ความหมายของ EV/EBITDA
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 08, 2004 8:46 pm
มีใครจะอาสาอธิบายความหมายของ EV/EBITDA บ้างครับ เช่น SE-ED จะมี EV/EBITDA ในปี 2547 เท่ากับ 2.2 เท่า หมายความว่าอย่างไร
อ่อนั่นเหรอครับทำไมต้องนำ EBITDA มาเป็นตัวหาร EBITDA นั้นแสดงถึงตัวเลขอะไรของกิจการครับ
ถึงเวลาแล้วสำหรับมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (Economic Value Added)
โดย ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์
อาจารย์ประจำภาควิชาการบัญชี
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงรกรณ์มหาวิทยาลัย
ในช่วงที่ผ่านมาคำยอดฮิตติดหูทางด้านศาสตร์การบริหารและการเงินคงจะไม่มีคำใดมากเกินไปกว่า การบริหารที่เน้นมูลค่า (Value-Based-Management) หรือ VBM กับ มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (Economic Value Added) อย่างไรก็ตาม มักเกิดความสับสนระหว่าง การบริหารที่เน้นมูลค่า (Value-Based-Management) หรือ VBM กับ มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (Economic Value Added) หรือ EVA ซึ่งมักจะถูกนำไปใช้สลับกันไปมา แต่โดยทั่วไปแล้ว VBM เป็นแนวคิดที่กว้างกว่าเมื่อเทียบกับ EVA
VBM เป็นแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่มุ่งเน้นความต้องการของตลาดซึ่งคิดค้นโดย Louis Kelso และ Mortimer Adler VBM เป็นวิธีการที่จะทำให้บุคลากรแต่ละคนในองค์กร (1) มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ทั้งในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติงานและเจ้าขององค์กร (2) ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับการทุ่มเทให้กับองค์กรทั้งในฐานะผู้ปฏิบัติงานและเจ้าขององค์กร และ (3) ร่วมกับบุคลากรอื่นในการแก้ไขปัญหาหรือข้อผิดพลาดในระบบที่มีผลกระทบต่อการมีส่วนร่วมและตอบแทน ยิ่งบุคลากรมีความสนใจในสิ่งเดียวกัน ก็ยิ่งทำให้ความพึงพอใจของทั้งลูกค้าและบุคลากรเพิ่มขึ้นซึ่งนำไปสู่การลดต้นทุน การมีรายได้และผลกำไรเพิ่มขึ้น
ภายใต้แนวคิดของ VBM มูลค่าขององค์กรจะวัดจากกระแสเงินสดในอนาคตที่ปรับค่าของเงินตามระยะเวลาแล้ว มูลค่าขององค์กรดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อองค์กรได้ลงทุนในโครงการและได้รับผลตอบแทนสูงกว่าต้นทุนที่ลงไป VBM จะมุ่งความสนใจไปยังวิธีที่องค์กรจะนำมูลค่านี้มาใช้ในการสร้างกลยุทธ์รวมและการตัดสินใจในการดำเนินงานทั่วไป วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการบริหารที่นำการกำหนดเป้าหมายและการจัดการเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของฝ่ายบริหารมาใช้เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างมูลค่าให้กับองค์กร
ระบบ VBM จึงมีความคล้ายคลึงกับระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจอื่น แต่ก็มีจุดแตกต่างไปจากระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจอื่นตรงที่ว่า VBM จะรวมการสื่อสารเป้าหมายกลยุทธ์จากผู้บริหารไปยังพนักงานระดับปฏิบัติการและการส่งรายงานผลการปฏิบัติงานจากผู้ปฏิบัติงานมายังผู้บังคับบัญชา โดยอาศัยทั้งข้อมูลในอดีตและข้อมูลที่เกิดจากการพยากรณ์เพื่อสนับสนุนวงจรการจัดการหรือบริหารมูลค่าทั้งหมด
ระบบดังกล่าวทำให้สามารถรวบรวมและเปรียบเทียบข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกองค์กรกับเป้าหมาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวัดผลการปฏิบัติงานและสามารถนำมาสร้างสารสนเทศเพื่อการจัดการ สารสนเทศเหล่านี้จะถูกนำมาประมวลผลด้วยการสร้างแบบจำลองและสถานการณ์ที่ทำให้เกิดเป็นองค์ความรู้ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการวางแผนกลยุทธ์ แผนเหล่านี้จะถูกนำไปแปลงเป็นเป้าหมาย ซึ่งจะผลักดันการจัดการผลการปฏิบัติงานเพื่อให้ครบวงจร
VBM จึงเป็นแนวคิดของการจัดการที่พยายามปลูกฝังความรู้สึกนึกคิดของบุคลากรทุกคนในองค์กรในอันที่จะต้องเรียนรู้ที่จะจัดลำดับความสำคัญการตัดสินใจก่อนหลังโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจที่ว่าการตัดสินใจนั้นก่อให้เกิดมูลค่าแก่องค์กรอย่างไร ซึ่งหมายถึงว่ากระบวนการและระบบหลัก ๆ ทั้งหมดในองค์กรจะมุ่งเข้าสู่การสร้างมูลค่า (Creation of Value) และสร้างความมั่งคั่งจากการปฏิบัติงานเพื่อสร้างความมั่งคั่งและผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น
ตัวอย่างเช่น การสร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นถือเป็นเป้าหมายหลักในการจัดการ Supply Chain ของกิจการและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ แนวคิด VBM จะช่วยองค์กรในการวัดผลจากการจัดการ VBM จึงเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์ การประเมินผลปฏิบัติงาน และกระบวนการในการสร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้น
VBM ทำให้คุณภาพ การศึกษาและการมีส่วนร่วมเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อให้เกิดการจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management) Open Book Management และแนวคิดการเป็นเจ้าขององค์กร โดยการสร้างระบบที่มีโครงสร้างเพื่อกระจายอำนาจไปสู่พนักงานระดับล่าง ทั้งนี้รวมถึงการสร้างโอกาสให้กับพนักงานในการมีส่วนร่วมในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับการเจริญเติบโตขององค์กรและรายได้ในแต่ละช่วงเวลาซึ่งคำนวณจากเกณฑ์ศูนย์กำไร (Profit center basis) โปรแกรม VBM แบบเบ็ดเสร็จรวมถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning)
การจัดสรรทุน (Capital Allocation)
งบประมาณดำเนินงาน (Operating Budgets)
การวัดผลปฏิบัติงาน (Performance Measurement)
ผลตอบแทนไปสู่ฝ่ายบริหาร (Management Compensation)
การสื่อสารภายใน (Internal Communication)
การสื่อสารภายนอก (External Communication) (กับตลาดทุน)
องค์ประกอบของมูลค่าที่มีอยู่ใน VBM ประกอบด้วย (1) พื้นฐานของมูลค่าทางศีลธรรมโดยรวม (Universal Moral Value) ซึ่งเริ่มจากมูลค่าภายในของพนักงาน ลูกค้าและผู้ป้อนสินค้าแต่ละราย (2) ความสำเร็จในตลาด ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการส่งมอบมูลค่าสูงสุดให้กับลูกค้า (คุณภาพสูง ราคาต่ำกว่าโดยเปรียบเทียบ) และ (3) รางวัลซึ่งขึ้นอยู่กับมูลค่าที่แต่ละบุคคลมอบให้กับบริษัท ทั้งแบบตัวบุคคลและแบบทีมทั้งในฐานะลูกจ้างและเจ้าของ
EVA
EVA เป็นตัววัดผลปฏิบัติงานที่ VBM นำมาใช้เป็นมาตรวัดด้านการเงินของผลตอบแทนและมูลค่าในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ EVA ตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดของกำไรทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Profit) ที่เรียกกันว่า กำไรส่วนที่เหลือ (Residual Income) ซึ่งกล่าวว่าความมั่งคั่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อกิจการสามารถสร้างรายได้จนสามารถชดเชยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating Costs) และต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital) ได้จนหมดสิ้น
ด้วยความหมายแคบ ๆ เช่นนี้ EVA อันที่จริงแล้วจึงเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งในการมองผลการปฏิบัติงานขององค์กร อย่างไรก็ตาม การมอง EVA เช่นนี้ดูจะแคบเกินไป เนื่องจากมุมมองดังกล่าวมองข้ามคุณประโยชน์ที่สำคัญ ๆ ที่ EVA ก่อให้เกิดขึ้นกับการบริหารองค์กรที่มุ่งเน้นการสร้างมูลค่า (Value-Driven Firm)
หากมองอย่างพื้นฐานที่สุดอาจกล่าวว่า EVA เป็นตัววัดผลปฏิบัติงานตัวหนึ่ง แต่ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ถูกต้องหากจะจำกัดบทบาท EVA ไว้เพียงแค่ตัววัดผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ เพราะ EVA ทำหน้าที่เป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติโดยการเชื่อมโยงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้นเข้าด้วยกัน กล่าวคือเมื่อผู้บริหารกำหนดกลยุทธ์ขึ้น พวกเขาควรจะต้องกำหนดขึ้นโดยมีเป้าหมายในการสร้างกระแส EVA สูงสุดในอนาคตกลับมายังกิจการ
การจัดสรรทุนก็เช่นกันต่างได้รับประโยชน์จากการนำ EVA มาใช้ เนื่องจากเมื่อนำ EVA ไปเชื่อมโยงกับผลตอบแทนที่ฝ่ายบริหารจะได้รับ EVA จะเป็นสิ่งจูงใจฝ่ายบริหารที่เหนียวแน่นในอันที่จะเฟ้นหาและเลือกลงทุนในโครงการลงทุนที่จะก่อให้เกิดมูลค่ากลับมายังองค์กร อันที่จริงแล้วแนวทางของ EVA ส่วนใหญ่ที่นำมาใช้จะมุ่งเน้นไปที่การนำ EVA มาผูกโยงกับผลตอบแทนของฝ่ายบริหาร
ข้อดีของ EVA ประการหนึ่งคือเป้าหมายจะสามารถกระจายสู่ส่วนงานและแผนกต่าง ๆ ในองค์กร (ในบางครั้งไปในรูปของตัวผลักดัน EVA แทนที่จะเป็น EVA โดยตัวของมันตามลำพัง) ด้วยวิธีการเช่นนี้ งบประมาณดำเนินงานขององค์กรซึ่งรวมถึงงบประมาณที่จัดสรรไปยังหน่วยงานย่อยที่อยู่ในระดับที่ลึกลงไปในระดับสายงานต่าง ๆ ในองค์กรจะสามารถเชื่อมโยงโดยตรงเข้ากับข้อกำหนดต่าง ๆ ของตลาดทุน
ประการสุดท้าย EVA เป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงอันหนึ่ง ทั้งในแง่ของ (1) การทำให้แนวคิดการสร้างมูลค่ากระจายไปสู่ผู้บริหารในระดับ Line ซึ่งจะเป็นตัวผลักดันให้เกิดผลการปฏิบัติงานในองค์กรขึ้นในที่สุด และ (2) การติดต่อสื่อสารกับตลาดทุน
Young และ OByrne (2001) เชื่อว่าหาก EVA มีการนำไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมจะช่วยให้องค์กรสามารถติดตั้งโปรแกรม VBM ได้อย่างเบ็ดเสร็จ และหากมอง EVA ในลักษณะที่รวมทุกอย่างเข้าด้วยกันเช่นนี้ EVA ก็จะเกิดความกลมกลืนไปกับแนวคิด VBM โดยปริยาย
ความสัมพันธ์ระหว่าง EBITDA, NOPAT, EVA และ Free Cashflow
มักมีคำถามเสมอ ๆ ว่า EVA มีความแตกต่างไปจากตัววัดผลดำเนินงาน เช่น เช่น EBITDA, NOPAT และ Free Cashflow ที่หลายกิจการใช้กันอยู่ในปัจจุบันอย่างไร เพื่อให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่าง EBITDA, NOPAT, Free Cashflow และ EVA จะขอแสดงความสัมพันธ์ดังกล่าวในรูปแบบของงบกำไรขาดทุนดังนี้
ความสัมพันธ์ระหว่าง EBITDA, NOPAT, EVA และ Free Cashflow
รายได้จากการขาย XX
หัก ต้นทุนขาย XX
กำไรขั้นต้น XX
หัก ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร XX
กำไร (ขาดทุน) จากการขาย XX
รายได้จากการดำเนินงานอื่น XX
หัก ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่น XX
กำไร (ขาดทุน) จากการดำเนินงาน (Operating Income) XX
ดอกเบี้ยรับ XX
เงินปันผลรับ XX
รายได้อื่น XX
กำไร (ขาดทุน) ก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ (EBIT) XX
บวก ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย XX
กำไร (ขาดทุน) ก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา
และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) XX
หัก ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย XX
ภาษีเงินได้ XX
ภาษีเงินได้ที่ประหยัดได้จากดอกเบี้ยจ่าย XX
กำไรสุทธิจากการดำเนินงานหลังภาษีเงินได้ (NOPAT) XX ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเงินทุน +(-) รายการ
ปรับปรุงทางบัญชี = EVA
บวก ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย XX
หัก รายจ่ายฝ่ายทุน XX
บวก (หัก) การเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน XX
กระแสเงินสดจากการดำเนินงานส่วนเกิน (Free Cashflow) XX
จะเห็นได้ว่า EBITDA, NOPAT และ Free Cashflow เป็นตัววัดผลดำเนินงานที่คำนวณขึ้นตามแนวคิดทางบัญชีซึ่งไม่ได้มีการนำค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเงินทุนเข้ามาประกอบการพิจารณาแต่อย่างใด นอกจากนี้ ตัววัดผลดังกล่าวยังตั้งอยู่บนพื้นฐานของกำไรที่คำนวณขึ้นภายใต้หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งหลักการบัญชีดังกล่าวอาจทำให้ EBITDA, NOPAT และ Free Cashflow ไม่สะท้อนถึงความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจ (economic reality) ที่กิจการประสบอยู่ในแต่ละช่วงเวลา
องค์ประกอบของ EVA
หลังจากทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่าง EBITDA, NOPAT, Free Cashflow และ EVA ในรูปแบบของงบกำไรขาดทุนตามที่ได้แสดงไว้ข้างต้นแล้ว ในส่วนนี้จะแสดงองค์ประกอบของ EVA ในเชิงที่สัมพันธ์กันกับกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่จัดทำขึ้นตามแนวทางปฏิบัติของมาตรฐานการบัญชี
องค์ประกอบของ EVA
(ดัดแปลงจาก Biddle, Bowen and Wallace (1997))
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ XX
ปรับกระทบกำไร (ขาดทุน) สุทธิเป็นเงินสดรับ (จ่าย) จากการดำเนินงาน
ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย XX
หนี้สงสัยจะสูญ XX
ขาดทุนจากการตีราคาสินค้าลดลง XX
ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ XX
(กำไร) ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง XX
ส่วนแบ่งกำไร (ขาดทุน) ในบริษัทร่วม XX
(กำไร) ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ XX
(ขาดทุน) กำไรสุทธิของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย XX
กำไร (ขาดทุน) จากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน XX
(การเพิ่มขึ้น) ลดลงในสินทรัพย์หมุนเวียนยกเว้นเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด XX
(การลดลง) เพิ่มขึ้นในหนี้สินหมุนเวียนยกเว้นเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้น XX
เงินสดสุทธิได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมดำเนินงาน (CFO) XX
บวก (หัก) รายการปรับกระทบกำไร (ขาดทุน) สุทธิเป็นเงินสดรับ (จ่าย) จากการดำเนินงาน
(Accruals) XX
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (ก่อนรายการพิเศษ) XX
บวก ดอกเบี้ยจ่าย สุทธิจากภาษีเงินได้ XX
NOPAT XX
หัก ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเงินทุน XX
กำไรส่วนที่เหลือ (Residual Income) (EVA ที่ยังไม่ได้ปรับปรุง (Unadjusted EVA)) XX
บวก (หัก) รายการปรับปรุงทางบัญชี XX
EVA XX
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเงินทุน (Capital Charges)
= ทุนที่ลงไปถัวเฉลี่ย (Average Invested Capital) * ต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital)
จะเห็นได้ว่า ในการคำนวณหาค่า EVA นั้น จำเป็นจะต้องทราบทุนที่ลงไป (Invested Capital) ว่ามีจำนวนเท่าไร โดยอาศัยข้อมูลจากงบดุลนั่นเอง แต่ใช่ว่างบดุลที่ผู้อ่านเคยเห็นตามปกติจะสามารถนำมาใช้ได้ทันที ผู้อ่านจำเป็นที่จะต้องนำงบดุลปกติมาดัดแปลงใหม่ให้อยู่ในรูปของงบดุลตามแนวคิด EVA โดยย้ายหนี้สินที่ไม่มีภาระดอกเบี้ยไปหักออกจากรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นที่มิใช่เงินสด เพื่อให้ได้ยอด เงินทุนหมุนเวียน เหตุผลที่ต้องย้ายหนี้สินที่ไม่มีภาระดอกเบี้ยไปหักออกจากรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นที่มิใช่เงินสดเพื่อให้ได้ยอด เงินทุนหมุนเวียน ก็เนื่องจากในการคำนวณต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ย (WACC) โครงสร้างเงินทุนที่นำมาใช้ในการหาต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยประกอบด้วยโครงสร้างเงินทุนที่ได้มาจากการก่อหนี้กับโครงสร้างเงินทุนที่มาจากผู้ถือหุ้น โดยที่โครงสร้างเงินทุนที่ได้มาจากการก่อหนี้ในที่นี้ หมายถึง โครงสร้างเงินทุนที่ได้มาจากการก่อหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยนั่นเอง
งบดุลปกติ
เงินสดและเงินฝากธนาคาร หนี้สินหมุนเวียนที่มีภาระดอกเบี้ย
เงินลงทุนระยะสั้น เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
ลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้า (สุทธิ) ส่วนของเงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี
เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
สินค้าคงเหลือ หนี้สินหมุนเวียนที่ไม่มีภาระดอกเบี้ย
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เจ้าหนี้และตั๋วเงินจ่ายการค้า
เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน หนี้สินหมุนเวียนอื่น
เงินลงทุนในบริษัทร่วม หนี้สินระยะยาวที่มีภาระดอกเบี้ย
ที่ดิน อาคารและอปุกรณ์ (สุทธิ) เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน เงินกู้ยืมระยะยาว
สินทรัพย์อื่น หนี้สินอื่น
ส่วนของผู้ถือหุ้น
งบดุลตามแนวคิด EVA
เงินสดและเงินฝากธนาคาร หนี้สินหมุนเวียนที่มีภาระดอกเบี้ย
เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
เงินทุนหมุนเวียน ส่วนของเงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี
เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน หนี้สินระยะยาวที่มีภาระดอกเบี้ย
เงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
ที่ดิน อาคารและอปุกรณ์ (สุทธิ) เงินกู้ยืมระยะยาว
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หนี้สินอื่น
สินทรัพย์อื่น ส่วนของผู้ถือหุ้น
กล่าวอีกนัยหนึ่ง
หนี้สินหมุนเวียนที่มีภาระดอกเบี้ย
หนี้สินระยะยาวที่มีภาระดอกเบี้ย
หนี้สินอื่น
ส่วนของผู้ถือหุ้น (ทั้งนี้รวมถึงส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย)
= ทุนที่ลงไป นั่นเอง
นอกจากการปรับปรุงงบดุลให้เป็นไปตามแนวคิดของ EVA แล้ว ผู้อ่านยังต้องเข้าใจถึงรายการปรับปรุงทางบัญชี (Accounting Adjustment) ซึ่งมีผลทำให้ NOPAT ที่คำนวณขึ้นในเบื้องแรกภายใต้หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป (GAAP) มีความยืดหยุ่นไปตามถึงรายการปรับปรุงทางบัญชีดังต่อไปนี้
รายการปรับปรุงทางบัญชี
รายการปรับปรุงทางบัญชีมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
โอนกลับรายการที่เกิดจากความโน้มเอียงของหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักความระมัดระวัง (Conservative bias in GAAP) ซึ่งกำหนดให้
กิจการใช้การบัญชีตามความพยายามที่ประสบผลสำเร็จ (Successful Efforts Accounting) ตัวอย่างเช่น มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ ระบุว่า ณ วันสิ้นงวด กิจการต้องประเมินว่าสินทรัพย์ที่มีอยู่เกิดการด้อยค่าหรือไม่ หากกิจการพบว่ามีข้อบ่งชี้ที่ทำให้เชื่อได้ว่าสินทรัพย์อาจเกิดการด้อยค่า กิจการต้องประมาณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน (Recoverable Amount) ของสินทรัพย์นั้น พร้อมทั้งบันทึกลดราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ให้เท่ากับมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน หากมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนต่ำกว่าราคาตามบัญชีของสินทรัพย์นั้น ส่วนที่ลดลงคือรายการขาดทุนจากการด้อยค่า
กิจการต้องรับรู้รายจ่ายต่อไปนี้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เป็นไปตามการตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่องที่ 4 การด้อยค่าของสินทรัพย์ รายจ่ายที่กิจการในขั้นพัฒนาและกิจการที่พัฒนาแล้วบันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ การตีความดังกล่าวเป็นไปตามแม่บทการบัญชีที่ว่ากิจการจะบันทึกรายจ่ายเป็นสินทรัพย์หรือเป็นค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชีได้ก็ต่อเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่รายจ่ายนั้นจะให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตต่อกิจการเกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี นอกจากนี้ แม่บทการบัญชีไม่อนุญาตให้นำแนวคิดการจับคู่รายได้และค่าใช้จ่ายมาใช้เพื่อบันทึกรายการในงบดุลหากรายการนั้นไม่เป็นสินทรัพย์ตามคำนิยาม รายจ่ายต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของรายจ่ายที่กิจการในขั้นพัฒนาและกิจการที่พัฒนาแล้วต้องรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดขึ้น
ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งกิจการ เช่น ค่าที่ปรึกษาทางกฏหมายและค่าใช้จ่ายด้านเลขานุการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกิจการให้เป็นนิติบุคคล
ค่าใช้จ่ายก่อนการเปิดกิจการ เช่น ค่าใช้จ่ายในการเปิดโรงงานหรือธุรกิจ
ค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงาน เช่น ค่าใช้จ่ายในการเริ่มดำเนินงานใหม่และค่าใช้จ่ายในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใหม่
รายจ่ายในการอบรมบุคลากร
รายจ่ายในการโฆษณาและส่งเสริมการขาย
รายจ่ายในการย้ายสถานที่หรือรายจ่ายในการจัดองค์กรใหม่ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
กิจการต้องรับรู้รายจ่ายในการวิจัยและพัฒนาเป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดขึ้นหากมีความสัมพันธ์โดยตรงกับประโยชน์ที่จะได้รับในอนาคตน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย หรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับมีความไม่แน่นอนอยู่มาก ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 14 เรื่อง การบัญชีสำหรับการวิจัยและพัฒนา
การโอนกลับรายจ่ายดังกล่าวย่อมส่งผลให้ทุนที่ลงไปต้องแปรเปลี่ยนตามไปด้วย เนื่องจากรายการโอนกลับเหล่านี้จะถูกนำกลับไปตั้งเป็นสินทรัพย์ประหนึ่งว่าเป็นรายจ่ายรอการตัดบัญชี เช่น รายจ่ายในการวิจัยและพัฒนารอการตัดบัญชี เป็นต้น ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องพิจารณากันใหม่ถึงระยะเวลาที่กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากรายจ่ายนั้น
ทำให้อัตราผลตอบแทน (ทางบัญชี) ต่อเงินทุนที่ลงไป (Accounting Return on Capital) เป็นตัวแทนที่ดีของอัตราผลตอบแทนภายในหรืออัตราผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ (Economic or Internal Rate of Return) โดยสนับสนุนให้
ใช้วิธีกองทุนจม (Sinking Fund Method) แทนที่จะใช้วิธีเส้นตรง (Straight-ling Method) ในการคิดค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย
รับรู้ต้นทุนที่เป็นเงินสดประจำงวดอนาคต (Future Period Cash Costs) โดยใช้วิธีมูลค่าปัจจุบัน (Present Value Basis) (ตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี หนี้สงสัยจะสูญ และค่าใช้จ่ายในการรับประกันสินค้าหลังการขาย)
เพิ่มความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร (Accountability) ในการบริหารเงินทุนของผู้ถือหุ้นโดย
ตัดวิธีรวมส่วนได้เสีย (Pooling of Interest Accounting) ออกจากการการจัดทำงบการเงินรวม
รับรู้รายการหนี้สินนอกงบดุล (Off-Balance Sheet Debt)
รับรู้รายการ Stock Options เป็นค่าใช้จ่ายทางธุรกิจ
จำกัดขีดความสามารถของฝ่ายบริหารในการปรับแต่งกำไรโดยตัดรายการหนี้สัยจะสูญและค่าใช้จ่ายในการรับประกันสินค้าหลังการขายที่ตั้งขึ้นตามเกณฑ์คงค้างออกจากการคำนวณ
ตัดค่าใช้จ่ายที่มิใช่เงินสด (Noncash Charges) ออกจากการคำนวณ ตัวอย่างเช่น
ค่าความนิยม
ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี
ทำให้ EVA เป็นตัววัดมูลค่าตลาด (Market Value) ที่ดีกว่าเดิมโดย
บันทึกรายจ่ายในการจัดองค์กรใหม่และรายจ่ายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นพิเศษเป็นต้นทุนสินทรัพย์
ตัดรายได้และสินทรัพย์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน (Nonoperating Income and Assets) ออกจากการคำนวณ
บันทึกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเงินทุน (Capital Charge) บางส่วนเป็นต้นทุนสินทรัพย์
หลังจากปรับปรุงกำไรส่วนที่เหลือ (Residual Income) ด้วยรายการปรับปรุงทางบัญชีเหล่านี้เสร็จสิ้น ก็จะได้ EVA ตามที่ต้องการ
บทสรุป
ในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมากระแสของ การบริหารที่เน้นมูลค่า (Value-Based-Management) หรือ VBM กับ มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (Economic Value Added) หรือ EVA เริ่มมาแรงในประเทศไทย แต่ก็ยังเกิดความสับสนระหว่าง การบริหารที่เน้นมูลค่า (Value-Based-Management) หรือ VBM กับ มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (Economic Value Added) หรือ EVA และมักจะถูกนำไปใช้สลับกันไปมาประหนึ่งว่าสองคำนี้เป็นสิ่งเดียวกัน บทความนี้ชี้ให้เห็นความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง VBM และ EVA ตลอดจนแนวทางในการคำนวณ EVA เชิงปฏิบัติ อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารกิจการ และผู้สนใจโดยทั่วไปในการพัฒนาแนวทางวัดผลการดำเนินงานให้สอดคล้องกับแนวคิดใหม่ทางด้านการบริหารที่มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจกลับไปยังผู้ถือหุ้น
อย่างไหงก็ได้ที่ไม่รวมค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ Depreciation กับ Amortizationพี่Ayethebingครับ
"ที่ต้องเอา Depreciation กับ Amortization ออกผมว่าเค้าอยากให้ทำในสองเรื่องคือ"
พี่พิมพ์ผิดใช่ป่ะ น่าจะเป็น
"ที่ต้องเอา D กับ A รวมเข้าไปใน EBIT"นะครับ เดี๋ยวคนอ่านงง
บทความจาก Biz&Monney
ถนนนักลงทุน
วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2547
คุณฉุยคุยเอง
ลงทุนแบบ 'เน้นคุณค่า' (Value Investor)
สัปดาห์นี้ เรามาดูวิธีหรือแนวคิดที่ว่า หากเราอยากจะเป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) กันต่อ ว่าเขาจะดูหรือมีวิธีวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินกันอย่างไร....
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis)
เป็นการนำรายการต่างๆ ในงบการเงินมาเทียบอัตราส่วนเพื่อหาความสัมพันธ์ว่า มีความเหมาะสมเพียงใด การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน 4 ประการ
1.การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity Ratio)
2.การวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไร (Profitability Ratio)
3.การวิเคราะห์ความสามารถ (ประสิทธิภาพ) ในการดำเนินงาน (Efficiency Ratio)
4.การวิเคราะห์โครงสร้างของเงินทุนหรือภาระหนี้สิน (Leverage Ratio or
Financial Policy Ratio)
1.การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity Ratio)
1.1 อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนหรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio)
อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน (CA)
หนี้สินหมุนเวียน (CL)
วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น ถ้าค่าที่คำนวณได้สูงเท่าใด แสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่ประกอบไปด้วย เงินสด ลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือมากกว่าหนี้ระยะสั้น ทำให้คล่องตัวในการชำระหนี้ระยะสั้นมีค่อนข้างมาก โดยปกติ อัตราส่วน 2 : 1 ถือว่าเหมาะสมแล้ว
1.2 อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio or Acid Test Ratio)
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน - สินค้าคงเหลือ
หนี้สินหมุนเวียน
หรือ Quick Ratio = CA - Inventory
CL
เป็นการวัดส่วนของสินทรัพย์ที่ได้หักค่าสินค้าคงเหลือ ที่เป็นสินทรัพย์ระยะสั้นและมีความคล่องตัวในการเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ต่ำสุดออก เพื่อให้ทราบถึงสภาพคล่องที่แท้จริงของกิจการได้ โดยปกติอัตราส่วน 1 : 1 ถือว่าเหมาะสมแล้ว
1.3 อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover)
อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover)
A/R Turnover = ขายเชื่อสุทธิ หรือใช้ยอดขายรวม (ครั้ง หรือ รอบ)
ลูกหนี้ถัว เฉลี่ย
ลูกหนี้ถัว เฉลี่ย = ลูกหนี้ต้นงวด + ลูกหนี้ปลายงวด
2
หากค่าที่คำนวณได้ มีค่าสูง แสดงถึงความสามารถในการบริหารลูกหนี้ให้แปลงสภาพเป็นเงินสดได้เร็ว
1.4 ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Average Collection Period)
ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้
(Avg. Collection Period) = 365 วัน (วัน) ยิ่งต่ำยิ่งดี
อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้
แสดงให้เห็นถึงระยะเวลาในการเรียกเก็บหนี้ว่าสั้นหรือยาว เพื่อให้ทราบถึงคุณภาพของลูกหนี้
ประสิทธิภาพในการเรียกเก็บหนี้ และนโยบายในการให้สินเชื่อทางธุรกิจ
1.5 อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover)
อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ
(Inventory Turnover) = ต้นทุนสินค้าขาย (COGS)
สินค้าคงเหลือเฉลี่ย (Avg. Inventory)
สินค้าคงเหลือเฉลี่ย = สินค้าต้นงวด + สินค้าปลายงวด
2
หากค่าคำนวณได้สูง ย่อมแสดงถึงความสามารถในการบริหารการขายสินค้าได้เร็ว
1.6 ระยะเวลาในการจำหน่าย (ขาย) สินค้า
ระยะเวลาในการจำหน่าย (ขาย) สินค้า = 365 (วัน) (วัน)
อัตราหมุนเวียนของสินค้า (Inventory Turnover)
ยิ่งขายได้เร็ว (ระยะเวลาสั้น) ยิ่งดี
2.ความสามารถในการหากำไร (Profitability Ratio)
1.1 อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)
1.2 อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit Margin)
1.3 อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin)
1.4 อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return On Equity or ROE)
อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) = ขายสุทธิ - ต้นทุนขาย หรือ SALES - COGS
(%) ขายสุทธิ SALES
= กำไรขั้นต้น หรือ Gross Profit
ขายสุทธิ SALES
ยิ่งสูงยิ่งดี
อัตรากำไรจากผลการดำเนินงาน (Operating Profit Margin)
(%) = กำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit Margin)
ขายสุทธิ (SALES)
ยิ่งสูงยิ่งดี
อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) = กำไรสุทธิ (Net Profit)
(%) ขายสุทธิ (SALES)
ยิ่งสูงยิ่งดี แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทในการทำกำไร หลังจากหักต้นทุนค่าใช้จ่ายรวมทั้งภาษีเงินได้หมดแล้ว
ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE %) = กำไรสุทธิ (Net Profit)
ส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity)
ยิ่งสูงยิ่งดี แสดงให้เห็นว่าเงินลงทุนในส่วนของเจ้าของ จะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาจากการดำเนินการของกิจการนั้นในอัตราส่วนเท่าไร หากมีค่าสูง แสดงถึงประสิทธิภาพในการหากำไรสูงด้วย
Dupont Equation
ROE (%) = NP (or EAT) = (EAT/SALES) (SALES/ASSETS) (ASSETS/EQUITY)
Equity
หรือ ROE (%) = กำไรสุทธิ X รายได้จากการขาย X สินทรัพย์ทั้งหมด
รายได้จากการขาย สินทรัพย์ทั้งหมด ส่วนของผู้ถือหุ้น
= (ความสามารถในการหากำไร) (การใช้เงินทุน) (ความสามารถในการหาทุน)
หรือ สมการนี้เท่ากับ
ROE (%) = (Net Profit Margin) (Total Asset Turnover) (Financial Leverage)
3. อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency Ratio)
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (ROA)= กำไรสุทธิ (Net Profit)
(%) สินทรัพย์รวม (Total Assets)
ยิ่งสูงยิ่งดี เป็นการวัดความสามารถในการทำกำไรของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ธุรกิจใช้ในการดำเนินงาน ว่าให้ผลตอบแทนจากการดำเนินงานได้มากน้อยเพียงใด หากมีค่าสูง แสดงถึงการใช้สินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ถาวร (ROFA) = กำไรสุทธิ (Net Profit or NP)
รวมสินทรัพย์ถาวร (Fix Assets)
อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover)
อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover) = ขายสุทธิ (SALES) (ครั้ง)
สินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset)
ยิ่งสูงยิ่งดี
อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover)
อัตราส่วนการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover) = ขายสุทธิ (SALES)
(ครั้งหรือเท่า) สินทรัพย์รวม (Total Assets)
จำนวนครั้งสูง ดี เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ทั้งหมด (TA) เมื่อเทียบกับยอดขาย (SALES) ถ้าอัตราส่วนนี้ต่ำ แสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์มากเกินความต้องการ
4. อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน (Leverage Ratio or Financial Ratio)
เพื่อให้ทราบถึงแหล่งที่มาของเงินทุนว่ามาจากหนี้สินหรือส่วนของเจ้าของ ว่ามีมากน้อยเพียงใด
อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt/Equity Ratio) = หนี้สินรวม (Total Debt)
(เท่า) ส่วนของเจ้าของ (Equity)
ยิ่งต่ำ ยิ่งดี แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงในด้านเจ้าหนี้และเจ้าของกิจการ ถ้าอัตราส่วนสูง
แสดงว่า กิจการมีความเสี่ยงจากการกู้ยืมเงินมาใช้ในการดำเนินกิจการ
ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage)
(เท่า) = กำไรสุทธิ (NP) + ภาษีเงินได้ (Tax) - ดอกเบี้ยจ่าย (Interest)
ดอกเบี้ยจ่าย (Interest)
เป็นการวัดความสามารถของธุรกิจในการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ ผลคำนวณออกมามีค่าสูง แสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยสูง
อัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Payout) = เงินปันผลต่อหุ้น (Dividend /share)
กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS)
แสดงถึงนโยบายการจ่ายเงินปันผลของธุรกิจ
อัตราส่วนที่กล่าวมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน เพื่อท่านจะได้พิจารณางบการเงินได้ในระดับหนึ่ง
สัญญาณเตือนภัยจากการวิเคราะห์งบการเงิน
1.ขาดทุนมากๆ และติดต่อกันหลายปี
2.ระยะเวลาการเก็บหนี้นานขึ้น
3.อัตราหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของสูงขึ้นเร็วมาก
4.สินค้าคงคลังสูงมากผิดปกติ
5.ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
6.ยอดขายสูงขึ้น แต่กำไรลดลง
7.หนี้สูญเพิ่มขึ้น
8.รายงานผู้สอบบัญชีผิดปกติ เปลี่ยนผู้สอบบัญชีใหม่
9.ขายสินทรัพย์ของบริษัท เพื่อสร้างกำไรให้เข้าเป้าในระยะสั้น
การประเมินมูลค่าหุ้น (Equity Valuation)
1.ประเมินมูลค่าหุ้นจากสินทรัพย์ (Asset Value Approach)
2.ประเมินมูลค่าหุ้นจากกำไรและเงินปันผล
(Earnings and Dividend Approach)
ประเมินมูลค่าหุ้นจากสินทรัพย์ (Asset Value Approach)
1.Price per Book Value (P/BV Ratio)
2.Net-net Asset Value per Share (Net NAV/ #share) Graham Technique
3.Net-net working capital = Graham Technique
4.NAV
P/BV Ratio = Price /Book Value per Share = P/BV
Price = ราคาที่เราเต็มใจซื้อ
P/BV = จำนวนกี่เท่าที่เราเต็มใจจ่าย
BV = มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น = ส่วนของผู้ถือหุ้น
จำนวนหุ้น
Net Net Asset Value per Share
= สินทรัพย์หมุนเวียน (CA) - หนี้สินหมุนเวียน (CL) - หนี้สินระยะยาว (LL)
จำนวนหุ้นทั้งหมด (#Shares)
หรือ
Net Net Asset Value per Share (Net NAV/ #share) = CA-TL (Total Liability)
#share
จะมีโอกาสผิดพลาดไม่มากนัก หากนักลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทที่มีสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่า ผลรวมของหนี้สินระยะสั้นและหนี้สินระยะยาว ถึง 1 ใน 3 และซื้อกระจายไปหลายๆ ตัว หุ้น Net-net หายากในปัจจุบัน แต่บางครั้งเราก็สามารถหามันพบได้ วิธีการนี้ ถือว่าเป็นสาระสำคัญที่สุดของเทคนิคการลงทุน แบบ เบนจามิน เกรแฮม
ซึ่งเขาจะใช้วิธีนี้ซื้อหุ้นหลังเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (ประยุกต์ใช้กับช่วงปี 2540 ของไทย) โดยเกรแฮม ให้ความสนใจกับคุณภาพน้อยมาก แต่จะป้องกันความปลอดภัยโดย ซื้อหุ้นหลายๆ ตัว เพื่อกระจายความเสี่ยงไปในตัว
การที่เราสามารถหาซื้อหุ้นที่ซื้อขายกันในราคาต่ำกว่าตัวเลข 1 ใน 3 เปรียบแล้วก็เหมือนการได้หุ้นมาฟรีๆ ถึงแม้ว่าตอนนั้นฐานะการเงินของบริษัทอาจจะไม่แข็งแกร่งดีนักก็ตาม
Net-net Working Capital (NNWC) เทคนิคของ เกรแฮม
Net-net Working Capital (NNWC)
= สินทรัพย์หมุนเวียน (CA) - หนี้สินรวม (TL= Total Liability)
หลักการ คือ หา (จังหวะ) ซื้อหุ้นที่มีราคาต่ำกว่า Net-net Working Capital
สินทรัพย์สุทธิต่อหุ้น (Net Assets Value per Share)
NAV = สินทรัพย์รวม - หนี้สินรวม
จำนวนหุ้น
สินทรัพย์รวมที่อยู่ในรูปที่ดินอาจจะต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะซื้อมาตอนราคาต่ำมากๆ
ข้อเสียของ NAV คือ ไม่ได้คำนึงถึงอนาคตของกิจการ และมูลค่าของเงินตามระยะเวลา (Time value Of Money)
ประเมินมูลค่าหุ้นจากกำไรและเงินปันผล
(Earnings and Dividend Approach)
1.Price per Earning Ratio (P/E Ratio or PER)
2.Dividend Yield
3.Dividend Discount Model
4.Enterprise Value (EV)
P/E Ratio or PER
P/E Ratio (เท่า) = Price
EPS
P/E = จำนวนกี่เท่าของกำไรที่เราเต็มใจจ่าย
Price = ราคาที่เราเต็มใจจ่าย
EPS = กำไรสุทธิต่อหุ้น
EPS ที่ใช้กันแตกต่างกันไป เช่น
1.1 EPS เมื่อ 4 ไตรมาสที่ผ่านมา (4 ไตรมาสย้อนหลัง)
1.2 EPS เมื่อสิ้นปีที่แล้ว (ปี 2003)
1.3 EPS อนาคตจากการคาดการณ์ (ปี 2004)
การเลือกใช้ค่า P/E ที่เหมาะสมโดย
1.เปรียบเทียบกับ ค่า P/E ตลาด
2.เปรียบเทียบกับ ค่า P/E ของอุตสาหกรรม
3.เปรียบเทียบกับ ค่า P/E ในอดีต
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าหรือระดับของ P/E
1.อัตราการเติบโตของ กำไร (Net Profit) และกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) หรือ Expected growth
2.สภาพคล่องของหุ้น (Liquidity)
3.ระดับการยอมรับของทีมงานบริหาร (Perceived quality of management) ถ้ามีผู้บริหารเก่งๆ สามารถทำให้ผลการดำเนินงานดีขึ้น ต้นทุนลดลง กำไรเพิ่มขึ้นได้
เกรแฮม : เราควรจะมีการกำหนดค่า P/E ที่ไม่ควรสูงเกินไปเอาไว้ เพื่อให้การประเมินมูลค่าหุ้นจะได้เป็นไปอย่างอนุรักษนิยม แนะนำว่า ค่า P/E ที่ 20 เท่า ของผลกำไรเฉลี่ยเป็นราคาที่สูงที่สุดแล้วที่จะซื้อหุ้นสามัญ เกรแฮมพยายามหลีกเลี่ยง ค่า P/E 20-25 เท่า
@ ค่า P/E ควรจะต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับค่า P/E ของบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน @ ค่า P/E จะบ่งชี้ถึงขีดจำกัดบน ของมูลค่าที่แท้จริง
@ บริษัทที่มีศักยภาพในการลงทุนมากที่สุด มักมีกำไรอย่างต่อเนื่อง
@ กำไรควรมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
@ การคาดการณ์ผลกำไรและตัวเลขอื่นๆ ควรคาดการณ์ต่ำๆ ไว้ก่อน เพื่อที่จะได้มีค่าเผื่อไว้เพื่อความปลอดภัย (Margin of safety)
Dividend Yield Approach (อัตราผลตอบแทนเงินปันผล)
Dividend Yield (%) = Expected Dividend หรือ เงินปันผลต่อหุ้น
Price ราคาหุ้น
Dividend Discount Model (DDM)
การคำนวณมูลค่าหุ้นจากแบบจำลองส่วนลดเงินปันผล (DDM)
รู้จักแพร่หลายและมีการนำไปประยุกต์ใช้กันมาก โดยหลักการประเมินมูลค่าหุ้นมีพื้นฐานมาจาก หลักการ Discount Cash Flows ที่กล่าวว่า
มูลค่าของสินทรัพย์ ณ ขณะใดๆ จะมีค่าเท่ากับกระแสเงินสดที่ได้รับจากการลงทุนในสินทรัพย์นั้นๆ ในอนาคตทั้งหมด คิดลดมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน ด้วยอัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการ
กรณี หุ้นสามัญ กระแสเงินสด ที่ผู้ถือหุ้นได้รับ คือ เงินปันผล (Dividend) ในแต่ละปี และ ราคาหุ้นที่คาดว่าจะขาย นั่นเอง
P = D1 + D2 + ???.D?
(1+Ks)? (1+Ks)? (1+Ks)?
P = ราคาประเมินของหุ้นสามัญในปีปัจจุบัน
D = เงินปันผลในปีที่ t โดยที่ t = 1, 2, 3, 4, ??.. ตั้งแต่ปีที่ 1, 2, 3, 4 ไปเรื่อยๆ
Ks = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการของตลาด (Required rate of return) ซึ่งจะแปรผันไปตามความเสี่ยงของธุรกิจ และอาจถูกกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงผลตอบแทนจากการเลือกการลงทุนอื่น
D1 = Do (1+g)
g (growth) = อัตราการเติบโตของเงินปันผล
การประเมินมูลค่าหุ้น กรณีเงินปันผลเท่ากันทุกงวด (Zero Growth Dividend)
โดยคาดว่าเงินปันผลจะได้รับเท่ากันทุกงวด และคาดว่าจะถือหุ้นไม่มีกำหนด จะได้
D1= D2 = D3 = ?? จะได้
P = D
Ks
การประเมินมูลค่าหุ้น กรณีเงินปันผลมีอัตราเพิ่มเท่ากันทุกงวด
(Constant Growth Dividend or Gordon Model)
Po = D1 = Do (1+g)
K - g k - g
K = required rate of return ตาม CAPM (Capital Asset Pricing Model)
K = Rf + ? (Rm - Rf)
Rm = Return of market ผลตอบแทนของตลาดโดยรวม
Rf = Risk free rate อัตราดอกเบี้ยที่ไม่มีความเสี่ยง
Rm > Rf
Rm - Rf = Risk premium
?=Beta = ตัววัดการแกว่งตัวของผลตอบแทนของหลักทรัพย์ เมื่อเทียบกับการแกว่งตัวของตลาด นักลงทุนสถาบัน มองว่า ถ้าค่า Beta เบี่ยงเบนมาก ก็จะมีผลต่อหุ้นมาก
ความเสี่ยงสูง
Beta = 1 => ตลาด + 10 % ราคาหุ้น + 10%
Beta > 1 => ตลาด +10% ราคาหุ้น + 15%
Beta < 1 => ตลาด +10% ราคาหุ้น + 8%
Beta < 0 => ตลาด + 10% ราคาหุ้น - 3% เป็นต้น
การประเมินมูลค่าของกิจการ (Enterprise Value หรือ EV)
การประเมินมูลค่าหุ้น โดย
สมการนี้ เหมือนกับค่า P/E ไม่มีค่าตายตัวให้เปรียบเทียบกับหุ้นใน
อุตสาหกรรม ว่ามีการลงทุนกันกี่เท่า
------------------------
ล้อมกรอบต่อท้าย
Workshop 9 วันที่ 15-16 พฤษภาคม 2547 (2 วันเต็ม) เวลา 8.30-17.00
น.สถานที่ อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 (ติดอาคารฐานเศรษฐกิจ ถ.วิภาวดีรังสิต) ชั้น 10 ห้อง 1005 ค่าอบรม 7,000 บาท (รวมค่าอาหารกลางวัน, 2 Coffee Break เรียบร้อยแล้ว) รับเพียง 50 คนเท่านั้นต้องรีบหน่อยเต็มแล้วเต็มเลย โทร.02-646-9652-7, 01-441-3638 FAX 02-646-9753
เรียนการวิเคราะห์ทางเทคนิคและทางปัจจัยพื้นฐาน (Technical & Simple Fundamental Analysis) ตลอดจนนำมาผสมกันจนเป็นรูปแบบใหม่ในสไตล์ของคุณเอง เพื่อช่วยท่านลดความเสี่ยงในการลงทุน การเลือกหุ้นทั้งจากปัจจัยทางด้านเทคนิคและทางพื้นฐาน การหาจังหวะเข้าทำการซื้อขาย พร้อมกับยกหุ้นตัวอย่างเป็นกรณีศึกษา
ขอบคุณครับนักดูดาว Posted: Fri Jul 09, 2004 11:23 am Post subject:
--------------------------------------------------------------------------------
ของ SE-ED ผมคิดได้ประมาณ 7-8 นะครับ (ไม่รวมวอร์แรนต์)
คุณ chatchai หมายถึง Cash from operation +/- Cash from investingchatchai เขียน:แต่ เดี๋ยวก่อน EBITDA นั้น เราควรที่จะปรับปรุง รายได้และรายจ่ายที่ไม่ได้เป็นเงินสดก่อนหรือไม่ เช่น รายการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ การตั้งสำรองสินค้าเสื่อมสภาพ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง กำไร/ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ถาวรหรือเงินลงทุน
รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการลงทุนเพื่อปรับปรุงสินทรัพย์ถาวรเดิมให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปรกติ การที่เราบวกกลับค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดจ่าย แล้วทำไมเราถึงไม่หักภาระการลงทุนออกด้วยละครับ
อ้อครับ พอดีที่ถามเพราะผมคิดว่าคุณ Chatchai คำนวนเอง แล้วผมคงคิดอะไรผิดไปที่ผมยกตัวอย่างว่า SE-ED มี EV/EBITDA ประมาณ 2.2 เท่า ผมยกมาจากบทวิเคราะห์ที่มีเพื่อนๆลงไว้นะครับ โดยที่ผมไม่ได้สนใจค่าของมันว่าถูกต้องหรือไม่ ไม่ได้เชียร์ SE-ED ครับ
Market Cap. = จำนวนหุ้น * ราคาหุ้นnonneee เขียน:อ่านแล้วยัง งงๆครับ
EV หาจาก market cap. + Total debt - cash
ตัว market cap. คือมูลค่าหุ้นทั้งหมดในตลาดใช่ไหมครับพี่ๆ
-------------------------------------------------------------------