หุ้นค้าปลีกในญี่ปุ่น (2) / ดร.ชาคริต สุวรรณโชติ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 09, 2012 7:39 pm
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ช่วงนี้ผมมักจะเห็นข่าวเกี่ยวกับบริษัท "ร้านสะดวกซื้อในประเทศญี่ปุ่น"บนหน้าหนังสือพิมพ์ธุรกิจของญี่ปุ่นอยู่บ่อยๆ อย่างที่ทุกท่านทราบที่ญี่ปุ่นมีร้านสะดวกซื้อมากมายหลายเจ้าซึ่งตอนนี้ที่เป็นเจ้าตลาดอยู่ได้แก่ Seven-Eleven, Family Mart, และLawson ถามว่าปัจจุบันประเทศที่เศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มอิ่มตัวประชากรเริ่มลดลงอย่างญี่ปุ่นบริษัทค้าปลีกที่ว่าจะเค้ามีนโยบายปรับตัวไปในทิศทางไหน
1. เน้นเพิ่มสัดส่วนของ Housing Brandร้านสะดวกซื้อในประเทศญี่ปุ่นยังมุ่งเพิ่มสัดส่วนของ Housing Brandในร้านตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดที่ผมเห็นคือโยเกิร์ต แรกๆก็เป็นรสธรรมดา หลังๆ เริ่มมีรสชาติใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาถ้าเทียบกับประเทศไทยแล้ว สัดส่วนของ Housing Brandในร้านสะดวกซื้อยังน้อยกว่าญี่ปุ่นมากๆ เวลาผมเข้าร้าน Seven-Elevenของญี่ปุ่นแล้วหาซื้อนมหรือโยเกิร์ต ผมก็มักหยิบสินค้าที่มีตรา Seven-Eleven เพราะว่าราคาถูกกว่าและรสชาติก็ไม่ได้ต่างกันมากนักกับแบรนด์ดังๆอาจจะเป็นเพราะว่าในญี่ปุ่นมีผู้ผลิตพวกอาหารหรือขนมนมเนยต่างๆที่มีชื่อเสียงเยอะการจ้างผู้ผลิตที่มีคุณภาพทำ แล้วใส่แบรนด์ตัวเองเข้าไปอาจจะทำได้ไม่ยากนัก
2. ออกไปทำธุรกิจนอกประเทศที่ผมเห็นชัดเจนคือ Lawsonซี่งร้านสะดวกซื้อเจ้านี้เน้นธุรกิจในประเทศมาโดยตลอดสาขาในต่างประเทศน้อยมากแต่ในปัจจุบันบริษัทออกนโยบายชัดเจนว่าจะบุกต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชีย อย่างไรก็ตามล่าสุด Lawsonในประเทศอินโดนีเซียกำลังประสบปัญหาเรื่องการที่ประเทศเริ่มออกกฏหมายกีดกันการขยายสาขาของร้านสะดวกซื้อจากต่างประเทศเพื่อปกป้องร้านสะดวกซื้อสัญชาติตัวเอง บริษัทจึงต้องหาทางแก้ไขกันต่อไปจริงๆแล้ว Lawson ในประเทศญี่ปุ่นนั้นใหญ่ทีเดียวจัดร้านได้สวยงามและของภายในร้านก็ไม่แพ้ร้านอื่นๆเนื่องจากผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทคือ กลุ่มยักษ์ใหญ่มิตสุบิชิซึ่งคอยแบ็คอัพอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามถ้าดูในประเทศไทยแล้ว Lawsonยังไม่ได้เข้ามาเปิดตลาดในอนาคตจึงมีโอกาสที่ร้านสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นรายนี้จะพิจารณาเข้ามาบุกตลาดในประเทศไทยเช่นกัน
3. เน้นสร้างสาขาที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นผมเพิ่งเจอข่าวนี้เร็วๆนี้ว่า Seven-Elevenในประเทศญี่ปุ่นปรับแผนโดนเน้นสร้างร้านค้าที่มีขนาดใหญ่จากเดิมที่ผมก็คิดว่าใหญ่อยู่แล้วถ้าเปรียบเทียบกับประเทศไทย โดยSeven-Eleven ของญี่ปุ่น จะนำของหลากหลายประเภทมาขายมากขึ้นจากที่เน้นข้าวกล่อง ของทานเล่น ก็จะมีพวกของใช้ในบ้าน ยารักษาโรคต่างๆเพิ่มเข้ามา นอกจากนั้นพวกของสดต่างๆ พวกผัก ผลไม้ ก็มีวางขายด้วยบริษัทของประเทศญี่ปุ่นทำผมเห็นทำร้านสะดวกซื้อขนาดใหญ่อย่างจริงๆ จังๆและเป็นเจ้าตลาดอยู่ ได้แก่ Aeon Group ถ้าในประเทศไทยก็มี MaxVauที่เพิ่งเปิดตรงเกตเวย์เอกมัย เป็นลักษณะคล้าย"ซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่" น่าเสียดายที่ Aeon Groupไม่ได้เอาบริษัทลูกในส่วนของค้าปลีกมาเข้าตลาดในประเทศไทยตรงๆไม่งั้นคงเป็นที่สนใจจากนักลงทุนหลายๆ ท่านเลยทีเดียว
4. จัดบริเวณเฉพาะให้สามารถทานได้ในร้านที่ผมเห็นก็มี Family Martซึ่งจัดบริเวณให้คนที่มาซื้อเบนโตะสามารถอุ่นแล้วนั่งทานในร้านได้เลยมีโต๊ะมีเก้าอี้ให้พร้อม ผมว่าตรงนี้ก็เป็นจิตวิทยาอย่างนึงซึ่งเมื่อเราเห็นคนทานอาหารแล้วอาจจะรู้สึกทานตามด้วยอย่างไรก็ตามการจัดบริเวณนี้สามารถทำได้ก็ต่อเมื่อร้านมีขนาดใหญ่เพียงพอซึ่งก็เป็นสามารถนึงที่ร้านสะดวกซื้อเริ่มขยายสาขาโดยเน้นขนาดให้ใหญ่ขึ้นกว่าปกติ
เราอาจพูดได้ว่าที่ญี่ปุ่น บริษัทค้าปลีกนั้นแข่งขันกันรุนแรงมากแล้วบริษัทที่มีชื่อเสียงเกือบทั้งหมดก็จดทะเบียนในตลาดหุ้นนิกเคให้นักลงทุนเลือกกันได้ตามชอบใจสาเหตุนี้เองทำให้บริษัทค้าปลีกพวกนี้เทรดกันที่ P/Eไม่สูงนักถ้าเทียบกับประเทศไทย เท่าที่ผมดู โดยเฉลี่ยก็ 7- 15 เท่าอีกสาเหตุนึงอาจจะเป็นเพราะว่าประเทศญี่ปุ่นเริ่มอิ่มตัวกับอุตสาหกรรมนี้การเติบโตปีต่อปีก็เป็นไปอย่างช้าๆ ถ้าไม่มีการกระตุ้นอะไรจากรัฐบาลแตกต่างจาก ประเทศไทยเราตอนนี้ที่บริษัทในอุตสาหกรรมค้าปลีกยังถือว่าเป็น "ดาวเจิดจรัส"ที่ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นที่สนใจของนายตลาดกระนั้นแล้วท้ายที่สุดแล้วอุตสาหกรรมค้าปลีกในประเทศไทยก็มีโอกาสที่จะปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันกับประเทศที่เจริญแล้วอย่างญี่ปุ่นขึ้นอยู่กัีบว่าจะช้าเร็วเพียงไรเท่านั้นเองซึ่งผมเชื่อว่าสิ่งที่ตามมาคือการปรับลดลงของค่า P/E ที่นายตลาดมอบให้