หน้า 1 จากทั้งหมด 1

Businessman like Investor ภาคภาษาไทย

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 19, 2003 10:19 pm
โดย มนตรี นิพิฐวิทยา
วันนี้เข้าไปอ่านเรื่องนี้ซ้ำเพื่อจะลองหาIntrinsic Value บ้างเห็นมีภาษาไทยมาแล้วนะครับ ไม่ทราบว่าเพื่อนๆ ได้อ่านกันหรือยัง

Businessman like Investor ภาคภาษาไทย

โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 06, 2004 4:32 pm
โดย นักดูดาว
อ่านที่ไหนเหรอครับ

Businessman like Investor ภาคภาษาไทย

โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 06, 2004 5:46 pm
โดย kotaro
ที่นี่ครับ อยู่ใน investor guide

http://www.thaivalueinvestor.com/invest ... _thai.html

Businessman like Investor ภาคภาษาไทย

โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 06, 2004 6:08 pm
โดย kotaro
เรียนถามพี่มนครับ

เห็นในตัวอย่าง ให้ค่า Capitalisation Rate = 1 %

ค่านี้คืออะไรเหรอครับ ใช่ค่าของมูลค่าซาก หรือเปล่าครับ

Businessman like Investor ภาคภาษาไทย

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 07, 2004 8:29 pm
โดย Mon money
คุณหมอรู้เปล้าว่ามีคนถามผมคนแรกเลยก็คือพี่หมอจวบ และผมก็ตอบไปว่าอะไรจำบ่ได้แล้ว แต่เดี๋ยวไปหามาตอบให้ใหม่นะรอนิดนึง

Businessman like Investor ภาคภาษาไทย

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 07, 2004 8:46 pm
โดย สุรชัย ช.
Capitalisation Ratio คือค่าที่ใช้ในการหาค่า Residual Value ของบริษัทเมื่ออัตราการเติบโตในการทำกำไรของบริษัทน้อยกว่า Discount value เนื่องจากมีสมมติฐานที่ว่าบริษัทจะเข้าสู่ช่วง mature เมื่อเวลาผ่านไป

Businessman like Investor ภาคภาษาไทย

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 07, 2004 9:44 pm
โดย Mon money
เจ้าของบทความมาเองแน่ๆเลย คุณ สุรชัย ชีพเจริญรัตน์หายไปนานมากเลยนะครับ

IRCที่ถืออยู่สร้างผลตอบแทนแบบจุใจเลยใช่ไหมครับ

Businessman like Investor ภาคภาษาไทย

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 08, 2004 11:07 am
โดย kotaro
ยังสงสัยอยู่อีกนิดนึงครับ

ตรงที่กำหนดให้ Capitalisation Rate = 1 %

ตรงนี้ครับ



Owner Owning in Year 10 246,543,650

Growth Rate (Stage 2) 5%

Owner Owning in Year 11 258,870,833

Capitalisation Rate 1%

Value at End of Year 10 25,887,083,302

Discount Factor at End of Year 10 0.5584


ตัวเลขของ Value at End of year 10 กับ Owner Owning in Year 11
ห่างกัน 100 เท่านะครับ เลยไม่รู้ว่าเอาตัวเลข 1% มาคำนวณยังไงครับ

แต่ถ้าคำนวณ terminal value จากสูตร = FCFn[1+g]/[wacc-g]

ก็จะได้ 246,543,650 x [ 1+0.05] / [0.06-0.05 ] = 27,777,083,250 ครับ

ไม่ตรงกับ terminal value ที่ใช้จาก Capitalisation rate ครับ หรือว่าใช้แบบไหนก็ได้ครับ

Businessman like Investor ภาคภาษาไทย

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 08, 2004 9:13 pm
โดย สุรชัย ช
Capitalisation Ratio = Discount factor - growth estimated in stage 2
ในกรณีนี้คือ 6%-5% = 0.01
ผมเข้าใจว่าสูตรที่คุณใช้ก็คือสูตรเดียวกับที่ผมใช้นั่นเองครับ ค่าที่ไ้ด้เป็นค่าของvalue ที่ปีที่ 10เมื่อคิดว่าบริษัทจะสามารถรักษาระดับการเติบโตของการทำกำไรที่ 5% ไปตลอดอายุของบริษัทซึ่งน้อยกว่า discount rate ที่ 6% เมื่อได้ค่านี้แล้วจึงคูณด้วยค่าdiscount factor ของปีที่ 10 อีกที ก็จะได้ present value นั่นเอง
ส่วนตัวแล้วผมจะไม่ค่อยใช้ค่า residual value เนื่องจากค่าที่ได้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าบริษัทสามารถรักษาระดับการเติบโตได้ตลอดไป ซึ่งในความเป็นจริงมีไม่กี่บริษัทที่สามารถทำเช่นนั้นได้
ค่าที่ผมมักจะมองจะเป็นค่า present value เมื่อทำการประมาณ owner's earning ไป ประมาณ 7-10 ปี ซึ่งเป็นเวลาที่เราคิดว่าบริษัทสามารถแข่งขันและมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกันได้

Businessman like Investor ภาคภาษาไทย

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 08, 2004 9:26 pm
โดย สุรชัย ช
สวัสดีครับคุณ Mon Money จริงๆแล้วก็ไม่ได้หายไปไหนหรอกครับ ยังคงเข้ามาอ่านกระทู้ใน webboard นี้อยู่อย่างสม่ำเสมอ ในช่วง1 ปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนก็อยู่ในเกณฑ์ที่ผมพึงพอใจ แต่ผมยังรู้สึกว่าความรู้ของผมยังไม่เพียงพอในการวิเคราะห์มูลค่าที่แท้จริงของบริษัท ผมรู้สึกว่าผลตอบแทนที่ผมได้รับเป็นเพราะการขึ้นของตลาดหุ้นโดยรวมส่งผลให้ผู้ที่ซื้อหุ้นในช่วงดังกล่าวได้รับผลตอบแทนที่ดีพอสมควร

หลังจากที่เขียนบทความนั้นเรียบร้อยและได้อ่านหนังสืออีกหลายเล่มเกี่ยวกับเรื่อง discount cash flow เช่น In Search of Shareholdervalue ผมเริ่มรู้สึกว่าค่าต่างๆที่เราสมมติขึ้น เช่น ค่าการเติบโตของกำไร discount factor etc เป็นเพียงค่าที่มีความไม่แน่นอนสูงมาก การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของค่าดังกล่าวมีผลกับมูลค่าที่แ้ท้จริงอย่างมาก สิ่งที่ผมพยายามเรียนรู้ในขณะนี้คือการหาความรู้ว่าบริษัทนั้นทำธุรกิจอะไร มีจุดแข็งอะไร ปัจจัยใดที่จะช่วยส่งเสริมให้บริษัทมีความสามารถที่จะแข่งขันได้ต่อไปอีกในอนาคต ผมพยายามอ่านเรื่องBuilt to Last และกำลังจะซื้อเรื่อง Good to Great เพื่อศึุกษาถึงคุณสมบัติของบริษัทที่สามารถยืนระยะอยู่ได้ ด้วยความหวังว่าผมจะสามารถหาบริษัทเช่นนั้นได้ในประเทศไทยซึ่งผมคิดว่ามีอยู่

นอกจากนี้ผมได้เปลี่ยนไปให้ความสนใจกับเรื่อง Behavioral Finance มากขึ้นเพื่อเตือนตัวเองในช่วงที่ตลาดหุ้นขึ้นมาแรงมาก คนรอบข้างหลายๆคนเริ่มคุยกันเรื่องหุ้น ลงทุนในหุ้นมากขึ้น แต่ไม่มีใครหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย ทุกคนมีความคิดว่าตลาดหุ้นเป็นแหล่งที่สามารถหาเงินได้เร็ว ไม่ได้คิดลงทุนระยะยาว ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เนื่องจากจุดประสงค์หลักของการลงทุนจริงๆแล้วคือการหาผลตอบแทนที่ดีพอสมควรแต่ต้องไม่ลืมที่จะปกป้องเงินต้นด้วย

Businessman like Investor ภาคภาษาไทย

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 08, 2004 9:29 pm
โดย นักดูดาว
ท่านสุรชัย ช. มาเขียนกระทู้บ่อยๆนะครับ ประทับใจท่านจริงๆ

ขอคารวะ

Businessman like Investor ภาคภาษาไทย

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 08, 2004 9:34 pm
โดย kotaro
ขอบคุณครับ เข้าใจแล้วครับ

เยี่ยมมากจริงๆครับ คุณสุรชัย มา post ให้ความรู้บ่อยๆนะครับ :D

Businessman like Investor ภาคภาษาไทย

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 08, 2004 11:28 pm
โดย Mon money
ยินดีจริงๆครับคุณสุรชัยเป็นสมาชิกรุ่นแรกๆเลยนะครับ ผมยังคิดถึงอยู่เสมอ เห็นว่ากลับจากสิงคโปร์นานแล้วคิดว่างานยุ่งเลยหายไปที่แท้แอบไปฝึกวิชานี่เอง

มีเวลารบกวนแวะเข้าไปที่กระทู้ตระแกรงร่อนหุ้นด้วยซิครับ ไปช่วยสร้างสรรค์เนื้อหาดีๆแบ่งปันคนรุ่นหลังๆครับ ตอนนี้ก็ส่งบทความมาได้นะครับแม้ว่าจะเปลี่ยนทีมบริหารwebแล้ว

หนังสือ Built to last กับ good to great ใครแต่งครับน่าอ่านครับ

ในBehavioral Finance มีประเด็นอะไรน่าสนใจครับ ช่วยขยายหน่อยซิครับ

Businessman like Investor ภาคภาษาไทย

โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 09, 2004 10:01 pm
โดย สุรชัย ช.
ประเด็นของเรื่อง behavioural finance เป็นเรื่องของการนำผลทางจิตวิทยาของมนุษย์ที่มักจะมีความลำเอียงในการวิเคราะห์สิ่งต่างๆเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ทางการเงิน ตัวอย่างที่เด่นชัดก็เช่น Mr.Market ที่ Benjamin Graham ใช้ในการสอนเกี่ยวกับการขึ้นลงของราคาหุ้นในแต่ละวันโดยที่ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทที่ออกหุ้นไม่ได้เปลี่ยนแปลง

ทฤษฎีนี้จะแย้งว่า Efficient Market Theory (EMT) มีจุดบอดที่มิได้นำผลทางจิตวิทยาหรือพฤติกรรมของมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่กลับไปให้ความสำคัญกับค่าความเสี่ยงที่มีต่อปัจจัยต่างๆ (Risk)

การคำนวณ Discount Cashflow ก็มีการใช้ค่า beta เพื่อใช้ในการคำนวณ cost of capital ซึ่งค่า beta ดังกล่าวจะไปอ้างอิงกับราคาหุ้นนั่นเอง

ยังมีเรื่องต่างๆ อีกมากมายครับเกี่ยวกับเรื่อง behavioral finance หนังสือที่ผมอ่านอยู่เขียนโดย Lawrence A. Cunningham คนที่เขียนเรื่อง Essay of Warren E.Buffett อีกเล่มที่ซื้อมาแล้ัวแต่ยังไม่ได้เริ่มอ่านก็คือ Irrational Exuberance

สำหรับแฟนของ Warren E. Buffett รายงานประจำปี 2003 ออกแล้วนะครับ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกมากเช่นเดียวกับปีที่ผ่านๆมาครับ นอกจากนี้ Warren ยังแนะนำหนังสือให้อ่านอีก 3 เล่มด้วยครับ และยังชม Jason Zweig ผู้เขียนที่ช่วยขยายความในหนังสือ Intelligent Investor editionล่าสุดด้วยครับ

Businessman like Investor ภาคภาษาไทย

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 10, 2004 3:29 pm
โดย ประจวบ
อยากให้มนช่วยทำlink รายงานประจำปีของเบอร์กไชปี2003มาไว้ในwebด้วยครับจะได้เข้ากันไปดูง่ายๆ

Businessman like Investor ภาคภาษาไทย

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 10, 2004 4:19 pm
โดย ayethebing
ประเด็นของเรื่อง behavioural finance เป็นเรื่องของการนำผลทางจิตวิทยาของมนุษย์ที่มักจะมีความลำเอียงในการวิเคราะห์สิ่งต่างๆเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ทางการเงิน ตัวอย่างที่เด่นชัดก็เช่น Mr.Market ที่ Benjamin Graham ใช้ในการสอนเกี่ยวกับการขึ้นลงของราคาหุ้นในแต่ละวันโดยที่ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทที่ออกหุ้นไม่ได้เปลี่ยนแปลง

ทฤษฎีนี้จะแย้งว่า Efficient Market Theory (EMT) มีจุดบอดที่มิได้นำผลทางจิตวิทยาหรือพฤติกรรมของมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่กลับไปให้ความสำคัญกับค่าความเสี่ยงที่มีต่อปัจจัยต่างๆ (Risk)

การคำนวณ Discount Cashflow ก็มีการใช้ค่า beta เพื่อใช้ในการคำนวณ cost of capital ซึ่งค่า beta ดังกล่าวจะไปอ้างอิงกับราคาหุ้นนั่นเอง
โอวววว สุดยอดฝีมือคร้าบบบบ ต้องรบกวนมาให้ความรู้กับน้องๆ บ่อยๆ แล้วละครับ

Businessman like Investor ภาคภาษาไทย

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 11, 2004 10:44 am
โดย edd
การทำ discount cash flow เพื่อประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น(ธุรกิจ) เป็นเรื่องของมุมมองและความเข้าใจเรื่องธุรกิจนั้นๆอย่างแท้จริง แต่ pattern ที่พี่สุรชัยทำเป็นตัวอย่างให้ดู คงจะสามารถช่วยเพื่อนๆที่อยากลองทำดู ได้มีแนวทางครับ แต่เรื่องของ terminal value นี่ ผมว่ามัน aggressive มากเกินไปครับ ถ้าจะใช้คงต้องระวังหน่ิอย discount 10 ปีก็น่าจะเพียงพอ

Businessman like Investor ภาคภาษาไทย

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 11, 2004 10:40 pm
โดย Mon money
หน้าแรก http://www.berkshirehathaway.com/

รายงานประจำปี http://www.berkshirehathaway.com/annual.html

หวังว่าจะถูกใจพี่หมอและเพื่อนนะครับ

Businessman like Investor ภาคภาษาไทย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 12, 2004 8:49 am
โดย edd
ขอบคุณมากครับพี่มน