สัมภาษณ์ เราจะยอมจ่ายค่าอุปกรณ์ทั้งหมดที่ (พี่) สำรองจ่ายไปก่อน (หัวเราะ) ธันวาพูดแทรกขึ้นมาว่า... "ผมยังไม่เห็นเหตุผลอะไรที่จะไม่ยอมให้สัมภาษณ์ คุณรู้หรือเปล่า! BizWeek ไม่ใช่ใครจะลงกันง่ายๆ นะ" หลายคนกล่อมจนเจ้าตัวยอมรับนัด!!!
ธวัชชัยเปิดออฟฟิศบนชั้น 12 ตึกไอบีเอ็ม เป็น ที่ตั้งของ บริษัท เอ-สแควร์เน็ตเวิร์ค จำกัด ซึ่งเขาเป็นเจ้าของเพื่อเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ตัวตนของธวัชชัย เป็นคนอัธยาศัยดี มีรอยยิ้มที่เป็นมิตร ตรงข้ามกับบุคลิกที่คนภายนอกพบเห็นแทบจะสิ้นเชิง
"ชีวิตวัยเด็กของผมก็เหมือนเด็กหนุ่มทั่วไป ผมเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนทวีธาภิเศก จากนั้น ก็สอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จบปี 2530 รุ่นเดียว กับ "ไก่" ธันวา เลาหศิริวงศ์ ช่วงที่ผมเรียนจบใหม่ๆ ไปทำงานอยู่บริษัทเทเลคอมแห่งหนึ่ง เริ่มรู้สึกสนใจตลาดหุ้นขึ้นมา เพราะตอนนั้นเด็กจบใหม่เกือบทุกคนไม่มีใครไม่พูดถึงตลาดหุ้น ส่วนใหญ่เล่นตามสตอรี่ รายวัน ไม่มีข้อมูล ไม่มีอะไรในหัวสักอย่าง ทุกคนไม่รู้ว่า มันเสี่ยงมากแค่ไหน ขนาดเพิ่มทุนยังแห่ซื้อกันเลย" เขาเริ่มต้นบทสนทนาด้วยการเล่าประวัติอย่างย่อ
ธวัชชัย กล่าวว่า ตลาดหุ้นช่วงนั้นมันหอมหวานมากหุ้นขึ้นทุกวัน เป็นยุคเฟื่องฟูของตลาดหุ้น ตอนนั้น มี พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี (4 ส.ค. 2531- 23 ก.พ. 2534) ตัวเองก็เป็นคนหนึ่งที่รู้สึกว่าตลาดหุ้นเหมือน "ขุมทอง" เอาเงิน 2-3 แสนบาท ไปเปิดพอร์ตกับ บล.เอกธนกิจ เป็นเงินเก็บที่ได้จาก การทำงานในบริษัทเทเลคอม 4-5 ปี ตอนนั้นซื้อกลุ่ม สื่อสาร ไฟแนนซ์ และแบงก์ เพราะเป็นกลุ่มที่ "ฮอต" ตอนนั้น
"ผมจำตัวหุ้นแม่นๆ ไม่ได้ จำได้แค่ว่าเคยลงทุน หุ้นฟินวัน ของ ปิ่น จักกะพาก เยอะพอสมควร แต่ผล ออกมา "แย่มาก" ขาดทุน 70-80% ของพอร์ต เรียกว่า แทบไม่เหลือติดพอร์ต เพราะเจอวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 เล่นงานจนน่วม จริงๆ แล้วก่อนจะขาดทุนหนักผมก็ ได้ยินมาว่าภาวะเศรษฐกิจเมืองไทยอาจเกิดโอเวอร์ฮีท แต่การเล่นหุ้นช่วงนั้นมันไม่มีตรรกะ ไม่ต้องมานั่งดูข้อมูลหรืองบการเงินเหมือนสมัยนี้"
เขาจิบน้ำอุ่นพร้อมเพิ่มสปีดการเล่าอย่างมีอรรถรสว่า ช่วงที่ "ขาดทุนหนัก" ทำได้อย่างเดียว คือ "นั่งทำใจ"เมื่อกลับมานั่งคิดทบทวนย้อนหลังถึงความผิดพลาดทำให้รู้ว่า เรายังมีความรู้ไม่พอ ต้องเตรียมตัวให้มาก กว่านี้ ช่วงนั้นรู้สึก "ขยาด" และ "หวาดกลัว" ตลาดหุ้น หันกลับมาใส่ใจงานที่ทำและเลิกเล่นหุ้นไป 5-6 ปี "พอทำงานในบริษัทเทเลคอมได้อีกสักระยะ ก็ลาออกมาเปิดบริษัท เอ-สแควร์เน็ตเวิร์ค จำกัด ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนประมาณ 2 ล้านบาท ผมถือหุ้น 80% ที่เหลือ 20% เป็นพนักงานที่ทำงานร่วมกันมานาน จากนั้น 2-3 ปี ก็เปิดบริษัทอีก 1 แห่ง คือ บริษัท เอเอสเอ็น โบรกเกอร์ จำกัด เป็นนายหน้าประกันวินาศภัยและที่ปรึกษาด้านการประกันภัย ถามว่าทำไม! ถึงสนใจธุรกิจนี้ ผมเชื่อว่าธุรกิจประกันวินาศภัยมีโอกาสเติบโตไปตามยอดขายรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นทุกปี แต่หากมองในมุมของตลาดหุ้น ผมไม่ค่อยชอบหุ้นกลุ่มนี้เท่าไร เพราะลูกค้ามีการเคลมประกันค่อนข้างเยอะ ทำให้บริษัทครอบคลุมต้นทุนไม่ได้"
นักธุรกิจวัย 47 ปี เล่าต่อว่า หลังจากนั้นก็เปิดเพิ่ม อีก 1 บริษัท คือ บริษัท เอเอสเอ็น ไลฟ์ โบรกเกอร์ จำกัด เป็นนายหน้าประกันชีวิต ธุรกิจนี้น่าสนใจมากยิ่งพูดในฐานะนักลงทุนบอกได้เลยว่าธุรกิจประกันชีวิต น่าสนใจ ลูกค้าแทบจะไม่เคลมประกัน มีการเติบโตที่ดี แต่ข้อเสีย คือ "ขายยาก" คนสนใจทำประกันภัย รถยนต์มากกว่าประกันชีวิต ปัจจุบันทั้ง 3 บริษัทมีพนักงานราวๆ 350 คน
"หลักการบริหารงานของผมไม่มีอะไรมาก หลังๆ มีคนเก่งมาช่วยเยอะ เพราะเริ่มกระจายอำนาจออกไป ทุกวันนี้ทำงานน้อย แต่เที่ยวเยอะ (หัวเราะ) เมื่อก่อน ช่วงที่ยังบริหารงานเอง ผมจะเลือกคนที่มีความสามารถ ซื่อสัตย์ และเข้ากับเราได้ แต่ช่วงหลังคนเก่งหายากมาก ทำให้ความซื่อสัตย์ต้องมาก่อนซึ่งหลักการนี้ ก็นำมาใช้กับการลงทุนได้ โดยเฉพาะเรื่องความซื่อสัตย์ บางบริษัทพูดโน่นนี่เยอะแยะ สุดท้ายทำไม่ได้ เลยสักอย่าง"
ธวัชชัย เล่าต่อว่า เมื่อบริษัทแรก (เอ-สแควร์เน็ตเวิร์ค) เริ่มอยู่ตัว ก็นึกถึงวิธีการบริหารจัดการเงิน จึงเริ่มศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ เมื่ออ่านหนังสือมากๆ ทำให้รู้ว่าเราต้องเปลี่ยนวิธีจากการเล่นหุ้นเป็นการลงทุนให้ได้ จำหนังสือการลงทุนเล่มแรกที่อ่านไม่ได้ แต่มีหนังสือลักษณะนี้เกือบทุกเล่ม โดยเฉพาะหนังสือของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่ผ่านมาได้ความรู้จากอาจารย์เยอะมากต้องขอบคุณท่านมากๆ หนังสือเกือบทุกเล่มที่อาจารย์นิเวศน์เขียน จะพูดเสมอว่า "เราต้องลงทุนหุ้นให้เหมือนมันเป็นบริษัทของเรา" เพียงแค่ประโยคเดียวก็สามารถ ตอบโจทย์ทุกอย่างได้แล้ว เพราะการที่จะคิดแบบนี้ได้ แปลว่าเราต้องรู้เกี่ยวกับงบการเงินของบริษัท และต้องรู้ว่าสิ้นปีบริษัทจะมีกำไรต่อหุ้นกี่บาท มีเงินปันผล หรือเปล่า ความเสี่ยงอยู่ตรงไหน และปีหน้าจะเป็นอย่างไร โจทย์เพียงข้อเดียวก็คิดว่าเราก็ทำการบ้านไม่ไหวแล้ว
เพียงเราเข้าใจธุรกิจ อะไรๆ ก็ง่ายขึ้น ถามว่าหากเข้าใจแล้ว นั่นแปลว่า เราเข้าใจเหมือนคนอื่นแล้วใช่ หรือไม่ คำตอบ คือ "ไม่ใช่" เพราะพื้นฐานของคนไม่เหมือน กัน การที่เราไปลอกหุ้นคนอื่นมาแล้วทำออกมาให้ได้ดี มันยากมากนะ! บางคนเขาอาจเก่งกลุ่มแบงก์สามารถเดาได้ว่าภายใน 2-3 ปีข้างหน้าธุรกิจนี้จะเป็นอย่างไร บางคน มีพื้นฐานด้านการสื่อสาร และสามารถทำนายงบการเงินได้ ฉะนั้นการไปตามคนอื่นคงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก "ผมใช้เวลาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การลงทุนประมาณ 1-2 ปี จากนั้นอีกประมาณ 5 ปี หลังวิกฤติเศรษฐกิจ ก็เอา 2-3 แสนบาท ไปเปิดพอร์ตกับ บล.กิมเอ็ง ตอนนั้นซื้อหุ้น 15 ตัว เยอะมาก!!! ช่วงนั้นยอมรับว่าความรู้ยังไม่ค่อยดี และผมยังเข้าไม่ถึงแก่น ของมัน เรียกว่าซื้อกระจายไปเกือบทุกหมวด แต่จะเน้น ลงทุนบริษัทที่มีผลกำไร OK พอเข้าใจธุรกิจ และไม่ใช่หุ้นปั่น"
ตอนนั้นก็ดูตัวเลขทางการเงินประกอบการลงทุนบ้าง เช่น ค่า P/E ค่า P/BV และ อัตราหนี้สินต่อหุ้น (D/E) เพราะอ่านหนังสือมาแล้วทำให้พอรู้บ้างว่าตัวเลขการเงินตัวไหนสำคัญ ลงทุนลักษณะนี้อยู่เป็นปี แต่ผลของมันออกมาไม่ดีเท่าไร ไม่ถึงขนาดขาดทุน เรียกว่า "ได้บ้างเสียบ้าง" ทำให้กลับมาคิดว่า หากยังลงทุนแบบนี้ มันก็ยังเป็นการเล่นหุ้นอยู่ดี เพราะยังไม่สามารถประเมินได้ว่า หุ้นตัวนี้ปีหน้าจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร และความเสี่ยงอยู่ตรงไหน
เขากล่าวว่า วันหนึ่งก็มานั่งนึกว่า การลงทุน..มันคืออะไรกันแน่?? จนเมื่อความรู้เดินทางมาถึงจุดหนึ่ง ก็รู้ว่าการลงทุนมันมีทั้งเรื่องบุคลากร สำนักงาน เทคโนโลยี และลูกค้า ที่สำคัญต้องใช้เวลาในการลงทุน เป็นไปไม่ได้ที่ซื้อวันนี้จะหวังให้ราคาขึ้นพรุ่งนี้ ถ้าเป็นไปได้ มันคงแปลกเหมือนเล่นการพนัน
เมื่อความคิดตกผลึก ตรงประโยคที่ว่า "ทุกครั้งที่ลงทุนเราต้องคิดว่านี่คือบริษัทของเรา" เขาจึงหันมาพิจารณาว่า จริงๆ แล้วตัวเองรู้จักหุ้นทั้ง 15 ตัวดีพอหรือยัง! สุดท้ายก็ต้องตัดออกเกือบหมด เพราะไม่เข้าใจธุรกิจเลยสักตัว (หัวเราะ) จากหุ้นในพอร์ต 15 ตัว หั่นจนเหลือหุ้น เพียง 5 ตัว เพราะอ่านข้อมูลไม่ไหว เน้นกลุ่มประกันชีวิต ตอนนั้นซื้อหุ้นไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต (SCBLIF) รวมถึงกลุ่มรถยนต์ และกลุ่มเทเลคอม สาเหตุที่เลือกหุ้นกลุ่มนี้ (ประกันชีวิต, รถยนต์, สื่อสาร) เพราะอ่านข้อมูลแล้วเข้าใจ ผลออกมา "ดีเกินคาด" เรียกว่าดีกว่าในอดีตมากๆ แต่ไม่ขอบอกตัวเลข จากนั้นจึงยึดแนวทางนี้มาตลอด
ถามว่าถือหุ้น 5 ตัวในพอร์ตนานแค่ไหน เขาบอกว่า ถือจนมีความรู้สึกว่า "แพง" แล้ว ก่อนจะซื้อหุ้น 5 ตัวนี้ ทำการบ้านโดยประมาณการตัวเลขผลประกอบการในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า พอผลการดำเนินงานบริษัทออกไม่เป็นไปตามที่ทำนายไว้ ก็จะกลับมาดูว่าเป็นเพราะอะไร ถ้าเป็น เพราะโครงสร้างธุรกิจเปลี่ยนก็จะขายและเปลี่ยนตัวทันที ใจจริงอยากหาหุ้นที่มีผลประกอบการในช่วง 20 ปีข้างหน้า ดีๆ แต่ในความเป็นจริงมันหาไม่ได้ อีกอย่างความไม่แน่นอน สูงมากด้วย
"บอกตรงๆ ว่า สมัยก่อนไม่รู้ว่าเล่นหุ้นแบบนี้เขาเรียกว่าศาสตร์ VI รู้เพียงว่าการลงทุนมันเป็นชีวิตของเรา ไปแล้ว เพราะที่ผ่านมาผมนำทรัพย์สินที่มีนำมาลงทุน เพิ่มตลอด ขอไม่บอกว่าพอร์ตการลงทุนของผมหลักเท่าไร พูดไปมันไม่ดี เอาเป็นว่าไม่ได้แตกต่างอะไรจากคณะกรรมการ ท่านอื่นๆ เท่าไร (ส่วนใหญ่มูลค่าพอร์ตหลักร้อยล้านบาท)"
ธวัชชัย ทิ้งแง่คิดว่า ทุกวันนี้นักลงทุนหน้าใหม่หวังจะมีผลตอบแทนสูงๆ ภายในเวลาสั้นๆ บางคนซื้อปุ๊บ 3 เดือน จะเอากำไรทันที ซึ่งการลงทุนมันทำแบบนั้นไม่ได้ อยากให้ ทุกคนเปลี่ยนมุมมองใหม่เป็น "ลงทุนนานๆ" เชื่อเถอะ!ถ้าเลือกบริษัทดีๆ โอกาสทำกำไรเฉลี่ยปีละ 15% ต่อปี มันไม่ใช่เรื่องยากเลย
เรื่องราวของ ธวัชชัย เลิศรุ่งเรือง เซียนหุ้นนักธุรกิจ..ผู้รักสันโดษ ยังไม่จบ! ปัจจุบันเขาชอบ-ไม่ชอบหุ้นกลุ่มไหน มีกลยุทธ์การลงทุนเป็นอย่างไร แตกต่างจากเซียนหุ้น VI คนอื่นอย่างไร ติดตามต่อในสัปดาห์หน้า!!!
การลงทุนมีทั้งเรื่องบุคลากร สำนักงาน เทคโนโลยี และลูกค้า ที่สำคัญต้องใช้เวลาในการลงทุนเป็นไปไม่ได้ที่ซื้อหุ้นวันนี้จะหวังให้ราคาขึ้นวันพรุ่งนี้ ถ้าเป็นไปได้มันคงแปลก!
บางครั้งความสงบ ก็ทำให้สมองเราเบิกบาน...ประโยคเปิดตัวของ 'เอก' ธวัชชัย เลิศรุ่งเรือง นักธุรกิจวัยกลางคน หนึ่งใน 'เซียนหุ้น' ที่เพื่อนๆ ในกลุ่มยกนิ้วให้ว่า เขาคนนี้แหละของจริง!!!
อยากให้ทุกคนเปลี่ยนมุมมองใหม่เป็น "ลงทุนนานๆ" เชื่อเถอะ! ถ้าเลือกบริษัทดีๆ โอกาสทำกำไรเฉลี่ยปีละ 15% ต่อปี มันไม่ใช่เรื่องยากเลย
บรรยายใต้ภาพ
ธวัชชัย เลิศรุ่งเรือง--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ